บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

นครธมศิลปะแบบบายน


ก้าวแรกที่เราจะต้องเดินผ่านช่องประตูเข้าเราต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของรูปสลักหินทรายเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้คณะเราถึงกับหยุดเหมือนถูกสะกดอยู่ชั่วขณะหนึ่ง

นครธมศิลปะแบบบายน

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        คำว่า ศิลปแบบบายนท่านเคยได้ยินไหมครับ ผมเคยได้ยินช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ ในการศึกษาปราสาทต่างที่อยู่ในประเทศไทยของเรา มักจะได้ยิน คำว่าเป็นศิลปะแบบบายน ตอนนั้นก็เข้าใจในระหนึ่งเท่านั้น เมื่อมีโอกาสได้มาเห็นต้นแบบของศิลปบายน ก็ยิ่งทำให้ทราบว่าศิลปแบบบายนนั้นมีค่าและงดงามเกินที่จะบรรยาย</p><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="180" align="center" style="width: 180px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #ff6600"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เป็นเมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองที่สุด สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะแบบบายน เป็นแบบศาสนาพุทธนิกายมหายาน รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> <table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="150" align="center" style="width: 150px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #3333ff"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table>
          ก้าวแรกที่เราจะต้องเดินผ่านช่องประตูเข้าเราต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของรูปสลักหินทรายเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้คณะเราถึงกับหยุดเหมือนถูกสะกดอยู่ชั่วขณะหนึ่ง    ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีรวมถึง 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว
    <table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="104" align="center" style="width: 104px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #ff33ff"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table>
         
ส่วนด้านข้างของกรอบประตูก็จะพบกับประติมากรรมลอยตัวพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณสามเศียร คอยต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือน  สองข้างทางของสะพานที่ทอดข้ามคูเมืองด้านซ้ายเป็นศิลาทรายสลักลอยตัวในพีธีชักนาคดึกดำบรรพ์โดยเป็นฝ่ายเทวดา ส่วนด้านขวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาค  ทั้งภาพสลักเทวดา นาค และยักษ์
<table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="242" align="center" style="width: 242px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #99ff00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เมืองพระนครหลวง นับได้ว่าเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึงสามกิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง 9ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,625 ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> <table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="162" align="center" style="width: 162px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #6600cc"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table>
          ประตูด้นทิศใต้ของเมืองพระนครหลวงจัดได้ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคในพิธีชักนาคดึกดำบรรพ์ เพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นที่มาของการกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล <table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="172" align="center" style="width: 172px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #ff3300"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">
<table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="174" align="center" style="width: 174px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #996633"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table>
<table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="132" align="center" style="width: 132px; height: 58px; border-width: 6px; border-color: #cc0099"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table>
</p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 126473เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เคยอ่านเรื่องราวของนครวัต-นครธมไว้นานมาแล้วอ่ะค่ะ ถึงตอนนี้ชักจะลืมๆไปบ้างแล้ว
  • อุตส่าห์ไปเพิ่มแรมนึกว่าเครื่องจะเร็วขึ้นได้บ้างแต่ก็ยังโหลดช้าเหมือนเดิม ไม่รู้เพราะ รูปเยอะรึป่าวนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีครับป้าแดงP
  • โหลดช้าน่าจะเป็นเพราะภาพมากไป ครูหญ้าบัวก็เคยบอก คราวต่อไปคงต้องตัดใจคัดเอาแต่ภาพที่สำคัญๆ
  • ขอบคุณป้าแดงครับ
  • อาจารย์คะ
  • พอมาเปิดครั้งนี้ กลับโหลดเร็วมาก
  • ไม่รู้เครื่องคอมป้าแดง จะเลียนแบบนิสัยป้าแดงมากไปรึป่าวไม่รู้ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อิอิอิ
  • สวัสดีครับป้าแดงP
  • ใครว่าป้าแดงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ป้าแดงใจดีครับ ผมมั่นใจนะครับ
  • ป้าแดงยังมีไฟอยู่ต่างหากครับ
  • ขอบคุณครับป้าแดง
  • น้องบัวชูฝัก
  • แบล็คกราวด์ภาพแรกสวยค่ะ.....แต่ภาพน้องทำอะไรน๊ะ?.......โกรธคนถ่ายภาพหรือยิ้มให้จ๊ะ.....(ได้ที...)
  • ภาพที่ 3  ไปเปรียบเทียบอะไรขนาดนั้น.....น๊าน....น๊าน.......
  • ภาพที่ 4 น้องนี่ดื้อจังนะ.....ปีนขึ้นสูงจังเลย....
  • ภาพที่ 8 สวยมากค่ะ....อิอิ...ไม่ชมเลยเดี๋ยวถูกขว้างจอคอม....อิอิ.....( ชาวบล็อกต้อง..อิอิ...)
  • แล้วจะกลับมา  อิอิ  ใหม่นะ

  • สวัสดีครับคุณครูหญ้าบัวP
  • ภาพแรกถ่ายช่วงประมาณสี่โมงเช้าแดดแรงแต่ไม่ร้อนครับ เลยไม่รู้ว่ายิ้มหรือแยกเขี้ยวครับ
  • ภาพที่3จะได้ทราบขนาดยังครับ ว่ายิ่งใหญ่อลังการขนาดไหน อิอิ
  • ภาพที่ 4 ไม่ได้ดื้อ เป็นบันไดที่เขาเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมด้านบนครับ
  • ภาพที่ 8 เป็นภาพทางเข้าของปราสาทนครธม ด้านซ้ายมือเป็นบรรดายักษ์ ด้านขวามือเป็นบรรดาเหล่าเทวดา กำลังทำพีธีชักนาคดึกดำบรรพ์ ที่มาของตำนานการกำเนิดของจักรวาล
  • ขอบคุณครูหญ้าบัวครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท