ภาษาพาม่วน 1 นำ ที่แปลว่า ตาม


นำ ที่แปลว่า ตาม หรือพร้อมกัน ไม่แปลว่าออกหน้า

การ "นำ" ที่แปลว่าการ "ตาม" คำที่มีความหมายกลับกันของภาษาไทย-อีสาน-ลาว

                ภาษาไทยกลางกับภาษาไทยอีสานมักมีหลายคำที่มีความหมายผกผันกันอย่างน่าฉงน  ปนน่ารัก  คนภาคอีสานเองบางครั้งถ้าไม่สังเกตก็แทบไม่รู้สึกตัว  เช่น  คำว่านำซึ่งพวกเราเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึง  นำหน้า  อยู่ส่วนหน้า  ผู้นำก็หมายถึง  หัวหน้า  ผู้อยู่ส่วนหน้าขององค์คณะ    

               แต่ “นำในภาษาอีสานนั้น  กลับหมายถึง การตาม  ถ้าเป็นการเดินก็คือการเดินตามหลังคนเดินหน้า  เช่นคำว่า  “ควายน้อยย่างนำก้นแม่มันซึ่งหมายถึง ลูกควายเดินตามหลังแม่ 

              หรืออย่างมากก็หมายถึงการเดินไปพร้อม ๆ กันไม่ล้ำไปข้างหน้า เช่น  เฮาสองคนสิไปนำกัน  (เราสองคนจะไปด้วยกัน)  “อีแม่ข้อยไปนานำแหน่” (แม่ครับผมขอไปนาด้วย) ไม่มีความหมายว่านำหน้า    

              นำที่ยิ่งมีความหมายถึงการทำตาม เช่น  การพูดว่าลอกการบ้านจะพูดอีสานว่านำการบ้าน”  เมื่อครูจะห้ามไม่ให้นักเรียนลอกคำตอบในแบบฝึกหัดกัน ผมเคยได้ยินครูเก่าผมพูดว่า "ห้ามบ่ให้นำกันเด้อ..แหล่งน้อยเอ้ย" (แหล่งแปลว่า เด็ก ๆ /ลูกน้อง/ผู้รับใช้)

            ปัจจุบันคำว่า "นำ" ยังใช้กันปกติครับ  อย่างการขอกินด้วยคน  ขอร่วมด้วย  ขอตามไปด้วยคน  คนที่สนิท ๆ กัน ก็มักพูดว่า  นำแหน่  นำแหน่ (ขอด้วย ขอกินด้วย ขอไปด้วย) ครับ 

มีหลายคำที่มีความหมายกลับกันระหว่างภาษาไทยกับอีสาน  ที่เลิกใช้ไปแล้วเช่น คำว่าแพ้ภาษาอีสานโบราณแปลว่าชนะ” (ออกเสียง ซะนะ) ดังภาษิตอีสานโบราณบาปบ่แพ้บุญ -- ----” มิได้หมายถึงบาปชนะบุญนะครับ  แต่หมายถึง "บาปไม่ชนะบุญ" นั่นเอง (ส่วนตรงที่ขีดละไว้ชาวอีสานเท่านั้นที่รู้ดีว่าหมายถึงอะไร...)  

อีกคำที่น่าสนใจก็คือ "คู" ซึ่งภาษาไทยหมายถึงร่องน้ำเป็นทางยาว และมีความลึก แต่อีสานกลับตรงข้ามครับ คู หมายถึง การพูนดินเป็นทางยาว เช่น ขอบดินของสระน้ำที่สูง ๆ เรียก คูสระ เขื่อนดินสูง ๆ เรียกว่า คูดิน คันนาก็ว่า คูนา-คันแทนา หรือแม้แต่ถ้าพูดว่า คูน้ำ คนในชนบทอีสานที่มีแหล่งน้ำใหญ่ก็หมายถึง ลอนสูงของคลื่นน้ำ  เป็นต้นครับ

    ยังมีอีกหลายคำที่มีความหมายกลับทางกัน แบบแปลก ๆ อย่างนี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 131750เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • แวะมาเรียนพาษาคะ
  • การพูดและฟังภาษาถิ่นได้เป็นสิ่งที่ดีคะ
  • การศึกษาด้านชาติพรรณวรรณา จะทำให้ทราบวิธีคิดและวิถีชีวิตนะคะ

ได้เรียนภาษาอีกภาษาหนึ่งครับท่าน

P

รู้ไว้ใช่ว่า เข้าใจภาษา ดีดี

  •  ครูชาอย่านำข้อสอบวิชาทฤษฎีและหลักบริหาร จากหมู่เด้อ
  • อยากให้ครูชาพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์อีสานค่ะ  เคยฟังท่านเล่าบ้างบางส่วนน่าติดตามดีค่ะ

1. ขอบคุณทุกท่านที่แวะมา ม่วนสนุก กับ ภาษาพาม่วน ที่ยกมาครับ

2. เรื่องประวัติศาสตร์อีสานหรือเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง  ผมเห็นคุณออต  เล้าข้าวศึกษา  บันทึกไว้ยังตามอ่านไม่ทั่วเลยครับ...  ถ้าเราทำใจกว้าง ๆ ใหญ่ ๆ ไว้จะสามารถอ่านรู้เรื่องประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเราได้สนุกมาก  อันดับแรกเราจะต้องกล้ายอมรับว่า  อะไรคือ "แนว" อะไรคือ "ซุม" ของเรา และต้องแยกแยะว่าไม่เกี่ยวข้องกับหลักการปกครองกับบ้านพี่เมืองน้องในปัจจุบัน  เพราะคำว่าอีสานถูกเรียกมา 100 ปีเล็กน้อยมานี่เอง...  

เรียนครูชา   การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของอิสานก็คือการเรียนรู้ความเป็นมาของตนเอง  หรือ แนวของตนเอง  ว่ามีความเป็นมาอย่างไร  ตอนนี้ดิฉันกำลังอ่านหนังสือประวัติเมืองชลบถ  ของอาจารย์สนอง  คลังพระศรี  อยู่ค่ะ  ก็ได้ความรู้และสนุกดีค่ะ  เดี่ยวอ่านจบแล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนนะคะ

ขอบคุณ.. ผมจะคอยอ่านจาก ผอ.บล ด้วยความระทึกในดวงหทัยพลัน(สำนวนมติชน) ครับผม...

    คนเมืองยศขอแจมด้วยนะครับ มีประวัติเมืองนี้อยู่เล็กๆ น้อยๆ

    นัมแหน่...นำแหน่..

    ภาษาพาม่วนจริงๆ ครับ

อยากอ่านเรื่องเมืองยศ  ความเป็นมาปรากฎไฉน

เอาเลยท่านวรชัย     ผมจะเตรียมใจรอ...

 

ขอบคุณครับ สนุกและได้ความรู้ครับ

ขอบคุณท่านไม่มีรูป 10. cha
เมื่อ อา. 25 พ.ย. 2550 @ 01:31  ครับที่แวะเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท