แล้ว จะกิน ไพล มั้ยล่ะ


 

ผมว่า ก็น่าเลือกกิน อยู่     แต่ปัญหาปวดหัว ก็ยังแก้ไม่ตกอยู่ดี เพราะใครว่าดี    คนไม่ป่วยไม่มีอาการ ก็จะแห่หันหัวเรือ ไปซื้อหามาไว้เพื่อกินกัน

ล่าสุดที่ใช้ แก้แน่นท้อง  จากท่อน้ำดี อุดตันก็ ได้ผล ทุเลา

 

ไพล  

ชื่อวิทยาศาสตร์   Zingiber montanum (Koenig)
                            Link ex Dietr.
ชื่อพ้อง                Zingiber cassumunar Roxb.
ชื่อวงศ์                ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ๆ              ปูลอย, ปูเลย (เหนือ) ว่านไฟ (กลาง)
                            มิ้นสะล่าง (เงี้ยว ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้              เหง้า




 
    การปลูก สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
      1. ปลูกโดยใช้เหง้า ตัดเป็นท่อน ๆ ชุบด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา ทิ้งไว้สักครู่ แล้วทำการปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้
      2. ปลูกโดยใช้เหง้าเพาะให้งอกก่อน โดยทำการเพาะเหง้าที่ตัดเป็นท่อน ๆ ในกระบะทราย ให้แทงยอด แตกใบประมาณ 2-3 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลงปลูก
การเก็บเกี่ยว
       - ระยะเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงวันที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไพล จะใช้ระยะเวลานาน 2-3 ปี เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้น้ำมันไพลที่มีปริมาณและคุณภาพสูง
       - วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้จอบ เสียมขุดเหง้าไพลขึ้นมาจากดิน (ต้องระวังไม่ให้เกิดแผลหรือรอยช้ำกับเหง้า) เขย่าดินออก ตัดรากแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
      - เก็บหัวไพลที่ตัดราก และผึ่งลมให้แห้งแล้ว เก็บบรรจุกระสอบพร้อมที่จะนำไปสกัดน้ำมัน โดยเครื่องกลั่นไอน้ำ
      - สำหรับไพลที่จะนำไปผลิตเป็นลูกประคบแห้ง ให้คัดเลือกส่วนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง มาล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง จากนั้น นำสมุนไพรมาทำให้แห้ง โดยหั่นเหง้าไพลเป็นชิ้นบาง ๆ วางบนถาดหรือกระด้ง เกลี่ยให้บาง คลุมด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการปลิวนำไปตากแดดให้แห้ง หมั่นกลับบ่อย ๆ หรือโดยการอที่อุณหภูมิ 50 C สำหรับ 8 ชั่วโมงแรก แล้วลดอุณหภูมิลงเป็น 40-45 C หมั่นกลับบ่อย ๆ จนแห้ง
สารสำคัญ
      เหง้าไพลประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารสำคัญที่เกี่ยวกับการออกฤทธิ์ เช่น sabinene, ? -terpinene, ?-terpinene, terpinen-4-ol, ?-pinene เหง้าไพลยังมีสารสีเหลือง curcmin และสาร butanoids derivatives ที่เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ สาร D หรือ (E)-4-(3’,4’-dimethoxyphenyl) but-3-en-l-ol และ (E)-1-(3’,4’-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) นอกจากนี้ยังมีสาร cassumunarin A, B และ C ซึ่งเป็น complex curcuminoids ซึ่งมีฤทธิ์ antioxidant แรงกว่า curcumin
      เหง้าไพลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานต้องมีน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 2 % โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญ
      การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดหรือสารสำคัญของไพลมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
      1. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ น้ำมันไพล สารสกัดเหง้าไพล และสารสำคัญในเหง้าไพลหลายชนิด ที่สำคัญคือสาร D และสาร DMPBD มีฤทธิ์ต้านอักเสบ โดยกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้ง cycloxygenase และ lipoxygenase pathways คล้าย NSAID
      2. ฤทธิ์แก้หอบหืด สาร D สามารถต้านฤทธิ์ของฮีสตามีนในการทำให้หลอดลมหดตัวได้ จึงมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นยาบำบัดอาการหอบหืดได้
      3. ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สารสกัดไพลสามารถลดการบีบตัวของมดลูก ลำไส้ และกระเพาะอาหารของหนูขาว ซึ่งสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งในสารสกัดน่าจะเป็น สาร D เนื่องจากพบว่า สาร D มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อมดลูกและลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูขาว
รายงานการวิจัยทางคลินิก
      1. รักษาอาการอักเสบ ปวด บวม ฟกซ้ำ จากการทดสอบประสิทธิภาพของครีมไพลในนักกีฬาที่บาดเจ็บข้อเท้า พบว่า ครีมไพลจีนซาลซึ่งมีน้ำมันไพล 14 % ช่วยลดอาการปวด บวม และช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อเท้าดีขึ้น
      2. ฤทธิ์ต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยเด็กโรคหืด จากการศึกษาในเด็กที่เป็นหืด พบว่า ไพลมีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนโดยสามารถลดขนาดของตุ่มนูนจากการฉีดน้ำยาฮีสตามีนเข้าใต้ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ และไพลช่วยให้ผู้ป่วยที่กำลังหอบ มีอาการหอบน้อยลง การทำงานของปอดดีขึ้น และเมื่อใช้ไพลติดต่อกัน 3 เดือน ทำให้อาการหอบน้อยลง ใช้ยาขยายหลอดลมตามความจำเป็นลดลง
ข้อควรระวัง
      1. ห้ามใช้ครีมไพลทาบริเวณขอบตา และเนื้อเยื่ออ่อน
      2. ห้ามทาครีมไพลบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือมีแผลเปิด
      3. ไม่แนะนำให้ใช้กับสตรีมีครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตรและกับเด็กเล็ก
ข้อบ่งใช้ ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้ (ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542)
     ครีมที่มีน้ำมันไพล 14 % ใช้รักษาอาการบวม ปกช้ำ เคล็ดยอก โดยทาและถูเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
     ยาประสะไพลเป็นตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณและเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีไพลเป็นส่วนประกอบหลักอยู่ในรูปของยาผง ประกอบด้วย ไพลหนัก 81 ส่วน ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน การบูรหนัก 1 บาท ใช้สำหรับรักษาอาการระดูมาไม่ตามกำหนดหรือมีปริมาณน้อยกว่าปกติ โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
   
     
   
   
เอกสารอ้างอิง  
1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด, 2544. หน้า 263.
2. คู่มือการปลูกพืชสมุนไพร. 2543.
3. คู่มือพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ชุดที่ 3 พืชสมุนไพรน้ำมันหอมระเหย. 2543.
4. http://www.medplant.mahidol.ac.th/doae/012.htm
5.Tropical Science 1971; 13(3): 199-204.
6. Bull Dep Med Sci 1976; 18(3): 75-79.
7. Aust J Chem 1979; 32: 71-88.
8. Thai Herbal Pharmacopoeia Volume I. Prachachon Co., Ltd. Bangkok. 1998. p. 51-56.
9.Tetrahedron 1994; 35(7): 981-984.
10.บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2543.
      หน้า 38-45.
11.Chem Pharm Bull 1991;39(9): 2353-2356.
12.Planta Med 1990; 56:655.
13.J Ethanopharmacol 2003; 87(2-3): 143-148.
14.ว กรมวิทย พ 2522; 21(1): 13-24.
15.วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1980;12(1):1.
16.Planta Med 1987; 53(4): 329-32.
17.ศรีนครินทร์เวชสาร 2536; 8(3): 159-164.
18.สารศิริราช 2529; 38(4): 251-255.
19.สารศิริราช 2527;36(1): 1-5.

 
 
คำสำคัญ (Tags): #ไพล
หมายเลขบันทึก: 143993เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2007 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท