ปัญหาการวิจัย กับ สมมติฐานการวิจัย


ปัญหาการวิจัยสัมพันธ์กับสมมติฐานการวิจัยโดยที่สมมติฐานการวิจัยเป็นคำตอบล่วงหน้าของปัญหาการวิจัย

เรื่องของสมมติฐาน(Hypothesis) เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง  ที่นักปรัชญา นักสถิติ และนักวิจัย ได้ถกเถียงกันมานาน  แม้ในปัจจุบัน ก็ยังมีประเด็นถกเถียงกันอยู่

หัวข้อข้างบนนี้  ผมตั้งชื่อว่า  ปัญหาการวิจัยกับสมมติฐานการวิจัย  ดังนั้นผมจะเน้นประเด็นสมมติฐานการวิจัย(Research Hypothesis)มากกว่าสมมติฐานเฉยๆ  โดยผมจะนิยามสมมติฐานการวิจัยว่า  สมมติฐานการวิจัยคือ คำตอบล่วงหน้าของปัญหาการวิจัย  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  ปัญหาการวิจัยมีธรรมชาติเป็นคำถาม  เมื่อเป็นคำถาม ก็จะต้องมีคำตอบ  แต่เป็นคำตอบล่วงหน้าของปัญหาการวิจัย  ปัญหาการวืจัยกับสมมติฐานการวิจัยจึงมีความสัมพันธ์กัน

ตัวอย่างเช่น ปัญหาการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ จากการบันทึกครั้งก่อน ดังนี้

ปัญหาการวิจัย   : (1) ความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(1)วิชาคณิตศาสตร์(2)วิชา

                             วิทยาศาสตร์(3)วิชาภาษาไทย  มีสหสัมพันธ์กันหรือไม่ ?

สมมติฐาน        : H1; มีสหสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(1)

                              วิชาคณิตศาสตร์(2)วิชาวิทยาศาสตร์(3)วิชาภาษาไทย

                      : H2;ไม่มีสหสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                              (1)วิชาคณิตศาสตร์(2)วิชาวิทยาศาสตร์(3)วิชาภาษาไทย

หรือปัญหาการวิจัยเชิงทดลองจากบันทึกครั้งก่อน ดังนี้

ปัญหาการวิจัย    : (2) วิธีสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จะมีอืทธิพลต่อความสามารถด้าน

                              ความคิดสร้างสรรค์ หรือไม่?

สมมติฐาน         : H3;วิธีสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์

                      : H4; วิธีสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีอิทธิพลต่อความสามารถด้าน

                              ความคิดสร้างสรรค์

จะเห็นว่า H1,H3, เป็นคำตอบของปัญหาการวิจัย  และเป็นไปในทิศทางที่นักวิจัยคาดหวังไว้ล่วงหน้าจากผลการสังเกต และ/หรือจากการ Review Related Literature  และเราเรียก H1,H3, นี้ว่า สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)  ในภาษาวิชาสถิติเรียกว่า Alternative Hypothesis

ส่วน H2,H4, ก็เป็นคำตอบของปัญหาการวิจัยเหมือนกัน  แต่เป็นคำตอบที่ถูกบังคับตอบ  เพราะนักวิจัยไม่ต้องการคำตอบเช่นนั้น  ตรงข้าม  เขาต้องการคำตอบที่แสดงถึงความก้าวหน้า และมีประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นคำตอบที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย   H2,H4, เป็นคำตอบที่สอดคล้องกับหลักของ Inferential Statistics  เป็น Statistical Hypothesis ที่ชื่อ Null hypothesis

ในการวิจัย  เรานิยมตั้งสมมติฐานแบบ Research Hypothesis  แต่เมื่อจะทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ  เราทดสอบ Null Hypothesis ตามหลักของวิชาสถิติดังกล่าว 

หมายเลขบันทึก: 14487เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2006 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบเรียนอาจารย์ดร.ไสว ที่เคารพ

หนูเป็นศิษย์ของอาจารย์ทาง IT กำลังศึกษาปริญญาโท สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช กำลังเรียนรายวิชาวิทยาการวิจัยและหนูจะติดตามงานเขียนของอาจาย์เพื่อพัฒนาตนเองเสมอนะคะ

รู้สึกยินดีครับที่สนใจเรื่องที่ผมเขียนเกี่ยวกับการวิจัย  เรื่องทฤษฎี  และเรื่องจิตวิทยาก็สัมพันธ์กัน ลองอ่านดูด้วยก็มีประโยชน์ต่อสาขาที่เรียนครับ 

เรื่องวิจัยที่เขียนนี้  ส่วนใหญ่จะเน้นเพิ่มเติมจากสิ่งที่ไม่ค่อยมีในตำรา  เช่น  แนะให้พูดคำว่า "ทดสอบสมมุติฐาน" แทนการพูดว่า "พิสูจน์สมมุติฐาน"  หรือชี้ให้เห็นว่า  การวิจัยเชิงสำรวจก็ "ตั้งสมมุติฐานได้"  ทำไมจะต้อง "แอบ" เขียนไว้ในรูปของ จุดประสงค์ของการวิจัย   หรือยั่วยุให้ทำวิจัยเพื่อค้นหากฎเชิงประจักษ์ เช่นการวิจัยเชิงทดลองบ้าง แทนที่จะทำกันแต่การวิจัยเชิงสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ฯลฯ

อ้อ  และก้อ  ผมได้รับเชิญไปสอนรายวิชา " Research & Development" .ให้แก่นักศึกษาชั้นปริญญาเอกสาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อยู่ที่ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราชด้วย    มีเอกสารเกี่ยวกับการวิจับและพัฒนาที่ผมเขียน และสอดคล้องกับสาขาวิชาของคุณอยู่บ้าง  ลองขอจากนักศึกษาปริญญาเอกสาขาดังกล่าวดูนะครับ

ขอขอบคุณอ.ไสวเป็นอยางสูง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท