มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

สารไนเตรทตกค้างในสับปะรดมีผลต่อผู้บริโภคหรือไม่


สารไนเตรทตกค้างในสับปะรด

           สารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจากสาเหตุใด และมีผลต่อผู้บริโภคหรือไม่?        

 

            คิดว่าทุกคนคงรู้สึกกังวลหากได้ยินว่าพบสารไนเตรทตกค้างในสับปะรด แต่ที่จริงแล้วสารไนเตรทในสับปะรดไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภคเลยค่ะ  แต่มีผลต่อผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง เพราะว่า หากมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิน 25 ppm ( พบสารไนเตรท 25 ส่วนในล้านส่วน) เมื่อนำไปแปรรูปบรรจุกระป๋องแล้ว สารไนเตรทจะกัดกร่อนสารเคลือบกระป๋อง ทำให้อายุการเก็บรักษาลดลงจาก 3 ปีเหลือเพียง 1 ปี ซึ่งเกิดผลเสียหายกับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องอย่างมาก

          สำหรับสาเหตุของการมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้

          1. เกิดจากการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตของสับปะรดไม่หมด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ โดยหลังจากการบังคับดอกแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตทางดิน แต่มาให้ปุ๋ยโดยการฉีดพ่นทางใบ เพราะสับปะรดจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้หมด ส่วนที่ตกค้างอาจจะอยู่ที่ใบหรือจุกสับปะรด แทนที่จะตกค้างในผล

          2. เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หากมีฝนตก สับปะรดจะได้รับสารไนโตรเจนซึ่งมาพร้มกับสายฝนโดยตรง จึงจำเป็นต้องทิ้งช่วงอย่าเก็บเกี่ยวสับปะรดในช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ แต่ก็เป็นเรื่องยากเพราะหากสับปะรดสุกแล้ว เกษตรกรก็จำเป็นต้องเก็บเกี่ยวทันทีไม่สามารถยืดเวลาเก็บเกี่ยวได้ จึงเป็นปัจจัยที่เหนือการควบคุม

             

            การแก้ไขปัญหานี้ จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของนักส่งเสริมการเกษตร ในการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรสามารถผลิตสับปะรดอย่างถูกต้องได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ ในขณะเดียวกัน ทางโรงงานก็ได้หาวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดสารไนเตรท ซึ่งเป็นการร่วมกันทำงานจนในปัจจุบัน ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะเหลือแต่ก็ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้เท่านั้นเอง

  <p> </p>

คำสำคัญ (Tags): #สับปะรด
หมายเลขบันทึก: 141787เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  •  สวัสดีครับ
  • จริงหรือไม่ครับ มีคนพูดว่า สับปะรด อันตราย ขนาดช้าง ยังล้มเลย ครับ
  • ขอบคุณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท