แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน


แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน

สกุล จันดี

การเรียนยุกต์ใหม่ใส่ใจแหล่งการเรียนรู้รอบตัว

 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการของการศึกษาไว้ในมาตรา 6 ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข และการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องของทุกคน โดยทุกฝ่ายในสังคมต้องเข้ามามีส่วนร่วม มาตรา 8 ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและมาตรา 9 กล่าวถึง กระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่น มาตรา 24 กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรูจากประสบการณจริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสนับสนุนใหผูสอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดลอม สื่อการเรียนและอํานวยความสะดวกเพื่อให้ผูเรียนเกิดการเรียนรูและมีความรอบรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันจากสื่อการเรียนการสอนและแหลงวิทยาการประเภทตางๆ สามารถจัดการเรียนรู้ใหเกิดขึ้นไดทุกเวลา ทุกสถานที่ ด้วยการประสานความรวมมือกับบิดา มารดา ผูปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝาย และมาตรา 25 รัฐตองสง เสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหลงการเรียนรูตลอดชีวิตทุกรูปแบบทั้งหองสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ หอศิลป สวนสัตว สวนสาธารณะ ศูนยการกีฬาและนันทนาการ สวนพฤกษศาสตร อุทยานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี แหล่งขอมูลและแหลงการเรียนรูอื่นๆ อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้สถานศึกษามุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่และเรียนรู้ได้จาก สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท รวมทั้งจากเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนและแหล่งอื่นๆ ที่มีความหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่าน่าสนใจ ชวนคิดชวนติดตาม เข้าใจง่ายและรวดเร็ว

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย (มาตรฐานที่ 1(6)) มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้ และสื่อทั้งในและนอกสถานศึกษา (มาตรฐานที่ 6(2)) สถานศึกษามีการนำแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาชุมชนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (มาตรฐานที่ 14(7)) ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา (มาตรฐานที่ 16) สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้แหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาชุมชน (มาตรฐานที่ 17)

แหลงเรียนรูในชุมชนมีความจำเป็นและมีความสําคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผูเรียนเปน สําคัญ ทำใหผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการการเรียนรูจากสื่อและแหลงวิทยาการประเภทตางๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา การจัดการเรียนรูโดยใชแหล่งเรียนรู้ นักเรียนจะไดเรียนรูจากประสบการณ์จริง ไดฝกปฏิบัติหาความรู้และสรุปความรูได้ดวยตนเองจนเปนผูที่คิดเปนทําเปน รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้ใฝเรียนอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้จากของจริง จึงทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นคำตอบว่าทำไมการเรียนยุกต์ใหม่จึงต้องใส่ใจแหล่งเรียนรู้รอบตัว ดังนั้นครูยุกต์ใหม่และผู้บริหารมืออาชีพ จึงต้องใส่ใจและให้ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง

หมายเลขบันทึก: 124170เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท