9 กันยายน มุทิตาจิต อาจารย์หมอไพโจจน์ นิงสานนท์ กับ แพทย์แผนไทย


 

อาจารย์หมอไพโรจน์ นิงสานนท์   ที่ผมได้มีโอกาส พบใกล้ชิด ชนิดเผชิญหน้า  ในปี 2531  เดือน ตค  จำได้ว่า   อาจารย์มาเยี่ยมถึง รพ เขาชัยสน ที่ทำงาน ของทีมงานเดิม สมัยผมและเพื่อนยังเป็นแพทย์ใช้ทุน 

วันนั้น เป็นวัน จัดกิจกรรม ทันตกรรม พอสว   บ่ายต้นๆ ก็มี คอปเตอร์มาลงจอด ใน รพ

ทราบว่า  อาจารย์ ได้เวียน เยี่ยมน้องๆ รพ ชุมชน ที่ทำงานหลายแห่ง และอาจารย์นึกถึง ความเป็นอยู่ของ แพทย์ คนหนึ่ง คือ นพ พิชิต ปิยานนท์พงค์  ซึ่งถือโอกาส แวะเยี่ยมให้กำลังใจ

พวกเราก็ตกใจ ว่า ปลัดกระทรวงท่านนี้    เอ๊ะ !   มาอย่างสบายๆ เป็นกันเองมาก  ชนิดที่ทีมงานของพวกเรา ตะลึง ในความเมตตา ห่วงใย น้องๆ    ท่านเรียกขานแทนตัวเอง ว่า พี่    และ เรียกพวกเรา ว่า น้องๆ

ความจริงแล้ว ผมเคยอ่านประวัติท่าน ตั้งแต่ก่อนเรียนหมอ เสียอีก  โดยอ่านจากหนังสือ  ชุดรักเมืองไทย ซึ่งมีในห้องสมุดโรงเรียน หาดใหญ่วิทยาลัย  เป็นหนังสือวิชาการครบรอบ 60 ปี  อ ป๋วย อึ้งภากรณ์   โดยมีภาค การสาธารณสุข  เขียนโดย นพ ประเวศ วะสี  ใน พศ 2519  โดยเขียนกล่าวถึง อ.ไพโรจน์ ว่า  เป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการสาธารณสุข แก่ อ.ประเวศ ซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์ ที่ศิริราช

อาจารย์เป็น หนึ่ง ในแปดท่าน  ที่ ร่วมกันกับอาจารย์อีก 7 ท่าน ที่เสนอหลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิต  ที่เริ่มใช้ในปี 2522 เป็นระบบแพทย์ 6 ปี จบแล้วทำงานได้มีใบประกอบวิชาชีพ  โดยไม่ต้องเป็นแพทย์ฝึกหัด intern

จนกระทั่ง  มารู้จักท่านมากขึ้น ในช่วงปีใหม่ มกราคม 2550  ว่า ท่านอยู่ในฐานะของผู้ส่งเสริม ฟื้นฟู การแพทย์แผนไทย ในยุคที่ท่านเป็น รมต สาธารณสุข   ปี 2535  สมัย นายกฯ อานันท์  โดยตั้งคำเรียก ใหม่  แทน   แพทย์แผนโบราณ   แพทย์อายุรเวช    ส่งผลให้การขับเคลื่อน ยังคงติดตลาดมายังทุกวันนี้ คือ แพทย์แผนไทย

หนุมานประสานกาย คือ สมุนไพร ที่ผมพอจะรู้จัก  จากการอ่าน แต่วันนี้ ได้เรียนรู้อย่างใกล้ชิด จาก อ.หมอ ไพโรจน์  อ.หมอจุรี  นิงสานนท์  ว่า  เป็นต้นไม้ดี ปลูกง่าย ใช้ได้ผล  และ ได้เมตตาแบ่งกิ่งต้นมาให้ไปลองปลูก  และ ลองใช้ต่อไป

ผมจึงได้แนวคิด ต่อว่า  อย่างน้อย ผมจะต้องขยายแพร่พันธ์และความรู้ประสบการณ์ไป ให้ได้ 9  ราย   และหวังว่า จะ ทวีคูณของ ดีดี อย่างนี้ไป

นอกจากนี้ยังคิดเลยเถิดว่า  หากมีโอกาส ไปเยี่ยม คารวะอาจารย์อีก เมื่อใด  ก็จะเรียนรู้ และ มอบต้นไม้ดีดี  คืนตอบแทนน้ำใจของอาจารย์บ้าง

คุณตา ของอาจารย์หมอไพโรจน์ เป็นหมอเด็ก สมัยรัชกาลที่ ๕ ชื่อ หมอพลอย  แพทยานนท์

 

หมายเลขบันทึก: 126682เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2007 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท