ไพหญ้าแฝก ภูมิปัญญาเกษตรกรภาคอีสาน


ไพหญ้าแฝก...วัสดุมุงหลังคาในยุคเศรษฐกิจพอเพียง

ภูมิปัญญาเกษตรกรภาคอีสาน

 ไพหญ้าแฝก

                                พื้นที่ภาคอีสานในฤดูแล้งระยะเวลา 3 เดือน ภายหลังจากที่เกษตรกรได้เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้ทำงานยามว่างเพื่อหารายได้เสริม เช่นเดียวกัน นายพักสงคราม เกษรราช หมอดินชาวเรณูนคร จังหวัดนครพนม  ได้เป็นตัวแทนเกษตรกรถ่ายทอดประสพการณ์ภูมิปัญญาภาคอีสานถึงการทำไพหญ้าแฝก  ที่ใช้มุงหลังคาที่กระท่อมปลายนา......ในยุคเศรษฐกิจพอเพียง.......ที่ต้องพึ่งพาตนเองไว้ก่อน

ไพหญ้าแฝก...วัสดุมุงหลังคาในยุคเศรษฐกิจพอเพียง

                                เกษตรกรในภาคอีสานยามว่างจากการทำนา ก็จะหาใบหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองที่ขึ้นอยู่ตามป่าทาม  หรือป่าโปร่ง ข้างๆ ที่ดินตามไร่นา หรือจากแนวหญ้าแฝกที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมปลูกป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน  ข้างบ่อน้ำ  หรือในสวน  โดยใช้ใบที่ยาวมากกว่า  1.40  เมตร เกี่ยวใบมามัดรวมเป็นกำ เรียกว่า ลูกแฝก ตากเอาไว้ให้ใบแห้ง  ถ้าเป็นหญ้าแฝกพื้นเมืองพันธุ์ร้อยเอ็ด  1  ลูกแฝก จะหนัก  4.2  กิโลกรัม  มีใบรวมอยู่  5,346  ใบ  แต่ถ้าเป็นหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3  1  ลูกแฝก จะหนัก  4.5  กิโลกรัม มีใบรวมอยู่  4,328 ใบ   หลังจากนั้น จึงนำมามัดสานเข้ากับแกนไม้ไผ่ให้เป็นตับแฝก หรือเรียกว่า ไพหญ้าแฝก  โดยที่ใน  1 วัน เกษตรกร  1  คน  จะทำไพขนาดกว้าง  1.40 เมตร ยาว 1.70 เมตร ได้  10  ไพ  ขายได้ไพละ  15 บาท  จะได้เงินวันละ  150   บาท  หรืออย่างต่ำเดือนละ  4,500  บาท  ซึ่งจะมีร้านค้ามารับไปขายต่อ   

                                หนึ่งในภูมิปัญญาจากการนำใบหญ้าแฝกในระบบอนุรักษ์ดินและมาใช้ประโยชน์นอกเหนือจากการใช้ใบเป็นวัสดุคลุมดิน   แบบนี้เป็นภูมิปัญญาภาคอีสานที่น่าสนใจ

 

ข้อมูลจาก  :   นายเฉลียว  ผาบุญ  สถานีพัฒนาที่ดินนครพนม  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4  กรมพัฒนาที่ดิน

ผู้จัดทำ       : Vetiver KM Team  (สิงหาคม 2550)

รหัส           : Ldd-VG-KM-E/N-1












หมายเลขบันทึก: 143452เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท