วิธีจับเท็จแบบ FBI


สูตรสำเร็จการจับเท็จ

       ถ้าถามว่าเคยถูกโกหก-ปกปิดกี่ครั้งแล้ว  คงจำไม่หวัดไม่ไหวใช่รึเปล่า  ถ้าถามว่าเคยโกหกกี่ครั้งแล้วล่ะ…  ไม่ต้องตอบก็ได้ครับเพราะข้อนี้อาจต้องนับนานหน่อย  แต่ที่แน่ ๆ ทุกคนคงไม่อยากให้ใครมาโกหกปกปิดกันใช่รึเปล่า   ถึงจะโกหกปกปิดคุณก็รู้ได้ในทันที่   มาร่วมสร้างสังคมดีด้วยกันซิครับ  เพื่อเป็นการสอนผู้ที่ชอบกระทำแบบนั้น  ว่าเขาประเมินเราผิดไป  และเขาค่อย ๆเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น  เทคนิคนี้ไม่ได้แนะนำให้ท่านนำไปปรับปรุงการโกหกนะ  เพียงแค่ใช้สืบหาข้อมูลความจริงเพื่อป้องกันตนเองและรักษาผลประโยชน์ที่พึงมีเท่านั้น  เทคนิคนี้เป็นวิธีที่ FBI ใช้กันทั่วไปในการสอบสวน  และผู้เขียนเองก็เคยใช้สอบสวนนักเรียนมัธยมมาแล้ว  ได้ผลชนิดที่ทุกคนต่างสายตาค้างกันเลยทีเดียว  เทคนิคการสอบสวนมีหลายระดับด้วยกัน  แบบอ่อนเชือดนิ่ม ๆก็มี  แบบจู่โจมก็มี  ท่านเลือกได้ทั้งชนิดที่รู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว  และชนิดที่ยังไม่รู้ตัว  ถ้ายังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดท่านก็จะรู้ได้ในทันที  ท่านลองเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์  กับวัยของเขาเถิดครับ    ก่อนที่จะมาลุยจับเท็จด้วยสมองกลกันนั้น  ท่านต้องมาทำความเข้าใจลักษณะของคนโกหกก่อน  ซึ่งท่านต้องนำมาใช้ในการสังเกตุขณะยิงคำถามจับเท็จ  ซึ่งเป็นขั้นพื้นฐานของ  จนท. FBI   คนที่โกหกหรือปกปิดอะไรบางอย่างไว้นั้น  ย่อมแสดงออกมาให้เราเห็นอย่างแน่นอน  เพราะสมองต้องใช้คิดส่วนหนึ่ง  และต้องคอยระวังคำพูดมิให้แย้งกับที่พูดมาแล้วส่วนหนึ่ง  ฉนั้นคำพูดโกหกได้แต่มีสิ่งหนึ่งที่โกหกคุณไม่ได้  คือ  ร่างกายโกหกไม่เป็น  บางครั้งร่างกายจะแสดงออกมาโดยที่จิตสำนึกไม่ทันได้เข้ามาควบคุมสั่งการ   อาการทุกอย่างที่สดงออกมาอาจสังเกตุพิรุธได้ดังนี้

1.   ตา  เขาไม่อยากสบตาคุณเพราะเขากลัวและรู้ตัวว่าผิด  สบสายตาปั๊บก็จะหลบตาทันที  เขาพยายามมองด้านล่างเสมอ  ถ้าเงยหน้าขึ้นมาบ้างสายตาเขาจะหลุกหลิกไปมา  จะต่างกับคนที่ไม่ผิดเขาจะมองเราตาไม่กระพริบเชียว  ดวงตาลุกวาวจ้องรอคอยคำถามจากเรา  เขากะว่าเป็นตายวันนี้ต้องเคลียร์ให้รู้เรื่อง  ความแตกต่างชัดมาก (ดวงตาบ่งบอกได้ถึงความมั่นใจกับเรื่องที่พูดได้           

2.  มือ  คนที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องที่พูดอยู่นั้น    มือและแขนของเขาขยับแสดงท่าทางเคลื่อนไหวไปมาตลอดเวลา   มือไม้พลิ้วไหวไปตามอารมณ์อย่างเป็นธรรมชาติไม่แข็งทื่อ  ต่างกับคนที่มีความลับในใจ มือแขนของเขาเคลื่อนไหวน้อยมาก  มักไม่ค่อยแสดงออกทางมือและแขน  มืออาจอยู่ในตัก ล้วงกระเป๋า กำแน่น  ถ้าเขาเป็นคนฉลาดมีไหวพริบเขาอาจขยับมือไม้ได้  แต่ขาดความเป็นธรรมชาติดูเชื่องช้าและแข็ง ๆ  ไม่สัมพันธ์กับอารมณ์  หรือถ้ามือกอดอกหนักเข้าไปใหญ่  เขากำลังขาดความมั่นใจ  กำลังปกปิดอยู่  ตามหลักจิตวิทยาถ้ากอดอกขณะสอบสวนก็ฟันธงได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ทีเดียว  และถ้าเอามือมาแตะบริเวณจมูกหรือใบหน้าแล้วละก็  ให้ตายเถอะนี่คือสัญญาณการโกหก  การเคลื่อนไหวของมือบอกสิ่งที่อยู่ในใจเขาได้ดีมากเช่นกัน   

3.    ไหล่  การยักไหล่คือการพยายามทำให้เห็นว่า  ฉันไม่รู้ฉันไม่สนไม่เห็นเป็นไรนี่นา  เป็นลักษณะพยายามทำให้เห็นว่าตนเองรู้สึกสบายในการตอบคำถาม  ความจริงนี่ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงของเขาเลย  คล้ายกับใครที่โดนล้อเลียนจึงแกล้งยักไหล่ให้ดูเป็นตลกไป

4.  เท้า  บางคนนั่งไขว้าขา(ไขว่ห้าง)  เป็นการพยายามสร้างตนเองให้มีความมั่นใจ  มีตบะท่านั้นเอง  ต่างกับคนที่เขามีความมั่นใจพร้อมเขาไม่ต้องสร้างมันขึ้นมา  บางคนนั่งกระดิกขา  บุคลิกดังกล่าวนี้เป็นการสร้างภาพว่ากำลังสบายใจ  ส่วนคนที่ไม่มีความลับเขาไม่มีเวลามานั่งมานั่งกระดิกเท้าอย่างสบายใจ  เท้าถึงพื้น  นิ่ง  มั่นคง ตั้งใจสนทนา 

5.   สีหน้า   หมอจีนสมัยก่อนเขาดูหน้าปั๊บรู้เลยว่าต้องรักษาอย่างไรไม่ต้องถามความมาก  เพราะใบหน้าบอกได้ทั้งร่างกายและจิตใจ  หากเขามีความลับกับเรา  หัวใจเขาสูบฉีดโลหิตแรงขึ้นใบหน้าจะแดงขึ้นมา  ใบหน้าดูเครียด  ดูเศร้าหมอง  ราศีตกยังกับคนอมทุกข์    ก็ต่างกับคนที่ไม่มีความลับอย่างเห็นได้ชัดเจน  เขามั่นใจเต็มเปี่ยมเตรียมตัวรุกเรา 

6.  น้ำเสียง  คนโกหกหรือปกปิดย่อมพูดเสียงเบากว่าปกติ  น้ำเสียงอาจสั่นเครือ  พูดติดติดขัดขัด  หรืออาจพูดติดอ่าง  น้ำเสียงขาดความมั่นใจ  ขาดการเน้นย้ำประโยคสำคัญ  เสียงขาดพลัง  ขาดความหนักแน่น

7.  จังหวะการตอบ   คนโกหกหรือปกปิดเมื่อจะตอบคำถามต้องคอยระมัดระวังคำพูด  ไม่ให้ขัดแย้งกับที่พูดไปแล้ว  ต้องคิดก่อนจึงตอบ  ตอบคำถามช้าไม่ตอบอย่างทันท่วงที  เงยหน้ามองด้านบนเป็นความพยายามคิดดัดแปลงหรือสร้างเรื่องครับ  แต่ถ้าเขารู้จริงหรืออยู่ในเหตุการณ์จริงไม่ต้องคิดมากตอบได้ในทันที  ไม่ต้องเงยหน้านับฝ้าเพดาน  ถ้าเขาตอบทันทีก็ลองยิงคำถามรุกเข้าไปอีกนิด  ตอนนี้คุณเพียงแค่คอยสังเกตให้ดีต้องต้องออกอาการให้เห็นแน่ 

8.  ความสับสนภายใน  พูดกลับไปกลับมา  หรือถ้าเสแสร้งเมื่อถึงคราวที่ต้องใช้อารมณ์เขากลับช้า  เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เกิดนานผิดปกติ  และเมื่อถึงคราวต้องหยุดกลับหยุดเอาดื้อๆ 

9.    ความพยายามออกจากสถานการณ์  เมื่อรู้อยู่แก่ใจว่าผิดก็ไม่มีใครอยากที่จะมานั่งตอบคำถาม  หรือมานั่งให้สอบสวน  และที่สำคัญไม่อยากได้ยินหรือคุยเรื่องนี้อีก  เขาจึงมีวิธีการต่าง ๆนา ๆ  ให้พ้นไปจากสถานการณ์นี้  เช่นชวนคุยเรื่องอื่น  ปฏิเสธความคิดเห็นอย่างรวดเร็วทั้งที่ยังไม่ได้ฟังรายละเอียดให้ชัดเจนก่อน  หรือทำไม่สนใจเรื่องราว  เดินออกจากที่ตรงนั้นแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยหรือออกจากสถานการณ์นั้นแบบดื้อ  

10.       ปฏิกิริยาโต้ตอบ  โดยทั่วไปคนที่ทำผิดจริงเท่านั้นที่  ที่จะเอาแต่ปกป้องตนเองจากคำถามหรือบ่ายเบี่ยง  ส่วนคนที่ไม่ผิดจะสวนกลับในทันที  เพราะเขางงเขาก็จะยิงคำถามมาให้เราเป็นชุดแบบไม่ลดราวาศอก  ดีไม่ดีเรากลายเป็นจำเลยเขากลายเป็นโจทย์ทันที  ที่เป็นอย่างนี้เพราะเขาไม่ยอมถ้าไม่ผิด  ข้อนี้ดูตรงที่เขาตั้งใจสวนกลับแค่ไหนเท่านั้นเอง  ถ้าผิดละก็ไม่สวนกลับแล้ว  ให้จบ ๆไปก็บุญโขแล้ว

11.       ความขัดแย้งของกริยากับคำพูด  การโกหกอาการทางร่างกายไม่สัมพันธ์กับข้อความที่พูดออกมา  เช่นคนรักบอกว่าวันนี้ฉันดีใจจริง ๆที่ได้เจอเธอ  แต่ดูเขายิ้มแห้ง ๆไม่เป็นธรรมชาติ  การบอกว่าดีใจกับการแสแสร้งยิ้มนั้นไปด้วยกันไม่ได้ครับ  ถ้าดีใจจริงก็ต้องยิ้มนาน ๆ  ยิ้มอย่างมีจิตวิญญาณ  หน้าบานยังกับจานดาวเทียมเชียวละคุณ 

12.       ดิ้นรน  หรืออาจคล้ายๆกับคำว่ากินปูนร้อนท้อง  เช่นเมื่อประมาณ ปี 43  ประเทศไทยฟีเวอร์เรื่องกระแสผีแม่หม้ายจะมาเอาชีวิต  ชาวบ้านนำปลัดขิกมาแขวนบ้าง  เอากล้วยมาแขวนบ้าง  บางรายเขียนติดไว้ว่าบ้านนี้ไม่มีผู้หญิง  นั่นเป็นการตีตนดิ้นรนให้ผู้อื่น(ผีแม่หม้าย)เข้าใจผิดแล้วเดินผ่านบ้านเราไป  เห็นมั้ยครับมนุษย์เราร้ายกาจแค่ไหน  ขนาดผียังถูกหลอกเลย    

13.       พลั้งปาก  ตามหลักจิตวิทยาการสอบสวนสืบสวนคำพูดครั้งแรกที่พูดจะเป็นจริง  คำพูดครั้งหลังส่วนมากเป็นคำแก้ตัวครับเช่นนักเรียน  นักศึกษาจะพูดว่าเมื่อคืนเราช่วยกันสรุปรายงานแทบไม่ได้หยุดพักเลย  กว่าจะทำเสร็จเกือบตีหนึ่ง  อาจพลั้งปากว่าเมื่อคืนเราช่วยกันสรุปรายงานแทบไม่ได้หยุดพักเลย  กว่าจะลอกเสร็จเกือบตีหนึ่ง

14.       การตอบแบบอ้อม   การตอบแบบอ้อม ๆ หลักการสอบสวนเท่ากับการไม่ตอบ   เขาอาจตอบไม่ตรงประเด็นที่เราเจาะจงไป เช่นถาม  ผบ.ตร.ว่า   ตามกระแสตอนนี้ประชาชนคิดว่าตำรวจปกป้องสีเดียวกัน   ไม่มีการดำเนินการสอบสวนทางวินัยใดๆเลย  ในเรื่องที่ตำรวจทำเกินเหตุ  ข้อเท็จจริงเป็นอยางไรคะ  เขาอาจตอบว่าเราคือผู้รักษากฎหมาย  ผิดก็ว่ากันตามผิด  ถูกก็ว่ากันตามถูกไม่มีการลำอียงครับ  จริง ๆแล้วประเด็นที่ถามคือ  ตำรวจปกป้องกันเองใช่หรือไม่และดำเนินสอบสวนหรือยังต่างหาก   สรุปว่าเขาไม่ได้ตอบคำถามเลย  ตอบแค่อ้อม ๆแบ่งรับแบ่งสู้เท่านั้น

15.   ปกป้องผู้อื่น  เขาไม่อยากให้ผู้อื่นติดร่างแหไปด้วย  ในเหตุการณที่เกิดขึ้น  เพราะยิ่งจะทำให้เรื่องยุ่งยากเข้าไปอีก  ดีไม่ดีเพื่อนเขาเองนั่นแหละจะชี้ว่าเขาเป็นคนทำ  ก็เลยกันคนอื่นเอาไว้ก่อน  หรือเขาอาจทำเพราะรักเพื่อนจริง ๆ

16.    พยายามขยายความ  (คุณต้องแยกแยะให้ดีระหว่างการขยายความกับการพยายามขยายความ)  ถ้าเขาไม่ขยายความคุณก็ขยายให้เขาเลย  เช่น  เขาบอกขอลาป่วย(แต่เราดู ๆ แล้วก็ไม่ได้เป็นอะไรมาก)  งั้นเราก็อธิบายให้เขาเสียเลยว่าเออเห็นคุณไม่ค่อยสบายอยู่  เป็นไงปวดหลังมากี่วันแล้ว   เว็บมีปัญหากำลังปรับปรุงอยู่ครับ

หมายเลขบันทึก: 134443เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

      ดีมากเลยค่ะ แล้วจะนำไปใช้บ้าง  แต่อยากทราบวิธี จับโกหกแบบไม่ได้เห็นหน้าน่ะคะ คือเหมือนกับการคุยโทรศัพท์ค่ะ  เพราะว่าบางทีโทรตามแฟน แฟนก็จะอ้างไปเรื่อยน่ะค่ะ  เลยอยากทราบวิธีทจับโกหกโดยไม่เห็นพฤติกรรมด้วย  ไม่ทราบว่ามีไม๊ค่ะ รบกวนด้วยนะคะ

  

มีประโยชน์มาก

ใช้ในชิวิตได้จริง

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท