นักวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo-scientist)


ความรู้ที่เลื่อนลอยไม่เชื่อมกับอะไร ใช้งานอะไรไม่ได้ ไม่มีปรัชญาที่เกี่ยวข้องใดๆ อยู่อย่างลอยๆ ด้วยความคิด และอัตตาของบุคคลคนนั้น เขาใช้คำว่า ความรู้เทียม (Pseudo-science)

 

สืบเนื่องจากที่ผมนำเสนอประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ของผม ที่อาจารย์จันทรรัตน์ ได้มาเสนอความเห็นเชิงหารือ 

1.    ว่า "ความรู้"ที่ไร้"ข้อมูล"จะตั้งอยู่อย่างไร..... 

2.    และ "ข้อมูล"ที่ไม่มีการจัดการด้วยความรู้....จะเป็น"ข้อมูล"ได้หรือไม่ 

3.    ทั้งความรู้และข้อมูลมีการเลื่อนไหลทับซ้อนและสลับที่กับได้ตลอดเวลา...ความรู้หนึ่ง ณ ที่หนึ่งอาจเป็นข้อมูลสำหรับอีกพื้นที่หนึ่ง.. 

4.    ขณะที่ข้อมูลจากที่หนึ่งหรือ ณ เวลาหนึ่งก็คือผลึกความรู้ของ ณ เวลานั้นและจากที่นั้น...

ผมจึงขอท้าวความถึงบันทึกของ ดร. วรภัทร์ และการขยายความของผมที่ว่า

1.   สิ่งที่ปรากฏต่อเรานั้นเป็นสัญญาณที่อาจรับได้โดยสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ 

2.   เมื่อเรารับสัญญาณได้ (สัมผัสได้ เนื่องจากระบบสัมผัสทำงานเป็นปกติ) ก็จะกลายเป็น สัญญาณ ที่ต้องแปลงมาเป็นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

3.   การแปลงจะถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบการรับและความสามารถของระบบการแปลงซึ่งประกอบด้วยกระบวนทัศน์ วิสัยทัศน์ ประสบการณ์ อัตตา ระบบคิด และความรู้ที่มีอยู่เดิม

4.   เมื่อแปลงแล้วก็จะกลายเป็นความรู้ เป็นเรื่องๆ

5.   ความรู้เป็นเรื่องๆนั้นก็จะนำมาผสมผสานกันเอง และกับความรู้ที่มีอยู่เดิม ในระบบคิดของคนคนนั้น ที่เรียกว่าการจัดการความรู้ (knowledge management) 

เมื่อความรู้เหล่านี้เชื่อมโยงกับความเป็นจริงหรือธรรมชาติ ก็จะเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ ใช้การได้ ทำงานได้ และเป็นวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ 

แต่ก็อาจมีความรู้ที่เลื่อนลอยไม่เชื่อมกับอะไร ใช้งานอะไรไม่ได้ ไม่มีปรัชญาที่เกี่ยวข้องใดๆ อยู่อย่างลอยๆ ด้วยความคิด และอัตตาของบุคคลคนนั้น เขาใช้คำว่า ความรู้เทียม (Pseudo-science)

และคนที่มีหรือใช้ความรู้แบบนี้เราเรียกว่า หรือนามสมมติว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo-scientist) ที่ขาดความรู้ความเข้าใจทางทฤษฎีหรือหลักการของธรรมชาติ มีแต่หลักการ ระบบคิดที่ใช้งานจริงไม่ได้

จึงเป็นแค่ระบบที่ไม่มีความหมายอะไร ไม่มีประโยชน์ และไม่น่าแปลกใจครับ

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo-scientist)นี้ ถ้าเป็นคนธรรมดาก็จะไม่มีปัญหาใดๆ หรือปัญหาไม่มาก แต่ถ้าบังเอิญได้รับหัวโขน ตำแหน่งหน้าที่ก็อาจจะสร้างปัญหาได้มากมาย

ที่ครูบาสุทธินันท์เคยกล่าวในบันทึกต่อท้ายบันทึกของผม ว่า นักวิทยาศาสตร์เทียมเหล่านี้

·        จะมองโครงการหรืองานของคนอื่นๆ ไม่ออก และถือว่าความคิดที่ไม่ตรงกับตัวเองเป็นเรื่องไม่มีประโยชน์ ไร้สาระ

·        แต่ตัวเองก็ไม่มีกึ๋นพอที่จะไปสร้างชุดความรู้ ตำหรับ หรือฐานงานวิจัยใดๆ

·        นักวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo-scientist) เหล่านี้ จึงไม่มีอะไรไปแลกหมัดกับใคร และมักนิยมเดินตามคัมภีร์ที่มีคนเขียนไว้แบบหลับหูหลับตา

·        ความไม่แข็งแรงทางวิชาการนี่เอง ที่ทำให้ไปอ่อนข้อหรือศิโรราบนักวิชาการฝรั่งกำมะลอ ดีไม่ดี ใช่ไหมใช่ ขอให้เป็นฝรั่ง สันดานทาสยอมเขาเหมือนหมาน้อยขี้ประจบ

·        และด้วยอำนาจหน้าที่ของเขา (ถ้ามี) ก็จะบังคับเชิงชี้ชวนให้คนอื่นเชื่อและทำตามแบบ หมาจิ้งจอกหางด้วน ในนิทานอีสป 

และนี่ก็คือ คำตอบต่อคำถามของอาจารย์จันทรรัตน์ ที่ว่า

·         "ความรู้"ที่ไร้"ข้อมูล"จะตั้งอยู่อย่างไร.....

ตอบ อยู่ในระบบคิดของนักวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo-scientist) 

·        และ "ข้อมูล"ที่ไม่มีการจัดการด้วยความรู้....จะเป็น"ข้อมูล"ได้หรือไม่

ตอบ เป็นข้อมูลอย่างนั้นแหละ แต่ไม่มีวันเป็นความรู้ 

·        ทั้งความรู้และข้อมูลมีการเลื่อนไหลทับซ้อนและสลับที่กับได้ตลอดเวลา...ความรู้หนึ่ง ณ ที่หนึ่งอาจเป็นข้อมูลสำหรับอีกพื้นที่หนึ่ง.. 

ตอบ น่าจะถูกต้องครับ  

 

คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 141967เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2007 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ดีใจมากค่ะที่อาจารย์ยังไม่ทิ้งประเด็นที่สงสัยและช่วยอธิบายให้เข้าใจ....

มาถึงบันทึกนี้ของอาจารย์...เข้าใจว่า สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหากไม่ได้ไปรับรู้(ผ่านตา หู สัมผัส รส กลิ่น) ...ยังไม่เป็นข้อมูล...เมื่อรับรู้นำมาเป็นข้อมูลถ้าไม่ใช้ความรู้ไปจัดการก็ยังไม่ใช่ความรู้....นั่นแสดงว่า ความรู้ต้องอยู่บนข้อมูลที่ผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบ สิ่งที่เราไปอ่านไปดูฯลฯ เช่นดูงานจากที่หนึ่งก็ยังไม่ใช่ความรู้เราจนกว่าเราจะได้ลงมือนำสิ่งที่เห็นมาจัดการจนเกิดความรู้ของเราเองฯลฯ(ความรู้ของหน่วยงานอื่นยังเป็นระดับข้อมูลของเรา) ถ้าความรู้นั้นเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อไป(คราวก่อนอาจารย์ใช้คำว่าเชื่อกลับสู่องค์รวมคือตรงนี้ใช่ไหมคะ)...สรุปอย่างนี้จะใช่ไหมคะ

คนทุกคนสามารถเป็นผู้จัดการความรู้ได้...และถ้าจะจัดการได้ก็คือต้องผ่านการแสวงหา การสนใจ การส่งเสริม(ตัวเอง) การสนับสนุน(ตัวเองให้รู้) การบันทึกเก็บเป็นข้อมูลสะสมฯลฯ..เรียกว่าต้องเป็นทุกหน้าที่ในตัวเองถึงจะเป็นการจัดการความรู้ของคนนั้น....เข้าใจอย่างนี้จะใช่ด้วยไหมคะอาจารย์

 

ชอบที่อาจารย์อธิบายค่ะ ทำให้เข้าใจง่าย ถ้ามีศัพท์ยากๆ มักจะไม่ค่อยอยากเรียนค่ะ...คือเป็นคนไม่ค่อยชอบไปจำคำศัพท์ค่ะ..มันมีมาใหม่เรื่อยๆจนบางทีกว่าจะจำได้ก็ไม่อยากรู้เรื่องนั้นๆไปแล้ว...เป็นนักเรียนที่แย่หน่อยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

วุฒิชัย สังข์พงษ์

ทำอย่างไรดีครับถ้าเราต้องร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์เทียมที่ไม่รู้จักตัวเอง  กระผมคิดว่าในประเทศของเราตอนนี้ค่อนข้างจะมีนักวิทยาศาสตร์เทียมเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาการศึกษาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา  ทำอย่างไรเราถึงจะมีทิศทางและมาตรฐานที่มั่นคง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

Pครับ

ผมก็ไม่ชอบความซับซ้อนครับ

ศัพท์อะไรที่ไม่จำเป็น หรือมีแล้ว ใช้ของเก่าง่ายกว่าครับ

ขอบพระคุณครับที่มาตามดูความคิดของผมครับ

เราคงได้ทำงานแบบชัดเจนมากขึ้นครับ

คุณวุฒิชัย

เราคงต้อง "มองข้าม" ไปก่อน

ไปกังวลก็เหนื่อยเปล่า ทุกคนเสียประโยชน์

ปล่อยเขาไป วันหนึ่งเขาก็แพ้ภัยตัวเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท