ปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา (2)


ถึงลูกศิษย์ปริญญาเอกที่รักทุกท่านและชาว Blog ...
มีต่อ

Dear Prof. Chira,

Thank you for providing us a new blog.

I have submitted my howework for Saturday 18 August, 2007 via your email. Therefore, will not be any homework on this blog.

I will be absence from class this coming Saturday.  Looking forward to meet you in class on Saturday 1 September, 2007.

Thank you very much.

Best regards,
Sarah (NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM

***  เช้าวันเสาร์ที่18 ส.ค. 50 เป็นวันแห่งการเรียนรู้แบบ Happy Learning อีกวันกับศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ด้วยบรรยากาศการนั่งล้อมวงกันนอกห้องเรียน เพื่อปรึกษาพูดคุย ซักถาม  เสนอข้อคิดเห็นกับอาจารย์แบบกันเองๆ ดิฉันต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณาให้ความรู้และความห่วงใยต่อพวกเราเป็นอย่างดีเยี่ยม มา ณ ที่นี้อีกครั้ง และในวันนี้อาจารย์ได้ให้คำถาม 2 ข้อ ดังนี้ ***ข้อ1.  แนวคิดของ Prof.Peter Senge และศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร-  ในศตวรรษที่ 21 สภาพแวดล้อมของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ฯลฯ     มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรุนแรง และต่อเนื่อง ทำให้ยากต่อการคาดการณ์มากกว่าศตวรรษที่ผ่านมา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมเข้าสู่เศรษฐกิจระบบใหม่ New Economy การเปิดการค้าเสรีทำให้เกิดการลงทุนระหว่างประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจหรือขององค์กรที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ทรัพยากรมนุษย์กลายเป็นต้นทุนและปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบต่างๆ ขององค์กรไปสู่ทิศทางแห่งความล้มเหลวหรือความเป็นเลิศขององค์กรนั้นๆ ซึ่งถือเป็นประเด็นของการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลในองค์กรปัจจุบัน                *** Prof.Peter Senge เจ้าของผลงาน The Fifth Discipline Fieldbook แห่ง The Sloan School of Management สถาบัน MIT ผู้ให้กำเนิดแนวคิด Learning Organization ให้เกิดขึ้นในองค์กรบนเงื่อนไขการพัฒนาคนทุกระดับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั้งในด้านวิธีการ การบริหารจัดการ การสร้างค่านิยม งบประมาณและเวลาที่เพียงพอ โดยให้ความรู้ที่ทันสมัย ให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ซึ่ง Prof.Peter Senge กำหนดหลักสำคัญไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1. Personal Mastery - การเรียนรู้และการกระตุ้นให้บุคคล/สมาชิกในองค์กร เกิดพลังงานEnergy และนำพลังงานมาใช้เพิ่มสมรรถนะความสามารถ อันนำไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จของบุคคลและองค์กร 2. Mental Models - การสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางและการตัดสินใจขององค์กร   3. Shared Vision - เป็นการสร้างความรู้สึกผูกพันของคนในกลุ่ม ด้วยการใช้ความคิดร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และปฏิบัติตามกฎที่กำหนดร่วมกันเพื่อนำสู่จุดหมาย 4. Team Learning - การแลกเปลี่ยนความรู้ และรวบรวมความคิด ทักษะ เพื่อนำมาใช้พัฒนาความรู้ความสามารถของกลุ่มบุคคลในองค์กร 5. System Thinking - วิธีการคิดและการเชื่อมโยงการเรียนรู้ที่ได้จากหลักการในข้อ 1-4 เพื่อนำมาใช้ปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เกิดประโยชน์ในภาพองค์รวม*** ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงยุคโลกาภิวัตน์ที่ต้องแข่งขันเพื่อความอยู่รอดว่า อาวุธที่ใช้สู้กันมากที่สุดคือความรู้และปัญญา ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎีเพิ่มค่าทุนมนุษย์ 8K’s ” ประกอบด้วย1. Human Capital – ทุนมนุษย์ คือการลงทุนด้านคน เช่นให้การศึกษา การฝึกอบรม โภชนาการ ซึ่งครอบคลุมถึงทุนขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับมาแต่วัยเยาว์ตั้งแต่การได้รับการอบรมและเลี้ยงดูจากบิดา มารดา พื้นฐานการศึกษา และพื้นฐานทางสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ2.Intellectual Capital – ทุนทางปัญญา หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นและการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)3.Ethical Capital – ทุนทางจริยธรรม เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริต 4. Happiness Capital – ทุนแห่งความสุข เน้นว่าหากมนุษย์มีทุนแห่งความสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขกายหรือสุขใจ จะทำสิ่งใดมักประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่มีทุนแห่งความสุข5. Social Capital – ทุนทางสังคม คนที่ประสบความสำเร็จได้ต้องรู้จักการวางตัวที่เหมาะสม และรู้จักการเข้าสังคม คนที่มีทุนทางสังคมดี เมื่อพัฒนาตนเองไปถึงระดับหนึ่งจะสามารถบริหารเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม (Network and Partnership) ให้เป็นประโยชน์กับงาน หรือกับสังคมโดยรวมได้6. Sustainability Capital – ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกา    ภิวัตน์หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนจะไม่สามารถอยู่รอดและทุนทางวัฒนธรรม Culture Capital  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เราไม่ไหลเลื่อนไปตามกระแสโลกจนสูญสิ้นความเป็นตัวของตัวเอง 7.Digital Capital – ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT ได้แก่ผู้มีความรู้ มีปัญญา ย่อมรู้สถานการณ์โลกและให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ8. Talented Capital – ทุนทางความรู้, ทักษะ และทัศนคติ (Mindset)*** จากการเปรียบเทียบแนวคิดของ Prof.Peter Senge กับ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พบว่าโดย พื้นฐานของปัจจัยหลักแนวคิดไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งสองแนวคิดมุ่งเน้นการเรียนรู้ขององค์กร Learning Organization สู่ความสำเร็จด้วย Key Success Factor  ***สำหรับปัจจัยเสริมในบางประเด็นมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เนื่องจาก Prof.Peter Senge อธิบายในมุมมองของโลกตะวันตก west side ในขณะที่ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อธิบายในมุมมองของโลกตะวันออก east side  ซึ่งทั้งสองด้านมีข้อแตกต่างกันในบางประเด็นเช่นวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  *** อย่างไรก็ตาม แนวคิดทั้งสองสามารถเปรียบเทียบความสอดคล้องกันดังนี้ ***1. Personal Mastery  สอดคล้องกับ Human Capital และ Intellectual Capital2. Shared Vision สอดคล้องกับ Human, Social, Digital  และ Talented Capital3. Mental Models สอดคล้องกับ Human,Intellectual และ Talented Capital4. Team Learning สอดคล้องกับ Ethical, Happiness, Social, Sustainability และ Talented Capital5. Systems Thinking สอดคล้องกับ Human, Intellectual,Ethical,Happiness, Social, Sustainability,   Digital และ Talented Capitalข้อ2. ทำอย่างไรเพื่อให้แนวคิดจากข้อ1 ขยายในมุมกว้างได้*** การพัฒนาหรือปรับปรุงกิจกรรมเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จใดๆก็ตาม จะต้องผ่านกระบวนการ     ให้ความรู้ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อนำสู่การปฏิบัติต่อไป *** การจะทำให้แนวคิดดังกล่าวเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ องค์กร และบุคคล อย่างกว้างขวาง ควรเริ่มต้นด้วยการ   ให้ความรู้ผ่านกระบวนการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่เป็นครูให้เป็น Good Learner และ Global Citizen ที่ไม่ใช่เป็นครูแบบ Teacher Teaching หรือนักทฤษฎีวิชาการเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นนักปฏิบัติที่มี R&D(Research and Development) โดยใช้ ปัญญากับความจริง ส่งผ่านวิธีการเรียนรู้ด้วยทฤษฎี 4L’s คือ Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities และ Learning Communities เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ Output ที่เป็นผู้นำ Leadership สู่สังคมและประเทศชาติต่อไป *** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่ 7  :  วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ : เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่อง : เรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็ก (Micro)

นักศึกษา : นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา....

เป็นการส่งครั้งที่ 2 ค่ะ (ครั้งแรกส่งทาง Blog ที่มีปัญหา แล้วส่งทางE-mail วันที่ 18 ส.ค. 2550) 

 

วันนี้ท่านอาจารย์เน้นแนวคิดของ Peter Senge เรื่อง The Fifth Disciplineว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก   ทุนคืออะไรและมีที่มาอย่างไร

 

ทุนเกิดจากการบริโภค (Consumption) และการลงทุน (Investment) เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป การมอง Human Capital ต้องมองภาค Hr Political Economic Sociology ต้องใฝ่รู้ ข้ามศาสตร์  และการมองทุนมนุษย์ให้เป็น Global Citizen ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาให้มาก เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ  คุณภาพการศึกษาไทย เพื่อนำคนไปสู่การเป็นประชาชนที่ดี (Good Citizen)  และเป็น Global Citizen ในสังคมที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ในที่สุด

         

ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานของ ทรัพยากรมนุษย์ Human Capital     ทุนมนุษย์Intellectual Capital       ทุนทางปัญญาEthical Capital     ทุนทางจริยธรรมHappiness Capital         ทุนแห่งความสุขSocial Capital                 ทุนทางสังคมSustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืนDigital Capital               ทุนทาง IT         Talented Capital  ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset(ท่านอาจารย์บอกว่า ทุนทั้งหมดเป็น Sub Set ของ  Human Capital ทุนมนุษย์ )เน้นที่การสะสมทุนทางปัญญาต้อง  ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง   ในยุค 21st Century อาวุธที่สู้กันมากที่สุดคือปัญญา การมีปัญญาอย่างเดียวก็คงไม่พอ ก็มีอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง เช่น คนมีความสุข มีความพอใจในการทำงาน ซึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้าได้ประโยชน์ และสังคมได้ประโยชน์อะไรบ้าง ทุกอย่างต้องมีความสมดุล เพื่อให้มีความสุข มีความยั่งยืน  ทฤษฎี 5 K’s ใหม่เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ Creativity Capital                   ทุนแห่งการสร้างสรรค์Knowledge Capital        ทุนทางความรู้Innovation Capital        ทุนทางนวัตกรรมCultural  Capital            ทุนทางวัฒนธรรมEmotional Capital                   ทุนทางอารมณ์ (เรื่อง Intellectual Capital (IC) ก็เป็นที่มาของ 8K’s และ 5K’s เรียกทฤษฎี IC ได้อีกอย่างหนึ่งว่า The Theory of Intangible. IC ให้ได้ผล ยังต้องไปเชื่อมกับ Social Capital  คือบูรณาการเชื่อมโยงเข้าหากลุ่มอื่น ๆ) วิธีคิด 4 แนวของพระเจ้าอยู่หัวฯก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
 1) ทำอะไร
 2) ทำอย่างไร
 3) ทำเพื่อใคร
 4) ทำแล้วได้อะไร
 ทุนทางความสุข  (Happiness Capital) เป็นทุนที่สำคัญมากในการทำงานสำหรับยุคแห่งการแข่งขันนี้ ซึ่งการทำงานให้มีความสุขได้จะต้อง           รู้จุดมุ่งหมายของงาน และรู้ว่าผู้รับบริการต้องการอะไร          รู้ว่าเรามีความสามารถในการนำเสนอ พอเพียงหรือไม่          ต้องเตรียมตัวดี มีเวลาเพียงพอ           พักผ่อนเพียงพอ          มีทีมที่ดี 

การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยยังล้าหลัง ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน   สังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน 
       

การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ความรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ (Anywhere Learning / Study Tour / Tea Time .etc..) ไม่ใช่ฟังข้างเดียว ท่านอาจารย์บอกว่านักศึกษาต้องวิเคราะห์ให้เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
      - Reality มองความจริง
      - และ Relevance ตรงประเด็น

ท่านอาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเรื่อง  Leveraging The New Human Capital1People, The Engine of Success            ได้ความรู้พอสังเขปดังนี้ หากองค์กรมองกำไรเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญมาในอันดับแรแล้วให้ความสำคัญกับ คน เป็นอันดับรองแล้ว นั่นคือสัญญาณอันตราย เพราะองค์กรนั้นกำลังมองความความสำคัญของทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กรเสียแล้วเรื่องความสำคัญของคนกลายมาเป็นประเด็นที่องค์กรต่างๆนำมากล่าวถึง ความสามารถของคนที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และแน่นอน ทุนมนุษย์เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ทุนมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เป็นตัวผลักดันให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ ก็คือความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการนั่นเอง สิ่งที่สำคัญ....เมื่อทุนมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง1.     เกิดผลกระทบในทางบวกสนับสนุนซึ่งกันและกัน2.     เห็นคุณค่าและใส่ใจพนักงานมากขึ้น3.     มีความเชื่อว่าองค์การแบ่งปันคุณค่าให้มากขึ้นผลกระทบในทางบวกสนับสนุนซึ่งกันและกันนี้ เกิดขึ้นระหว่างพนักงานกับลูกค้าหรือองค์กร ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ กลายมาเป็น คุณค่า ทักษะทางเทคนิค และความรู้ ทักษะในการสื่อสาร : ประสิทธิภาพของการสื่อสารที่ดีคือการได้สื่อสารโต้ตอบกัน การฟัง การสื่อสารหลายรูปแบบ อาทิ วัจนภาษา อวัจนภาษา สื่ออิเล็กทรอนิคส์  เพศ  อายุ วัฒนธรรม ทำให้เรามองเห็นคุณค่า ความจำเป็นที่จะสามารถจัดการกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันได้   ทักษะการติดต่อ : ต้องมีความเข้าใจที่จะเรียนรู้จากผู้คนในวงกว้างเพื่อสร้างมิตรภาพ ความสัมพันธ์ ให้เกิดความไว้วางใจ  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความจำเป็นต่อการทำงานให้ประสบความสำเร็จและความร่วมมือที่ดีต่อกัน คนชอบที่จะร่วมมือทำงานกันเพื่อผลงานที่ดี ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างที่ดีมากกว่าการสั่งการ ตลอดจนการประเมินผลที่ถูกต้อง    ในขณะที่พนักงานเองก็ต้องทำงานภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน ความซับซ้อน ทำงานด้วยความรับผิดชอบและมีคุณธรรม เรียนรู้ที่จะให้และรับความไว้วางใจ  สร้างแรงจูงใจ    การตัดสินใจ   เป็นผู้ที่รับความเสี่ยงอย่างชาญฉลาด สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้พนักงานก็ต้องมีความเข้าใจ ความผูกพันในองค์กร พนักงานเห็นคุณค่าขององค์กร องค์กรก็เห็นคุณค่าของพนักงาน  หากพนักงานไม่มีความเบื่อหน่าย  กระตือรือร้น ไม่ขาดศีลธรรม มีความฉลาดทางอารมณ์  ก็จะนำไปสู่บรรยากาศการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แรงจูงใจ ความผูกพัน และสร้างสรรค์นวัตกรรมคือทุนมนุษย์ในที่สุด สรุป : องค์กรต้องนำเอาศักยภาพทางแนวคิดของพนักงานนั่นคือทุนมนุษย์ออกมา ด้วยการสร้างสัมพันธภาพและความผูกพันที่ดี  การสนับสนุน  การเชื่อในคุณค่าขององค์กรซึ่งต่างจากการจัดการทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงินเพราะมนุษย์มีความสลับซับซ้อน แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจไม่ใช่เครื่องจักร Leveraging The New Human Capital ให้แนวคิดที่ไม่ได้แตกต่างจากท่านอาจารย์จีระ  เพราะให้ความสำคัญของทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร แต่หนังสือเล่มนี้เน้นในเรื่องของ Engagement / Creativity / Interpersonal Skill / Relationship เน้นความเป็นผู้นำ จากการวิเคราะห์ความหมายของภาวะผู้นำข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคน และสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ จากบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม (Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง(Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติส่วนท่านอาจารย์จีระนั้น มองทุนมนุษย์อย่าง Macro มีการบูรณาการ เชื่อมโยง Brain Lingkage ข้ามศาสตร์ ทำให้เห็นภาพ Big Picture  นำไปสู่Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม  ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ คำนิยามของคำว่า ผู้นำตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ให้ความหมายของผู้นำว่า เป็นนามหมายถึง หัวหน้า แต่ความหมายของคำว่า ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
           การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ)ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น(ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง  (พยอม วงศ์สารศรี, 2534:196) ความท้าทายของผู้นำในวันนี้·        ลักษณะงานเปลี่ยนไปหลาย ๆ คนขาดทักษะและความรู้ในการทำงานแบบใหม่·         การต่อต้านจากวัฒนธรรม วิธีปฏิบัติ แนวคิด แบบเดิม·         ความเครียดของลูกน้อง ที่เกรงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง·         ลูกน้องที่รับเข้ามาใหม่ ๆ มีการศึกษาสูงขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองสูง·         ลูกน้องต้องการทำงานที่มีความท้าทายมากขึ้น·         ลูกน้องต้องการมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาการจัดการ “ A Leading University Quality for All ”

 

การบ้านครั้งที่ 8

ทรัพยากรมนุษย์

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

( HR – Creativity and Innovation )

เสนอ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ผู้นำเสนอ นายพนม ปีย์เจริญ

21 สิงหาคม 2550

1.จากคำถามที่ว่า แนวความคิดของ Peter Senge ต่างกับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างไร ?

จากการที่ได้ศึกษาแนวความคิดของ Peter Senge ในการที่จะสร้างคนให้มีการเรียนรู้ โดยเน้นให้คนต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมตนเองให้สามารถมี 5 วินัย ได้ครบถ้วนตามกฎของ Peter Senge คือ

   

1. Personal Mastery

ตนต้องรู้จักตนเอง ว่ารู้และยังไม่รู้เรื่องใดต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม จนเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกลสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ

2. Mental Model

ตนต้องไม่เอาตนเป็นที่ตั้ง ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องรู้จักฟังคนอื่น ยอมรับคนอื่น แล้วนำความคิดเห็นของผู้อื่นมาร่วมพัฒนา ร่วมกับความคิดของตนเองในการพิจารณาและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

3. Share Vision

การรับฟังมุมมองของทุกคน ทุกระดับ แม้เรื่องของ Vision จะถูกกำหนดโดยผู้บริหารก็ตามแต่ Vision อาจเกิดจากพนักงานในระดับต่างๆได้ ซึ่งมุมมองในแต่ละระดับของพนักงาน ย่อมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

4. Team Learning

การเรียนรู้เป็นกลุ่ม เป็นการเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดการพัฒนา เพราะเป็นการเรียนรู้โดยรับรู้มุมมองในแต่ละด้านแต่ละความคิด ของแต่ละมุมมอง

5. System Thinking

การคิดให้เป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุมีผล รู้ว่าผลที่เกิดมาจากสาเหตุอะไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร

   

การมี 5 วินัยของ Peter senge จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คนมีการเรียนรู้ มีการพัฒนา อันจะส่งผลทำให้เกิด Individual Competency ซึ่งในอนาคต Competency จะเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์กรมากกว่าสินค้าและบริการ

ดังนั้นการสร้างวินัยในการเรียนรู้ของ Peter Senge จึงเป็นแนวทางอันสำคัญในการพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ (Asset) ให้กับองค์กรต่อไปในอนาคต

ในขณะเดียวกัน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนให้มีศักยภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขององค์กรในระดับ Micro ไปจนถึงในระดับ Macro แม้กระทั่งในการสอนของท่าน ดร.จีระ ท่านอาจารย์ก็จะเน้นการกระตุ้นให้มีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ มีการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆที่หลากหลาย กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดซึ่งกันและกัน

พยายามผลักดันให้นักศึกษามีความคิดนอกกรอบ ( Think out of the box ) เพื่อให้เกิดความคิดต่อยอดจากที่อาจารย์คิด เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิด และมีความแตกต่างในการพัฒนาการเรียนรู้

นอกจากนั้นเพื่อให้เห็นถึงความหลากหลายเพื่อสร้างทุนทางปัญญา ท่านอาจารย์ก็ได้ กรุณา ใช้ศักยภาพของท่านเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์จริง ที่ใช้ทฤษฏีผ่านกระบวนการปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษา

นับเป็นความโชคดีของนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับรู้ข้อมูลความรู้จากผู้ปฏิบัติจากทฤษฏีให้เห็นแจ้ง

ซึ่งในส่วนของวิทยากรที่มาสอนในส่วนของท่าน ดร.จีระ มาสอนด้วยตัวท่านเองก็มีหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน

    โดยเฉพาะ ทฤษฏี 8K ของท่าน ดร.จีระ ที่เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ คือ

    1. Human Capital ทุนมนุษย์

    2. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

    3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

    4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

    5. Social Capital ทุนทางสังคม

    6. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

    7. Digital Capital ทุนทาง It

    8. Talented Capital ทุนทาง knowledge , Skill และ Mindset

    แสดงให้เห็นว่าแนวความคิด 8K ของท่านอาจารย์มีความเป็นเหตุเป็นผลจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเมื่อนำแนวทฤษฏีของท่าน ดร.จีระ ไปเปรียบเทียบกับแนวคิดการสร้างวินัยในการเรียนรู้ทั้ง 5 ข้อจะเห็นความเหมือนกันในหลายๆด้าน

    แต่ของท่าน ดร.จีระ จะมีการพัฒนาความรู้ตามแนวตะวันออกที่นอกจากจะมีความรู้ทางด้านความกว้างแล้วยังเหนือกว่าที่มีความรู้แนวตะวันออกทางด้านความลึกมากกว่าของ Peter Senge อีกด้วย    ด้วยเพราะว่า ท่าน ดร.จีระ เป็นภาคตะวันออกแต่ไปเรียนรู้ในประเทศตะวันตก จึงย่อมมีความลุ่มลึกในการเรียนรู้พฤติกรรมคนในแบบตะวันออกได้ดีกว่า

Peter Senge ในขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาสเรียนรู้ทฤษฏีและแนวความคิดของนักคิด นักทฤษฏีชาวตะวันตก จึงสามารถต่อยอดบูรณาการได้ลุ่มลึกชัดเจนกว่า

    และก็ต้องยอมรับว่าหลายครั้งที่ทฤษฏีหรือแนวคิดแบบตะวันตกล้วนๆก็ไม่สามารถนำมาใช้กับคนทางตะวันออกได้ 100% หรือบางครั้งก็ใช้ไม่ได้เลย ถ้าไม่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงต่อยอด,หรือบูรณาการเสียก่อน ซึ่งเท่าที่ได้เรียนรู้จากท่าน ดร.จีระ ไปเปรียบเทียบกับของ Peter Senge ก็ทำให้เห็นความเป็นสากลของทฤษฏี 8K ของท่าน ดร.จีระ อย่างชัดเจน เช่น

Personal Mastery ที่ Senge ได้ชี้ให้เห็นว่าตนต้องรู้จักตนเองว่ารู้ไม่รู้อะไร เพราะ

คนที่ยอมรับว่ารู้ในสิ่งที่รู้

และยอมรับว่าไม่รู้ในสิ่งที่ไม่รู้

ถือว่าเป็นผู้รู้อย่างแท้จริง

    

ก็สอดคล้องกับทฤษฏีของท่าน ดร.จีระ ในเรื่องของ

ทุนมนุษย์ (Human Capital)

ทุนทางปัญญา ( Intellectual Capital )

ทุนทางความรู้,ทักษะ และระบบความคิด ( Talented Capital )

Mental Model ตนต้องไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง ต้องฟังความคิดของผู้อื่น ก็สอดคล้องกับ ทุนทางปัญญา ( Intellectual Capital )ทุนทาง knowledge , Skill และ Mindset

ทุนทางสังคม ( Social Capital )

Share Vision เห็นอนาคตร่วมกันซึ่ง Vision นั้นอาจเกิดจากคนทุกระดับ ซึ่งทฤษฏีนี้สอดคล้องกับทุนทางสังคม ( Social Capital ) ทุนทาง IT ( Digital Capital )

Team Learning การเรียนรู้เป็นกลุ่มจะทำให้เกิดการพัฒนา ก็สอดคล้องกับ ทุนแห่งความสุข

( Happiness Capital ) ทุนทางสังคม ( Social Capital ) ทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital ) ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital ) ทุนทางความรู้ ,ทักษะ และระบบคิด

System Thinking คิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งสอดคล้องกับ ทุนมนุษย์ ( Human Capital ) ทุนทางปัญญา ( Intellectual Capital ) ทุนทางความสุข ( Happiness Capital ) ทุนทางสังคม ( Social Capital ) ทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital ) ทุนทาง IT ( Digital Capital ) ทุนทางความรู้ , ทักษะ , ระบบความคิด ( Talented Capital )

     จากการเปรียบเทียบก็จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างมากในการสร้างพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ จะต่างกันก็ตรงที่ว่าเป็นแนวความคิดแบบตะวันตกกับตะวันออกที่ผ่านการบูรณาการ( Integration ) จึงมีความกว้างและลึกกว่าของ Peter Senge

    

2. คำถามว่า เราจะทำอย่างไร ? ถึงจะให้ความคิดขยายไปในสังคมมุมกว้าง

     จากอดีตอันยาวนานมาของชนชาติไทย , คนไทยเราถูกสอนให้เป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ , ถูกสอนให้เชื่อ มากกว่าให้คิด เพราะฉะนั้น การถูกหล่อหลอมในรูปแบบเดิมๆยังถูกปลูกฝังอยู่ในรูปแบบที่ถูกพัฒนามาตามกาลเวลา

     ดังนั้น การที่จะนำเอาแนวความคิด การพัฒนาการเรียนรู้เข้าไปปลูกฝังให้กับคนไทย จึงต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่งและไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้กำลังใจกำลังกาย กำลังสติปัญญามากทีเดียว ถึงจะเปลี่ยนค่านิยมเดิมๆได้ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ด้วยการเริ่มต้นปลูกฝังกันตั้งแต่ ชั้นปฐมภูมิ คือในระดับครอบครัว ระดับทุติยภูมิ เรื่อยไปจนกระทั่งระดับมหาลัย ระดับองค์กรซึ่งต้องใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตั้งแต่

การฝึกอบรม ( Training ) องค์กรต้องจัดให้มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาความรู้ใหม่ๆทฤษฏีใหม่ๆก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่นเดียวกัน
ภาษาถิ่นเดิม ถูกเพิ่มด้วย ภาษา IT ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

เราจึงต้องใช้การฝึกอบรมพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องมือต้นๆในการพัฒนาคน โดยทุกองค์กรต้องพยายามใส่ใจที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง

การศึกษาหาความรู้ให้ตนเอง ( Education ) คนแต่ละคนต้องหาความรู้ให้ตนเอง ด้วยการนำทฤษฏี 8K , 5K ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเป็นแนวทางในการพัฒนา ด้วยการปลูกฝังให้เป็นวินัยของตนในองค์กร

การวางแผนและการพัฒนาสายอาชีพ ( Development ) ด้วยเพราะคนมีการศึกษา , การเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น สูงขึ้น องค์กรก็ต้องพัฒนางานให้สอดคล้องกับความรู้ความสามารถให้สามารถสอดรับ กับความรู้ความสามารถของพนักงานที่สูงขึ้น อันเป็นการป้องกัน การเปลี่ยนงานของพนักงานอีกทางหนึ่งด้วย

การเรียนรู้ร่วมกัน ( Learning Organization ) อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กระแสการแข่งขันในโลกปัจจุบันมีความดุเดือด เข้มข้นขึ้นทุกวัน

    การพัฒนาคนและการพัฒนางาน ก็ยังไม่ทันกับกระแสการแข่งขัน หลายองค์กรจึงต้องหันไปปรับโครงสร้าง ( Re – engineering ) เพื่อให้คนเปลี่ยน Attitude และ Culture เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร ด้วยการนำทฤษฏี 8K และ 5K ของท่าน ดร.จีระ เข้าไปสร้างคนให้มีการเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนรู้ต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กรทุกองค์กร เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีทุนทางปัญญา เพื่อให้เขาเหล่านั้นเป็นสินทรัพย์ขององค์กร ( Asset ) สิ่งที่เราต้องทำก็คือต้องพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่า

       

* การพัฒนาการเรียนรู้ให้กับคนในองค์กรนั้น

- จะสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด , และเป็นรูปธรรม

- จะสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร

- จะช่วยสร้างความสุขให้กับคนในองค์กร

- จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ในทุกสถานการณ์

- องค์กรสามารถปรับตัวได้ก่อนใครด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพกว่าใคร ฯลฯ

   

     สิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยทำให้องค์กรต่างๆกล้าที่จะลงทุนกับการพัฒนาคนของตนด้วยการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยเพราะมองเห็นเป็นรูปธรรมว่า องค์กรได้อะไรเป็นผลตอบแทน

     เมื่อเราสามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงในระดับ Micro ได้ การที่จะขยายไปสู่ระดับ Macro ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้.

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr.Panom peecharoen

21.8.2007

 

 

การบ้านครั้งที่  8เรียนวันเสาร์ที่  18  สิงหาคม  2550  กับท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี หัวข้อที่ศึกษากว่า  3  ชั่วโมง  (9.00 – 12.30น.)  คือ  Globalization  มีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆมากมาย  น่าสนใจอย่างยิ่งในด้านการจัดการทุนมนุษย์  (Human  Capital  Management)   เนื้อหาที่ศึกษามีดังนี้ศ. ดร. จีระ  กล่าวว่าเรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจาก  Big Picture  สู่ระดับองค์กร  และต้องมองอย่างเป็นองค์รวม  คำถามแรกที่พวกเราต้องคิดคือ  ทุน  คืออะไร  คำตอบที่ โป๊เชะ คือ  ต้องมีการจ่ายออกไปก่อนในลักษณะการลงทุน  ไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่าย  ทุนมนุษย์จึงเป็นการลงทุนในตัวคน  ต้องเสียสละเวลาและโอกาสในการทำสิ่งอื่น  เพื่อการพัฒนาคนให้เป็น  Good  Global  Citizen  คนจะดี  มีความสามารถ  ต้องมีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดี  และสามารถรู้ข้ามศาสตร์  ทั้งวิทยาศาสตร์  สังคมศาสตร์  สังคมวิทยา  ศาสตร์ของชาวตะวันตก  และศาสตร์ของชาติตะวันออก  จึงจะแข่งได้ในยุคโลกาภิวัตน์  โดยที่ทฤษฎี K.P.D. (Key People Development)  กล่าวว่าคนต้องได้รับการพัฒนาจึงจะเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จ  จึงต้องทำให้คนมี  Employability  ได้ในทุกสถานการณ์ ทฤษฎี  8 K’s ของ ศ. ดร. จีระประกอบด้วย1. Human Capital = ทุนมนุษย์ มาจากการอบรมเลี้ยงดู   การศึกษา  สุขภาพทั้งกายและจิต  ทำให้มนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเอง  สังคม  ประเทศชาติมีความสำคัญที่สุด  เน้นที่การพัฒนาคน  รู้ข้ามศาสตร์  มากกว่าเน้นที่การควบคุม 2. Talented Capital = Knowledge + Skill+ Mindset  ทุนทางความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ  เป็นผลจากต้นทุนมนุษย์ที่มีมาก่อน (Human Capital) คือ อบอุ่น  รักการเรียน สุขภาพดี  ร่วมมือ  ใจกว้าง  ประชาธิปไตย  มีผลต่อความสำเร็จ  ความก้าวหน้าของประเทศ  ความได้เปรียบในการแข่งขันเกิดจากทรัพยากรมนุษย์   ทำให้เกิด  INNOVATION มันสมองมนุษย์มาจาก Human + Intellectual + Talent  3. Intellectual Capital = ปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างมูลค่าเพิ่ม                                                   เกิดการไหลบ่าของความรู้ ความรู้เป็นองค์ประกอบของชีวิต  4 L’s    Learning   Methodology  (แลกเปลี่ยนความเห็น,workshop, Assignment, ใช้ IT  Multimedia) Learning  Environment มี Coach , Facilitator , Mentorนำไปสู่ Creativity  Learning  Opportunity  หาโอกาสเจอผู้รู้  Learning  Community  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น  อาจเป็น  Study tour  รวมถึงวงกาแฟเช้าวันเสาร์  และต้องมีความต่อเนื่องและต่อเนื่อง4. Digital Capital  คนต้องก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย 5. Ethical Capital คนต้องมีจริยธรรม6. Happiness Capital  = ความสุข  เกิดจากมนุษย์มีทุนความรู้ (Talent)  ได้แก่ Knowledge , Skill และ Mindset   +  ทุนปัญญา (Intellectual) + ทุนทางจริยธรรม (Ethical)7. Social Capital ทุนทางสังคม เน้นที่การมีเครือข่าย Linkage, Connection  , Networking8. Sustainable Capital  = ยั่งยืน  โลกเปลี่ยนเร็วมาก ต้องพัฒนายั่งยืนอย่าตามกระแสโลกจนสูญเสียตัวตน ทฤษฎี 5 K’s แนวใหม่ เป็นทฤษฎีเพื่อการพัฒนามนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์  ประกอบด้วย   1. Creativity Capital   ทุนแห่งการสร้างสรรค์2. Knowledge Capital   ทุนทางความรู้3. Innovation Capital   ทุนทางนวัตกรรม4. Cultural Capital   ทุนทางวัฒนธรรม5. Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์  เพื่อเติมทฤษฎี 5 K’s ให้สมบูรณ์  ควรมี Intellectual Capital (IC)  หรือทฤษฎี  The Theory of  Intangible  รวมถึงมี   Ethical Capital ,     Sustainable Capital  และ Social Capital  เพื่อให้เกิดการแพร่ขยายและงอกเงยทางปัญญาต่อไปIntellectual  Capital  ที่ดีควรเป็นการสานสัมพันธ์ของ  Human Capital , Structural Capital (ประกอบด้วย Customer , Data base , Finance , Marketing)  และ Relationship Capitalจะเห็นได้ว่าทุนทั้งหลายเป็น  Sub Set  ของทุนมนุษย์  ทรัพยากรทางการเงินก็มาจากความสามารถของมนุษย์  การใช้ทรัพยากรป่าไม้  ประมง  ที่ดิน  และทรัพยากรธรณี  ให้มีประสิทธิภาพก็อยู่ที่คนอีกเช่นกัน  การลงทุนที่คุ้มค่ากับคนจึงต้องมุ่งไปที่  อาหารโภชนาการ  การศึกษา  การอบรม  และทำให้ครอบครัวอบอุ่น  มีความสุข     ขอเปรียบเทียบทฤษฎี  8 K’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ  และทฤษฎี  8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  กับ 9   ของผมดังนี้ครับ    
 ศ.ดร. จีระ  8 K’ s   คุณหญิง  ทิพาวดี  8 H’s   กฤษฎา  9
1. Human Capital = ทุนมนุษย์ มาจากการอบรมเลี้ยงดู  การศึกษา  สุขภาพทั้งกายและจิต  ทำให้มนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเอง  สังคม  ประเทศชาติมีความสำคัญที่สุด  เน้นที่การพัฒนาคน  รู้ข้ามศาสตร์  มากกว่าเน้นที่การควบคุม 1. Home    อบอุ่น  กตัญญู  เอื้อเฟื้อ  มีเครือข่าย 1. ถิ่นฐานย่านเดิม  คนทุกคนต้องมีรากเหง้าที่มา  และได้รับการการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว  เครือญาติ  พื้นเพของตน
2. Talented Capital = Knowledge + Skill+ Mindset  ทุนทางความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ  เป็นผลจากต้นทุนมนุษย์ที่มีมาก่อน (Human Capital) คือ อบอุ่น  รักการเรียน สุขภาพดี  ร่วมมือ  ใจกว้าง  ประชาธิปไตย  มีผลต่อความสำเร็จ  ความก้าวหน้าของประเทศ  ความได้เปรียบในการแข่งขันเกิดจากทรัพยากรมนุษย์   ทำให้เกิด  INNOVATION มันสมองมนุษย์มาจาก Human + Intellectual + Talent 2. Hand = มืออาชีพ ไม่มีทางลัด  เขื่อนจะพังเริ่มจากรอยร้าวเล็กๆ  ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอาชีวะถึงผู้บริหาร  Ph.D. 2.  ยอดเยี่ยม  ทั้งความรู้  ความชำนาญ  มีทัศนคติที่ดี  จนทำให้เกิดนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ  คล้าย เจมส์  บอนด์
3. Intellectual Capital = ปัญญา                                         คิด  วิเคราะห์  สร้างมูลค่าเพิ่ม                                                   การไหลบ่าของความรู้                                                               ความรู้เป็นองค์ประกอบของชีวิต4 L’s    Learning Methodology  (แลกเปลี่ยนความเห็น,workshop, Assignment, ใช้ IT  Multimedia)Learning  Environment มี Coach ,Facilitator ,Mentorนำไปสู่ CreativityLearning  Opportunity  หาโอกาสเจอผู้รู้Learning  Community  ห้องเรียน  ,E-mail , โทรศัพท์ 3. Head   = Brain =Knowledge อย่าลืมสติ  วิเคราะห์แล้วเกิดปัญญา  “You are what you think”Mind Set  = ทัศนคติ   ควรสื่อสาร 2 ทาง  ช่วยกันคิด  ช่วยกันแก้ปัญหา  ความรู้จะสร้างความชำนาญการไหลบ่าของความรู้                                                               (Skill) แล้วจะทำให้มีความสามารถ (Abilities)  เรียนรู้ตลอดเวลาทั้งกว้างและลึก  เรียน  อบรม คุย  อ่าน  3.  ปัญญา  คือ  ต้องรู้ก่อนปัญหา  รู้เท่าทันปัญหา  รู้ทางแก้ปัญหา  รู้วิธีป้องกันปัญหา
4.Digital Capital  อย่าลุ่มหลง  หลงจนเสียสุขภาพ อินเดีย  = Business Process Outsourcing ( B.P.O.) 4.Health  สุขภาพทั้งกาย (อาหาร  ออกกำลังกาย  อากาศ)และจิต (มีสติ)  มารยาทไทยไอจาม  ,เด็กไทยอ่อนหวาน  4.  ยาฮู   E-mail ของผมคือ[email protected]
5. Ethical Capital  =  จริยธรรม 5. Heart =  จิตใจที่ดี  พอเพียง” = พอเหมาะพอควร  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน  มีทัศนคติเชิงบวก  สุนทรียภาพทางวัฒนธรรม  อ่อนโยน  สุภาพ  พรหมวิหาร 4 = เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขาใส่ใจกัน  เสียสละ  กล้านำ  กล้าตัดสินใจ  กล้าเสี่ยง  กล้ารับผิด  รักในการงาน    5. จริธรรม
6. Happiness Capital  = ความสุขมนุษย์มีทุนความรู้ (Talent) +  ทุนปัญญา (Intellectual) + ทุนทางจริยธรรม (Ethical) 6. Happiness    H.P.I. = Happy Planet Index  ไม่เบียดบังใครๆ และตนเอง  พอเพียง  เมตตา  เอื้อเฟื้อ  ยิ้ม  ทัศนคติเชิงบวก  รักงาน  ครอบครัว  สังคม  ประเทศ 6. ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมิตรภาพ  มีความจริงใจ เกิดความสุข  เกิดความรู้  และเกิดภูมิปัญญา
7. Social Capital  ทุนทางสังคม  เน้นที่การมีเครือข่ายLinkage  ,Connection  ,Networking 7. Harmony = ปรองดอง  สมานฉันท์  กลมเกลียว  ใฝ่สันติ  ไม่ร้าวฉานสัปปุริสธรรม 7 = เหตุ  ผล  ตน  ประมาณ  กาล  ชุมชน  บุคคล 7.  ยึดโยง เกาะเกี่ยวกันเป็นเป็นเครือข่าย
8. Sustainable Capital  = ยั่งยืน                                         โลกเปลี่ยนเร็วมาก ต้องพัฒนายั่งยืนอย่าตามกระแสโลกจนสูญเสียตัวตน  8. Heritage = Culture  เชื่อมโยง OTOP  ,Globalization  ,    1 KING  ไม่แบ่งผิว  ศาสนา 8. ยั่งยืน  มีความเป็นตัวของตัวเอง  ตามวัฒนธรรมการเป็นคนไทย  มีความเชื่อมั่นและศรัทธาใน  3  สถาบันหลัก
- - 9. อย่ายอม  เสียอิสรภาพทางความคิด  ทางการปกครอง  ทางเศรษฐกิจ  และความเป็นมนุษย์  (SOVERIEGN CAPITAL) 
  สำหรับแนวทางการทำงาน 4 แนว ที่ทำให้ประสบความสำเร็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ต้องคิดว่า1. ทำอะไร2. ทำอย่างไร3. ทำเพื่อใคร4. ทำแล้วได้อะไร  และมี  6  หลักการคือ1.      คิด Macro  ทำ Micro2.      ทำเป็นขั้นเป็นตอน3.      ทำเรื่องยากให้ง่าย4.      นึกถึง ภูมิสังคม ให้เหมาะสม5.      มีการสื่อความ  ประสานงาน  จนกลายเป็นการบูรณาการ6.      ทำแล้วต้องมีผู้เป็นเจ้าของเพื่อสืบสานอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง    สำหรับ  Peter Senge  นักคิดชาวตะวันตกเจ้าของแนวคิด  Long Life Learning  All  Over  the  Organization ก็มีหลักการและแนวคิดคล้าย ศ.ดร. จีระ คือ1.                  Personal  Mastery  เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้คนทุกระดับในองค์กร2.                  Mental  Model  คนต้องคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ในลักษณะ  Non-Linear  Thinking3.            Share  Vision  เป็นการร่วมคิด  สร้างสรรค์  ร่วกันปฏิบัติ4.                  Team  Learning  แลกเปลี่ยนความรู้ต่อกัน  ไม่มีใครเก่งไปเสียทุกด้าน5.                  System  Thinking  การคิดและปฏิบัติต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบจากหนังสือที่ได้รับมอบหมายให้เรียนรู้ชื่อ  “Leveraging the New Human Capital  : 1 People , The Engine of Success”  สาระสำคัญมีดังนี้องค์กรต้องเห็นคนสำคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ขับเคลื่อน  นำพาทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่องค์กร  แต่ถ้ามองอย่างอื่นเช่นกำไร  ยอดขาย  ส่วนแบ่งตลาด  ซึ่งมักจะมอง  นั่นคือสาเหตุของปัญหา  คนในความคิดสมัยใหม่ที่จะทำให้แข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์  จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์  สร้างความคิดออกมาเป็นนวัตกรรมได้ดี  มีความรู้ในศาสตร์เฉพาะด้าน  และศาสตร์ในการบริหารจัดการ  เพื่อให้ร่วมมือทำงานกันได้  จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  ถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน  เชื่อถือไว้วางใจกัน  มีการช่วยเหลือ  เอื้อเฟื้อ  แบ่งปัน  ใส่ใจและเข้าใจกันในฐานะคนที่ผูกพันกัน  สื่อสารกันอย่างเกิดประโยชน์  ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  คำพูด  การกระทำ  รวมถึงใช้เครื่องมือที่ทันสมัยให้เกิดประโยชน์ที่สุด

 สรุป

จากทั้งหมดที่กล่าวมา  แนวคิดปราชญ์ตะวันออก  เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  , ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ,  คุณหญิง ทิพาวดี  เมฆสวรรค์  กับแนวความคิดชาวตะวันตก  เช่น  Peter Senge  มีความคล้ายกันอย่างยิ่งในประเด็นที่เห็นว่าคนคือหัวใจของทุกสิ่งทุกอย่าง  ทุกองค์กรต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับคนให้มากที่สุด  ต้องสร้างความแข็งแกร่งให้คนมีปัญญา  รักการเรียนรู้  ไม่ใช่บ้าปริญญา  คนต้องมีเป้าหมายในการทำงาน  มีเป้าหมายในชีวิต  มีความสมดุลในงานและครอบครัว มีสุขภาพที่ดี  มีการเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง และทำให้เกิดความสมานสามัคคีในการอยู่ร่วมกัน  สังคมก็จะเกิดความสุขอย่างโป๊เชะแท้จริง (Happiness  Capital)    
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์เรื่อง  การบ้าน PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์  (สืบเนื่องจากการสอนเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2550)(นพมาศ ช่วยนุกูล  / รภ. สวนสุนันทา)1. แนวคิดในเรื่องทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  และของ Peter Senge  มีความแตกต่างกันอย่างไร ?        ในยุคโลกาภิวัตน์  เราต้องแข่งขันเพื่อความอยู่รอดคุณภาพของคนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  และ HR ยุคใหม่  ก็ไม่ใช่แค่อยู่รอดอย่างเดียวแต่ต้องมีเรื่องสมานฉันท์อีกด้วย  ดังนั้นพลเมืองโลกจึงเกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษา ต้องมีความรู้ข้ามศาสตร์ รู้เรื่องสิ่งแวดล้อม มีอิสระในการตัดสินใจและมีคุณธรรม นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่าย ซึ่งจะทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ  การ Share vision  และเข้าใจซึ่งกันและกัน  ซึ่งทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานทรัพยากรมนุษย์ ของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประกอบด้วย   1) ทุนมนุษย์ คือทุนที่ได้มาจากความรู้ในขั้นพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิด กรอบรมเลี้ยงดู พื้นฐานการศึกษา พลานามัยทั้งร่างการและจิตใจ ถือเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีซึ่งคนที่มีพื้นฐานดีจะเข้าสู่สังคมอย่างมีคุณภาพและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง องค์กร และสังคมได้ต่อไป    2) ทุนทางปัญญา   จากสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจะยากที่จะคาดการณ์ได้ ทำให้ทุกองค์กรต้องหาคนที่มีความสามารถมากขึ้น ซึ่งความรู้ ความสามารถและทักษะนี้จะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร  3) ทุนทางจริยธรรม  การปลูกฝังจริยธรรมให้คนที่มีความรู้  สติปัญญาดีจะส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร กล่าวคือหากคนเก่งไม่มีจริยธรรมแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาในสังคม  4) ทุนแห่งความสุข  หากมนุษย์มีความรู้ดี มีคุณธรรมก็จะมีความสุขเพราะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ทำให้เกิดความสำเร็จโดยไม่เบียดเบียนใคร ทำให้ตนเองเกิดความสุขและสังคมก็จะสงบสุขด้วย   5)ทุนทางสังคม คือเครือข่าย ความร่วมมือ และความสัมพันธ์ของคนในสังคม ความอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละส่วน  6) ทุนแห่งความยั่งยืน หากคนไม่พัฒนาอย่างต่อเนื่องก็ไม่สามารถอยู่ได้ในโลกของการเปลี่ยนแปลงแข่งขัน วัฒนธรรมเป็นตัวเสริมความยั่งยืนไม่ให้ไหลลื่นตามกระแสโลกาภิวัตน์โดยไม่เหลือความเป็นตัวของตัวเอง  7) ทุนทางไอที ในยุคข่าวสารเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เรารู้สถานการณ์ของโลก และสามารถหาความรู้ได้โดยง่าย รวดเร็ว   8) ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ   คนที่มีทุนด้านนี้จะสามารถส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะนำไปสู่การตัดสินใจวางนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์กร และความกระตุนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ เพื่อสร้างความสามารถ ความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน ผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพ        กฎของ Peter Senge   มีว่า รู้อะไรให้รู้จริง  แบบอย่างทางความคิด  เห็นอนาคตร่วมกัน เรียนเป็นทีม และคิดมีเหตุผล    และจากหนังสือ Leveraging The New Human Capital  ซึ่งพูดถึงว่าคนคือตัวขับเคลื่อนความสำเร็จ ไว้ดังนี้   องค์กรที่ประสบความสำเร็จ คือองค์กรที่มีวินัยในการคิด การปฏิบัติ และวินัยของคน  ที่สำคัญคือ การเลือกคนที่ตรงความต้องการและเลือกคนได้เหมาะสมกับงาน  อาทิ Norstrom และ Southwest Airlines ที่เชื่อมั่นในคน  ,  นอกจากนั้น ทักษะความสัมพันธ์และแรงจูงใจของพนักงานมีผลต่อการแข่งขันในระยะยาวขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรมีผลักดันส่งผลต่อการบริการลูกค้าดังเช่นองค์กรที่ยกตัวอย่างข้างต้นประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและสามารถลดต้นทุนขององค์กรได้ในส่วนขององค์กรประเภทอื่น ๆ พบว่า คนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม และการปรับปรุงกระบวนการผลิต ทุนมนุษย์จึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญา และความสัมพันธ์ตามภารกิจและเป็นหมายขององค์กร ( สอดคล้องกับทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ของทฤษฎีทุน 8 ประการ ที่ว่าคนที่มีคุณภาพ ปัญญา จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองและ สังคม)     , นอกจากนั้น ความสามารถในการแข่งขันในยุคข่าวสารจะขับเคลื่อนกันที่ความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้คนเข้าถึงข่าวสาร สินค้าและบริการทั่วโลก องค์กรจึงต้องพัฒนานวัตกรรมสินค้าและการบริการของตนอย่างต่อเนื่อง (ในโลกการแข่งขัน ทฤษฎีทุน 8 ประการ เน้นว่าองค์กรมองหาคนที่มีความสามารถมากขึ้นและเรื่องไอที และลงลึกว่าการพัฒนาปัญญาต้องทำอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง หรือเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นเรียนรู้ได้ในทุก ๆ ที่ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้น และหมายรวมถึงการเรียนทั้งในและนอกระบบการศึกษา) ทางเดียวที่จะทำได้คืออาศัยคนที่มีความคิดสร้างสรรค์คื ความรู้และความสัมพันธ์กับลูกค้า และการร่วมกันทำงาน  ดังเช่น  บริษัท Apple และ Amazon.com ที่เห็นว่าความคิดของคนมีผลต่อการขับเคลื่อนและสร้างความมั่งคั่งให้เศรษฐกิจโลก  ดังนั้น องค์กรต้องอาศัยสิ่งสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ และความสัมพันธ์ กล่าวคือ คนมีความคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสินค้าละบริการตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้นเพื่อรองรับการผลิตสินค้า  และความรู้มีความสำคัญกว่าทรัพย์สินภายนอกโดยเฉพาะความรู้เฉพาะด้านที่ไม่อาจทดแทนกันได้  ส่วนความสัมพันธ์จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ โดยในความเป็นจริงคนหรือแรงงานที่มีความรู้ไม่สามารถทำงานแบบโดดเดี่ยวคนเดียวโดยไม่พึ่งพาใครได้   .  เมื่อคนเป็นศูนย์กลางที่สำคัญดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดของคนก็คือ ความรู้(การสื่อสาร ความรู้ระหว่างบุคล และความรู้เฉพาะตัวย และความร่วมมือ)  (สอดคล้องกับทุนทางปัญญา ทุนทางสังคน และ ทุนทางความรู้ความสามารถและทัศนคติ ตามทฤษฎีทุน 8 ประการ นอกจากนั้นยังตรงกับ Social Network )        ทัศนคติ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตลอดจนค่านิยมองค์กร การทำให้คนเข้าใจในองค์กรอย่างชัดเจนและสร้างค่านิยมของคนให้สอดคล้องกับค่านิยมองค์กรค่านิยมที่ตรงกันนี้จะทำให้คนสะท้อนออกมาในรูปการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การแบ่งปันความสำเร็จ และให้องค์กรประสบความสำเร็จในที่สุด (ตรงกับ ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ตามทฤษฎีทุน 8 ประการ ในขณะที่ทัศนคติและค่านิยมก่อให้เกิดจริยธรรมและส่งผลดีต่อการปฏิบัติงาน)         ทุนทางความสุข  ที่ ศ.ดร. จีระฯ กล่าวไว้ในทฤษฎีทุน 8 ประการ เป็นจุดที่แตกต่างจาก Peter Senge   ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันและนับเป็นเอกลักษณ์ของาวตะวันออกก็ว่าได้       2. เราจะทำอย่างไรให้ความคิดขยายไปสู่สังคม?        เนื่องจากสังคมปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ ดังนั้นการกระจายความคิดไปสู่สังคมในมุมกว้างจึงความใช้การศึกษามาเป็นตัวขับเคลื่อน กล่าวคือ ในวัยเด็กก็ใช้การเรียนในระบบเพื่อสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ก็เสริมความรู้นอกระบบ โดยอาจผ่านการฝึกอบรม ฯลฯ เพื่อสร้างความรู้ให้ทันการณ์เป็นวัยทำงานที่มีคุณภาพ ส่วนวัยหลังการทำงานส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน สอน ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์สู่คนรุ่นหลัง  การศึกษาที่กล่าวข้างต้นจะเชื่อมโยงกับทฤษฎีทุน 8 ประการ กล่าวคือวัยศึกษาต้องให้มีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา สร้างปัญญา ความรู้ ความคิด รวมทั้งด้านไอที ซึ่ง ทุนทางปัญญา ทุนทางไอที และทุนทางความรู้ความสมารถและทัศนคติ จะต้องทำควบคู่ไปกับทุนทางจริยธรรมเพื่อสร้างสังคมบนความร่วมมือ ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดี  ภาวะผู้นำ เพื่อสร้างให้คนพึ่งพาตนเองได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีความสุข ซึ่งความสุขที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมอื่น ๆ ตามลำดับ  ดังนั้น หากเริ่มที่การศึกษา และทุกคนที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ของตนเอง การเป็นแบบอย่าง การใช้ภาวะผู้นำ การพัฒนาและการทำซ้ำจะทำให้ แนวคิดและผลขยายสู่สังคมในมุมที่กว้างขึ้น...................................................
การจัดการทุนมนุษย์ (วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550) วันนี้ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้แนะให้ทราบว่าเรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็ก (Micro) หรือในระดับองค์กร เพราะในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดจุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรคมากมาย ท่านอาจารย์กล่าวว่า Good Citizen ที่ดีไม่ใช่เพียงแต่มีงานทำเท่านั้น แต่ต้องประกอบด้วย ประชาธิปไตย, สันติภาพ, สิ่งแวดล้อมที่ดี, คุณธรรมจริยธรรม, สมานฉันท์ และศิลปวัฒนธรรมไทย สิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมยั่งยืนและเกิดการเรียนรู้และทำให้มีความสุขทำให้เป็น Global Citizen และท่านอาจารย์ได้เสนอทฤษฎีทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของ ทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย (1) Human Capital (ทุนมนุษย์) (2) Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) (3) Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) (4) Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข) (5) Social Capital (ทุนทางสังคม) (6) Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน) (7) Digital Capital (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ) และ (8) Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ) ซึ่งอาจารย์เสนอว่าข้อ 2 – 8 นั้นอาจเป็น sub set ของ Human Capital ก็ได้ และทฤษฎี 5 K’s ใหม่เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย (1) Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์) (2) Knowledge Capital (ทุนทางความรู้) (3) Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม) (4) Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม) และ (5) Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์) วันนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) ว่าคนไทยต้องมีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ เพื่อเอาความรู้ไปสร้างทุนทางปัญญา และต้องคิดนอกกรอบ คิดเป็นระบบ และการสะสมทุนทางปัญญาต้องต่อเนื่องและต่อเนื่อง  และทุนทางปัญญาไม่ได้เกิดจากการเรียนในห้องเรียนเสมอไป การใช้ทุนทางปัญญาให้ได้ผลต้องไปเชื่อมกับ Social Capital คือบูรณาการเชื่อมโยงเข้าหากลุ่มอื่นๆ โดยการสร้างเครือข่ายต้องมี Trust, Mutual Understanding, Share Vision และ Share Value สำหรับ Human Capital (ทุนมนุษย์) จะเป็นลักษณะการลงทุน (Investment) จุดเริ่มต้นคือคิด วิเคราะห์ให้เป็น ท่านอาจารย์กล่าวว่าปัญญาต้องปะทะกับปัญญา ต้องเปิดกว้างให้เกิด Networking หรือใช้ Network ที่มีอยู่ให้เกิดเป็น Strategic Partner และช่วงท้ายท่านอาจารย์ได้ฝากหลักคิดและหลักการทำงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ รู้-รัก-สามัคคี , วิธีคิด 4 แนวของพระเจ้าอยู่หัวฯ คือก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้ (1) ทำอะไร (2) ทำอย่างไร (3) ทำเพื่อใคร และ (4) ทำแล้วได้อะไร , 6 หลักการในการทำงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ ประกอบด้วย (1) คิด Macro ทำ Micro (2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน (3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย (เป็นทุนทางปัญญา) (4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ (อย่ามองมิติเดียว) (5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration) และ (6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ   ความคิดของ Peter แตกต่างจาก ดร.จีระ อย่างไร                แนวคิดของ Peter คล้ายกับแนวคิดของ ดร.จีระ เนื่องจากให้ความสำคัญกับ คน มองคนเป็นทุนมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร โดยคำนึงถึง 1) ความคิดสร้างสรรค์ 2) ความรู้ และ 3) ความสัมพันธ์  องค์กรจึงจะอยู่อย่างยั่งยืน จากแนวคิดนี้ได้เน้นว่า คน ถือเป็นเจ้าของความรู้ และผู้ถ่ายทอดความรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนำพาองค์กรประสบผลสำเร็จ เน้นเรื่อง Engagement ที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) Think : พนักงานต้องมั่นใจว่า Mission/Vision ขององค์กรนี้ถูกต้อง 2) Feel : พนักงานรู้สึกภูมิใจและผูกพันต่อองค์กร และ 3) Act : คนเชื่อมั่นในสิ่งต่างๆ ในองค์กร และเน้นในเรื่องของทุนทางสังคม ซึ่งเกิดจากผลรวมของความไว้วางใจ (Trust) ความเข้าใจซึ่งกันและกัน (Mutual Understanding) เป้าหมายหรือมูลค่าร่วมกัน (Shared Values) และพฤติกรรมที่ผูกรัดคนในองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมเชื่อมโยงกัน (Network) อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่มุมมองของ Peter มองธรรมชาติของคนตามทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ (Hierachy of Need Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจ (Maslow’s Theory of Motivation) ของ Abraham H. Maslow ซึ่งเห็นว่าลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ จากขั้นต้นไปขั้นสุดท้าย ดังนี้ (1)ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) (2)ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety Needs) (3)ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) (4)ความต้องการที่จะมีฐานะเด่นหรือมีชื่อเสียง (Esteem Needs) และ (5) ความต้องการที่จะให้ประสบความสมหวังในชีวิต (Self-Actualization Needs) คือต้องมีวิธีการจูงใจและมีบทลงโทษจึงจะสามารถบริหารได้บรรลุจุดมุ่งหมาย ประกอบกับแนวคิดของ Peter ไม่ได้เน้นความสำคัญของทุนทางจริยธรรมนัก อาจจะเนื่องมาจากว่าคนในสังคมถูกปลูกฝังจริยธรรมมาตั้งแต่ยังเด็กก็เป็นได้ และไม่ได้เน้นทุนแห่งความยั่งยืนหรือทุนทางวัฒนธรรมมากนัก อาจจะเนื่องมาจากว่ามีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่นและรักประเทศแล้วก็เป็นได้ เราจะทำอย่างไรจึงทำให้ความคิดนี้ขยายไปยังมุมกว้างได้                 องค์กรต้องสร้างความเข้าใจกับคนในองค์กรเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและเข้มแข็งให้กับองค์กรอื่นๆ ในสังคมต่อไป โดยใช้การบริหารเชิงพุทธ คือ บริหารอย่างผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งจะต้องบริหารด้วยความพอดี ความไม่เห็นแก่ตัว ทำแล้วได้ประโยชน์ ใช้สติปัญญาในการบริหาร อิงหลักธรรม วิเคราะห์วิจัยเป็นขั้นเป็นตอน ไม่มีทุกข์ทุกขั้นตอนทำงาน ใช้สติปัญญาเมื่อผิดพลาด มีอุดมคติเห็นถูกต้อง
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์            (Homework 8)

          จากการศึกษาเรื่อง  ทรัพยากรมนุษย์...ความคิดสร้างสรรค์  และนวัตกรรม  กับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เมื่อวันเสาร์ที่  18  สิงหาคม  2550  พอสรุปสาระและนำไปตอบคำถาม  2  ประเด็น  ได้ดังนี้

          คำถามที่  1  แนวความคิดของ  Peter  Senge  ต่างกับแนวความคิดของ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อย่างไร?

          แนวความคิดของ  Peter  Senge  กล่าวถึงทุนมนุษย์ว่า หมายถึง ความรู้,ทักษะ,ความสามารถ  รวมทั้งการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน  เมื่อทุกคนมีทุนมนุษย์อยู่ในตัวของตัวเองแล้ว  ไม่ว่าจะทำธุรกิจหรือกิจการใดก็ตามย่อมก่อนให้เกิดความสำเร็จในที่สุดอีกทั้งการที่จะทำให้คนเป็นคนโดยสมบูรณ์แบบได้นั้น  ต้องฝึกให้คนมีวินัยในตนเอง  ซึ่งหลักในการสร้างวินัย  สามารถสร้างได้โดย

  1. รู้อะไร  รู้ให้จริง  Personal  Mastery
  2. เป็นแบบอย่างทางความคิด  Mental  Model
  3. มองเห็นอนาคตร่วมกัน  Share  Vision
  4. เรียนรู้เป็นทีม  Team  Learning
  5. คิดอย่างเป็นระบบ  System  thinking

          สำหรับท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เน้นว่า  ทุนมนุษย์  คือ  ความคิดสร้างสรรค์  และนวัตกรรม  เพราะปัจจุบันนี้เป็นยุคที่เรียกว่า  โลกาภิวัตน์  นั่นคือต้องมีการแข่งขัน  มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรอยู่รอดดังนั้นจึงเน้นให้นักศึกษา "คิดนอกกรอบ" เพื่อความหลากหลายทางความคิด  โดยใช้ทฤษฎีต่าง ๆ อาทิ

  1. ทฤษฎี 2 R's 

          > Reality   มองความจริง

          > Relevance  ตรงประเด็น 

    2.   ทฤษฎี 4 L's

          > Learning  Methodology  เข้าใจวิธีการเรียนรู้      

          > Learning  Environment  สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

          > Learning  Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

          > Learning  Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

          ทั้งนี้การสร้างทุนมนุษย์ในตนเองให้เกิดขึ้น  ต้องมีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

   • ความอดทน    • พร้อมเผชิญปัญหาและอุปสรรค

   • ศึกษาจากศาสตร์ที่หลายกลาย  • ค่อยเป็นค่อยไป

          ผมมองว่า  "ทุนมนุษย์"  ในความคิดของท่านทั้ง 2 มีความเหมือนและความแตกต่าง  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ  "มุมมอง"  ของแต่ละท่านว่าจะมองเห็นประเด็นในการที่จะ  "ก่อให้เกิดทุนมนุษย์"  จากจุดใดมากกว่ากันเท่านั้นเอง

          คำถามที่  2  เราควรทำอย่างไร  ถึงจะให้ความคิดขยายไปในสังคมมุมกว้าง

          ธรรมชาติของมนุษย์  มักจะไม่ชอบให้ใครมา  "ตำหนิ"  ในสิ่งที่ตนเองคิด/กระทำลงไป  นั่นคือมักจะคิดว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้น  "ถูกต้อง"  เสมอ

          ดังนั้นการที่เราจะทำให้ความคิดของเราขยายไปในมุมกว้าง  เหมือนกับการที่เราจะทำให้ภาพ  Micro  ขยายไปสู่ระดับ  Macro  จะต้องใช้เวลา  ความพยายาม  และความอดทน  เพราะอาจจะต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งเราต้องฟันฝ่าไปให้ได้ในที่สุด

          สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการขยายความคิดของเราไปในสังคมมุมกว้าง  นั่นคือนำทฤษฎี  8  K's  ของ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  มาประยุกต์ใช้  ซึ่งได้แก่

  1. ทุนมนุษย์  Human  Capital
  2. ทุนความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ  Talented  Capital
  3. ทุนทางปัญญา  Intellectual  Capital
  4. ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  Digital  Capital
  5. ทุนทางจริยธรรม  Ethical  Capital
  6. ทุนทางความสุข  Happiness Capital
  7. ทุนทางสังคม  Social  Capital
  8. ทุนแห่งความยั่งยืน  Sustainable  Capital

          นอกจากนี้เราควรต้องปลูกฝังเรื่องของการมีวินัย  ดังคำกล่าวโบราณที่ว่า  "วินัยเริ่มที่บ้าน  สอนลูกหลานให้มีวินัย"  เมื่อคนเรามีวินัยในตนเอง  มีวินัยกับผู้อื่น  สิ่งที่ตามมานั่นคือการเสริมสร้าง  การปลูกฝังทุนทั้ง  8  ให้เข้าไปในสังคมของคนซึ่งมีวินัย  และสังคมก็จะขยายไปในวงกว้างในที่สุด

                                                      -ขอบคุณครับ-

                                                 สิทธิชัย   ธรรมเสน่ห์

หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านให้ตอบโจทย์คือ แนวคิดในเรื่องทุนมนุษย์ของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับของ peter Senge  มีอะไรบ้างแนวคิดในเรื่องทุนมนุษย์ของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ทุนคืออะไร คือ ต้องมีการจ่ายออกไปก่อนในลักษณะการลงทุนไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่าย เป็นการลงทุนในตัวคน การสร้างคนการสะสมความรู้ให้กับคน ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากภาพใหญ่(Macro)ไปสู่ภาพเล็ก(Micro) หรือในระดับองค์กร ในยุคโลกาภิวัฒน์ โลกไร้พรหมแดนเราจะต้องแข่งขันกันนั้นเราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เราอยู่รอดได้  และเราจะต้องพัฒนาตนเองให้เป้นผู้ที่มีคุณภาพและมีคุณค่าดังนั้นเราก็จะต้องศึกษาเกี่ยวกับคนนั้นก็คือ HR  สำหรับโลกาภิวัตน์จะเกี่ยวกับ1.      Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology2.      เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA3.      เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน4.      บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา 5.      เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right6.      เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ                7.      เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย8.      เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน9.      เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์แผนผัง  ประชากรทีดี (Good Global Citizen) จะต้องมีคุณภาพการศึกษามีประชาชิปไตย มีสันติภาพ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณธรรม มีสมานฉันท์ มีศิลปะวัฒน
ธรรมเมื่อมีสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะเกิดสังคมที่ยั่งยืนและการเรียนรู้แล้วจึงนำไปสู่ความสุขที่นิรันดร์
ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานทรัพยากรมนุษย์ ของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ประกอบด้วย   1.  ทุนมนุษย์  คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ในขั้นพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิด การอบรมเลี้ยงดู การได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว สุขภาพทั้งร่างการจิตใจ  พื้นฐานการศึกษา ถือเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีซึ่งคนที่มีพื้นฐานที่ดีจะเป็นคนที่มีมีคุณภาพและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง องค์กร และสังคมได้ต่อไป    2. ทุนทางปัญญา   จะต้องมีควารู้และต้องมีจินตนาการ จะต้องสะสมทุนทางปัญญาอย่างต่อเนื่องปํยยาต้องปะทะปัญญา3. ทุนทางจริยธรรม  จะต้องมีศิลธรรมจรรยา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ มีน้ำใจให้กัน เอื้ออาธร4. ทุนแห่งความสุข  ต้องสร้างให้ตนเองมีความสุข แต่ความสุขที่มีจะต้องไม่ไปเบียดเบียนและจะต้องเป็นความสุขทั้งทางกายและจิตใจ และสังคมก็จะสงบสุขด้วย   5. ทุนทางสังคม คือ การอยู่ร่วมกันในสังคม ความร่วมมือ และความสัมพันธ์ของคนในสังคม 6. ทุนแห่งความยั่งยืน เมื่อคนได้รับการพัฒนาแล้วก็จะส่งผลให้เกิดความยั้งยืนได้ 7. ทุนทางไอที ในยุคข่าวสารเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ทำให้เรารู้สถานการณ์ สภาวะการณ์ของโลก และเราก็สามารถแสวงหาความรู้ได้โดยง่าย รวดเร็ว ข้อมูลทันสมัย  มีคุณภาพ  8. ทุนทางความรู้  ทักษะ สติปัญญาความรอบรู้   คนที่มีทุนด้านนี้จะส่งผลให้เป็นคนที่มีคุณภาพสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเององค์กร และสังคมนอกจากนี้ยังมีทฤษฎี 5 K’s ใหม่เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ Creativity Capital2. ทุนทางความรู้ Knowledge Capital3.  ทุนทางนวัตกรรม Innovation Capital4. ทุนทางวัฒนธรรม Cultural  Capital5. ทุนทางอารมณ์ Emotional Capitalศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ยังได้นำแนวคิดและหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องหลักคิดและหลักในการทำงานรู้ - รัก - สามัคคี             รู้              คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง             รัก           คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ             สามัคคี    คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้ มีประสิทธิภาพ 1) คิด Macro ทำ Micro
            2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
            3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
            4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
             5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ    
(Communication, Coordination, Integration)
            6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
 แนวคิดในเรื่องทุนมนุษย์ของ   Peter Senge   คนอื่นได้ให้ความหมายของ  Human  Capital  คือ  ทักษะในการทำงาน  ประสบการณ์และความรู้จริง  (T.O.Davenport,1999)   แต่ในหนังสือเล่มนี้  คำจำกัดความ  ก็คือ ว่าการนำทุนคือสติปัญญาความสามารถมาใช้  รวมทั้งมนุษย์สัมพันธ์เชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้า  เพื่อนร่วมงาน  ผู้จำหน่ายสินค้าและองค์กรภายนอก  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้กล่าวถึง Human  Capital  ดังนี้1. ธุรกิจที่จะประสพความสำเร็จได้จะต้องมีพนักงานที่มีระเบียบวินัยและมีความสามารถมีปรัชญาว่า คนสำคัญกว่าสิ่งใด  คนคือประตูนำไปสู่ความสำเร็จ วางคนให้เหมาะสมกับงาน2. ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถ สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า3. ยุคนี้  เป็นยุคทองของข่าวสารข้อมูลการได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน ก็จะขึ้นอยู่กับ  ความรู้ที่ได้รับ ความคิดสร้างสรรค์  และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้รับรู้จากข่าวสารข้อมูล4. Knowledge ทรัพย์สินทางความรู้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดมากกว่าทรัพย์สินทางด้านวัตถุ ในการวางนโยบายสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปสู่ความสำเร็จ  ทรัพย์สินทางความรู้นั้นจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับบุคคลที่ใฝ่ในการเรียนรู้ หรือผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะบุคคลโดยยากที่จะมีผู้ลอกเลียนแบบ    อย่างเช่นความรู้ของคนทำงานในด้านต่างๆ  ด้านบัญชี  สถาปนิก  ทนายความ  ผู้วางระบบโปรแกรม  ผู้ประกอบการทางด้านการแพทย์  และอื่นๆ5.Social Capital  หรือRelationship Capital   เป็นผลรวมของ ความซื่อสัตย์จริงใจ ความเข้าใจในทางเดียวกันและเป็นส่วนแบ่งทางด้านมูลค่าและพฤติกรรมซึ่งผูกพันมนุษย์ในกลุ่มซึ่งทำงานติดต่อและมีความสัมพันธ์ทำให้เกิดความสามารถร่วมมือในการทำงาน  Robert Reich (2003)  กล่าวว่า :  การที่องค์กรมีความเข้มแข็งนั้นมาจากความสัมพันธ์ของคนในองค์กรซึ่งสามารถทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปโดยรู้จักคน รู้หน้าที่ รู้ทิศทางที่จะเดินไป จึงสามารถนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืน เมื่อใดที่คนในองค์กรรู้จักที่จะเชื่อใจกันและกัน  การทำงานจะเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว  ขจัดสิ่งที่ไม่เท่าเทียมกัน  และมีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร    บุคคลในองค์กรตั้งใจเริ่มทำในสิ่งที่ถูกต้อง  ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  ความสามารถเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงแค่ทุกคนมีความเชื่อว่า เราทำได้  สร้างความมั่นใจจากประสบการณ์ทั้งหลายที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่องค์กรต้องรีบดำเนินการ6. Peter Senge  ได้นำทฤษฏี MASLOWได้เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์ดังนี้1. ความต้องการพื้นฐาน   2.  ความปลอดภัย  3.  การเชื่อมโยง การติดต่อสื่อสาร ความคุ้นเคย  4. ความนิยม  การเคารพสรรเสริญ การได้รับการยอมรับจากสังคม            7. ทุนมนุษย์ทำให้เกิด 3 อย่างคือ ความสามรถ ทัศนคติ และค่านิยมองค์กร  จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ8. บริการที่ดีคือ ความเชื่อมั่นและความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่จะปฏิบัติระหว่างผู้ให้บริการและลูกค้าในเรื่องของบริการสรุป   คนมีความสลับซับซ้อน  และเป็นทรัพยากรที่ก่อให้เกิดความคิด ความสัมพันธ์ และการบริการ ดังนั้น คนจึงเป็นทางเลือกทางเดียวขององค์กรที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ   แต่การบริหารทุนมนุษย์แตกต่างจากการบริหารทุนด้านอื่น ๆ     ในขณะที่คนทำให้เกิดความแตกต่างในความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น เราต้องบริหารคนเพื่อให้เขามีความสามารถในการปฏิบัติงาน  ให้การดูแล  และประสานการเชื่อมโยง            องค์กรอาจเคยบริหารคนเหมือนกับว่าเขาเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่สามารถถอดเปลี่ยนแทนที่กันได้ เพื่อขยายศักยภาพเครื่องจักร และแม้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จก็ตามแต่คนเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำได้ทุก ๆ อย่าง   ดังนั้น องค์กรจะต้องเข้าใจคน และให้การสนับสนุนเพื่อให้เขามีความสามารถ ให้เขาสะท้อนการปฏิบัติงานที่ดี และให้เขามีความเชื่อมั่นในค่านิยมขององค์กร      สรุป ทุกท่านที่กล่าวมานี้จะให้ความสำคัญแก่ คนเพราะคนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสุดดังนั้นเราจะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้คนมีความรู้ มีปัญญา มีความฉลาด มีความรอบรู้ รู้จริง  รักการเรียนรู้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  คนต้องมีเป้าหมายในชีวิต  มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน  มีครอบครัว มีสุขภาพที่ดี  มีการเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองในการทำงาน และสร้างความสมานฉันท์ในการอยู่ร่วมกัน  สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้เราอยู่ในสังคมได้และมีความสุขอย่างแท้จริง  
นางเครือวัลย์ สมณะ
การบ้าน วันเสาร์ที่ 18  สิงหาคม  2550ทรัพยากรมนุษย์ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม( HR – Creativity and Innovation )                 ทุนมนุษย์  คุณพารณ  อิศรเสนา ได้กล่าวไว้ว่า  “Human Capital is the most valuable asset in any Organization”  เป็นคำกล่าวที่ถูกต้องและเป็นจริงที่สุด  ในทางปฏิบัติทุกอาชีพและทุกระดับอุตสาหกรรม  หากขาดทุนมนุษย์ที่ดีมีศักยภาพที่สมบูรณ์แล้ว ทุกองค์กรหรือระดับประเทศจะไม่สามารถขับเคลื่อนแผนงาน โครงการ และนโยบายทุกเรื่องได้บรรลุผลสำเร็จ                 ทุนมนุษย์ตามความเข้าใจของดิฉัน หมายถึง  ทุนทางเศรษฐศาสตร์ มีต้นทุน มีการลงทุนสร้างบุคคลให้มีโอกาสฝึกอบรม มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ ลงทุนกระตุ้นให้มนุษย์มีการพัฒนา สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation)  ซึ่งสามารถสร้างและเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กรหรือสังคมได้  สิ่งเหล่านี้มีความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีจินตนาการด้วย (Imagination) เสมือนการสร้างให้เกิดมีความคิดในสิ่งใหม่ที่เป็น Innovationได้ ดังเหตุการณ์ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง อัลเบิร์ต ไอสไนส์ ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้ (Knowledge) สู้จินตนาการ(Imagination)ไม่ได้ด้วยจินตนาการจึงได้สร้างนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ทราบได้เหมือนกันทุกครั้ง เช่น มวลสารกลายเป็นพลังงานได้  เป็นหลักเบื้องต้นของฟิสิกส์ทางนิวเคลียร์  จึงเป็นพื้นฐานความรู้หลักให้แก่มนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการนำมาใช้ประโยชน์ต่อชีวิตของมนุษย์ทั่วไป                 ยุคโลกาภิวัตน์  ทุนมนุษย์ในระดับ Macro ยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น คน เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง คน สามารถเรียนรู้ด้วยการใช้องค์ความรู้จากหลายศาสตร์และต้องรู้ข้ามศาสตร์ ปัจจุบันเราได้ใช้ระบบสารสนเทศ (Information Technology : IT) เป็นระบบเชื่อมโยงให้มนุษย์เราสามารถค้นหาความรู้และเรียนรู้จากศาสตร์อื่นๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น  ยังมีศาสตร์ทางด้าน Nanotechnology, Biotechnology และอื่นๆ อีกมาก  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมระดับจุลภาค (Micro) จนถึงมหภาค (Macro) การบ้านจากศาตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  2  ข้อ                ข้อ 1 ความคิดของ Peter Senge แตกต่างจากทฤษฎีของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างไร?ขอยกเป็นตัวอย่าง เช่น  กฎของ Peter Senge 5 ประการ คือ                1.  Personal Mastery  รู้อะไรรู้ให้จริง                      ตามความเข้าใจเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล ที่มีความคิดริเริ่มต้องการสร้างพลังในการดำรงชีวิตและผลิตผลงานตามเป้าหมายอย่างมีกรอบ ระเบียบวินัย และวิสัยทัศน์ที่ต้องการจะรู้ให้จริงได้ต้องอาศัยการเรียนรู้คู่การฝึกฝน ปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ มีความสามารถ รู้เท่าทันเหตุการณ์ว่าเรากำลังจะทำอะไร  ขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร  จุดมุ่งหมายอยู่ตรงไหน?                 2.  Mental Models  แบบอย่างทางความคิด                     เป็นความคิดแบบสร้างสรรค์ของบุคคล  ที่ได้รับอิทธิพลจากการรับรู้  สะสมความเชื่อจนฝังใจมายาวนาน  มีทั้งเรื่องฝังใจที่ดี สังคมยอมรับก็จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร  หากเป็นเรื่องฝังใจและยึดติดในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง  ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ก็จะกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาขององค์กรและปิดกั้นการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ                3.  Shared Vision เห็นอนาคตร่วมกัน                       การที่ทุกคนในองค์กรจะเห็นอนาคตร่วมกันได้นั้น ต้องมีขั้นตอน มีกระบวนการทางความคิด มีระเบียบวินัย โดยเฉพาะต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับเจ้าของกิจการ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กรเพื่อความอยู่รอด พนักงานในองค์กรต้องร่วมกันคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ไปในแนวทิศทางเดียวกัน จึงจะสามารถทำงานให้องค์กรได้อย่างทุ่มเทใจ (Commitment)  มีจุดเป้าหมายเดียวกันจะได้รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายในอนาคตที่ได้ร่วมกันกำหนด                4.  Team Learning  เรียนเป็นทีม       การทำงานเป็นทีม  ที่มีเป้าหมายเพื่อต้องการให้ประสบผลสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นที่สุด อย่างมีประสิทธิผล  หากต่างคนต่างทำก็จะไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้  การเรียนรู้เป็นทีมในองค์กรทำให้เข้าใจในอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนเป็นการประหยัดเวลาที่จะเสียไปกับการโต้แย้งทำความเข้าใจ  การทำงานเป็นทีมสามารถเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  เพิ่มองค์ความรู้และพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็ว5.       System Thinking  คิดมีเหตุผล                     การคิดอย่างเป็นระบบที่สามารถเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างมีเอกภาพ  สามารถร่วมกันคิดเป็นเชิงระบบ และทำงานร่วมกันได้อย่างมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน  จึงจะนำองค์กรไปสู่ความ สำเร็จได้ตามเป้าประสงค์                 ความคิดของศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ในทฤษฎีทุน 8 ประการ1.       Human Capital  ทุนมนุษย์  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด  เป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ จำเป็นต้องพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยการฝึกทักษะ เพิ่มองค์ความรู้  มีความสามารถ มีศักยภาพที่จะนำองค์ความรู้มาใช้สร้างนวัตกรรม (Innovation) เช่น Product และ Service ใหม่ๆ  ความเห็นของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มี 3 เรื่อง คือ “Ideas ใหม่ หรือ Creativity และ บวกกับความรู้2.       Intellectual Capital ทุนทางปัญญามาจากความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ Economic of Friendship มนุษย์เกิดมาเท่ากัน หากใครลงทุนมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ  ทุนทางปัญญา ต้องรู้จักใช้ความรู้ให้เป็น  ต้องคิดให้เป็น  วิเคราะห์ให้เป็น  ต้องใช้เวลาสะสม  เรียนรู้จากประสบการณ์จึงมีมูลค่าสูง ทุนทางปัญญาหากสามารถนำมาใช้ (Apply) ให้เป็นประโยชน์ในระดับชาติ Macro  ประเทศจะเจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ชาติอื่นใด3.       Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมค่านิยมของสังคมแถบเอเชียจะเน้นเรื่องจริยธรรมเป็นหลักสำคัญที่สุด โดยเฉพาะนักธุรกิจและนักการเมืองจำเป็นต้องมีจริยธรรมประจำจิตเพียงพอที่จะไม่คิดทำร้ายสังคม4.       Happiness Capital ทุนแห่งความสุขโลกมีการแข่งขันสูงมาก มนุษย์เริ่มหันมาให้ความสำคัญเรื่อง มีความสุข  มีความพอใจในการทำงาน  ซึ่งทำให้ลูกค้าและสังคมได้ประโยชน์ ทุกอย่างมีความสมดุล  คนมีความสุขจะมีความยั่งยืน5.       Social Capital ทุนทางสังคมในสังคมตะวันออกทุนทางสังคมมีความหมายและสำคัญมาก  ทุนทางสังคมต้องมีเครือข่าย (Network) ไม่เฉพาะกลุ่มใกล้ตัว เครือข่ายสังคมภายนอก เช่น ต่างประเทศ สื่อมวลชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นตัวจักรกลจะขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จด้วยความสัมพันธ์ที่ดีและมีความเชื่อถือ “Trust” 6.       Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืนการที่จะรักษาให้เป็นทุนที่ยั่งยืนได้นั้นเป็นเรื่องยากมากเนื่องจากยุค Global Market มีการแข่งขันสูงมาก  มีเหตุการณ์ภายนอกหลายประการที่นอกเหนือการควบคุมได้ เช่น สภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว ฯลฯ เป็นต้น  ความยั่งยืนต้องเริ่มสมมติฐานจากทุกฝ่ายได้รับความสมดุลตามธรรมชาติและได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ7.       Digital Capital ทุนทาง IT เราคงจะปฏิเสธไม่ได้สำหรับมนุษย์ยุคปัจจุบัน ต้องมีทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)  ไว้ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกันทั่วทุกมุมโลก  มีพลังและมีศักยภาพ      มีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงสุด8.       Talented Capital ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindsetทุนทางความรู้และทักษะสามารถฝึกอบรมใฝ่หาความรู้ได้ แต่ทุนทางทัศนคติ (Mindset) มีคุณค่าสูงที่สุดต้องลงทุนฝึกอบรมเริ่มตั้งแต่จากสถาบันครอบครัวเป็นต้น มาจนถึงสิ่งแวดล้อม สังคมในปัจจุบัน สรุปข้อแตกต่างระหว่าง กฎของ Peter Senge  5 ประการ (The Fifth Discipline) กับ ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานของ ทรัพยากรมนุษย์ Peter Senge จะเน้นกฎ ระเบียบวินัย เหมาะกับวัฒนธรรมในการบริหารจัดการแบบตะวันตก และวิธีกระตุ้น พัฒนา ฝึกอบรมคน จะเน้นผลประโยชน์ตอบแทนบุคลากรและขององค์กรมากกว่าผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม จะเป็นภาคปฏิบัติในระดับ Micro มากกว่า Macro ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ทฤษฎี 8K’s ใหม่ จะเน้นการพัฒนาคนในภาพกว้างด้วยการสร้างทุนมนุษย์ให้มีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์สุขต่อสังคมและประเทศระดับ Macro มากกว่า Micro จะเน้นเรื่องภูมิปัญญา จริยธรรม ความสุข ความรู้สึกเหมาะกับวัฒนธรรมซีกตะวันออกและประเทศไทย  เรื่องเกี่ยวกับความรู้ ความสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ได้กับวัฒนธรรมแถบตะวันออกและตะวันตกในระดับ Macro และ Micro ข้อ 2   จะทำอย่างไรให้ความคิดนี้ขยายไปในวงกว้างตามความคิดของดิฉัน เข้าใจว่า ก่อนจะเป็นทฤษฎีได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับสมมติฐานจากจินตนาการ (Imagination) อย่างมีเหตุมีผล เมื่อได้ข้อสรุปจากความคิดจนสรุปเป็นเหตุเป็นผลได้แล้ว  จึงนำมาทดลองใช้ในหลากหลายรูปแบบ  หลายๆ ครั้งจนเกิดผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นที่ยอมรับจึงตั้งเป็นทฤษฎีให้นำไปใช้ได้สู่สาธารณะ ดังนั้นการจะนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้อย่างกว้างขวางนั้น น่าจะมีหลายช่องทาง เช่น-          เขียนบทความโดยอ้างทฤษฎีนี้สู่สาธารณชนอ่านได้อย่างเข้าใจง่าย-          การจัดสัมมนา การอภิปราย ปราศรัย-          นักศึกษา ลูกศิษย์ อาจารย์ ช่วยเผยแพร่ผ่านข้อเขียนในบทความ รายงานและวิทยานิพนธ์-          พูดในที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ-          นำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมและขยายประสบการณ์ให้ประชาชนทั่วไป ได้สัมผัส ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งจนกระทั่งนำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการและทางภาคปฏิบัติได้เป็นกิจวัตร                                                                                                                                     นางเครือวัลย์  สมณะ 23  สิงหาคม  2550
การบ้าน วันที่ 18 สิงหาคม 2550 เสนอ..ศ.ดร. จีระ  หงส์รดารมภ์ โดย..นางสาว ชารวี  บุตรบำรุง           การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้บรรยาย เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ต้องมองจากภาพใหญ่(คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม) ไปสู่ภาพเล็กหรือระดับองค์กร และการที่ทรัพยากรมนุษย์จะพัฒนา สามารถต่อสู้กับโลกาภิวัตน์ได้ ต้องเริ่มที่การศึกษาที่ดี คนที่จะประสบความสำเร็จต้องมี Big  Picture ก่อน และในวันนี้อาจารย์ฝากให้พวกเราอ่าน แนวคิดของ Peter  Senge เรื่อง “ PEOPLE,THE ENGINE OF SUCCESS “ พร้อมกับฝากคำถาม 2 คำถาม ดังนี้
  1. แนวคิดของ Peter  Sengy ต่างกับแนวคิดของ ศ.ดร. จีระ หงส์รดารมภ์ อย่างไร
  • แนวคิดของ Peter  Sengy การที่องค์กรหรือธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ ต้องนึกถึงคุณภาพสินค้า ทำเลที่เหมาะสม ลูกค้าที่ดี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้มาจาก คนฉะนั้น ต้องให้ความสำคัญกับคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และกล่าวว่า ทุนมนุษย์ : Human capital ” มีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนทุนทางการเงิน ทุนของเครื่องจักรกลหรือทุนชนิดอื่นๆ ทุนมนุษย์มีความสลับซับซ้อน ดังแนวคิดทฤษฎีของมาส์โลว์ เรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ สามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดบริการใหม่ๆ เกิดแนวคิดในการกระบวนการปรับปรุงองค์กร และยังประกอบด้วย
Intellectual capital : ความรู้ ทักษะ และ TalentRelational  capital : การติดต่อ การมีเครือข่าย ความสัมพันธ์กับคนภายในและภายนอกองค์กรโดยเฉพาะปัจจุบัน เป็นยุคแห่งการแข่งขันที่รุนแรง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆตลอดเวลา คนหรือทรัพยากรมนุษย์จึงถือเป็นกุญแจสำคัญ นำไปสู่ความสำเร็จ และสิ่งที่ไม่ควรลืม คือ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องมีความรู้ ต้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้น องค์กร ผู้นำองค์กร ต้องเข้าพื้นฐานของ คนต้องดูแลเอาใจใส่อย่างจริงใจ ต้องนำศักยภาพความคิดของคนออกมา สร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้การสนับสนุน ก็จะสามารถบริหารได้ดีบรรลุจุดมุ่งหมาย
  • แนวคิดศ.ดร. จีระ  หงส์รดารมภ์ อาจารย์มีแนวคิดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ บนพื้นฐานทฤษฎีทุน 8 ประการ คือ
  1. ทุนมนุษย์ : Human Capital ถือเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ
  2. ทุนทางปัญญา : Intellecturl Capital ต้องมีความกระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ ต้องคิดนอกกรอบ Think Out Of The Box ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ และต้องเรียนรู้อย่างสะสม ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง
  3. ทุนทางจริยธรรม : Ethical Capital เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน คน เก่ง ต้องบวกดี มีคุณธรรมจริยธรรมด้วย
  4. ทุนแห่งความสุข : Happiness Capital ทำงานอย่างมีความสุข สนุก รู้จุดมุ่งหมาย เรียนรู้ มีสมดุลระหว่างชีวิตและงาน ไม่เครียด เพิ่มคุณค่าให้ตัวเองในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์หรือเครือข่าย (สำคัญ)
  5. ทุนทางสังคม : Social Capital มีมนุษยสัมพันธ์หรือเครือข่าย ปัญญาต้องปะทะปัญญา เช่นเดียวกับทุนแห่งความสุข
  6. ทุนแห่งความยั่งยืน : Sustainability Capital สอดคล้องกับทุนทางจริยธรรม เก่ง มีปัญญาแล้ว ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมด้วย จึงจะยั่งยืน
  7. ทุนทาง IT : Digital Capital ปัจจุบันโลกาภิวัตน์ ทุนนี้จึงสำคัญยิ่ง เพื่อความก้าวหน้าทันสมัย องค์กรต้องมีการปรับตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. ทุนทาง Knowledge , Skill , Mindset  : Talented Capital  ปัญญา ปะทะ ปัญญา อย่างต่อเนื่อง และ ต่อเนื่อง
จาก ทฤษฎีทุน 8 ประการ อาจารย์ได้ประยุกต์เป็น ทฤษฎี 5 K’s เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ดังนี้
  1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ : Creativity Capital
  2. ทุนแห่งความรู้ : Knowledge Capital
  3. ทุนทางนวัตกรรม : Innovation Capital
  4. ทุนทางวัฒนธรรม : Cultural Capital ต้องมีเพราะคือ Networking
  5. ทุนทางอารมณ์ : Emotional Capital
          จากแนวคิดของทั้งสองท่าน พบว่า มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน มีมุมมองในการบริหารทุนมนุษย์โดยเริ่มจากMacro ไปสู่Micro เพราะโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ข่าวสาร เทคโนโลยี ฯ เป็นโลกแห่งทุน และทุนที่สำคัญคือ ทุนที่มีอยู่ในมนุษย์ ในอดีตดูความสำเร็จขององค์กรที่มีทรัพย์สินมากมาย แต่ปัจจุบันต้องพิจารณาถึง ทุนที่จับต้องไม่ได้ นั่นคือ ทุนในทรัพยากรมนุษย์ ความรู้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นองค์กร ผู้บริหาร ต้องหันมาใส่ใจอย่างจริงจังและจริงใจ ในการที่จะสรรหาคนเก่งคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมมาร่วมงาน และรักษาคนเก่งไว้ในองค์กรนานๆ และพัฒนาคนเก่ง บุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะมากขึ้นจากเดิม  2.เราจะทำอย่างไรที่จะให้ความคิดนี้สามารถขยายเข้าไปในสังคมมุมกว้างได้          * สังคมมุมกว้างในที่นี้ หมายถึง ประเทศไทย ดิฉันคิดว่า การที่จะเริ่มสนใจหรือให้ความสำคัญในทุนมนุษย์ สิ่งแรกที่ควรทำคือ          1. ภาวะผู้นำ ผู้ที่เป็นผู้บริหาร ผู้นำประเทศ หรือผู้นำในองค์กร ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำครอบครัว ควรจะปรับแนวคิดการบริหารจัดการ เปิดใจกว้าง จริงใจและให้ความสำคญกับมนุษย์ (ประชากรของประเทศ) ในเรื่องการวางนโยบายทุกด้าน บริหารงานด้วยความรักแผ่นดินเกิด กตัญญูต่อแผ่นดินเกิด ซื่อสัตย์และสุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม          2. นโยบายด้านการศึกษาของคนในประเทศ ควรสนับสนุนให้คนได้รับการศึกษาเรียนรู้ ทั้งชีวิตในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ได้สังเกต ทดลอง ฝึกฝน เพราะการที่ทุกคนมีองค์ความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการต่อยอดทางความคิด พัฒนาทัดเทียมนานาอารยประเทศ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต่อเนื่อง รู้จริงมิใช่เพียงแค่ให้ได้มาซึ่งปริญญา และสร้างมูลค่าเพิ่มได้          3. การปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร ให้สนใจ เอาใจใส่ กับทุนมนุษย์ ในทุกเรื่อง อาทิเช่น การสรรหา บรรจุ ฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การจ่ายค่าตอบแทน สวัสดการต่างๆ การลาออกจากงาน ฯ         4. การส่งเสริมพุทธศาสนา เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้เราเป็นคนดี อยู่ในศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นเมื่อพุทธศาสนาได้รับการส่งเสริม มีการเผยแพร่ ย่อมส่งผลต่อคนในประเทศชาติ          5. การส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว ดังคำที่ว่า วินัยเริ่มที่บ้าน สอนลูกหลานให้เป็นคนดีครอบครัวเปรียบเสมือน ด่านแรกที่จะมีหน้าที่ปลูกฝัง ลักษณะนิสัย พฤติกรรมต่างๆ เมื่อคนในครอบครัวมีความรัก ความเอื้ออาทร ความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน ก่อนออกไปสู่สังคมที่กว้างมากขึ้น เป็นต้น          สิ่งท่กล่าวมาเป็นแนวคิดเริ่มต้น เมื่อทุกส่วนหันมาให้ความสนใจ ความร่วมมือกัน ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ให้ความสนใจทุนมนุษย์อย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่มแก่ ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ............ขอบคุณค่ะ            
นายปลื้มใจ สินอากร
                1.  Concept การเรียนรู้ระหว่าง Mr.Perter M.Senge Dr.Chira Hongladarom แตกต่างกันอย่างไร            แนวความคิดของ Mr. Perter M. Senge ได้กล่าวไว้เรื่อง Cone of Learning Organization Work ขึ้นกับพื้นฐาน “Learning disciplines” การเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นการเรียนและปฏิบัติ The five disciplines ประกอบด้วย            -  Personal Mastery – learning to expand our personal capacity to create the results we most desire, and creating an organizational environment which encourages all its member to develop themselves toward the goals and purposes they choose.            -  Mental Models – reflecting upon, continually clarifying, and improving our internal pictures of the world, and seeing how they shape our actions and decisions.            -  Shared Vision – building a sense of commitment in a group by developing shared images of the future we seek to create, and the principles and guiding practices by which we hope to get there.            -  Team Learning – transforming conversational and collective thinking skills, so that groups of people can reliably develop intelligence and ability greater than the sum of individual members’ talents.            -  Systems Thinking – a way of thinking about, and a language for describing and understanding, the forces and interrelationships that shape the behavior of systems.                        Disciplines เหล่านี้จะช่วยเราได้อย่างไร ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีการทำการปรับแต่งด้วยกรรมวิธีมากกว่าของธรรมชาติและเศรษฐกิจโลก            To practice a discipline is to be a lifelong learner on a never – ending developmental path. A discipline is not simple a “subject of study.” It is a body of technique, based on some underlying theory or understanding of the world, that must be studied and mastered to put into practice.            Professor Dr.Chira Hongladarom’s his  8k theory   ซึ่งได้อธิบาย ดังนี้1.      Human capital                   ทุนมนุษย์2.      Intellectual capital             ทุนทางปัญญา3.      Ethical capital                    ทุนทางจริยธรรม4.      Happiness  capital             ทุนแห่งความสุข5.      Social capital                     ทุนทางสังคม6.      Sustainability capital          ทุนแห่งความยั่งยืน7.      Digital capital                     ทุนทาง IT8.      Talented capital                 ทุนทาง knowledge, skill และ Mindset             Five Discipline ของ  Mr.Peter  M.Senge มีความคล้ายคลึงกับ 8k’s  ของ Prof. Dr. Chira Hongladarom เป็นอย่างมาก ทั้ง 2 ทฤษฎีเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้และพัฒนาคน ซึ่ง 8k Theory จะมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันออก ซึ่งจะเน้นถึง คุณธรรม และความสุขรวมอยู่ด้วย ส่วน  Five Discipline ของ Mr. Peter M. Senge จะแนวคิดเป็นตะวันตก เป็นการเน้นความจำเป็นของตัวบุคคลและการทำงานเป็นทีม การคิดอย่างมีระบบ             2.  ทำอย่างไรจะนำ Idea ของทั้ง 2 ผ่านมาเป็นหลักปฏิบัติ            ในทางปฏิบัติควรจะเริ่มจากการทำความเข้าใจ และทฤษฎีทั้ง 2 มาทำการวิจัยลงรายละเอียดให้มาก รวมทั้งจัดทำเป็นแผนงาน เพื่อนำไปปฏิบัติและเผยแพร่ (Action Plan) การเผยแพร่อาจจะจัดทำเป็นการจัดสัมมนาเผยแพร่ โดยเชิญผู้รู้และผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อคิดเห็น และขอความร่วมมือเพื่อก่อให้เกิดความรู้และเผยแพร่หลายมากขึ้น            ขั้นตอนในการปฏิบัติอาจใช้ทฤษฎี 2R’s ของ Prof. Dr. Chira Hongladarom มาใช้ 2R’s คือ            1.  Reality                     มองความจริง            2.  Relevance              ตรงประเด็น            Reality คือ การอยู่กับความจริง ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์รอบตัว และมองด้านปัญหาในการพัฒนาและการแก้ไข            Relevance คือ ความเกี่ยวข้อง สิ่งที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ทฤษฎี 8k และ 5 Discipline มาเป็นตัวนำได้ 
      

พื้นฐานของ ทรัพยากรมนุษย์

                 ทฤษฎีทุน 8 ประการ ของ ดร.จิรา หงลดารมย์              1.       Human Capital                  ทุนมนุษย์2.       Intellectual Capital            ทุนทางปัญญา3.       Ethical Capital                   ทุนจริยธรรม4.       Happiness Capital             ทุนแห่งความสุข

5.       Social Capital                    ทุนสังคม ต้องเชื่อมโยงเข้าหากลุ่ม

                                                  สังคมใหม่กว่าเดิม เพื่อจะได้สร้าง

                                                  เครือข่ายใหม่ๆ

6.       Sustainability Capital         ทุนความยั่งยืน แต่ขาดคุณธรรม,

                                                  จริยธรรม ก็ไม่อาจยั่งยืนได้

7.       Digital Capital                     ทุน IT สมัยใหม่เป็น Long tail คือ ถ้า

                                                 อยากดูหนังสักเรื่อง ใน USA จะมีร้าน

                                                 IT ที่ทันสมัย โดยเข้าไปเลือกดูจาก

                                                 IT ได้เลยไม่ต้องเสียเงินมาก ต้องเดิน

                                                 ทาง เสียค่าใช้จ่ายเข้าไปดูในโรงภาพ

                                                 ยนต์8.       Talent Capital                   ทุน knowledge,skill,Mindset   กฎของ Peter Senge 5 ประการ 1.       Personal Mastery                    รู้อะไร รู้ให้จริง มีวิสัยทัศน์เฉพาะตน มองเห็นสิ่งที่เป็นจริง2.       Mental Models                         แบบอย่างทางความคิด เข้าใจสิ่งที่อยู่ภายในและปฏิบัติอย่างถูกต้อง3.       Shared Vision                           เห็นอนาคตร่วมกัน มุมมองแต่ละคนออกความคิดเห็นและรวบรวมนำประโยชน์มาใช้4.       Team Learning                         เรียนเป็นทีม เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม จะได้เกิดความคิดหลากหลาย5.       System Thinking      คิดมีเหตุผล เรียนรู้เป็นระบบ เป็นขั้นตอน 

จากบทความการเรียนรู้ของ Peter Senge จะเป็นด้านกำไรและ สถานที่เป็นส่วนใหญ่ สิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญคนในองค์กรน้อยมาก หรือ ทุนมนุษย์ของ Senge ไม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

เปรียบเทียบระหว่าง 

ดร.จิรา

Peter Senge
ทุนมนุษย์ ทุนปัญญา รู้อะไร รู้จริง มีวิสัยทัศน์
ทุนมนุษย์, IT,(ความรู้,Skill) Talent เห็นอนาคตร่วมกัน
ทุนทางปัญญา Intellectual capital Mental Models
EldicalHappinessSocialSeebstainabilityTalent Team leorning
Human         มนุษย์Intellectual    ปัญญาEthical           จริยธรรมHappiness      ความสุขSocial             สังคมSubstainability ยั่งยืนDigital and IT  กว้างไกลTalented         ความรู้ System thinking
 มีวิสัยทัศย์ที่แคบ                 ส่วน ดร.จิรา มองถึง HR มีความสำคัญเป็นอันดับแรก และสำคัญมากสำหรับองค์กร และมองในมุมกว้าง มองจาก Macro ไป Micro                 ข้อ 1.       สรุปการเปรียบเทียบทฤษฎีของ 8 K’s Dr.Jira 5 K’s ของ Sange สามารถกล่าวได้ว่า Dr.Jira มี Vision ในมุมมองที่กว้างไกล มากกว่า ทฤษฎี 5 K’s ของ Sange นักศึกษาสามารถนำปใช้ในองค์กร และในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และมีความสุขมาก ถ้าคิดถึงทฤษฎี 8 K’s ของ Dr.Jira                 ข้อ 2.       โดยหลักการ ทฤษฎี ของ Sange มี 5 ข้อ                                                 ทฤษฎี ของ Dr.Jira มี 8 ข้อ        ทฤษฎี 8 K’s ของ Dr.Jira มีความละเอียดดีกว่าของ Sange คือ มองทุกอย่างในองค์กร เป็นมุมมองที่กว้างขวาง ทุกด้าน ทุกมุม เริ่มต้นตั้งแต่ภายใน, ภายนอกของคนในองค์กร และ สิ่งแวดล้อม ทุกอย่างขององค์กร คือมองจาก Macro ไปสู่ Micro        เราจึงสามารถนำทั้งสองทฤษฎีมา โดยนำหลักการมาวางแผน ทำการวิจัยในหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น การทำการอบรมแรงงานให้รอบรู้เพื่อจะได้มีงานทำอย่างยั่งยืน, แรงงานต่างด้าวในเมืองไทย เป็นต้น โดยการวางแผนปฏิบัติจริง ทำจริง รู้ให้จริง ตรงกับ ทฤษฎี 2 R’s ของ Dr.Jira คือ 1.       Reality     มองความจริง2.     Relevant ตรงประเด็น นอกจากนี้ยังมี ทฤษฎี 4 L’s ซึ่งเป็นทฤษฎีวัฒนธรรมของการเรียนรู้ คือ 1. Learning Methodology   เข้าใจการเรียนรู้2.       Learning Environment             สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้3.       Learning Opportunities           สร้างโอกาสในการเรียนรู้4.       Learning Communities             สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งท่าน Dr.Jira ได้ทำโครงการ KPD ร่วมกับโรงเรียนอาชีวะศึกษา ในการทำโครงการ KPD (Key People Development)  โดยนำเด็กอาชีวะเข้าทำการอบรม ให้ใฝ่รู้ในการเรียนรู้ รู้จริง ทำจริง มีโอกาสไปดูงาน ฝึกงาน ตามแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อจะได้รับค่าตอบแทนได้สูง มีความสามารถ ประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอดอายุการใช้งาน จะไม่ตกงาน หรือไม่มีงานทำเหมือนปัจจุบัน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมไพบูลย์ เท็กซ์ไทล์ โรงงานผลิตรองเท้ากีฬา เพราะฝีมือแรงงานไม่ได้มาตราฐาน ค่าแรงงานสูง ต่างชาติก็เลิกจ้าง ย้ายถิ่นฐานออกไปประเทศอื่น 

 

  

การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 8ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันที่ 18 สิงหาคม 2550

 

บรรยากาศการเรียนรู้แบบสร้างสัมพันธภาพก่อนการเรียนที่แตกต่างและมีคุณค่า ขอเรียกว่า “Prof. Chira  Model“ เป็นสิ่งที่ดีมากในการส่งผลให้ประสิทธิภาพทางการเรียนดี และต้องกราบขอบพระคุณที่ อาจารย์กรุณาเปิด blog ให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันแบบ  Global Citizen และแสดงความเมตตา ห่วงใยในการศึกษาของพวกเรา นอกจากนี้อาจารย์ยังเปิดโอกาสในการให้ไปพบ และซักถามได้ตลอดเวลา กลุ่มเราคงจะต้องหาโอกาสเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการได้ติดตามและสนทนา ปะทะความรู้กับอาจารย์

วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนในห้องเรียนสรุปสิ่งที่ได้ทั้งหมดโดยไม่ซ้ำประเด็นให้ข้อคิดในเรื่องทุนทางปัญญาเปรียบเสมือนเบ็ดตกปลา และคำถามข้อแรกสำหรับวันนี้คือ การพัฒนาคนเองตามแนวคิดของ Prof. Peter Senge และ ผศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แตกต่างอย่างไร

 

             ก่อนอื่นคงต้องกล่าวอ้างถึงก่อนว่าในยุคโลกาภิวัตน์นี้จะเห็นว่ามีสิ่งต่าง ๆเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ สังคม การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยและเปลี่ยน version อย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่จะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่กล่าวขวัญกันมากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่อง ภาวะโลกร้อน จากเหตุและปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวจะเห็นว่าเกิดจากมนุษย์ทั้งสิ้นทั้งในด้านดีและด้านเสื่อม ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดที่จะส่งผลในการพัฒนาองค์กรไปตามทิศทางที่กำหนด และจากเหตุนี้มนุษย์ทุกคนจึงต้องมีพัฒนาการในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและ 5 แนวคิดหลักของ Prof. Peter Senge ประกอบด้วย

 

1.      Personal Mastery ความรอบรู้หมายถึงการรู้จักตนเองที่แท้จริง มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายของตนเอง ซึ่งอาจสรุปได้อย่างชัดเจนคือการรู้อะไร ให้รู้จริง

2.      Mental Model เป็นแบบอย่างทางความคิดแต่ต้องไม่ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง

3.      Shared Vision  หมายถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือมองเห็นอนาคตสำหรับสังคมเรายังต้องปรับในการเปิดใจกันให้มากกว่านี้

4.      Team Learning  มีการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้เป็นกลุ่มจะทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์

 5.      Systems Thinking  มีการเรียนรู้และการคิดเป็นระบบ มีเหตุผล มีขั้นตอนที่ชัดเจน

           จะเห็นได้ว่าหลักการและแนวคิดของ Peter  Senge ทั้ง 5 ประการ นับได้ว่าเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กร

ขณะเดียวกันหลักการณ์และแนวคิดของ ดร.จีระ มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎี 8’ k ซึ่งประกอบด้วย

1.      Human Capital  ทุนมนุษย์ซึ่งประมวลทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 2-8 เป็นทั้งในส่วนที่วัดได้ ประเมินได้ ตรวจสอบได้ เห็นได้ และส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในที่สร้างสรรค์ อาจเป็นความสามารถ หรือความมีน้ำใจ ความรู้สึก

2.      Intellectual Capital ทุนทางปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้จากสิ่งเดิม ๆแล้วพัฒนาเป็นสิ่งใหม่ ๆที่มีคุณค่า

3.      Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม วัฒนธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้เวลาในการสั่งสมตั้งแต่วัยเยาว์นับเป็นทุนมนุษย์ที่ช่วยให้มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีค่ายิ่ง

4.      Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ที่แสดงออกหรือสะท้อนโดยสีหน้า ท่าทางและอารมณ์ของคน

5.      Social Capital ทุนทางสังคมเพราะมนุษย์ต่างเป็นสัตว์สังคมต้องอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงเกิดทีมในการร่วมกันทำงาน

6.      Sustainsibility Capital ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการดำรงรักษาไว้

7.      Digital Capital ทุนในการสื่อสารทางสารสนเทศ ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยส่งเสริมให้เพิ่มประสิทธภาพของมนมนุษย์ยิ่งขึ้น

8.      Talented  Capital  เป็นพรสรรค์เฉพาะตน

      (ทุนทางความรู้, ทักษะ และทัศนคติ :Mindset)

จะเห็นได้ว่าทฤษฎี 8 K มีความคล้ายคลึงกับ 5 หลักแนวคิดของ Peter Senge เป็นอันมากซึ่งทั้งสองทฤษฎีเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในเรื่องการเรียน การสอนและการทำงาน แต่ทฤษฎี 8 K เป็นการพัฒนาในแนวทางตะวันออกที่มีความละเอียดอ่อนมากกว่า คำนึงถึงจิตใจ ความรู้สึกซึ่งเป็นข้อดีและเหมาะกับวัฒนธรรมบ้านเรา

อาจเนื่องจาก ดร.จีระ เข้าใจในวัฒนธรรมของคนตะวันออกเป็นอย่างดี ดังนั้นทฤษฎี 8 K นอกจากจะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคนแล้ว ยังเน้นและให้ความสำคัญทางด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งสิ่งสำคัญที่ทุกคนปรารถนานั่นคือความสุข

ทำอย่างไรให้แนวคิดนี้ขยายเข้าสู่สังคมในมุมกว้าง

           เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยในการจะนำแนวคิดของทั้งสองปรมาจารย์ไปขยายสู่สังคมในมุมกว้าง และต้องใช้เวลาเพื่อศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้โดยการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้จาก ทฤษฎี 4 L’s คือเข้าใจวิธีการเรียนรู้ (Learning Methodology) สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี (Learning Environment) สร้างโอกาสในการเรียนรู้ (Learning Opportunity) และสุดท้ายคือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Communities)

            ซึ่งนำทฤษฎี 2 R ’s  เป็นแนวดำเนินการ คือการมองความจริง(Reality ) อย่างตรงประเด็น (Relevance) แล้วกำหนดเป็นแผนการปฏิบัติการ เขียนโครงการและบริหารโครงการให้บรรลุผล     

                                              >>อรพินท์  มณีรัตน์ <<

นายชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริระกฤติ
การบ้านครั้งที่ 7  :  วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ : เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่อง : เรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็ก (Micro)

นักศึกษา : นายชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ..

    

         

Prof.Peter Senge เขียนเรื่อง The Fifth Discipline Fieldbook แห่ง The Sloan School of Management สถาบัน MIT ให้แนวคิดเกี่ยวกับ Learning Organization ให้เกิดขึ้นในองค์กรบนเงื่อนไขการพัฒนาคนทุกระดับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั้งในด้านวิธีการ การบริหารจัดการ การสร้างค่านิยม งบประมาณและเวลาที่เพียงพอ โดยให้ความรู้ที่ทันสมัย ให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ซึ่ง Prof.Peter Senge กำหนดหลักสำคัญไว้ 5 ประการ ดังนี้

 1. Personal Mastery - การเรียนรู้และการกระตุ้นให้บุคคล/สมาชิกในองค์กร เกิดพลังงานEnergy และนำพลังงานมาใช้เพิ่มสมรรถนะความสามารถ อันนำไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จของบุคคลและองค์กร 2. Mental Models - การสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางและการตัดสินใจขององค์กร   3. Shared Vision - เป็นการสร้างความรู้สึกผูกพันของคนในกลุ่ม ด้วยการใช้ความคิดร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และปฏิบัติตามกฎที่กำหนดร่วมกันเพื่อนำสู่จุดหมาย 4. Team Learning - การแลกเปลี่ยนความรู้ และรวบรวมความคิด ทักษะ เพื่อนำมาใช้พัฒนาความรู้ความสามารถของกลุ่มบุคคลในองค์กร 5. System Thinking - วิธีการคิดและการเชื่อมโยงการเรียนรู้ที่ได้จากหลักการในข้อ 1-4 เพื่อนำมาใช้ปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เกิดประโยชน์ในภาพองค์รวมกฎของ Peter Senge   มีว่า รู้อะไรให้รู้จริง  แบบอย่างทางความคิด  เห็นอนาคตร่วมกัน เรียนเป็นทีม และคิดมีเหตุผล    และจากหนังสือ Leveraging The New Human Capital  ซึ่งพูดถึงว่าคนคือตัวขับเคลื่อนความสำเร็จ ไว้ดังนี้   องค์กรที่ประสบความสำเร็จ คือองค์กรที่มีวินัยในการคิด การปฏิบัติ และวินัยของคน  ที่สำคัญคือ การเลือกคนที่ตรงความต้องการและเลือกคนได้เหมาะสมกับงาน ทฤษฎีทุน 8 ประการ Human Capital             ทุนมนุษย์Intellectual Capital      ทุนทางปัญญาEthical Capital              ทุนทางจริยธรรมHappiness Capital       ทุนแห่งความสุขSocial Capital              ทุนทางสังคมSustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืนDigital Capital             ทุนทาง IT         Talented Capital ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindsetเน้นที่การสะสมทุนทางปัญญาต้อง  ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง   ในยุค 21st Century อาวุธที่สู้กันมากที่สุดคือปัญญา การมีปัญญาอย่างเดียวก็คงไม่พอ ก็มีอะไรอีกหลาย ๆ  การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ความรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ (Anywhere Learning / Study Tour / Tea Time .etc..) ไม่ใช่ฟังข้างเดียว ควรจะวิเคราะห์ให้เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
      - Reality มองความจริง
      - และ Relevance ตรงประเด็น

Leveraging The New Human Capital1People, The Engine of Success            ได้ความรู้พอสังเขปดังนี้ เมื่อทุนมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง  หากองค์กรมองกำไรเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญมาในอันดับแรแล้วให้ความสำคัญกับ คน เป็นอันดับรองแล้ว นั่นคือสัญญาณอันตราย เพราะองค์กรนั้นกำลังมองความความสำคัญของทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กรเสียแล้วเรื่องความสำคัญของคนกลายมาเป็นประเด็นที่องค์กรต่างๆนำมากล่าวถึง ความสามารถของคนที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และแน่นอน ทุนมนุษย์เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ทุนมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เป็นตัวผลักดันให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ ก็คือความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการนั่นเอง 1.     เกิดผลกระทบในทางบวกสนับสนุนซึ่งกันและกัน2.     เห็นคุณค่าและใส่ใจพนักงานมากขึ้น3.     มีความเชื่อว่าองค์การแบ่งปันคุณค่าให้มากขึ้นผลกระทบในทางบวกสนับสนุนซึ่งกันและกันนี้ เกิดขึ้นระหว่างพนักงานกับลูกค้าหรือองค์กร ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ กลายมาเป็น คุณค่า ทักษะทางเทคนิค และความรู้  คนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม และการปรับปรุงกระบวนการผลิต ทุนมนุษย์จึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญา และความสัมพันธ์ตามภารกิจและเป็นหมายขององค์กร  นอกจากนั้น ความสามารถในการแข่งขันในยุคข่าวสารจะขับเคลื่อนกันที่ความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้คนเข้าถึงข่าวสาร สินค้าและบริการทั่วโลก องค์กรจึงต้องพัฒนานวัตกรรมสินค้าและการบริการของตนอย่างต่อเนื่อง   ดังนั้น องค์กรจะต้องเข้าใจคน และให้การสนับสนุนเพื่อให้เขามีความสามารถ ให้เขาสะท้อนการปฏิบัติงานที่ดี และให้เขามีความเชื่อมั่นในค่านิยมขององค์กร    การบริหารทุนมนุษย์แตกต่างจากการบริหารทุนด้านอื่น ๆ     ในขณะที่คนทำให้เกิดความแตกต่างในความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น เราต้องบริหารคนเพื่อให้เขามีความสามารถในการปฏิบัติงาน  ให้การดูแล  และประสานการเชื่อมโยง            องค์กรต้องไม่คิดว่าการบริหารคนเหมือนกับเป็นเครื่องจักร เพื่อขยายศักยภาพเครื่องจักร และแม้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จก็ตามแต่คนเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำได้ทุก ๆ อย่าง    

 

ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
ทรงศรี  ด่านพัฒนาภูมิ วิชาการจัดการทุนมนุษย์ หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เรียนเรื่อง โลกาภิวัตน์                                 วันนี้เรียนได้ความรู้มากมายเรื่องการค้าเสรี WTO, FTO เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน บทบาทของจีน อินเดียและละตินอเมริกา เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตยและ Human right เรื่อง Global worming ภัยธรรมชาติเรื่อง สงครามและการก่อการร้าย เรื่องน้ำมันหมดโลกพลังงานทดแทนเรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์                                เรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็ก (Micro) หรือในระดับองค์กร โลกาภิวัตน์ ต้องมีจุดแข็ง จุดอ่อน 
จุดแข็ง จุดอ่อน
- กระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบายทั้งระดับ    Macro และ Micro- ผู้บริโภคมีทางเลือกของคุณภาพสินค้ามากขึ้น- ราคามีการแข่งขันกันอย่างเสรี- ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้าง- ผู้มีความรู้หรือ Knowledge worker ได้ประโยชน์   งานที่ทำจะเป็นงานที่มายได้สูงขึ้น- นักอุตสาหกรรม ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์ - แรงงานไร้ฝีมือปรับตัวไม่ทันเกิดปัญหา  การว่างงานและปลดคนงาน- ภาคราชการ ภาคแรงงานไร้ฝีมือผู้หญิงเด็ก  คนพิการจะลำบากยิ่งขึ้น- เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้น- ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ- บริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบเพราะมีระบบ  การทำงานที่ดีกว่า - คนไทยยังไม่เข้าใจและไม่มีใครชี้นำ- ภาคการศึกษาไทยยังขาดการปฏิรูปสังคม  การเรียนรู้ 
       โลกาภิวัตน์ 
โอกาส ความเสี่ยง
- ใครมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า- มีสินค้าให้เลือกมาขึ้นในราคาที่ถูกลง- มีโอกาสได้รับค่าจ้างมากขึ้น- ต้นทุนการสื่อสารและโทรคมนาคมมีราคาถูกลง- ได้รับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม  - ธุรกิจภายในประเทศบางอย่างจะล้มเพราะแข่งขัน     สู่ต่างประเทศไม่ได้- ขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะส่งออกไป   ต่างประเทศลดลงแต่เรานำเข้ามากขึ้น- มีการปลดแรงงาน- มีความแตกต่างในรายได้มากกว่าเดิม- ถูกต่างชาติครอบงำทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
                                 ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์1.       ทุนมนุษย์2.       ทุนทางปัญญา3.       ทุนทางจริยธรรม4.       ทุนแห่งความสุข5.       ทุนทางสังคม6.       ทุนแห่งความยั่งยืน7.       ทุนแห่ง IT8.       ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset ทฤษฎี 5K’s ใหม่ เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์1.       ทุนแห่งการสร้างสรรค์2.       ทุนทางความรู้3.       ทุนทางนวัตกรรม4.       ทุนทางวัฒนธรรม5.       ทุนทางอารมณ์      ทุนทางความสุข (Happiness Capital) เป็นทุนที่สำคัญมากในการทำงานสำหรับยุคแห่งการแข่งขันนี้ ซึ่งการทำงานให้มีความสุขได้จะต้อง-          รู้จุดมุ่งหมายของงานและรู้ว่าผู้รับบริการต้องการอะไร-          รู้ว่าเรามีความสามารถในการนำเสนอพอเพียงหรือไม่-          ต้องเตรียมตัวดีมีเวลาเพียงพอ-          พักผ่อนเพียงพอ-          มีทีมที่ดี-          สุขภาพกายและสุขภาพใจต้องดี-          ต้องสนุกกับการท้าทาย-          ทำงานด้วยความกระตือรือร้น-          ต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้-          ต้องมีความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน-          ต้องไม่เครียด-          เพิ่มคุณค่าให้ตัวเองในการทำงาน 1.  Functional Competency คือความรู้ที่เราต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน เช่น วิศวกร ต้องฝึกเรื่องช่าง บัญชีก็ต้องฝึกเรื่องบัญชี                                2.  Organizational Competency เน้นเรื่องความรู้ที่มีประโยชน์ให้องค์กรมีการศึกษาเรื่อง Reengineering Six Sigma การปรับองค์กร TQM วัฒนธรรมองค์กร การทำงานเป็นทีม การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ Conflict, Management, Negotiation                                3.  Leadership Competency                                -  เน้นเรื่อง People Skill                                -  เน้นเรื่อง การสร้าง Trust                                4.  Entrepreneurial Competency                                -  มีความคิดริเริ่ม                                -  มีความคิดในเชิงผู้บริหาร                                -  เผชิญหน้ากับความล้มเหลว                                -  บริหารความเสี่ยง                                5.  Macro and Global Competency                                1.  รู้ทันเหตุการณ์ว่าอะไรกำลังดำเนินอยู่ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก                                2.  แสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงความเสี่ยง   
Motivation-  การมีส่วนร่วม-  การทำงานที่ท้าทาย- การทำงานเป็นทีม- การให้รางวัลพิเศษ Continue- การไปเพิ่มพูนความรู้- ค่าตอบแทนที่เป็นไปได้เช่น โบนัส- วัฒนธรรมองค์กร- การประเมินผลอย่างโปร่งใส- ความเป็นธรรม- Style การบริหาร- สภาพแวดล้อมในการทำงาน- Empowerment- อื่น ๆ   
                                 จะทำอย่างไรให้การ Motivation มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงกับงาน 1.       วางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร2.       พัฒนาและเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลขององค์กร3.       พัฒนา สป.วท. ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้4.       ส่งเสริมการนำเทคโนโลยี/เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล5.       เสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมสร้างสรรค์ขององค์กร (Core Values)6.       พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความโปร่งใสและพร้อมรับการตรวจสอบ7.       พัฒนาระบบการประเมินและบริหารผลการปฏิบัติงานให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล8.       เสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากรขององค์กร9.       พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน           

ขออนุญาติส่งการบ้านครั้งที่ 7 (เป็นครั้งที่ 2)

เนื่องจากส่งลง blog เดิมไปแล้วเมื่อ 16.8.50

แต่อ่านไม่ได้ครับ

การบ้านครั้งที่  7

เรียนวันที่ 11 สิงหาคม 2550  กับ อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ผู้นำเสนอ นายพนม ปีย์เจริญ

 

Competency

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.  Core Competency

2.  Managerial Competency

3.  Functional Competency

4.  Individual Competency

     ซึ่ง Competency นั้นต้องประกอบด้วย

     -       Skill (ทักษะ)

     -        Knowledge (ความรู้)

     -       Behavior (พฤติกรรม)

    ในที่นี้ คุณซาร่าได้นำเสนอทฤษฎี ABC Theory ซึ่งผู้บริหารจากต่างประเทศนำมาให้ Baker Macancy ในประเทศไทยคือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ

A = Attitude

B = Behavior

C = Consequences

     ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดกันค่อนข้างหลากหลาย แต่ท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีใดก็ตาม ก็ต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของไทยของเรา 

Boyatzis  ได้กล่าวถึงความหมายของ  Competency ว่าเป็น    คุณสมบัติที่มีความเป็นเหตุเป็นผล นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหนือกว่า

     อย่างไรก็ตามในโลกปัจจุบัน เราให้ความสำคัญเรื่อง Competency มากขึ้น เพราเราเชื่อว่า

      ในอนาคต  Competency จะเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์กร  มากกว่าตัวสินค้าและบริการ และเชื่อว่า  Competency Based  ดีกว่า  Technical Knowledge Based ” 

      เพราะเรายังเชื่ออีกว่า  Core Competency เป็นเอกลักษณ์ ที่แสดงถึง Know – How ขององค์กร อันเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรูปสินค้าและบริการ และยังยากต่อการเลียนแบบอีกด้วยคำถามต่อมาก็คือ แล้วอะไรเล่าที่เป็น  

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิด Competency

1.Share Mind Set   การมีทัศนคติร่วมกัน แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

ภายใน   ที่เราต้องเข้าใจ

- เป้าหมาย

- Vision

- Mission  และ

- Strategy ขององค์กร

ภายนอก    เป็นส่วนที่เราต้องเข้าใจ

 - Costumer

- Supplier 

 - etc.

2. Management and Human Resources Practices   เป็นเรื่องของกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในทุกกระบวนการตั้งแต่-       กระบวนการ     Recruit - Select -       การบวนการ     Human Resource Development-       กระบวนการ     Evaluation และ Compensation ไปจนถึง

-       กระบวนการ     Career Planning , Career Management

ตลอดจนกระบวนการของ Communication

 

3.Capacity for Change

ความสามารถในการปรับปลี่ยน พฤติกรรมและคนในองค์กร เช่น ต้องให้มี Empowerment ในองค์กร

4.Leadership

      การพัฒนาภาวะผู้นำ ต้องให้เกิดมีในทุกระดับองค์ประกอบเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Competency ซึ่งการเกิด Competency ในทุกด้านจะทำให้องค์กร เป็นองค์กรที่เป็น High Performance Organization  อันเป็นสิ่งที่ผู้บริหารในทุกองค์กรต้องการ

       เหตุที่ต้องการองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงก็เนื่องมาจาก

-       ความล้มเหลวในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมพนักงานด้วยการ Training และ Education

-        สภาพการแข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้ต้องช่วงชิง Market Share และเพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

     เหนือสิ่งอื่นใดผู้บริหารมีความต้องการ Unique Assets อันเป็นสิทรัพย์ขององค์กรที่มีความแตกต่างไปจาก Generic Assets อันเป็นสินค้าและบริการทั่วไปที่ลอกเลียนแบบได้ไม่ยาก

     แต่ Competency ของคนในองค์กรที่นับว่าเป็นสินทรัพย์ที่เป็น Unique Assets นั้น ยากที่จะลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ เพราะเป็นวัฒนธรรมที่สั่งสมมายาวนาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว

          อันเป็นส่วนสำคัญทำให้เกิด Core Competency ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึง know – How ขององค์กรเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรูปของสินค้า และบริการอันถือว่าเป็น  Competency Advantage ที่ยากต่อการเลียนแบบ

โดยมีองค์กรประกอบ 3 ด้านใหญ่ๆคือ

     1. ทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพ  โดยต้องอาศัยกระบวนการทุกกระบวนการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ ตั้งแต่ 

 - กระบวนการสรรหา,คัดเลือก

 - กระบวนการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์

- กระบวนการวัดผล ประเมินผลและให้ผลตอบแทน

- กระบวนการ Career Planning และCareerManagement

- ตลอดจนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

 

      2. องค์กร ที่ต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรสมัยใหม่ ( New Public Management )โดยต้องมีโครงสร้าง ( Structure ) ขององค์กรที่

- มีความเป็นทางการต่ำ ( Formalization )

- มีความซับซ้อนต่ำ ( Complexity )

 - มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม ( Centralization )

    

     โดยเฉพาะถ้าเป็นองค์กรภาครัฐก็ต้องยึดหลักปฏิบัติที่ถือเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางกล่าวคือ

     1. ต้องสนองตอบประชาชนมากกว่าองค์กร ( Social Equity )

     2. ไม่เลือกปฏิบัติ ( Equality )

     3. มุ่งสู่การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล ( Value – Based )

     4. แสวงหารูปแบบโครงสร้างที่ Flexible ( Change )

    ซึ่งอาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ได้พูดถึงสิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการในขณะนี้คือ 1. ความรู้ใหม่ๆ ( New knowledge )2. ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ ( Effective / Competency )3. ทัศนคติที่ดี ( Positive Attitude )4. การทำงานที่มีระบบที่ดี ( Systematic Approach ) 5. ความสามารถในการแข่งขัน ( Competitive Advantage ) 6. ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Change Management ) 7. ภาวะความเป็นผู้นำ 

     3. วัฒนธรรมองค์กร

      เช่น การทำงานเป็นทีม

      การเรียนรู้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง   โดยมีผู้นำเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าเป็นผู้กำหนดแนวทางทั้งหมด

 

การจัดทำ Competency สำหรับองค์กร 

     - กำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) ภารกิจ ( Mission 

     - กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ( Business Strategy & Process )

     - วิเคราะห์ประเมินจุดเด่น , จุดด้อย , โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ( Swot Analysis )

     - วิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อย ของพนักงานในองค์กรในแต่ละระดับ ตามทิศทางกลยุทธ์การ        ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

     - วิเคราะห์และจัดทำความสามารถหลักของบริษัทฯ ( Core Competencies ) และทักษะ  ความสามารถที่จำเป็นที่จำเป็นต้องปฏิบัติงาน ( Professional or Technical Competencies )

      - กำหนดแนวทางการประเมินทักษะความรู้และความสามารถหลัก

     - นำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคลากร การสรรหาจ้างงาน การประเมินผลงาน        ตลอดจนการบริหารค่าตอบแทน ดังที่กล่าวไว้

     โดยต้องมองให้ออกว่า เราต้องการคนเช่นไรถึงจะทำให้องค์กรของเราประสบความสำเร็จ และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ( Competitive Advantage )

    

     ซึ่งความสำเร็จในการจัดทำ Competencies จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ

     1. ต้องเชื่อมโยง Competencies กับเป้าหมายขององค์กรและเป้าหมายของธุรกิจตลอดเวลา

     2. โดยเริ่มจากร่าง Competencies ที่ใช้กันโดยทั่วไปก่อน

     3. พร้อมทั้งคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นทีมในการจัดทำ Competency

    4. ต้องเน้นเรื่องการนำไปใช้ได้ ไม่ใช่แค่สร้าง Model ขึ้นมา

    5. ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกฝ่าย

    6. ต้องมีการแจ้งให้พนักงานทราบอยู่บ่อยๆ

    7. มีการจัดทำการประเมิน Competency ที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเกินไป

     8. จัดให้มีการฝึกอบรมและการสื่อสารสำหรับผู้จัดการและพนักงาน

     9. มีการทดลองใช้ Competencies กับบางแผนกก่อน

    10. ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำองค์กรเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ( High Performance Organization ) อันจะทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ( Competitive Advantage )

     คนทุกคนในองค์กรจะต้องมีศักยภาพที่เพียงพออันเนื่องมาจากทุกกระบวนการที่ช่วยพัฒนา   ห้มีความพร้อม จนทุกคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์ประเภท Unique Asset ที่องค์กรอื่น ก็ยากที่จะลอกเลียนแบบได้.

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr.Panom Peecharoen

16.8.2007   

 

 

 

               

 

  
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
ทรงศรี  ด่านพัฒนาภูมิ LEADERSHIP IN A CHANGING WORLDPresented by Peter Bjork  เรียนเรื่อง Center for change managementเรียนเรื่อง   ผู้นำระดับโลกว่ามีหน้าที่จะต้องสร้างให้ทุกคนเป็นผู้นำให้มากขึ้น ผู้นำที่ดี                  1.  เปิดรับประสบการณ์ใหม่                                2.  อยากรู้อยากเห็นเรื่องใหม่ๆ ในโลก                                3.  มีพลังในการกระตุ้นลูกน้องคลอดเวลา                                4.  จะต้องรับฟังและยอมเรียนรู้ตลอดเวลา                                5.  ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง                                6.  ต้องถามอะไรให้ตรงประเด็นและถามมีสาระ                                7.  มีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์                                8.  มีความมั่นใจในตนเอง                                9.  จะต้องติดตามผลลัพธ์ที่ได้และต้องศึกษาเรียนรู้ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร                                ในวันนี้ Mr.Peter ได้ให้ CCM Examples of Reference Projects ตัวอย่างโครงการของประเทศสวีเดน-ไทย
  สวีเดน   ประเทศไทย
1 อิริคสัน 1 สวีเดน
2 มอนนิลลินซ์ 2 เนสเล่ท์
3 ซาป 3 โคโค
4 วัตเด็นฟอล 4 ไทยลิฟท์
5 พีเล็บ 5 เทราภัค
6 สำนักงานอียู 6 โจตัน
                                 จากการที่เรียนมาได้เกี่ยวกับหลักการเก็บข้อมูลฟาแรกซ์ว่ามีความแตกต่างอย่างไร แต่ละหัวข้อเช่น สบายๆ,มีความมีประสิทธิภาพ,ความคิด,ความกดดัน,ความคิดสร้างสรรค์,คนดี,เป็นทางการ,คนสวน,เปลี่ยนแปลง,เจ้าของกิจการ,ชัดเจน,แต่ละรายการมีความเป็นบวกและเป็นลบอยู่ในหัวข้อไหนบ้าง ดังจะเห็นได้จากตารางที่สอนมา                                อีกตัวอย่างหนึ่ง คนสวน, เจ้าของกิจการ, ความชัดเจน, ความคิดสร้างสรรค์, ความเป็นทางการ, ความไม่ชัดเจน, คนดี, เปลี่ยนแปลง, ความคิดสร้างสรรค์, ผลรวม, ดูได้จากตารางจากการวัดผลของฟาแรกซ์ ได้ทราบถึง1.       พฤติกรรมของผู้นำ2.       ความสำคัญของพฤติกรรมของผู้นำ3.       ความสามารถของผู้จัดการ4.       ความต้องการขององค์กร5.       ความมีประสิทธิภาพของหน่วยงาน ขั้นตอนของฟาแรกซ์                                                     SUPERIOR MANAGER1.       ผลฟาแรกซ์ของแต่ละบุคคล                                                             หัวหน้า2.      

FARAX

   360
ทำซ้ำการวัดค่า                                                            ตัวเอง                                          เพื่อนร่วมงาน3.       การบริหารผลฟาแรกซ์4.       การวัดค่า5.       การปรึกษาในกลุ่ม                                                            ผู้ใต้บังคับบัญชา6.       ข้อมูลฟาแรกซ์ หัวหน้าในเมืองไทย 1.       ต้องมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองในผู้จัดการ2.       มีทรรศนคติที่เปิดกว้าง3.       ได้ผลในระดับสูง4.       มีช่องว่างระหว่างการวัดค่าด้วยตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา5.       ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการควบคุมและการเปลี่ยนแปลง6.       ผู้จัดการมีการแก้ปัญหา7.       ผู้จัดการต้องการการติดตามผล8.       การใช้ระบบ 360 องศาเป็นไปได้ดีในประเทศไทยแต่ภาษายังเป็นอุปสรรค สรุปเรื่อง Leadership for Change (ผู้นำต้องมีการเปลี่ยนแปลง)-          Partnership (มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน)-          Endurability (มีความอดทน อดกลั้น)-          Management by Objectives (MBO) บริหารโดยวัตถุประสงค์-          Acting as driving force (ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน)-          Conflict Solving (คลี่คลายข้อโต้แย้ง) Managerial Commitment to the Change Process                ภาวะ/ความมุ่งมั่นของผู้บริหารสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง1.       มีความสม่ำเสมอในคำพูดและการกระทำ2.       ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน3.       มีความคืบหน้าอย่างกระตือรือร้น4.       พร้อมและเต็มใจที่จะทบทวนความคิดของตนเอง Human Reactions on Change and Development ปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุง1.       การเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงและกลัวในเหตุการณ์       ที่คาดเดาไม่ได้2.       มนุษย์แสวงหาสิ่งที่คาดเดาล่วงหน้าได้3.       ความขัดแย้งระหว่างเหตุการณ์ที่คาดเดาได้และเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้4.       มีปฏิกิริยาที่เป็นกลางหรือเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่จะเป็นในเชิงบวก ทักษะในการดำเนินการ Implementation Skills1.       มีความคงเส้นคงวา2.       เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง3.       แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับกลับมาและทำให้เกิดผล4.       วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจ Actions to Limit Negative Reactions สิ่งที่ควรทำเพื่อจำกัดปฏิกิริยาเชิงลบ1.       ชี้แจงล่วงหน้า2.       กล้าพูดทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ3.       เต็มใจต้อนรับคนเข้ามาร่วมกระบวนการเปลี่ยนแปลง4.       สนับสนุนกิจกรรมภายในกลุ่ม5.       บริหารการมีการพูดคุยถึงข้อคิดที่ต่างกันออกไป6.       ยอมรับว่าอาจมีบางคนที่ไม่พอใจหรืออาจมีอารมณ์อื่น ๆ 7.       มุ่งเน้นที่ธุรกิจลูกค้าและตลาด The Role of the Leader when implementing change  บทบาทของผู้นำเมื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง1.          ผู้นำคือ ตัวแทนขององค์กรและการเปลี่ยนแปลงแต่ควรต้องฟังความคิดเห็นของพนักงานด้วย2.          ผู้นำอาจมองข้ามความสำคัญในการชี้แจงให้พนักงานทราบ3.          ผู้นำควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี ..........................................            
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ COMPETENCY – BASED MANAGEMENTอาจารย์  ศิริลักษณ์                                 วันนี้ก็เรียนเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหาการสัมมนาและสิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ ความรู้ใหม่ ๆ  (New Knowledge)   ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ (Effective Skills/competency) ทัศนคติที่ดี การทำงานที่มีระบบที่ดี ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)                                คุณลักษณะของผู้บริหารยุคใหม่1.       คิดอย่างมีระบบ2.       สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้3.       ฝึกฝนอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง4.       มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม ตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ด้านการเงินที่นักลงทุนนักวิเคราะห์ทางด้านการเงินให้ความสำคัญ1.       การปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร2.       ความน่าเชื่อถือของฝ่ายบริหาร3.       คุณภาพกลยุทธ์4.       ความสามารถในด้านนวัตกรรม5.       ความสามารถในการดึงดูดบุคลากร6.       ส่วนแบ่งการตลาด7.       การดำเนินงานในกระบวนการที่สำคัญ8.       การเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าและด้านการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ ปัจจัยหลักของการแข่งขัน1.          การพัฒนาผู้นำในองค์กรให้สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อหน่วยงานของคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ในขณะที่ยังคงต้องดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อไปตามปกติ2.          การพัฒนาในองค์กรให้สามารถคิดและปฏิบัติโดยมองผลกระทบที่มีต่อองค์กรในภาพรวมมากกว่าการมองเฉพาะในหน่วยงานของตนเอง                                3.  ความสามารถในการสร้างความเข้าใจลดความกลัว,ลดการต่อต้านในระหว่างที่องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง                                4.  การพัฒนาแบบการพัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจังอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล                                5.  การพัฒนาระบบการทดสอบการพิจารณาลงนาม รวมถึงผลงานที่สามารถให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรกำหนดไว้                                 Competency คืออะไร หมายถึงทักษะ ความรู้ความสามารถและพฤติกรรมของบุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งนั่นคือ ในการทำงานหนึ่ง ๆ เราต้องรู้อะไร เมื่อมีความรู้หรือข้อมูลแล้ว เราต้องรู้ว่าจะทำงานนั้น ๆ อย่างไร  เราควรมีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะเฉพาะอะไร ซึ่งสามารถกำกับดูแลได้ สังเคราะห์และวัดได้                                ทำไมต้องมี Competency                                -  ภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้น (ต้องสามารถบุกมากกว่าตั้งรับ)                                -  ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่นำไปใช้ได้จริง เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล                                ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร                                -  วิสัยทัศน์หมายถึงการมองไปข้างหน้าของผู้บริหารว่าต้องการเห็นองค์กรเป็นอย่างไรในอนาคต-  ผู้บริหารควรพิจารณาความสามารถหลักขององค์กร ทักษะความรู้และความสามารถขององค์กรอะไรบ้างที่จำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคต                                -  ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประยุกต์สิ่งเหล่านั้นในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้                                คุณลักษณะของ Competencies ที่ดี                                -  พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นว่ารู้อะไรบ้างทำอะไรได้บ้างและเป็นคนอย่างไร                                -  จำเป็นต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้ผลดีกว่ามาตรฐานทั่วไป                                -  วัดและประเมินได้                                -  พัฒนาได้                                -  สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร                                รูปแบบของการกำหนด Competency                                -  หัวข้อ                                 -  คำอธิบายความหมาย                                -  เครื่องบ่งชี้พฤติกรรมที่ต้องการ                                -  ระดับของ Competency                                อุปสรรค-  จัดทำ Competency โดยไม่มีแนวคิด/ภาพขององค์กรที่ชัดเจน-  พยายามออกแบบ   Competency ให้สมบูรณ์แบบ (Perfect) -  การจัดและประเมิน Competency ไม่ชัดเจน-  การฝึกอบรมผู้จัดการและพนักงานในเรื่องนี้ไม่เพียงพอความสำเร็จในการจัดทำ Competencies จะเกิดขึ้นได้- เชื่อมโยง Competencies กับเป้าหมายขององค์กรเป้าหมายทางธุรกิจตลอดเวลา- เริ่มจากการข่าว Competencies ที่ใช้กันโดยทั่วไปก่อน-  คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมากเป็นทีมในการจัดทำ Competencies-  เน้นเรื่องการนำไปใช้ได้ไม่ใช่สร้าง Model ขึ้นมา-  การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง-  สื่อสารแจ้งให้พนักงานทราบบ่อย ๆ -  จัดทำการประเมิน Competencies ที่ง่ายไม่ซับซ้อน- จัดให้มีการฝึกอบรมและการสื่อสารสำหรับผู้จัดการและพนักงาน- เริ่มทดลองใช้ Competencies ก็บางแผนกก่อน- ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย ................................................      
 

สรุปการบรรยาย ครั้งที่ 9 (เสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550) ศาสตราจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

สัปดาห์นี้ท่านอาจารย์ได้ให้การบ้าน 2 ข้อ

ข้อ1.  แนวคิดของ Prof.Peter Senge และศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร

ข้อ2.  ทำอย่างไรให้แนวคิดนี้( Prof.Peter Sengeและศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) ขยายเข้าสู่สังคมในมุมกว้าง

ก่อนอื่น ขอแนะนำให้รู้จัก 2 ท่าน สักเล็กน้อย

Prof.Peter Senge เป็นเจ้าของผลงาน The Fifth Discipline Fieldbook แห่ง The Sloan School of Management สถาบัน MIT ผู้ให้กำเนิดแนวคิด Learning Organization สรุปได้ว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ สามารถเพิ่มพูนความรู้ความสารถของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างผลงานได้ตามความปรารถนา อีกทั้งเป็นแหล่งสร้างความสามารถที่เรียนรู้ร่วมกัน

. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายพันแท้ อดีตอาจารย์สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เจ้าของทฤษฎี  8 K’s

ตอบคำถามข้อ 1. แนวคิดในเรื่องของคน มีความเห็นว่า

ทั้งสองท่านมีมุมมองในประเด็นของการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของคนทีเหมือนกัน แต่มีหลักคิดและทฤษฎีที่แตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้

 Prof.Peter Senge

การจะสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้น องค์กรต้องจัดให้มีสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

 

ศาสตราจารย์ ดร. จีระ  

ผู้สร้างทฤษฎีเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัต์ อย่างยั่งยืน โดยเน้นการพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรมที่แข็งแก่ง กรอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เกิดความพอเพียง แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไร้ขีดจำกัด

ข้อเปรียบเทียบ(ตามมุมมองของ นายทวีป)

1. Personal Mastery 

บุคคลที่มีความรอบรู้ คือใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีจิตมุ่งมั่นที่จะรับการถ่ายทอดความรู้ใหม่ ๆ ที่ทันสมัยจากบุคคลอื่น               

1. Human Capital ทุนมนุษย์ จัดเป็น Universal set ของทุนอื่นๆ ทั้งหมด หรือทุนอื่น ๆ เป็น subset ของทุนมนุษย์นี้ คือทุนมนุษย์ จะแปรผันตามทุนอื่น ๆ ถ้าทุนอื่น ๆ สูง ทุนมนุษย์ก็จะสูงตาม ทุนมนุษย์ เป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาแต่เยาว์วัย สามารถแปรเปลี่ยนได้อย่างไม่มีขอบเขตตามผู้ที่เป็นเจ้าของทุนจะกำหนดหรือต้องการ

ดร.จีระ มีมุมมองในเรื่องมนุษย์ที่ละเอียดอ่อนมากกว่า มองการพัฒนามนุษย์ครบทุกด้าน เหมาะกับคนไทย ถ้าคุณมีทุน(Capital) ครบทั้ง 8 ทุน ตามแนวคิดของอาจารย์คุณจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และถ้าบวกอีก 5ทุนตามทฤษฎีใหม่ของท่านเข้าไปด้วยจะยิ่งสมบูรณ์ที่สุด

 

2.  Mental Models  มีรูปแบบของความคิด เพราะความคิดของคนมีอิทธิพลต่อแนวทางการปฏิบัติตน และกำหนดพฤติกรรมการปฏิบัติงาน

                   

2. Talented Capital ประกอบด้วย Knowledge Skill Mindset  คือการมีความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ  ที่ถูกต้องในการทำงาน จะส่งผลให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทุนนี้หากได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ จะสามารถทำให้องค์กรมีศักยภาพในการรองรับการเปลี่ยนแปลง (change) ของโลกาภิวัตน์ได้อย่างดี

Prof.Peter Senge ไม่ได้กล่าวหลาย ๆ เรื่องที่สำคัญ เช่น เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความยั่งยืน มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนเพื่อความเจริญขององค์กร ไม่ได้พัฒนาคนเพื่อความเจริญ(จิตใจ)ของคน

3.  Shared Vision เห็นอนาคตร่วมกัน   คนในองค์กรจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกัน และมีพันธะสัญญาทางใจต่อองค์กร

มีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร

 

3. Intellectual Capital ปัญญาคือความรอบรู้และเป็นความรอบรู้ทีดีที่ถูกต้องคือต้องรอบรู้คู่คุณธรรมจริยธรรม ถ้าคุณรอบรู้แต่ขาดสิ่งนี้ก็เป็นได้เพียงคนฉลาด(ขาดปัญญา)เท่านั้น

 

4. Team Learning  เรียนรู้เป็นทีม      คือต้องสร้างทีมงานที่เข้มแข็งให้เก่งร่วมกันทั้งทีมงาน

ไม่เป็นระบบ One man show

4.Digital Capital  คือการรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก รู้และสามารถใช้เทคโนโลยีที่จำเป็นกับงานและกชีวิตประจำวันของตนเองได้เป็นอย่างดี

 

5.     System Thinking ความคิดเป็นระบบ       ต้องรู้จักคิดในภาพใหญ่คิดแบบองค์รวม คิดและทำ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมขององค์กร คิดเชิงกลยุทธ์ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ต้องมีการถ่ายโอนความรู้ใหม่ ๆ ความรู้ดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนร่วมงานในองค์กร

5. Ethical Capital    คือการสร้างคนดีเข้าสู่สังคม ทรัพยากรมนุษย์ที่ขาดทุนข้อนี้ถึงแม้จะมีทุนอื่น ๆ มากมายก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติ

 

 

6. Happiness Capital  คือความสุขกายสุขใจ ซึ่งต้องมีทุนความรู้

( Knowledge Capital) ทุนปัญญา (Intellectual) และทุนทางจริยธรรม (Ethical) เป็นพื้นฐาน หากมีทุนข้อนี้แล้วทำสิ่งใดก็มักจะประสบความสำเร็จ

 

 

7. Social Capital  ทุนทางสังคม  เน้นที่การมีเครือข่าย ทุนนี้ช่วยส่งเสริมให้งานและชีวิตประสบความสำเร็จ

 

 

8. Sustainable Capital คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันนั้นเกิดขึ้นเร็วมากหากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว เราจะไม่สามารถอยู่รอด และแข่งขันได้ในยุคโลกไร้พรมแดนได้เลย 

 

 

และอาจารย์ยังเสนอ ทฤษฎี 5 K’s เพิ่มเติมอีก เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ คือ1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ Creativity Capital

2. ทุนทางความรู้ Knowledge Capital

3.  ทุนทางนวัตกรรม Innovation Capital

4. ทุนทางวัฒนธรรม cultural  Capital

5. ทุนทางอารมณ์ Emotional Capital          

 

 

 

ตอบคำถามข้อ 2 ทำอย่างไรให้แนวคิดของท่านทั้งสอง ขยายเข้าสู่สังคมในมุมกว้าง

ผมเห็นว่ามีหลายช่องทางที่สามารถทำได้ เช่น ผ่านสถาบันการศึกษาโดยการสอดแทรกเนื้อหาสาระเข้าไปในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดเวทีเสวนา หรือผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ วารสารวิชาการ

  การบ้านวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐การเรียนกับอาจารย์จีระ หงส์ลดา เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การเรียนที่ออกรสชาด นั้นเป็นอย่างไร มีการให้แต่ละคนได้แสดงความเห็นว่าได้แง่คิดอะไรจากการเรียนบ้าง อาจารย์บอกว่าอย่าเชื่ออาจารย์ทั้งหมด ต้องรู้จักคิดวิเคราะห์และต่อยอด ซึ่งผมว่าก็จริงและเห็นด้วย เพราะ การศึกษาไม่ใช่เรื่องการเอาใจ แต่เป็นเรื่องการเอาจริงเอาจัง            อาจารย์ฝากการบ้านให้อ่านบทความเรื่อง “People, the Engine of Success” ซึ่งอยู่ในหนังสือชื่อ “Leveraging the New Human Capital” พร้อมทั้งฝากคำถามไว้ ๒ ข้อ คือ๑.     ความคิดของ Peter Senge ต่างจาก ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างไร๒.     เราจะทำอย่างไรถึงจะให้ความคิดเหล่านี้ขยายเข้าไปในสังคมมุมกว้างได้ก่อนที่จะมีการตอบคำถามข้างต้น ขอสรุปสาระสำคัญของบทความดังกล่าวก่อนว่าได้พูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งใจความสำคัญมีดังนี้แต่เดิมเราคิดกันว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จนั้นจะดูที่ผลกำไรเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วการที่จะเกิดสิ่งต่างๆ ที่ดีงามสำหรับบริษัทได้ก็เป็นผลมาจากคนทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม มักจะมีการพูดถึงเรื่องคนน้อยมาก อีกทั้ง ถึงแม้จะเห็นความสำคัญว่าคนคือปัจจัยที่สำคัญ แต่ก็มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาคนอย่างจริงจังกลับเกิดขึ้นน้อยมาก การที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมมอง และให้ความสำคัญต่อ “who“ มากกว่า “what“ และจะต้องจัดสรรคนให้ลงตัวและเหมาะกับงาน เพื่อให้บรรลุความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน ในบทความได้ให้ความหมายของคำว่าทุนมนุษย์ (Human Capital) ว่าเป็นการประยุกต์หรือผสมผสานกันระหว่างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ซึ่งประกอบด้วยความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) และ (talent) บวกกับทุนทางความสัมพันธ์ (Relationship Capital) ซึ่งหมายถึงการมีเครือข่ายและความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อนฝูง และบุคคลภายนอกอื่นๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กรแต่เดิมความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (competitive advantage) มักมองว่าใครมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถครองตลาด การให้บริการหรือการผลิตสินค้าที่กำหนดตลาดได้ แต่วิธีการเช่นนี้คงใช้ไม่ได้ในโลกยุคปัจจุบันที่เป็นโลกแห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งความได้เปรียบเชิงแข่งขันจะต้องสร้างหรือเกิดจากความรู้ (knowledge) ความคิด (ideas) และเทคโนโลยี (technology) โดยจะต้องมีการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริการ การตลาด การเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วถึงทุกหัวระแหง ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ คน คือปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนโดยปกติแล้ว ธุรกิจต้อง 3 สิ่งหลักที่คนเท่านั้นจะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้นั้น คือ ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) ความรู้ (knowledge) และทุนความสัมพันธ์ (relationship capital)ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ (creativity) นั้น คนจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ที่ดีกว่า และการสร้างผลิตภาพ (productivity) เพื่อลดต้นทุน ซึ่งตลาดจะมีรางวัลให้แก่คนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แนวคิดใหม่ๆ จะต้องเหมือนกระแสน้ำที่ไหลไม่หยุด ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นสานมาจากหัวใจและจิตใจของคนกรณีของความรู้ (knowledge) นั้น อาจกล่าวได้ว่าคนเป็นถึงผู้ถือและผู้ส่งต่อความรู้ และในระบบเศรษฐกิจที่อาศัยข้อมูลข่าวสาร ทรัพย์สินที่เป็นความรู้จะมีความสำคัญกว่าทรัพย์สินทางกายภาพ และเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้นองค์กรจะต้องใช้ประโยชน์จากความรู้ของคนให้มากที่สุด นอกจากนี้ ความรู้อาจเกิดจากความร่วมมือของมนุษย์ เนื่องจากความร่วมมือของมนุษย์จะสามารถ leverage ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความแตกต่างและความสำเร็จของธุรกิจสำหรับทุนความสัมพันธ์ (relationship capital) ก็ถือว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญ เพราะการมีเครือข่ายจะช่วยทำให้ทราบข้อมูลได้รวดเร็วและเป็นโอกาสให้กับผู้ที่รับข้อมูล การมีเครือข่ายที่ยั่งยืน (sustained connection) มักเรียกว่ามี “social capital“ หรือ “relationship capital“ ซึ่งเป็นผลมาจากการมี trust, mutual understanding และมี shared value ร่วมกัน ทำให้เกิดความร่วมมือที่เป็นไปได้ ซึ่งหากองค์กรไหนมี relationship capital มาก ก็จะได้เปรียบและมีประสิทธิภาพสูง เพราะการมีความสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยทำให้ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ช่วยเร่งการสื่อสาร รวมทั้งลด transaction cost สำหรับคำถามที่ว่าความคิดของ Peter Senge ต่างจาก ดร.จีระฯ อย่างไรบ้างนั้น ตอบได้ว่าค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกับทฤษฎีทุน ๘ ประการของดร.จีระฯ ซึ่งมีการเน้นในเรื่องทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนทางความรู้ ทักษะและกรอบความคิด (Talent Capital) ทุนทาง IT (Digital Capital) อย่างไรก็ตาม ในบทความดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงเรื่องทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) และทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจจะเห็นว่าทุนทางจริยธรรมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอยู่แล้วและควรจะต้องมี (Base line) อยู่แล้ว  จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงอีก ส่วนทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน นั้น ก็จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากประสบผลสำเร็จจากการที่ทุนด้านอื่น ๆ บังเกิดผล            ส่วนคำถามที่ว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะให้ความคิดเหล่านี้ขยายเข้าไปในสังคมมุมกว้างนั้น คงจะต้องเริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายเป็นวาระแห่งชาติในเรื่องการพัฒนามนุษย์ ปรับ mindset ของคนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ หา best practice มานำเสนอเพื่อนำมาปรับใช้และต่อยอด โดยอาจจะทำเป็นหลักสูตรเรื่องการพัฒนามนุษย์ให้แทรกอยู่ในทุกองคาพยพของการบริหารจัดการ ทั้งนี้จะต้องมีการศึกษาถึงความต้องการ (need assessment) ของคนแต่ละกลุ่มให้ถ่องแท้เพื่อให้การอบรมพัฒนาที่จะจัดสรรให้นั้นตอบสนองต่อความต้องการและเหมาะสมกับความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ก็จะต้องเข้าใจถึงความเป็น human being ของแต่ละคนว่าไม่เหมือนกัน คนมีความแตกต่าง มีความต้องการไม่เหมือนกัน คนไม่ใช่เครื่องจักร (ต้องการความรักและความเข้าใจ) มักจะนึกถึงและตอบสนองความต้องการของตนเองก่อนที่จะไปสนใจคนอื่น ซึ่งหากเราไม่ทราบและไม่ศึกษาในเรื่องนี้ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในการจัดการเรื่องการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่จะขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งก็คือเรื่องการสื่อสารระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกที่เราจะต้องมีการพัฒนาทักษะให้เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการจูงใจ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เกิดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดการเชื่อมโยงข้ามศาสตร์ในองค์ความรู้ เกิดการลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะ transaction cost ขององค์กร เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน สามารถยืนอยู่บนขาของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็น Good citizen และ Global citizen ซึ่งท้ายที่สุดก็จะบรรลุเป้าหมายเรื่องความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศอย่างมีคุณูปการต่อไป                                                                                     รักษ์เกชา แฉ่ฉาย
การบ้านครั้งที่  9เรียนวันเสาร์ที่  25  สิงหาคม  2550  กับท่าน อ. ศุภชัย  หล่อโลหการ   ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาตินักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี หัวข้อที่ศึกษา 3  ชั่วโมง  (9.30 – 12.30น.)  คือ  Innovation Solutions  มีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆมากมาย  น่าสนใจอย่างยิ่งในด้านการจัดการทุนมนุษย์  (Human  Capital  Management)   เนื้อหาที่ศึกษามีดังนี้อ. ศุภชัย  เริ่มบรรยายด้วยการยกตัวอย่างกรณีปัญหาว่า  โรงงาน  Textile หรือ Garment แม้กระทั่ง Automobile Spare Part ที่กิจการล่มสลาย  และที่กำลังจะปิดกิจการอีกนั้น  จะเป็นอย่างนี้อีกมากน้อยแค่ไหน  ผลไม้ที่กำลังขายแบบผู้ซื้อช่วยทำบุญต่ออายุให้ชาวสวน  ทั้งมังคุด  ลองกอง  ลำไย  คนกินจนน้ำตาลในเลือดสูงเอา ๆ  คนไทยน่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน  โดยใช้เรื่องนวัตกรรมการจัดการมาจัดการปัญหาเหล่านี้  ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ประเทศไทยต้อง ทำลายเพื่อการสร้างสรรค์ (Creative Distruction)  เหมือนอย่างที่ประเทศอังกฤษทำการปฏิวัติอุตสาหกรรม  มีตัวเลขที่น่าตกใจก็คือ  อัตราส่วนนักวิจัยต่อจำนวนแรงงานของไทย คือ  6.7 : 10,000  ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว  อัตราส่วนอยู่ที่  30 : 10,000  ทำให้เกิดคำถามกับตัวเองว่า  คนไทยนอกจากจน  ขาดระเบียบวินัย  ความคิดยังไม่ได้เรื่องอีกเชียวหรือ  แล้วจะสู้ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร  ผมคิดว่าคนไทยไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทั้งหมด  บางส่วนที่เป็นอยู่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการเปลี่ยนระบบคิด  (Mind Set)  ข้อสำคัญก็คือ  เมื่อคิดแล้วการนำไปทำต้องเป็นสิ่งใหม่ของคนทำ  ยิ่งถ้าเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดที่นำไปทำด้วยเงินลงทุนน้อย ๆ  แต่ส่งผลกระทบแรง  ถือเป็นความสำเร็จของนวัตกรรมอย่างยิ่ง  เช่นเสื้อ Silver Nano  ,  ถุงผ้า Nano , บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย  และเยื่อชานอ้อย  เป็นต้น          อาจารย์มีแนวความคิดว่า  นวัตกรรม  (Innovation)  คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ ต้องมีความร่วมมือ (Collaborate) ในการจัดการอย่างเป็น กระบวนการ  และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม  กล่าวได้ว่า  เป็นการใช้ความคิด เปลี่ยนความรู้ เป็นทรัพย์  ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ  ความเป็นมา (History)  ประสบการณ์  (Experience)  และสิ่งที่เป็นเป้าหมาย  (Dream)  ต้องสอดคล้องกัน  และมีความเป็นไปได้  ไม่ใช่เพ้อฝัน  ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง  ถ้าประเทศไทยนำอาหารทะเลทางภาคใต้  บรรจุใส่ชะลอมจากภาคอีสาน  ทำเป็น  Frozen  Sea  Food  for  Exportก็จะเป็นนวัตกรรมทางวัฒนธรรมการกิน และการใช้ ที่น่าสนใจมาก  (Cultural Base Innovation)  นั่นหมายความว่า  นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้ง  100%  การนำภูมิปัญญาเดิมมาต่อยอด แล้วก่อเกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม  ย่อมถือเป็นนวัตกรรมได้ทั้งสิ้น  ทั้งนี้ต้องพยายามให้เกิดความแตกต่างจากของคนอื่นอย่างชัดเจนให้ได้         องค์กรที่ไม่มี  Reserch Arm  ก็สามารถมีนวัตกรรมได้ด้วยวิธี  “Outsourcing Innovation”  นั่นก็ตรงกับแนวคิดของ ศ. ดร. จีระ  ในเรื่องทุนทางสังคม  (Social Capital)   อีกทั้งยังให้ความเห็นว่า  Knowledge is very important but Creativity is more important.  เพราะความรู้และงานวิจัยเป็นเพียง Foundation แต่ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ต่างหากที่จะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนและนำพาให้ประเทศก้าวหน้าอย่างแท้จริง  คำถามที่น่าสนใจมากอีกคำถามก็คือ  ประเทศเล็ก ๆ ในโลกหลายแห่ง ทำไมถึงร่ำรวยกว่าประเทศที่มีขนาดใหญ่  ยกตัวอย่างเช่น  สวิสเซอร์แลนด์ประเทศที่มีพื้นที่ไม่มาก  แต่กลับเป็นประเทศที่ส่งออกชอกโกแลตที่ทำจากผลิตภัณฑ์นมวัวมากที่สุดในโลก  สะท้อนให้เห็นว่าคนในชาติที่พัฒนาแล้วน่าจะมีลักษณะที่ดีอย่างน้อย  9  ประการ คือ1.            มีจริยธรรม2.            มีความซื่อสัตย์3.            มีความรับผิดชอบ4.            เคารพกฎหมาย5.            เคารพสิทธิผู้อื่น6.            รักการทำงาน7.            รู้จักการออมและการลงทุน8.            ตั้งใจทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่9.            มีความแม่นยำ  และตรงเวลา  ทั้ง 9 ประการนี้รวมอยู่ในทฤษฎี 8 K’s  นั่นเอง  ขาดไปเฉพาะทุนแห่งความสุข  แต่ถ้ามองว่าถ้ามีทั้ง  9 ประการนี้  ก็จะทำให้เกิดความสุขขึ้นได้ยุคโลกาภิวัตน์  คู่แข่งทุกรูปแบบของทฤษฎี  5 Forces จะติดตามเข้ามาหลังจากผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก  Launch New Product  ประมาณ 1.5 – 2.5 ปี  แต่ขณะนี้  China  สามารถทำสินค้าเลียนแบบได้ภายใน  2  สัปดาห์  หรือเร็วกว่าที่เราเรียนตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ถึง  40  เท่า  นอกจากนั้นยังมีราคาถูกกว่าเกือบ  10  เท่า  จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายในแง่การพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยเป็นอย่างยิ่ง  สิ่งที่ประเทศไทยจะสู้ชาติใด ๆ ได้  จึงอยู่ที่  ทุนมนุษย์ต้องเป็น  Good  Global  Citizen  คนจะดี  มีความสามารถ  ต้องมีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดี  และสามารถรู้ข้ามศาสตร์  ทั้งวิทยาศาสตร์  สังคมศาสตร์  สังคมวิทยา  ศาสตร์ของชาวตะวันตก  และศาสตร์ของชาติตะวันออก  และต้องให้ความสำคัญกับทฤษฎี  4 L’s   คือ 1. Learning   Methodology   2. Learning  Environment มี Coach , Facilitator , Mentorนำไปสู่ Creativity  3. Learning  Opportunity  หาโอกาสเจอผู้รู้ และ 4.  Learning  Community  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น  และต้องมีความต่อเนื่องและต่อเนื่อง  นั่นคือแหล่งที่มาของความคิดและนวัตกรรม  ต้องมาจากสมองทั้ง  2  ด้านของมนุษย์  และต้องมีความเป็นผู้ประกอบการ  คือกล้านำไปปฏิบัติจึงจะทำให้เกิด  Benefit  กับองค์กร  สังคม  และประเทศต่อไป  ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  องค์พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทยทรงปฏิบัติมาตลอด  61  ปีในการครองราชย์และพัฒนาประเทศในส่วนสุดท้าย  อาจารย์ได้กรุณาแนะนำองค์กรสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติถึงแนวคิดการจัดการ  โครงสร้างการบริหารแบบ  Flat   ความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของคนรุ่นใหม่  อายุเฉลี่ย  30 ปี  ประมาณ  30  คน  และได้จุดประกายให้กับนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการให้ดูสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมกว่า  30  รายการของทางสำนักงาน  และแนะนำให้ลงทะเบียน  เพื่อฟังการสัมมนาหัวข้อ  การลงทุนในทรัพย์สินทางปัญญาและธุรกิจนวัตกรรม  ในช่วงวันที่  4-7 ตุลาคม  2550  ที่อิมแพ็ค  เมืองทองธานี  รวมทั้งให้การสนทนาอย่างเป็นกันเองที่เต็มไปด้วยทั้งสาระและเกร็ดความรู้อย่างมากมาย ในมื้ออาหารกลางวัน  ขอขอบพระคุณอาจารย์  ศุภชัย ที่กรุณาสละเวลามาให้ความรู้กับนักศึกษาเป็นอย่างสูงครับ      
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
ทรงศรี  ด่านพัฒนาภูมิ สรุปคำบรรยายอาจารย์ศุภชัย  หล่อโลหการ                         วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับการเกิดอะไรขึ้นในโลกใบนี้ หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมอย่างเช่นที่เห็นใน ไนจีเรีย มีน้ำมัน อินโดนีเซียมีป่าไม้ แอฟริกาใต้มีเพชรและทองคำ บราซิลมีป่าและแร่ธาตุ เม็กซิโกมีเงินและน้ำมัน                        จะเห็นได้คุณลักษณะของคนในชาติที่พัฒนา1.      จริยธรรม2.      ความซื่อสัตย์3.      ความรับผิดชอบ4.      การเคารพกฎหมาย5.      เคารพสิทธิของผู้อื่น6.      รักการทำงาน7.      รู้จักการออมและลงทุน8.      ตั้งใจทำสิ่งยิ่งใหญ่9.      แม่นยำและตรงต่อเวลาปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมโลก1.      ความรู้2.      ทรัพย์สินทางปัญญา3.      นวัตกรรมความหมายของ นวัตกรรม (Integrations) สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมความหมายของ นวัตกรรม นวัตกรรมไม่เพียงแต่มีคุณค่า แต่คนอื่น ๆ ในสังคมต้องสมามารถนำไปใช้ด้วย                        การวิจัย   ใช้เงิน              สร้างสรรค์ความรู้                        นวัตกรรม  เปลี่ยนความรู้              เงินทอง                          ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม                        ความคิดสร้างสรรค์ต้องเป็นสิ่งใหม่  ใหม่  สำหรับผู้สร้างสรรค์แต่เก่าสำหรับคนอื่น   เก่า  สำหรับผู้สร้างสรรค์  แต่ใหม่สำหรับคนอื่น                        ความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรม                        ไม่มีทางรู้เลยว่าความคิดนั้นใหม่หรือไม่ (ยกเว้นแต่จะอ้างอิงกับมาตรฐานบางอย่าง) และไม่มีทางบอกได้ว่ามันมีคุณค่าหรือเปล่าจนกระทั่งผ่านการประเมินทางสังคม                        นวัตกรรมผสมผสาน-  เกิดจากการผสมผสานแนวคิดที่แตกต่างกัน-  ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเท่านวัตกรรมเฉพาะราย-  เกิดจากการเชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกันในทางที่ไม่ธรรมดา-  เป็นผลจากการเคลื่อนย้ายของผู้คน-  การบรรจบกันของศาสตร์สาขาต่าง ๆ -  การประมวลผลที่ล้ำยุคนวัตกรรมแบบเปิดการร่วมใจ Collaboration สหสาขาวิชาก้าวทันโลกาภิวัตน์พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย ถ้าใครสนใจจะจัดในเดือนตุลาคม วันนวัตกรรมแห่งชาติกลไกการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม-     แปลงเทคโนโลยีเน้นทุน-          นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย-          ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม-          ร่วมลงทุนธุรกิจนวัตกรรม-          การสนับสนุนด้านวิชาการตัวอย่างกลไกการสนับสนุน  นวัตกรรมดีต้องไม่มีดอกเบี้ยตัวอย่างกลไกการสนับสนุน แปลงเทคโนโลยีเป็นทุนแนวทาง(น้อย) ในการสร้างนวัตกรรมปัญหาคาใจ-          เข้าใจจุดไหนดี-          รู้ว่าทำอะไรแต่จะทำอย่างไร-          ใครจะเป็นคนทำ-          ความสามารถเรามีแค่ไหนใครช่วยได้ แนวทางการแสวงหาโครงการ หาความรู้ Web Site –หนังสือเอกสาร ผู้รู้ (วิชาการเอกชน) พาพรรคพวก(เครือข่าย) หาแนวคิด - สัมมนาประชุม                        การประมวลผล          1.      ความรู้2.      พรรคพวก3.      แนวคิด4.      ระบบงาน5.      เงินทุน    

Dear Prof. Chira,

I missed the class last Saturday, 25 August due to my travelling period in USA. However, I have recieved the learning material from my class mate yesterday.

After review the material, I learnt that AJ. Supachai Laolohakarn who was the instructor for the previous class had described on "innovation".

From studying the material, there were background information on what is happening in this globalization world. What are the cause, effect and how innovation is playing the key character to all part of roles. His innovation is involving the imagination, innitiatives and how people think in this changing world. There are factors involved and reinforce people to act different, play different role and there more competitive which required more of the ideas for new products.

Innovation is playing key role in all business strategies, and also part of the quality of management in now day business world.

Innovation is also part of the organizational strucuture. Working as a team, collaberation and contribution of the employees also required better ideas of thinking and put the ideas into action plan and have to accomplished. The innovation of product and technology are now increasing as the new business world is open up for more ideas and being better among the competitive.

Basically, from studying the materials I learnt more on the innovation and how employees can take important role for the organization in coming up with the new product for the new market.

I hope my understanding from reading and was not participating in class is in the correct way of understanding.

Looking forward to participate in your class this coming Saturday.

Thank you very much & Best regards,

Sarah(NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM.

[email protected]

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่  9 เรียนวันเสาร์ที่  25  สิงหาคม  2550  กับท่าน อ. ศุภชัย  หล่อโลหการ   ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาตินักศึกษาชื่อ  นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา  

 เรื่อง Innovation  Solutions..........

          

การนำเรื่องนวัตกรรมการจัดการมาจัดการด้านธุรกิจ เพื่อให้ประเทศไทยได้มีความสามารถในการแข่งขัน ในโลกยุดโลกาภิวัตน์ หรือโลกยุคดิจิตอล หากธุรกิจต้องการจะเป็นผู้นำในโลกโลกาภิวัตน์ หรือยุคดิจิตอล จะต้องเป็นธุรกิจที่มีนวัตกรรมที่เหนือและล้ำหน้า กว่าคู่แข่งและสิ่งนี้เองที่จะเป็นพลังผลักดันให้คู่แข่งขันหรือธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ยิ่งมีการปรับตัว และหานวัตกรรมใหม่ออกมาสู่โลกธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการบูรณาการความรู้ที่ข้ามศาสตร์ ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคม ด้านการบริหารจัดการ นั่นคือ"ทุนทางปัญญา" (Intellectual Capital) เป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจมีนวัตกรรม ใหม่ๆ ออกมาได้มากน้อยเพียงใด หรือเป็นแรงผลักดันทางกลยุทธ์ของธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจชนะในการแข่งขันได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็นความได้เปรียบในเชิงของทุนมนุษย์ (Human Capital) "การบริหาร HR" เป็นแรงขับให้เกิดผลงานที่มีค่าสูงสุด แต่จะสามารถทำดังเช่นที่ว่านี้ได้ การบริหาร HR จะต้องมีการวัดผลสำเร็จด้าน HR (The HR Scorecard) ที่เป็นรูปธรรมและต้องเข้าใจใน 2 ประการข้างต้นที่กล่าวมา ผู้บริหาร HR ต้องสามารถผลักดันให้ธุรกิจเร่งไปสู่หัวขบวน สิ่งที่เป็นคำถามหรือข้อสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า ผู้บริหาร HR เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความ รับผิดชอบของฝ่าย HR มากน้อยเพียงใด เพราะหากไม่เข้าใจในเรื่องที่จะต้อง "ผลักดันให้ธุรกิจเร่งไปสู่  หัวขบวน" ด้วย “ทุนทางปัญญา” ที่ธุรกิจมีอยู่ หากเป็นเช่นนั้นธุรกิจก็ไม่สามารถแข่งขันจนชนะในโลกยุคดิจิตอลนี้ได้
สังคมไทยยังเป็นสังคมของความด้อยโอกาส คือกลุ่มคนที่พึ่งตนเองไม่ได้ เข้าไม่ถึงสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ขาดโอกาสที่จะได้รับข่าวสารและเข้าไม่ถึงหลักประกันใดๆ ทั้งสิ้นไม่เหมือนกรณีของต่างชาติ เช่นประเทศอังกฤษทำการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก้าวไปสู่ประเทศที่มีความรุ่งเรืองและเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรม เพราะพลเมืองที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างมีนวัตกรรม  การสนับสนุนของรัฐบาล และความยิ่งใหญ่ของจักรภพอังกฤษ   ในขณะที่ประเทศไทยยังมีอัตราส่วนนักวิจัยต่อจำนวนแรงงานของไทย คือ  6.7 : 10,000  ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว  อัตราส่วนอยู่ที่  30 : 10,000 ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน และควรที่จะเปลี่ยนระบบและวิธีคิดเสียใหม่

การเปลี่ยนระบบคิด  (Mind Set) .......

เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม  เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ            - Reality มองความจริง
           -
และ Relevance ตรงประเด็น
 แล้วนำไปพัฒนาเพื่อให้คนในชนบทที่ห่างไกลได้มีความรู้ทากขึ้น มีความเท่าเทียมในเรื่องของโอกาส คิดเป็น แล้ว  Isarn can also learn and think  เช่นหากจะเริ่ม มอง HR เป็นที่นา ของเรา ในมุมมองใหม่ๆ มองเป็น ที่นาวิเศษ เช่น
1.ปลูกอะไรก็ได้ เช่น จะปลูก IPOD , Starbuck , Academy         Fantasia , Compitiveness , Value , Balanced   

    Score card

2.ให้ดอกผล เป็นทวีคูณ เช่น 3M จะปลูก กาวแบบใหม่ ดันออกมาเป็น Post it 3. เพิ่มมูลค่าได้เอง และ เก็บรักษามูลค่าได้4. เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้  มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แถม วัดค่าไม่ได้อีกหาก  ต้องใช้ความเชื่อ สัมผัสมัน เหมือนที่หลายประเทศ ที่ประสบความสำเร็จ เขาเชื่อ อย่าง  จริงใจ และ ลงมือกระทำอย่าง จริงจัง เพื่อ สร้าง และ พัฒนา นาวิเศษ ที่มองไม่เห็น ของเขา

5. เมื่อเป็นนาวิเศษ ก็ย่อม ต้องสร้าง ดูแล และ พัฒนา แบบพิเศษ เช่น ไถ

เป็น ใช้ความรู้เป็น ลงหน้าดิน ด้วย Competency  เติมความคิดสร้างสรรค์ , Intregrate thinking , ความกล้า จนเป็น สังคม แห่งนวัตกรรม ใส่ความคิด เชิงกลยุทธ์  การประเมินสภาพรอบข้าง จน สามารถ แข่งขันได้ใส่ความกล้า ความตั้งใจแล้วก็จะเห็นความสำเร็จของนวัตกรรม Knowledge is very important but Creativity is more important. เพราะนวัตกรรม  (Innovation)  คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ ต้องมีความร่วมมือ (Collaborate) ในการจัดการอย่างเป็น “กระบวนการ”  และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม  กล่าวได้ว่า  “เป็นการใช้ความคิด เปลี่ยนความรู้ เป็นทรัพย์” หากไม่เป็นไปตามนี้ก็อาจจะหมายความว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทำให้ การสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งอาจเกิดได้ดังนี้

นวัตกรรมที่ไม่ประสบผลสำเร็จเกิดจากสิ่ง 3 สิ่งตามทฤษฎี (3C)

1.     Communication Change หมายถึง บุคลากรไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารของนวัตกรรมนั้น
2.      Customer Base  หมายถึง นวัตกรรมเหล่านั้นไม่ตอบโจทย์ หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่างๆได้3.   Command Control หมายถึง การควบคุมสั่งการไปในทิศทางต้องถูกต้องเหมาะสมกับนวัตกรรมนั้นPeter Drucker พูดไว้ว่า “Ask a right question better than have a perfect answer” 

นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]

“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”


 

Human Capital Management Homework. โดยนายปรีติ ปิติอลงกรณ์ เสนอ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

1.เปรียบเทียบแนวคิดของ Peter Senge และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2.สามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในสังคมวงกว้างได้อย่างไร

 

Peter Senge ได้เสนอ หลักสำคัญ 5 ประการ ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และบุคคลเรียนรู้ ได้แก่

 1. ความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังแห่งตน (Personal Mastery)

2. การมีแบบจำลองความคิดที่ดี (Mental Models)

3. การที่สามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมได้ (Building Shared Vision)

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

 

ศ.ดร. จีระ ได้ให้ทฏษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ และ องค์กรแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้

 

ทฤษฎี 4 L’s

1. Learning Methodology  เข้าใจวิธีการเรียนรู้

2. Learning Environment  สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learn Opportunity         สร้างโอกาสในการเรียนรู้

4. Learning Community    สร้างชุมชนการเรียนรู้

 

ทฤษฎี 8 K’s

1. Human Capital                ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital          ทุนทางปัญญา

3. Ethical               Capital   ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital           ทุนแห่งความสุข

5. Social Capital                   ทุนทางสังคม

6. Sustainable Capital         ทุนแห่งความยั่งยืน

7. Digital Capital  ทุนทางดิจิตอลหรือเทคโนโลยี

8. Talented Capital              ทุนทางทักษะความรู้และทัศนคติ

 

ทฤษฎี 5 K’s (ประยุกต์มาจากทฤษฎี 8 K’s)

 

1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์  Creativity Capital

2. ทุนแห่งความรู้ Knowledge Capital

3. ทุนทางนวัตกรรม             Innovation Capital

4. ทุนทางวัฒนธรรม            Cultural Capital

5. ทุนทางอารมณ์                  Emotional Capital

 

ทฤษฎี ASV

 

โชคดีมากที่ผมเคยได้เดินทางโดยเครื่องบินกรุงเทพฯ-นครพนม ร่วมกับอาจารย์ จีระ ในขณะที่นั่งคุยกัน อาจารย์ได้ให้ ไอเดียเรื่องการจัดการความรู้ไว้เป็นทฤษฎี ASV ว่า

 

                A คือ Knowledge Acquisition           การได้มาซึ่งความรู้ทั้ง tacit และ Explicit

                S คือ Knowledge Sharing  การแบ่งปันความรู้ที่ได้มา

                V คือ Knowledge Value Added       การสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน

 

1.เปรียบเทียบแนวคิดของ Peter Senge และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แนวคิดในเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ของอาจารย์จีระจะเป็นทฤษฎี 4 L’s และ ASV ส่วนทฤษฎี 8 K’s และ 5K’s เป็นเรื่องของทุน (Kapital) มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดของ Peter Senge และ ทฤษฎี 4 L’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พบว่าสามารถนำมา Mapping กันได้อย่างลงตัว (โป๊ะเช๊ะ) ดังนี้

 
Peter Senge ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 4 L’s

1. ความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังแห่งตน

 (Personal Mastery)

Learning Methodology

เข้าใจวิธีการเรียนรู้

2. การมีแบบจำลองความคิดที่ดี

 (Mental Models)

Learning Methodology

เข้าใจวิธีการเรียนรู้

3. การที่สามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมได้

 (Building Shared Vision)

Learning Environment

สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

 (Team Learning)

Learn Opportunity

สร้างโอกาสในการเรียนรู้

Learning Community

สร้างชุมชนการเรียนรู้

5. การคิดเชิงระบบ

 (Systems Thinking)

Learning Methodology

เข้าใจวิธีการเรียนรู้

 

2.สามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในสังคมวงกว้างได้อย่างไร

ผมเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวต้องถูกปลูกฝังใน Human Capital ตั้งแต่เด็ก ๆ โดยที่ผู้ปลูกฝังต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการอย่างแท้จริง ทั้งที่บ้านและโรงเรียน แต่ก็เหมือนไก่กับใข่อะไรเกิดก่อนกันเพราะเราต้องการ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ที่เข้าใจและสามารถนำทฤษฎี 4 L’s และ The Fifth Discipline ไปปฏิบัติได้ แต่ตอนนี้ดูเหมือนมีน้อยเหลือเกินที่เข้าใจวิธีเรียนรู้ สามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้นำไปสู่โอกาสและชุมชนแห่งการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะใช้เวลาอีกยาวไกลกว่าสังคมบ้านเราจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง (คนไทยอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัด) คิดว่าเรากำลังเริ่มต้นก้าวแรกได้ดีแล้วครับ

***   วันเสาร์ที่ 25 ส.ค. 50 อาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หรือ National Innovation Agency : NIA ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้มาถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรมให้แก่พวกเรา ในหัวข้อ Innovation Solutions ด้วยวิธีการถ่ายทอดให้ได้เห็นถึงความจริงจังของท่าน ในการนำแนวคิดสู่แนวทางปฎิบัติจริง และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Added)ให้กับลูกค้า(ผู้เรียน)จึงสามารถสะท้อนให้เราได้เห็นมุมมองของนวัตกรรมได้อย่างชัดเจน*** จากการที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ศุภชัยในวันนี้  อาจารย์ได้ให้ความหมายที่ชัดเจนว่า นวัตกรรม Innovation หมายถึง สิ่งใหม่ ที่เกิดจาก การใช้ ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม*** ซึ่งดูเหมือนคำว่า Innovation หรือ นวัตกรรม กลายเป็น Trend และแนวคิดใหม่ของการขับเคลื่อนองค์กรมากขึ้น   ทุกวัน ในภาวะของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังบอบช้ำ องค์กรสมัยใหม่ ยิ่งมีความจำเป็นต้องใช้ระบบบริหารการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีควบคู่ไปกับระบบบริหารธุรกิจเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้และรองรับการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์  ที่มุ่งเน้นไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ภายใต้ระเบียบและกติกาการค้าเสรี FTA  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการระดมทุนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา R&D ตลอดจนการบริหารจัดการองค์ความรู้ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว "Innovation ไม่ใช่งานวิจัย" แต่ต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญจากผลงานวิจัย เพื่อนำความรู้ที่เกิดขึ้นออกไปสู่ภาคการผลิตและ Innovation ต้องมี Process ดังนั้น Innovation จึงเป็นข้อต่อที่สำคัญระหว่างความรู้และผลผลิต(productivity) *** เพื่อทำความเข้าใจกับคำว่านวัตกรรมให้มากขึ้น ดิฉันขอนำบทความของท่านอาจารย์ศุภชัย ที่ได้ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงกระบวนการทำงานด้านนวัตกรรมว่า งานด้านนวัตกรรมนั้น อาจจะจำแนกออกเป็นสองรูปแบบคือ นวัตกรรม "แบบปิด" และ "แบบเปิด" การพัฒนา นวัตกรรมแบบปิด หมายถึง โครงการนวัตกรรมทั่วไปที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ และมีความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี ธุรกิจ การตลาด และการลงทุน ซึ่งในอดีตเคยเป็นรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และได้ช่วยให้บริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำต่างๆ เช่น IBM, Xerox ประสบผลสำเร็จมาแล้ว  การพัฒนานวัตกรรมแบบปิดนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่มุ่งสนใจแต่องค์กรของตนเองเท่านั้น เช่น จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในอุตสาหกรรมด้านนั้นๆ มาทำงานให้ เพื่อบริษัทจะสามารถทำการวิจัยและพัฒนาด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญานั้น บริษัทจะต้องเก็บรักษาความลับสิ่งใหม่ที่ค้นพบได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้คู่แข่งสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างสินค้าหรือบริการมาแข่งขันกับตนได้ การพัฒนานวัตกรรมแบบปิดซึ่งเน้นการทำการวิจัยและพัฒนาด้วยตนเอง ได้ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการสร้างนวัตกรรมหลายด้าน ทั้งจากปัจจัยด้านเงินทุน บุคลากร และเทคโนโลยี เนื่องจากบริษัทต้องลงทุนทำการวิจัยและพัฒนาเองทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ และต้องใช้บุคลากรภายในองค์กรเท่านั้น จึงทำให้การพัฒนานวัตกรรมถูกบีบให้เกิดการพัฒนาอยู่ในวงจำกัด และไม่สามารถเกิดการสร้างสรรค์ได้เต็มที่ รวมถึงสิ่งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของการวิจัย แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย ก็จะไม่ถูกนำไปพัฒนาต่อเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และอาจต้องถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ *** นวัตกรรมแบบเปิดหรือเชิงยุทธศาสตร์ จะมีลักษณะของการทำงานเป็นหุ้นส่วน โดยใช้นวัตกรรม มาชักนำ ให้เกิดการทำงาน ในรูปแบบ ของเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ "คลัสเตอร์" มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งกันและกัน และใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย มาเป็นจุดเด่นในการดำเนินงานในแต่ละด้าน เช่น ด้านการผลิต ด้านเทคโนโลยี หรือการตลาด จึงทำให้เกิดการประเมินคุณลักษณะของความเป็นนวัตกรรม และความเป็นไปได้ของโครงการด้วยกันเองภายในเครือข่ายหุ้นส่วน "การพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด จึงเป็นการนำสิ่งใหม่ๆ ที่ได้รับทั้งจากการวิจัยและพัฒนา ทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กร มาสร้างเป็นนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดกลุ่มใหม่ได้" จึงเป็นการส่งเสริมให้บริษัท หรืออุตสาหกรรมต่างๆ พยายามแสวงหาสิ่งใหม่ๆ จากภายนอกอยู่ตลอดเวลา อันจะนำไปสู่การสร้างพันธมิตรและความร่วมมือระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ  นอกจากนี้ การพัฒนาดังกล่าวจะสามารถนำสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงของการวิจัย แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเดิม หรือถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ นำมาพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดใหม่ได้อีก ดังนั้น จึงก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการแสวงหาตลาดใหม่อยู่ตลอดเวลา *** ในอดีตที่ผ่านมา มาตรการของรัฐในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมไม่ได้ผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมีแนวความคิดในการพัฒนา "นวัตกรรมแบบปิด" โดยมีสมมติฐานว่า การวิจัย และพัฒนาเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม จึงทำให้เกิดการมุ่งเน้นการลงทุนเฉพาะด้านการวิจัย และการพัฒนากันมากโดยส่วนใหญ่จะเกิดในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนประกอบกับภาครัฐมีมาตรการและแนวนโยบายในการส่งเสริมภาคเอกชนในลักษณะผูกขาด จึงทำให้ภาคเอกชนไม่เข้มแข็ง เก่งแต่การแข่งขันกันเองแต่ไม่สามารถแข่งกับคู่แข่งภายนอกประเทศได้ และทำให้ภาคเอกชนไม่จำเป็นต้องทำการวิจัยและพัฒนาเนื่องจากไม่มีความจำเป็น *** นอกจากนี้ แนวความคิดแบบปิดดังกล่าวยังส่งเสริมให้ประเทศชาติต้องทำการวิจัยและพัฒนาด้วยตนเองมากกว่าการนำเข้าความรู้ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ จากภายนอกประเทศ ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่เพียงพอ สำหรับการที่ประเทศที่จะสามารถพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วแบบ "ก้าวกระโดด" เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภายนอกประเทศได้ ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาระบบวิจัยที่ตอบสนองปัญหาทั้งในภาคเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม เป็นต้นกำลัง เพื่อที่จะบูรณาการองค์ประกอบทุกด้านของประเทศ ***  ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่กรุณาส่งวิทยากรระดับที่เป็น Best Practice มาถ่ายทอดความรู้ให้กับพวกเรา *** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์การบ้าน (innovation solution : อาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการ  วันที่ 25 สิงหาคม 2550)PHD 8202   รภ สวนสุนันทา / นพมาศ ช่วยนุกูลปัจจุบันหากมองถึงประเทศใหญ่ ๆ  ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ประเทศอินโดนีเซียที่มีป่าไม้ ไนจีเรียมีน้ำมัน แอฟริกาใต้มีสินแร่ทองคำ เป็นต้น ประเทศที่มีพื้นที่กว้เงใหญ่และอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มักเป็นประเทศที่ยากจน ในขณะที่ประเทศเล็ก ๆ อีกกลุ่มหนึ่ง อาทิ สิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นทุนเดิมแต่มีเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวสูงมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะกลุ่มแรกสร้างรายได้โดยการขายทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่กลุ่มหลังสร้างรายได้โดยการใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์มาสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่ม  และยิ่งนานวันทรัพยากรธรรมชาติยิ่งลดลงหมดไปในที่สุดขณะที่ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ยิ่งใช้ยิ่มเพิ่ม จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทุกคนต้องการมีความรู้ความคิดสร้างสรรค์ และทุกชาติปรารถนาให้คนในชาติมีคุณสมบัติดังกล่าวนวัตกรรม หมายถึงสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ ความรู้ก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาก่อให้เกิดนวัตกรรม นวัตกรรมก่อให้เกิดผลิตภาพ  และผลิตภาพก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน จะเห็นได้ว่านวัตกรรมไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็นกระบวนการให้เกิดอะไรใหม่ที่คนอื่นพึงพอใจ ดังนั้นการทำนวัตกรรมจึงต้องมีการตั้งเป้าหมายไว้ก่อนล่วงหน้า และเป็นการใช้ความรู้ข้ามศาสตร์ ต้องใช้ความอดทน   การทำนวัตกรรมต้องเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจดดยรวมของประเทศ ไม่ใช่เพื่อความมั่งคั่งของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และประเด็นที่เป็นจุดอ่อนโดยเฉพาะการทำนวัตกรรมของไทยไม่สามารถ Scale up ได้ เนื่องจากอุปสรรคในเชิงโครงสร้าง การเกิดนวัตกรรม  นวัตกรรมอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ 1.       เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด2.       ความไม่เข้ารูปเข้ารอย3.       ความต้องการกระบวนการ4.       การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม และตลาด5.       การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตรื6.       การเปลี่ยนแปลงของทัศคติ7.       ความรู้ใหม่เป็นที่น่าสังเกตว่า งานวิจัยไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนให้ประเทศเติบโตในทางเศรษฐกิจ แต่จะเป็นฐานความรู้ให้คนในประเทศ ผู้ประกอบการ ได้นำไปใช้ประโยชน์โดยบวกกับความคิดสร้างสรรค์และการลงมือทำจริง เมื่อทำไปครบกระบวนการแล้วจึงจะ ขับเคลื่อนความเจริญให้ประเทศ ทั้งนี้ คน ผู้ปฏิบัติหรือผู้ประกอบการเป็น key success factor  ตรงนี้ชี้แนวทางได้ว่าเราสามารถใช้outsourcing innovation หรือทำ external  R&D  ได้แนวทางการสร้างนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นกระบวนการ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลงมือทำและมักเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน(ต้องมีการลงทุน)  ดังนั้น การทำนวัตกรรมจึงต้องทำในจุดเล็ก ๆ ให้ได้ผลเสียก่อน เพราะการทำนวัตกรรมในระดับมหภาคเป็นเรื่องยากที่จะกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติซึ่งนั่นก็ยากที่จะบรรลุผล  แต่ถึงกระนั้นการทำนวัตกรรมในระดับมหภาค ก็เป็นเรื่องจำเป็น ที่ยังต้องผลักดันให้เกิด ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ แต่ถามว่าควรจะทำอย่างไร ?   ภาครัฐเองมีแนวคิดไม่ลงทุนในนวัตกรรมเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของผู้ประกอบการ อันนี้ เกิดผล 2 ประการ 1) ผู้ประกอบการที่มีทุนเขาก็ดำเนินการด้านนวัตกรรมและประโยชน์ที่เขาได้รับก็ไม่แบ่งปันให้ใครเพราะเขาลงทุนของเขาเอง ประโยชน์ก็ไม่เกิดในวงกว้าง 2) ในแนวคิดนี้ใน SME เขาไม่มีทุน เขาก็ไม่ลงทุนด้านนวัตกรรม  แปลว่านวัตกรรมไม่เกิด  ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้ ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศนั่นเองแนวทางการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ   ที่กล่าวมาแล้วว่านวัตกรรมเป็นเรื่องที่ผลักดันให้เกิดในวงกว้าง ได้ยาก ดังนั้น จึงควรหันมาเริ่งต้นที่จุดเล็ก ๆ ก่อน  โดยภาครัฐเองต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ โดยต้องมีบทบาทในฐานะผู้สนับสนุน ทั้งเงินทุน การหติดต่อหาเครือข่าย อำนวย/สร้างบรรยากาศที่เอื้อ และเมื่อประสบผลสำเร็จในจุดเล็ก ๆ แล้วค่อยขยายผลสู่วงกว้าง   การทำตรงนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนในสังคมได้มีโอกาสทำในสิ่งที่ควรทำ นอกจากนั้น รัฐควรพิจารณาว่าทำอย่างไร ที่จะกำหนดช่องทางหรือสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ ต้องทำนวัตกรรม แม้ว่า จะเป็นนวัตกรรมเฉพาะบุคคล บริษัท และผลที่ได้จะเป็นลิขสิทธิ์ของกลุ่มกังกล่าว  ก็ยังเป้นสิ่งที่ควรสนับสนุนอยู่ดี เพราะแนวทางนี้จะทำให้คนในองค์กรคิดถึงเรื่องนวัตกรรม ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา เป็นสิ่งปกติที่เขาต้องทำ ดังกล่าวแล้วว่า นวัตกรรมเป็นกระบวนการและมีจุดมุ่งหมาย  นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพจึงเริ่มต้นที่จุดเล็ก ๆ และสิ่งนั้นต้องมีประโยชน์อย่างเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดยิ่งใหญ่อลังการมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ  ในความเป็นจริงไม่มีใครบอกได้ว่านวัตกรรมหนึ่ง ๆ จะกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ หรือผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เพราะนั่นต้องมีปัจจัยแห่งโอกาสเข้ามาบวกเพิ่ม  และเหนือสิ่งใดนัวตกรรมเป้นเรื่องของการลงแรงมากกว่าการใช้อัจฉริยภาพ และต้องอาศัยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตั้งใจ ...........................................                 
นางสาวชารวี บุตรบำรุง
                                           การบ้าน วันที่ 25 สิงหาคม 2550บรรยายโดย..อาจารย์ศุภชัย  หล่อโลหการผู้เรียน..ชารวี  บุตรบำรุง หัวข้อ : Innovation  Solutions  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ          การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้กล่าวถึง ความเป็นนวัตกรรม หรือ Innovation ว่า ต้องเป็นสิ่งใหม่ หรือสิ่งใหม่จากสิ่งเก่า (ไม่ใช่อุบัติเหตุ) และใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ ต้องถามตัวเองว่า -         เป็นการปฎิวัติของใหม่หรือไม่-         เป็นการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์หรือไม่-         เป็นสิ่งที่ส่งผลดีแก่เศรษฐกิจหรือสังคมหรือไม่ถ้าคำตอบที่ได้  คือ  ใช่  นั่นคือ เป็นนวัตกรรม : Innovation ·         มีความรู้กับงานวิจัย เป็นฐาน ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำให้ประเทศเจริญ แต่......·        ความคิดสร้างสรรค์  ความเป็นผู้ประกอบการ จะส่งผลให้ประเทศเจริญ เพราะสิ่งสำคัญ  คือ  การลงมือทำ โดย·        Innovation : Lingkage  between  knowleage  and Productivity·        ความสำคัญของนวัตกรรม ประกอบด้วย  CompetitivenessProductivityInnovation  (  สะพานเปิดหุบเหวนรก ระหว่าง ความรู้  ธุรกิจ  สังคม )Knowledge  AcquisitionLeaning ·        และ IT สำคัญ  ต้องเรียนรู้                  ขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของSMEsไทย ส่วมมากจะรับจ้างผลิตให้กับผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อ : OEM : Original Equipment Manufacturing ตลาดจึงถูกกำหนดโดยผู้ว่าจ้าง : Skill  Intensive ในส่วนของ Technology  Intensive และ R&D Intensive/Innovation ยังน้อย        ในหนังสือ Business week ฉบับวันที่ 20 27 สิงหาคม 2550 ได้พูดถึง The Five Faces of CEOS ต้องรู้นโยบายของรัฐ ของประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย1.    The  Brain  สมองคิด2.    The  Ambassador  ต้องมีประสบการณ์ในประเทศเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย รัสเซีย จีน ซึ่งเป็นประเทศที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย3.    The  Dealmaker4.    The  Conductor 5.    The  Casting  Agent     นอกจากนี้อาจารย์ได้กล่าวถึง One  Singaporean  worker  costs  as  much  as ……. ว่า  เทียบกับประเทศไทยแล้ว  เท่ากับ  8  คน ดังนั้น  ประเทศไทยเราต้องเร่งพัฒนาปรับปรุง   โดยทำอะไรได้บ้าง.......เกิดอะไรขึ้นบนโลกใบนี้ ประเทศเล็กแต่รวย.....  ประเทศใหญ่แต่จน.....   ฉะนั้นคุณลักษณะของคนในชาติที่พัฒนา คือ
  1. จริยธรรม 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ 4. เคารพกฎหมาย
   5. เคารพสิทธิของผู้อื่น 6. รักการทำงาน 7. รู้จักการออมและลงทุน8.     ตั้งใจทำสิ่งยิ่งใหญ่ 9. แม่นยำและตรงต่อเวลา   ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมโลก คือ ความรู้ , ทรัพย์สินทางปัญญา (บ่อเกิดของนวัตกรรม)  ,  นวัตกรรมสรุป "นวัตกรรม" หมายความได้ทั้งการเป็นกระบวนการของการทำสิ่งใหม่ และการเป็นสิ่งใหม่ในตัวของมันเอง รากศัพท์มาจากภาษาละติน (innovare มาจากคำว่า in- "กลายเป็น" + novare "ทำให้ใหม่") มีนัยเรื่อง "ความใหม่" เป็นองค์ประกอบหลัก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้สรุปคำจำกัดความไว้ว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม หากจะจำแนกคำสำคัญในคำจำกัดความ จะประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ "สิ่งใหม่" "การใช้" (ไม่ใช่ "การสร้าง") และ "ที่มีประโยชน์" และวิเคราะห์ความ "ใหม่" ในแง่ของนวัตกรรมว่าคืออะไร ?สิ่งใหม่ วิธีการใหม่ ความคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมกันแล้วหมายความว่า นวัตกรรม  แต่จริงๆ แล้วน่าคิดว่า "ใหม่" แค่ไหน อย่างไร และสำคัญสำหรับใคร วิธีง่ายที่สุดในการหาความใหม่ จึงไปมองที่ความสามารถในการ "ใช้" ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นความรู้ใหม่เสมอไป เป็นความรู้เดิมก็ได้ แต่ต้องมีวิธีการคิด วิธีการใช้ และวิธีการจัดการ "แบบใหม่" แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้อง "เกิดประโยชน์" ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่น่าคิดคือ ในโลกนี้ยังมีการคิดค้นอะไรที่ใหม่จริงๆ อีกหรือเปล่าในปัจจุบัน? จริงอยู่ว่าแม้ในโลกนี้น่าจะยังมีสิ่งที่รอการค้นพบอีกมากมายตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงมีความกระหายและใคร่รู้ แต่การจะรู้สิ่งใหม่ๆ เหล่านั้นได้ก็ต้องการ การต่อยอดจากฐานความรู้เดิมทั้งสิ้น    "นวัตกรรม" จึงไม่ได้หมายถึงการค้นพบสิ่งใหม่ แต่นวัตกรรมอาจเกิดขึ้นได้จากการผสมผสานสิ่งเก่าหรือสิ่งที่มีอยู่แล้ว เปรียบเทียบง่ายๆ คือ การสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่ โดยเรียบเรียงจากเค้าโครงตัวละครเดิม และบางครั้งนวัตกรรมก็อาจหมายความถึง "การทำลายของเดิม" ก็ได้ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าต่อมวลมนุษยชาติ หากเป็นเช่นนี้ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม จึงไม่ได้วางรากฐานอยู่บนการลงทุนเพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่แต่เพียงอย่างเดียว และไม่ได้หมายความว่าการลงทุนด้านความรู้ไม่สำคัญ แต่การอ้างอิงแนวคิดที่ว่า เราควรจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกระบวนการสร้างความรู้ให้เท่าเทียมกับประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ ฯลฯ นั้น ควรจะต้องมีการพิจารณาโดยหลักของตรรกะ สมมุติว่าหากเราสามารถจะไปได้ถึงจุดนั้นจริงๆ ประเทศต่างๆ ที่เราไปอ้างอิงตามข้างต้น ก็คงจะไม่ได้อยู่เฉยๆ และงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาของเขาก็คงจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้อยู่ที่ค่าเฉลี่ย ณ เส้นปัจจุบันแน่นอน คำถามที่ตามมาคือ แล้วเราจะแข่งขันกับเขาได้อย่างไรในสถานการณ์อย่างนั้น?          การคิดมิติเดียวว่า จะปิดช่องว่าง (gap) ในระยะเวลาอันสั้นนั้นมีความเป็นไปได้เสมอในทางทฤษฎี แต่จะมีความเป็นไปได้น้อยมากในทางปฏิบัติ ณ สถานการณ์และสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ควรหรือไม่ที่จะถามถึงประสิทธิภาพของระบบการใช้ความรู้ในปัจจุบัน เป็นคำถามที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันหรือการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประเทศไทย เพราะ "สมอง" ในการบริหารจัดการ การสร้างเครือข่าย และการเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ต่างหาก ไม่ใช่ "เม็ดเงิน" ที่สำคัญที่สุดในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ แต่น่าเสียดายคือเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็ง แต่กลับเป็นเครือข่ายเฉพาะด้านธุรกิจการเงิน เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการไหลเวียนของเงินทุนมากกว่าประโยชน์ให้เกิดจากการไหลเวียนของเทคโนโลยี คน และองค์ความรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการสร้าง "นวัตกรรม"          "นวัตกรรม" จึงเป็นมากกว่าการลงทุนในการ "สร้าง (create)" องค์ความรู้ เพราะเราสามารถสร้างนวัตกรรมจากการประสาน (integrate) หรือประสม (pool) ทรัพยากรที่มีอยู่เข้าด้วยกัน ผ่านการบริหารจัดการ และการขับเคลื่อนโครงการอย่างจริงจังและทุ่มเท และเราจะสามารถ "ใช้ (utilize)" ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาลทั่วโลกได้อย่างไร? ควรหรือไม่ที่เราอาจจะต้องเลือกเฉพาะในสิ่งที่เราคิดว่าสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนทำทุกอย่างด้วยตนเอง เพราะต้นทุนของการสร้างความรู้เริ่มพุ่งสูงขึ้นทุกขณะ?  จริงที่ว่า การลงทุนด้านการสร้างองค์ความรู้มีความจำเป็นมาก เพราะถือเป็นรากฐานการเรียนรู้ที่สำคัญในสังคม แต่ในยุคที่เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ธุรกรรมต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นเร็ว เกินกว่าที่จะสามารถอาศัยความรู้ภายในประเทศได้เพียงอย่างเดียว ควรหรือไม่ ที่จะเลือกลงทุนเฉพาะในสิ่งที่เราเก่งที่สุด? เพื่อขับเคลื่อนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล และจะเป็นการสร้างแก่นความสามารถของประเทศอย่างแท้จริง          ยุทธศาสตร์ที่สำคัญและจำเป็นที่สุด โดยเฉพาะในประเทศที่มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจและการพัฒนา คือ กระบวนการบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property management) อย่างชาญฉลาดซึ่งก็คือ การ "ซื้อ" ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ใช่การ "สร้าง" ทรัพย์สินทางปัญญาของเพียงอย่างเดียว (ซึ่งตรงกับแนวคิด 8 K’s ของศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์)          พลวัตใหม่ของการพัฒนานวัตกรรม จากความคิดสู่การสร้างรูปแบบใหม่ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้พัฒนามาในระยะเวลาสามปี เพื่อเป็นต้นแบบในกระบวนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศหรือของโลก เพราะข้อสรุปที่พิสูจน์ได้ของแนวคิดใดๆ ก็ตาม อยู่ที่การลงมือปฏิบัติจริง จึงจะไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างนวัตกรรมกำมะลอ (pseudo-innovation) และเพราะการเชื่อมโยง ร่วมมือ (collaboration) เพื่อสร้างนวัตกรรมแบบเปิดกว้าง (openinnovation) ที่มีการสร้างหุ้นส่วนระหว่างกัน แบ่งปันทั้งภาระ ความรับผิดชอบ ความเสี่ยง ความสำเร็จ และความล้มเหลว ที่จะทำให้นวัตกรรมมีพลวัตอย่างแท้จริง*** MOST  INNOVATIONS  FALL !!  And  companies  that  don’t  innovate  DIE.ถ้าประเทศไทยไม่คิด ไม่ลงมือทำ นวัตกรรม แย่แน่ๆ ไปไม่รอด เจ๊ง!!   ฉะนั้น ประเทศไทยควรปรับตัวเอง ให้เกิด นวัตกรรม เกิดกระบวนการ : Process เป็น Product ที่มาจาก Process มีความคิดสร้างสรรค์ ลงมือทำ วิธีทำให้ผู้อื่นพอใจ เกิดประโยชน์ สังคมยอมรับ เช่น เคาร์เตอร์เซอร์วิส ของ 7-Eleven , การรวมกันของศิลปินเบริด์ เสก , การผลิตเสื้อซิลเวอร์นาโน , ถังคอมโพสิทบรรจุก๊าซ  เป็นต้น *** อย่าพลาด ***  4 7 ตุลาคม 2550 นี้กับงานนวัตกรรมแห่งชาติ                          อิมแพค เมืองทองธานี ….ขอบคุณค่ะ....            
กระผมขออนุญาตส่งการบ้าน 3 ครั้งนะครับสรุปการบรรยายครั้งที่ 6 (เสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550) โดย อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆแสง ในวข้อ HUMAN CAPITAL(Competence, Training & Learning)อาจารย์(ศิริลักษณ์)ให้ความสำคัญกับเรื่องของคนมากทั้งในระดับ Micro และ Macro สำหรับประเทศไทยระดับ Macro เริ่มเป็นจริงเป็นจังที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8  ซึ่งถือว่าคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาโดยในแผน 8 มีการระบุไว้ว่า ต้องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  และ สิ่งที่จะกระทบต่อสังคมการเรียนรู้บ้านเรา คือ Globalization มีคนให้คำจำกัดความของ Globalization (โลกาภิวัตน์)เยอะมาก แต่จริง ๆแล้ว Globalization คือ อะไรที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ๆ ฉนั้นเราต้องกลับมาคิดว่า เราต้องทำอย่างไรให้ประเทศไทย เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนที่ประเทศอื่น ๆ ประชาชนของเขาจะถูกสอนให้คนมีวินัยในตนเอง รู้ว่าตนเองต้องทำยังไง [Did You Know Yourself] รับรองเลยว่าถ้ามีวินัยแล้วคุณไม่ต้องมี HR มาคอยบอกระเบียบอย่างแน่นอน แต่คงขัดแย้งกับ  การบริหารในเมืองไทย เพราะคนไทยจะถูกสอนให้คอยทำตามไม่ชอบคิด ซึ่งอันตรายมาก สำหรับแผน 10 เน้นที่ทำอย่าไรให้คนไทยรู้จักไขว่คว้าที่จะเรียนรู้  อาจารย์ยังได้กล่าวถึงว่าอยากให้ HR ในยุคนี้เป็น HR Marketing เพราะคนที่เป็น Marketing  จะมีความคิดบรรเจิดนอกกรอบ [Think out of the box] และต้องคอยสำรวจตลาดว่าลูกค้าต้องการอะไร  คนเราต้องคิดแบบ Marketing คือ คิดให้ได้เงิน แล้วมองแบบ HR คือมองในทางที่ดี เราอยู่ตรงนี้เราคือ HR เราต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือลบ ฉะนั้นคนที่เป็น HR ต้องมีภูมิที่ดีสามารถทนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ให้ได้ เราต้องเปลี่ยนมุมมองของคนใหม่ สร้างภูมิให้กับตัวเองต้องเปลี่ยนความคิดของคนอื่นใหม่จาก Why we hate HR? ให้เป็น How we love HR? ให้ได้  ในเมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมองในมุมนี้ แต่หน่วยงานย่อยยังบริหารให้เป็นไปตามนี้ไม่ได้แล้วเราจะพัฒนาประเทศชาติได้ยังไง ในการเรียนการสอนปัจจุบัน ส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษาที่จบออกไป ต้องการได้สูตรสำเร็จ ในการทำงาน คือ ต้องการตำแหน่งสูงในการทำงาน เช่น ถ้าเป็น Sale ก็ต้องเป็น Executive โดยที่เขาไม่รู้ว่าในสมัยก่อนกว่าที่จะเลื่อนจาก Sale มาเป็น Executive ต้องใช้ความสามารถขนาดไหน นี่ล่ะคือสูตรความสำเร็จที่เด็กรุ่นใหม่ต้องการ จึงอยากฝากมหาวิทยาลัยที่กำลังมีเด็กที่จะจบการศึกษาว่าต้องช่วยสอนให้พวกเขารู้จักการวางแผน และมีความคิดที่เป็นระบบ System Thinking ซึ่งส่วนมากคนบ้านเราจะขาดส่วนนี้ ถ้าคิดเป็นระบบแล้วคุณจะตอบคำถาม How To? ได้ว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะได้สิ่งที่ต้องการ คือต้องมองไปที่จุดมุ่งหมายสูงสุดแล้วมองย้อนศรลงมาว่าจะเริ่มตรงไหน จบตรงไหน End Result  คืออะไร มันเป็นกระบวนการที่สร้างให้คนเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้         ทุนมนุษย์ค่อนข้างที่จะเป็นนามธรรม ฉะนั้นเราต้องทำ Stock   เพื่อเพิ่มพูนทุนมนุษย์ โดยเราต้องสร้างทักษะของทุนมนุษย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาสังคมประเทศชาติให้มั่นคงตลอดไป                 ผม(ทวีป)ผู้รับฟังการบรรยาย เห็นว่า การพัฒนาสมรรถนะ (Competency ) เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งอย่างหนึ่งในกระบวนการบริหารทุนมนุษย์ ก่อนอื่นองค์กรต้องการเสาะแสวงหาคนดี คนเก่ง มีความสามารถสูงมาปฏิบัติงาน ธำรงรักษา(Engagement)เขาเอาไว้ให้นานที่สุด ให้เขามีศรัทธา รักและซื่อสัตย์ต่อองค์กร มีแรงจูงใจ(Motivation) ใฝ่ผลสัมฤทธิ์ มุ่งทำงาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อองค์กร    การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานนั้นประกอบไปด้วยกระบวนการมากมาย เช่นการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีองค์ประกอบย่อยได้แก่ การวัดการประเมินผล การจัดการ และการสร้างแรงจูงใจ  การวัดและการประเมินแยกเป็นองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การวัดและการประเมินผลงาน และการวัดประเมินขีดความสามารถ ในด้านการบริหารจัดการประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารสื่อสาร และการบริหารความรู้     การจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่คุณภาพงาน บุคลากรผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ใช้ความรู้และสร้างความรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม สามารถดึงเอาความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลและความรู้ที่ชัดแจ้ง มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้งานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป และในขณะเดียวกัน ก็ต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้กิจการที่ปฏิบัติสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจึงจะถือได้ว่า ได้ใช้กลยุทธ์ในการประยุกต์ใช้ความรู้สู่คุณภาพงานได้อย่างแท้จริง  กระบวนการหลัก ๆ ในการจัดการความรู้ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและการเสาะแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันความรู้ และการเรียนรู้ เพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร                ตัวอย่างการเพิ่มสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับคนไทยคือ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช ที่ตลอดระยะเวลา 60 ปีแห่งการครองราชย์ของพระองค์ ได้มีการจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพประสกนิกรของพระองค์ให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ เช่นการใช้ระบบการสอนทางไกลของโรงเรียนไกลกังวนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  สรุปการบรรยายครั้งที่ 7 (เสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550) โดย  Peter Bjork ขอเสนอความรู้ที่นอกเหนือจากการบรรยายในชั้นเรียนซึ่งเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ คือ ทักษะหรือปัจจัยที่สำคัญต่อความเป็นผู้นำ ซึ่งเกิดจากการสอบถามผู้บริหารและผู้จัดการในประเทศสหรัฐอเมริกาของ Center for Creative Leadership (CCL) ดร. ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี ได้นำมากล่าวไว้ในหนังสือ  Oganizational Leadership ดังนี้ทักษะหรือปัจจัยที่สำคัญต่อความเป็นผู้นำมีด้วยกัน 8 ประการ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ควรมีไว้เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน อันประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้1.       การบริหารพนักงาน (Leading Employees)2.       ความฉลาดหลักแหลม (Resourcefulness)3.       ความกล้าตัดสินใจ (Decisiveness) 4.       การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Managing Change) 5.       ความตรงไปตรงมาและใจเย็น (Straightforwardness and Composure)6.       สร้างความสัมพันธ์และพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Building and Mending Relationships) 7.       ทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง (Doing Whatever It Takes) 8.       การใช้รูปแบบของการจัดการแบบมีส่วนร่วม (Employing Participative Management Style)สรุปการบรรยายครั้งที่ 8 (เสาร์ที่ 11 สิงหาคม 2550) โดย อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ในหัวข้อ Competency-Base Manegment    วันนี้อาจารย์ยพูดเรื่อง Competency  ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว เนื้อหาเยาะมาก    มีดังนี้ องค์กรสมัยใหม่ต้องการสิ่งต่อไปนี้ New Knowledge,  Effective skills / Competency,Positive Attitude, Systematic Approach, Competitiveness, Change Management, Leadershipส่วนผู้บริหารยุคใหม่ ตามแนวทางของ C.K Prahalad จะประกอบด้วย Systematic Thinking, Intercultural Competence, Extensive and Continuous Training, Personal Standard and Standard of BehaviorKPI หรือ ตัวชี้วัดความสำเร็จมิใช่ตัวเลขทางการเงินตามที่นักวิเคราะห์ด้านการเงินให้ความสำคัญเท่านั้น หากแต่ควรให้ความสำคัญกับ สิ่งต่อไปนี้ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร(Execution of Corporate Strategies)  ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร(Management credibility)  คุณภาพของกลยุทธ์(Quality of Strategy )  ความสามารถในการสร้างและใช้นวัตกรรมอย่างเหมาะสม (Ability to innovate)   ความสามารถในการดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมงานกับองค์กร(Ability to Attract Talented People)  มีส่วนแบ่งตลาดที่น่าพอใจ(Market Share)  มีกระบวนการทำงานที่ดี( Quality management)   ความเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าและพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ(Research Leadership)ในยุค  New Economiy การชนะในเชิงธุรกิจขึ้นอยู่กับหลัก 2 ประการ  คือ People  และ Business Process ซึ่งส่งผลให้เกิด Organization Capability ปัจจัยหลักของความสำเร็จของการแข่งขัน ตามแนวคิดของDave Ulrich ซึ่งประกอบด้วยความสามารถด้านการเงิน  ความสามารถด้านเทคโนโลยี ความสามารถด้านการตลาด และที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถด้านการบริหารคน คนที่เหมาะกับงานต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความชำนาญ และมีพฤติกรรมและทัศนคติที่ดี (BEHAVIOR & ATTITUDE) จึงจะทำให้องค์กรเกิด  COMPETENCY                Competency Base ประกอบด้วย Core Competency, Functional Competency, Leadership Competency และ Managerial Competency                 ในที่ประชุมมีการอภิปรายกันถึงเรื่อง Integrity ว่าเป็น Core Competency ที่สำคัญมาก ในองค์กรที่ดีควรมี Compliance Committee ทำหน้าที่พิจารณาจริยธรรมหรือความประพฤติที่เหมาะสมในองค์กร                 คุณซาร่าได้พูดถึงว่า Baker & Mckenzie ใช้ทฤษฎี ABC : Attitude, Behavior, Consequence อาจารย์ศิริลักษณ์สรุปว่านั่นคือ H.R. Basic และมีความเห็นว่า Attitude อาจจะสำคัญกว่าAbility เราน่าจะส่งเสริมคนที่คิดดี และทำดีต่อองค์กร แม้จะไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด มากกว่าคนที่มีความสามารถยอดเยี่ยมเพียงอย่างเดียว หรือไม่                ในปัจจุบันการวิเคราะห์ SWOT อาจเริ่มเปลี่ยนแนวทางมาเป็น Organization Health Check ซึ่งพิจารณาในแง่ Strategy, Structure, System, Process or Practice ส่งผลให้องค์กรเกิด Communication & Leadership มากกว่าเดิม                การประเมินขีดความสามารถ (Competency Assessment) ของบุคคลมีจุดประสงค์เพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงานของคนทำได้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่ และนอกจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการ H.R. ควรต้องใช้ความรู้ทางด้านจิตวิทยาประกอบการทำงานมากกว่าการใช้ความรู้ในศาสตร์ด้านการบริหารบุคคลเพียงด้านเดียว                อาจารย์ยังได้อธิบายการเขียน Competency ที่ดีในหลายกรณี และกล่าวถึงการที่ Leader ควรมีความคิดที่จะ Produce more Leader มากกว่า Produce more Follower องค์กรก็จะเกิดการนำแผนไปปฏิบัติอย่างได้ผล (Succession Planning)                 นอกจากนี้การที่องค์กรจะบรรลุเป้าหมายได้ อาจต้องพิจารณาในหลากหลายมิติ หรือเรียกว่า “Cross Functional” คือทุกคนต้องช่วยคิดช่วยทำใน Capacity ของตนอย่างเต็มที่ องค์กรโดยรวมได้ประโยชน์ผู้บริหารก็ได้ประโยชน์ (Make your boss looks good) พนักงานที่ทำงานเต็มที่ก็ได้รับประโยชน์จากการประเมินที่เป็นธรรมด้วยเช่นกัน Competencies ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ควรมี Knowledge (สรรหาและคัดเลือกคน การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน การประเมินผลงาน การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม) Skill (สื่อสารได้รู้เรื่อง เทคนิคการสัมภาษณ์ เจรจาต่อรองได้ดี มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ) Attributes (ทำงานมุ่งผลสำเร็จ ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ สร้างความน่าเชื่อถือได้ มีความเป็นผู้นำ)Competencies ของหัวหน้างานที่ควรมี   Knowledge (เรื่องภาวะผู้นำ การวางแผนงาน วิธีการทำงาน การควบคุมงาน การประเมินผลงาน)   Skill (การสอนงาน การมอบหมายงาน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ การประสานงานกับหน่วยงานอื่น)  Behavior (มีความกระตือรือร้น มีความต้องการเรียนรู้เทคนิค วิธีการใหม่ๆ มีภาวะผู้นำ รับฟังความคิดเห็นจากลูกน้อง)                 สุดท้าย Competency สามารถเพิ่มพูนให้มากขึ้น สูงส่งยิ่งขึ้นได้เสมอ หากมนุษย์ผู้นั้น เป็นผู้มีจิตใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มุ่งเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นนิตย์   
นางเครือวัลย์ สมณะ
คุณศุภชัย  หล่อโลหะการ  ผู้อำนวยการ  สำนักงานนวัตกรรรมแห่งชาติ  ได้บรรยายในหัวข้อ การจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรม (Innovation Solution)เมื่อวันเสาร์ที่  25 สิงหาคม  2550 นวัตกรรม จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ หรือแปลกจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น คุณศุภชัย หล่อโลหะการ ให้คำจำกัดความ นวัตกรรม (Innovation)”   หมายถึง   สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม  นวัตกรรม…..ไม่เพียงแต่มีคุณค่า แต่คนอื่นๆ ในสังคมต้องสามารถนำไปใช้ได้ด้วย  ยกตัวอย่าง เช่น การปฏิวัติรัฐประหารไม่ใช่เป็นนวัตกรรม นวัตกรรม (Innovation)” เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และแต่ละสำนักจะให้คำจำกัดความแตกต่างกันออกไป  แต่ความหมายโดยรวมทางภาคปฏิบัติ และง่ายต่อการนำไปใช้อย่างเข้าใจในคำว่า นวัตกรรม จึงขอเสนอความหมายทางปฏิบัติได้ว่า สิ่งใดๆ ก็ตามที่ใช้องค์รวมของความรู้  ความสามารถ  ประสบการณ์ รวมถึงจากความคิดจากจินตนาการ  สามารถนำมาสร้าง มาผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรม หรือวิธีการทำงาน กระบวนการผลิตอื่นๆ ซึ่งเป็นนามธรรมเป็นสิ่งใหม่ๆ หรือทำต่อยอดจากเดิม เป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลลัพธ์สูง เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์  ต่อสังคม อย่างมีศีลธรรม จริยธรรมและคุณธรรม คนที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายชนิด ตั้งแต่ความต้องการของคน การเงิน  สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การตลาด สิ่งแวดล้อมภายใน เช่น ทรัพยากรขององค์กรที่มีอยู่  สำคัญ คือ        "ทุนมนุษย์ หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ลงทุนฝึกอบรมจนมีทักษะ และมีศักยภาพในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  คุณศุภชัย ได้เปรียบเทียบว่า คนไทย 8 คน และคนมาเลเซีย 3 คน ทำงานได้เท่ากับคนสิงคโปร์เพียง 1 คน  ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มขึ้น  ในอนาคตจึงจะมีโอกาสแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ นวัตกรรม (Innovation)” โดยทั่วไปจะต้องมาจากมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนา ได้มีการศึกษา ได้ทำการวิเคราะห์และวิจัยจนสามารถนำมาปฏิบัติเป็นกรรมวิธี หรือ กระบวนการ หรือ เรียกว่า Technology ในการเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่า (Value Added) ซึ่งคุณศุภชัย ได้กล่าวถึงนวัตกรรมมี 2 ระบบ คือ ระบบปิด และระบบเปิด นวัตกรรมแบบปิด (The Closed Paradigm for Managing Industrial R&D) มีเส้นแบ่งกั้นระหว่างภายในและภายนอกองค์กรในการทำวิจัยเพื่อการผลิตสินค้าใหม่ นวัตกรรมแบบเปิด (The Open Innovation Paradigm) เป็นโครงการวิจัยร่วมกันได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำผลการวิจัยซึ่งเป็นกระบวนการ ไปใช้ในการผลิตสินค้าตัวใหม่ได้อย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งจะมีพื้นฐานขยายได้กว้างไกล และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืน  มากกว่านวัตกรรมแบบปิด   คุณศุภชัยยังได้กล่าวว่า ความรู้สำคัญมากกว่าความสามารถ  การทำวิจัยและพัฒนา (Reserch and Development) โดยเฉพาะความรู้กับการวิจัยมิใช่ Key องค์ประกอบสำคัญอยู่ที่มีความคิดสร้างสรรค์กับผู้ประกอบการ นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้มักจะมาภายใต้การถูกกดดัน Pressure / Regulate และต้องมี Leadership for Innovation นอกจากนี้ยังต้องมีฐานวัฒนธรรม Culture Base ซึ่งมีคุณค่ามาก เพราะสิ่งที่กล่าวมาจำเป็นต้องใช้ในการสร้างนวัตกรรม Creativity บวกกับ Inspiration  และ Aspiration นั้นมีความสำคัญเทียบได้เพียง 1% แต่หยาดเหงื่อแรงงานของมนุษย์ (Human Resources) มีความสำคัญถึง  99% สรุป นวัตกรรม (Innovation)” จะต้องสามารถนำมาสู่กระบวนการ หรือกรรมวิธีการผลิตได้อย่างสร้างสรรค์  จากภาคทฤษฎีนำมาสู่การปฏิบัติ  จากความรู้แปลมาเป็นเงิน  และจะต้องเริ่มต้นจาก Micro ก่อนแล้วจึงไปถึง Macro 

                                                  นางเครือวัลย์  สมณะ

                                                  29  สิงหาคม  2550

การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 9ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์วันที่ 25 สิงหาคม 2550การมาเช้าได้เปรียบเสมอวันนี้ก็เหมือนทุก ๆ เช้าวันเสาร์ที่อาจารย์ผู้มีเมตตากับลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ

ทำให้นึกถึงสมัยมัธยมปลายที่มี Home room ทุกเช้า

สร้างบรรยากาศที่ดี มีความรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเองแต่ระหว่างการสนทนาพวกเราก็รู้สึกว่าเริ่มหนาวเพราะ

อาจารย์บอกว่าจะสอบปากเปล่า

อย่างไรก็ตามอาจารย์ก็ยัง เน้นภาพการมองจาก Macro ไปสู่ Micro อาจารย์แนะให้ศึกษาเรื่อง HR ของกฟผ.โดยที่คาดหวังไว้ว่าถ้าสามารถทำได้จริงจะส่งผลดีอย่างมหาศาลต่อประเทศชาติ ใน 2 ประเด็น

         1. Succession plan เพราะเกิดช่องว่างของพนักงานในองค์กร เนื่องจากพนักงานของกฟผ.ที่มีศักยภาพสูงมีอายุใกล้เกษียณ ซึ่งกฟผ.ไม่มีการวางแผนเพื่อเตรียมไว้สำหรับปัญหานี้          2. Team work เนื่องจาก กฟผ. มีการทำงานแบบแท่ง ที่ไม่เกิดการทำงานแบบคร่อมสายงาน

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจของแผนพัฒนาบุคลากร (HRD) ของกระทรวงวิทย์ ฯ และสุดท้ายต้องขอขอบพระคุณที่อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาไปพบที่เดคอร์ทุกวันพฤหัสบดีโดยแบ่งกลุ่ม ๆละ ประมาณ 7 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในชั้น

 สำหรับการเรียนกับ อ.ศุภชัย  หล่อโลหะการ  ผู้อำนวยการ  สำนักงานนวัตกรรรแห่งชาติ ในหัวข้อ Innovation Solution โดยที่อาจารย์ตั้งประเด็นว่าทำไมจึงต้องมีนวัตกรรม ตลอดระยะเวลาการบรรยายจะมีตัวอย่างผลผลิต ผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากนวัตกรรม มาประกอบทำให้สามารถอธิบายความหมายของคำว่า นวัตกรรม ได้อย่างชัดเจน

 

 

โลกในยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็วในทุก ๆด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ พลังงาน วิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี สังคม หรือแม้แต่ธรรมชาติ ดังนั้นจำเป็นต้องมีนวัตกรรมเพื่อให้สามารถดำรงอยู่อย่างเท่าทัน และแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ก็คือคนที่ต้องมีความรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การบริหารธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงในเรื่องการค้าเสรี

 ก็ในเมื่อโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขนาดนั้นการที่เรายังทำงานแบบเดิม ๆก็เปรียบเหมือนกับการถอยหลังแล้ว  ดังนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยการฝึกอบรม เทิ่มทักษะในการทำงานที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 
 

เนื่องจากอาจารย์เป็นนักปฏิบัติที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่บรรเจิด และมีความเชื่อว่าการสร้างความแข็งแกร่งให้กับ Micro จะส่งผลให้ Micro แข็งแรงในที่สุดซึ่งตรงกับแนวคิดของญี่ปุ่น แต่สำหรับสังคมไทยเราคงต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎี 4 L’s ของศ.ดร.จีระ และใช้ 2R’s ในการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ

แม้ว่าความรู้กับงานวิจัยไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศชาติเจริญโดยตรงแต่ก็เป็นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และที่สุดคือความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับความเป็นผู้ประกอบการต่างหากที่ส่งผลให้ประเทศชาติเจริญ เพราะสิ่งสำคัญของนวัตกรรมคือการลงมือทำ

สรุป      > ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นสิ่งใหม่ ที่เกิดจาก การใช้ความรู้และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์    ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม

            > ความสำคัญของนวัตกรรมคือการเชื่อมโยงกันระหว่างความรู้ (knowledge) กับผลผลิต (Productivity)
                                           อรพินท์ มณีรัตน์
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  (Homework 9)

          จากการศึกษาเรื่อง Innovation  Solutions กับ อ.ศุภชัย  หล่อโลหะการ  เมื่อวันเสาร์ที่  25  สิงหาคม  2550  สรุปได้ดังนี้

          สิ่งที่เราจะเรียกว่านวัตกรรม(Innovation)  ต้องใหม่สำหรับคนคิด และต้องใหม่สำหรับคนฟัง เช่น การรญรงค์ใส่เสื้อผ้าไทยในยุคปัจจุบัน อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนที่ออกมารณรงค์ / คนคิด  แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนฟัง  จะไม่จัดเป็น นวัตกรรม หรือแม้กระทั่งการที่รัฐบาลออกมารณรงค์ให้ช่วยซื้อผลไม้ของไทย(มังคุด,ลองกอง ฯลฯ) ก็ม่ใช่เรื่องใหม่ จะไม่จัดเป็นนวัตกรรมได้เช่นกัน

          ถ้านำคำว่า "นวัตกรรม" มาเปรียบเทียบกับการบริหารคนของ "รัฐบาลไทย" ก็คงเป็นยุคของท่านทักษิณ  ชินวัตร นั่นคือคิดใหม่-ทำใหม่  แปลกใหม่กว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาแต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อเรานำคำ คำนี้มาเปรียบเทียบกันต้องอย่าลืมเรื่องของ "จริยธรรม" (Ethic) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

          "การปฏิวัติ" จัดเป็น "นวัตกรรม" หรือไม่ ? ต้องพิจารณาจาก 3 ประเด็น

  1. การปฏิวัติเป็นของใหม่หรือไม่
  2. การปฏิวัติใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์หรือไม่
  3. การปฏิวัติส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่

          และนวัตกรรมต้องมีกระบวนการ(Process) ไม่ใช่เหตุบังเอิญทำให้เกิดขึ้น  ซึ่งปัจจุบัน นวัตกรรม เป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติเจริญเติบโต (นั่นคือความรู้และการวิจัย ไม่ใช่ Key อีกต่อไป)

          แม้ว่าโลกจะมีการพัฒนามากขึ้นเพียงใดก็ตาม สิ่งที่พึงตระหนักนั่นคือ

> คุณลักษณะของคนในชาติที่พัฒนา ซึ่งได้แก่

  1. จริยธรรม     
  2. ความซื่อสัตย์     
  3. ความรับผิดชอบ
  4. เคารพกฎหมาย    
  5. เคารพสิทธิของผู้อื่น        
  6. รักการทำงาน
  7. รู้จักออมและลงทุน
  8. ตั้งใจทำสิ่งที่ดีที่สุด
  9. แม่นยำและตรงต่อเวลา

> ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมโลก

     - ความรู้ เป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สินทางปัญญา

     - ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นบ่อเกิดแห่งนวัตกรรม

     - นวัตกรรม จะต้องมีการคิดใหม่ - ทำใหม่ มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

> ในปัจจุบันชีวิตอาจเกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้ นี้คือพัฒนาการในยุคโลกาภิวัตน์

> โครงสร้างภาคเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงมาจากภาคเกษตรกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต > เน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง R & D & I > ผลิตตามความต้องการเฉพาะและใช้ฐานความรู้

> เมื่อเปรียบความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรม

     - เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าความคิดนั้นใหม่หรือเก่า(ยกเว้นมีการอ้างอิงเปรียบเทียบ)

     - เราจะไม่สามารถบอกได้ว่ามีคุณค่าหรือไม่ > จนกว่าจะผ่านการประเมินทางสังคม

> นวัตกรรม คือการคิดนอกกรอบ แต่ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นไปได้ไม่ใช่ความเฟ้อฝัน

> นวัตกรมมการผสมผสาน

     • เกิดจากการผสมผสานแนวความคิดที่แตกต่างกัน

     • ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเท่านวัตกรรมเฉพาะทาง

     • เกิดจากความเชื่อมโยงความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น เสื้อซิลเวอร์นาโน,แป้งเด็กจากแป้งข้าวเจ้า,การรวมตัวออกเทปของศิลปิน เบิร์ด - เสก

          อีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยพึงตระหนัก นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ท่านทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย" ท่านทรงเป็นนักคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ อาทิ กังหันน้ำชัยพัฒนา,การทำฝนเทียม ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมาจนถึงทุกวันนี้

     Corporate  Core  Model  =  DARE

     1. Discover               2. Achieve

     3. Reword                 4. Empower

แนวทางในการสร้างนวัตกรรม

1. แก้ปัญหาที่คาใจ > ทำอะไร > ทำอย่างไร > ใครทำ > ทำเองได้หรือไม่(หาคนช่วยทำ)

2. แนวทางการแสวงหาโครงการ

     • หาความรู้ > Web Site > หนังสือ,เอกสาร > ผู้รู้

     • หาเครือข่าย > หาพรรคพวกเรา

     • หาแนวคิด > สัมนา,ประชุม

3. ประมวลผล > นำความรู้,รวมเครือข่าย,ประยุกต์แนวคิด มาเข้าสู่เป็นระบบของงาน > กระบวนการผลิต แต่ทั้งนี้ต้องมีเงินทุน Support ด้วย

4. ผลจากการประมวล > เลือกมาแล้วลองทำ

 • เลือกมาแล้วลองทำ  • ทดสอบความคิดกับผู้รู้

 • ผลออกมาดี > ลุยต่อ  • ผลอกมาไม่ดีเป็นประสบการณ์

          อย่างไรก็ตาม "เหนือฟ้ายังมีฟ้า" สิ่งที่เราคิดว่าเป็น "นวัตกรรม" ในวันนี้ ด้วยเนื่องจากมีการคิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อชีวิตผ่านไป ก็จะเป็นเรื่องปกติถ้ามีการเลียนแบบทำซ้ำ ๆ กัน  และมีการนำไปประยุกต์ให้ดีกว่าปัจจุบัน ก็จะเกิดเป็น "นวัตกรรมใหม่" เกิดขึ้นแทนที่เราก็เป็นได้

                                                -ขอบคุณครับ-

                                            สิทธิชัย  ธรรมเสน่ห์      

Innovation Solutions (อ.ศุภชัย  หล่อโลหการ : วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2550) ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Agriculture Age สู่ Industrial Age มาถึง Information Age ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมโลก จะประกอบด้วย (1) ความรู้ (2) ทรัพย์สินทางปัญญา และ (3) นวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมจะต้อง (1) เป็นของใหม่ (2) ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (3) ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคม ท่านอาจารย์กล่าวว่าธุรกิจที่ไม่มีเงินก็สามารถล้มช้างได้เพราะใช้ความคิดสร้างสรรค์ (นวัตกรรม) โดยนวัตกรรมต้องมี Process อีกทั้งท่านอาจารย์ยังเพิ่มเติมอีกว่าความรู้กับงานวิจัยไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศเจริญเติบโต ซึ่ง การวิจัย เป็นการใช้เงินมาสร้างความรู้ ในขณะที่ นวัตกรรม เป็นการเปลี่ยนความรู้มาเป็นเงิน ดังนั้นประเทศจะต้องมี (1) นวัตกรรม คือความคิดสร้างสรรค์ และ (2) ความเป็นผู้ประกอบการ คือการลงมือทำ สรุปได้ว่า นวัตกรรม เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมดังนั้น "นวัตกรรม" ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จึงควรมีคุณลักษณะในการเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือขั้นตอน ที่ "จับต้องใช้ได้" ไม่ใช่เป็นแค่ "ความคิดใหม่" หรือ "องค์ความรู้" ที่มาจากผลงานวิจัย ซึ่งอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม แต่ไม่อาจเรียกว่าเป็นนวัตกรรมได้ และลักษณะสำคัญของ "นวัตกรรม" นั้น ต้องมาจาก "ความตั้งใจ" ที่ต้องการให้เกิดขึ้น มากกว่าจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และต้องมี "ความใหม่" และ "นำมาใช้ได้" ในระดับกลุ่ม ฝ่าย หรือองค์กรขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ SMEs ประกอบด้วย 4 ขั้น (1) Labour Intensive : รับจ้างผลิตทั่วไป (2) Skill Intensive : รับจ้างผลิตให้กับผลิตที่มียี่ห้อ (3) Technology Intensive : มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้เอง ตลาดกำหนดโดยผู้ว่าจ้าง แต่มีอำนาจต่อรองมากขึ้น และ (4) R&D Intensive/Innovation : มีการออกแบบและมีตราสินค้าของตนเอง มีตลาดของตนเอง ในแง่ขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ SMEs ในประเทศไทยนั้นจะอยู่ในขั้นที่ 2 จาก IBM Global CEO Survey นวัตกรรม คือ (1) เป็นของเก่าก็ได้ที่สร้าง Business Model ได้ (2) มีความร่วมมือจากภายนอก และ (3) CEO ต้องทำนวัตกรรมก่อนเกี่ยวกับ CEO นั้นท่านอาจารย์ได้แนะนำ The Five Faces of CEOs ประกอบด้วย (1) The Brain : สมองคิด (2) The Ambassador : ต้องรู้นโยบายของรัฐแต่ละประเทศ (3) The Dealmaker : การทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจและคล้อยตามไปกับแนวทางหรือกระบวนการ (4) The Conductor : ยุให้ลงมือปฎิบัติ และ (5) The Casting Agent : เลือกคนที่เหมาะที่จะมาเป็นตัวแทนได้ในอนาคต สำหรับลักษณะของ CEO นั้นข้าพเจ้าได้อ่านบทความหนึ่งที่เกี่ยวข้องเป็นศาสตร์แห่ง CEO ของบริษัทซัมซุง ประกอบด้วย (1) ต้องรู้ตั้งแต่พื้นฐานหรือวัตถุประสงค์ของการอยู่รอดของธุรกิจ (2) เป็นการศึกษาการบริหารคนอย่างลึกซึ้ง (3) ในเมื่อต้องการให้ธุรกิจอยู่รอด  พื้นฐานที่สำคัญต่อการอยู่รอดของบริษัทคือ "ตลาด" หรือ "คนที่เป็นลูกค้า" ที่เป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการที่บริษัทได้นำเสนอ และ (4) ทำอย่างไรจึงจะสามารถเชื่อมโยงคนที่เป็นลูกค้าในตลาดให้เข้ากับคนในองค์กร  โดยผ่านธุรกรรมขององค์กร สรุปแล้วศาสตร์แห่ง CEO ที่คนของซัมซุงต้องเรียนจะแบ่งได้ 3 ส่วนคือ  ตลาด คน และการบริหารจัดการ และประธานลีกอนฮี ได้กำหนด "ยุทธศาสตร์อัจฉริยะบุคคล" ที่จะมาเป็นผู้นำองค์กรสู่ยุคแห่งนวัตกรรมใหม่ๆ โดยจะต้อง (1) เป็นคนที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับโลกอนาคตต้องเป็นผู้ที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เปิดตลาดใหม่ๆ และนำพาองค์กรให้พัฒนาไปข้างหน้าได้(2) เป็นนักพัฒนาและนักปฏิบัติที่สามารถฉีกแนวความคิดในปัจจุบัน สามารถทำสิ่งที่เป็นเพียงแผนการในกระดาษให้สำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ (3) คนที่สามารถวิเคราะห์อะไรได้อย่างทะลุปรุโปร่งและมีความสามารถในการสร้างงาน และ (4) เป็นคนที่มีความเป็นคนสูงนวัตกรรม เป็นข้อต่อที่สำคัญระหว่างความรู้และผลิตภาพ(productivity) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าหน่วยงานวิจัยและสนับสนุนการวิจัย จะมีพันธกิจครอบคลุมตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานจนถึงการผลิตในเชิงพาณิชย์ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว พันธกิจหลักของหน่วยงานเหล่านี้ยังคงอยู่ที่งานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ซึ่งแตกต่างจากงานด้านนวัตกรรม ที่มักตั้งต้นจากภาคอุตสาหกรรม และเน้นการตลาดเป็นสำคัญ จากนั้นจึงเสาะแสวงหาผลงานวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องเพื่อรองรับเป็นโครงการนวัตกรรม ซึ่งปกติแล้วมักจะเป็นผลงานวิจัยที่มาจากการบูรณาการท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงนวัตกรรมมี 2 แบบ คือ (1) นวัตกรรมแบบปิด (The Closed Paradigm for Managing Industrial R&D) หมายถึงโครงการนวัตกรรมทั่วไปที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ และมีความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี ธุรกิจ การตลาด และการลงทุน ซึ่งในอดีตเคยเป็นรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และได้ช่วยให้บริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำต่างๆ เช่น IBM, Xerox ประสบผลสำเร็จมาแล้ว โดยการพัฒนานวัตกรรมแบบปิดจะเน้นการทำการวิจัยและพัฒนาด้วยตนเองได้ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการสร้างนวัตกรรมหลายด้าน ทั้งจากปัจจัยด้านเงินทุน บุคลากร และเทคโนโลยี เนื่องจากบริษัทต้องลงทุนทำการวิจัยและพัฒนาเองทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ และต้องใช้บุคลากรภายในองค์กรเท่านั้น จึงทำให้การพัฒนานวัตกรรมถูกบีบให้เกิดการพัฒนาอยู่ในวงจำกัด และไม่สามารถเกิดการสร้างสรรค์ได้เต็มที่ รวมถึงสิ่งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของการวิจัย แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมายก็จะไม่ถูกนำไปพัฒนาต่อเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และอาจต้องถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์และ (2) นวัตกรรมแบบเปิด (The Open Innovation Paradigm) เป็นการนำสิ่งใหม่ๆ ที่ได้รับทั้งจากการวิจัยและพัฒนาทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร มาสร้างเป็นนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดกลุ่มใหม่ได้ จึงเป็นการส่งเสริมให้บริษัทหรืออุตสาหกรรมต่างๆ พยายามแสวงหาสิ่งใหม่ๆ จากภายนอกอยู่ตลอดเวลา อันจะนำไปสู่การสร้างพันธมิตรและความร่วมมือระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การบ้านครั้งที่ 9

Innovation Solution

เรียนวันที่ 25 สิงหาคม 50

สอนโดย อ.ศุภชัย หล่อโลหการ

ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ

นักศึกษาชื่อ นายพนม ปีย์เจริญ

………………………………………………

    ในโลกแห่งการแข่งขันที่ไม่หยุดนิ่ง ย่อมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

    สินค้าและบริการหลายอย่างที่เคยรุ่งเรือง ได้รับการยอมรับยกย่องในอดีต เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป สรรพสิ่งก็เปลี่ยนแปลง ไม่เว้นแม้แต่การยกย่องยอมรับของผู้คน เมื่อมาถึงวันหนึ่งก็อาจถูกนวัตกรรมใหม่ๆที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เบียดแรงแซงทางโค้งแล้วทิ้งห่างไปจนมองไม่เห็นฝุ่น

    และเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป เหตุการณ์เฉกเช่นนี้ก็เกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีที่สิ้นสุด อยู่ที่ว่าเราจะใช้กล้ามเนื้อในส่วนที่อยู่สูงจากคอขึ้นไปช่วยกันคิดว่าเราจะต่อยอดอย่างไร ให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่สร้างสรรค์ขึ้นในโลกใบนี้

    เพราะจุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือความกล้าที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ๆ เพราะถ้าไม่มีความกล้าเราก็จะไม่มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น จึงต้องอาศัยความกล้า ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดและทำสิ่งใหม่ๆขึ้นมา

    ดังนั้นเราจะเห็นได้จาก ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันในประเทศที่เป็นเกษตรกรรมของเรา ถ้าไม่มีการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆมาช่วยทำให้สินค้าเกษตรเกิดเป็นมูลค่าเพิ่ม เราก็จะเห็นลำไย ลองกอง ทุเรียน เงาะ มังคุด ล้นตลาดเป็นปัญหาของชาติกันอยู่ทุกฤดูกาล

    เมื่อมองมุมลึกลงไป เหตุใดเราจึงขาดดุลการค้ากับต่างประเทศอยู่ร่ำไป ก็ทำไมเราจะไม่ขาดดุลในเมื่อประชากรของเราอ่อนด้อยในเรื่องการคิดและวิทยาศาสตร์ ด้วยเพราะเราเป็นประเทศเกษตรกรรม เราปลูกข้าวแทบเป็นแทบตาย เอาไปแลกโทรศัพท์มือถือได้กี่เครื่องต่อไร่ เราปลูกเงาะปลูกทุเรียน กี่ต้นจึงจะแลกนาฬิกาโรเล็กซ์ได้สักหนึ่งเรือน ฯลฯ

    ใช่ว่าคนไทยไม่เก่ง เพียงแต่เราต้องปรับและพัฒนาระบบคิด ( Mindset) ของคนไทยกันเสียใหม่ ไม่เช่นนั้นเราก็จะไม่สามารถแข่งขันกับเขาได้ เพราะคนไทยเราคิดง่ายเกินไป อยู่ในประเภทคิดชั้นเดียว เกิดอะไรขึ้นข้างหน้าค่อยว่ากันใหม่

เห็นอย่างไรก็คิดอย่างนั้น

เห็นน้ำขึ้น...ก็บอกว่า ให้รีบตัก

พอเห็นน้ำลดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

อ้าว ! น้ำลดมดก็มากินปลานะซิ !

 

    คนไทยแต่เดิมคิดอย่างนี้ และหล่อหลอม ปลูกฝังมาจนถึงลูกหลาน จนเด็กไทยถูกสอนให้รู้ ให้เชื่อมากกว่าสอนให้คิด ให้ค้น และรู้จักการต่อยอดทางความคิด

เช่นบางคนเห็นหญ้าเจ้าชู้ติดเสื้อติดกางเกง แทนที่จะแกะมันทิ้งไปเฉยๆ ก็หยิบมันขึ้นมาพิจารณาพินิจพิเคราะห์ว่า ทำไมมันถึงติดเสื้อผ้าเราได้ ว่าแล้วก็เอามันกลับไปส่องด้วยแว่นขยาย ดูว่ามันมีอะไรพิเศษในการยึดเกาะติดไปกับเสื้อผ้าของเราได้ จึงได้แกะออกยากเย็นนัก

    จากปัญหา นำมาคิดด้วยปัญญา จึงทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เราเรียกว่า ตีนตุ๊กแก นำไปใช้แทน ซิบ ใช้แทนกาว ใช้แทนสายรัด แทนเชือกมัดรองเท้า และแทนอีกสารพัด มีมูลค่านับเป็นพันล้านต่อปี ในการนำไปประกอบกับสินค้าประเภท กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า และสินค้าอื่นอีกนาๆชนิด

     เฉกเช่นเดียวกับการที่นักคิด นักประดิษฐ์ มองเห็นน้ำกลิ้งอยู่บนใบบัว แทนที่จะมองเชิงคำคมโวหาร หรือสุภาษิตว่า ผู้ชายกลอกกลิ้ง เหมือนน้ำที่อยู่บนใบบัว นักคิดอีกกลุ่มหนึ่งกลับมองมันด้วยระบบคิดอีกแบบหนึ่งอย่างสงสัยว่า ใบบัวมันมีอะไรเคลือบอยู่ ทำไมน้ำจึงไม่สามารถเกาะได้ จากการคิด..นำไปสู่การค้นคว้าผสมผสานกันมากกว่าหนึ่งสาสตร์ ท้ายที่สุดก็ทำให้ได้ Silver Nano Technology ที่นำมาเคลือบผิวโลหะของถังซักในเครื่องซักผ้า เพื่อลดปัญหาการเกิดเชื้อรา และยืดอายุการใช้งานของเครื่องซักผ้า และนำมาใช้กับการผลิตเสื้อผ้าที่ให้ความรู้สึกสวมใส่สบายไม่อับชื้น คราบน้ำและความสกปรกไม่สามารถซึมเข้าไปแทรกอยู่ในเส้นใยผ้า เป็นต้น

    Innovation หรือ นวัตกรรม จึงเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม

ประเทศเล็กๆในโลกนี้ จึงมีความร่ำรวยก้าวหน้ากว่าประเทศใหญ่ๆ ก็ด้วยเพราะระบบคิดที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้น จึงเกิดภาพสะท้อนให้เราได้เห็นอย่างชัดเจนว่าในประเทศเล็กๆเหล่านี้ มีคนในชาติที่พัฒนาแล้ว  น่าจะมีลักษณะดีอย่างน้อย 9 ประการคือ

    1. มีจริยธรรม

    2. มีความซื่อสัตย์

     3. มีความรับผิดชอบ

    4. เคารพกฎหมาย

    5. เคารพสิทธิของผู้อื่น

    6. รักการทำงาน

    7. รู้จักการออมและลงทุน

    8. ตั้งทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่

    9. แม่นยำและตรงต่อเวลา

    นวัตกรรมจึงไม่ใช่อุบัติเหตุ แต่นวัตกรรมเป็นสิ่งที่คนในชาติต้องคิด และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น โดยที่ต้องยอมรับกันก่อนว่า ไม่มีสิ่งใดที่คิดแล้วจะถูกต้องและประสบความสำเร็จเสมอไป นวัตกรรมจึงเป็นอะไรที่เสี่ยง อาจจะออกผลได้ทั้งสองทางคือสำเร็จและล้มเหลว

ผู้นำหรือหัวหน้าจึงต้องพยายามผลักดันให้ลูกน้องคิดและทำ ซึ่งหัวหน้าต้องยอมรับไว้ในใจเสมอว่ามันอาจสำเร็จหรือล้มเหลวก็ได้ เพราะฉะนั้นหัวหน้าต้องยอมรับในความเสี่ยง (
Risk) อันอาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะถ้าไม่กล้าเสี่ยงเอาแต่กลัวๆ กล้าๆ เราจะไม่มีโอกาสสัมผัสสิ่งใหม่ๆ เหมือนอารยประเทศที่เจริญทั้งหลาย

นวัตกรรมใหม่ๆไม่ใช่เกิดจากการที่เห็นแล้วลอกเลียนแบบ แต่นวัตกรรมต้องมองด้วยตา คิดด้วยสมอง แล้วใช้ความรู้ผสมผสานจากการมองและคิดข้ามศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะศาสตร์ ฯลฯ ผสมผสานกันให้เกิดความรู้ในการคิดค้น และสรรค์สร้างสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นตามแนวความคิดนั้น

    ดังนั้นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการคิดสร้างสรรค์ กับการแข่งขันในโลกอนาคต ไม่ใช่สินค้าและบริการ แต่...เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เราเรียกกันสั้นๆว่า คน ในองค์กรของเรา ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนรู้สม่ำเสมอ

    ต้องนำทฤษฎี 8 K มาพัฒนาคนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คนในองค์กรของเรา เป็นคนในสังคมแห่งการเรียนรู้ และที่สำคัญต้องทำให้องค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization ) อย่างจริงจัง.

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr. Panom Peecharoen

30.8.2007

หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
สรุป การบรรยาย 25 ส.ค.2550 อ.ศุภชัย หล่อโลหการเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและ HR นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
ซึ่งการพัฒนาแนวคิดนี้ได้เกิดขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสำคัญ โดยความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือการนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
           อันเนื่องมาจากความหมายของนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์สิ่งใหม่จึงทำให้นวัตกรรมมีความสัมพันธ์กับการประดิษฐ์คิดค้น (invention) อย่างใกล้ชิด  ในประเด็นที่ว่าการประดิษฐ์คิดค้น เป็นการค้นพบสิ่งใหม่, ความรู้ใหม่ ที่ยังไม่มีผู้ใดคิดค้น หรือค้นพบมาก่อน  ส่วนนวัตกรรมจะหมายถึง การนำความรู้ใหม่ หรือสิ่งค้นพบใหม่นั้นไปประยุกต์ใช้ทั้งในรูปแบบของเทคโนโลยี   หรือรูปแบบอื่นที่ไม่ใช้เทคโนโลยีก็ได้
นวัตกรรม(Innovation) หมายถึง การผลิต การเรียนรู้และการใช้ประโยชน์ความคิดใหม่ให้เกิดผลทางเศรษฐกิจและสังคม โดยที่ความคิดใหม่นั้นเป็นของใหม่สำหรับหน่วยงานหรือหน่วยเศรษฐกิจซึ่งอาจเป็นบริษัทหน่วยงานของรัฐ อุตสาหกรรม หรือประเทศก็ได้ นวัตกรรมทำให้เกิดการขยาย และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในตลาดที่เกี่ยวข้องวิธีการผลิตและจำหน่ายแบบใหม่และการเปลี่ยนแปลงการบริหารและทักษะของบุคคลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขัน การวิจัยและพัฒนาตลอดจนการใช้เทคโนดลยี่ใหม่เป็นนวัตกรรมการทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นส่วนสำคัญของนวัตกรรม แต่การนำมาใช้จะต้องรวมถึงการเปลี่ยนแปลง ด้านการผลิต การบริหารและการจำหน่ายจึงจะได้ผลสรุป นวัตกรรมคือ สิ่งใหม่ที่เกิดจาการใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมไม่เพียงแต่มีคุณค่า แต่คนอื่นๆในสังคมต้องสามารถนำไปใช้ด้วยลักษณะของนวัตกรรม 1.      นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง(Radical Innovation) หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริง สู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief ) เดิม ตลอดจนระบบคุณค่า(value system)ของสังคม อย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นอินเตอร์-เน็ท (Internet) จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร  การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลา และ สถานที่นั้น เปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ทเปิดโอกาส ให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทาง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร เปลี่ยนแปลงไป บางคนเชื่อว่า อินเตอร์เน็ทจะเข้ามาแทนที่ระบบการส่งข้อมูลข่าวสารในระบบเดิม อย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า อาทิเช่น ระบบไปรษณีย์ 2.      นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็นขบวนการการค้นพบ (discover) หรือ คิดค้นสิ่งใหม่(invent)โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ (new idea) หรือ ความรู้ใหม่ (new knowledge) ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยการประยุกต์ใช้ แนวคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ ของมนุษย์ และการค้นค้น เทคนิค (technique) หรือ เทคโนโลยี (technology) ใหม่ นวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จึงมีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning) อยู่ในบริบท ของสังคมหนึ่ง ในปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะผลของขบวนการโลกาภิวัตน์ ทำให้สังคมมีลักษณะไร้ขอบเขต (borderless) เป็นสังคมของชาวโลกที่มีความหลากหลายทางด้านสังคมวัฒนธรรมและการเมือง ส่งผลให้นวัตกรรม มีแนวโน้มที่จะเป็น ขบวนการค้นพบใหม่อย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ มากกว่า ที่จะเป็นนวัตกรรมใหม่โดยสิ้นเชิง สำหรับสังคมหนึ่ง ๆ ประเภทของนวัตกรรม1.      นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นั้นยังสามารถถูกแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้(tangible product) หรือสินค้าทั่วไปเช่นรถยนต์รุ่นใหม่, ทีวีที่ใช้เทคโนโลยีสูงหรือ‘High Definition TV(HDTV)’,  ดีวีดีหรือ‘Digital Video Disc(DVD)’ และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (intangible product) อาทิ เช่น การบริการ (services) เช่น เพกเก็จทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, ธุรกรรมการเงิน-ธนาคารโดยผ่านทางโทรศัพท์ (telephone finance banking)เป็นต้น       2.   นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น  การผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ‘Just In Time (JIT)’  , การบริหารงานคุณภาพองค์กรรวมหรือ‘Total Quality Management (TQM)’, และ การผลิตแบบกระทัดรัดหรือ ‘ Lean Production ’ เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
      1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
      2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
      3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
      4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
 สำหรับการวิจัยและนวัตกรรมแตกต่างกันคือ            การวิจัย เป็นการใช้เงินสร้างความรู้ แต่ นวัตกรรม เป็นการเปลี่ยนความรู้เป็นเงินนวัตกรรมแตกต่างจากปฏิวัติอย่างไรและมี 3ข้อที่จะถามต่อไปคือ1.   การปฏิวัติเป็นของใหม่หรือไม่2.   การปฏิวัติใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์หรือไม่3.   การปฏิวัติส่งผลดีกับเศรษฐกิจและสังคมไหมถ้าเราตอบว่าใช่ทั้งหมดมัน  ก็คือนวัตกรรม แต่ถ้าตอบว่าไม่ มันก็จะไม่เป็นนวัตกรรม สิ่งสำคัญนวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ จะต้องใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ และจะต้องส่งผลดีกับเศรษฐกิจและสังคมในแง่บวก(positive)เกิดอะไรขึ้นในโลกใบนี้-  ไนจีเรีย มีน้ำมัน-   อินโดนีเซีย มีป่าไม้-  แอฟริกาใต้ มีเพชรและทองคำ-  บราซิล มีป่าและแร่ธาตุ-  เม็กซิโก มีเงินและน้ำมันทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้แต่ละประเทศมีไม่เหมือนกันประเทศเล็กแต่รวยและประเทศใหญ่แต่ไม่รวยทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วคนในประเทศเหล่านั้นจะมีคุณลักษณะ1.   มีจริยธรรม    2. มีความซื่อสัตย์   3. มีความรับผิดชอบ  4.  เคารพกฎหมายของประเทศ5.   เคารพสิทธิของผู้อื่น     6. รักการทำงาน   7. รู้จักการออมและลงทุน  8.  ตั้งใจทำสิ่งยิ่งใหญ่9.   แม่นยำ และตรงต่อเวลาโลกเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งก็ จะมี1. โลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของ ICT2. โครงสร้างภาคเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต3.เศรษฐกิจโมเลกุล(Molecular Economy)ซึ่งมีเทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีวัสดุ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนดังนั้นอุตสาหกรรมจะต้องเน้นใช้เทคโนโลยีขั้นสูง-R&D&Iและการผลิตตามความต้องการเฉพาะและเน้นใช้ฐานความรู้ สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้(Knowledge-Based Economy & Society) การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆเหล่านี้นำไปสู่นวัตกรรมอาจารย์ได้พูดถึงการรับคนของท่านว่าการจะรับคนสักคนมันอยากเพราะรับมาแล้วเวลาจะไห้ออกนั้นนะอยากอาจารย์จึงมีพนักงานที่ทำงานด้วยไม่มาก และให้พนักงานทำงานให้ดีที่สุดThe Five Faces of CEOs (work Forces)- The Brain- The Ambassador- The Dealmaker- The Conductor- The Casting Agentนวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้บริหาร พนักงาน หรือแม้แต่คนทุกคนในสังคมในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความปรารถนาใหม่ หรือต้องการค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน ในวงการบริหารยุคปัจจุบันก็เช่นกัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมการบริหารเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นในปัจจุบัน ได้แก่ Balanced Scorecard KPI Competency   Six sigma เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในในปัจจัยบันอาจเป็นสิ่งที่ล่าหลังในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งนักบริหารคงต้องสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้  สรุป การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองประการในโลกปัจจุบันนี้คือ 1.การแพร่ขยายอย่างรวดเร็วของปรากฏการณ์ โลกาภิวัตน์ 2. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศโลกาภิวัตน์ได้นำมาซึ่งการเปิดเสรีทางการค้า การเชื่อมโยงของระบบการเงินการธนาคารของประเทศต่างๆในโลก การสร้างเครือข่ายการผลิตของบริษัทข้ามชาติ ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกตามตำแหน่งที่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายในตลาดโลก การแข่งขันในการค้ามิได้จำกัดอยู่เฉพาะบริษัทข้ามชาติที่เป็นที่รู้จักกันดีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทใหม่ๆ ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศอุตสาหกรรมใหม่เกือบทุกประเทศต่างก็มีความมุ่งหวังที่จะก้าวกระโดดไปสู่สภาวะของการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นประเทศต่างๆเหล่านี้จะต้องพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่างเช่น ด้านสังคม  ด้านเศรษฐกิจแบบยั่งยืนทั้งนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานความสามารถที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้ ความสามรถดังกล่าวขึ้นอยู่กับความสามารถทางนวัตกรรม  
นายปลื้มใจ สินอากร
วันที่  25  สิงหาคม  2550  บรรยายโดย อ.ดร.ศุภชัย  หล่อโลหะการเรื่อง  การจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรม            อาจารย์ผู้บรรยายมีความเห็นวิชานี้ ควรเป็นนวัตกรรมการจัดการ ไม่ใช่การจัดการนวัตกรรมเพราะเราคงไม่มีความสามารถไปจัดการนวัตกรรมนั้น นอกเสียจากมีนวัตกรรม ขึ้นแล้ว เรานำนวัตกรรมนั้นไปจัดการเอง ผู้บรรยายได้อธิบายว่าเกิดอะไรในโลกใบนี้?            ประเทศที่มีทรัพยากรมาก แต่พลเมืองส่วนใหญ่ยากจน            ไนจีเรีย ----------  มีน้ำมัน            อินโดนีเซีย   ----------  มีป่าไม้            อาฟริกาใต้  ----------  มีเพชรและทองคำ            บราซิล  ----------  มีเงิน มีน้ำมัน            ประเทศเล็กแต่รวย ---------- ประเทศใหญ่ แต่จน           
ประเทศ มีรายได้ต่อหัว ประเทศ มีรายได้ต่อหัว
ไต้หวัน 18,100 อินเดีย 1,800
อิสราเอล 18,300 จีน 3,800
ลิคเคนสไตน์ 23,000 รัสเซีย 4,200
ฮ่องกง 23,670 บราซิล 6,150
สิงคโปร์ 27,800 เม็กซิโก 8,500
แล้วเกิดอะไรขึ้นบนโลกใบนี้?คุณลักษณะของคนในชาติที่พัฒนาแล้ว            1.  มีจริยธรรม                                        2.  มีความซื่อสัตย์            3.  มีความรับผิดชอบ                              4.  เคารพกฎหมาย            5.  เคารพสิทธิของผู้อื่น                           6.  รักการทำงาน            7.  รู้จักการออมและการลงทุน                  8.  ตั้งใจทำสิ่งใหญ่            9.  แม่นยำและตรงต่อเวลา ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมโลก-          ความรู้-          ทรัพย์สินทางปัญญา-          นวัตกรรม ความหมายของนวัตกรรม (Innovation)            คือ  สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์  ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมนวัตกรรมไม่เพียงแต่มีคุณค่าแก่คนอื่นๆ ในสังคมต้องสามารถนำไปใช้ได้ด้วย            การวิจัยแตกต่างกับนวัตกรรมกล่าวคือR&D  การวิจัยใช้เงินเพื่อ  ----------  สร้างความรู้นวัตกรรม Innovationเปลี่ยนความรู้เพื่อ ----------   เงินทอง แนวคิดการจัดการนวัตกรรม            การพัฒนาธุรกิจใหม่บนฐานของการบริหารจัดการความรู้มีแนวคิดดังนี้-          ต้องไม่ทำวิจัย-          ไม่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน-          มุ่งใช้ประโยชน์จากงานวิจัย

การบริหารงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

               สำนักงานนวัตกรรมมีเจ้าหน้าที่ประมาณ  50 นาย แต่มีผลงานวิจัยจำนวน  โดยใช้การบริหารจัดการโดย Out Source  ซึ่งมีผู้รับงานไปทำการวิจัยจำนวนมาก  เช่น  การผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยาง,  การเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูน เพื่อการส่งออก, ทั้งคอมโพสิท เป็นนวัตกรรมถึงบรรจุก๊าซในยุคน้ำมันแพง, พลาสติกชีวภาพทำจากธรรมชาติคืนสู่ธรรมชาติ, เตียงคราเป็นทร์! เตียงป้องกันและรักษาแผลกดทับเสื้อซิลเวอร์นาโน นวัตกรรมสำหรับคนรุ่นใหม่, แป้งเด็กจากแป้งข้าวเจ้า, สเต็มเชลล์ เป็นต้น

                                                                                                      การกระจายอายุพนักงาน สนช. เฉลี่ยอยู่ที่ 30 ปี ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะรับสมัครผู้เรียนจบใหม่และอยู่ทำงานที่ สนช. ประมาณ 10 ปี
กฤษณา ปลั่งเจริญศรี
สรุปการบรรยายในหัวข้อ“ Innovation Solutions” ในวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2550 เรียบเรียงการบรรยายโดย นางสาวกฤษณาปลั่งเจริญศรี  (Innovation)”   หมายถึง   นวัตกรรม คือ สิ่งที่เกิดจากความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”  ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ต้องเป็นสิ่งใหม่สำหรับผู้สร้างสรรค์ แต่เก่าสำหรับคนอื่น ความคิดสร้างสรรค์ กับ นวัตกรรมนั้น ไม่มีทางรู้เลยว่า ความคิดนั้นใหม่หรือไม่ (ยกเว้นแต่จะอ้างอิงกับมาตรฐานบางอย่าง) และไม่มีทางบอกได้ว่ามันมีคุณค่าหรือเปล่าจนกระทั่งผ่านการประเมินทางสังคม นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ 1.นวัตกรรมแบบปิด 2.นวัตกรรมแบบเปิด แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมคือการนำนวัตกรรมมาผสมผสานกัน นวัตกรรมผสมผสาน เกิดจากการผสมผสานแนวคิดที่แตกต่างโดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเท่า นวัตกรรมเฉพาะทางและเกิดจากการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆเข้าด้วยกันในทางที่ไม่ธรรมดา เป็นผลจากการเคลื่อนย้ายผู้คน,การบรรจบกันของศาสตร์สาขาต่าง ๆ และการประมวลผลที่ล้ำยุค  แนวทางเล็ก ๆน้อย ๆ นการสร้างนวัตกรรม คือปัญหาคาใจต่าง ๆ 1. เข้าไปจุดไหนดี 2. เข้าไปทำอะไรดี 3. รู้ว่าทำอะไร แต่จะทำอย่างไร 4.ใครเป็นคนทำ 5. ความสามารถเรามีแค่ไหน ใครช่วยได้ จากปัญหาต่าง ๆเหล่านี้ทำให้เราต้องหาคำตอบ โดยการหาความรู้จาก web site หนังสือ เอกสาร หรือผู้รู้ ,หาพรรคพวก(เครือข่ายในการทำงาน) ,หาแนวคิด (สัมมนา ประชุม)จากนั้นทำการประมวล และลองนำผลจากการประมวลมาสัก 2-3 อย่างลองทำดู ถ้าผลไม่ออกมาแย่เกินไปก็ลุย ไม่ต้องกลัวผิดพลาด เพราะพันธกิจของเราคือ สร้างทางเลือก  จากการฟังบรรยายในวันนั้นจึงมีความคิดว่า การสร้างทางเลือกทางนวัตกรรมนั้น เราต้องทำการวิจัยและพัฒนาความรู้ ความสามารถของทุกอย่างในองค์กร รวมถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์ การพัฒนาทุนมนุษย์คือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจขององค์กรก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ตราบใดที่เรามีทรัพยากรทุนมนุษย์อยู่อย่างจำกัดขนาดนี้ การพัฒนาองค์กร การพัฒนาทางด้านนวัตกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวพันกันทั้งสิ้น ดังนั้นคำถามที่ว่าเริ่มอย่างไร จบอย่างไร ควรต้องกลับมามามองตรงจุดนี้ ดังที่อาจารย์สิริลักษณ์ ท่านเคยมาบรรยายไว้ว่า ถ้าเราคิดเป็นระบบได้ ตอบคำถาม How to ได้ เราก็จะรู้ได้ว่าเราจะปฏิบัติตนให้ดำเนินตนอย่างไรในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงขนาดนี้ การกลับไปที่จุดเริ่มต้นจะไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้ากลับไปแล้วสามารถนำพาองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จได้ กฤษณา ปลั่งเจริญศรี
  การบ้านวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๐             ก่อนเข้าเรียนในวันที่ ๒๕ ส.ค. ๕๐ อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มานั่งคุยกับนักศึกษาประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่ออบรมสั่งสอนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งมอบหมายงานให้ทำ term paper อีกชิ้นหนึ่ง พร้อมทั้งได้หยิบยกประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นลักษณะที่สืบทอดอำนาจในสายงานของตนเอง โดยไม่สนใจว่าจะมีฝีมือหรือเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรโดยส่วนรวมหรือไม่ ซึ่งอาจารย์ไม่เห็นด้วยและว่าน่าจะเป็นการแต่งตั้งข้ามสายงานในลักษณะ cross functional ได้ ดังนั้น จึงควรศึกษา succession plan ขององค์กรนี้            หลังจากนั้นอาจารย์ได้พาให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนและแนะนำวิทยากรคือ อาจารย์ ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่มาชี้แนะและเล่าประสบการณ์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาในเรื่องการจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรม (หัวข้อที่กำหนดไว้ใน course outline)               อาจารย์ศุภชัยให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม ว่าคือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม             เพราะฉะนั้น หากจะมีใครถามว่า การปฏิวัติ เป็นนวัตกรรมหรือเปล่า ก็คงต้องดู ๓ สิ่งหลัก คือ เป็นของใหม่หรือเปล่า? ใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์หรือเปล่า? ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมหรือเปล่า? ถ้าได้คำตอบว่า ใช่ ก็ถือได้ว่าการปฏิวัติเป็นนวัตกรรม นอกจากนี้ นวัตกรรมต้องเป็นเรื่องเชิงบวกและดี ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ดีไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม            ความคิดสร้างสรรค์นั้นอาจจะเก่าสำหรับผู้สร้างสรรค์ แต่ต้องใหม่สำหรับคนอื่น ซึ่งเราอาจจะ ไม่มีทางรู้เลยว่าความคิดนั้นใหม่หรือไม่ (ยกเว้นจะอ้างอิงกับมาตรฐานบางอย่าง) และไม่มีทางบอกได้เลยว่ามันมีคุณค่าหรือเปล่า จนกระทั่งผ่านการประเมินทางสังคม             แนวทางในการสร้างนวัตกรรมนั้น มีหลายทาง โดยอาจจะเริ่มจากการหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ การหาเครือข่าย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการสัมมนาหรือการประชุม ซึ่งแต่ละคนก่อนที่จะเริ่มก็มักจะมีปัญหาคาใจกันทั้งนั้น ซึ่งคำถามยอดฮิตอาจเป็นลักษณะ ดังนี้-          เราจะเข้าไปจุดไหนดี?-          เข้าไปทำอะไรดี?-          รู้ว่าจะทำอะไร แต่จะทำอย่างไร?-          ใครจะเป็นคนทำ?-          ความสามารถเรามีแค่ไหน ใครช่วยได้?อาจารย์ศุภชัยตั้งข้อสังเกตว่า เมืองไทยมีแนวคิดสร้างสรรค์เยอะ แต่ไม่สามารถ scale up ได้ ด้วยหลายสาเหตุ เช่น เราอยู่กันแบบสบายเกินไป ติดปัญหาเรื่องอาวุโส และผู้บริหารคนใหม่มักชอบรื้อของคนเก่า จากผลการสำรวจของ IBM Global CEO Survey พบว่านวัตกรรมนั้นเป็นมากกว่าผลิตภัณฑ์และการบริการ ความร่วมมือจากภายนอกเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ นวัตกรรมต้องเริ่มจากระดับสูง (innovation starts at the top) ดังนั้นการตัดสินใจของ CEO จึงเป็นเรื่องสำคัญ อาจารย์ศุภชัยกล่าวว่าสมองซีกซ้ายขวานั้นสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นแต่ไม่ค่อยใช้กันคือสมองตรงกลาง ซึ่งก็คือ การตัดสินใจ นั่นเอง ที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่กล้าตัดสินใจอาจารย์ได้แนะนำ Five Faces of CEO ซึ่งตีพิมพ์ใน Business Week, August 20-27, 2007 ประกอบด้วย1.      The Brain: ต้องเป็นคนเก่ง แนะนำคนอื่นได้2.      The Ambassador: ต้องรู้จักประเทศอื่น โดยเฉพาะคู่แข่งทุกระดับ คล้ายนักการทูต3.      The Dealmaker: ต้องสามารถสร้าง deal ให้เกิดขึ้นได้4.      The Conductor: ต้องยุยงหรือจับแพะชนแกะ ประสานงานให้เกิดมรรคผลได้5.      The Casting Agent: ต้องเลือกคนมาแทนตนได้ คล้าย ๆ กับเลือกดาราท้ายที่สุดก็สรุปว่า การที่จะสร้างสรรค์อะไรก็ตาม คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ซึ่งคุณลักษณะของคนในชาติที่พัฒนาแล้วจะต้องมีสิ่งต่าง ๆ  ประกอบด้วย o      จริยธรรมo      ความซื่อสัตย์o      ความรับผิดชอบo      เคารพกฎหมายo      เคารพสิทธิผู้อื่นo      รักการทำงานo      รู้จักการออมและการลงทุนo      ตั้งใจทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่o      แม่นยำและตรงต่อเวลานอกจากนี้ คนจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้แม้จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ยังน้อยกว่าความคิดสร้างสรรค์ ความรู้และการวิจัยเป็นพื้นฐานแต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศเติบโต ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงประกอบการต่างหาก ที่ทำให้ประเทศเติบโต ดังนั้น จึงต้องมีนวัตกรรม ซึ่งเป็นเสมือน โซ่ข้อกลาง มาเชื่อมต่อ มิเช่นนั้นเราจะไม่สามารถสร้างผลิตภาพ (productivity) และการแข่งขัน (competitiveness) ได้                                 รักษเกชา แฉ่ฉาย
สรุปการบรรยายครั้งที่ 9 (เสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2550) โดย อาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อInnovation Solution  เริ่มด้วยเกิดอะไรขึ้นกับโลกนี้  เล็กแต่รวย... ใหญ่แต่จน...  ประเทศใหญ่เต็มไปด้วยทรัพยากรแต่ยากจน ผิดกับบาง ประเทศที่เล็กไม่มีทรพยากรแต่รวยที่เป็นเช่นนี้เพราะประเทศใหญ่เหล่านั้นอยู่ได้ด้วยการขายทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่ประเทศเล็ก ๆ สร้างความร่ำรวยจากการใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ ะความหมายของ Innovation หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐ์กิจและสังคม เป็นอะไรที่ลงทุนน้อยแต่ส่งผลแรง ๆ ประเภทล้มช้างได้ ลักษณะของ Innovation ต้องมี process และมีเป้าหมาย ต้องเป็นสิ่งใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ต่อยอดจากสิ่งเก่า ไม่ใช่ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ  เกิดจากกระบวนการคิดและทำความพอใจให้คนอื่น การปฏิวัติจัดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก 3 ประเด็น การปฏิวัติเป็นของใหม่หรือไม่ ใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ Innovation เป็นตัวจักสำคัญทำให้ประเทศชาติเจริญเติบโต ความรู้และการวิจัยไม่ใช่ Key อีกต่อไป ความคิดสร้างสรรค์และการลงมือทำเป็นสิ่งที่สำคัญ ขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ SMEs ไทย ส่วนมากจะรับจ้างผลิตให้กับผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อ ตลาดจึงถูกกำหนดโดยผู้ว่าจ้าง  Business Week ประจำสัปดาห์นี้ ได้พูดถึง The Five Face of CEOS ต้องรู้นโยบายของรัฐของประเทศนั้น ๆ ประกอบด้วย 1 The Brain สมองคิด 2. The Ambassador ต้องมีประสบการณ์และรู้นโยบายในประเทศเหล่านั้น 3. The Dealmaker การทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจและคล้อยตาม 4. The Conductor ยุให้ลงมือปฏิบัติ ประเภทจับแพะชนแกะ 5. The Casting Agent เลือกคนที่เหมาะที่จะมาเป็นตัวแทนในอนาคต       อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคนสิงคโปร์ One Singaporean worker costs as much as… ว่าเทียบเท่ากับคนไทย 8 คน ดังนั้นประเทศไทยเราต้องเร่งพัฒนาปรับปรุง คุณลักษณะของคนในชาติที่พัฒนา คือ 1. จริยธรรม 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ 4. เคารพกฎหมาย 5. เคารพสิทธิของผู้อื่น 6. รักการทำงาน 7. รู้จักการออมและลงทุน 8. ตั้งใจทำสิ่งยิ่งใหญ่ 9. แม่นยำและตรงต่อเวลา ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมโลก คือความรู้ทำให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางกทำให้เกิด นวัตกรรม นวัตกรรมทำให้เกิดผลิตภาพ(Productivity) และ ผลิตภาพทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน 

Human Capital Managment Homework โดยนายปรีติ ปิติอลงกรณ์ เสนอ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ และ อ.ศุภชัย หล่อโลหะการ

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจในการจัดการนวัตกรรม เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ รวมทั้งทางด้าน HR ด้วย โดย อ.ศุภชัย ได้ให้เงื่อนไขของการสร้างนวัตกรรมว่า ต้องมีส่วนประกอบดงกล่าวเข้าไปด้วยคือ

1. ต้องเป็นของใหม่ (อาจเก่ามาจากที่อื่นก็ได้แต่มีBusiness Model ใหม่)

2. ต้องใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ (ทำสิ่งที่ลงทุนลงแรงน้อยๆ แต่สร้างผลกระทบได้มาก ๆ ใช้ความคิดเยอะๆ)

3. ต้องส่งผลดีกับ เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ

ซึ่ง อ.ศุภชัย ได้อธิบายให้ฟังว่า ที่จริงแล้ว นวัตกรรมเป็น Process ไม่ใช่ Product แต่ก่อให้เกิดเป็น Product ในภายหลัง และนวัตกรรมเกิดจากความคิดเป็นขั้นเป็นตอนไม่ใช่เกิดจากอุบัติเหตุ และการทำวิจัยภายในหน่วยงานเพื่อสร้างนวัตกรรมนั้น ปัจจุบันอาจไม่ทันโลกทันเหตุการเนื่องจากตอนนี้มี Open Innovation Model คือ นวัตกรรม Out Source จากภายนอกได้ โดยที่ งานวิจัยเป็น Research Driven ส่วน นวัตกรรมเป็น Market Driven ยกตัวอย่างบ้านเราเอง คิดอะไรไหม่ๆ ได้เสมอแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรือนำไปปฏิบัติได้แต่ Scale Up ไม่ได้ เพราะ นวัตกรรมที่เห็นผลสำเร็จในเชิงพานิชย์และสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ นอกจากความคิดสร้างสรรค์แล้วยังต้องการความเป็นผู้ประกอบการด้วย

นวัตกรรมนั้นคือตัวเชื่อมโยงระหว่างความรู้และการทำให้เกิดผล โดยที่คนที่ดีและการจัดการที่ดี จะนำไปสู่นวัตกรรมที่ดี ซึ่งในแต่ละประเทศคนและการจัดการมีความสำคัญกว่าทรัยากรที่มีในประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากๆ กลับเจริญน้อยกว่าประเทศที่มีทรัพยากรน้อย แต่มีคนและการจัดการที่ดี

Human Capital Managment Homework โดยนายปรีติ ปิติอลงกรณ์ เสนอ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ และ อ.ศุภชัย หล่อโลหะการ

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจในการจัดการนวัตกรรม เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ รวมทั้งทางด้าน HR ด้วย โดย อ.ศุภชัย ได้ให้เงื่อนไขของการสร้างนวัตกรรมว่า ต้องมีส่วนประกอบดงกล่าวเข้าไปด้วยคือ

1. ต้องเป็นของใหม่ (อาจเก่ามาจากที่อื่นก็ได้แต่มีBusiness Model ใหม่)

2. ต้องใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ (ทำสิ่งที่ลงทุนลงแรงน้อยๆ แต่สร้างผลกระทบได้มาก ๆ ใช้ความคิดเยอะๆ)

3. ต้องส่งผลดีกับ เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ

ซึ่ง อ.ศุภชัย ได้อธิบายให้ฟังว่า ที่จริงแล้ว นวัตกรรมเป็น Process ไม่ใช่ Product แต่ก่อให้เกิดเป็น Product ในภายหลัง และนวัตกรรมเกิดจากความคิดเป็นขั้นเป็นตอนไม่ใช่เกิดจากอุบัติเหตุ และการทำวิจัยภายในหน่วยงานเพื่อสร้างนวัตกรรมนั้น ปัจจุบันอาจไม่ทันโลกทันเหตุการเนื่องจากตอนนี้มี Open Innovation Model คือ นวัตกรรม Out Source จากภายนอกได้ โดยที่ งานวิจัยเป็น Research Driven ส่วน นวัตกรรมเป็น Market Driven ยกตัวอย่างบ้านเราเอง คิดอะไรไหม่ๆ ได้เสมอแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรือนำไปปฏิบัติได้แต่ Scale Up ไม่ได้ เพราะ นวัตกรรมที่เห็นผลสำเร็จในเชิงพานิชย์และสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ นอกจากความคิดสร้างสรรค์แล้วยังต้องการความเป็นผู้ประกอบการด้วย

นวัตกรรมนั้นคือตัวเชื่อมโยงระหว่างความรู้และการทำให้เกิดผล โดยที่คนที่ดีและการจัดการที่ดี จะนำไปสู่นวัตกรรมที่ดี ซึ่งในแต่ละประเทศคนและการจัดการมีความสำคัญกว่าทรัยากรที่มีในประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากๆ กลับเจริญน้อยกว่าประเทศที่มีทรัพยากรน้อย แต่มีคนและการจัดการที่ดี

นายชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
HRM : INNOMAN            จากการบรรยายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2550 ของ อาจารย์ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน INNOVATION ของประเทศไทย ผมขอสรุปเสนองานบรรยายว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คนยุคใหม่ต้องมี INNOVATION เพราะนวัตกรรมจะพัฒนาระบบคิด ระบบการทำงาน ระบบผลิตภัณฑ์และระบบบริการให้สนองตอบต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคโดยเพิ่มคุณค่าทั้งทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ลดต้นทุนผลผลิตใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้อย่างดียิ่ง            นวัตกรรมจำเป็นต้องมีและต้องเกิดเมื่อทรัพยากรมีจำกัด แต่พลโลกเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด นวัตกรรมจะเกิดไม่ได้เลยถ้าทุนมนุษย์ด้อยคุณภาพ เพราะนวัตกรรมจะเกิดจากการคิดคำนึง ใคร่ครวญ สงสัย และใจทุ่มเท เพื่อหาทางออกที่ใหม่แปลก และเป็นผลประโยชน์เชิงบวก การสร้างคนที่มีคุณภาพจึงสำคัญยิ่งในโลกที่พัฒนาแล้วทุนมนุษย์จะมีบริบทในด้าน 1) จริยธรรม 2) ความซื่อสัตย์ 3) ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 4) เคารพกฎหมาย 5) เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น 6) รักการทำงาน 7) รู้จักการออมและลงทุน 8) ตั้งใจทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ 9) แม่นยำตรงเวลา อย่างครบถ้วน ทำให้คนในส่วนของโลกที่เจริญคิดแต่เรื่องใหม่ ๆ ของใหม่ ๆ ซึ่งอาจพัฒนาจากของเดิม ๆ ก็ได้โดยทำให้ดีขึ้น            อะไรที่จะเป็นนวัตกรรมก็คงต้องมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) ของใหม่ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน มีกระบวนการ 2) ใช้ความรู้ให้เกิดการสร้างสรรค์ 3) ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมเชิงบวกทุนมนุษย์จะสร้างนวัตกรรมจึงต้องมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกว่าจะมีทิศทางใดทั้งทรัพยากร เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เพื่อการปรับสมดุลของการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณภาพสูงสุด ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องคิดใหม่ ทำใหม่ คิดนวัตกรรม คิดนอกระบบเพื่อจะได้ให้ผู้ร่วมงานได้เกิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา ระบบโครงสร้าง นโยบาย วิสัยทัศน์ ซึ่งต้องตอบสนองให้ทุนมนุษย์ได้คิดตลอดเวลาเพื่อหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ บริษัทในยุโรปและอเมริกาจะจัดระบบการทำงานและกระบวนการ ให้ทุนมนุษย์มีอิสระ และคิดได้อย่างกว้างขวาง โดยมีแรงกระตุ้นทั้งเงินและสิ่งที่ไม่เป็นตัวเงิน แต่ในประเทศไทยเราคงผลิตนวัตกรรมได้น้อยอาจเป็นด้านระบบการศึกษา ระบบคิด ระบบสังคม ระบบสิ่งแวดล้อมที่ไม่สอดคล้องหรือท้าทายจึงทำให้คนไทยหัดคิดเรื่องนวัตกรรมน้อยก็ได้ อย่างไรก็ตามนวัตกรรมจะนำสังคมแน่นอนเพราะการจัดการ การบริหาร การผลิต การตลาด ฯลฯ จะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อลูกค้าที่มีพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป ทุนมนุษย์ในประเทศไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่มีความเป็น INNOMAN มากขึ้นเพื่อก้าวไปให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลง             ขอบคุณครับ : นายชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
จากการฟังบรรยายเมื่อวันที่ 25 สค.2550ของ ท่านอาจารย์  ศุภชัย หล่อโลหะการได้บรรยายให้ความรู้ในบรรยากาศที่ดีมากได้รับเกร็ดความรู้ในการดำเนธุรกิจ เกล็ดในการบริหารคน รูปแบบในการทำงาน ท่านสามารถถ่ายทอดได้อย่างมีศิลปะ ทำให้ได้รู้ว่านวัตกรรมต้องใช้ ความรู้ใหม่ เป็นของใหม่ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมไม่มีสตางค์ก็ล้มช้างได้                          -นวัตกรรมจะเป็นเหตุบังเอิญที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่นวัตกรรม                          -ความรู้สำคัญมากแต่ความคิดสร้างสรรค์สำคัญกว่า                          -ความรู้กับการวิจัยไม่ใช่       KEY ประเทศจะเจริญเติบโตได้ด้วยความดิคสร้างสรรค์และต้องลงมือทำจริง                          ได้แนวคิดเกี่ยวกับการเกาะกระแสเศรษฐกิจแล้วโหนตัวขึ้น เช่นเสื้อเหลืองนาโนเทคโนโลยี  ทำไมต้องเป็นเสื้อเหลืองเพราะจับทางกระแสนิยมเสื้อเหลืองถูกทางบวกับเทคโนโลยีเลยทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว                          การทำธุรกิจ คิดในระดับไมโครเป็นภาพไมโครต่อกับไมโครทำระดับเล็กให้เข้มแข็ง                          ถ้าจะเป็นซีอีโอต้องรู้นโยบายของรัฐนั้นๆ                          ถ้าจะเป็นนวัตกรรมต้องขายแบบใหม่ คิดแบบสร้างสรรค์ ต้องใช้ประสบการณ์                          ขอบคุณท่านอาจารย์ท่านอ.ศุภชัยหล่อโลหะการ และท่านศ.ดร.จีระ ที่ได้นำแต่สิ่งที่เป็นความรู้เชิงข้ามศาสตร์มาให้นักศึกษามาโดยลอด                                                                                    นายสรณิต  พุ่มพฤกษ์
Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 10 Innovation (25-Aug-07)

Innovation Solutions.

อ.ศุภชัย  หล่อโลหการ

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

            Innovation หรือ นวัตกรรม เป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรมาก แต่ก็สามารถสร้างนวัตกรรมได้   หากประเทศไทยมีนวัตกรรมของตัวเอง เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรม เราจะได้ไม่ต้องเอาจ้างผลิตสินค้า  ถ้าเราคิดค้นนวัตกรรม และจดสิทธิบัตร นำมาผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้าเราเอง ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าขึ้นไป

 

คำจำกัดความระหว่างวัตกรรม กับ ปฎิวัติ จาก อ.ศุภชัย  หล่อโลหการ

1.การปฎิวัติเป็นของใหม่ หรือไม่?

2.การปฎิวัติใช้ความรู้ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ หรือไม่?

3.การปฎิวัติเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมในแง่บอก หรือไม่?

 

ตัวอย่างของ นวัตกรรม  เช่น

การจี้เครื่องบินชนตึก World Trade ก็เป็นนวัตกรรมด้านบวก ของ อัลเควดา แต่ถือเป็น นวัตกรรมลบของอเมริกาและพันธมิตร.

 

การออกเทปร่วมกันของ Bird ธงไชย และ เสก Loso ก็เป็นนวัตกรรม.

 

แต่การแสดงโขนประยุกต์ร่วมกันของ เสก Loso และ น้อยวงพรู ที่ อเมริกา  ไม่แน่ใจว่าเป็นนวัตกรรมหรือไม่?

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงได้รับการยกย่องเป็น พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย เนื่องจากทรงคิดนวัตกรรมออกแบบ กังหันน้ำชัยพัฒนา, ฝนเทียม และ ริเริ่มสิ่งอื่นๆด้านพลังงานและการอนุรักษ์ อีกมากมาย.

 

นวัตกรรม เป็น สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

นวัตกรรม ไม่เพียงแต่มีคุณค่า แต่คนอื่นๆในสังคมต้องสามารถนำไปใช้ได้ด้วย.

 

นวัตกรรมผสมผสาน

-    เกิดจากการผสมผสานแนวคิดที่แตกต่างกัน

-    ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเท่านวัตกรรมเฉพาะทาง

-    เกิดจากการเชื่อมโยงความคิดต่างๆ เข้าด้วยกันในทางที่ไม่ธรรมดา

-    เป็นผลจากการเคลื่อนย้ายของผู้คน

-    การบรรจบกันของศาสตร์สาขาต่างๆ

-    การประมวลผลที่ล้ำยุค

 

แนวทางการสร้างนวัตกรรม

1.แก้ปัญหาคาใจ

            - เข้าไปจุดไหนดี?

            - เข้าไปทำอะไรดี?

            - รู้ว่าทำอะไร แต่จะทำอย่างไร?

            - ใครจะเป็นคนทำ?

            - ความสามารถเรามีแค่ไหน ใครช่วยได้?

2.แนวทางการแสวงหาโครงการ

            การหาความรู้           

                        - Website

                        - หนังสือ,เอกสาร

                        - ผู้รู้

            หาเครือข่าย

            หาแนวคิด

-    สัมมนา,ประชุม

3.การประมวลผล = Knowledge + Paradigm Shift + Investment + Work Process + Network.

 

เพราะฉะนั้นการที่ประเทศไทยจะมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆได้เอง  อย่างสำเร็จและหยั่งยืนนั้น เราจะต้องผนวกเรื่องการจัดการ HR เข้ากับ Innovation  ในภาพของ Macro Economic นั้นเพื่อให้ประชากรของประเทศมีความรู้ ความคิด สติปัญญา ในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยน์สูงสุด.

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่  10 เรียนวันเสาร์ที่  1  กันยายน  2550  กับท่าน อ. พจนารถ ซีบังเกิด  PresidentHuman Capital Club (Thailand)นักศึกษาชื่อ  นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา   เรื่อง Performance Management System

For Successful Manager..........

ในวันนี้นักศึกษาปริญญาเอกได้มีโอกาสพบกับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึง ทุนทางจริยธรรม และทุนทางความสุข  ซึ่งท่านได้มามอบความรู้จากประสบการณ์ของท่าน ให้มองการเปลี่ยนแปลง และปัญหาของ ภาค Macro เพื่อนำมาบริหาร Change ทั้งในด้านของ โอกาสและ ภัยคุกคาม การเรียนปริญญาเอกต้องมี Freedom (Development is freedom)

และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
           - Reality มองความจริง
           - Relevance  สอดคล้อง ตรงประเด็น
หลังจากนั้นก็เป็นการเริ่มเข้าสู่บทเรียนของอาจารย์พจนารถ.....Performance Management Systemอาจารย์พจนารถเริ่มต้นด้วย ประโยคที่ว่า What make them do that they did … และได้ยกตัวอย่างของ Egg Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่ไม่มีสาขาเลย ใช้ระบบ E-banking ทั้งหมด แต่กลับประสบความสำเร็จได้อย่างดี ชวนให้นักศึกษาปริญญาเอกได้กระตุ้นต่อมการคิดตั้งแต่โหมโรงเลยทีเดียว ทุกองค์กรอาจเขียนกลยุทธ์เอาไว้สวยหรูอย่างไรก็ได้ แต่การที่จะทำให้เป็นรูปธรรมได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลากหลายปัจจัยและก็เกี่ยวของกับเรื่องการบริหารผลการปฏิบัติงานอย่างหนึ่งด้วย
Management
  เป็นการพยายามสนับสนุน ให้คนอื่น ทำงานหรือภารกิจสิ่งใดให้สำเร็จ องค์กรสมัยใหม่ก็มีการนำเอาแนวคิดของการบริหารเชิงกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานขององค์กร แต่ในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ขององค์กรต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะประสบปัญหา ในเรื่องการขาดประสิทธิภาพในการบูรณาการผลการปฏิบัติงานของพนักงาน หน่วยงาน และองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้  หลายครั้งมีการประเมินผลการทำงานที่ทำให้พนักงานเจ็บปวดจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมของผู้ประเมิน จึงมีการพัฒนากระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) ซึ่งเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในอดีตเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้มาเป็นกระบวนการบริหารผลการปฎิบัติงาน (Performance Management)การบริหารผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กลยุทธ์ หรือ กระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานอย่างเข้มข้น  แทนที่บทบาทของผู้บังคับบัญชาจะทำหน้าที่เป็น "ผู้พิพากษา" ผลการทำงานของลูกน้อง ก็เปลี่ยนไปเป็น  "ผู้ฝึกสอน" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดี  และนี่คือ ความแตกต่างระหว่างการประเมินผลการปฏิบัติงานกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน   และแนวทางของการบริหารผลการปฏิบัติงานก็เป็นกลยุทธ์ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ที่กระบวนการปฏิบัติงานจะมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือ และปรับปรุงให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานบรรลุ เป้าหมาย และดัชนีชี้วัดที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการกำหนดเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดในการปฏิบัติงานของพนักงานจะต้องให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรนั่นเอง PM Process : 

1. Performance Planning / Goal-Setting   นั่นคือ การกำหนดวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ของพนักงานให้ชัดเจนก่อน แต่ก็จะมีตัวช่วยทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ Training & Development   

2. Continuous Coaching and Feedback    นั่นคือต้องดู ขีดจำกัดความสามารถของพนักงานว่า ดีหรือไม่ดี  ถ้าไม่ดีพอก็ต้องแจ้งให้ทราบเลย ตัวช่วยทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ Mentoring / Counseling

3. Performance Review and Evaluation  นั่นคืออาจใช้สูตร 90/90 คือ 90 วัน /90 นาทีในการใช้เวลาคุยกับลูกน้อง ตัวช่วยทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ Pay & Recognition

4. Corrective and Adaptive Action     Career Development นั่นคือการปรับวิธีการทำงานให้สำเร็จตามกลยุทธ์ ไม่ควรไปปรับกลยุทธ์ ตัวช่วยทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ  การพัฒนาในอาชีพ

การตั้งเป้าหมายที่ดี  SMART

Specific

Measurement

 Attainable

Relevant

Timebound

โดยมี  Key performance indicator  เป็นตัวปรับพฤติกรรมการทำงาน แต่ไม่ควรมี  KPI  แค่เพียงตัวเดียวต้องมีหลายตัวDashboard Metrics  ในการวัดความแตกต่างของบุคคลในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย

Quantity

Quality

Cost

Speed

Compliance

การบริหารผลการปฏิบัติงานนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของคนทำงาน และเป็นเรื่องที่ต้องมีกรอบทิศทางที่ออกแบบมาดี และเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กร เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดี เกิดความยุติธรรม เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องอธิบายมากเพราะเป็นระบบที่มีการสื่อสารกันด้วยความเข้าใจในทุกส่วนขององค์กรเป็นอย่างดีมาแล้ว  เช่นการให้ผลตอบแทนเป็นเงินเดือนก็จะพิจารณาจาก คุณค่าของพนักงานและ บทบาทหน้าที่ตลอดจนผลการปฏิบัติงานของพนักงาน (เป็นคนดีประกอบกับเป็นคนเก่งด้วย)  ส่วนเรื่องของเงินโบนัส ก็เป็นการตอบแทนให้กับ คนที่นอกจากจะเป็นคนดีประกอบกับเป็นคนเก่งแล้วยังเป็นคนที่มีผลงานอีกด้วย ก็เป็นเรื่องที่มีความชัดเจนและเหมาะสมดีค่ะ

าจจะใช้ เครื่องมืออีก 2 ตัวมาพิจารณาได้เช่น

1. Performance Results Rating Table

2. Competency Rating Table

นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]

“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”  

 

Dear Prof. Chira,

On Saturday 1st September, 2007 we had k. Pojchanart C-Bangkerd as the instructor.

K. Pojchanart shared the class on "Performance Management". The essential factors in the organization which lead lead to the achievement were discussed in class.

The instructor showed us the illustration of the Grand Canyon, how each ending are on separate direction. There are no meeting point.

This is one of the classic example of how we can adapt this piece of beauty of the nature into the organization. How the management or the leaders do not have the "meeting points" with their employees or "doers".

This is why the Performance Management has to take the important roles. The PM are involving the transaction of :

Mission - vision - goals - objecties - strategies- tactics - roles - practices relationships.

The leader of organization must verify "who we are", "where are we going" and "what must happen we get to that point?".

Strategies/tactics are how are we going to make it happen.

Roles & Practices are how each individuals responsible for taking action of working together, supporting one another and make it to that point together.

PM is one the tool or excercise in "getting better results". Focusing is a must. We must be able to focus on what we need to do which on the same direction and allignment of the firm's strategies and to reach the goals.

The PM Process can not be success without the training & development, mentoring/counseling, pay & recognition and career development.

Along the line of the process there are supporting factors needed to be happening at the same time. 

The instructor also shared her view on "feedback" and the "Dash Board Metrics"

The feedback can be in both negative and positive ways. It depends on the situation and each individual at times.

Dash Board Metrics are process of :

Quantity, quality, cost, speed and compliance.

The important on this metrics can become the Key Performance Indicators for the organization.

It was another fruitful and very much of learning and sharing. We are looking forward to have k. Potchanart as our instructor again in near future.

Thank you very much.

Best regards,

Sarah (NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM

2 September, 2007

การบ้านครั้งที่  10เรียนวันเสาร์ที่  1  กันยายน  2550  กับท่านอาจารย์  พจนารถ  ซีบังเกิดPresident of Human Capital Club (Thailand)นักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี ในเวลา  9.00 น.  ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้สร้าง  Learning  Community  ในหลายประเด็น  เริ่มตั้งแต่ย้ำเตือนกับนักศึกษาว่า  สามารถหาความรู้จากท่านได้มากเพราะ  Frontier  of  Knowledge  และ  Negotiation  Cost  กับท่านน้อยลงมากเนื่องจากเราเป็นนักศึกษาของท่าน  และเราต้องได้ความรู้จากกันและกันให้คุ้มกับค่าเสียโอกาสในชีวิตของทุก ๆ คน  โดยเริ่มประกายความคิดกันที่ทฤษฎี  Independent  Freedom  ไม่ต้องเป็น  Office Mentality  แต่เป็น  Office  Virtual  ท่านให้ความเป็นห่วงการอพยพแรงงาน  ต้นเหตุของปัญหาสังคม  และประเทศ ควรเร่งรัดการแก้ปัญหาขนส่งมวลชนอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว  เพราะคนไทยมีค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางสูงมาก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ  โดยเฉพาะคนจน  และยังมีอันตรายจากปํญหาอาชญากรรมสูงด้วย  น่าจะมีการพัฒนาต่างจังหวัด  (Rural  Development)  เพื่อให้  Rural  Sector  help  Big  Sector    นั่นคือเราต้องช่วยกัน  Think  out  of  the  Boxขณะเดียวกันท่านยังให้คำแนะนำว่า  HR  พันธุ์แท้ต้องไม่หยุดสำรวจตัวเอง  การประสบความสำเร็จก็ต้องไม่ประมาท  และต้องดูวิถีชีวิตตนเอง  อยู่ด้วยความพอเพียง  ควรมองภาพใหญ่  แล้วทำในภาพย่อยของแต่ละคน  แต่ละองค์กร  โดยใช้ทฤษฎี  2R’s  เพื่อให้เกิด  Reality  and  Relevance  เพื่อให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนของประเทศเรา สำหรับหัวข้อที่ศึกษากว่า  2  ชั่วโมง  (10.00 – 12.30  น.)  คือ  Performance  Management  System  for  Successful  ได้ให้สาระความรู้และความน่าสนใจอย่างยิ่งในด้านการจัดการทุนมนุษย์  (Human  Capital  Management)   ทั้งในแง่  Human  Resource  Management  และ  Human  Resource  Development  เนื้อหาที่ศึกษามีดังนี้อาจารย์  พจนารถ  เริ่มต้นด้วยการพูดถึงองค์กรต้องมี  Vision  and  Mission  ให้ชัดเจน  เพื่อเป็นธง  นำไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไป  เช่นธนาคารที่ต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี  เน้นลูกค้า  Corporate  ก็ไม่จำเป็นต้องมีสาขา  เพราะการตั้งสาขา  1  แห่งในเขตเมือง  ธนาคารแห่งประเทศไทยมีระเบียบให้ต้องเปิดสาขาในต่างจังหวัดที่ยังไม่เจริญ  หรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจ  เช่นที่แม่ฮ่องสอน  รวมถึงใน  3  จังหวัดภาคใต้  ซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน  จากนั้นอาจารย์ได้ถามความเห็นนักศึกษาด้วยการฉายภาพยนตร์สั้น  3  เรื่อง  ที่เป็นพฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ ในองค์กร  มีทั้งการที่หัวหน้าสั่งเป็นอาจิณ  ลูกน้องทำตามสั่ง  คิดเองไม่เป็น  มีทั้งที่คนองค์กรเร่งรีบ  กระตือรือร้น  เพื่อสร้างความสุข  และความประทับใจให้ลูกค้า  แล้วมาร่วมกันหาข้อสรุปได้ดังนี้Vision  and  Mission  เป็นทั้ง  Values  &  Culture  ขององค์กร  ดังนั้นทุกคนต้องรู้ว่า  เราคือใคร  และเราต้องการไปที่ไหนGoal  and  Objective  ทุกคนต้องตระหนักว่า  อะไรจะต้องเกิดกับเราบ้าง  เพื่อการไปให้ถึง  Vision  and  Mission”Strategies  and  Tactics  คือการที่คนต้องร่วมมือกันในความหมายของ  เราจะร่วมมือกันอย่างไร  เพื่อให้เกิดสิ่งที่พวกเราต้องการ  Roles  ,  Practices  and  Relationship  คือ บทบาทในส่วนย่อยที่รับผิดชอบงานของแต่ละคน  รวมถึงในการประสาน  ร่วมมือกัน  สนับสนุนต่อ  เพื่อนร่วมงาน  และเพื่อนร่วมองค์กร      อาจารย์เปรียบเทียบให้เห็นว่า  กรณีที่องค์กรไม่สามารถกำหนด  Vision  and  Mission  ได้เอง  ยังสามารถว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญการเขียนแผนกลยุทธ์มาเขียนแผนให้ได้เลย  หากแต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือการ  “Buy in  &  Walk  the  Talk”    เพื่อให้คนทั้งองค์กรรู้ (Know)  ตระหนัก (Feel)  และให้ความสำคัญ (Believe)  จนนำไปสู่การปฏิบัติจริง  (Act)   ตัวอย่างในอีกกรณีหนึ่งก็คือ  แกรนด์  แคนยอน  ในธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร  ไม่มีใครรู้  แต่ในองค์กรหน้าผาที่ยิ่งใหญ่เปรียบเหมือนผู้นำ  ในอีกฝั่งหนึ่งของโตรกผานั้น  เทียบได้กับพนักงาน  ทั้ง  2  ฝั่งไม่เคยบรรจบกันได้  เพราะเป็นธรรมชาติที่ต้องทำหน้าที่ที่ต่างกันอย่างมากมาย  หากแต่องค์กรสามารถสร้างเกาะกลางน้ำ  หรือสะพานเชื่อมระหว่าง  2  ฝั่งได้  ด้วยคนที่เรียกว่า  ผู้จัดการ เพื่อมาทำหน้าที่ทางด้านการ   Management   คำจำกัดในภาษาอังกฤษในที่นี้  คือ  Getting  things  done  through  and  work  with  other  people.นั่นเอง  ผมเคยทราบมาว่าการที่ผู้บริหารให้ความเป็นธรรมช้า  ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ๆ ด้วยแล้ว   ก็คือการปฎิเสธความยุติธรรม  นั่นเอง  ทำให้   Performance  Management  System  for  Successful  ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ Performance  Management  Process  ที่ดีต้องมีลักษณะเป็นวงจร  ประกอบด้วยPerformance  Planning  (Goal  Setting)  ควรมีการพิจารณาทั้งในแง่ผลงาน  และพฤติกรรม ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะงาน  และจุดเน้นขององค์กร  ซึ่งคนทุกคนควรได้รับการ  Training  Development  ทุกปีไม่ว่าจะมีผลงาน และพฤติกรรมอย่างไร  อาจารย์เสนอสูตร  90  วัน  คุยกัน  90  นาที  บมจ.  ปูนซิเมนต์ไทยใช้สูตร  ปีละไม่น้อยกว่า  7  วันไม่อั้นงบประมาณ  แต่  ข.ส.ม.ก.  ใช้สูตรปีละ  784  บาทต่อคน  จึงไม่ต้องบรรยายความต่อว่า  Performance  ทำไมถึงต่างกันContinuous  Coaching  &  Feed  back  โดยการจัดให้มี  Mentor  Mentee  ประการสำคัญก็คือ  การ  Feed  back  ต้องมีการแจ้งเป็นระยะPerformance  Review  &  Evolution  การประเมินผลงาน  เพื่อการ  Pay  &  Recognition  เป็นสิ่งที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของผู้ถูกประเมิน  และต่อพนักงานคนอื่น  ต้องรอบคอบว่าองค์กรของเราเหมาะจะใช้วิธีใดCorrective  &  Adaptive  Action  เป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้คนที่สมควรได้รับความก้าวหน้าในอาชีพการงาน  อันเนื่องจากความพยายามในการทำงาน  มุ่งมั่น  ทุ่มเท  เสียสละ  ร่วมมือกับเพื่อนร่วมงาน   ประเด็นถัดมาคือ  เป้าหมายที่กำหนดให้กับพนักงานทุกคน  ทุกระดับ  ต้อง  Challenge  ห้ามปรับเป้าหมายให้ง่ายเกินไป  การทำงานสบาย ๆ ก็บรรลุเป้าหมายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง  และก็ต้องไม่ยากเกินกว่าที่ทรัพยากรขององค์กรจะทำได้ด้วย  ข้อคิดที่สำคัญมากก็คือ  ต้องปรับวิธีการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  โดยผ่าน   Performance  Management  Process Smart  Goal  ประกอบไปด้วยS  Specific  เป้าหมายต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจง  และเกี่ยวข้องกับงาน M  Measurable  สามารถวัดได้  มีวิธีการวัดที่เหมาะสม  เช่นอาจต้องแยกวัดยอดขายที่เพิ่มขึ้น  ว่าเพิ่มจากลูกค้าเก่า  หรือลูกค้าใหม่A  Attainable  เป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้  แต่ไม่ง่ายเกินไปR  Relevant  สอดคล้องกับสถานการณ์ที่องค์กรเผชิญอยู่T  Timebound  มีกรอบเวลาที่ชัดเจน ในส่วนสุดท้าย  อาจารย์กรุณาให้ข้อคิดร่วมกับการแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักศึกษา  ในแง่ที่ว่าหน่วยงานและระบบราชการ  ต้องชัดเจนในเรื่อง  K.P.I.  ตั้งแต่หน่วยงานผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบ  การประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เป็นผู้รู้  รวมถึงมาตรวัดในแต่ละด้าน  เช่น  Quality  ,  Quantity  ,  Cost  ,  Speed  ,  Compliance เป็นต้น  จนได้ข้อสรุปว่า ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเก่ง  ใครเป็นคนมีผลงาน  ใช้อะไรวัดบ้าง  คนดี  คนเก่ง สมควรได้รับเฉพาะ  Basic  Benefit  หรือไม่ และคนประเภทมีผลงานเด่น  สมควรได้รับ  Premium  Benefit  แม้จะไม่ใช่คนดีหรือไม่   ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์  พจนารถ  ซีบังเกิด  ที่กรุณาสละเวลากว่า   2 ชั่วโมง เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการทุนมนุษย์ ให้เอกสารข้อมูลการบริหารผลการปฎิบัติงาน  (Performance  Management)  ที่เขียนโดย  ชัยทวี  เสนะวงศ์  และให้ข้อมูลใน  Handy  Drive  อีกมากมาย  รวมทั้งให้การสนทนาอย่างเป็นกันเองที่เต็มไปด้วยทั้งสาระและเกร็ดความรู้ ในมื้ออาหารกลางวันครับ    

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 11 Human Capital (1-Sep-07)

Performance Managemen System for Successful Manager.

Aj.Potchanart  Seebungkerd

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

Case Study : การ FeedBack

            บอกเขาว่าสิ่งที่คุณทำอย่างนี้ดีแล้ว, อย่างนี้ก็ดี, อะไรๆคุณก็ดีหมด เขาจะรู้สึกมีคุณค่าถ้าคุณเพียงแต่ทำตรงนี้ให้ดีขึ้นอีก คุณจะพัฒนาเป็นคนเก่งกว่านี้

หรือ Perfect เลยแหล่ะ

            การ FeedBack อย่างนี้ นุ่มนวล น่าฟัง น่าปฎิบัติตาม น่าเลื่อมใส ศรัทธา.

ผู้นำต้องฝึกตรงนี้ไว้.

 

Case Study : การดุลูกน้อง ที่ไม่ควรทำ

            เช่น คุณมีลูกน้องที่เป็น Rising Star คุณรักเขามาก ทุ่มเท Energy ให้กับเขามาก.

อยู่มีวันหนึ่ง ลูกน้องคนนี้เกิดทำอะไรผิดพลาดขึ้นมา.

            คุณเกิดความไม่พอใจ และผิดหวังมาก ดุลูกน้องคนนี้รุนแรงมาก. พูดว่า คุณผิดหวังมากในการทำงานของเขาครั้งนี้   ลูกน้องคนนี้จะรู้สึก Fail มาก ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเคยทำให้เขามาไม่มีความหมายต่อเขาเลย  ในที่สุดคุณก็ไม่สามารถ Promote เขาขึ้นมาได้อย่างที่คุณได้เคยหมายมั่นปั่นมือเอาไว้.

 

การติชมลูกน้อง.

การชมให้คุณใช้ U Message “You have done a good job”.

ที่ปิดงานได้เพราะคุณ , คุณเป็นกำลังสำคัญของบริษัทฯ , คุณเป็นตัวอย่างที่ดีมาก.

 

การติให้ใช้ I Message

ผมวางแผนงานไม่ดีเอง ทำให้คุณไม่สามารถต่องานจากผลได้ ,

คุณเป็นคนเก่งเป็นหน้าเป็นตาของบริษัทฯ  อย่าทำอย่างนี้เลย ผมรู้สึกไม่ดีเลย อยากให้ช่วยปรับปรุง.

 

หน้าที่ของ Manager คือคนที่ Manage คนอื่นให้ทำงาน, Manager Motivate คนให้ทำงานได้บรรลุเป้าหมาย, Manger ที่ดีจะเป็นมากกว่า Manager แต่เป็น Leadership ขององค์กร.

การบริหารคนให้ทำงานได้ ไม่ใช่ปรับเป้าหมาย แต่ต้องปรับวิธีการบริหาร.

            เช่น บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขาย 100 ล้านบาท/ปี คุณเป็นหัวหน้า แต่ลูกน้องไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้า  เราไม่ควรปรับเป้าของยอดขายลง เพื่อให้ลูกน้องทำได้ แต่เราควรปรับวิธีการบริหารงานให้ลูกน้อง Motivate ลูกน้องให้สามารถทำได้ตามเป้า.

 

The Road to High Performance

-    Performance Planning

-    Coaching

-    Feedback

-    Development

-    Performance Review & Appraisal

-    Rewarding

-    Etc.

 

Case Study การทำ Reward

            คนที่ Generation ต่างกันมักมีความต้องการที่ต่างกัน  คุณจะต้องสร้างแรงจูงใจที่ต่างกัน เช่น เด็กจบใหม่ไฟแรง  มักต้องการเข้ามาหาประสบการณ์ คุณจะให้เขาอยู่กับองค์กรเราตลอดไปคงเป็นไปไม่ได้  คุณต้องศึกษาว่าเขาต้องการอะไรให้ในสิ่งที่เขาต้องการ.

            การกรณีคนที่ทำงานมาหลายที่ค่อนข้างมีอายุมีประสบการณ์แล้ว ความต้องการของเขาจะต่างกับเด็กจบใหม่  แรงจูงใจที่คุณจะสร้างให้เขาก็จะแตกต่างจากเด็กจบใหม่คุณจะต้องศึกษาให้ทราบก่อนว่าเขาต้องการอะไร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ตรงประเด็น เกาตรงทีคัน

            ตัวอย่างความต้องการ เพื่อสร้างแรงจูงใจ

-    บางคนต้องการประสบการณ์.

-    บางคนต้องการเงินเดือนมากในระดับหนึ่ง.

-    บางคนต้องการการยอมรับ.

-    บางคนต้องการความสบายใจในการทำงาน.

 

 

SMART  Goal การตั้งเป้าหมายที่ดี

Specific                                                 เฉพาะเจาจง

Measurable                                           สามารถวัดได้

Attainable                                             สามารถทำให้สำเร็จได้

Relevant                                                สอดคล้องกับความเป็นจริง

Time bound                                          กำหนดระยะเวลา

 

การ Link Sales ต้องมี Tactic (ต้องมีการ Training) ตัวอย่าง เช่น

ในร้านขายยา Booth  พนักกงานของ booth ได้รับการ Training เรื่อง Link Sales ให้ลูกค้าไม่รำคาญในการขายของพวกเราหล่านั้น  เมื่อลูกค้าที่เดินในร้าย Booth กำลังเลือกหาสินค้าพวกงานของ Booth จะพยายามช่วยลูกค้าหาสินค้า และแนะนำสินค้าไปด้วยในตัว แต่จะไม่ยัดเยียดสินค้าอื่นให้ลูกค้าแทน ตัวที่ลูกค้าต้องการ   แนะจะเป็นการแนะนำอย่างนุ่มนวล ลูกค้าไม่เอาไม่เป็นไร.

 

Dashboard Metrics (ปัจจุบันนี้ Dashboard สำหรับผู้บริหารถูกจัดทำด้วยระบบ IT  และ Link กับข้อมูลในส่วนต่างๆแบบ Real time เช่น การจัดส่งสินค้า , ยอดขาย , ยอดการผลิต , จำนวนวัตถุดิบ , จำนวนครั้งการให้บริการ , Customer Feedback ,  etc.

-    Quantity

-    Quality

-    Cost

-    Speed

-    Compliance

 

Performance Management Architecture – Mixed Model

Values

R & R

Competence

Performance

คนดี

คนเก่ง

มีผลงาน

Salary

Bonus

Culture

&

Brand

Present

Job Roles

-    Core

-    Leadership

-    Technical

Market Benchmark

Value to Organization

Strategy Aligment

Salary

 

    ตารางด้านบนนี้ใช้ในการพิจารณารับคนและจ่ายเงินเดือนรวมทั้ง Bonus เนื่องจาก คุณต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถที่คุณต้องการตรงกับ Industrial ขององค์กรหรือไม่  Knowledge บางอย่างมีคุณต่อธุรกิจของคุณมาก คุณจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าแรงให้แก่คนที่มีความรู้นั้นมากในระดับหนึ่ง   แต่บาง knowledge มีค่าน้อยมากหรือไม่มีค่าเลยในองค์กรของคุณ.

นางสาวชารวี บุตรบำรุง
                                            การบ้าน เรียนวันที่ 1 กันยายน 2550 ผู้บรรยาย อ.พจนารถ  ซีบังเกิดผู้เรียน ชารวี  บุตรบำรุงเรื่อง..Performance  management  System      ในช่วงแรกอาจารย์ได้ให้พวกเราชมภาพยนตร์ 2 เรื่อง แล้วให้เปรียบเทียบกัน โดย
  • เรื่องแรก เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการทำงานที่มีเจ้านายชอบใช้คำถามประชดประชันกับลูกน้อง เช่น ถ้าให้ลูกน้องไปซื้อกาแฟมาให้ แล้วระหว่างรอ จะถามว่า กาแฟฉันไปไหน คนซื้อไปตายหรือยังไงและเป็นลักษณะเจ้านายที่สั่งการอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้เมื่อเจ้านายไม่มาทำงาน ลูกน้องจะไม่รู้ว่าตนเองต้องทำอะไร
  • เรื่องที่สอง เป็นเรื่องที่ต่างจากเรื่องแรก คือ จะมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มี Mindset ที่ดี มีการบริการที่ดีคำนึงถึงลูกค้า
  • ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เรื่องที่สอง เป็นที่ทำงานที่มีบรรยากาศการทำงานที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อจากนั้น อาจารย์ได้บรรยายเรื่อง Performance  management  System ว่า องค์กรเริ่มต้นจากการ รับคนเข้าไปทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย , มีการกำหนดกลยุทธ์ , วัตถุประสงค์ , เป้าหมาย , วิสัยทัศน์ [คือ การฝันไปไกลๆ แล้วมาที่ พันธกิจ (ภาคเอกชน) ] , พันธกิจ [คือ วางกรอบก่อนมีวิสัยทัศน์ (ภาครัฐ) ]
  • ทุกองค์กรได้มีการกำหนดกลยุทธ์ไว้อย่างสวยหรู แต่จะทำสำเร็จได้หรือไม่ ต้องพึ่ง Performance  management  System  เพราะทุกคนในองค์กรได้รับการปฏิบัติ เมื่อองค์กรประกาศ วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ แต่ไม่มีการปฏิบัติ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ ผู้บริหารหรือผู้จัดการ ต้องทำหน้าที่อยู่ตรงกลาง และสื่อระหว่างผู้บริหารระดับสูงและระดับล่างให้ได้ โดย Performance  management  System  ช่วยผู้บริหาร ให้ลูกน้องทำงานได้ โดย Management คือ ..Getting  things  done  through  and  with  other  people.. ต้องมีวิธีการสื่อสาร
  • Performance  management  System  คือการทำให้คนมี Focus จะเริ่มต้นโดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ทราบความต้องการของลูกค้า เปรียบเสมือนถนนที่เต็มไปด้วยป้ายบอกระยะทาง ฉะนั้นPerformance  management  System  จึงต้องประกอบด้วย Performance Planning , Coaching , Feedback , Development , Performance Review&Appraisal , Yield , Rewarding และ Performance management Process (ต่อเนื่อง) ไม่ใช่ System ที่ทำแล้วหยุด จึงประกอบด้วย
 -         Performance Planning/Goal-Setting (Trainning&Development)-         Continuous Coaching and Feedback (Mentoring/Counseling)-         Performance Review and Evaluation (Pay&Recognition)-         Corrective and Adaptive Action (Career Development)  รวมถึงการตั้งเป้าหมายที่ดี ประกอบด้วยS pecific                  เฉพาะเจาะจงM easurable           สามารถวัดได้A ttainable             สามารถทำให้สำเร็จได้R elevant               สอดคล้องกับความเป็นจริงT imebound            กำหนดระยะเวลาพร้อมทั้งมี     Best Practices in Performance Measurement                     : Dashboard Metrics ประกอบด้วย
  • Quantity
  • Quality
  • Cost
  • Speed
  • Compliance
 และ  Performance  Management  Architecture-Mixed Models คือต้องมีการสร้างValues การทำ R&D รวมทั้ง Competencies เพื่อให้องค์กรมีบุคลากรที่ทั้งเป็นคนเก่ง และ เป็นคนดี ซึ่งเขาเหล่านี้จะได้รับ Salary เป็นการตอบแทน ส่วน Performance คือ การมีผลงาน ฉะนั้นก็จะมี Bonus เป็นการตอบแทน นอกจากนี้ Performance  Management  Architecture-Mixed Models ยังต้องประกอบด้วย -         Culture & Brand , Present Job Roles , Core , Leadership , Technical , Market Benchmark , Value to Organisation , Strategy Alignmentฉะนั้นถ้า  บุคลากรในองค์กรคนใดที่มี Performance สูง ก็ควรได้รับ Bonus สูงต่างจากคนอื่น  สรุป..Key Factors in Managing & Improving Performance ผู้บริหารหรือผู้นำ ต้องมุ่งมั่น ชัดเจน สม่ำเสมอ ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย  ต้องคำนึงถึงการบริหารและผลที่ได้รับจากการ performance สร้างแรงจูงใจ เข้าใจ พัฒนาทักษะ และความสามารถในการแข่งขัน จัดระบบงาน และสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ดี มีธรรมาภิบาล อย่างจริงจังและต่อเนื่อง  เพราะ การบริหารเรื่อง performance ที่ดีมีระบบเป็นธรรมแก่ลูกน้อง บุคลากรในองค์กร ก็จะมีแรงใจ กำลังใจ ตั้งใจ สูง ส่งผลให้ มีผลการปฏิบัติงานที่ดีมีคุณภาพ เพิ่มขึ้น เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาเติบโตต่อไป..ขอบคุณค่ะ    
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  การบ้าน  PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์  (อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด 1 กันยายน 25550)รภ.สวนสุนันทา  /นพมาศ ช่วยนุกูล Performance Management System 1. PM Process   ที่ประกอบด้วย  Performance Planning , Continuous Coaching & Feedback ,  Performance Review & Evaluation , Corrective & Adeptive Action  นั้น    ลูกน้องแต่ละคนก็มี PM Process  ไม่เหมือนกัน  และการทำกลยุทธ์ให้บรรลุต้องอาศัย PM Process  เพื่อให้คนในองค์กรนำไปสู่การปฏิบัติ คือทำให้คนมี Focus และทำงานได้ตรงกับ Strategy   อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าการที่มุ่งให้คนในองค์กรทำงานตรงกับยุทธศาสตร์เป็นเรื่องที่ดี แต่ทั้งนี้ การปฏิบัติงานของคนในองค์กรจะต้องออกแบบให้แต่ละคนมี room ไว้สำหรับรับ งานด่วน นโยบายเร่งด่วน งานใหม่ ๆ ที่กำหนดขึ้นภายหลัง หรือที่องค์กรถูกมอบหมายให้ทำด้วย   เพราะคิดว่างานที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็นและส่งผลต่อเป้าหมายองค์กร เช่นเดียวกับงานตามยุทธศาสตร์ เช่นกัน 2. สำหรับใน Step II Continuous Coaching & Feedback นั้น ผู้เขียนคิดว่านอกจากการ Coaching จะนำมาใช้เพื่อ การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน, การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน, และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในภารกิจที่ได้รับมอบหมายแล้ว  ยังจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของคนและองค์กร รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาทักษะ ความรู้ และพฤติกรรมของคนอีกด้วย  3. ในเรื่องการเปรียบเทียบ Coaching & Feedback  ที่พอประมวลได้คือ  การ Coaching เป็นการ (1) มุ่งผลลัพธ์  (2) เป็นการสนทนา  (3) เน้นคำถามและการช่วยแก้ไขปัญหา  (4) ใช้กรเล่าเรื่องและกระตุ้นแรงจูงใจ  ในขณะที่การ Feedback เป็นการ (1) มุ่งพฤติกรรม  (2) เป็นการให้คำตอบ   (3) เน้นยกพฤติกรรมที่สังเกตพบแล้วมาเป็นหัวข้อการ Feedback  (4) ใช้การพูดที่เจาะจง  ซึ่งหัวหน้าควรดู Style ลูกน้องแต่ละคนว่าควรใช้วิธี Coaching  หรือใช้การ Feedback  อันไหนจะเหมะสมกับแต่ละคนกว่ากัน   และหลังจาก Coaching  หรือ Feedback  แล้วก็ควรมีการบันทึกรายละเอียดเอาไว้เพื่อให้เรารู้ว่าที่เราคิดและสนับสนุนเขาในเรื่องอะไร  และทำให้เขาบรรลุผลได้อย่างไร  ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการติดตามความก้าวหน้า   และหากหัวหน้าที่มีเวลาน้อย ๆ อาจจะเลือกดูจาก KPI ในตัวที่ส่อว่าลูกน้องจะทำแล้วไม่บรรลุผล ขึ้นมาเพื่อ Coaching & Feedback ในเรื่องนั้น ๆ ก่อน 4. ส่วนการพัฒนาคน นั้น นอกจากว่าจะมีเรื่อง Training & Development  และ Mentoring /Counseling แล้ว  ยังอาจมีวิธี เช่น Self-directed Learning , การให้ปฏิบัติงานกับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพหรือกับผู้บังคับบัญชา (Shadowing) , การให้งานพิเศษหรือโครงการสำคัญ ๆ (Special Assingment /Project) เป็นต้น  ...............................   
การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 10อ.พจนารถ ซีบังเกิด"Performance Management System"

วันที่ 1 สิงหาคม 2550

วันนี้มาสายน่าเสียดายมากที่ฟังศ.ดร. จีระ ได้น้อยกว่าทุกครั้งแต่ก็ได้เพื่อนที่ดี ช่วยทบทวนให้ทราบในวันต่อมา

ความสม่ำเสมอเหมือนทุกครั้งของอาจารย์ที่มีความหวังดี เป็นห่วง ลูกศิษย์ และพยายามย้ำเตือนว่าการเรียน Phd.

ของพวกเราต้องแตกต่าง ต้องมีการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง รู้จริงสร้างคุณค่าของความเป็นมนุษย์ จาก

Hunan capital คิดอย่าง Organic

และสุดท้ายมุ่งสู่สังคม มาช่วยในการพัฒนาชาติบ้านเมือง

การบรรยายของ อ. พจนารถ ซีบังเกิด เริ่มจากการให้ชม    Clip VDO สั้น ๆ แล้วเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการทำงานที่มีผู้นำที่แตกต่าง ส่งผลกระทบอย่างไร ทั้งในทางบวกและทางลบ แต่เมื่อมีการเปรียบเทียบภาครัฐและเอกชนทุกครั้งก็จะพบว่าในภาครัฐช่างไม่มีความคล่องตัวและไม่อิสระในการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ  อาจารย์ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาแสนที่จะล้ำลึกอาจารย์  ยกตัวอย่าง แกรนด์แคนยอน ว่าได้มีการศึกษาอย่างมากมายว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่จนถึงปัจจุบันนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้  แต่แกรนด์แคนยอน ก็ยังคงเป็นธรรมชาติที่สวยงาม แฝงด้วยความน่าสนใจ น่าศึกษาอยู่ตลอดเวลา และในความสวยงามนั้นก็มีความแตกต่างอย่างหลากหลายเช่นคดเคี้ยว สูงชัน ฯ เมื่อเปรียบกับการบริหารจัดการองค์กรก็จะพบซึ่งสิ่งเหล่านี้  ดังนั้นผู้นำจึงมีบทบาทที่สำคัญและต้องตระหนัก เพราะไม่มีสูตรสำเร็จในการบริหารจัดการแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะว่า

มนุษย์ทุกคนมีความต่าง

 

การประเมินศักยภาพของคนในองค์กรจึงมีบทบาทในเรื่อง HR และการบริหารผลการปฏิบัติงาน  (P M : Performance management) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ

      1. Performance Planning /Goal-setting

      2. Continuous coaching and Feed back

      3. Performance review and evaluation

      4. Corrective and adaptive action

 

ในแต่ละส่วนเชื่อมโยงกันโดยเริ่มที่การตั้งเป้าหมายในการบริหารผลการปฏิบัติงานการ และการตั้งเป้าหมายที่ดี         (S MART Goals) จะต้องมีความเฉพาะเจาะจง กำหนดระยะเวลา สามารถวัดได้ สอดคล้องกับความเป็นจริง และสามารถทำให้สำเร็จได้ อาจสรุปได้ว่าทุกคนต้องรู้ทิศทาง(Vision, Mission  และวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย)         ขององค์กรอย่างเข้าใจและถ่องแท้ ตรงกับทฤษฏี 2R's     ของ ศ.ดร.จีระ

SMART         S :Specific

                    M :Measurable                    A :Attainable                    R :Relevant

                    T :Timbound

 

สุดท้ายคือมี การพัฒนาปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้    กระบวนการ P M ประสบความสำเร็จไ ด้แก่การฝึกอบรม  และการพัฒนา มีที่ปรึกษาที่ชาญฉลาด  เป็นที่ยอมรับ     และเป็นที่ไว้วางใจ  มีความก้าวหน้าในการทำงาน หรือมี Career Development

 การเรียนวันนี้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว                    ขอขอบพระคุณศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ที่มอบโอกาสการเรียนรู้จาก กูรู เรื่องHR                      อย่างอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ที่สร้างบรรยากาศ           การเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ                                                                                                                      อรพินท์ มณีรัตน์

 

 
 
 
  
การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) อาจารย์ให้ชม VDO สั้นๆ แต่ละเรื่องแตกต่างกันทั้งที่หัวหน้าออกคำสั่ง  ลูกน้องทำตามสั่ง คิดเองไม่เป็น  ฉะนั้นถ้าวันไหนหัวหน้าไม่มาลูกน้องก็จะทำอะไรไม่ได้เลย และคนในองค์กรกระตือรือร้น  เพื่อสร้างความสุขและความประทับใจให้ลูกค้า  เมื่อดูเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ว่าองค์กรต้องมี Vision  and  Mission  เป็นทั้ง  Values  &  Culture  ขององค์กร  เพื่อคนในองค์กรจะได้ทราบไปในทิศทางเดียวกัน                 การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) คือระบบการบริหารจัดการเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานขององค์กรและพนักงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Williams, 2002)                 การบริหารผลการปฏิบัติงาน มีแนวคิดที่ต้องการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ความสามารถทักษะในการปฏิบัติงานจนมีผลการปฏิบัติงานในอนาคตบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรขนาดใหญ่ต้องทำ Performance Management โดยเริ่มต้นจาก Mission, Vision, Goals, Objective, Strategies, Tactics และ Roles ตามลำดับ เพื่อให้การบริหารผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ Manager จะต้องทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงานโดยใช้การสื่อสาร                ปรัชญาการบริหารผลการปฏิบัติงาน What get measured “Get Doneอยากให้สิ่งใดสำเร็จ ประเมินสิ่งนั้น (Peter Drucker)                Performance Management Process ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้                1. Performance Planning : เป็นขั้นตอนที่ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานมาคิดภารกิจ ความรับผิดชอบของงานแต่ละงาน ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เป้าหมาย และดัชนีชี้วัดในอนาคต ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ดีจะอาศัยเครื่องมือ SMART Goals ได้แก่ (1) S: Specific เป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงและชัดเจน ต้องการอะไรให้ตั้งเป้าแบบนั้น (2) M: Measurable สามารถวัดได้ (3) A: Attainable สมเหตุสมผล ท้าทาย สามารถทำให้สำเร็จได้ถ้าใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น (4) R: Relevant สอดคล้องกับความเป็นจริง เกี่ยวเนื่องกับหน้าที่และความรับผิดชอบ และ (5) T: Time bound กำหนดระยะเวลา ช่วงเวลาที่ทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย                2. Continuous Coaching and Feedback : การจัดการ สอนงาน และแจ้งผล โดยจะต้องเป็นการปรับปรุงการปฏิบัติงานแบบยั่งยืน อีกทั้งเป็นกระบวนการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นการพัฒนาองค์กรไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ สำหรับในแง่ของ Feedback ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยอาศัยการ Training & Development                 3. Performance Review and Evaluation : เป็นภารกิจของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องกระทำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ใช่ถึงระยะเวลาที่องค์กรกำหนดว่าจะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผู้บังคับบัญชาจึงจะมาประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในแบบฟอร์มที่องค์กรกำหนด การประเมินผลต้องสร้างให้เกิดการยอมรับและศรัทธาในความยุติธรรม โปร่งใส และอธิบายได้แก่พนักงาน โดยอาศัยเครื่องมือ Mentoring Counseling                4. Corrective and Adaptive Action : เป็นขั้นที่ผู้บังคับบัญชาและพนักงานจะเข้ามาทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมาว่ามีผลสำเร็จหรือมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร และจะต้องแก้ไขอย่างไร โดยใช้การ Pay & Recognition อันจะนำมาของ Career Development                ซึ่ง Performance Management Process จะมีลักษณะเป็นวงจรหรือกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง และเงื่อนไข 2 ประการคือ (1) Top Management ต้องจริงจัง และ (2) ต้องบริหารจัดการคนทั้งระบบ โดย Performance Management นั้นเป็นรากฐานที่สำคัญ (Foundation) ของความสำเร็จทางกลยุทธ์ขององค์กร โดยจะต้องมีความยืดหยุ่น (Flexibility) และมีความเป็นพลวัตต์ (Dynamic) สูง มิฉะนั้นองค์กรจะไม่สามารถดำรงอยู่และแข่งขันได้ นอกจากองค์กรจะต้องปรับโครงสร้างภายในแล้ว จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย โดยมุ่งเน้นให้มีความหลากหลายทางทักษะ และความสามารถ และจำเป็นต้องปฏิบัติงานได้หลากหลายตามสภาวะขององค์กร (Multi-Task and Multi- Skills) การบริหารผลการปฏิบัติงานนั้นจะประสบความสำเร็จได้ต้องอ้างอิงกับการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกันใน 4 มิติดังนี้ มิติที่ 1: การให้คุณค่าแก่บุคลากร หมายถึง องค์กรจะต้องมีความเชื่อมั่นว่าบุคลากรมีศักยภาพสามารถพัฒนาได้ มิติที่ 2: การพัฒนาบุคลากร ต้องมีกระบวนการและแนวทางอย่างมีระบบ มีทิศทาง และสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรด้วย มิติที่ 3: การให้บุคลากรมีส่วนร่วม คือองค์กรต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการ มีอิสระในการจัดการงานของตนเองภายใต้กติกาที่ยอมรับ และมิติที่ 4: การจ่ายผลตอบแทน ผลตอบแทนตามความสามารถ และอย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นแรงจูงใจต่อการพัฒนาเพื่อผลสำเร็จในการปฏิบัติงานสรุปได้ว่า การบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายและถ่ายทอดทุกระดับประเมินผลเชื่อมโยงการให้ค่าตอบแทน โดยอาศัยเครื่องมือ Balanced Scorecard และ KPI
นางเครือวัลย์ สมณะ
อ.พจนารถ  ซีบังเกิด  บรรยายวันเสาร์ที่  1  กันยายน  2550  ในหัวข้อ“Performance Management System for Successful Manager”ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จ การที่จะนำระบบผลการปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จได้นั้น  สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่อง คน ทุนมนุษย์  ผู้จัดการ หรือ ผู้บังคับบัญชา จะต้องเป็นผู้ที่มี Creative Thinking มี Mindset  มองอะไรเป็นองค์รวม เป็นระบบสัมพันธ์กับ System thinking และต้องเข้าใจในปรัชญาของการนำกระบวนการมาประยุกต์ใช้ในการบูรณาการบริหาร  ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน หน่วยงาน และองค์กรให้เป็นไปในแนวทิศทางเดียวกัน เพื่อให้บรรลุภารกิจตามเป้าหมาย “Getting thing done through and with other people”  ทุกองค์กรผู้บริหารจัดการควรมีความรู้เป็นองค์รวม  ตัวอย่างเช่น 1.       วิสัยทัศน์ พันธกิจ (Mission)ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าองค์กรต้องการจะทำอะไร?  เป้าประสงค์หลักที่ต้องการอยู่ตรงไหน (Goals)? ทรัพยากร สภาพแวดล้อม ทุนมนุษย์ มีเพียงพอที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามที่กำหนดไว้ได้อย่างไร? 2.       วัตถุประสงค์ (Objective)หลังจากทราบวิสัยทัศน์พันธกิจ(Mission) แล้ว ต้องมีการกำหนดหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบรองรับการทำงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ และกลุ่มผู้บริหารจัดการนี้ต้องคิดให้เป็น คิดให้ไกล มีความคิดรวบยอด (Concept) ให้ชัดเจนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในโลกแห่งความเป็นจริงอาจตั้งเป้าหมายที่ดีตามแบบของอาจารย์พจนารถ                                                                        SMART                                                Specific                                 เฉพาะเจาะจง                                                Measurable                           สามารถ                                                Attainable                             สามารถทำให้สำเร็จได้                                                Relevant                                สอดคล้องกับความเป็นจริง                                                Time bound                          กำหนดระยะเวลา       3.       กลยุทธ์ (Strategies)แนวทางที่จะทำให้วัตถุประสงค์เกิดความสำเร็จ ต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรง จึงควรมีหลายแนวทางให้เผื่อเลือกเตรียมไว้  ต้องรู้จักนำ System Thinking มาใช้หากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ก็ต้องใช้หลักความคิดมาเป็นตัวกำหนด และทุกกลยุทธ์ที่กำหนดไว้  พนักงานทุกระดับสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเข้าใจถ่องแท้ Tactics (How we are going to make it happen) 4.       แผนปฏิบัติการ (Action Plan)พนักงานระดับปฏิบัติการทุกคนจะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน  ต้องรับผิดชอบร่วมกัน  ทำงานให้เต็มความสามารถ  เต็มศักยภาพจนบรรลุผลสำเร็จ (Roles Practices Relationship) ปัจจัยสำคัญของผู้จัดการ ต้องมีแนวคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ต้องสร้างมิติ รูปแบบพฤติกรรมในการการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและความต้องการขององค์กร โดยมีขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานทั้งผู้บังคับบัญชาและพนักงาน  สามารถร่วมมือกันด้วยจิตสำนึกที่ดีต่อองค์กร  ผลักดัน ขับเคลื่อนนโยบายทำให้เห็นจริง (to improve performance and realize their potential) Performance Management Process PM Process มี 4 ขั้นตอน1.       Performance Planning / Goal-Settingมีการฝึกอบรมและพัฒนา Training and Development โดยยึด Job Description ของแต่ละคน แต่ละกลุ่มวัตถุประสงค์ (Objective) ที่ได้กำหนดไว้2.       Continuous Coaching and Feedback จะต้องมีผู้รู้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับนับถือของพนักงานสามารถให้คำแนะนำหรือเป็นที่ปรึกษาหารือได้อย่างสบายใจ การตอบกลับ (feedback) ควรเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และควรมีการกระทำปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง หากได้การตอบกลับ (feedback) ที่ดีจะมีประโยชน์มาก เป็นการเพิ่มความเข้มแข็งและขีดความสามารถ (Reinforcement) ให้แก่องค์กร3.       Performance Review and Evaluationให้มีการประเมินผลจากสิ่งที่ตั้งหรือสิ่งที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้นั้น อาจไม่สามารถปฏิบัติให้เห็นผลได้จริง หรือมีความไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมของพนักงาน หรือมีพฤติกรรมไม่เหมือนกันจึงต้องมีการ Review เพื่อพิจารณาส่วนที่องค์กรต้องตอบแทนและเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ4.       Corrective and Adaptive Actionต้องมีการทบทวน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข (Corrective) ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมกับวัฒนธรรมขององค์กร ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ และมีการปรับปรุงพัฒนาตนเอง ทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้เป็นที่เหมาะสมกับคำที่ว่า “Career Development” อาจารย์พจนารถยังให้ความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่าอีกมากมายในการบรรยายครั้งนี้  ซึ่งหาอ่านได้อีกหลายหัวข้อที่น่าสนใจจากเอกสารที่แจกให้นักศึกษา สรุป  “Performance Management System for Successful Manager”  คือ  …..Getting things done through and with other people…..                                                                                                                                 นางเครือวัลย์  สมณะ 6  กันยายน  2550   

การบ้านครั้งที่ 10

เรื่อง Performance Management System

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

เรียนวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 50

...................................................

คน เป็นทรัพยากรที่มีค่าสำคัญที่สุดในองค์กร ทำอย่างไรเราจึงจะทำให้ทรัพยากรบุคคลนั้นมีค่าเป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีคุณภาพได้ตลอดไป เท่าที่เขายังอยู่ในองค์กรของเรา โดยเฉพาะ การทำให้เกิด Happiness Capital ในชีวิตของเขาเหล่านั้นด้วยการทำให้คนในองค์กรมองเห็นและรู้สึกว่า ตัวเองเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าเช่น

- มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

- มีคุณค่าทางจิตใจ

- มีคุณค่าทางสังคม

แนวคิดเบื้องต้นเช่นนี้จะเป็นบ่อเกิดอันสำคัญในการสร้างทุนแห่งความสุข ซึ่งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้พูดถึงเสมอ และเช้าของวันที่ 1 กันยายน 50 นี้ ท่านก็ได้กล่าวถึงทุนทางความสุข และทุนทางจริยธรรมอีกเช่นเคยด้วยการนำ ทฤษฎี 2 R คือ

- Reality การมองความจริง

- Relevance ความสอดคล้องตรงประเด็น

เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนที่ทำงานอย่างมีความสุข มักจะมีผลงานที่ถูกสร้างออกมาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่ยอมทำงานด้วยความจำนนจากปัจจัยรอบด้าน

Performance Management System

เป็นสิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่ต้องทำและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการบริหารจัดการผ่านกระบวนการ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี

Performance Management Process

1. Performance Plan / Goal – Setting

เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่ตาม Job description ของพนักงาน ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบด้านใดบ้าง โดยใช้เครื่องมือในการช่วยบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือการฝึกอบรม (Training) และการพัฒนา (Development) ซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน

2. Continuous Coaching and Feedback

ต้องอาศัย Mentoring และ Counseling ในการบริหารจัดการ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องทำหน้าที่เป็น Coach ให้กับลูกน้อง และไม่ว่าลูกน้องจะทำได้ดีหรือไม่ดีก็ต้อง Feedback ให้ลูกน้องได้รับรู้ จะใช้วิธีบอกด้วยตนเองหรือจะบอกเป็นลายลักษณ์อักษร ก็เลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

ถ้าลูกน้องทำดีให้ใช้ You Message แต่ถ้าลูกน้องทำไม่ดีให้ใช้ I Message ในการพูดคุยกับลูกน้อง

3. Performance Review and Evaluation

จัดให้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับลูกน้องบ้าง อาจใช้สูตร 90/90 ก็ได้ คือทำงาน 90 วัน หาโอกาสพูดคุยกัน 90 นาที เครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ Pay & Recognition

4. Corrective and Adaptive Action

พิจารณาว่า มีอะไรต้องแก้ไขปรับปรุงบ้าง ให้พิจารณาการปรับจากวิธีการก่อน ไม่ควรไปปรับที่กลยุทธ์ ด้วยการใช้เครื่องมือคือ Career Development เป็นการพัฒนาสายงานอาชีพไว้รองรับ เมื่อเขาพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

การตั้งเป้าหมายที่ดี ( Smart Goal )

ต้องมีลักษณะดังนี้

1. Specific > เฉพาะเจาะจง

จะทำอะไรต้องกำหนดให้ชัดเจน เช่น การกำหนดเป้าหมายที่ยอดขาย 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ต้องกำหนดให้ชัดเจน

2. Measurable > สามารถวัดได้

มีการกำหนดกฎเกณฑ์ ที่สามารถใช้วัดได้ชัดเจน เช่น ยอดขายจากลูกค้าใหม่ หรือยอดขายจากลูกค้าเก่า จะตั้งเป้าหมายเท่าใด ต้องสามารถกำหนดวัดได้

3. Attainable > สามารถทำให้สำเร็จได้

การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้จะขาดแรงจูงใจให้อยากทำ เพราะฉะนั้นการตั้งเป้าหมายต้องทำให้เห็นว่าถ้าพยายามก็มีโอกาสเป็นไปได้

4. Relevant > สอดคล้องกับความเป็นจริง

อย่าตั้งเป้าโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ต้องตั้งเป้าให้สอดคล้องกับทุกคนในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นตัวแปรในการส่งไปสู่เป้าหมาย

5. Time bound > กำหนดระยะเวลา

กำหนดเวลาวิ่งสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้แต่ละคนรู้เวลาที่มีและเวลาที่เหลือของตนเองในการวิ่งสู่เป้าหมาย

ซึ่งเวลาและเป้าหมายต้องมีความสอดคล้องกัน จึงจะเป็นแรงจูงใจให้อยากจะวิ่งไปสู่เป้าหมาย

 

นอกจากนั้นอาจารย์ได้ให้แนวคิด ในการใช้มาตรวัด Dashboard Metrics ซึ่งเป็นการวัดในแต่ละด้านเช่น

Quality

Quantity

Cost

Speed

Compliance

ซึ่งการใช้ KPI ที่ดีนั้นต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ด้วย และการวัดผลงานนี้จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราได้รู้ว่า ใครเป็นคนเก่ง ใครเป็นคนดี สมควรได้รับผลตอบแทนที่ดี.

 

นายพนม ปีย์เจริญ

6.9.2007

การเรียนปริญญาเอกต้อง Looking for Wisdom ” เป็นข้อแนะนำดีๆ ในเช้าวันเสาร์ที่      1 ก.ย.50  ที่ทำให้ผู้ฟังรับรู้และรู้สึกถึงความห่วงใยที่ผู้พูดอย่าง  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ต้องการสื่อให้ลูกศิษย์นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและถ่ายทอดให้เกิดผลลัพธ์ทั้งในภาพ Macro และ Micro ต่อไป... ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แสดงความชื่นชมในแนวคิดที่ตรงกันกับ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ไว้ในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ มีใจความตอนหนึ่งว่า.... จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนาน ยิ่งเก่งกล้า ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อมหรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย  ผมยังจำคำพูดคุณพารณไว้ตลอด และบางครั้งนึกถึงผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มากๆ และสามารถวิเคราะห์แนวคิดหลักๆ ได้ จนกระทั่งฝรั่งจะใช้ความหมายว่า Wisdom คือ การไตร่ตรองผ่านประสบการณ์ยาวนาน และสรุปออกมาอย่างเฉลียวฉลาด และมีความหมาย ที่นำไปใช้ได้.....โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎี 2R’s คือ Reality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น **** จากนั้น….อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด President of Human Capital Club (Thailand) ได้มาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ Performance Management System for Successful ที่ดีในลักษณะวงจร ซึ่งประกอบด้วย 1.Performance Planning / Goal Setting คือการกำหนดวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ของพนักงานให้ชัดเจน และพนักงานทุกคนควรได้รับการ Training & Development โดยอาจารย์พจนารถเสนอสูตร 90-90 หรือ 90 วัน คุยกับพนักงาน 90 นาที…….ในขณะที่คุณพารณ ได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญในเรื่อง Training ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งลงทุนกับการให้ความรู้พนักงานประมาณ   ปีละ 300,000 บาทต่อคน บนพื้นฐานตามสูตร 10-10-7  คือผู้บริหารระดับสูง หรือ Top Manager, Department Manager ขึ้นไป และ Middle Manager ต้องเข้าเรียนในหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่องานของตน 10 วันทำงานต่อปี สำหรับพนักงานระดับล่าง 7 วันทำงานต่อปี  2.Continuous Coaching and Feedback คือการแนะนำ / พิจารณา โดยการจัดให้มี Mentoring/Counseling และต้อง Feed Back ให้พนักงานทราบเป็นระยะๆ 3. Performance Review and Evaluation การทบทวนและประเมินผลงานโดยใช้ Pay & Recognition เป็นตัวเสริม  ควรมีการพิจารณาทั้งในด้านผลงาน Performance และพฤติกรรม Attendance 4. Corrective and Adaptive Action การปรับแก้ไขการปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าและเป้าหมายที่กำหนด โดยการส่งเสริมด้วย Career Development ***** อาจารย์พจนารถ ได้เสริมในประเด็นการตั้งเป้าหมายที่ดี Smart Goal ประกอบด้วย Specific, Measurable, Attainable, Relevant, Time Bound และมุมมองของการวัดคุณภาพด้วย Dashboard Metrics ซึ่งประกอบด้วย Quantity, Quality,Cost, Speed และ Compliance ***** อย่างไรก็ตามดิฉันขอนำเสนอการวัดคุณภาพของการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดและทฤษฎีการจัดการคุณภาพทั้งองค์กร หรือ TQM (Total Quality Management) เพื่อใช้เป็นข้อมูลและปรับใช้ในมุมมองของ HR….. โดยการวัดคุณภาพดังกล่าวสามารถวัดคุณภาพในมุมมองของ ดัชนีวัดคุณภาพ (Key Quality Indicators) และมุมมองแบบ QCDSME + PK ได้แก่ Quality (คุณภาพ) Cost (ต้นทุน) Delivery (การส่งมอบ) Safety (ความปลอดภัยในการทำงานและความปลอดภัยของผู้บริโภค) Morale (ขวัญกำลังใจในการทำงาน) Environment (ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน) Productivity (อัตราการเพิ่มผลผลิต) และ Knowledge (อัตราการเพิ่มภูมิปัญญา) ***ไม่ว่าจะใช้ทฤษฎีใดๆ หรือทฤษฎีของใครมาเป็นแนวทางก็ตาม ดิฉันยังคงให้ความสำคัญกับการคิดอย่างมีระบบ Systematic Thinking  แบบ Mind Set เพราะเป็นรากฐานที่สำคัญในการเชื่อมโยงระหว่าง Wisdom กับทฤษฎีต่างๆ อันส่งผลให้เกิดความแตกต่างของผลลัพธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Added นั่นเอง**** ***** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM *****
หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
สรุปการบรรยาย 1 ก.ย.2550 อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด เรื่อง การบริหารผลการปฏิบัติงาน(Performance Management) นิยามงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อาจมีอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นนิยามโดย Richard A. Swanson ปรมาจารย์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่ง University of Minnesota ท่านกล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ กระบวนการในการพัฒนาและปลดปล่อย ความสามารถของมนุษย์ (Unleashing human expertise) โดยใช้การพัฒนาองค์การและการฝึกอบรมพัฒนา ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายคือ ผลการปฏิบัติงาน (PERFORMANCE) (Swanson, 2001) ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หากใช้นิยามนี้ในการดำเนินงาน ขอบข่ายงานที่รับผิดชอบจึงต้องครอบคลุมปัจจัยอื่นๆอีกมากมายนอกจากการจัดอบรม สัมมนา งานเลี้ยงสังสรรค์ ความหมาย ของการบริหารผลการปฏิบัติงาน  (Performance Management) กระบวนการบริหารแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงการวางแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กร การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน       การติดตามผลการปฏิบัติงาน  และการประเมินผลการปฏิบัติงาน             โดยมุ่งเน้นความสอดคล้องของผลการปฏิบัติงานของบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายรวมขององค์กร ปรัชญาการบริหารผลการปฏิบัติงานได้เปลี่ยนจากการประเมินผลงานมาเป็นการพัฒนา (Development Approach) ผลการปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดสมดุลในผลประโยชน์ต่อทั้งองค์การและบุคลากรในองค์การ “Balance the employees’ benefits and the organizational benefits.” (Williams, 2002) ขอบเขตของการบริหารผลการปฏิบัติงานจึงครอบคลุมกระบวนการวางแผน, การบริหาร, การติดตามผลงาน, การทบทวนผลงาน, การให้รางวัล และการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มิใช่การประเมินผลงานเพียงครั้งหรือสองครั้งในรอบปี แต่เป็นการติดตามผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานทั้งขององค์การและบุคลากรในองค์การ การประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือ PA: Performance Appraisal จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน ดังนั้นการบริหารผลการปฏิบัติงานจึงเปรียบเป็นหนึ่งในเครื่องมือการบริหาร (Management Tool) ของผู้บริหารองค์การ Performance Management Process1.การวางแผนและการตั้งเป้าหมาย(Performance Plan / Goal – Setting)เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่ตามของพนักงาน ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบด้านใดบ้าง โดยใช้เครื่องมือในการช่วยบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือการฝึกอบรม (Training) และการพัฒนา (Development) ซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน2.การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและการตอบกลับ(Continuous Coaching and Feedback )ต้องอาศัย Mentoring และ Counseling ในการบริหารจัดการ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องทำหน้าที่เป็น Coach ให้กับพนักงานหรือลูกน้อง พนักงานแต่ละคนเราจะ Feedback ไม่เหมือนกัน ถ้าลูกน้องทำดีให้ชมเชย แต่ถ้าลูกน้องทำไม่ดีเราก็ควรอธิบายให้เขาเข้าใจ 3.การตรวจทานและประเมินผล(Performance Review and Evaluation )เครื่องมือในการบริหารจัดการของขั้นตอนนี้คือการจ่ายและรับรอง( Pay & Recognition )4.การแก้ไขบทลงโทษและปรับปรุงให้เหมาะสม(Corrective and Adaptive Action)พิจารณาว่า มีอะไรต้องแก้ไขปรับปรุงบ้าง ด้วยการใช้เครื่องมือคือ ทำแล้วต้องก้าวหน้า(Career Developmentป) เป็นการพัฒนาสายงานอาชีพไว้รองรับ เมื่อเขาพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้การตั้งเป้าหมายที่ดี ( Smart Goal )ต้องมีลักษณะดังนี้1. Specific  เฉพาะเจาะจง      ตัวที่ตั้งจะต้องมีตัวเดียวแล้วไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้และจะต้องวัดได้ KPI จะต้องเป็นตัวเลข2. Measurable  สามารถวัดได้  KPI ต้องสัมพันธ์กับกลยุทธ์ตั้งไว้ทำอะไรต้องใส่ไปที่คน และจะต้องมีผู้รับผิดชอบว่าใครจะเป็นคนทำ3. Attainable  สามารถทำให้สำเร็จได้4. Relevant  สอดคล้องกับความเป็นจริง5. Time bound   ต้องสอดคล้องกับเวลา กำหนดระยะเวลาได้ว่าใช้เท่าใดวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการวัดผลงาน : Dashboard Metrics ประกอบด้วย 1. ปริมาณ  (Quantity )2. คุณภาพ  (Quality) 3. ต้นทุน  (Cost) 4. ความรวดเร็ว  (Speed )5. ต้องทำถูกกฎระเบียบ  (Compliance)  
              การพัฒนามนุษย์ในวันที่ ๑ ก.ย. ๕๐ เริ่มตั้งแต่เช้าก่อนเข้าห้องเรียนตามปกติ โดยอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ มาให้ข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษา พร้อมทั้งมีอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด นั่งอยู่กับพวกเราด้วย เป็นการสร้าง learning community และ learning environment ทำให้เกิด good learning atmosphere ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม (participation) มีอิสระ (independent) และมีเสรีภาพ (freedom) ในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดและพัฒนา            การเรียนรู้ในรูปแบบข้างต้นไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ ที่มีผลเชิงบวกต่อการสรรค์สร้างภูมิปัญญา (wisdom) เท่านั้น แต่จะทำให้เกิด social capital หรือต้นทุนทางสังคม ที่สามารถเป็นเครือข่ายไปสู่ความสำเร็จได้ด้วย ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือจะทำให้ transaction cost ซึ่งประกอบด้วย information; negotiation และ enforcement ลดลง อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการพัฒนามนุษย์ที่ดีนั้นจะต้องหมั่นสำรวจตนเองอยู่เสมอและไม่ประมาท รวมทั้งต้องอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง  (reality) และความเหมาะสม (relevancy) ตามทฤษฎี 2Rs ของอาจารย์จีระ นอกจากนี้ ก็จะต้องดูวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันในบริบทของสังคมนั้น ๆ มิใช่วิ่งไล่ตามวัฒนธรรมของชาติอื่นที่ไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเลย นั่นคือต้องผสมผสานระหว่าง ทุนนิยม กับ ไทยนิยม ให้ได้            สำหรับการเรียนในห้องเรียนนั้น อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ได้บรรยายในหัวข้อ “Performance Management System for Successful Manager” ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ วงจรของ PM Process ประกอบด้วย (๑) Performance Planning/ Goal Setting: การวางแผนและการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ดีนั้น ควรเป็นตามหลัก SMART ได้แก่ Specific: เฉพาะเจาะจง Measurable:สามารถวัดได้ Attainable: สามารถทำให้สำเร็จได้ Relevant: สอดคล้องกับความเป็นจริง Timebound: กำหนดระยะเวลา (๒) Continuous Coaching and Feedback: การสอนงานและการสะท้อนผลงานอย่างต่อเนื่อง (๓) Performance Review and Evaluation: การทบทวนและการประเมินผลการปฏิบัติงาน (๔) Corrective and Adaptive Action: การแก้ไขปรับปรุง ซึ่งการที่จะทำให้การดำเนินการตามวงจรข้างต้นอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะต้องมีระบบการฝึกอบรมและพัฒนา (Training and Development) ระบบการเป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Mentoring/Counseling) ระบบการให้ผลตอบแทน (Pay and Recognition) และระบบการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Development) ที่เป็นมรรคเป็นผลด้วย  

            อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจในหลักการเชิงทฤษฎีของตัวมันเองนั้น ดูเหมือนจะไม่ยาก แต่ความยากน่าจะอยู่การนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละหน่วยงาน เพราะถ้าหากไม่ยาก เมืองไทยก็น่าจะพัฒนามากกว่านี้เพราะว่าไปแล้ว ประเทศเราก็เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมไปด้วยทฤษฎีการพัฒนามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีที่เอามาจากหนังสือของต่างประเทศหรือที่มีการสร้างนวัตกรรมขึ้นเอง แต่หน่วยงานอีกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ยังไม่สามารถ absorb องค์ความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนระดับผู้นำจะต้องหาทางแก้ไขให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเอาจริงเอาจังเพื่อให้การพัฒนามนุษย์มีการประสานสอดคล้องกันทุกองคาพยพ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือการที่จะต้องหา facilitator ที่สามารถแปลงทฤษฎีมาอธิบายในบริบทของงานในหน่วยงานนั้น ๆ ให้เข้าใจตรงกันและเดินไปพร้อม ๆ กันให้ได้ ไม่เช่นนั้นแค่เถียงกันว่าสิ่งไหนคือ goal หรือ objective และสิ่งไหนคือ vision หรือ mission ก็จะใช้เวลาไปมากพอสมควรแล้ว และก็จะอยู่ในวังวนเดิมคือการพัฒนาไม่ไปถึงไหนเสียที เป็นการใช้งบประมาณไปอย่างไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร

                                            รักษเกชา แฉ่ฉาย

 
สรุปการบรรยายครั้งที่ 10 (เสาร์ที่ 1 กันยายน 2550) โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด เรื่อง Performance  management  System      ก่อนเข้าห้องเรียนได้พวกเราได้ร่วมสนทนากับอาจารย์ จีระ ฯ ที่เป็นประโยชน์หลายประเด็น เช่น เรื่องการอพยพแรงงานต้นเหตุของปัญหาสังคมระดับประเทศ  ปัญหาการขนส่งมวลชนที่ต้องเร่งแก้ไขเพราะส่งผลกระทบมากโดยเฉพาะคนจน  การรู้จักกันและกัน (Relationship)  ทุนแห่งความยั่งยืน ฯลฯ จากนั้นจึงฟังการบรรยายจากอาจารย์ พจนารถฯ ต่อ  ช่วงแรกอาจารย์ได้ให้พวกเราชมภาพยนตร์ 2 เรื่อง ที่แสดงถึงพฤติกรรมของคนในองค์กรที่แตกต่างกัน แล้วให้พวกเราแสดงความคิดเห็น ต่อจากนั้น อาจารย์ได้บรรยายเรื่อง Performance  management  System ซึ่งหมายถึงกลยุทธ์ หรือกระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานอย่างเข้มข้น องค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ซึ่งองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ต้องพึ่ง Performance  management  System  ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ ผู้บริหารที่จะต้องสื่อให้คนในองค์กรเกิด Motivate ในการทำงาน   ความสำคัญอีกอย่างของ    Performance  management System  คือการทำให้คนในองค์กรมี Focus ร่วมกัน สร้างวัฒนธรรมองค์กร ค้นหาความต้องการของลูกค้าเสมือนถนนที่เต็มไปด้วยป้ายบอกเส้นทาง Performance  management  System ประกอบด้วย Performance Planning , Coaching , Feedback , Development , Performance Review & Appraisal , Yield , Rewarding และ Performance management Process (ต่อเนื่อง) ไม่ใช่ System ที่ทำแล้วหยุด จึงประกอบด้วย -         Performance Planning/Goal-Setting (Training & Development)-         Continuous Coaching and Feedback (Mentoring/Counseling)-         Performance Review and Evaluation (Pay & Recognition)-         Corrective and Adaptive Action (Career Development)  ประเด็นสำคัญอีกอย่างที่อาจารย์กล่าวถึงคือการตั้งเป้าหมายที่ดี (SMART Goal) ประกอบด้วย Specific    เฉพาะเจาะจง Measurable   สามารถวัดได้            Attainable   สามารถทำให้สำเร็จได้  Relevant   สอดคล้องกับความเป็นจริง   Time bound   กำหนดระยะเวลาพร้อมทั้งมี     Best Practices in Performance Measurement  : Dashboard Metrics ประกอบด้วย Quantity Quality  Cost  Speed  Compliance และ  Performance  Management  Architecture-Mixed Models คือต้องมีการสร้างValues การทำ R&D รวมทั้ง Competencies เพื่อให้องค์กรมีบุคลากรที่ทั้งเป็นคนเก่ง และ เป็นคนดี ซึ่งเขาเหล่านี้จะได้รับค่าตอบแทนเป็น Salary ส่วนคนที่มี Performance คือ ควรจะมี Bonus เป็นการตอบแทน และ บุคคลใดในองค์กรที่มี Performance สูง ก็ควรได้รับ Bonus เพิ่มขึ้น   
           จากบรรยายในวันเสาร์ที่  1  กันยายน  2550  โดยอ.พจนารถ  ซีบังเกิด  ในหัวข้อ“Performance Management System   ซึ่งPerformance Management Process จะประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่                1. Performance Planning คือการกำหนดภารกิจ  เป้าหมายขององค์กร     ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องอาศัยหลักการของ  SMART Goals โดยอักษรแต่ละตัวมีความหมายดังนี้S : Specific        เฉพาะเจาะจงและชัดเจน M: Measurable  สามารถวัดได้ A: Attainable     มีความสมเหตุสมผล R: Relevant        สอดคล้องกับความเป็นจริง T: Time bound   กำหนดระยะเวลาให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้            2.   Continuous Coaching and Feedback ในการบริหารจัดการที่ดี   หัวหน้าต้องดูแลลูกน้องอย่างใกล้ชิด  และการตอบกลับ (feedback)ที่ดีควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร และควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพราะจะเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กร    3.   Performance Review and Evaluation  เป็นการประเมินผลงานโดยวัดจากเป้าหมายขององค์กร  ซึ่งหัวหน้าจะต้องเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้องอย่างต่อเนื่อง  ด้วยความยุติธรรม4.   Corrective and Adaptive Action  เป็นขั้นตอนของการทบทวนการปฏิบัติงานว่ามีความเหมาะสมหรือไม่  ควรแก้ไขอะไรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร  และที่สำคัญควรต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น(Career Development) นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือหน่วยงานของราชการควรนำ KPI มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดในการปฏิบัติงานของพนักงานโดย  KPI  ที่ดีจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรด้วย ซึ่ง KPI นั้นไม่ควรมีเพียงแค่ตัวเดียวแต่ควรมีหลายตัวซึ่งวัดการปฏิบัติงานของพนักงานในด้านต่างๆ  (Dashboard Metrics) อันได้แก่
  • Quantity   ปริมาณ
  • Quality      คุณภาพ
  • Cost          ต้นทุน
  • Speed       ความรวดเร็ว
  • Compliance   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
 ขอบคุณครับ  สรณิต  พุ่มพฤกษ์

 

วันที่  1  กันยายน  2550 บรรยายโดย อ.พจนารถ ชีบังเกิดเรื่อง  Performance Management            การบริหารองค์กรสมัยใหม่จะต้องบริหารในลักษณะ บรรษัทรัฐบาล คือ ต้องบูรณาการ ความต้องการและการคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรเข้ามายังการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อที่จะต้องสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร ซึ่งความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรมีหลายรูปแบบ1.      ผู้ถือหุ้น                   :  ต้องการเงินปันผลที่สูงขึ้น2.      ผู้บริโภค                  :  ต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงเวลาราคาเหมาะสม3.      พนักงาน เจ้าหน้าที่  :  ต้องการรักษาผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้น4.   สังคม                      :  ต้องการสิ่งแวดล้อมที่ดีหรือรักษาให้คงอยู่ โดยปราศจากมลพิษหรือสิ่งที่มารบกวนทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อม การบริหารองค์กรให้มีสมรรถภาพ            ผู้บริหารจะต้องดำเนินงานให้องค์กรสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย องค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารงาน แต่ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาคล้ายๆ กัน อย่างหนึ่ง คือ องค์กรยังขาดประสิทธิภาพในการบูรณาการผลการปฏิบัติงานของ พนักงาน หน่วยงาน และองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้ผลการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมขององค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ภารกิจ  และวิสัยทัศน์ที่องค์กรกำหนดไว้ได้            เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้พัฒนาแนวคิดให้มีขึ้นมาโดยมีแนวคิดที่สำคัญว่า การปฏิบัติงานของพนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารทั้งนี้ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีการบูรณาการซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร โดยในท้ายที่สุดก็จะทำให้ผลการปฏิบัติงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายในการที่จะตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร            จากแนวคิดดังกล่าวจึงมีการพัฒนากระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) ขึ้น ซึ่งเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้มาเป็นกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ที่มีแนวความคิดสำคัญๆ ที่ต้องการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงานจนมีผลการปฏิบัติงานในอนาคตบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ            กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน            ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีปรัชญา และแนวคิดสำคัญๆ ดังนี้1.      การบูรณาการเป้าหมายขององค์กรมาสู่เป้าหมายของหน่วยงาน และพนักงาน2.      การทำงานที่มองไปข้างหน้าโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์3.      มุ่งเน้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างต่อเนื่อง4.      สร้างความร่วมมือ การยองรับ และเห็นพ้องต้องกันมากกว่าการควบคุม5.   ให้เกิดการยอมรับในสาเหตุของความบกพร่องในการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน และยังสามารถบ่งชี้ได้ว่าจะแก้ปัญหาความบกพร่องนั้นด้วยวิธีการอย่างไร6.      กระตุ้นให้พนักงานรู้จักการบริหารการปฏิบัติงานของตนเอง7.      ต้องให้มีการบริหารงานแบบการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง8.      ต้องนำข้อมูลจากผลการปฏิบัติงานย้อนกลับให้แก่พนักงาน และผู้บังคับบัญชาทราบอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง9.      การปฏิบัติงานไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในการขึ้นค่าจ้างประจำปี10.  ผลการปฏิบัติงานไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในการขึ้นค่าจ้างประจำปี การบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงานการบริหารผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กลยุทธ์ หรือกระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมุ่งพัฒนาพนักงาน องค์กรจะต้องสร้าง หรือผสมผสานมิติในการปฏิบัติงานของพนักงาน1. แนวดิ่ง เป็นการเชื่องโยงวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายขององค์กร หน่วยงาน และพนักงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน2. แนวทางราบ เป็นการนำผลการปฏิบัติงานของพนักงานไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น การพัฒนา และฝึกอบรมการให้ผลประโยชน์ตอบแทน วางแผนอาชีพ การโยกย้ายเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น

สรุป การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกลยุทธ์ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีกระบวนการปฏิบัติงานมีส่วนเข้าไปช่วย และปรับปรุงให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีส่วนอย่างมากในการบูรณาการเป้าหมายในการปฏิบัติงานของพนักงาน หน่วยงาน องค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็คือเป้าหมายสูงสุดขององค์กรที่จะตอบสนองถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรอันจะนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จในการบริหารองค์กรได้ในอนาคต

นายปลื้มใจ สินอากร

วันที่  1  กันยายน  2550 บรรยายโดย อ.พจนารถ ชีบังเกิด

เรื่อง  Performance Management           

การบริหารองค์กรสมัยใหม่จะต้องบริหารในลักษณะ บรรษัทรัฐบาล คือ ต้องบูรณาการ ความต้องการและการคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรเข้ามายังการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อที่จะต้องสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร ซึ่งความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรมีหลายรูปแบบ

1.      ผู้ถือหุ้น                   :  ต้องการเงินปันผลที่สูงขึ้น

2.      ผู้บริโภค                  :  ต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงเวลาราคาเหมาะสม

3.      พนักงาน เจ้าหน้าที่  :  ต้องการรักษาผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้น

4.   สังคม                      :  ต้องการสิ่งแวดล้อมที่ดีหรือรักษาให้คงอยู่ โดยปราศจากมลพิษหรือสิ่งที่มารบกวนทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อม 

การบริหารองค์กรให้มีสมรรถภาพ           

ผู้บริหารจะต้องดำเนินงานให้องค์กรสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย องค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารงาน แต่ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาคล้ายๆ กัน อย่างหนึ่ง คือ องค์กรยังขาดประสิทธิภาพในการบูรณาการผลการปฏิบัติงานของ พนักงาน หน่วยงาน และองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้ผลการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมขององค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ภารกิจ  และวิสัยทัศน์ที่องค์กรกำหนดไว้ได้            เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้พัฒนาแนวคิดให้มีขึ้นมาโดยมีแนวคิดที่สำคัญว่า การปฏิบัติงานของพนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารทั้งนี้ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีการบูรณาการซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร โดยในท้ายที่สุดก็จะทำให้ผลการปฏิบัติงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายในการที่จะตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร           

จากแนวคิดดังกล่าวจึงมีการพัฒนากระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) ขึ้น ซึ่งเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้มาเป็นกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ที่มีแนวความคิดสำคัญๆ ที่ต้องการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงานจนมีผลการปฏิบัติงานในอนาคตบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

 กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน          

  ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีปรัชญา และแนวคิดสำคัญๆ ดังนี้

1.      การบูรณาการเป้าหมายขององค์กรมาสู่เป้าหมายของหน่วยงาน และพนักงาน

2.      การทำงานที่มองไปข้างหน้าโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

3.      มุ่งเน้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างต่อเนื่อง

4.      สร้างความร่วมมือ การยองรับ และเห็นพ้องต้องกันมากกว่าการควบคุม

5.   ให้เกิดการยอมรับในสาเหตุของความบกพร่องในการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน และยังสามารถบ่งชี้ได้ว่าจะแก้ปัญหาความบกพร่องนั้นด้วยวิธีการอย่างไร

6.      กระตุ้นให้พนักงานรู้จักการบริหารการปฏิบัติงานของตนเอง

7.      ต้องให้มีการบริหารงานแบบการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง 

8.      ต้องนำข้อมูลจากผลการปฏิบัติงานย้อนกลับให้แก่พนักงาน และผู้บังคับบัญชาทราบอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

9.      การปฏิบัติงานไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในการขึ้นค่าจ้างประจำปี

10.  ผลการปฏิบัติงานไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในการขึ้นค่าจ้างประจำปี 

การบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

การบริหารผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กลยุทธ์ หรือกระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมุ่งพัฒนาพนักงาน องค์กรจะต้องสร้าง หรือผสมผสานมิติในการปฏิบัติงานของพนักงาน

1. แนวดิ่ง เป็นการเชื่องโยงวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายขององค์กร หน่วยงาน และพนักงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. แนวทางราบ เป็นการนำผลการปฏิบัติงานของพนักงานไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น การพัฒนา และฝึกอบรมการให้ผลประโยชน์ตอบแทน วางแผนอาชีพ การโยกย้ายเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น

สรุป การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกลยุทธ์ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีกระบวนการปฏิบัติงานมีส่วนเข้าไปช่วย และปรับปรุงให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีส่วนอย่างมากในการบูรณาการเป้าหมายในการปฏิบัติงานของพนักงาน หน่วยงาน องค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็คือเป้าหมายสูงสุดขององค์กรที่จะตอบสนองถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรอันจะนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จในการบริหารองค์กรได้ในอนาคต

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่  11 เรียนวันเสาร์ที่  8  กันยายน  2550  กับท่าน อาจารย์ ดร.อรพินท์ สพโชคชัย  กรรมการ ก.พ.ร.นักศึกษาชื่อ  นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา  

 เรื่อง การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ Ethical Capital..........

ในวันนี้นักศึกษาปริญญาเอกได้มีโอกาสพบกับท่าน ดร.อรพินท์ สพโชคชัย  กรรมการ ก.พ.ร. และเริ่มเข้าสู่บทเรียนอาจารย์เล่าว่าท่านมีประสบการณ์ด้านการปฏิรูประบบราชการ มากว่า 30 ปี ถ้าจะพูดถึงเรื่องของธรรมาภิบาล เป็นตัวที่ซ่อนอยู่ใน Result Base Management  เดิม Capital นั้นแบ่งออกเป็น 2 เรื่องคือ Economics และHuman

วิวัฒนาการของ Ethical Capital :

ยุคที่ 1: คนนั้นต่อสู้กันด้วยกำลังคนที่มากกว่าเป็นเรื่องที่ได้เปรียบ

ยุคที่ 2 : ปัจจุบันเป็นยุคที่ต่อสู้กันด้วย Knowledge คุณภาพของคน ดังเช่น ดร. มหาเธ โมฮัมหมัด พยายามผลักดันให้เกิด Malasia Vision 2000  นั่นคือคนในชาติมาเลย์ ต้อง Superior ที่สุด การแข่งขันจึงเป็นเรื่องของ Knowledge ตลอดจนการสร้าง  Gifted &Talent ให้ความสำคัญของ Brain ของประเทศ และการลงทุนกับ  Human Capital

ยุคที่ 3: คนจะต่อสู้กันด้วย Ethical ดังเช่น การที่ EU พยายามขอเข้ามาดูระบบและกระบวนการเลือกตั้งของประเทศไทย ทำให้มีนักศึกษาท่านหนึ่งถามว่าแล้วเมื่อก่อน ไม่เห็น EU ขอเข้ามาดูเลย หมายความว่า ที่ผ่านมาการเลือกตั้งมันบริสุทธ์ยุติธรรมหรืออย่างไร ทำไมตอนนี้จึงอยากมาดูล่ะ? ดิฉันคิดว่า มันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะมานั่งเดาว่า Why?  หลายคนคงทราบดีว่าขณะนี้บ้านเราเมืองเรามันอยู่ในภาวะที่เกินความปกติ หรือมันอยู่ต่ำกว่าเส้นปกติที่ควรจะเป็น ดิฉันเห็นด้วยกับคำถามนั้นคล้ายกับคนไทยอีกหลายคน แต่ก็พอจะมีโอกาสได้รู้มาจากแหล่งข่าวที่คอยประเทืองปัญญาให้คนไทยได้หูตาสว่างมากขึ้นว่า .......... อะไรจะเป็นอะไร อิทธิพลจากอำนาจเก่า หรือเกมการเมืองที่ต้องชิงไหวชิงพริบกันอย่างดุเดือดหรืออย่างไร ตอบไม่ได้หรอกค่ะ วันหนึ่งประเทศไทยคงดีกว่านี้ ก็ได้แต่เพียงหวังจะเห็นเช่นนั้น 555  ประเทศแถบเอเชียมีความพยายามที่จะรวมตัวกันให้เป็นกลุ่ม Asean money และความพยายามนี้เองหากประเทศได้รับความร่วมมือในการรวมกลุ่มจะทำให้ได้ Privilledge หลากหลายประการ กลุ่มใดได้เข้าเป็น OECD นั้นเป็นมาตรฐานยืนยันความมี Ethical ที่สูง เป็นที่ยอมรับกัน

Good Governance :

"ธรรมาภิบาล (Good Governance)" มาเผยแพร่ และได้กระแสการตอบรับจากสังคมเป็นอย่างดี คำว่า "ธรรมาภิบาล" เกิดจากคำว่า "ธรรม" สนธิกับคำว่า "อภิบาล" (การรักษายิ่งซึ่งธรรม) มาจากคำในภาษาอังกฤษคือคำว่า Good Governance คำนี้คณะกรรมการบัญญัติศัพท์รัฐศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติไว้ว่า "วิธีการปกครองที่ดี" แต่ทางผู้แทนราษฎรได้ใช้คำว่า "ธรรมรัฐ" ซึ่งไม่ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษ เพราะ"ธรรมรัฐ" แปลว่า "รัฐที่มีธรรม" ทาง คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.กพ.) ก็ได้บัญญัติศัพท์ใหม่ว่า "สุประศาสนการ" แต่ทาง ราชบัณฑิตยสถานก็ยังไม่เห็นด้วย ปฐมเหตุของ ธรรมาภิบาล หรือ ธรรมรัฐ ก็คือการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) อีกทั้งเป็น วาทกรรมทางการเมือง ที่ องค์กรเหนือรัฐ คือธนาคารโลก ได้นำเสนอหยิบยื่น ให้กลุ่มประเทศ ที่ 3 (ประเทศลูกหนี้) นับตั้งแต่ปลายคริสต์ศักราช 1980 เป็นต้นมา เพราะเล็งเห็นความไม่ได้มาตรฐานสากลในการบริหารบ้านเมือง ของกลุ่มประเทศดังกล่าว อันเนื่องมาจาก ความไร้ประสิทธิภาพ และการคอร์รัปชันของรัฐบาล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ในแถบลาติน อเมริกาและ แอฟริกา ที่ส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้เงินกู้จากธนาคารโลก โดยได้ให้คำนิยามความหมายของ Good Governance ว่า เป็นลักษณะและวิถีทางของการใช้อำนาจรัฐ เพื่อการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนา ความหมายของธรรมาภิบาลคือ การบริหารจัดการบ้านเมือง สังคม หรือองค์กร สถาบันธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์ (Honesty) ความเปิดเผยโปร่งใส (Transparency) ความรับผิดและรับชอบที่ตรวจสอบได้ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพ ในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพ ในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน(Accountability) ความชอบธรรม ยุติธรรม (Fairness)ได้แก่  การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ  โดยปรับปรุง  กลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส  มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย  ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก  และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ ความมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ (Quality & Efficiency) การมีมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมเป็นการทั่วไปได้แก่  การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  ซึ่งมีในหลายแง่มุม เช่น เมตตาธรรม คือความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข  จริยธรรม ทำอะไรก็ให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน  กตัญญู กตเวทิตา การรู้จักบุญคุณ และคิดจะตอบแทน  หิริโอปตัปปะ การรู้จักละอาย และเกรงกลัวบาปกรรมไม่ดี เป็นต้น  โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างของสังคม  และสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน  เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต  จนเป็นนิสัยประจำชาติอันจะช่วยยกคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น  เป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป (General Ethical & Moral Standard) หลักความมีส่วนร่วม  ได้แก่  การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็น  ในการตัดสินปัญหาสำคัญของประเทศ  ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น  การไต่สวนสาธารณะ  การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติ  หรืออื่น ๆหลักความคุ้มค่า  ได้แก่  การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม  โดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด  ใช้ของอย่างคุ้มค่า  สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน บทสรุป ถ้าเป็นบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ก็จะหมายถึง การกำกับดูแลกิจการในภาคธุรกิจที่ต้องอาศัยความโปร่งใส รับผิดชอบ และเที่ยงธรรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคการปฏิบัติ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจในบรรษัทภิบาลที่ดี จะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท (shareholder) และควรปฏิบัติอย่างเสมอภาค เพื่อการดำเนินการภายในองค์กรให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดนั่นเอง โดยทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากสมาชิกทุกคนภายใน องค์กร โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมอย่างมีจิตสำนึกหรือ จิตสาธารณะ (Public consciousness) ตลอดจนความสมัครสมานสามัคคีร้อยรัด ของสมาชิกที่เข้ามาเพื่อรังสรรค์ สิ่งที่ดีงามแก่องค์กรธุรกิจโดยรวม ในการทำงานของระบบงาน เพื่อความก้าวหน้าและความยั่งยืนต่อไป  แต่ถ้าจะให้จำกัดความสั้นๆคือ “ไม่โกงเปรียบเสมือน ภูมิคุ้มกันที่ดีของระบบ ปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับมาตรฐานของการอยู่ร่วมกันมากขึ้น ความสมานฉันท์ และสังคมเสถียรภาพ สังคมแห่งการเรียนรู้ พิจารณาจาก วิวัฒนาการของการเมือง ที่ขณะนี้เราเป็นยุคที่ 3 ของประชาธิปไตย เริ่มจาก

1.Direct Democracy 2.Representative Democracy3.Participate Democracy สังคมธรรมาภิบาล : ต้องมีความเท่าเทียมกัน มีคนดี ระบบดี คนสุจริต และความโปร่งใส รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้วางหลักเรื่อง ธรรมาภิบาลไว้อย่างมากมาย แต่มีปัญหาตรงที่ การนำไปปฏิบัติซึ่งไม่ตรงตราเจตนารมย์ของการร่างรัฐธรรมนูญ ระบบอะไรที่ดีนั้น คำว่าดีมีประสิทธิภาพ มิใช่แค่เพียงการร่างนโยบายที่สวยหรูเท่านั้น การนำนโยบายไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติต้องดีมีคุณธรรม มีประสิทธิภาพด้วย มิฉะนั้นเกิดปัญหาตามมาอีก ในขั้นตอนของการแปลงนโยบายไปใช้ ถ้ามี Human Capital มากๆปัญหานี้คงน้อยลงปัญหาในเรื่องที่คนมักไม่มีความไว้วางใจ กลไกตรวจสอบอีกต่อไปแล้ว ทำให้เกิดช่องว่าง เป็นมหันตภัยที่คุกคามประเทศในเรื่องความมั่นคง การที่จะลดวงจรอุบาทว์ของการรับสินบน คอร์รัปชั่นให้หมดไปเป็นเรื่องที่ยากและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เมื่อไม่มีผู้ให้ก็จะไม่มีผู้รับ หรืออยากรับแต่รอไปเป็นชาติเลย เพราะไม่มีคนให้อีกแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่พอ ภาครัฐบาลในสถานภาพของผู้ใบริการสาธารณะต้อง นำเรื่อง Good Governance มาลดวงจรนี้โดยตัดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากของรัฐบาลลง ทำให้เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เมื่อคนรู้สึกว่าเกิดความรู้สึกสะดวกสบายขึ้น ไม่มีภาระ ไม่ยุ่งยาก ไม่เสียเวลา จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อความสะดวกอย่างเคยอีกต่อไป เช่นในประเทศโบลิเวีย ที่มีการนำแนวคิดนี้มาใช้แล้วประสบความสำเร็จ และยังสามารถนำเงินที่ถูกต้องนี้มาบริหารจัดการให้เกิดความพึงพอใจ พอเพียงของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยการเพิ่มเงินเดือน ให้อีก พนักงานเลยเกิดมีสังคมใหม่ เป็นสังคมวัฒนธรรมแห่งความพอเพียงทั้งกายและใจ นำไปสู่ มาตรฐานธรรมาภิบาล :

ประเทศไทยมีคนยากจนที่คิดจากเกณฑ์ว่า มีรายได้ มีความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต ที่ต่ำกว่าเส้นมาตรฐาน ประมาณ 9 ล้านคน ตามสถิติ ของสภาพัฒน์ฯ จึงต้องมีการสร้างดัชนีตัวชี้วัด แล้วหารด้วยจำนวนจังหวัดกับ 9 ล้านคน แล้วแต่ละจังหวัดก็เป็นเจ้าภาพรับไปดูแลต่อ ด้วยการสร้างรายได้ ลดวงจรความยากจน ตามแผนและนโยบายที่ได้ Commit กับประชาชนและจะเป็นผลงานของรัฐบาลในภาพรวม แต่ระบบนี้ต้องต่อสู้กับตนเอง และ หนีสถิติเดิมที่ทำได้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีคนจนเหลืออยู่ดังเช่นคนใน USA และ Singapore  และการสนับสนุนให้เกิด พระราชบัญญัติธรรมาภิบาล ให้ประสบความสำเร็จต่อไป.....

นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”  

 

Dear Prof. Chira,

We had K. Aurin Sopchokchai from Government sector as our instructor yesterday, September 8, 2007.

Her topic was on the Ethical Capital and the definition of Good Governance. She described the level of good standard for being good governance and good citizen for the organization, especially for the government sectors.

The Ethical Capital is allignment with the good governance. Ethical is a must for any aspect of life, not only for the work wise but it should be for the moral of life. People are mostly focus only on the human and social capital, the ethical is another key factor for making well output. Most of the countries doing the heavy work on the human capital. Education is the key to develop people and the country. The ethical must be a drive with going together with the human and social capital.

Ethical standard for the country can not be accomplish without the full cooperation from population of the country. Create the awareness of how to be a good citizen and how to be allignment on being good citizen by against the wrong attitude, behavior on the under standard of ethical level is should be influence at all working places not only for government sections.

The right behavior, attitude will creat the better living environment and better society. Develping country, as a macro aspect must concerns on the level of standard of living. This aspect should not be only concern on the income, work , education but should also apply to the main concern on ethical standard.

The important of being good citizen and create good governance as the work wise and broad to the country aspect must be together with the full participation, accountability of the leaders and followers and the tranparency.

Awareness of being good citizen to the society, having good level standard and understand and accept the ethical capital as part of the key standard in life will makes the work place and the society become much better place to lives.

It was one of the key topic which we need to share visions together and learning from the govenment aspect.

Thank you very much & Best regards,

PS: I will not be in class on Saturday 15 September as I will be attending the Marketing Conference in Manila, Phillipine. My apology for the absence. Thank you very much.

Sarah (NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM

[email protected]

9/9/07

การบ้านครั้งที่  11เรียนวันเสาร์ที่  8  กันยายน  2550  กับท่านอาจารย์  อรพินท์  สพโชคชัยกรรมการ  (เต็มเวลา) ก.พ.ร.นักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี ในเวลา  9.00 น.  อาจารย์  อรพินท์  ได้เริ่มการบรรยายและสร้างบรรยากาศให้เป็นการอภิปรายในหัวข้อ  การสร้างระบบคุณธรรม  จริยธรรม  ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์   จุดประเด็นกันตรงที่ในสมัยก่อน  การอยู่รอดของคนใด  หรือของสังคมใด ๆ  จะขึ้นอยู่กับพละกำลัง  จำนวนคน  จำนวนทรัพยากรธรรมชาติที่มีหรือที่สามารถจัดหามาได้  ผมขอเรียกว่า  ใครใหญ่ใครอยู่   ต่อมาความเจริญมีมากขึ้น  จึงลดการใช้กำลัง  หันมาใช้ความรู้ของแต่ละคน  แต่ละสังคมมากขึ้น  คือ ยุคของการใช้สมอง  แต่ไม่ได้คำนึงถึงการใช้สมอง  หรือความคิดว่าใช้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม  หรือไม่  แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยม  การเอารัดเอาเปรียบ  จากการเป็นชนชั้นผู้นำ  เรียนสูง  ตำแหน่งหน้าที่ฐานะทางสังคมที่ดี  มีเครือข่ายพรรคพวกกว้างขวาง  เพราะหลายครั้ง หลายคนใช้เป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์กับตน  พวกพ้อง  และประเทศของตนดังนั้นต่อมาคน  และ  สังคม จึงมีความต้องการความถูกต้องมากยิ่งขึ้น  Ethics จึงเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของคนอย่างมาก  การวัดผลการทำงานใด ๆ  (Result Base  Management)  โดยมีการใช้ดัชนีชี้วัด (Key  Performance  Index : KPI)  นั้น  ในเบื้องหลังจะมีหลักความถูกต้อง  เป็นธรรม  ที่เรียกว่า  หลักธรรมาภิบาล  เป็นแนวคิดที่สนับสนุนอยู่เสมอ  ถึงแม้ในทางปฏิบัติจริงจะยังไม่เป็นไปทั้งหมด  แต่อย่างน้อยก็มีการให้ความสำคัญ  และร่วมกันตระหนักในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอาจารย์กล่าวถึงการปฏิรูประบบราชการไทย และ การทำงานของ  ก.พ.ร. ว่ามีปัญหาในหลายด้าน  ตั้งแต่เริ่ม  อย่างไรก็ตามการมีปัญหา  และการได้รับเสียงบริภาษจากหน่วยงานอื่น แสดงว่ามาถูกทางแล้ว (Done Anything  Right)  ในสหรัฐอเมริกามีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี  1993  ผมมีความเห็นว่าในสังคมอเมริกันด้วยกันเอง ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก  แต่อเมริกาก็ยังไม่ทำสิ่งนี้ในด้านการเมือง  และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะกับประเทศในโลกที่  3  สักเท่าใด  ผมยังคิดต่อไปอีกว่า  สังคมตะวันออกของชาวเอเชียบางประเทศต่างหาก  ที่ให้ความสำคัญกับธรรมภิบาลอย่างจริงจังกว่า  เช่นกรณีการลาออกและยอมรับผิดของนายธนาคารญี่ปุ่น ที่มีส่วนในปัญหาทางเศรษฐกิจ  กรณีของผู้นำที่ไม่ทำให้ผู้ถูกปกครอง  “Trust”   มักมีจุดจบที่ไม่สวย  ดังเช่นอดีตประธานาธิบดีคลินตัน , โจเซฟ  หลุยส์  เอสตราดา  แห่งทำเนียบมาลากันยัง , ประธานรุ่น 0143 กรณีเสียสัตย์เพื่อชาติ  รวมถึงอัศวินคลื่นลูกที่ 3  เจ้าของอาณาจักรชินคอร์ป  สาเหตุคงเป็นเพราะปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่  Directic  Democracy  ไม่ใช่  Representative  Democracy   หากแต่เป็น   Participative Democracy  กรณีที่สหภาพยุโรปยื่นเงื่อนไขขอเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการเลือกตั้ง  23  ธันวาคม  2550  จึงเป็นการสะท้อนความไม่น่าเชื่อถือของการจัดการเลือกตั้งของไทย  และระบบการบริหารราชการไทย ที่คนไทยพิสูจน์ให้ชาวโลกเห็นเองว่าไม่มีธรรมาภิบาล  ตั้งแต่ต้นปี  2549  จนถึงปลายเดือนกันยายน  การปกครองที่ไม่มีธรรมาภิบาล  ส่งผลให้ประชาชนที่ขาดโอกาสทางสังคม  เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต เพราะประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตกอยู่กับคนส่วนน้อยที่ถืออำนาจรัฐ สะท้อนต่อมาถึงความเจริญเติบทางเศรษฐกิจในอัตราต่ำ  และการมีความสุขของคนในชาติจำนวนมากลดลง  อาจวัดโดยเปรียบเทียบจากจำนวนคนที่มีความยากจนต่ำกว่าเส้นความยากจนที่องค์การสหประชาชาติกำหนด  จำนวนครั้งของการเกิดอาชญากรรม  จำนวนสลัมและชุมชนแออัด จำนวนบุคคลเร่ร่อนจรจัด การเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ  เช่นบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมูลฐาน  จำนวนประชากรต่อแพทย์ในชนบท  จำนวนผู้การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นต้น  ผมเคยได้ยินชาวบ้านพูดกันว่า  กระทรวงนี้สร้างตึกอีกแล้ว รถก็ติดหนักขึ้นอีก  ขี้ฝุ่นก็เยอะ  ป้ายสีเขียวตัวหนังสือขาวหน้าโครงการเขียนไว้ว่าเสร็จเมื่อไหร่  ไม่เห็นเคยตรงเวลาเลย  เสียดายเงิน  7 %ของค่างานชะมัด(ช่างบังเอิญ เท่า VAT พอดี)  แต่อาจมีคนบางคนยืนยิ้ม  บางคนเสียโอกาสที่ไม่ได้ยิ้ม  เป็นการสะท้อนว่าระบบธรรมาภิบาลของไทยยังไปไมถึงไหน ข้อคิดสำหรับผู้บริหารยุคใหม่องค์กรธรรมาภิบาลและการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากผู้บริหาร         ทำความเข้าใจและเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้น (Appreciation)         คิดเป็นคุณและคิดเป็นธรรม (Positive thinking)         กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายการทำงาน และอนาคต (Vision and career path)         เดินหน้าพัฒนาตนเอง (Self-development)          เป็นคนดีมีอุดมการณ์ ราชการ และ เป็นตัวอย่าง (Role model)         บริหารชีวิตอย่างสมดุล มีสติ และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด  หลักการธรรมภิบาลต้องให้ความสำคัญกับ         ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty &Transparency)          ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)          คุณธรรมจริยธรรมและมโนสุจริต (Integrity)         การมีส่วนร่วม (Participation) และ         มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness)  นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว  สิ่งสำคัญในวันนี้ที่ประชาชน  คนเจ้าของประเทศต้องการจากการทำงานของคนของรัฐมากที่สุดก็คือ  การลดขั้นตอนการทำงาน  เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน  ลดการรู้สึกว่าเป็นเจ้านายประชาชน  และมีสำนึกของการเป็นคนของรัฐที่มี Service  &  Marketing  Mind  เพื่อเป็นการดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระมหาราชาของพวกเรา
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ส่งการบ้าน  PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์  ที่ อาจารย์อรพินท์ สพโชคชัย สอนในวันที่ 8 กันยายน 2550  หัวข้อ การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ (Ethical Capital)/ นักศึกษา นพมาศ ช่วยนุกูล รภ.สวนสุนันทาการสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ (Ethical Capital) ในกรณีการประยุกต์ใช้ในระบบราชการเป้าหมายของราชการก็คือ  ประโยชน์สุขของประชาชน1. การพัฒนาข้าราชการ  โดยการพัฒนาและเพิ่มสมรรถนะของข้าราชการ  และ การปรับความคิด วัฒนธรรม และค่านิยม เพื่อให้ข้าราชการเป็น  High Performance Civil Servants  นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย2. ระบบราชการ  โดยการใช้การบริหารราชการยุคใหม่ (NPM) และสร้าง GG คือ การสร้างธรรมาภิบาล การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์  การปรับระบบการทำงาน และกระบวนงาน  หรือการพัฒนาคุณภาพบริหาร เพื่อให้องค์กรภาครัฐเป็น High Performance Public Sector ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน  กล่าวคือการพัฒนาในข้อ 1 และข้อ 2 ต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน โดยเฉพาะในการปรับความคิด วัฒนธรรม และค่านิยม ในข้าราชการ จะต้องดเป็นสิ่งเดียวกันกับการสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐ  เมื่อข้อ 1 และ ข้อ 2 ไปด้วยกันแล้วจะส่งผลและสนับสนุนความต้องการ (ประโยชน์สุข) ของประชาชน และเกิด High  Performance  Society   I ประเด็นการพัฒนาข้าราชการและระบบราชการ  ที่ ก.พ.  และ ก.พ.ร. กำลังดำเนินการและทุ่มเทอย่างหนักขณะนี้   ทำไมจึงมีคำถามและมีข้าราชการตำหนิอย่างมาก ?  ในทัศนคติของผู้เขียนเห็นว่าทั้ง   ก.พ.  และ ก.พ.ร. ทำหน้าที่ของตนเองแบบต่างคนต่างทำได้ดีมากและทำงานแข่งกับเวลาอย่างเห็นได้ชัด  [แต่ผลที่ออกมาจากการทำงานอย่างหนัก ทำให้ข้าราชการ/องค์กรภาครัฐ มีแนวคิดเป็น 2 แบบคือ 1) ต้องทำอะไรหลายอย่างบนความไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องทำ จำเป็นแค่ไหน และหากไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น  2)  ต้องทำเพราะถูกบังคับ ฉะนั้นต้องมีหน้าที่ทำให้เสร็จและมีผลงานส่งตามกำหนด] ดังนั้นผู้เขียนอยากเห็นบรรยากาศที่  ก.พ.  และ ก.พ.ร. ร่วมคิด ร่วมเสนองานแบบที่สร้างความรู้ ความเข้าใจในข้าราชการได้ว่าตัวเขา ต้อง/ควร ทำอะไร เพื่ออะไร และองค์กร ต้อง/ควร ทำอะไร เพื่ออะไร  หากวัตถุประสงค์ของคนและองค์กรเป็นสิ่งเดียวกัน ก็น่าจะเห็นผลสำเร็จที่เป็นเป้าหมายของราชการได้ไม่ยาก  โดยผู้เขียนเห็นว่า คนเป็นจุดสำคัญที่สุดกล่าวคือ ระบบที่ ก.พ. และ ก.พ.ร. ร่วมกันออกแบบจะดีเลิศอย่างไร แต่หากคนหรือข้าราชการไม่เข้าใจ และไม่มีเจตคติในการยอมรับการลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจส่งผลดีต่อคนในองค์กร และองค์กรนั้น ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของราชการก็ไม่เกิดII ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่น่าจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาข้าราชการคือ ความแตกต่างในปัจเจกบุคคล กล่าวคือ ข้าราชการส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค,  ผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติ ,ฯลฯ  มีทัศนคติและมีระดับความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน ซึ่งการแปลงนโยบายสู่แผนการปฏิบัติจะทำได้เร็ว-ช้า แตกต่างกันด้วย III สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ระหว่างที่มีการใช้ระบบหรือพยายามใช้ระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลอยู่นี้ หากพบว่าบุคคลใด ทำดี-บุคคลใด ทำในสิ่งที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ผู้เกี่ยวข้องจะต้องแสดงผลตอบแทนให้เห็นช้ดและตรงไปตรงมาในบุคคล 2 ประเภทนี้ ให้สาธารณะเห็นความแตกต่างอย่างเอาจริงเอาจังและต้องสร้างการตอบแทนดังกล่าวนี้ให้เป็นวันธรรมในสังคมข้าราชการด้วย .............................  
นางสาวชารวี บุตรบำรุง
                                           การบ้าน เรียนวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2550 บรรยายโดย..ดร.อรพินท์  สพโชคชัย กรรมการก.พ.ร. เรื่อง การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ : Ethical  Capital ผู้เรียน..ชารวี  บุตรบำรุง     

เมื่อกล่าวถึง Capital จะแบ่งออกเป็นหลายด้าน อาทิเช่น ทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ , Social Capital , Human Capital , ทุนทางเศรษฐกิจ ซึ่งในอดีตจะเน้นการพัฒนา 2 ด้านนี้ เช่น เกาหลี พัฒนาHuman Capital โดยพัฒนาการศึกษา เน้นด้านวิทยาศาสตร์ มีโรงเรียนที่ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะมานานหลายปีและหลายแห่ง หรือแม้แต่การผลิตโทรศัพท์มือถือ ก็ส่งวิศวกรไปเรียนรู้ยังต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยมีโรงเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์น้อยมาก และเริ่มต้นเพียงไม่นาน ฉะนั้นจึงควรหันมาให้ความสนใจเพื่อส่งเสริมพัฒนามากขึ้น หรือแม้แต่มาเลเซียที่มี Mission ปี 2000 ว่า คนมาเลเซียต้องเป็น Superior ในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นผู้บริหารประเทศไทย ต้องมีความชัดเจนในทิศทาง มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แผนบริหารราชการแผ่นดิน มีเป้าประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ ตัวชี้วัด ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น

     อีกทั้งปัจจุบัน หลายฝ่ายได้หันมาให้ความสนใจ โดยเฉพาะ EU ในเรื่อง Ethical Capital มี Ethical Standard ที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ หันไปยึดปฏิบัติ เช่น Toyota สร้างคุณภาพตีตลาดรถยุโรปหรือGM , เกาหลีผลิตเกมส์ออนไลน์ ที่มียอดขายมากกว่างบประมาณแผ่นดินเรา แต่ต้องถามว่า Ethical Standard อยู่ที่ไหน

    

ฉะนั้นควรเร่งสร้าง Ethical Standard และ Ethical Capital โดยเฉพาะภาครัฐ หรือระบบราชการ ยิ่งปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์หรือสังคมยุคใหม่ เราจะทำอย่างไร ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีเสถียรภาพ อย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานของการอยู่ร่วมกัน มีสันติ สมานฉันท์ ความขัดแย้งลดน้อยลง นำไปสู่สังคมที่มีเสถียรภาพ อีกทั้งยุคประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ 1. การโหวตโดยตรง 2. มีตัวแทน 3. ประชาชนมีส่วนร่วม

    นำไปสู่หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ = Good  Governance = สังคมมีความเป็นธรรม เท่าเทียมกันทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายทุกเรื่อง โปร่งใส จากการเปลี่ยนแปลงสู่..การบริหารราชการตามหลักการธรรมาภิบาล คือ 
  • การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ( การเมืองภาคประชาชน และปัญหาความโปร่งใส )
  • ปัญหาและกระแสกดดันทางเศรษฐกิจ สู่การแข่งขันและการอยู่รอด ( ภาคธุรกิจเอกชน ภาค technocrats ภาควิชาการ และภาคประชาชน )
  • กระแสกดดันเวทีนานาชาติ ( มาตรฐานการบริหารจัดการตามหลักประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล )
ดังนั้น การบริหารประเทศ ต้องมองข้าม Short อะไรคือปัญหาสำคัญ Brand ซื้อได้หมด แต่ Ethical ต้องสร้าง ไม่มีขาย และควรให้ความสำคัญกับ หลัก
  • ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส : Honesty & Transparency
  • ความพร้อมรับผิดชอบ : Accountability
  • คุณธรรมจริยธรรมและมโนสุจริต : Interity
  • การมีส่วนร่วม : Participation
  • มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม : Equity and Fairness
และที่สำคัญ ควร 1. พยายามอย่างไรจึงจะปรับกลไกที่ทำงาน ให้เป็นหลักสากล หรือหลักสมัยใหม่ (ลดขั้นตอน)

2. ทำให้มีความโปร่งใสชัดเจน (ทำสิ่งที่คลุมเครือให้หายไป)

    

     จากอดีตสู่ปัจจุบัน มีเรื่องราวมากมายที่สะท้อนถึง Ethical ที่เกี่ยวกับผู้นำประเทศ เพราะผู้นำประเทศเปรียบเสมือนต้นแบบ ในการพาประเทศไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น ประธานาธิบดี บลิน คลินตัน กับ ลูวินสกี หรือแม้แต่ประเทศไทย อดีตนายกทักษิณ เช่นในเรื่องขายหุ้น ฯ ที่เป็นต้นแบบในทางลบ แต่ต้นแบบในทางบวก เช่น นายกรัฐมนตรี,ผู้จัดการธนาคารของญี่ปุ่น ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ธนาคารมีปัญหา เขาเหล่าต่างแสดงความรับผิดชอบจากการบริหารงาน โดยการลาออกทันที ฉะนั้น การที่จะปลูกฝังความมี Ethical ในคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศได้ ควรเริ่มต้นที่ผู้นำ โดยเฉพาะภาครัฐหรือราชการ ถือเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีหน้าที่บริการ รับผิดชอบต่อประชาชน ควรมีความตั้งใจในการทำงาน บริการด้วยความเต็มใจ ต่อประชาชน ต่อประเทศชาติ  รวมทั้งมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นธรรม เท่าเทียมกันทุกฝ่าย ยึดมั่นในความถูกต้อง จริงใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รู้จักบุญคุณกตัญญูกตเวทิตา เมื่อผู้นำมีสิ่งเหล่านี้ ความเชื่อถือ ความไว้วางใจย่อมเกิดขึ้นพร้อมเป็นเบ้าหลอมให้ประชาชนในประเทศ ยึดถือและนำมาเป็นแบบอย่างปฏิบัติตาม คุณธรรมและจริยธรรม ความสุข ความยั่งยืน ความมีเสถียรภาพ ย่อมเกิดขึ้น ประเทศก็จะพัฒนาเจริญเติบโตต่อไป......แต่สำหรับประเทศไทย......วันนี้คงต้องถามว่า Ethical Standard อยู่ที่ใด ? มีมากน้อยแค่ไหน ?  ช่วยหาคำตอบด้วย.... ขอบคุณค่ะ

  
 
Ethical Capital (อ.อรพินท์  สพโชคชัย)                 ทุนทางจริยธรรม จัดเป็นทรัพย์สินขององค์กร ในสหรัฐฯ นำระบบคุณธรรมจริยธรรมเข้ามาใช้ตั้งแต่ปี 1993 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจารย์แนะว่าสมัยก่อนใช้กำลังเป็น Human Capital ประเทศที่มีคนมากกว่าจะได้เปรียบกว่าประเทศที่มีคนน้อย แต่ในปัจจุบันนี้ Human Capital ใช้ Knowledge มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ ตัวอย่างการลงทุนด้าน Human Capital อันนำไปสู่การพัฒนา เช่น ในประเทศมาเลเซียมองว่าในปี 2000 คนมาเลเซียต้องเป็น Superior และในปี 2007 ใช้ brain ของ Human Capital ในการขับเคลื่อนประเทศ หรือในประเทศเกาหลีมีการสร้างระบบ Gifted & Talented โดยการลงทุนสร้าง brain มีโรงเรียนมากกว่า 20 แห่งให้ประชาชนในประเทศ ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์และมีเทคโนโลยีมากมาย และกรณีของบริษัทซัมซุง ที่ส่งนักวิศวกรไปเข้าอบรมเรื่องการออกแบบในการต่างประเทศแล้วมาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่                 คำว่า “Ethical Standard” เป็นสิ่งที่ทั่วโลกยึดถือกันในปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมข้อมูลข่าวสาร การมี Ethical Standard จะนำมาสู่ Ethical Capital ดังนั้นจึงทำให้มีการเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งของ EU ในประเทศไทย อาจารย์ยกตัวอย่างประเทศที่มี Zero Corruption เช่น ฟินแลนด์ และสิงคโปร์ และอาจารย์มองว่าประเทศไทยขาดในเรื่องของ Accountability (ความพร้อมรับผิดชอบ) และ Integrity (มโนสุจริต) โดยประเทศไทยถูกจัดอันดับโดยกลุ่มนักธุรกิจต่างประเทศว่าเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นสูงสุดอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก  หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ประเทศไทยมีการคอร์รัปชั่นค่อนข้างมาก โดยเห็นได้จากคะแนนภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นที่จัดโดยองค์กรโปร่งใสระหว่างประเทศ ประเทศไทยล่าสุดได้ 3.8 จาก  10 และอยู่ลำดับที่ 59 วัดจากประเทศที่โปร่งใสมากมาหาน้อย (วิทยากร เชียงกูล, 2549  : 6)                ยุคประชาธิปไตย มี 3 ยุค (1) Direct Democracy เป็นประชาธิปไตยโดยตรง จะมีการให้คะแนนของแต่ละคนใน hall (2) Representative Democracy คือเมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้นทำให้เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยแบบตัวแทน และ (3) Participative Democracy ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นประชาธิปไตยที่คนเข้ามามีส่วนร่วม                 หลักการบริหารราชการสมัยใหม่ จะต้องประกอบด้วย 2 หลักดังนี้ (1) พยายามปรับกลไกให้เข้าสู่หลักสากล เช่น การปรับคุณภาพการบริการให้ดีขึ้น (ลดขั้นตอนการทำงานลง) และเพิ่มหลักธรรมาภิบาล ซึ่งจะส่งผลให้เกิด Good Governance และค่าใช้จ่ายต่างๆ ลดน้อยลง และ (2) มีความโปร่งใสชัดเจน ประชาชนจะได้รับทราบข้อมูลครบถ้วนและทำให้ไม่มีการรับเงินใต้โต๊ะ โดยสังคมที่มี Good Governance จะเป็นธรรม มีความเท่าเทียมกัน เปิดเผยข้อมูล สุจริตโปร่งใส และตรงไปตรงมา                     คำว่า   Good Governance เริ่มนำมาใช้กันเมื่อประมาณ  10  กว่าปีที่ผ่านมา  โดยปรากฏในรายงานของธนาคารโลก  เมื่อปี  .. 1989  เมื่อแนวความคิด Good Governance  เข้ามาในประเทศไทยในช่วงปีพ..2540 นักวิชาการหลายท่านได้แปลความหมายของคำว่า Good Governance โดยเสนอใช้คำว่า กลไกประชารัฐที่ดี  บ้าง ประชารัฐ  บ้าง ธรรมรัฐ  บ้าง ศุประศาสนการ  บ้าง  แต่ปัจจุบันใช้คำว่า ธรรมาภิบาล  ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก  เพราคำว่าธรรมาภิบาลจะมีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมทั้งทางบริหารจัดการที่ดีขององค์การธุรกิจ  และการปกครองที่ดีของภาครัฐ ซึ่งสรุปได้ว่า Good Governance   จะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ  3 ส่วน คือ                    ·     ภาครัฐ (Public  Sector)   ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง  กฎหมายและการบริหารราชการ                    ·     ภาคเอกชน (Private Sector) ซึ่งจะมีส่วนในการประกอบธุรกิจที่ดีและดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง                    ·     ภาคประชาชนหรือองค์กรต่างๆ (Civil Society) จะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  โดยการระดมกลุ่มต่าง ๆ  ให้เข้ามามีส่วนร่วมใน
กิจกรรมต่างๆ  และสามารถตรวจสอบทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้ซึ่งหลักการธรรมาภิบาลจะให้ความสำคัญกับหลักต่างๆ ดังนี้ (1) ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty & Transparency) (2) ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability) (3) คุณธรรมจริยธรรมและมโนสุจริต (Integrity) (4) การมีส่วนร่วม (Participation) และ (5) มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness) โดยหลักทั้ง 5 ข้อจะต้องเป็นวาระแห่งชาติของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนทั้งประเทศ                ดิฉันได้มีโอกาสอ่านบทความเกี่ยวกับ การใช้จริยธรรมและคุณธรรมในการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน ของพล.อ.เปรม ท่านกล่าวว่าผู้บริหารจะต้องมีจิตสำนึกที่จะนำสิ่งที่ดีไปใช้ และขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป สิ่งเหล่านี้คือ 1.ความซื่อสัตย์ เป็นจริยธรรมทั้งของการบริหารภาครัฐและของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ในการบริหารงานคือ ความซื่อสัตย์ของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ไม่ได้หมายถึง การประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ต้องถูกต้องตามจริยธรรมและศีลธรรมด้วย ความซื่อสัตย์มิได้หมายเฉพาะตนเองมีความซื่อสัตย์เท่านั้น แต่หมายถึง ต้องควบคุมให้คนรอบตัวเรา มีความซื่อสัตย์ การบริหารและผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ เพราะมีกิเลสก่อให้เกิดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ องค์กรใดผู้บริหารมีกิเลสต้องขจัดด้วยหิริโอตัปปะ 2.กฎหมาย เป็นที่ยอมรับกันว่า กฎหมายไม่สามารถอุดช่องโหว่การบริหารของผู้บริหารที่จะแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายวางมาตรฐานขั้นต่ำของการประพฤติมิชอบไว้เท่านั้น แต่มาตรฐานทางจริยธรรมในเรื่องของการประพฤติชอบและความซื่อสัตย์นั้นสูงกว่ากฎหมาย ในบางเรื่องกฎหมายเขียนว่าไม่ผิด แต่เมื่อเอามาตรฐานทางจริยธรรมมาจับก็อาจถือว่าผิดได้ เช่น เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน กฎหมายบัญญัติไว้เฉพาะเรื่องของตนเอง แต่ไม่ได้ห้ามไปถึงครอบครัวและญาติพี่น้องจึงมีการกล่าวกันว่ากฎหมายบางฉบับไม่เป็นธรรม 3.ความเป็นธรรม บอกยากว่าความเป็นธรรมคืออะไร บ้างว่าความเป็นธรรมอยู่ที่กฎหมาย ถ้าทำถูกกฎหมายก็ถือว่าเป็นธรรม บ้างว่าความเป็นธรรมอยู่ที่จิตสำนึกของผู้บริหารก็ไม่น่าจะถูกนัก เพราะผู้บริหารลำเอียงได้ บ้างก็ว่าถ้าคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์สูงสุดถือว่าเป็นธรรม คนด้อยโอกาส คนที่เสียเปรียบในสังคมให้คนเหล่านั้นสามารถพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจและสภาพทางสังคมสูงขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงและมีความได้เปรียบอยู่แล้ว ควรจะต้องยอมเสียประโยชน์บ้าง 4.ประสิทธิภาพ เป็นเรื่องเข้าใจง่ายและจริยธรรมของการบริหารงานที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ในตัวประสิทธิภาพเองอาจไม่สอดคล้องกับจริยธรรม กรณีจะเลือกอะไร สำหรับผมเลือกจริยธรรม เพราะผมเชื่อว่า เราสามารถหาหนทางที่จะให้ประสิทธิภาพไปด้วยกันได้กับจริยธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส หรือ ความเป็นธรรม 5.ความโปร่งใส เป็นเรื่องเข้าใจง่ายและเป็นจริยธรรมของการบริหารงาน เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการเรียกร้อง เรียกหาความโปร่งใสกันมาก เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารภาครัฐได้ เรามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร บัญญัติให้รัฐเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชน การหลีกเลี่ยงไม่เปิดเผยข้อมูลถือได้ว่าขัดจริยธรรม 6.ความมั่นคงของรัฐ เราใช้จริยธรรมในการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของรัฐความมั่นคงของรัฐคือผลประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง การใช้จริยธรรมในการบริหารความมั่นคงอาจจะกระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงจำเป็นต้องหาความสมดุลให้ได้ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคงมีอยู่และอาจจะคงมีต่อไป เพราะผู้บริหารอาจจะยังหาความสมดุลไม่พบ 7.ค่านิยม มีผลกระทบโดยตรงต่อจริยธรรม ค่านิยมของคนไทยที่ชัดเจนในปัจจุบัน คือ ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า ความร่ำรวย สามารถสร้างชื่อเสียง เกียรติยศ และฐานะได้ จึงมีคนจำนวนไม่น้อยรีบสร้างความร่ำรวย โดยไม่แยแสต่อจริยธรรมและที่แปลกแต่จริง และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง คือ เรามักจะนิยมยกย่องคนร่ำรวยว่าเป็นคนดี น่าเคารพนับถือ โดยใส่ใจว่า เขาเหล่านั้นร่ำรวยมาด้วยวิธีใด และดูหมิ่นคนจนต่าง ๆ นานา เพราะคนเหล่านั้นมอซอ พูดไม่เพราะ มีความรู้น้อยไม่อยากคบหาสมาคมด้วย ตราบใดที่เหม็นสาบคนยากคนจน ยังร้องเพลง "กอดกับคนจน หน้ามนต์ยังบ่นว่าเหม็น" ไม่มีทางแก้ปัญหาความยากจนสำเร็จ                ดังนั้น การบริหารภาครัฐสมัยใหม่นั้นจะต้องมีสิ่งที่สำคัญ 2 ส่วน คือ (1) การสร้างค่านิยมความมีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในระดับปัจเจกบุคคล และ (2) การส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลให้เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วนของสังคม เป็นกฎเกณฑ์กติกาของสังคมในการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต่อไป..

การบ้านครั้งที่ 11

การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล สำหรับทรัพยากรมนุษย์

( Ethical Capital)

สอนโดย ดร.อรพินท์ สพโชคชัย

เรียนเสาร์ที่ 8 กันยายน 50

นักศึกษาชื่อ นายพนม ปีย์เจริญ

.......................................

กว้างยิ่งกว่าท้องฟ้า ลึกกว่ามหาสมุทร

เป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานให้เรามา พร้อมๆกับการสร้างมนุษย์ ด้วยการวางไว้ในตำแหน่งสูงที่สุดในร่างกายของเรา และเราเรียกมันว่า สมองหรือ “Brain”

   

     สมองมีความลึกซึ้งซับซ้อนเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา สมองมีการเรียนรู้และมีพัฒนาการอย่างไม่หยุดยั้ง ขึ้นอยู่กับการพัฒนาการในการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมมาตั้งแต่ต้น จากการทดลองพบว่า เมื่อมนุษย์แรกเกิดจนถึงอายุ 11 เดือน เขาถูกนับว่าเป็นประชากรของโลก แต่หลังจากนั้นเมื่อเขาถูกหล่อหลอมด้วยภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม พฤติกรรมของพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูที่อยู่ใกล้ชิด ตั้งแต่ขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ เขาก็จะกลายไปเป็นประชากรของประเทศนั้นๆไปแล้ว

   

     โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา แต่เดิมมาเราพัฒนาและปลูกฝังคนของเรา ด้วยการพัฒนามาจากภายใน คือการพัฒนาทางด้านจิตใจ

ด้วยไตรสิกขา คือ ศีล... การพัฒนาด้านพฤติกรรม

สมาธิ... การพัฒนาด้านจิตใจ

ปัญญา.. การพัฒนาด้านความรู้ สติปัญญา

        ดังนั้นการพัฒนาคนของไทยเราจึงปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมๆกับการพัฒนาด้านความรู้ มาถึงในยุคหนึ่ง เราหันไปพัฒนาตามแนวทางตะวันตก ด้วยการพัฒนาคนจาก Vision และ Skill แล้วละเลยการปลูกฝังพัฒนาทางด้านจิตใจ จนเราได้ คนเก่ง แต่ไม่ดีมาอยู่ในสังคมระดับรากหญ้าไปจนถึงระดับผู้นำของประเทศ กว่าเราจะรู้ตัวก็เหมือนทฤษฎีกบต้ม ไปเรียบร้อยแล้ว

     เราจึงรีบหันมามองเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมกันอีกครั้งหนึ่ง ชนิดที่ถ้าเป็นรถก็เลี้ยวกลับจนเกือบตีลังกาหงายท้องยังไงอย่างนั้น เหตุผลก็เพื่อเราอยากได้สังคมตามที่เราต้องการคือ

    

1. สังคมคุณภาพ

2. สังคมแห่งการเรียนรู้

3. สังคมแห่งความสมานฉันท์ และเอื้ออาทร

    

     ซึ่งการที่สังคมจะเป็นเข่นนี้ได้ ก็ต้องได้รับการสนับสนุน ร่วมมือจากทั้ง 3 ภาคส่วนคือ

    

1. ภาครัฐ ที่ต้องมีธรรมาภิบาล ( Good Governance )

ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค และดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีเอาไว้

2. ภาคเอกชน ที่ต้องมีบรรษัทภิบาล ( Corporate Governance )

ทำธุรกรรมด้วยความสุจริตถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม

3. ภาคประชาชน ต้องมีประชาสังคม ( Civil Society )

เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน โดยที่บุคคล ( Individual ) ต้องมีสุขภาพดี มีการศึกษาที่ดี มีการพัฒนาอาชีพ

    

- กลุ่มหรือทีม ( Team ) ต้องมุ่งเป้าไปสู่การทำให้เกิดรูปแบบของประชาสังคม (Society)

- ชุมชน (Society) ต้องเป็นชุมชนเข้มแข็ง

ซึ่งในความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน ในบ้านเมืองเรา สังคมยังยังไม่มีโอกาสเป็นไปตามสังคมที่เราต้องการ เพราะปัญหาต่างๆยังมีอยู่คือ

1. ปัญหาความยากจน

2. ปัญหายาเสพติด และ

3. ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น

    

     สาเหตุใดเล่าที่ทำให้สังคมไทยเราเป็นเช่นนี้ และทำไมถึงแก้ไม่หายเสียที สาเหตุหลักๆที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเพราะ คนไทยเราด้วยกันเอง

1. เกิดจากบุคลิกภาพของคนไทยเราเอง ที่ไม่ชอบเอาตัวเข้าไปยุ่ง
เพราะคิดว่าธุระไม่ใช่จึงหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และใส่หน้ากากเข้าหากัน เมื่อถึงเวลาที่จะเด็ดขาดก็ใช้หลัก ประนีประนอม รอมชอมกัน
2. โครงสร้างทางสังคม เป็นลักษณะโครงสร้างหลวม (Loose Structure) ชอบทำงานเฉพาะกิจไม่ชอบทำงานที่ผูกพันระยะยาว ขาดวินัย มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง คล้อยตามกลุ่ม ที่สำคัญเมื่อมีการกระทำผิดการลงโทษก็อ่อน

3. การกล่อมเกลาทางสังคม ขาดต้นแบบที่ดีทั้งในส่วนปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ที่ยังขาดแบบอย่างที่จะทำให้สังคมเด็กๆและวัยรุ่น เอาเป็นแบบอย่างได้ ทั้งโรงเรียน เพื่อน กลุ่มอาชีพ และสื่อต่างๆ

  

4. ค่านิยมระบบอุปถัมภ์

เป็นค่านิยมที่ปลูกฝังมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และถูกพัฒนารูปแบบมาตามกาลเวลา แต่ก็ยังแสดงออกมาในลักษณะประจบสอพลอ ขาดความเสมอภาค มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง มีผลประโยชน์ต่างตอบแทน และยึดประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

    

5. กระแสโลกาภิวัตน์

ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ( Cross Culture ) อย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิด

- บริโภคนิยม

- วัตถุนิยม

- เห็นเงินตราและวัตถุมีคุณค่า มากกว่าคุณธรรมและจริยธรรม

     สาเหตุทั้งหลายเหล่านี้คือต้นเหตุของปัญหาของสังคมไทย ที่ทำให้เรามีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เราต้องแก้ไขด้วย 3 ภาคส่วน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ

ภาครัฐต้องมีธรรมาภิบาล

ภาคเอกชนต้องมีบรรษัทภิบาล

ภาคประชาชนต้องมีชุมชนที่เข้มแข็ง แล้วช่วยกันสร้างให้สังคมเป็นสังคมที่

  

1. มีคุณภาพ

2. มีการเรียนรู้และภูมิปัญญา

3. สมานฉันท์
และอื้ออาทร

     ซึ่งเราจะต้องทำให้การเมืองบ้านเรา ที่เป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ด้วยการทำให้การเมืองเป็น การเมืองระบบเปิด ( Political Open System ) ซึ่งจะเป็นการเมืองตามที่ประชาชนต้องการโดยที่

      

1. ภาคประชาชน

ต้องพยายามสร้างค่านิยมในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้น

2. ภาคตรวจสอบ

ต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ พยายามอย่าให้เป็นลักษณะ สภาผัวเมีย ดังที่เคยเป็นมา

3. ภาคตัวแทน

ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีอุดมการณ์ในการทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยแท้จริง

     

     เพราะพรรคการเมืองที่เป็นพรรคเสียงข้างมาก ที่จะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล และมาใช้อำนาจในการบริหารประเทศ

ทั้ง อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ต้องได้บุคคลที่มีจริยธรรม คุณธรรม เข้าหลักเป็นคนดีและเก่งด้วย จึงจะเข้ามาช่วยทำให้สังคมไทยน่าอยู่เช่นที่เคยเป็นมา

     เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองทั้งหลายที่ต้องทำหน้าที่ สรรหา.. ตรวจสอบ.. คัดเลือก.. บุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับประชาชนในเบื้องต้นเสียก่อน ก่อนที่จะมาให้ประชาชนเป็นผู้เลือกเข้าไปเป็นตัวแทนให้เขาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เราได้ผู้นำที่เป็นคนเก่ง คนดี มีจริยธรรม คุณธรรม ในการบริหารบ้านเมืองอย่างมี ธรรมาภิบาล ด้วยการยึดหลักการต่างๆดังต่อไปนี้

    

1. หลักคุณธรรม

2. หลักนิติธรรม

3. หลักความคุ้มค่า ในการใช้ทรัพยากร

4. หลักความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

5. หลักการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ

     

     ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นหลักยึดให้กับ ผู้แทนที่จะก้าวไปสู่ผู้นำในระดับต่างๆเพื่อให้ยึดถือปฏิบัติ และถือได้ว่าเป็น KPI ที่สำคัญในการตรวจสอบมาตรฐานของผู้นำในแต่ละระดับของประชาชน.

    

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr. Panom Peecharoen

11.9.2007

    

 

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 12 Human Capital (1-Sep-07)

Ethic Capital.

ดร. อรพินท์  สพโชคชัย

 

            ดร.อรพินท์  สพโชคชัย ท่านเป็น กรรมการ ก.พ.ร. จบปริญญาโท และ ปริญญาเอก ด้าน Public Administration จากต่างประเทศ

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

            ดร.อรพินท์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานบริหารงานภาครัฐกว่า 20 ปี ให้ผมได้รับทราบและเกิดแนวคิดใหม่   ท่านเล่าถึง  กพร.ใช้ระบบ Result Based Management ซ่อมหลักธรรมภิบาลเอาไว้  มีการทำ Bottom Line  เป็นเส้นวัด

            คุณธรรมกับจริยธรรมในองค์กร Good Corporate Governance  ท่านมี คำคมว่า “You must be something right”  หมายความว่าคุณทำสิ่งที่ถูกต้อง ได้ยกตัวอย่างการพัฒนาในเรื่องต่างๆที่แฝงไว้ด้วย Ethics

 

Case Study : เกี่ยวกับเรื่อง Give and Talent ของประเทศเกาหลีใต้.

            เรื่องจากประเทศเกาหลีใต้มองเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องทุนมนุษย์ตั้งแต่เมื่อกว่า 20ปี ที่แล้ว รัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ ได้สร้างโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความเก่ง, ความถนัดด้านต่างๆ และมีพรสวรรค์ ทำการเรียนการสอนคล้ายๆกับ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ของเรา แต่ในประเทศไทยมีเพียงแห่งเดียว  ประเทศเกาหลีใต้มีโรงเรียนแบบนี้ 20 กว่าแห่งทั่วประเทศ เปิดสอนมากกว่า 20 ปี แล้วในขณะที่ประเทศไทยมีเพียงแห่งเดียวเปิดสอนได้ไม่ถึง 10ปี ปัจจุบันนักเรียนเหล่านี้ของเกาหลีใต้จบออกมาเป็นระดับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงขององค์กรต่างๆในประเทศแล้ว.

 

Case Study : การลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในประเทศเกาหลีใต้ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการโทรศัพท์มือถือ

            ประเทศเกาหลีใต้ผู้นำด้านอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่นโทรศัพท์มือถือ โดย บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในเกาหลี  ส่งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรผู้ออกแบบมือถือ/คอมพิวเตอร์ ไปเข้า course fashion design ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในการออกแบบผลิตภัณฑ์  ซึ่งผลผลลัพท์ที่ออกมานั้น ทำให้เกิดการผลิกโฉมหน้าวงการอุปกรณ์สื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ จากที่เคยมีแต่ โทรศัพท์มือถือ สีดำและสีเทา กลับมือถือสีแดง , สีเขียว , สีฟ้า เจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง , เด็กวัยรุ่น เป็นต้น.

 

ดร.อรพินท์ยกตัวอย่างของคำบางคำที่ไม่มีคำแปลในภาษาไทย อาจต้องใช้คำหลายๆคำเพื่อบอกความหมายของคำเหล่านี้.

-          Integrity คือ เป็นคนดี ยืนหยัดในหลักการ อยู่ฝ่ายดี Integrity คำคำนี้ยังรวมความหมายถึงการสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นในสังคมได้ (Civili society) อาจจะเกินกว่าคนในสังคมไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจ.

-          Accountability คือ ความพร้อมรับผิดชอบ

 

Case Study : การโกหกของอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน กับ โมนิกา ลูวินสกี

            อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน แห่ง สหรัฐอเมริกา กับ โมนิกา ลูวินสกี มี "ความสัมพันธ์ไม่เหมาะสม" (inappropriate relationship) ในช่วงที่ลูวินสกีเป็นนักศึกษาฝึกงานในทำเนียบขาว ระหว่าง พ.ศ. 2538-2539 ตลอดเวลาที่มีเป็นคดีอยู่นั้น คลินตัน

ปฎิเสธตลอดเวลาว่า ไม่เคยมีความสัมพันธ์ ทางเพศกับ ลูวินสกี แต่เมื่อคดีดำเนินมาถึงที่สุด อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ต้องออกมายอมรับ ว่ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับ

โมนิกา ลูวินสกี  ทำให้ประชาชนอเมริกาช๊อคไปตามๆกัน กับการโกหกของผู้นำของเขา.

 

วิวัฒนาการประชาธิปไตย

Direct Democracy : ประชาธิปไตยโดยตรง.

Representative Democracy : ประชาธิปไตยแบบตัวแทน.

Participative Democracy : ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม.

 

การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 

-          การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (การเมืองภาคประชาชนและปัญหาความโปร่งใส่ transparency Problem )

-          ปัญหาและกระแสกดดันทางเศษฐกิจสู่การแข่งขันและการอยู่รอด (ภาคเอกชน ภาคผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค Technocrats , ภาควิชาการ , ภาคประชาชน)

-          กระแสกดดันเวทีนานาชาติ (มาตรฐานการบริหารจัดการตามหลักประชาธิปไตยและธรรมภิบาล)

 

            รัฐบาลที่แล้ว ในยุคของนายกทักษิณ  ชินวัตร ซื้อ Brain ได้ แต่ Ethics ซื้อไม่ได้ รัฐบาลที่แล้วสอบตกเรื่อง Ethics ทำให้เกิดการปฎิวัติ 

 

Unexpected expenses คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่.

 

ดร.อรพินท์ ยกตัวอย่าง การให้บริการของภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล ที่ให้บริการแก่ประชาชน ไม่จำเป็นต้องให้ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แก่หมอและพยาบาล.

 

Case Study : โบลิเวีย กับการจัดการคอร์รับชั่น.

            ในอดีตประชาชนในโบลิเวียเมื่อการธุรกรรมที่ต้องติดต่อกับทางราชการ จะต้องเสียเวลานานมากในการติดต่อ และต้องจ่ายใต้โต๊ะจำนวนมากให้แก่เจ้าหน้าของทางราชการ นายกรัฐมนตรีท่านหนี่งของโบลิเวีย มองเห็นปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นกาฝากของทางราชการอย่างมาก จึงได้จัดการกับเจ้าหน้าที่ที่เรียกรับสินบนเหล่านี้.

            จากนั้นเมื่อ kill the big fish แล้ว นายกรัฐมนตรีของโบลิเวียท่านนี้ มีนโยบายให้จัดเก็บค่าธรรมสูงขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อเทียบกับเงินสินบนที่เคยจ่ายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อแลกกับความเร็วในการติดต่อธุรกรรม ถือมากน้อยกว่ามาก. ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นทำให้รัฐได้เงินเข้ามาพัฒนาระบบการบริการให้ดีขึ้น รวดเร็ว.

            ปัจจุบันอดีตนายกรัฐมันตรีของโบลิเวียท่านนี้เมื่อครบวาระแล้ว ท่านได้ไปเป็น     อาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในโบลิเวีย.

 

            อยากให้ประเทศไทยสามารถทำได้อย่างประเทศเกาหลี ที่อดีตประธานาธิบดีของเกาหลีเคยสร้างความเจริญ ให้ประเทศอย่างมาก แต่เมื่อมีการคอร์รับชั่นเกิดขึ้น  ประชาชนของเขาแยกแยะออกว่า สิ่งใดคือความดี สิ่งใดคือความเลว มันสมานท์ฉันกันไม่ได้ เขาไม่ต้องการคนที่เก่งแต่โกงมาก   เมื่อมีประธานาธิบดีอีกคนจากที่เคยเป็นแกนนำนักศึกษาล้มรัฐบาลที่โกงได้ แต่เมื่อโตขึ้นมาเป็นรัฐบาลและได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแล้ว ก็แสดงพฤติกรรม มือหนึ่งทำแต่อีกมือหนึ่งล้วงกระเป๋า ประชาชนจากที่เยรักก็ไม่ศรัทธา และเมื่อการตรวจสอบดำเนินคดีถึงที่สุด ก็เป็นประธานาธิบดีคนที่สองที่ได้เข้าคุกไปอีกคน. ผิดว่าไปตามผิด ไม่ใช่ คนที่เราชอบผิดไม่เป็นไร ความผิดกองเป็นภูเขาเหลากา ทำเป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา.

หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์
( Ethical Capital )อรพินท์ สพโชคชัย  กรรมการ ก.พ.ร. ความเป็นมาของหลักธรรมาภิบาลจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ดังที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งเกิดขึ้นจากความบกพร่อง ความอ่อนแอ และหย่อนประสิทธิภาพของกลไกด้านการบริหารจัดการในระดับชาติ และระดับองค์กร ทั้งในภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงการทุจริต และการกระทำผิดจริยธรรมในวิชาชีพ ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้1. การขาดกลไกและกฎเกณฑ์ที่ดีพอในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม ขณะที่กลไกที่มีอยู่บกพร่อง ไม่สามารถเตือนภัยที่เคลื่อนตัวเข้ามากระทบระบบเศรษฐกิจและการเงินอย่างรวดเร็วได้ รวมทั้งเมื่อถูกกระทบแล้วยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลไก และฟันเฟืองการบริหารจัดการต่าง ๆ ของภาครัฐและภาคเอกชนให้ทันต่อสถานการณ์ได้2. ความอ่อนด้อยและถดถอยของกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการหรือเทคโนแครต(Technocrats) คนกลุ่มนี้ต้องมีบทบาทสำคัญในการศึกษา ค้นคว้า เสนอแนะนโยบายและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่จำเป็นในการบริหารประเทศ3. ระบบการตัดสินใจและการบริหารจัดการทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนมีลักษณะที่ขาดความโปร่งใสบริสุทธิ์และยุติธรรม ส่งผลให้ตัวระบบเองไม่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสหรือช่องทางให้เกิดความฉ้อฉลผิดจริยธรรมในวิชาชีพขึ้นได้4. ประชาชนขาดข้อมูลข่าวสาร ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองอย่างชัดเจน จึงทำให้ไม่มีโอกาสในการร่วมตัดสินใจและร่วมแก้ไขปัญหา5. ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและมีการร่วมกันการกระทำทุจริตอย่างเป็นกระบวนการจากสาเหตุดังกล่าว หากไม่ได้รับการจัดการแก้ไขและป้องกันโดยเร่งด่วนแล้ว โอกาสการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจของไทย อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนก็คือ การขจัดสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น และสร้างธรรมรัฐ หรือธรรมาภิบาล(Good Governance) เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ให้ปรากฏเป็นจริงในภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน โลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือสังคมยุคใหม่1.      การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ        เศรษฐกิจเสรี         การแข่งขันรุนแรงและยังมีการกีดกันทางการค้า        การรวมตัวทางเศรษฐกิจ2.      วิวัฒนาการและลักษณะทางสังคม        สังคมข้อมูลข่าวสาร สังคมแห่งการเรียนรู้...วัฒนธรรมของสังคมเมือง         เปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิต และการแข่งขัน 3.      การขับเคลื่อนทางการเมืองการปกครอง        ปรับเข้าสู่การเมืองแบบมีส่วนร่วม  (Participative Democracy)         ระบบการเมืองที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่เชื่อมั่นศรัทธา4.      พัฒนาการและการตื่นตัวของภาคประชาสังคม        ความเข้มแข็งและการรวมตัวของภาคประชาชน        เรียกร้องกติกาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์อย่างมีดุลยภาพและเป็นธรรมาภิบาลธรรมาภิบาล (อังกฤษ: good governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น          ธนาคารโลกให้ความหมาย Good Governance ไว้ว่า เป็นลักษณะและวิถีทางของการใช้อำนาจในการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจและทางสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 1 และพรนพ พุกกะพันธุ์ ให้ความหมาย Good Governance ไว้ว่า เป็นผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมซึ่งบุคคลหรือสถาบันทั่วไป ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกันได้กระทำลงไปในหลายทาง มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานประโยชน์ที่หลากหลาย ที่ขัดแย้งกันได้ 2            สำหรับในที่นี้จะให้ความหมายคำว่า ธรรมาภิบาล ซึ่งมาจากคำว่า Good Governance  แต่จะให้ความหมายไปในทางการบริหารราชหาร เพื่อให้แตกต่างจาก บรรษัทภิบาล  (Corporate Governance) ว่า ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน           ฉะนั้นในอนาคตของหน้าในแต่ละประเทศ Capital ที่ประเป็นเครื่องกีดกันก็คือEthical Capital คำว่า good governance นำมาใช้ในปี ค.ศ.1989 โดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ศึกษาว่าประเทศไทยมีความยั่งยืน โดยหลักแท้แล้ว good governanceจะมีลักษณะเป็นการทำงานที่โปร่งใสเป็นธรรม และคนที่มี Integrity คือคนที่มีความสุจริต เป็นคนดี โปร่งใส มีจรรยาบรรณการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสังคมโลกในยุคปัจจุบัน          มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสังคมโดยจะสะท้อนออกมาในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองปัจจุบันนี้โลกนิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งการปกครองระบบนี้มีสองยุคยุคแรก แบบ Direct Democracy (ประชาธิปไตยโดยตรง) คือคนที่เป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะ Vote ได้ ยุคสอง ประชาธิปไตยแบบตัวแทน  ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2535 สมัย พลเอกสุจินดาเคราประยูร ต่อมากลายเป็นยุคสังคมข่าวสาร  Good governance ตามที่ UN ESCAP กำหนดมี 8 หลักการคือ1.      การมีส่วนร่วม (participatory) 2.      การปฏิบัติตามกฎหมาย (rule of law) 3.      ความโปร่งใส(transparency)4.      ความรับผิดชอบ (responsiveness) 5.      ความสอดคล้อง (consensus oriented) 6.      ความเสมอภาค (equity and inclusiveness) 7.      การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (effectiveness and efficiency) 8.      การมีเหตุผล(accountabilityหลักการธรรมภิบาลโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนจะต้องให้ความสำคัญกับ 1.      ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty &Transparency) 2.      ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability) 3.      คุณธรรมจริยธรรมและมโนสุจริต (Integrity)4.      การมีส่วนร่วม (Participation) และ5.      มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness)   หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ (New Public Management)           หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่จะต้องมีธรรมาภิบาล(Good Governance )ซึ่งธรรมาภิบาลจะประกอบด้วยหลักที่สำคัญคือ1.      หลักประชาธิปไตยคือต้องมีเสรี มีส่วนร่วม2.      หลักการบริหารสมัยใหม่3.      หลักกลไกลตลาดประเทศไทยต้องรวมกลุ่มอาเชี่ยนซึ่งการรวมกลุ่มแบบนี้เราควรรวมกลุ่มแบบนี้ควรที่จะรวมกับประเทศอินเดียและจีนจะเป็นโอกาสที่ดีแก่ประเทศไทย และถ้ารวมกันได้แล้วเราก็ควรจะให้มีเงินสกุลเดียวคือสกุลเอเชีย(Asian Money) การรวมกลุ่มแบบEthical Standard เป็นกรอบธรรมาภิบาล  ประเทศที่มีธรรมาภิบาลสูงสุดที่ได้รับรางวัลคือ ประเทศ ฟินแลนด์ นอรเวร์ สวีเดน ส่วนในเอเชียคือประเทศสิงค์โปร์ ส่วนประเทศไทยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4 ปีข้างหน้า OECD เพราะเป็นการยกมาตรฐานทางด้านจริยธรรมหรือธรรมาภิบาลและAccountability เช่นประเทศญี่ปุ่น เขาจะแสดงความรับผิดชอบของนักรบญี่ปุ่นที่คว้านท้องตนเองต่อหน้าจักรพรรดิ์ และถ้าธนาคารในต่างประเทศเขาทำผิดต่อลูกค้าเขาจะแสดงความรับผิดชอบโดยประธานธนาคารจะออกมากล่าวขอโทษส่วนของประเทศไทย ถ้าเป็นปรานธนาคารเมื่อทำผิดคงจะไม่มีใครมาแสดงความรับผิดชอบ    การพัฒนาระบบราชการ          ระบบราชการในอดีด1.      เป็นระบบราชการที่บริหารงานแบบดั้งเดิม2.      มีปัญหาด้านธรรมาภิบาลหลักในการพัฒนาระบบราชการ1.      ประยุกต์หลักการบริหาราชการยุคใหม่ (NPM)2.      สร้าง GOOD  GOVERNANCEระบบราชการที่พึงปรารถนา1.      สนองความต้องการและประโยชน์สุขของประชาชน2.      บริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์3.      ประสิทธิภาพประสิทธิผล4.      เน้นหลักคุ้มค่า ทันสมัย5.      เที่ยงธรรมและรับผิดชอบ6.      ยืนหยัดในความถูกต้อง7.       ประชาชนมีส่วนร่วม8.      สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ บทสรุป ธรรมาภิบาลหรือ(Good Governance )แม้จะดีเลิศแค่ไหนก็ตามแต่ก็ยากที่จะกระทำลงให้สำเร็จได้ครบทุกหลักการก่อนที่จะมาให้ความสนใจการพัฒนาด้านการบริหารและการจัดการ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ การพัฒนางานใดๆ ต้องพัฒนาที่อุดมการณ์อันเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำที่แท้จริง   
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์    (Homework  11)

          จากการศึกษาเรื่องการสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทัรพยากรมนุษย์(Ethical Capital) กับ ดร.อรพินท์  สพโชคชัย กรรมการ ก.พ.ร. เมื่อวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2550 สรุปได้ดังนี้

          หน่าวยงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานที่ผลัดดันให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในการบริการจัดการภาครัฐ

          Capital หมายถึง ทุน ซึ่งในอดีตจะวัดกันที่ปริมาณคน(Human Capital) แต่ปัจจุบันวัดกันที่ความคิดของคน(Thinking Capital)

          การที่ EU ขอเข้ามาดูการเลือกตั้งของไทย เขาต้องการมาสังเกตการณ์เรื่องความยุติธรรม ความโปร่งใสของการเลือกตั้ง หรือปัญหาต่างๆอันอาจจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้

          ฟินแลนด์, สิงค์โปร์ ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มี  Ethical Standards

          เกาหลีเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้าน Human Capital ของเอเชีย

          ปี ค.ศ. 1983 เริ่มนำคำว่า Good Governance มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าประเทศใดมี Good Governance ถือเป็นประเทศที่มีการบริหารแบบโปร่งใส

          นักวิชาการของไทยได้มีการบัญญัติศัพท์ คำว่า Good Governance ไว้หลากหลาย  เช่น

      - ประชารัฐ (โดย ศ.ดร.ชัยอนันต์  สมุทวณิช),

      -  ธรรมรัฐ (โดย ศ.พงษาพิชญ์ และ อ.ธีรยุทธ  บุญมี),

      - สุประศาสนการ(โดยอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ทางการบริหารของก.พ.),

      - ธรรมมาภิบาล(โดย ม.ร.ว.จัตุมงคล  โสณกุล)

          จากการกล่าวถึงบทนำดังกล่าวข้างต้น จะโฟกัสมาที่

  1. กรอบความคิดและหลักการธรรมาภิบาล
  2. การนำหลักธรรมาภิบาลสู่การพัฒนาระบบราชการ
  3. การปรับระบบการบริหารราชการ สู่การบริหารราชการที่ผนึกพลังเป็นระบบบูรณาการเพื่อพัฒนาประเทศ
  4. การพัฒนาโครงสร้างและวิธีการบริหารงาน

           ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นการปรับกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมข้าราชการ

          ปี 2539 -2540  เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก สิ่งที่ตามมาคือ

  • การบริการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ขาดคุณธรรม จริยธรรม
  • ความมั่งคั่งเป็นจุดหมายหลักของธุรกิจ
  • ระบบทุนนิยมมีความมั่นคงแข็งแรง

          กระแส 4 I เข้ามามีบทบาทในยุคโลกาภิวัตน์/สังคมยุคใหม่

        • Investmant                           • Industry

        • Information Technology   • Individual

          สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกยุคไร้พรมแดน

  • การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ
  • วิวัฒนาการและลักษณะทางสังคม
  • การเคลื่อนทางการเมืองการปกครอง
  • พัฒนาการและการตื่นตัวของภาคประชาสังคม

          โลกยุคโลกาภิวัตน์ เดิมเรียกว่า "โลกานุวัฒน์"

          เมื่อพูดถึงธรรมาภิบาลมักจะมองไปที่การบริหารจัดการภาครัฐเป็นหลักและจะมองไปที่ตัวผู้บริหาร ตลอดทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องตระหนักให้มาก ในประเทศไทยเริ่มมีการรณรงค์เรื่องดังกล่าว (คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล) ตั้งแต่เจอกับภาวะวิกฤตในการบริหารบ้านเมือง ในยุคของอดีต นายกรัฐมนตรี ทักษัณ  ชินวัตร ซึ่งทำให้ทุก ๆ องค์กรหันมาจริงจังในเรื่องดังกล่าว

          จากอดีตในการเป็นผู้นำประเทศตั้งแต่สมัยแรก(2544 -2548) มาถึงสมัยที่ 2(2549) อดีตนายกรัฐมนตรี ได้บริหารประเทศจนทำให้ประชาชนตายใจจนในที่สุดเป็นไปตามคำพังเพยที่ว่า "ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด" ดังนั้นตั่งแต่ กันยายน 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องต่าง ๆ ที่อดีตนายกรัฐมนตรีทำไว้จึงปรากฏออกมาในเชิงลบต่อสาธารณชนทั่วประเทศ และทั่วโลก แทบไม่เว้นแต่ละวัน

          นี่คือ "บทเรียนราคาแพง" ที่สุดของคนไทย และของประเทศไทย ที่ทำให้ต้องหวนกลับมาดูตัวเองว่า "การก้าวเดินอย่างช้าๆ" บางครั้งมันย่อมดีกว่า การก้าวแบบ "ก้าวกระโดด" เป็นไหนๆ

          อย่างไรก็ตามแม้จะมีการตำหนิภาครัฐในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จาก Cast ข้างต้นแล้วก็ตาม แต่การจะสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สำหรับทรัพยากรมนุษย์เราก็ต้องมองตั้งแต่ภาครัฐอยู่ดี  เพราะถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ นั่นคือภาครัฐควรมีบทบาทหน้าที่ในการกระตุ้น เศรษฐกิจ และดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน(Welfare State)

          หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่

      Good Governance   <--->  New Public Management         

   โดยข้อ 3 หลักดังต่อไปนี้

  1. หลักการประชาธิปไตย
  2. หลักกลไกตลาด
  3. หลักการบริหารสมัยใหม่

           จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรัสกับประชาชนชาวไทยในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ นั่นคือ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ซึ่งพระองค์ท่านทรงถือเป็นคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนชาวไทยดังกล่าว จนเห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญกับเรื่อง "ธรรม" กับการปกครองประเทศ เปรียบเสมือนกับ "ธรรมภิบาล" ในปัจจุบันนั้นเอง

          แสดงให้เห็นได้ว่าคนยิ่งเป็นผู้นำระดับสูงมากเท่าใด ยิ่งต้องรักษาคำพูดมากเท่านั้น นั่นคือ "ธรรมาภิบาล" ซึ่งต้องทำให้ได้อย่างที่พูดไว้

          หลักการธรรมาภิบาลให้ความสำคัญกับ

     • ภาครัฐ     • ภาคเอกชน      • ภาคประชาชน

          ปรัชญาและหลักธรรมาภิบาล

  1. หลักความเท่าเทียมกัน(Equity)
  2. หลักความรับผิดชอบ(Accountability)
  3. หลักความยุติธรรม(Fairness)
  4. หลักความโปร่งใส(Transparency)
  5. หลักการมีส่วนร่วม(Participation)

          วิวัฒนาการของการบริหารภาครัฐ

    - ค.ศ.1950 การบริหารรัฐกิจ แบบดั้งเดิม

    - ค.ศ.1970 การบริหารภาครัฐ

    - ค.ศ.1980 การบริหารภาครัฐแบบสมัยใหม่

    - ค.ศ.2000 การบริหารภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิ  บาล

          ข้อคิดสำหรับผู้บริหารยุคใหม่

    "องค์กรธรรมาภิบาล และการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากผู้บริหาร"

 • Appreciation                    • Positive thinking

 • Vision and Career path • Self-development

 • Role model                    • Learning by Doing

          ข้อคิดสำหรับคนทั่วไป

     - Ethic ไม่มีขาย - อยากได้ต้องสร้างเอง

     - คนควรยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง และควรทำจึงจะเริ่มสร้างธรรมาภิบาลได้

     - มโนสุจริต Integrity ยืนหยัดในหลักการ ใฝ่คุณธรรม

          ข้อคิดสำหรับภาครัฐ

     - การบริการประชาชนให้เกิดประโยชน์ ต้องยึดหลักดังนี้

  1. ลดขั้นตอน
  2. ทำให้โปร่งใส

     - ควรสร้าง Ethical Standards ทั้งระบบ

         สรุป คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ล้วนแล้วแต่เป็นนามธรรม เข้าจะให้ทั้ง 3 ส่วนเป็นรูปธรรมได้ ต้องใช้ 3จ. เข้าช่วย

               1. ตั้งใจ       2.จริงใจ       3.ใส่ใจ

แล้วนั่นแหละถึงจะรู้ซึ้งถึงแก่นแท้ของคำทั้ง 3 ดังกล่าวข้างต้น

                                              - ขอบคุณครับ -

                                         สิทธิชัย    ธรรมเสน่ห์

            

 

นางเครือวัลย์ สมณะ
การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ (Ethical Capital)โดยอาจารย์ ดร.อรพินท์ สพโชคดี  เมื่อวันที่  8  กันยายน  2550 ระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ปัจจุบันสังคมมีปัญหา คนในสังคมขาดทั้งคุณธรรมและจริยธรรมมีมากขึ้น คนไทยเริ่มเห็นภัยได้กระตุ้นเรียกร้อง รัฐให้ความสนใจจึงได้เริ่มมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  ในมาตรา 13 และมาตรา 14 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินครอบคลุมระยะเวลา 4 ปี โดยนำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี   ที่แถลงต่อรัฐสภา มาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และได้นำมาเป็นแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 - 2551  ประเด็นยุทธศาสตร์หลักซึ่งรัฐบาลมุ่งเน้นให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก รวมทั้งสิ้น 9 ประการ ในประการที่ 6 คือ การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ข้อสำคัญ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการให้บรรลุผลในช่วงปี 2548 2551 รวมถึงตัวชี้วัด ระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล สำหรับทรัพยากรมนุษย์ การสร้างนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก สิ่งเหล่านี้ต้องสร้างด้วยการปลุกและปลูกจิตสำนึก ต้องเริ่มต้นตั้งแต่สถาบันครอบครัว สังคม จนถึงระดับประเทศชาติ ซึ่งได้มีการกำหนดและมีแผนงานของรัฐเกี่ยวกับ การส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อเป็นการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพโปร่งใส  ตรวจสอบได้ ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ  รวมทั้งการส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลในภาคเอกชนและสังคม  รัฐได้มีแผนงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2551  จวบจนกระทั่งปัจจุบันยังไม่เห็นประชาชนได้รับผลประโยชน์ในการนี้ และยังไม่มีสิ่งใดปรากฏเห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม  ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 63 ล้านคนและรัฐบาลไทยได้ลงทุนส่งนักเรียนไปศึกษาในประเทศต่างๆ ที่เจริญแล้ว เกือบทุกสาขาวิชา ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ภูมิปัญญาของนักเรียนไทยไม่ได้ด้อยกว่าเจ้าของประเทศเลย บางคนเก่งกว่าด้วยซ้ำ แต่พอกลับมายังประเทศไทยกลับไม่สามารถนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาประเทศไทยได้ น่าจะมีผู้นำที่มีคุณสมบัติครบ มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล มีความสามารถบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ที่เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ทั้งประเทศจะไม่มีทุนมนุษย์ดังกล่าวเชียวหรือ? ไม่น่าจะแพ้ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีพลเมืองประมาณ 3 ล้านคน หรือคนในสังคมไทยยังมัวสาละวนอยู่ในวังวนวิตกจริต ขาดจิตสำนึกที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือเรียกว่า จิตสาธารณะ”?  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษา อาจารย์อรพินท์ ได้บรรยายกรอบความคิดและหลักธรรมาภิบาล ต้องสร้าง Ethical Standard ก่อนจึงจะมาสร้าง Ethical Capital เพราะมาจากการพัฒนา Ethical ซึ่งเป็นตัวคุ้มกัน Good Governance คือ กลไกประชารัฐ หรือธรรมรัฐ ธรรมาภิบาล (Civilization) ต้องสร้างมาตรฐาน สำหรับสังคมไทยยังไม่ได้ข้อสรุป   อาจารย์ได้พูดถึงคนไทยโดยส่วนใหญ่ ชอบพูดโกหกจนเป็นนิสัย จึงเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายของคนไทยทั้งประเทศ และเป็นต้นเหตุต่างๆ ของปัญหามาจากเรื่องวัฒนธรรมเป็น Standard ทางด้าน Ethic”  เรื่อง Ethical หลายประเทศจึงกลับมาให้ความสนใจเรื่องธรรมาภิบาล เพื่อหลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่   (New Public Management) คือหลักประชาธิปไตย หลักกลไกตลาด หลักการบริหารสมัยใหม่มี 10 หลัก (อยู่ในเอกสารการบรรยาย) ส่วนการเปลี่ยนแปลงสู่การบริหารราชการตามหลักการธรรมาภิบาล คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (ความโปร่งใส) ปัญหากระแสกดดันทางเศรษฐกิจสู่การแข่งขันและความอยู่รอด กระแสกดดันเวทีนานาชาติ คือ มาตรฐานการบริหารจัดการตามหลักประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล หลักการธรรมาภิบาลให้ความสำคัญ-          ความสุจริตชัดเจนและโปร่งใส (Honesty & Transparency)-          ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)-          คุณธรรม จริยธรรม และมโนสุจริต (Integrity)-          การมีส่วนร่วม (Participation)-          มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness)ส่วนปรัชญาและหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐที่สำคัญๆ คือ-          หลักประชาธิปไตย (Equity) หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หลักยุติธรรม (Fairness) หลักความโปร่งใส (Transparency) แนวทางในการเป็นผู้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี-          ทำความเข้าใจประเด็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง “What and Why”-          กำหนดแผน และแนวทางเพื่อการเปลี่ยนแปลง “How, When and Who Responsibility”-          เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง “What Actions and How Much”-          สร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง “Keep Change Momentum”ความสำเร็จของการนำไปสู่การปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและสังคม  ที่สำคัญคนที่จะนำมาปฏิบัติ(Leadership) ให้บรรลุผลสำเร็จนั้น ต้องรู้จักคิดในระดับชาติ (Macro) แต่ต้องเริ่มทำจริงจังในระดับตนเอง ครอบครัว (Micro) จึงจะสำเร็จง่าย ขอเล่าถึงสังคมไทยในอดีต (ยุคเก่า) ในการดำเนินธุรกิจระดับ SME ผู้ที่มีพื้นฐานและทำการค้าสำเร็จ มักจะเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งได้รับการสั่งสอนสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษให้รู้จักพึ่งตนเอง หากจะทำการค้าต้องมีมานะอดทน ความคิดนั้นต้องอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทำอะไรขอให้คิดทำตามกำลังและความสามารถของตน ทำให้ได้และต้องทำอย่างจริงจังให้ได้สำเร็จ มีคำพังเพยที่ว่า คนไทยชอบทำจากใหญ่ไปหาเล็ก  คนเจ๊กมักทำจากเล็กไปหาใหญ่ โดยเฉพาะจะสอนในสิ่งสำคัญ คือ Ethic ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น คนซื่อกินไม่หมด คนคดกินไม่นาน ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เป็นต้นการสร้างคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล จึงเชื่อมั่นว่าหากในสังคมส่วนใหญ่รวมพลังปฏิบัติเป็นตัวอย่าง เป็นกระบวนการ โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อนไปถึง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ถือปฏิบัติเป็นนิจสิน คนไทยคงมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่มีความสุข (Happiness) คงมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าทุกวันนี้           ดังคำกล่าวของอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธ์  ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (civic net)             สังคมดีไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมสร้าง                                              นางเครือวัลย์  สมณะ                                              13  กันยายน  2550
สรุปการบรรยายครั้งที่ /12 (เสาร์ที่ 8 กันยายน 2550) โดย อรพินท์ สพโชคชัย  กรรมการ ก.พ.ร.  ในหัวข้อ การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์( Ethical Capital ) Good Governance หรือ ธรรมาภิบาล ก่อนที่จะใช้คำว่าธรรมาภิบาล เคยมีผู้ใช้คำอื่นมาก่อนหลายคำ เช่น ประชารัฐ   ธรรมรัฐ หรือ สุประศาสน หลักการของgood governance ตามที่ UN ESCAP กำหนดมี 8 หลักการคือการมีส่วนร่วม (participatory) การปฏิบัติตามกฎหมาย (rule of law) ความโปร่งใส(transparency)  ความรับผิดชอบ (responsiveness) ความสอดคล้อง (consensus oriented) ความเสมอภาค (equity and inclusiveness) การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (effectiveness and efficiency) และการมีเหตุผล(accountability) กระผมเห็นว่าความสำเร็จของ good governance อยู่ที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการการศึกษา ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เคยมีพระราชดำรัส ไว้ตอนหนึ่งว่า  การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อน การที่จะพัฒนาบุคคลนั้นต้องด้วยปัจจัยประการเดียวคือการศึกษา  แต่เนื่องจากสภาพสังคม และการดำรงชีวิตของคนเราในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มนุษย์มีความต้องการพื้นฐานคือ ความสุข ความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิต ความต้องการดังกล่าวของมนุษย์ในขณะนี้ไม่เรียบง่ายเหมือนอดีต แต่กลับมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทั้งสังคมและตัวมนุษย์เองมีการแข่งขัน แย่งชิง เอารัดเอาเปรียบกันในทุกๆ ทาง ทำเพื่อความสุขความพอใจของตนเอง ละเลยสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ของส่วนรวมอย่างมากมาย ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ว่าจะจัดการศึกษาอย่างไรเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคลการที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ2550 ที่กำหนดไว้โดยมีหลักการว่า ยึดคุณธรรมนำความรู้ สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี  วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษาโดยมียุทธศาสตร์การศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้คือการศึกษาต่างๆ มักเอาความรู้นำ โดยไม่มีปัญญาตาม ความรู้ไม่มีพลังพอที่จะต้านทานอำนาจของความไม่ดีได้ความรู้จึงถูกนำไปใช้ในเรื่องไม่ดีต่างๆ หรือถูกบงการด้วยความไม่ดี สังคมและโลกจึงวิกฤต การพัฒนาควรจะใช้ความดีหรือคุณธรรมนำแล้วตามด้วยความรู้ ยุทธศาสตร์การศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้จึงสำคัญยิ่ง    ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาสังคมทั้งระบบให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพได้ สังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคตคือ สังคมที่มีความสงบสุข เป็นสังคมที่มีความสุข เป็นสังคมที่มีสมรรถภาพ มีความยุติธรรม มีความเมตตากรุณา มีครอบครัวที่อบอุ่น มีชุมชนที่เข้มแข็ง และมีหลักศาสนา วิถีประชาธิปไตย หลักธรรมมาภิบาลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิตของคนในสังคมไทยเพื่อให้ประเทศไทยมีความเป็นไทอยู่ตลอดไป
การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จ คือ ต้องสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้น ให้เขามีความรู้สึกนึกคิดที่ดี เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดที่ดี ก็จะเกิด ค่านิยมที่ดี เมื่อมีค่านิยมที่ดี ก็ส่งผลถึงการมี เจตคติที่ดีงามและใฝ่ดี และเมื่อมีเจตคติที่ดีแล้ว พฤติกรรมต่างๆ ก็ย่อมแสดงออกไปในทางที่ดีงามด้วย  ถ้าทุกคนเป็นคนดี สังคมก็มีความสุขเกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้นอย่างสมดุลระหว่างวัตถุและจิตใจ ตัวกระผมเองก็เกี่ยวข้องกับการศึกษาเราควรปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี คือ การพัฒนาให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ ทั้ง ปริมาณ และ คุณภาพ โดยเฉพาะ ด้านคุณภาพ คือ การเป็น คนดี และ คนเก่ง การจะยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ พาหะที่จะนำพาไปสู่จุดมุ่งหมายก็คือ หลักสูตร จะได้ผลอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดคือ ครู ควรจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมถูกทางนำข้อพกพร่อง ไป ปรับปรุง พัฒนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะพฤติกรรม มีสาเหตุหรือปัจจัย ก็คือ จิตใจ หากจิตใจได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นได้ จนเป็นบุคคลที่มีเจตคติที่ดีทั้งต่อตนเอง และสังคมในทุกๆ ด้าน ทุกๆ ระดับ  สังคมก็จะเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างแน่นอน
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องยากที่จะกระทำได้สำเร็จ ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องตระหนักตั้งใจที่จะแก้ไขปรับปรุง ตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา รวมถึงสถาบันศาสนาด้วย เพราะหากถ้าปล่อยไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทำอะไรเลย สังคมประเทศชาติก็คงจะถูกดึงลงเหวไปทุกวัน ๆ

 
การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ เป็นหัวข้อของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเช้าวันเสาร์ที่ 8 ก.ย.50 โดย ดร.อรพินท์  สพโชคชัย กรรมการ ก.พ.ร เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับพวกเรา ***  กระบวนทัศน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วันนี้ สิ่งที่เข้มข้นและกำลังมาแรงในกระแสโลกา ภิวัตน์นี้ คือการสร้าง คนดี หรือหากเป็นไปได้ก็ต้องการสร้าง คนเก่งที่ดี ด้วย  เป็นแนวคิดที่ดิฉันนำมาจากหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ *** เพราะระบบเศรษฐกิจโลกได้ผันแปรไปสู่ความโลภที่จะสร้างผลกำไรโดยไม่จบสิ้น ระบบคุณค่าเดิมที่ให้ความสำคัญกับเกียรติยศ ความดี กลับเสื่อมถอยให้แก่อำนาจเงิน จนผู้มีอำนาจ หรือผู้บริหารในภาครัฐ รวมไปถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในภาคเอกชนละเลยคำว่าคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมปัจจุบันกำลังเกิดข้อสงสัยว่าผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจ กำลังขาดหลักการบริหารเหล่านี้จริง ถึงขนาดนำหลักการด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ มาประกาศเป็น วาระแห่งชาติ กันอย่างจริงจังในปัจจุบัน *** แต่ก็ดูจะไม่มีพลังขับเคลื่อนและยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งที่โลกของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น เฉลียวฉลาดขึ้น แต่ดูราวกับว่าเรากำลังเดินหลงทางเพราะการศึกษามุ่งเน้นการให้วิชาการ ความรู้ ในขณะที่ถดถอยในเรื่องการสร้างเด็กไทยให้มี Mind Set แบบ Organic และการให้ความสำคัญ กับการปลูกจิตสำนึกให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ทำให้สังคมในปัจจุบันขาดคุณธรรม จริยธรรม เนื่องจาก 1.สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่แวดล้อมไปด้วยความฟุ้งเฟ้อ อยากมีเหมื่อนที่คนอื่นๆมี เช่น ค่านิยมของการมีโทรศัพท์มือถือหรือของ Brandname  2.เกิดจากการยอมรับคนที่มีอิทธิพลต่อตนเอง เช่น เจ้านาย ต้องการให้ทำ ถ้าไม่ทำจะมีผลต่อตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือความไม่โปรดปราน จึงยอมทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นเรื่องไม่ชอบธรรม 3.เป็นเรื่องของผลประโยชน์หรือความอยากได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการส่วนบุคคล จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ทุกอย่างที่ตนต้องการ โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม*** ปรัชญาของจีนได้กล่าวไว้ว่า คุณธรรม จริยธรรม เป็นรากแก้วที่สำคัญที่สุดอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารงาน *** การปลูกจิตสำนึกดังกล่าวเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ไม่อาจปล่อยให้ครูผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว  สังคมทั้งระบบเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวต้องร่วมกันรับผิดชอบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใหญ่ต้องปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เยาชนของชาติเติบโตเป็นผู้นำหรือต้นแบบที่เป็นคนเก่งและดีเพื่อนำประเทศไปสู่การบริหารที่มีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต่อไป *** อาจารย์อรพินท์ ได้บรรยายกรอบความคิดและหลักธรรมาภิบาล ว่าจะต้องสร้าง Ethical Standard เพื่อนำมาสู่ Ethical Capital ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญกับ Ethical Standard ดังกรณีที่ EU ต้องการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของประเทศไทยว่าเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล Good Governance หรือไม่ อันได้แก่ ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty & Transparency) ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability) คุณธรรม จริยธรรม และมโนสุจริต (Integrity) การมีส่วนร่วม (Participation) มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness) *** แต่การมาสังเกตการณ์เพื่อตรวจสอบนี้ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่เราคนไทยทุกคนจะต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่เท่ากับการที่เราทุกคนรู้จักตรวจสอบและประเมินการทำความดีของตัวเราเองตลอดเวลา บนพื้นฐานที่ว่า ความเก่งไม่สำคัญเท่าความดี หากแต่ถ้าเราทั้งเก่งและดี ย่อมถือเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจของครอบครัวและประเทศชาติ *** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
จากการบรรยายเรื่องการสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ (Ethical Capital)  โดยอาจารย์ ดร.อรพินท์ สพโชคดี  เมื่อวันที่  8  กันยายน  2550 ที่ผ่านมา                                     จากสถานการณ์ในปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารงานของภาครัฐนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป และเป็นไปอย่างรวดเร็ว าพแวดล้อมก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโลกาภิวัน์  แต่ระบบการบริหารงานของภาครัฐของไทยโดยรวมที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น   การปรับเปลี่ยนบทบาทของสังคมโดยการนำหลักการบริหารการจัดการบ้านเมืองที่ดี  (Good  Governance)  หรือ หลักธรรมาภิบาลมาใช้  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยเราเพราะหลักธรรมาภิบาลก็คือ  การบริหารที่สามารถตรวจสอบได้  มีประสิทธิผลและเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการติดตาม  ตรวจสอบการดำเนินการทางการเมืองและการบริหารงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน  ซึ่งจะส่งผลให้สังคมไทยโดยรวมเติบโตด้วยความแข็งแกร่ง  สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืนต่อไป               Good Governance   มีองค์ประกอบ  3 ส่วน คือ            ·   ภาครัฐ (Public  Sector)   ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง  กฎหมายและการบริหารราชการ            ·   ภาคเอกชน (Private Sector)  ซึ่งจะมีส่วนในการประกอบธุรกิจที่ดีและดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง            ·   ภาคประชาชนหรือองค์กรต่างๆ(Civil Society) จะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  โดยการระดมกลุ่มต่าง ๆ  ให้เข้ามามีส่วนร่วมใน
กิจกรรมต่าง ๆ  และสามารถตรวจสอบทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้                                        ในส่วนราชการ ได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  .. 2542 ซึ่งหมายถึงการนำหลัก ธรรมาภิบาลมาใช้  โดยกำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐ  ดำเนินการบริหารจัดการโดยยึดหลักการ ดังนี้             1.  หลักนิติธรรม  ได้แก่  การตรากฎหมาย  การออกกฎระเบียบ  โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย            2.  หลักคุณธรรม  ได้แก่  การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  มีความซื่อสัตย์  จริงใจ  ขยัน  อดทน  มีระเบียบวินัย              3.  หลักความโปร่งใส ได้แก่ มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสามารถตรวจสอบได้            4.  หลักความมีส่วนร่วม   ได้แก่  การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของ            5.  หลักความรับผิดชอบ  ได้แก่  การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม              6.  หลักความคุ้มค่า  ได้แก่  การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม                                 โดยสรุปแล้ว  ธรรมาภิบาล  (Good Governance)  หมายถึง  การบริหารการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นแนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ  ภาคคเอกชน  และภาคประชาชนของทั้งประเทศ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมโดยต้องมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้ง 3  ส่วนของสังคม  คือ ภาครัฐ  ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม  และให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน ระหว่างเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง เพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนาไปได้อย่างมีเสถียรภาพ               อย่างไรก็ตามเพื่อให้สังคมไทยพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง  ทั้ง  3  ส่วนคือ  ภาครัฐ  ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม  จำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ  กัน เพื่อให้มีการทำงานมีความเชื่อมโยงกัน  ารสนับสนุนซึ่งกันและกันในทุกภาคส่วน   ซึ่งจะก่อให้เกิดธรรมาภิบาลที่แท้จริง และเพื่อเป็นการพัฒนาสังคมเพื่อความสงบสุขและยั่งยืนตลอดไป    
การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 11“Ethical Capital” การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์วันที่ 8 กันยายน 2550อาจารย์ ดร.อรพินท์ สพโชคชัย

กรรมการ กพร.

เรียนอาจารย์ดร.จีระ ต้องขอแสดงความยินดีกับรางวัลที่อาจารย์ได้รับ วันนี้พวกเรารู้สึกแปลก ๆที่ไม่ได้มีการพูดคุยกันก่อนเข้า class แสดงว่าสิ่งที่เงื่อนไขการเรียนนอก class เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ดึงดูดในการเรียนรู้แบบไม่ได้ตั้งใจแต่ได้ประสิทธิผลดี

 

จากประสบการณ์หลากหลายในระบบการบริหารงานภาครัฐของอาจารย์ ดร.อรพินท์  สพโชคชัย การบรรยายจึงประกอบด้วยการยกเป็นกรณีศึกษาหลายกรณี ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย ชัดเจน โดยมีหลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ของ กพร.ใช้ระบบ Result Based Management  และ bottom line การบริหารภาครัฐสมัยใหม่จะเป็นเรื่อความสัมพันธ์ของ Good governance  กับ New Plublic management ซึ่งภายในประกอบด้วย หลักประชาธิปไตย

กลไกการตลาด และการบริหารสมัยใหม่

 

อย่างไรก็ตาม Human capital เปลี่ยนตามยุคตามสมัยดังนั้นการลงทุนเรื่องทุนมนุษย์จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากในการขับเคลื่อนขององค์กร และเนื่องจากมนุษย์มีความคิดซึ่งมีได้ทั้งด้านที่ดีและไม่ดี ในเรื่องมาตรฐานของคำว่าดี อาจารย์ยกตัวอย่างคำว่า Integrity คือ การเป็นคนดี อยุ่ในหลักการหรือมโนสุจริตที่ดี และสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นในสังคมได้ แต่สำหรับคำว่าAccountability คือ ความพร้อมรับผิดชอบ เช่นการฮาราคีรี ของญี่ปุ่น  ซึ่งในส่วนนี้สำหรับวัฒนธรรมของประเทศไทยไม่มี

จากการเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัตน์สู่การบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาลซึ่งมีหลายมิติ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม และในทางด้านเศรษฐกิจก็มุ่งสู่การแข่งขันเพื่อการอยู่รอด และกระแสกดดันเวทีนานาชาติ ประชาคมโลกต่างให้ความสำคัญของ Ethic capital ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎี 8K's ของดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

                                                  

                            

 

                  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐ อาจารย์อรพินท์ สพโชคชัย ซึ่งเป็นกรรมการ ก.พ.ร. ได้มาบรรยายในเรื่อง การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ (Ethical Capital)” โดยได้ชี้ให้เห็นว่าทุนมนุษย์นั้นจะให้ความสำคัญเฉพาะในเรื่องความรู้หรือความเก่งอย่างเดียวไม่ได้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นให้ความสำคัญ พัฒนา และส่งเสริมในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม เพราะหากได้คนเก่งแต่เป็นคนไม่ดี ก็จะทำให้ชาติล่มจมได้ ซึ่งตัวอย่างก็มีให้เห็นทั่วโลก ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งอาจารย์อรพินท์ได้นำเสนอว่าหลักการธรรมาภิบาลนั้นให้ความสำคัญกับหลักความสุจริตชัดเจน และโปร่งใส (Honesty and Transparency) หลักความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability) หลักคุณธรรม จริยธรรมและมโนสุจริต (Integrity) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) และหลักความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness) อาจารย์อรพินท์บอกว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนนโยบายในเรื่องนี้อย่างแข็งขัน โดยมีการสร้างกลไกการปฏิบัติงาน รวมทั้งกลไกการติดตามประเมินผลและตรวจสอบ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ก็เพิ่มความเข้มข้นในเรื่องการตรวจสอบจริยธรรมไว้ค่อนข้างมากและครอบคลุมไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ โดยให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำหน้าที่นี้ ซึ่งก็คงจะต้องติดตามดูกันต่อไป

          อย่างไรก็ตาม ผม(รักษเกชา)เห็นว่าลำพังองค์กรภาครัฐเพียงอย่างเดียวคงจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ทุกภาคส่วนของบ้านเมืองจะต้องรวมพลังช่วยกัน ทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคม (Civil Society) ความจริงแล้วเรื่องจริยธรรมไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกันเฉพาะตอนเกิดวิกฤตเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้อยู่ในกมลสันดานตั้งแต่เด็ก แต่เราเองบางครั้งกลับมีส่วนในการทำให้เด็กรับรู้เรื่องการติดสินบนตั้งแต่วัยเยาว์ เช่น นอนซะลูกเดี๋ยวตื่นมาจะพาไปเที่ยว และบางคร้งก็ไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้คอยสอดส่องเป็นหูเป็นตาช่วยแก้ไขสิ่งผิด เช่น เราอาจจะบอกเด็กว่าเห็นอะไรไม่ถูกต้องให้บอกนะ แต่ครั้นเด็กมาบอก นอกจากเราจะไม่เอาธุระหรืออธิบายให้เด็กเข้าใจเพราะอาจเป็นการเข้าใจผิดได้แล้ว เรายังกลับบั่นทอนกำลังใจเด็กด้วยการดุว่าเด็กคนนี้ทำไมเป็นคนช่างฟ้องจัง ซึ่งพอโตขึ้นเห็นความไม่ถูกต้องของบ้านเมืองก็อาจจะเฉยๆ ขืนพูดไปเดี๋ยวกูซวยอีก ซึ่งก็มีให้เห็นเช่นกัน เหตุเช่นนี้อาจดูเป็นเรื่องเข้าใจได้ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ เพราะไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปสู้รบกลับใคร แต่หากเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือภาคธุรกิจเอกชนที่มีอำนาจวาสนาหรือบทบาทอำนาจหน้าที่โดยตรงล่ะ มิใช่เป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือ เรื่องนี้อาจโต้แย้งได้ว่าต้องเป็นไปตามหลักฐาน ก็จริงอยู่ แต่ในเรื่องจริยธรรมมันต้องการอะไรมากกว่านั้นคือถึงแม้จะไม่ได้มีกฎหมายห้ามไว้ แต่หากเห็นว่ามันขัดต่อมโนสุจริตหรือ integrity แล้ว เราก็เลี่ยงที่จะไม่ทำมันได้ เมื่อก่อนเคยมีบทเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม แต่เดี๋ยวนี้วิชานี้ไม่รู้ว่านำเอาไปใส่ไว้ในบทเรียนช่วงไหน แต่ไม่เห็นวิชานี้มีการสอนกันเป็นบทเรียนวิชาหนึ่งเลยเหมือนเมื่อก่อน หลายคนก็ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเพราะอย่างนี้หรือเปล่า บ้านเมืองเราจึงประสบปัญหาเรื่องจริยธรรมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนหรือสาขาวิชาชีพที่ควรจะมีจริยธรรมมากกว่ากลุ่มอื่นด้วย (ขออนุญาตที่จะไม่ระบุวิชาชีพ แต่สังคมคงใช้วิจารณญาณได้ว่ามีอะไรบ้าง) การเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้องต้องเริ่มตั้งเด็กในยามที่เป็นไม้อ่อน เพื่อไม่ให้ดัดยากในตอนแก่ และไปก่อให้เกิดปัญหากับบ้านเมือง โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งใหญ่โตทั้งหลายในบ้านเมือง จำเป็นต้องได้คนเก่งที่ดี คำเปรียบเปรยที่ว่า ไวน์ดีไม่จำเป็นต้องแพง แต่ไวน์แพงจำเป็นต้องดี  สามารถนำมาใช้เทียบเคียงกับกรณีนี้ได้ คือ คนดีไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง แต่คนมีตำแหน่งจำเป็นต้องดี และผมว่าจริยธรรมที่แท้มันมีปรัชญาเช่นที่ว่านี้จริงๆ

                              รักษเกชา แฉ่ฉาย

ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
ETHIC CAPITAL                การที่ทุนมนุษย์จะมีคุณธรรมจริยธรรมนั้นสร้างได้ แต่ต้องใช้เวลาและปลูกจิตใต้สำนึกว่าอะไรเป็นสิทธิ อะไรเป็นหน้าที่ และต้องยึดหลักอยู่บนหลักที่ค่อนข้างจะชัดเจนที่จะตอบคำถามของสังคมได้ ทุนมนุษย์ในองค์กรจึงมีข้อคำถามว่าคนเก่งที่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง หรือคนดีที่อาจจะเก่งน้อยกว่าอย่างไหนจะเหมาะสมที่สุด                ในยุคของการล่ากำไรของธุรกิจจึงไม่มีคำว่าปราณีของผู้ประกอบการทุกกลุ่มจึงเข้าห้ำหั่นกันทุกรูปแบบเพื่อครองตลาด ครองความเป็นผู้นำในสินค้าและบริการและสร้างผลกำไรสูงสุด ในยุคแห่งทุนนิยมแรกเกิดประชาชนด้อยพัฒนาทั้งหลายผู้บริหารส่วนใหญ่ที่มีอำนาจมักจะโกงหรือคอรัปชั่นหรือหักเปอร์เซ็นต์จากการทำธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะมหาอำนาจจากตะวันตกก็จะมีเงินใต้โต๊ะให้แก่คนเหล่านี้ เงินช่วยเหลือโครงการพิเศษของ UN ก็จะมีจุดรั่วไหลมากมาย คงเป็นตัวอย่างที่ดีว่าคนเก่ง คนมีอำนาจหากขาดไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมแล้วส่วนรวมย่อมลำบากแน่นอน ตัวอย่างคดีสินบนของบริษัทสร้างเครื่องบินล็อกฮีทของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือเงินช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศฟิลิปปินส์สมัยมากอสเป็นต้นแบบของคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารที่ชัดเจน จนถึงปัจจุบันก็ยังมีคดีความของบริษัทเวิลคอมจำกัด หรือ บริษัท เอ็นรอน จำกัด ที่ CEO และ CFO ได้ทำการฉ้อฉลบริษัททำให้ผู้ถือหุ้นเสียหาย ซึ่งอาจจะรวมถึงกรณีซัพไพร์มของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบรุนแรงทำให้ธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น ที่ต้องอัดฉีดเงินส่วนกลางเข้าไปในระบบเพื่อป้องกันความเสียหายในสินเชื่อที่เน่าใน แล้ววันนี้ก็มาเกิดกับบริษัทที่ทำธุรกิจเครือข่ายสื่อสารขนาดใหญ่ระดับประเทศของประเทศแคนาดา ชื่อบริษัท นอร์เทล เน็ตเวอร์ค คอร์ป ที่ผู้บริหารระดับบิ๊ก CEO , CFO , CCO ตกแต่งบัญชีให้ขาดทุนแล้วเพิ่มประสิทธิภาพแก้ปัญหาขาดทุนให้มีกำไรภายหลังเพื่อจะได้โบนัสและเงินพิเศษในความสำเร็จที่แก้ปัญหาบริษัทขาดทุนมาเป็นกำไรโดยใช้ระยะเวลาภายใน 2 3 ปี นี่แหละของจริงระดับโลกเงินและอำนาจไม่ปราณีใคร บังเอิญเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงถูกจับนำมาลงโทษได้แต่ถ้าเกิดในแถบประเทศด้อยพัฒนาก็คงลำบาก                การที่ทุนมนุษย์ที่มีคนเก่งอย่างเดียวคงไม่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จดังเดิมได้ด้วยจะไปทำลายส่วนรวมโดยที่สุด ต้นตำรับธรรมาภิบาลก็ยังคงมีหนอนเจาะให้อ่อนแอ ระบบการศึกษา และฝึกอบรมควรจะต้องเพิ่มบทบาทและศักยภาพทำให้ทุนมนุษย์มีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น           ธรรมาภิบาลหกหลักที่มีความโปร่งใส รับผิดชอบ เป็นธรรม มีกฎหมายรองรับ สุจริต และเท่าเทียมกัน แม่แบบก็ยังคงแย่เลยส่วนลูกหาบแบบไทยไทยก็คงต้องฝึกฝนกันต่อไปให้ยาวนาน เมืองไทยมักเน้นรูปแบบและภาพแต่เวลาปฏิบัติจริงในสังคมมันไม่ใกล้เคียงกับหลักการเท่าที่ควรอาจเป็นได้ด้วยคนไทยยังขาดความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนระบบการศึกษาไทยที่ขายกระดาษโดยใครลอกเลียนแบบอาจารย์ได้ครบวงจรก็จะได้มา หรือว่าระบบสังคมไทยยังล้าหลังทางด้านความคิดอ่านซึ่งเป็นของคนส่วนน้อยที่มีคนส่วนใหญ่ยังขาดก็เป็นไปได้ในทุกกรณี บทเรียนประเทศไทยที่วุ่นวายสับสนส่วนใหญ่เกิดจากคนเก่ง แต่ขาดคุณธรรมจริยธรรมนั่นเองเพราะว่าบังเอิญคนเก่งรักตัวเองมากกว่าส่วนรวมนั่นแหละปัญหาธรรมาภิบาลคุณธรรมจริยธรรมจะทำอย่างไรให้เข้าไปสิงสู่ในก้นบึ้งของความคิดของคนเก่งและคนส่วนใหญ่ได้ คุณธรรมจริยธรรมจะช่วยประเทศได้แน่นอนไม่ต้องออกกฎหมาย ไม่ต้องออกระเบียบ ไม่ต้องออกกติกามารยาท เพราะการมีคุณธรรมจริยธรรมแค่รู้ว่าควรหรือไม่ก็ถือว่าดีแล้วธรรมาภิบาล คุณธรรมจริยธรรมที่จริงแล้วก็คือคิดดี พูดดี ทำดี ไม่ต้องปกปิดใครจะขอใครจะดู ใครจะมอง ก็จะดีไปหมดแต่วันนี้คนทำดีน้อยลงจึงมีรอยด่างที่ต้องคอยปกปิด เช่นคำสั่งไม่ชอบหรือจ่ายเงินไม่มีเหตุผล หรือได้ของฝากมาด้วยไม่สมควร จึงบอกใครไม่ได้ หลังสิ้นปีงบประมาณ ก็จะมีการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ข้าราชการไทย ลองไปถามดูผู้ใหญ่ระดับปลัดกระทรวง อธิบดี หรือข้าราชการผู้ใหญ่ ซี 11 ซี 10 ซี 9 ว่าได้โบนัสเท่าไรก็จะมีคำตอบที่ไม่ต้องถามก็รู้คือไม่รู้ แต่ถ้ามาถามข้าราชการระดับ ซี 1-2-3-4-5-6-7 ก็จะชี้บอกเลยว่า ได้คนซะสี่ห้าพันบาท หรือหมื่นสองหมื่นบาท การนี้จะเข้าข่ายธรรมาภิบาล หรือคุณธรรมจริยธรรม หรือไม่ผมว่าอยู่ที่ระบบจะต้องตั้งคำถาม ETHIC CAPITAL จึงอยู่ที่ตัวบุคคลที่จะสร้างขึ้นโดยแท้แม้ระบบก็อาจจะมีผลน้อยนี่เป็นความเห็นของผมครับ กราบขอบพระคุณนายชัยธนัถต์กร ภวิศภิริยะกฤติ

จากการฟังบรรยายเมื่อวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2550 ETHICAL CAPITAL

อาจารย์ อรพินท์ สพโชคชัย

 

ดิฉัน นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี ได้รับความรู้ ความเข้าใจ

               

การบริหารราชการแผ่นดิน ควรยึดหลักธรรมาภิบาล และมีการปรับปรุงระบบราชการ เพื่อให้มีประสิทธิผล และสนองความต้องการของประชาชน

               

หลักธรรมาภิบาล

  1. ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty and Transparency)
  2. ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)
  3. คุณธรรม จริยธรรม และมโนสุจริต (Integrity)
  4. การมีส่วนร่วม (Participation)
  5. มีความเท่าเทียมกันในสังคม และเป็นธรรม (Equity and Fairness)

 

หลักการบริหารราชการที่ดี ได้ยึดถือตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตาม ม.3/1

 

การบริหารราชการตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตาม ม.3/1 นี้ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ทางลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจ และยุบหน่วยงานเล็กๆ ที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจ และทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน

 

มีการปรับปรุงระบบราชการ

  • เป็นการวางระบบงาน การบริหารงานที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
  • ให้ความสำคัญในการกระจายอำนาจตัดสิน และบริหารงานจากบนลงสู่ล่าง
  • พัฒนาคนให้มีศักยภาพสูง
  • เน้นพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของระบบงาน
  • กำหนดมาตรฐานการบริการสาธารณะ
  • บริหารราชการโดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

 

 

 

 

 

 

แนวทางสำหรับผู้บริหารนำไปปฏิบัติ

  1. ทำความเข้าใจในประเดนที่ต้องเปลี่ยนแปลง
  2. กำหนดแผนและแนวทางในการเปลี่ยนแปลง
  3. เริ่มกระบวนการการเปลี่ยนแปลง
  4. สร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

 

จากการบรรยายของอาจารย์ อรพินท์ สพโชคชัย ด้าน MACRO รัฐบาล ทักษิณได้วางนโยบายไว้หลายเรื่อง มีทั้งดี และไม่ดี

 

ช่วยเหลือคนจน 30 บาท รักษาทุกโรค ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาโรค โดยไม่ต้องเป็นหนี้สินเพิ่ม และสาเหตุของโฉนดที่ดินที่ถูกยึด เนื่องจาก ต้องเดินทางไปถนนสายนายทุน คือต้องไปขอยืมเงินจากนายทุน เพื่อไปทำการรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับครอบครัว และเมื่อไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล จึงต้องจำยอมเสียดอกเบี้ยคิดรายวัน 100 บาท ต่อเงินต้น 100 บาท ให้นายทุนเป็นจำนวนมาก เพื่อความอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว

 

การทำให้ประชาชนมีหนี้สินลดลงบางส่วน ทางกระทรวงสาธารณะสุขได้เล็งเห็นว่าการนำเข้ายารักษาโรคควรจะลดลง เนื่องจากองค์การเภสัชกรของประเทศไทยก็สามารถผลิตหรือปั๊มยาเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้ายาที่มีต้นทุนสูงมาก ทำให้ประเทศไทยมีงบประมาณในการบริหารด้านโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มมากขึ้น

 

ดิฉัน นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ อรพินท์ สพโชคชัย ที่ให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

 

 

 

นายปลื้มใจ สินอากร

วันที่ 8 กันยายน 2550

 

บรรยายโดย ดร. อรพินท์ สพโชคชัย

 บรรยายเรื่อง การสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลสำหรับทรัพยากรมนุษย์ (Ethical Capital) การปรับกระบวนทัศน์ และวัฒนธรรมข้าราชการ 

วิวัฒนาการของระบบการบริหารราชการแผ่นดิน

 

            1. ระบบการบริหารราชการยุคต้น (ปลายทศวรรษที่ 19)

 

                        - การบริหารหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Frederick Tailor)

 

                        - การสร้างระบบราชการที่เป็นสถาบันที่เป็นมืออาชีพ ใช้ระบบคุณธรรมปลอดการแทรกแวงทางการเมือง (Max Weber)

 

                        - สร้างระบบราชการเป็น Rule-based ที่เรียกว่า Public Administration

 

            2. ค่านิยมความเชื่อว่ารัฐควรมีบทบาทหน้าที่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน (Welfare State)

                         - ภาครัฐจำเป็นต้องแทรกแซง และให้บริการสาธารณะหลักๆ และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นธรรมในสังคม 

ความพยายามในการปรับเปลี่ยน

 

            1. กระบวนการบริหารราชการที่ได้รับอิทธิพลจากนักคิดเชิงระบบ และเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าไม่สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

            2. เกิดกระแสกดดันทางการเมืองภายใต้การบริหารราชการดั้งเดิม

 

                        - ด้านการเงินการคลัง

 

                        - ด้านคุณภาพบริการ และการบริหารงาน

                         - การปรับเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับบทบาทของภาครัฐ (บทบาทของภาคประชาสังคมในการกำหนดนโยบาย) หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ New Public Management 

Good Governance

New Public Management
หลักประชาธิปไตย
หลักกลไกตลาด
หลักการบริหารสมัยใหม่
  

            1.  หลักการและทฤษฎีในการบริหารจัดการในองค์กรภาครัฐและเอกชนไม่น่าจะแตกต่างกัน ดังนั้น อาจจะใช้ทฤษฎีการบริหารจัดการที่เหมือนกันได้ประยุกต์

 

            2.  จำเป็นต้องปรับจากการบริหารที่เคยเน้นความรับผิดชอบต่อกระบวนการ กฎ ระเบียบ มาสู่การบริหารที่รับผิดชอบต่อเป้าหมาย และผลงาน ผู้บริหารงานสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการวางระบบความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบมากกว่ากระบวนการ

 

            3.  เน้นการประยุกต์ให้ความรู้ความชำนาญในการบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และทักษะการบริหารและวิชาการที่เกี่ยวกับงาน

 

            4.  กระจายอำนาจการควบคุมลงสู่ผู้ปฏิบัติให้มากที่สุด โดยต้องถ่ายโอนอำนาจการบริหารและการตัดสินใจลงสู่ระดับล่าง  ควบคู่ไปกับการจัดระบบการควบคุมผ่านการรายงานผลงานที่มีประสิทธิภาพ การติดตามตรวจสอบ และจัดกระบวนการความรับผิดชอบ

 

            5.  แยกหรือสลายระบบราชการขนาดใหญ่ให้เล็กเท่าสุดเท่าที่จะทำได้ (Small is beautiful) แบ่งแยกระบบการบริหารงาน ขององค์กรขนาดใหญ่ออกเป็นรูปแบบการบริหารงานต่างๆ นอกภาคราชการ (quasi – autonomous agencies, non – and commercial functions)

 

            6.  สร้างความเป็นเจ้าของในระดับล่าง  วางระบบการแข่งขัน และระบบการซื้อบริการสาธารณะ มุ่งให้ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมดำเนินการ โดยให้ความสำคัญในการสร้างระบบการแข่งขัน (Contestability) ใช้งบประมาณในการจ้างงาน แทนการดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐ

 

            7.  ใช้ระบบสัญญาที่ระบุถึงผลงานและประสิทธิผลที่ชัดเจน แทนการจ้างหรือมอบหมายที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจน  ซึ่งเป็นวิธีการของภาคเอกชนในการจ้างงาน เช่นการจ้างบุคลากรระยะสั้นๆ ใช้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การทำแผนปฏิบัติงาน การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการ การเชื่อมโยงหลักการปฏิบัติงานกับระบบการให้ค่าตอบแทนและรางวัล

 

            8.  การใช้การเงินรางวัลเป็นเครื่องจูงใจการทำงาน โดยประยุกต์ใช้หลักปฏิบัติที่เหมาะสมจากภาคธุรกิจเอกชน เช่น การจ้างตามสัญญาจ้างพร้อมระบบสวัสดิการที่เหมาะสม การให้รางวัลตอบแทนวัดผลสำเร็จของงาน และอาจจะเน้นการให้รางวัลเป็นตัวเงิน (Performance Pay)

 

            9.  ให้ความสำคัญในการบริหารงานที่ลดค่าใช้จ่าย การสร้างประสิทธิภาพและการลดขนาดระบบบริหารจัดการ

             10.  เน้นหลักความเป็นธรรม 

จากการเปลี่ยนแปลงสู่....การบริหารราชการตามหลักการธรรมาภิบาล

 

- การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (การเมืองภาคประชาชน และปัญหาความโปร่งใส)

 

- ปัญหาและกระแสกดดันทางเศรษฐกิจ สู่การแข่งขันและการอยู่รอด(ภาคธุรกิจเอกชน ภาค technocrats ภาควิชาการ และภาคประชาชน)

 - กระแสกดดันเวทีนานาชาติ (มาตรฐานการบริหารจัดการตามหลักประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล)  

หลักการธรรมาภิบาลให้ความสำคัญกับ

 

- ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty & Transparency)

 

            - ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)

 

            - คุณธรรมจริยธรรม และมโนสุจริต (Integrity)

 

            - การมีส่วนร่วม (Participation)

             - มีความเท่าเทียบกันในสังคม และเป็นธรรม (Equity and Fairness) 

ปรัชญาและหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐ

 

            - หลักสังคมประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิ และความเท่าเทียมกัน (Equity) ของประชาชน เน้นหลักการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม การจัดบริหารสาธารณะที่มีคุณภาพ และมีคุณค่าปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ

 

            - หลักความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อการตัดสินใจสาธารณะ เน้นความเป็นมืออาชีพ การยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ มี Integrity และมีคุณธรรม

 

            - หลักยุติธรรม (Fairness) เน้นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน กระจายบริการสาธารณะ กำหนดกติกาเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม บริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล

 

            - หลักความโปร่งใส (Transparency) เน้นการบริหารราชการอย่างซื่อสัตย์สุจริตเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย บริหารราชการที่ชัดเจน และโปร่งใส

             - หลักการมีส่วนร่วม (Public Participation) เน้นการกำหนดนโยบาย และการให้บริการสาธารณะโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมในกระบวนการรับรู้ เรียนรู้ การให้ข้อเสนอแนะ การรับฟังความคิดเห็น การให้ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง และร่วมตัดสินใจ มีการกำหนดแนวทาง กฎหมายและมีโครงสร้าง ระบบการบริหาร และข้าราชการที่พร้องและเข้าใจการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม  การพัฒนาระบบราชการ 
ระบบราชการในอดีต หลักในการพัฒนาระบบราชการ ระบบราชการที่พึงปรารถนา
- เป็นระบบราชการที่บริหารงานแบบดั้งเดิม - ประยุกต์หลักการบริหารราชการยุคใหม่ (NPM) - สนองความต้องการและประโยชน์สุขของประชาชน- บริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์- ประสิทธิภาพประสิทธิผล- เน้นหลักคุ้มค่า ทันสมัย
- มีปัญหาด้านธรรมาภิบาล - สร้าง GOOD GOVERNENCE - เที่ยงธรรมและรับผิดชอบ- ยืนหยัดในความถูกต้อง- ประชาชนมีส่วนร่วม- สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
 

การพัฒนากระบวนทัศน์วัฒนธรรมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำหรับภาคราชการ และข้าราชการ

 

            - วัฒนธรรมข้าราชการ

 

            - วัฒนธรรมองค์กร

 

            - วัฒนธรรมการบริหารราชการ

 

            - วัฒนธรรมการให้บริการประชาชน

 การพัฒนาระบบราชการและบทบาทพฤติกรรมของข้าราชการเพื่อส่งเสริมและสร้างส่วนราชการให้มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 

ข้อคิดสำหรับผู้บริหารยุคใหม่

 

องค์กรธรรมาภิบาลและการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากผู้บริหาร

 

            -  ทำความเข้าใจและเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้น (Appreciation)

 

            -  คิดเป็นคุณและคิดเป็นธรรม (Positive thinking)

 

            -  กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายการทำงาน และอนาคต (Vision and career path)

 

            -  เดินหน้าพัฒนาตนเอง (Self - development)

 

            -  เป็นคนดีมีอุดมการณ์ ราชการและเป็นตัวอย่าง (Role modle)

             -  บริหารชีวิตอย่างสมดุล มีสติและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด  แนวทางในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 

เพื่อส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

 

-  ทำความเข้าใจประเด็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง “what and why”

 

            - กำหนดแผนและแนวทางเพื่อการเปลี่ยนแปลง “How, when and who responsible”

 

            - เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง “what actions and how much”

 

            - สร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง “keep change momentum”

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่  12 เรียนวันเสาร์ที่  15  กันยายน  2550  กับท่าน อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด President  Human Capital Club (Thailand) นักศึกษาชื่อ  นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา   เรื่อง        

ในวันนี้นักศึกษาปริญญาเอกได้มีโอกาสพบกับท่าน อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ก่อนเริ่มบทเรียนอาจารย์ได้อบหมายให้นักศึกษารวมกลุ่มกันเพื่อเล่นเกม Jigsaw โดยกำหนดเวลาให้ 3 นาทีและถือว่าเป็น KPI ในการเล่นเกม อาจารย์ได้สังเกต และประเมินการเล่นเกมของนักศึกษาโดยตลอด และก็มอบอุปกรณ์เพิ่มเติมให้เพื่อเป็นตัวช่วยให้เป้าหมายของภารกิจง่ายขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการที่ผู้บริหารคอยอำนวยการให้การสนับสนุนทรัพยากรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานที่ได้มอบหมายไปแล้วให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง เกมนี้สนุกและแฝงไปด้วยกุศโลบายในเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ของท่านอาจารย์ที่เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง ทำให้เราทราบและมีความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นจากเกมที่ได้เล่น ได้แง่คิดในเรื่องของการทำงานมากมาย การทำงานใดที่ได้รับมอบหมายต้องมีความร่วมมือที่ดี การวางแผนการทำงาน การใช้ระบบคิดที่สอดคล้องกับความสำเร็จของงาน เรากำลังจะกล่าวถึงเรื่องที่จะได้ศึกษาร่วมกันในวันนี้ คือ Organization alignment การทำงานที่ไม่มีจุดหมาย เปรียบเสมือนการต่อภาพ  Jigsaw ที่มองไม่เห็นภาพและทิศทางขององค์กร และเปรียบเหมือนกับการพายเรือไปกันคนละทิศคนละทาง ไร้จุดมาย ยากที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และความสำเร็จขององค์กรได้ เสียเวลา เสียทรัพยากร และสัมพันธ์กับเรื่องของ Leadership ด้วย แม้ว่ามีภาวะผู้นำที่สูงอย่างไรก็ต้องคำนึงถึงเรื่องธรรมาภิบาล Governance ด้วย เรื่องของการ Alignment ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ  (แผน 10) ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาคนเอาไว้มากมาย สิ่งที่สำคัญคือการให้การศึกษากับคนซึ่งเปรียบเหมือนกับการพัฒนาทุมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ในขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการเองก็มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนา การศึกษาของคนให้มากขึ้นก็จะทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สรุปได้ว่า The Unfocused Organization ให้คนทำงานกันแบบไร้ทิศทาง ทำให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรที่เกินกว่าความจำเป็นที่ควรเป็นไป และแตกต่างจาก The Aligned Organization ซึ่งมีผลกระทบในด้านที่ดีต่อองค์กรเป็นอย่างมาก
ในองค์กรธุรกิจมักให้ความสำคัญกับเรื่องของ ผลกำไร ผลประกอบการของธุรกิจ Business Governance เช่นเรื่องผลประกอบการPerformance โดยมุงเน้นที่จะสร้าง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ แต่ควรจะมุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของ Corporate Governance เช่นเรื่องของConformance ก็จะดีไม่น้อย เพื่อให้เกิดมีAccountability Assurance  เช่น การหาคนมารับผิดชอบในเรื่องต่างๆของบริษัทที่เกี่ยวกับ ที่มาของคณะกรรมการอิสระที่จะมามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ทิศทางของบริษัท กลุ่มคนเหล่านี้เองควรจะนำมาซึ่ง Knowledge และ Know how  ตลอดจนการ Oriented Board Member เพื่อให้ทุกคนมีทิศทางเดียวกันเห็นภาพของบริษัทร่วมกันเป็นภาพเดียวคือ Organization Vision ร่วมกันนั่นเอง...เป็น Traditional เพื่อใช้ในการกำหนด ค่านิยม แล้วค่านิยมนี้เองจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนทำงานให้มีผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจขององค์กร ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเดียวกันกับการกำหนด Vision Mission Values Goals Objectives นั่นเองเพียงแต่ว่า เดิมนิยมใช้เป็นแบบนั้นมากกว่า ความหมายก็เป็นไปในทางเดียวกันคือเรื่องของทิศทางของธุรกิจว่าเราจะเป็นใคร และอยู่ในจุดไหนของธุรกิจMission คือการตอบคำถามให้ได้ว่าเราเกิดมาเพื่อทำอะไร เช่น ก็จะเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมเพื่อความพึงพอใจของประชาชนทั่วไปและมีวิสัยทัศน์ที่บอกให้โลกรู้ว่าเขาจะต้องมีสินค้าที่มีเทคโนโลยีชั้นเยี่ยมเพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ในอดีตที่คนมองว่าสินค้าของทางญี่ปุ่นไม่มีคุณภาพ เมื่อ Sony กำหนดวิสัยทัศน์ไว้เช่นนี้ นั่นก็หมายความว่า ฝ่ายวิจัยและพัฒนาสินค้าจะต้องทำอะไรบ้าง Value นั้นสามารถนำมาเป็น วิสัยทัศน์ หรือ พันธกิจก็ได้ และ ของ Sony ก็คือการมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพสินค้าและคน และเป็นผู้บุกเบิกซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องของ Trust ซึ่งสร้างยากกว่า Competencyแต่ในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า  Brand Statement มากกว่า แต่ที่สำคัญคือต้อง Align กับ วิสัยทัศน์และ พันธกิจ  และในเรื่องของกลยุทธ์นั้น ต้องพัฒนาคนให้มีความเป็น Dynamic สามารถปรับเปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นต้องทำงานตาม Procedure  ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของคนในการทำงานร่วมกัน ซึ่งคนนั้นมีหลายประเภทที่แตกต่างกันไป เช่น ยกตนเป็นที่ตั้ง , คนประเภทที่ยอมให้คนอื่นก็จะได้ความสัมพันธ์ที่ดีแต่ผลงานอาจจะออกมาไม่ดีเพราะไม่มีความคิดเห็นเป็นของตนเองเลย ,คนประเภทหลีกเลี่ยงปัญหา, คนที่ประนีประนอม แต่การประนีประนอมนั้นอาจส่งผลให้เกิดผลงานได้ไม่เหมาะสมแม้ว่าจะมีความยุติธรรมก็ตาม,ส่วนคนประเภทที่ดีที่สุดในการทำงานคือประเภท Collabolative เพราะจะทำให้เกิดทั้งผลงานและความสัมพันธ์ที่ดีของการทำงานร่วมกัน ดังกล่าวว่า...Good leader creates good culture and motivated working environment

นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

[email protected]

“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”
การบ้านครั้งที่  12เรียนวันเสาร์ที่  15  กันยายน  2550  กับท่านอาจารย์  พจนารถ  ซีบังเกิดPresident of Human Capital Club (Thailand)นักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี ในเวลา  9.00 น.  อาจารย์เริ่มให้ความรู้ด้วยการใช้ทฤษฎี  4 L’s ของ ศ.ดร. จีระ (Learning Methodology , Learning Opportunity , Learning Environment  และ  Learning Community)  ด้วยการให้พวกเราเล่นเกมส์ กลุ่ม  กลุ่มละ 3-4 คนต่อจิ๊กซอ เพื่อนำเราเข้าสู่บทเรียน เรื่อง Workforce Alignment in an Organizationเกมส์นี้สอนเราหลายด้านสำหรับการมีภาวะผู้นำ  เริ่มตั้งแต่การหาคนร่วมงาน  หาสถานที่ทำงานร่วมกัน  หากรอบแนวทางการทำงาน ทำให้ทุกคนเข้าใจภาพสุดท้ายคือเป้าหมายร่วมกัน  การมี Role Model   การแบ่งงานกันทำ  การบริหารเวลา  การเจรจาต่อรองในงบประมาณและทรัพยากร  การบริหารทรัพยากรให้ทันเวลา  การบริหารคนตามความชำนาญของเขา  การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายทีมงาน  รวมถึงความผิดพลาดจากการประเมินความสามารถของทีมงานที่ต่ำ  หรือสูงเกินไป  ในองค์กรจริงจึงมีทั้งการทำงานของคนที่ต่างประสบการณ์แล้วร่วมกันทำงานได้ดี  และต่างประสบการณ์แล้วทำงานร่วมกันไม่ได้  ทำอย่างไรล่ะที่ H.R.  จะผสานความสามารถและความสัมพันธ์ของคนให้บรรลุเป้าหมาย  ตามทิศทางที่องค์กรต้องการให้เป็น  เป็นเรื่องที่ท้าทายฝีมือ  H.R. หรือ Leadership เป็นอย่างยิ่ง  ผมมีความสนใจอีกประการหนึ่งคือ  เรื่องธรรมาภิบาลของคน  และขององค์กร (ซึ่งสะท้อนแนวคิดของคน ที่อยู่ในทีมของผู้นำ)  ซึ่งก็ตรงกับหัวข้อต่อมาที่อาจารย์ พจนารถ ให้ความรู้กับพวกเรา คือ  Enterprise Governance เพราะว่าถ้าองค์กรมุ่งเน้น (Focus) ที่ผลประกอบการและฐานะทางการเงินเพียงอย่างเดียว  ผู้นำก็จะกำหนด  Vision , Mission , Objective และใช้ Strategy เพื่อมุ่งสิ่งที่ต้องการ  โดยละเลยสิ่งที่ควรปฏิบัติตามทำนองคลองธรรม  กล่าวคือ  องค์กรต้องผสาน  Conformance เช่น การมีตัวแทนจากภายนอก  ซึ่งมากด้วยความรู้  ประสบการณ์  มาช่วย Shaptable  หรือมีส่วนกำหนด  Vision , Mission , Objective และใช้ Strategy นั้น ต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าภาพที่น่าเชื่อถือ (Accountability & Assurance) ขณะเดียวกัน  องค์กรก็ต้องมี  Performance  ที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  นั่นหมายความว่าองค์กรได้สร้าง  Value Creation ให้แก่ตนเองและสังคมไปด้วยพร้อม ๆ กัน  ตัวอย่างของกรณีที่กว่า 60 ปีก่อน  สินค้าของญี่ปุ่นจะถูกดูแคลนในสายตาชาวโลก  แต่ปัจจุบันมิได้เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว  ตรงข้ามกลับให้การชื่นชมยอมรับในคุณภาพและมาตรฐาน  รูปธรรมก็คือบริษัท  Sony ที่ทำได้อย่างดีเยี่ยมในสิ่งที่บริษัทอเมริกันล้มเหลว  ทำในสิ่งที่เป็นผู้บุกเบิกค้นคิดใหม่จากความสร้างสรรค์   ที่ทำได้เนื่องจากทุกระดับรู้ทิศทาง  มีเป้าหมาย  ร่วมแรงร่วมใจ  ไม่เล่นนอกบทบาท เพราะมี Trust  ร่วมกัน ปัจจุบันหลายองค์กรใช้  Brand Statement  เป็นตัวกำหนดทิศทาง  แต่ไม่ว่าจะใช้สิ่งใดกำหนดทิศทางองค์กร  ประการสำคัญคือ  ทั้งองค์กรต้องยอมรับ  รับรู้ร่วมกัน  โดยการที่ Initiative  Top  Down  แต่ต้องได้รับข้อมูลจริงจาก  Bottom  up  โดยไม่ต้องรู้ว่าคนไหนเป็นผู้ให้ข้อมูล  มิฉะนั้นโอกาสหน้าอาจไม่ได้ข้อมูลจริงอีก  สำหรับองค์กรที่มีระยะเวลาดำเนินมาอย่างยาวนาน  อาจมี  Culture  ที่เปลี่ยนแปลงยาก  บางสิ่งก็นับว่าเป็นจุดแข็ง  แต่บางครั้งก็เป็นจุดอ่อนที่ไม่พยายามปรับตัว  องค์กรจึงต้อง  Align  เปิดใจวิเคราะห์  5 Forces  &  SWOT  ต้องปรับตัวให้ทัน  คิดอยู่เสมอว่า  “HOW TO BE SUCCESSFUL IN A CHANGING  WORLD  ?  เน้นการพัฒนาคน  ทุกคน  ทุกระดับ  ให้ทั้งองค์กรมีลักษณะที่  Dynamic , Flexible  โดยการ  Empowermentจึงย้อนกลับมาที่  คน  อีกครั้งหนึ่งว่า  ไม่ว่าทฤษฎีของ  Maslow 5 ขั้น หรือทฤษฎีของ  Thomas Kilmann ( Confronting , Collaborative , Avoiding  และ Accommodating)  กล่าวถึงคนว่าคนจะมีลักษณะและพฤติกรรมตามฐานะ  และสถานการณ์  โดยมีปัจจัยภายในตัวคน  และสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นสาเหตุให้แสดงพฤติกรรมออกมา  อย่างไรก็ตาม  คนสามารถรับรู้  เรียนรู้  และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้  แต่หากไม่มีการปรับเปลี่ยนเสียบ้างเลย  การอบรมเลี้ยงดูที่ดีในอดีต  และการมีการศึกษาสูง  จะเป็นสิ่งสูญเปล่าที่น่าเสียดายยิ่งของผู้นำองค์กร  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยจึงให้ความสำคัญกับคนตั้งแต่แผนฉบับที่  8  เป็นต้นมา  อาจไม่ถึงกับสายเกินไป  แต่การที่ผู้นำไม่เป็นผู้นำที่ดี  ไม่สร้างวัฒนธรรมที่ดี  และไม่จูงใจให้มีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดี  มุ่งแสวงหาโอกาส  จับกลุ่มแบ่งขั้ว  อ้างว่าเป็นทางเลือกที่ 3  ที่ 4  เพื่อความสมานฉันท์  ประชาชนเขารู้ทันพวกคุณนะ  ยิ่งเมื่อประชาชนเขาเรียนสูงเท่า ๆ กับพวกคุณ  หรือเรียนตำราเดียวกันด้วยแล้ว  ก่อนที่จะสำแดงความคิด  คำพูด  หรือพฤติกรรมใด ๆ คงต้องคิดให้มากกว่าเดิม องค์กร  และประเทศก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นอีก ส่วนสุดท้ายของการเรียนครั้งนี้ก็คือ  ผู้นำควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน  และทำให้ทุกระดับยอมรับ  ไม่มีHidden Agenda  แต่มีความรู้ ความเข้าใจ  ความชำนาญ  มีเหตุผล  มีความรับผิดชอบอย่างมีหลักมีเกณฑ์ วัดผลงานได้  มีการจูงใจให้รางวัลที่เหมาะสม   และมีความรู้สึกรัก  ผูกพัน  และเป็นเจ้าของในงาน  องค์กรก็จะพัฒนาและได้รับความสำเร็จในที่สุดขอขอบพระคุณท่านอาจารย์  พจนารถ  ซีบังเกิด  ที่กรุณาสละเวลากว่า   3 ชั่วโมง เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการทุนมนุษย์ แก่พวกเราครับ

Dear Prof. Chira,

I missed Human Capital class on Saturday 15 September, 2007 as I was attending Baker & McKenzie's Regional Marketing Conference in Manila during 12-15 September, 2007.

I recieved a class material from AJ Supara and after reading through the handouts, I found it very much an essentail topic to be discussed.

K. Potchanart Seebungkerd was the lecturer and her topic was "Workforce Alignment in an Organization".

This is one of the essential topic and it's always an issue among the organization of how the employees have the understanding of the vision, mission, strategy of their organization. How can we reach our goal? How can we achieved our target? These questions would come up among most of the board meeting, manager meeting etc. However, the vision, mission, strategy will not become the key of the organization if the employee do not have their engagement and their responsibilities in working as a team.

Workforce Alignment is a must and key factor for all type of organization. It doesn't take much to be on the same direction but it's not easy to get the team in one alignment. This is always a difficult issue to get the message across to everyone in the organization. The employee engagement can not be happen and the management drive can not be accomplished if the rest of the employee are not in the same direction.

The individual's vision and the company's vision must be on the shared purpose. The mission can happen if both individual employee and the management or owner of the company can get the understanding and message is going through the team as a holistic perception.

Direction of the company or organization must come from :

-Mission or company's core purpose, who is our group of customers and what value can the company offer to the customer?

-Vision or what does the company wishes to be known as?

-Values or what are the company's principles and behavior? What are the company cherish and uphold?

K. Potchanart has her theory and illustration on the "Workfoce Alignment Model for Successful Strategy Execution". It's very interesting of the way these transations works. The illustration showing as :

1. Aligned Goals

2. Business Acumen/Skills

3. Measured Accountabilities

4. Linked Rewards

5. Ownership Thinking

These are the step to follows in making the "smooth landing". The company must understand and able to coach their employee into the right direction. The implementation can easily happen if the clear message has been interpretred in the right way and clearly understanding.

Successful is the key words. At the end of the day, the company is looking for the dynamic support from the staff. Working as the team and having the clear directions will lead to the "Workforce Alignment".

"Together we acheived more" would be the clear meaning if the company can set up the implementation and the accomplishment can happen within the target.

K. Pochanart's class and her topic is always useful and fruitful for the class. I do hope to have  her as my lecturer again in the near future.

Thank you very much & Best regards,

Sarah (NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM.

[email protected]

16 September, 2007

Workforce Alignment in an Organization  เป็นประเด็นที่ อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด   President of Human Capital Club (Thailand) และเป็น Executive Coach ใช้เป็นหัวข้อให้พวกเราได้แสดงความคิดเห็นกันในเช้าวันเสาร์ที่ 15 ก.ย.50 *** เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่พนักงานในองค์กรตลอดจนผู้บริหารบางคนในองค์กรเองก็ยังไม่รู้ชัดเจนว่า องค์กรที่ตนทำงานอยู่นั้นกำลังไปในทิศทางไหน  เพราะอยู่ในสภาพที่รอรับคำสั่งจากเบื้องบนแต่เพียงอย่างเดียว คำว่า "แล้วแต่เจ้านายจะสั่ง" จึงมักได้ยินบ่อยๆ จากพนักงานในระดับปฏิบัติงาน หากแต่ได้ยินจากพนักงานระดับหัวหน้างานหรือระดับผู้บริหารงานแล้ว ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับของอัตราความเจริญก้าวหน้าและอัตราความเสี่ยงของความอยู่รอดขององค์กรนั้นๆ *** ดังเช่นการต่อภาพ Jigsaw ที่อาจารย์พจนารถ ใช้สื่อการสอนที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้แบบ 4 L’s  คือ Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities และ Learning Communities  กับพวกเรา ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสร้าง Value Added ได้จริง...อาจารย์แบ่งกลุ่มให้ต่อภาพ Jigsaw ที่มองไม่เห็นภาพที่เป็นเป้าหมายในการต่อมาก่อน แม้ว่าบางคนในกลุ่มจะเป็นผู้มีประสบการณ์ Experience, Knowledge, Skills , Ability, Attributes , Creativity เป็นต้น  แต่ก็ไม่สามารถต่อ Jigsaw ได้สำเร็จตามเวลาที่กำหนด สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานขององค์กรอย่างไร้ทิศทาง หรือ The Unfocused Organization ทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองทรัพยากรมนุษย์ซึ่งถือเป็นต้นทุน โดยยากที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ *** ดังนั้นบทบาทความสำคัญของผู้บริหารในการกำหนดทิศทางองค์กรจึงเปรียบเสมือนกัปตันเครื่องบินที่จะต้องนำเครื่องบินไปถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ  การบริหารที่ดีนั้นผู้บริหารระดับสูงหรือระดับกลางขึ้นไป ต้องเป็นผู้กำหนดเป้าหมายทิศทางขององค์กรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น Vision Mission Objective  และ ต้องสื่อสาร ให้ระดับล่างรับรู้ เพื่อสามารถนำ Strategy ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมาย   *** ดิฉันขอนำข้อคิดเห็นของ Prof. James A. Thomskin ประธานสถาบันวิศวกรรมอุตสาหการ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้กล่าวถึงประเภทของผู้บริหารงานไว้ 3 ประเภท ดังนี้  1. Static Consistency ได้แก่ผู้บริหารที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่รู้ว่าองค์กรกำลังก้าวไปทางไหน หรือไม่สนใจว่านโยบายขององค์กร เป็นอย่างไร พวกนี้มักจะภูมิใจที่สามารถรักษาสภาพเดิมๆ ขององค์กรเอาไว้ได้ ตราบใดที่องค์กรยังคงมีกำไรอยู่ แทนที่จะให้ความสนใจกับ How to be Successful in Changing World 2.Dynamic Inconsistency ได้แก่ผู้บริหารที่เป็นพวกที่ชอบเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย แต่ไม่มีทิศทางที่แน่นอน  ลักษณะของผู้บริหารประเภทนี้คือ มักยุ่งอยู่เสมอ เพราะต้องทำโน่นทำนี่หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน บางวันไม่มีเวลาทำงานเลย เพราะต้องใช้เวลาทั้งวันหมดไปกับการประชุม ลักษณะการบริหารงานแบบนี้เป็นแบบชั่วขณะ หรือที่เรียกว่า "Management By Fad" หรือ MBF กล่าวคือแนวทางการทำงาน หรือการแก้ไขปัญหามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ แล้วแต่อารมณ์ ทำให้การปฏิบัติงานไม่ไปในทางเดียวกัน แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ผู้บริหารประเภทนี้ มักได้รับการ promote หรือเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เพราะผู้บังคับบัญชาอาจเห็นว่า เป็นบุคคลที่มีแนวความคิดใหม่ มีการทำงานต่างๆหลายอย่าง  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาผลงานอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าไม่ค่อยได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่  3. Dynamic Consistency ได้แก่ผู้บริหารที่เป็นพวกที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีแผนการเป็นขั้นเป็นตอนที่แน่นอน เป็นระบบ และพยายามไปให้ถึงเป้าหมาย โดยไม่มีการเปลี่ยนความตั้งใจ การปรับปรุงงาน หรือเพิ่มประสิทธิภาพจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) และสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร ผู้บริหารประเภทนี้มักจะติดต่อสื่อสารกับผู้ร่วมงานอยู่เสมอ เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน และจะกระตุ้นให้ทุกคนร่วมแรง ร่วมใจกันทำงานจนกว่าจะประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ *** แล้วท่านล่ะ...เป็นผู้บริหารประเภทไหน ? หรืออยู่ในองค์กรที่มีผู้บริหารประเภทไหน ? *** ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ให้พวกเราได้รับความรู้จากอาจารย์ระดับคุณภาพ ***  ศุภรา เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***

การบ้านครั้งที่ 12

เสาร์ที่ 15.9.2007

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

เสนอโดยนายพนม ปีย์เจริญ

..............................................

Workforce Alignment in an Organization

    

     ในการบริหารจัดการให้องค์กรมุ่งสู่จุดมุ่งหมายที่เราต้องการ สิ่งที่เราปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง คือการที่คนในองค์กรของเรามีความเข้าใจ มีจุดมุ่งหมาย มีความร่วมมือร่วมใจมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพราะมันจะทำให้เกิดพละกำลังในการฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการที่รอเราอยู่ข้างหน้า ทั้งจากคู่แข่ง จากปัญหาที่เราคาดไม่ถึง อันเกิดจากปัจจัยต่างๆ อีกทั้งเงื่อนไขที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกโลกาภิวัตน์อยู่ตลอดเวลา

    

แต่ถ้าหากคนในองค์กรของเรา ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ไม่มีการปรึกษาหารือกัน เกิดความขัดแย้งกันตลอดเวลา ทำให้สัมพันธภาพในองค์กรแย่ ขาดความจริงใจต่อกัน ต่างคนต่างไม่ไว้วางใจซึ่งกันละกันหวาดระแวงกันอยู่ตลอดเวลา ทุกคนสนใจแต่เรื่องของตัวเอง กลุ่มตนเองทำงานกันไปคนละทิศละทาง ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้นอกจากจะไปไม่ถึงเป้าหมาย หรือไปถึงช้าแล้วยังจะสร้างความเสียหาย เสียโอกาสดีๆที่รอเราอยู่ข้างหน้าด้วย

    

     ดังนั้นผู้นำในองค์กรจะต้องทำให้พนักงานทุกระดับมุ่งหน้าสู่เป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ผมจึงมองว่าผู้นำมีบทบาทอย่างยิ่งที่จะทำให้องค์กรและคนในองค์กรมีความสอดคล้องกันในการก้าวเดินไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน ผู้นำจึงต้องมีคุณสมบัติที่ดีและพร้อมที่จะนำพาให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่น โดยไม่หวั่นเกรงต่ออุปสรรคใดๆที่รออยู่ข้างหน้า

    

     ผู้นำที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายจึงควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้ความสามารถในการบริหารองค์กร ( Organizational Ability )

2. มีความสามารถในการบังคับบัญชา หรืออำนวยการได้เป็นอย่างดี ( Direction and Leadership)

3. เป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวกในการตัดสินใจของทีม ( Facilitating Team Decision Making)

4. เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน ( Motivation)

5. มีความสามารถในการประสานความขัดแย้ง ( Conflict Resolution)

6. มีความสามารถในการสร้างความเป็นเอกภาพของทีม ( Team Unification)

7. มีความสามารถในการมองการณ์ไกล และเข้าถึงงานต่างๆได้ ( Visibility And Access Ability)

8. มีความสามารถจัดการและเชื่อมโยงผู้บริหารในระดับสูง หรือมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริหาร ( Top Management Linkage )

 

     ผู้นำจึงต้องมี Vision ที่ต้องมองข้าม shot และคาดการณ์ล่วงหน้าได้ดีและแม่นยำ พร้อมทั้งต้องกำหนด Mission Objective values Goals ว่าเราจะทำอะไร อย่างไร เสร็จสิ้นเมื่อใด เพื่ออะไรในที่สุด ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกันในทุกด้าน และไปในทิศทางเดียวกันในลักษณะ The Aligned Organization

    

     ในส่วนของ Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution อันประกอบด้วย

1. Aligned Goal

2. Business Acumen Skills
ที่ต้องประกอบไปด้วย

     - ความรู้ Knowledge

     - ความเข้าใจ Understand เพราะบางคนมี ความรู้แต่ไม่มีความเข้าใจ

     - ทักษะ Skill
     - คุณสมบัติ Attribute

3. Measured Accountabilities

4. Linked Rewards

5. Ownership Thinking

    

     ไม่ว่าเราจะดำเนินกลยุทธ์อะไรก็ต้องตอบโจทย์นั้นด้วย ที่สำคัญทุกภาคส่วนที่กล่าวมานี้ ต้อง Align กันทั้งหมด อย่าลืมว่าในองค์กร องค์กรหนึ่งเฟืองทุกตัวมีความสำคัญแตกต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญเฟืองทุกตัวต้องหมุนไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การสนับสนุนกันและกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

    

     พึงระลึกไว้เสมอว่า เขาและเราทำให้สำเร็จได้ เฉกเช่นชายหาดสวยมิได้เกิดจากทรายเพียงเม็ดเดียว แม่น้ำใหญ่ก็มิได้เกิดจากน้ำหยดเดียวเช่นกันเพราะ....

     แต่ละเกล็ด เม็ดทราย เป็นชายหาด

แต่ละหยด แต่ละหยาด เป็นธารใส

แต่ละจิต รวมใจ เป็นหนึ่งใจ

แต่ละเล็ก สร้างใหญ่ ให้องค์กร

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr.Panom Peecharoen

18.9.2007

 

Workforce Alignment in an Organization วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2550 อ.พจนารถ  ซีบังเกิด                 ท่านอาจารย์เริ่มต้นด้วยการแบ่งกลุ่มให้ต่อ Jigsaw ภายในกำหนดเวลาช่วงแรกพวกเราก็ยังต่อไม่สำเร็จ อาจารย์ก็ต่อเวลาให้พร้อมกับตั้งคำถามว่าพวกเราต้องการเครื่องช่วยใดหรือไม่แล้วอาจารย์ก็ให้กรอบ Jigsaw กับพวกเราก็ปรากฏว่าพวกเราก็ทำไม่สำเร็จ ซึ่งจากการปฏิบัติที่ไม่สำเร็จนั้นก็มีการวิเคราะห์ว่าเกิดจากประเด็นใด อาทิเนื่องจากขาดประสบการณ์ ขาดการวางแผน ไม่มีกรอบ สมาชิกในกลุ่มจะมีความคิดแตกต่างกันอาจจะนำแนวคิดจากองค์กรเดิมที่เคยถือปฏิบัติอยู่กับปฏิบัติกับองค์กรใหม่ที่ทำงานอยู่ก็ได้ ส่วนผู้บริหารเกิดความมั่นใจในตัวพนักงานจึงไม่ได้ให้กรอบการทำงานจึงทำให้พนักงานต้องดิ้นรนหาด้วยตนเอง ทรัพยากรมาไม่ทันความต้องการ เป็นต้น                 การที่พนักงานในองค์กรไม่เดินไปตามทิศทางที่องค์กรกำหนด (Unfocused Organization) ก็สืบเนื่องจากผู้นำ ถ้าผู้นำไม่ทำความเข้าใจกับคนในองค์กร องค์กรก็ไม่สามารถเป็น Aligned Organization ได้ ดังนั้นองค์กรต้องกำหนด Mission และ Vision ให้ชัดเจนเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กรคือ ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร โรเบิร์ต แคปแลน กูรูด้านการจัดการชื่อดังระดับโลก ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่าการบริหารองค์กรใหญ่ให้เกิด Aligned นั้นอาศัยเครื่องมือ Balanced Scorecard หรือการบริหารจัดการให้สมดุลว่า ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนจะต้องมีการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ขั้นสูงสุดลงสู่ทุกหน่วยงานขององค์กร มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรในองค์กรที่เปิดกว้าง ตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการให้อำนาจแก่พนักงานในการดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของพวกเขาด้วย "ต้องมีการพูดคุยและสื่อสารระหว่างหัวหน้าและฝ่ายปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น" ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ผู้บริหารระดับสูงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทิศทางที่ดีก่อน ระดับล่างจึงจะเปลี่ยนแปลงตามได้ การที่องค์กรจะ Aligned ได้จะต้องผ่าน 5 กลยุทธ์หลักสำคัญ 1.Mobilize ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องเป็นผู้นำในการจุดชนวน ความคิด ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2.Translate มีการถ่ายทอดแปลความหมายผ่านเครื่องมือสำคัญที่เรียกว่า แผนที่กลยุทธ์หรือ Strategy Map เพื่อให้การบริหารจัดการในองค์กรมีการเชื่อมโยงกันได้ 3.Alignment ทำให้ทุกหน่วยงานมีการผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือความรู้สึกเป็นทีม มีความรักองค์กร 4.Motivate มีแรงกระตุ้น ดลใจเพื่อให้ทุกคนทำตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ และ 5.Govern ดูแลให้ทุกอย่างที่ทำมาแล้วมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง                เรื่องของ Enterprise Governance แบ่งเป็น (1) Corporate Governance เป็นกระบวนการ Conformance เช่น การมีตัวแทนจากภายนอกที่นำความรู้และประสบการณ์มาช่วยกำหนดทิศทางองค์กรทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และ (2) Business Governance เป็นกระบวนการ Performance โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเป็นการสร้าง Value Creation ให้แก่องค์กร                ในส่วนกลยุทธ์ องค์กรอาจนำ Five-Force Model มาวิเคราะห์คู่แข่งขัน SWOT Analysis มาวิเคราะห์ตนเอง และค้นหา Critical Success Factors ถ้าองค์กรไม่มีก็อาจจะสร้างหรือซื้อให้เกิดขึ้นในองค์กรก็ได้ จากนั้นปรับ Tactic ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยกลยุทธ์ขององค์กรแบ่งได้ 3 ระดับคือ (1) Departmental Strategy (2) Strategic Business Unit (SBU) / Division Strategy และ (3) Corporate Strategyแนวคิดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของ Thomas-Kilmann ประกอบด้วย 5 แบบคือ (1) Confronting: แบบยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน โดยไม่ให้ความร่วมมือ มุ่งชัยชนะของตนโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์หรือความสูญเสียของผู้อื่น อาศัยอำนาจหน้าที่ของตนคุกคาม ข่มขู่ เพื่อจะให้ตนได้ผลประโยชน์และได้ชัยชนะในที่สุด (2) Avoiding: แบบไม่ยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน ในขณะเดียวกันก็ไม่ให้ความร่วมมือ แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่สนใจความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำตัวอยู่เหนือความขัดแย้งโดยเชื่อว่าความขัดแย้งจะลดลงเมื่อเวลาผ่านเลยไป (3) Accommodating: แบบไม่ยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน แต่จะให้ความร่วมมือ ยอมตามความต้องการของผู้อื่น แม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม ชอบเป็นผู้เสียสละเพื่อลดความขัดแย้ง (4) Compromising: แบบยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน ขณะเดียวกันก็ให้ความร่วมมือที่จะแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการเจรจาต่อรองเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์หรือเกิดความพึงพอใจบ้าง ในลักษณะพบกันครึ่งทาง และ (5) Collaborative: แบบรักษาผลประโยชน์ของตน และให้ความร่วมมือในระดับสูง โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจอย่างเต็มที่ ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อจะหาทางเลือกที่เหมาะสม                Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution แบ่งเป็น (1) Aligned Goals ถ้าองค์กรขาด Aligned Goals ทำให้คนในองค์กรขาดทิศทาง  (2) Business Acumen/Skills ถ้าองค์กรขาด KUSA (Knowledge, Understanding, Skills และ Attribute) ก็จะพึ่งพาคนอื่นตกอยู่ภายใต้การชักนำของคนอื่น (3) Measured Accountabilities ถ้าองค์กรขาด Measured Accountabilities คนในองค์กรก็ไม่สามารถเติบโตได้เนื่องจากไม่มีการวัดผลงาน (4) Linked Rewards ถ้าองค์กรขาด Linked Rewards คนในองค์กรก็จะขาดแรงกระตุ้น และ (5) Ownership Thinking: รู้สึกถึงความเป็นเจ้าขององค์กร ถ้าองค์กรขาด Ownership Thinking คนในองค์กรก็จะทำงานเช้าชามเย็นชามไม่กระตือรือร้น
        การบ้าน เรียนวันที่ 15 กันยายน 2550 บรรยายโดย.. อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด: President Human Capital Club (Thailand)ผู้เรียน.. ชารวี  บุตรบำรุง

เรื่อง.. Workforce  Alignment  In  an Organization

ก่อนการเรียนในวันนี้ อาจารย์เริ่มต้นด้วยการ ให้พวกเราแบ่งกลุ่มเพื่อต่อ Jigsaw รูปต่างๆแข่งกัน โดยให้เวลา 3 นาที ซึ่งหลายท่านคง งง ? ว่า ทำไมอาจารย์ต้องให้พวกเราต่อ Jigsaw ถือเป็นเทคนิคชั้นเยี่ยมของอาจารย์ในการที่จะนำพาพวกเราเข้าสู่บทเรียน เพราะในการต่อ Jigsaw อาจารย์พยายามช่วยโดยการมีเครื่องมือช่วย  ซึ่งหลายกลุ่มก็ร้องขอ แต่บางกลุ่มก็ไม่ร้องขอ เมื่อเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน ทำให้ทราบว่า การต่อ Jigsaw ต้องมีกรอบแนวคิด วางแผน เวลา รูปตัวอย่างหรือต้นแบบ ร่วมมือร่วมใจ เปรียบได้กับ การที่ผู้บริหารมอบหมายงาน ถ้าพนักงานมีข้อมูลไม่เพียงพอแก่การทำงาน ก็ต้องทำการหาข้อมูลเพิ่ม หรือนำประสบการณ์จากที่อื่นมาใส่ และทิศทางต้องไปทางเดียวกับ Target ถ้ามีหลายทิศทาง จะไม่มีการโฟกัสไปสู่จุดหมาย ฉะนั้น Leadership มีความสำคัญอย่างยิ่ง

    ในส่วนของ Enterprise  Governance แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
  • Corporate Governance i.e. Conformance  เพื่อให้มี Accountability Assurance เพราะทุกธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับสังคม เช่น ต้องจดทะเบียนการค้า เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
  • Business Governance i.e. Performance เพื่อให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ทำประโยชน์เพื่อใคร มี Value Creation Resource Utilization เพิ่มมูลค่าให้แก่สังคม
      ฉะนั้น     ภาวะผู้นำถือเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีหลักเกณฑ์ หลักการ ที่ชัดเจน                  รวมทั้งมี System ที่เป็นระบบ

 

  

ซึ่งการเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้น ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง “ Know Something in Everything “ หรือ “ Know Everything in Something “ สามารถนำไปใช้ได้ทุกวิชาชีพ มีการกล่าวกันว่า ในชีวิตของคนๆหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำอะไรได้สำเร็จ 80 % เกิดจากภาวะผู้นำ อีก 20 % เกิดจากวิชาการ หรือเรียกว่ากฎ 80 : 20 ของ Pareto’s Law  ดังนั้นเพื่อให้องค์กรมีการดำเนินงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์กร ทั้งระหว่างแต่ละหน่วยในองค์กร หรือระหว่างหน่วยงานสนับสนุน หรือระหว่างหน่วยงานสนับสนุนกับกลยุทธ์ขององค์กร หรือระหว่างคณะกรรมการองค์กรกับการดำเนินงานขององค์กร หรือ partner ภายนอกกับกลยุทธ์ขององค์กร และความสำคัญของ Alignment คือ ถ้าทุกองคาพยพขององค์กรไม่สอดคล้องกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ ก็ยากที่จะทำให้การบริหารกลยุทธ์เป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผล กลยุทธ์ขององค์กรต้องมาก่อน(กลยุทธ์ใหญ่ๆ) และทุกกลยุทธ์ย่อยๆ ต้องตอบสนองขึ้นข้างบน จึงจะ Alignment รวมทั้ง Kaplan , Norton ได้นำเรื่องของ BSC เข้ามาผสมผสานหลักการ Alignment ด้วย ฉะนั้น Direction Statement จะเป็นเครื่องชี้ว่า ตกลงแล้วองค์กรเราจะไปทางไหนกันดี ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ต้อง Alignment กับ  Vision , Mission , Values ซึ่งเป็นสิ่งที่คนภายในองค์กรรู้ และ Goals , Objectives และ Brand เพื่อให้คนภายนอกองค์กรรับรู้ รับทราบ

  

      เช่น Mission of Sony in the 1950s คือ เกิดมาเพื่อทำเทคโนโลยี ที่มี Innovation ที่มีประโยชน์ (ที่แสดงถึงว่า ทำไมถึงเกิด ทำไมถึงอยู่ อยู่เพื่อใคร ทำเพื่อใคร)  Vision of Sony in the 1950s คือ ทำอะไรแล้วผู้คนฮือฮา เป็นสินค้าแรกที่บุกตลาด USA และจะทำให้สำเร็จทุกเรื่องที่ USA ทำแล้วล้มเหลว Values of Sony in the 1950s คือ ไม่ลอกเลียนแบบใคร ฉะนั้น Trust สูงเป็นสิ่งที่มาแรงและสำคัญกว่า Competency เป็นต้น      นอกจากนี้ R & R : Roles & Responsibilities ก็สำคัญเช่นกัน ถ้าใครทำตอบกลยุทธ์ก็ต้องได้รับผลตอบแทน เพราะกลยุทธ์สามารถพาองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน

  

Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution ส่วนของสมองซีกซ้าย ประกอบด้วย
  1. Aligned Goals 2. Business Acumen/Skills 3. Measured Accountabilities 4. Linked Rewards 5. Ownership Thinking
ส่วนของสมองซีกขวา ประกอบด้วย
  1. Aligned 2. Goals 3. KUSA : Knowlage (รู้) , Understanding (เข้าใจ) , Skill (ทักษะ) , Atibute (สามารถวัดได้ ) ไม่เช่นนั่นจะไม่มี 4. Accountabilities และต้อง 5. Linked Rewards ให้ได้ รวมทั้งมีความเป็นเจ้าของ 6. Ownership Thinking
สรุป   การบริหารองค์กรต้อง Alignment เพราะ 1. เสียเวลา 2. เสียกำลังใจ         ไม่ว่าภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน ก็ตาม ต้อง Alignment ชัดเจนว่าจะไปทางไหน          อย่างไร มี Strategy ที่ตอบโจทย์หรือไม่ และมี BSC : Balance Scorecard ที่ช่วยให้ Strategy ประสบความสำเร็จ และการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ ต้องประกอบด้วย คน  เทคโนโลยี  และ ระบบการเรียนรู้ 

 

 

          วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐ ได้รับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ในหัวข้อ Workforce Alignment in an Organization ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สคัญในหมวดของการจัดการทุนมนุษย์และการบริหารจัดการองค์กรเพราะการร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในองค์กรโดยมีทิศทางหรือเป้าหมายเดียวกันที่ชัดเจนย่อมเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ การร่วมแรงร่วมใจและการประสานงานก็เฉกเช่นกรต่อจิกซอว์ตัวเล็กแต่ละตัวให้เกิดเป็นภาพใหญ่ที่สวยงาม เหตุที่ต้องมีการ align องคาพยพต่างๆในหน่วยงานก็เนื่องจากที่มาของแต่ละคนล้วนแตกต่าง จำเป็นที่ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องผสมผสานหรือบูรณาการ (integrate) ให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิด ความแตกต่างที่ลงตัว (harmonized contrast)” ไม่มีความแตกแยกในความแตกต่างของแต่ละองคาพยพในองค์กร            ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวมีหลายประการประกอบด้วยความชัดเจนในการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (mission) ค่านิยม (value) วัตถุประสงค์ (objective) ยี่ห้อ (brand) การกำหนดกลยุทธ์ (strategy) ของทุกส่วนงานภายในองค์กร รวมทั้งการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ (role and responsibility) ของพนักงาน โดยสร้างตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (performance measure) และผลงานที่ต้องการ (job requirement) ในแต่ละตำแหน่ง เพื่อให้พนักงานได้ทราบว่าตนจะต้องทำอะไรหรือเก่งในเรื่องอะไรบ้าง            การสร้างต้นทุนทางสังคม (social capital) ภายในองค์กรก็มีความสำคัญต่อความราบรื่นในการเดินไปในทิศทางเดียวกันขององค์กรเช่นกัน เพราะความสัมพันธ์ (relationship) จะเป็นตัวกำหนดวิถีการทำงานของคนในองค์กร รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ของงานและเป้าหมายขององค์กรโดยรวม ซึ่งตามแนวคิดของ Thomas-Kilmann แบ่งการมีปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลออกเป็น (๑) Confronting: มีการเผชิญหน้า โดยจะต้องเลือกเอาระหว่างทางเลือกของตนหรือทางเลือกอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง (๒) Avoiding: หลีกเลี่ยงปัญหา บ่ายเบี่ยง ไม่ตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลให้ปัญหายังคงอย่ (๓) Accommodating: เอื้ออำนวยให้ความสะดวก ซึ่งจะทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี (๔) Collaborative: ให้ความร่วมมือ ซึ่งจะทำเกิดทั้งผลงานและความสัมพันธ์ที่ดี (๕) Compromising: ประนีประนอม ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีข้อแลกเปลี่ยน ต่างฝ่ายต่างได้ แต่อาจจะได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าจะตกลงกันได้แค่ไหนที่เห็นว่ารับได้ทั้งสองฝ่าย            นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งก็คือ ภาวะผู้นำ (leadership)” ของผู้บริหารองค์กรที่จะขับเคลื่อนหรือสร้างวัฒนธรรมที่ดีและสภาพแวดล้อมการทำงานที่จูงใจให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างไร ซึ่ง Workforce Alignment Model เพื่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องประกอบด้วย (๑) การมีเป้าหมายที่ชัดเจน (aligned goal) (๒) มีทักษะ/ความเฉียบคมทางธุรกิจ (business acumen/skills) (๓) มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (measured accountability) (๔) มีการให้รางวัลที่เหมาะสม (linked rewards) (๕) มีสำนึกของความเป็นเจ้าของ (ownership thinking)            องค์ประกอบทั้งหมดต้องไปด้วยกันจึงจะสมบูรณ์ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะเกิดสภาวะที่แตกต่างกันไป เช่น หากขาด aligned goal องค์กรก็จะไม่มีจุดเน้น จะต่างคนต่างทำ  การขาด  business acumen/skills องค์กรก็จะต้องพึ่งคนอื่นจากภายนอก ถ้าขาด measured accountability ผลงานก็จะไม่มีความหมายแต่จะตัดสินโดยใช้อำนาจหน้าที่เป็นใหญ่ หากไม่มี linked rewards ก็จะไม่เกิดแรงจูงใจในการทำงาน และหากถ้าขาด ownership thinking การทำงานก็จะทำไปอย่างนั้น เกิดความเฉื่อย ขาดผลิตภาพเข้าลักษณะเช้าชามเย็นชาม

            จากการที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้างต้น ผมเห็นว่า workforce alignment in an organization นั้นเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เห็นความสำคัญของแต่ละองคาพยพ ไม่มีใครที่จะสมบูรณ์ไปทั้งหมด แต่ก็อยู่ในฐานะที่จะพัฒนาได้ ควรที่ผู้ที่มีความพร้อมจะได้ช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส กล่าวถึงตรงนี้ทำให้ผมนึกถึงตอนทำโครงการร่วมมือทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างสำนักงาน ก.พ. กรมวิเทศสหการ และโครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อปี ๒๕๔๒ ซึ่งผมได้เขียนกลอนแปดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษลงไว้ในหนังสือนอง ก.พ. ซึ่งเป็นผลิตผลภายใต้โครงการ ซึ่งเคยนำมาลงใน blog นี้บางส่วนแล้ว แต่ครั้งนี้เห็นว่าน่าจะเหมาะกับบรรยากาศของเรื่องที่เรียนและเป็นการสะท้อนตัวอย่างของต้นทุนทางสังคม (social capital) อีกมุมหนึ่ง จึงขอนำมาประกอบเป็นการบ้านอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเสริมกับบทกลอนที่อาจารย์พนม ปีย์เจริญ ร้อยกรองลงในการบ้านครั้งนี้ด้วยอีกโสตหนึ่ง ดังนี้

 

       ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

       As development cooperation,

     ทรงคุณค่าความเอื้อเฟื้อและเผื่อแผ่

      it’s funded to be complimentary.

     ยามขาดแคลนมีเพื่อนช่วยคอยดูแล

      When we lack, we’re given caring tree.

     เป็นหุ้นส่วนได้ถึงแม้แตกต่างกัน

      Partnership could be though we’re different.

 

           ร่วมกันคิดร่วมกันทำร่วมกันสร้าง

           Let’s initiate and implement together

        ร่วมกันแผ้วร่วมกันถางทางสร้างสรรค์ 

          to stir, to find the way to strengthen.

        ร่วมกันพัฒนาไปด้วยกัน

          Collaborative pursuing shall maintain.

        ทั้งในปัจจุบันและต่อไป

          Now and then, our friendship comes true.

 

     แม้บางครั้งผิดพลั้งไปขอใจสู้

     Once mistake occurs, don’t give up.

    ผิดเป็นครูรู้แก้ยังไม่สาย

     Set it up as lesson learned and module.

    ประสานมือกันมั่นปัญหาคลาย

     Join and tighten our hands we can do;

    ทุกข์กลับกลายเป็นโอกาสพัฒนา

     turn the problems into opportunities.

 

         ทรัพยากรมนุษย์สุดยิ่งใหญ่

         Human Resource Development is a must.   

         เป็นปัจจัยตัดสินสิ้นกังขา

         It entrusts with success on duty.

        จะพัฒนาผู้ใดในโลกา

        To develop whoever, you and me

         อย่าลืมว่าต้องเริ่มต้นที่ตนเอง

         have to be firstly self begun.

     รักษเกชา แฉ่ฉาย

นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ (Ref : อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  : Workforce Alignment In an Organization / 15 กันยายน 2550)   (นักศึกษา : นพมาศ ช่วยนุกูล   รภ.สวนสุนันทา) 1. การทำ Alignment ก็เหมือนกับการต่อจิ๊กซอเพื่อให้ได้ภาพใหญ่ภาพเดียว ดังนั้นองค์กรต้องมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน คนในองค์กรจะต้องมีการ Shared Vision ไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงาน/องค์กร  และพัฒนาตนเองให้เป็น Personal Mastering  เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของตนเองและผลักดันให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ ตามลำดับ         2. ในแต่ละองค์กรควรจะมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ที่มีทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเชื่อมโยงต่อเนื่องไปสู่กลยุทธ์องค์กร  และนำไปสู่การกำหนด Roles & Responsibilities  ความเชื่อมโยงดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การกำหนด KRA  ในแต่ละ Function  แต่ละกลยุทธ์ พร้อมดัชนีวัดผลความสำเร็จ  และการกำหนดคุณสมบัติ หรือ Job  Requriement  หรือ Competency  3. อย่างไรก็ตาม คงไม่มีหน่วยงานใดทำงานตาม Function เพียงอย่างเดียว กล่าวคือหน่วยงานยังต้องมีหน้าที่ทำงานสนองยุทธศาสตร์ หรืองานมอบหมายพิเศษ หรือ งาน Cross Functional ซึ่งทำให้ทุกคนไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของ Relationship และ Leadership ได้ 4. เมื่อบุคลกรกรมีผลงานตามเป้าหมายแล้วควรนำไปเชื่อมโยงกับระบบ Rewards และ Ownership  กล่าวคือ เมื่อองค์กรมี เป้าหมายและ Align สู่ KUSA , Measured Accountabilities , Linked Rewards , Ownership Thinking ซึ่งก็คือ Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution        5. อย่างไรก็ตามผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า ใน Workforce Alignment Model  ควรเพิ่มเติมเรื่องโครงสร้าง เข้าไว้ด้วย  ทั้งนี้เนื่องจากเรื่องโครงสร้างเป็นเรื่องที่มักอยู่คู่กับอย่างถาวรกับองค์กร  ในขณะที่บุคลากร/ผู้นำองค์กร มีวงจรแบบหมุนเวียนคือเข้ามาและจากองค์กรไป  ดังนั้น หากโครงสร้างองค์กรมีความเหมาะสม ก็จะมีส่วนเอื้อให้เรื่อง  Measured Accountabilities , Linked Rewards , Ownership Thinking  เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล แต่ในทางตรงข้ามหากโครงสร้างองค์กรไม่ดี ก็จะเป็นอุปสรรคต่อ เรื่อง  Measured Accountabilities , Linked Rewards , Ownership Thinking  และส่งผลให้ Workforce Alignment ไม่มีความยั่งยืน และกระทบกับการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในที่สุด ...............................
กฤษณา ปลั่งเจริญศรี
จากการฟังการบรรยายเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2550 หัวข้อเรื่อง WORKFORCE ALIGNMENT IN ORGANIZATION โดย อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด             การบ้านครั้งที่ 12 โดย นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี หลักการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ โดย·       กำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ที่ต้องบรรลุให้ชัดเจน·       มีระบบค่านิยมที่เน้นผลการปฏิบัติงาน การเพิ่มผลผลิต คุณภาพ การบริการลูกค้า และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น·       มีภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์·       แรงงานมีทักษะสูง มีข้อผูกมัดร่วมกัน มีแรงจูงใจที่ดี·       การทำงานเป็นทีม สามารถควบคุมความขัดแย้งได้·       สร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น·       ความสามารถในการบริหารจัดการ และเปลี่ยนแปลง·       มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง การบริหารจัดการใน class มีกิจกรรมร่วมกันในการต่อ jigsaw มีบางกลุ่มที่เกือบประสบผลสำเร็จ เนื่องจากได้ขอกรอบ รูปแบบ และมาวางแผนการทำงานร่วมกัน จึงเกิดสิ่งที่ประสบความสำเร็จที่ได้วางแผน เนื่องจากอาศัยหลักการดังกล่าวข้างต้น และเมื่อกิจกรรมจบลง  อาจารย์ได้บรรยายถึงหลักการของ ENTERPRIGE GOVERNANCE กระบวนการที่ต้องทำงานร่วมกัน CONFORMANCE PROCESS1.   ผู้นำต้องเป็นผู้นำที่มีการเปลี่ยนแปลง2.   ผู้นำต้องมีแนวทางของตนเอง3.   ผู้นำต้องมีคณะกรรมการ4.   ระบบการจัดการต้องไม่เสี่ยง5.   มีการตรวจสอบภายในได้การปฏิบัติตามกระบวนการ PERFORMANCE PROCESS1.   มีการวางแผนในเชิงกลยุทธ2.   มีการวางแผนด้านการตลาด3.   การจัดการเชิงกลยุทธต้องไม่เสี่ยง4.   ระบบการวางแผนกลยุทธ ต้องกล้าได้กล้าเสีย5.   ต้องเป็นกระบวนการที่ต้องทำติดต่อกัน สรุป HOW TO SET DIRECTION ต้องมี MISSION,VISSION,VALUE มาเป็นทฤษฎีในการดำเนินการบริหารองค์กร อาจจะป็นบุคคลรวมอยู่ด้วย โดยนำมาเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับแต่ละบุคคล นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี วันพฤหัสที่ 20 กันยายน 2550 
การบ้านครั้งที่ 12

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2550

"Work force Alignment an Organization"

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

President of Human Capital Club (Thailand) and Executive Coach

     วันนี้ก็เหมือนทุกครั้งของการนำเข้าสู่การเรียนของอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ที่มีเอกลักษณ์ ในการดึงดูดความสนใจเป็นอย่างดี โดยการแบ่งกลุ่มให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการต่อ Jigsaw เป็นการมอบหมายงานที่มีการกำหนดเวลาให้เสร็จภายใน 3 นาที แต่ทุกกลุ่มไม่สามารถต่อได้ทันเวลา กิจกรรมนี้เป็นไปตามทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       เราได้เรียนรู้อย่างมากมายจากการต่อ Jigsaw การบริหารองค์กรโดยไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (The unfocused  organization) หรือมีทิศทางที่ชัดเจน (the focused organization) แต่ขาดผู้นำที่มีความสามารถในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตามทิศทางขององค์กรและการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง น่าเสียดายที่ผู้นำในภาครัฐเกิดการเรียนรู้และการยอมรับในสิ่งนี้น้อยมากทำให้การพัฒนาประเทศ ชาติไม่ทันกระแสการเปลี่ยนแปลง

     อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญต้องไม่ลืมในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรและพฤติกรรมของคนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยากดังนั้นการเน้นในเรื่อง R&R (Roles & Responsibilities) จะทำให้เกิดการ Organic และการ SWOT ก็ต้องดูทั้งตัวเราและคู่แข่งเพื่อมองให้เห็น Critical Success Factors :CSF แต่ถ้ายังไม่พบก็มีทางเลือก 2 ทาง ทางแรกก็ต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ  ทางที่สองคือ Out sourcing หรือซื้อเข้ามา แล้วมี Action plan เพื่อดูแนวโน้มว่า จะเป็นไปได้อย่างไรซึ่งต้องมี JD (Job Description) หรือ R&R แต่ส่วนมากนิยมใช้ R&R เพราะปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า JD  ปัจจุบันการพิจารณาค่าตอบแทน หรือ Bonus ได้มีการปรับตามบทบาทความรับผิดชอบ ที่ตอบสนองนโยบาย และทิศทางขององค์กร ดังนั้นการกำหนด Roles ต้องรู้ว่าทำอะไร เพื่อหรือมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งต้องมี Requirement หรือ Competency เพื่อการวัด หรือประเมินผลงานเพื่อให้ Accountabilities แต่ทียากที่สุดคือการที่จะหาคนที่จะเชื่อมโยง Job ต่าง ๆในองค์กร (Change agencies & Change champion) ถ้ามั่นใจในทิศทางองค์กรว่าไปได้ถูกทางและมีผู้นำที่มีทุนมนุษย์สูงตามทฤษฎี 8 K ’s ของศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ จะต้องสามารถเปลี่ยนCulture ได้

          ดังนั้นการบริหารองค์กรโดยมีทิศทางที่ชัดเจนและประสบผลสำเร็จจะต้องเป็นการทำ Alignment สิ่งต่าง ๆเข้าด้วยกันอย่างประสานกลมเกลียวกันในเรื่อง Roles, Goals, Culture, Practices, Strategy, Mission /Purpose, Structure, People, Relationships, Processes, Customers เพราะถ้าไม่ Align จะทำให้เสียเวลาและเสียกำลังใจ

สุดท้ายอาจารย์ สรุปว่า Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution ประกอบด้วย            1.Alignment goals            2. Business Acumen /Skills หรือ Competency หรือ Job requirement หรือ KUSA (K=Knowledge, U=Understanding, S=Skills and A=Attitude)             3. Measured Accountabilities4. Linked Rewards

5. Ownership Thinking

 
ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ให้พวกเราได้มีโอกาสได้รับความรู้จาก   Excellence coacher อย่างเช่นอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

                                                อรพินท์ มณีรัตน์

ป.เอก มรภ.สวนสุนันทาAurapin_m@yahoo,com20 กันยายน 2550
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
ทรงศรี  ด่านพัฒนาภูมิ                                         STRATEGIE HRDManoon  Sunkunakorn                         วิวัฒนาการของเครือซีเมนต์ไทยดีมากที่มีโอกาสได้รับรู้เกี่ยวกับการบริหารและวิธีการต่าง ๆ ในเครือซีเมนต์ไทย ตั้งแต่การก่อตั้งและขยายธุรกิจและสู่ธุรกิจใหม่โดยร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติ วิกฤตเศรษฐกิจปรับโครงสร้างธุรกิจมุ่งเน้นธุรกิจหลัก ปูนซีเมนต์มีกิจการ กระดาษ ปิโตรเคมี พนักงาน 24,000 คน วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ยานยนต์  ธุรกิจหลักก่อสร้าง เซรามิค ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และได้ทราบถึงการบริหารงานของเครือซีเมนต์ไทย   ซีเมนต์ไทยเชื่อมั่นในคุณค่าของคนเป็นใหญ่ คนเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด                        เครือฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารคน-          สรรหาพนักงานที่มีคุณภาพ-          พัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง-          ดูแลให้พนักงานเติบโตก้าวหน้าในเครือ นโยบายการบริหารบุคคลของเครือ                         1.      สรรหาพนักงานที่มีคุณภาพ (Selection)2.      พัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องให้มีทักษะและคุณธรรม (Continuous Development)3.      ดูแลรักษาและสนับสนุนให้พนักงานเติบโตก้าวหน้าในเครือ (Enable to grow)  เครือให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานทุกคนโดยระบบคณะกรรมการบุคคล1.      ต้องเป็นคนมีน้ำใจ2.      ใฝ่หาความรู้3.      มีความวิริยะอุตสาหะ4.      มีความเป็นธรรมและซื่อสัตย์5.      เห็นแก่ส่วนรวม6.      รู้หน้าที่ในงานในครอบครัว7.      มีทัศนะคติที่ดี8.      มีวิจัยและมีสัมมาคารวะ9.      มีเหตุผล10.  รักษาชื่อเสียงทั้งของตัวเองและของบริษัท นโยบายการพัฒนาพนักงานของเครือ1.      ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ2.      พัฒนาพนักงานทุกวิชาชีพทุกระดับและทุกคน3.      พัฒนาอย่างเพียงพอต่อเนื่องและสอดคล้องกับ Competency ของพนักงาน4.      ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง เป้าหมายในการพัฒนาพนักงาน1.      ทำงานได้ 2.      ทำงานดี3.      ทำงานเก่ง4.      สอนลูกน้องเป็น5.      ทำงานแผนผู้บังคับบัญชาได้ Competency                        คือ คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้และพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ การเรียนรู้ (Learning) กับการเก็บข้อมูล                        การเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการได้อ่านหนังสือแต่หมายรวมไปถึงการได้ทดลองหรือฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาพัฒนาขีดความสามารถของเราให้สูงขึ้น HRD Key Success Factor                        ผู้บริหารระดับสูงต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้บังคับบัญชาต้องเอาใจใส่ดูแล คัดเลือกและสอนงาน  ตัวพนักงานเองต้องกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองและเข้าใจวัตถุประสงค์ของการพัฒนา นำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ วิทยากรต้องมีความรู้และเข้าใจและใช้รูปแบบที่เหมาะสม หน่วยงาน (ศูนย์ฝึกอบรม) ต้องพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง                        ก็ดีมาก ๆ ซึ่งอยู่เมืองนอกเสียนานไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับเมืองไทย พอมาเรียนท่านอาจารย์จิระ   ก็พยายามหาบุคลากรที่มีความรู้หลากหลายมาให้ความรู้ แต่จะยังไงก็ยังชอบชั่วโมงเรียนของท่านอาจารย์จีระ อยู่ดีค่ะ เพราะอาจารย์มีหลาย ๆ อย่างในตัวท่านซึ่งคนอื่นไม่มีค่ะ
นางเครือวัลย์ สมณะ
 “Workforce Alignment In an Organization”โดยอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  บรรยายเมื่อวันเสาร์ที่  15  กันยายน  2550             การบรรยายครั้งนี้นักศึกษาส่วนใหญ่พอใจ เพราะอาจารย์คงได้มีการเตรียมการสอนมาแล้วเป็นอย่างดี อธิบายฟังเข้าใจได้ง่าย ไม่ซ้ำซ้อนหรือวกวน  ทั้งเนื้อหาสาระและการยกตัวอย่าง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับปรุง ประยุกต์ใช้ได้กับหลายองค์กร             ก่อนการจัดตั้งของทุกองค์กร (Organization) ต้องมีวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงาน โดยเฉพาะผู้นำ (Leadership) มีบทบาทสำคัญที่สุดในองค์กร ต้องเข้าใจวิธีการทำงาน ต้องสามารถนำพาพนักงานในองค์กรให้เป็นที่ยอมรับและยอมร่วมสร้าง ให้ความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานแบบรวมพลังเดินไปข้างหน้าให้ถึงเป้าหมายในถนนสั้นที่สุดเป็นเส้นตรง (Alignment) และไปในแนวทิศทางเดียวกัน หากพนักงานในองค์กรต่างคนต่างคิด ต่างทำ โดยไม่มุ่งตรงไปยังเป้าประสงค์ (Goal) หรือไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแบบ Unfocused Organization  คงจะได้รับผลสำเร็จยาก เสียเวลา และไม่ทันคู่แข่ง              ระบบการจัดการของ Enterprise Governance จะมีโครงสร้างทั่วไปอยู่ 2 ประเภท คือ Conformance Process และ Performance Process1.  Conformance Process  จะประกอบด้วย     -  Chairman / CEO     -  Non Executive Directors     -  Audit Committee     -  Risk Management     -  Internal Auditทุนมนุษย์ทั้ง 5-6 ตำแหน่งดังกล่าวมีความสำคัญที่สุด เพื่อให้ระบบการจัดการได้รับผลประโยชน์ หรือหากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรและสามารถตรวจสอบได้ Accountability Assurance2.  Performance Process จะประกอบด้วย     -  Strategic Planning and Alignment     -  Strategic Decision Making     -  Strategic Risk Management     -  Scorecards     -  Strategic Enterprise Systems    -  Continuous Improvementเพื่อให้การปฏิบัติงานมีสมรรถนะ พนักงานมีพฤติกรรมพร้อมที่จะมีส่วนร่วมกันสร้างสรรค์ ทำให้เกิดประโยชน์ Value Creation and Resource Utilization ของ Performance Processโดยเฉพาะมีความต้องการทำให้เป็น Alignment ได้ต้องมีวิสัยทัศน์ของปัจเจกชน (Individual Vision) และวิสัยทัศน์ขององค์กร (Organization Vision) ทั้งสองส่วนนี้จะต้องมีการร่วมกันผลักดันให้วัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ (Mission) ที่ได้ตั้งไว้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม จะมีการกำหนดเป้าประสงค์ (Goals) ให้ชัดเจน โดยกำหนดพันธกิจ (Roles) ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติ (Practices) เป็นขั้นเป็นตอนที่เข้าใจง่ายต้องทำให้เป็น  “Alignment”   เพื่อมิให้การดำเนินงานของพนักงานและขององค์กรสับสน ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจไม่เป็นไปในแนวทิศทางเดียวกัน Unfocused Organization จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องกำหนด Direction Statement โดยตั้งคำถามและตนเองสามารถหาคำตอบได้ชัดเจนจึงจะ Set Direction ได้ เริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม  Mission-          What is Our Purpose?-          Who is Our Customer?-          What Value Do We Bring them?Vision-          What Do We Dream of Becoming? Values-          What Principles and Behaviors-          Do We Cherish and Uphold?             นำ Value มาใช้เป็น Vision สร้างค่านิยมคนในองค์กรและความเชื่อถือ Trust ในสังคม เมื่อได้คำตอบ แต่ละหัวข้อที่ตั้งคำถามได้แล้วนั้น จึงจะวางแผนดำเนินการเป็นขั้นตอนต่อไปดังกรอบข้างล่างนี้ -          กลยุทธ์ Strategy in Organization ที่กำหนดต้องชัดเจน นำมาปฏิบัติได้ตั้งแต่ Corporate Strategy,  SBU/Division Strategy และ Departmental Strategy-          พันธกิจ  Roles + Responsibility  ความรับผิดชอบที่ต้องขับเคลื่อนให้บรรลุตามเป้าประสงค์ทุกหน่วยงานทั้งองค์กร-          ความสัมพันธ์ Relationship ระหว่างหน่วยงานต้องมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันทำเป็น Team work ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ และพันธกิจ ได้ทั้งผลลัพธ์ (Outcome) และความสัมพันธ์ที่ดี (Relationship) ต่อกันทั้งองค์กร-          ผู้นำ Leadership ต้องเป็นผู้นำที่รู้จักการใช้หลักบริหารทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเป็นผู้นำ มีความสามารถผลักดันขับเคลื่อน นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด  “Good leader creates good culture and motivated working environment”             Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution ต้องมีการเชื่อมโยงกันเป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่ Objective ต้อง Aligned กับ Brand ขององค์กร รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ ศักยภาพ เพียงพอ และสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส1.      Aligned Goals 2.      Business Acumen/Skills3.      Measured Accountabilities4.      Linked Rewards5.      Ownership Thinking             โดยนำทั้ง 5 หัวข้อ มาร้อยเรียงเป็นตาราง (Chart) นำมาใช้เป็นอุปกรณ์หรือเป็นเครื่องมือตรวจสอบวัดได้จากตาราง (Chart)  เพื่อเป็นฐานไว้สนับสนุนกลยุทธ์ให้เห็นภาพได้ชัดเจน สร้างความมั่นใจ นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อให้บรรลุผลแห่งความสำเร็จได้อย่างมีโอกาสสูงจากการใช้ตาราง Chart “Superior Strategy Implementation สรุป อาจารย์ได้ให้การบ้านเพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติใช้ได้ทั่วไปสำหรับ Organizational and Workforce Alignment ประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญดังนี้Strategic Governance-  Corporate Governance – Conformance-  Business Governance – PerformanceDirection Statements-  Vision, Mission, Values, BrandStrategy-  Corporate Strategy-  Department StrategyStrategy Execution-  Goals / Objectives-  Business Acumen/Skills-  Accountability-  Rewards-  Ownership ThinkingLeadership-  Create right culture and motivated working environment 

                                                                                                                                                นางเครือวัลย์  สมณะ

 20 กันยายน  2550
หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
สรุปการบรรยายวันที่ 15 ก.ย. 2550  อ.พจนารถ ซีบังเกิดเรื่อง Workforce Alignment in organizationอาจารย์ได้ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มช่วยกันต่อจิกซอร์ และอาจารย์ได้อิบายถึงการที่ให้ต่อจิกซอร์ว่าทำไมต่อไม่สำเร็จโดยนำไปเปรียบเทียบว่าเวลาที่เราได้รับมอบหมายงานเราควรจะขอข้อมูลให้ครบจะได้มีข้อมูลในการทำงานให้แล้วเร็จ ในสถานที่ทำงานในแต่ละองค์กรพนักงานที่อยู่ในหน่วยงานนั้นๆต่างคนก็มาจากที่ต่างนิสัยต่างกันความรู้ต่างกันแนวคิด นโยบายอุดมคติต่างกันดังนั้นผู้บริหารจะต้องมาปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆเหล่านั้นให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับองค์กร( The Aligned organization) ธรรมาภิบาลของธุรกิจจะประกอบด้วย1.      Corporate Governance ธรรมาภิบาลขององค์กรจะมีการปฏิบัติตามที่องค์กำหนด 2.      Business Governance ธรรมาภิบาลของธุรกิจเช่น ต้องไม่สร้างผลกระทบที่เกิดกับสังคมในแต่ละองค์จะต้องมี พันธกิจวิสัยทัศน์  พนักงานที่อยู่ในองค์กรจะต้องมีการปกิบัติงานมีแนวทางที่จะทำให้องค์กรบรรลุตามพันธกิจวิสัยทัศน์  ที่ตั้งเอาไว้การบรรลุดังกล่าวยังไม่เพียงพอจะต้องมี values goals objectives brand·       Conformance Processo     ใครจะเป็นประธานo     ต้องเป็นกรรมการอิสระo     ความมั่นคงขององค์กรo     การตรวจสอบจากภายนอก·       Performance Processo     การวางแผนกลยุทธ์o     กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงo     กลยุทธ์การตัดสินใจขอบเขตของพันธกิจ  วิสัยทัศน์ values brand·       พันธกิจ 1.      วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายขององค์คืออะไร2.      กลุ่มลูกค้าคือใคร3.      องค์กรจะเป็นแบบใด ซึ่งโดยปกติจะเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์เช่น พันธกิจ ของ Sony :  To experience the sheer joy of innovation and the application of technology for the benefit and pleasure of the general public องค์เกิดขึ้นมาทำอะไรก็ได้ที่มีนวัตกรรมนำเทคโนโลยี่·       วิสัยทัศน์   ความฝันอยากให้องค์กรเป็นแบบใด·       Values   หลักการพฤติกรรมอะไรที่จะสนับสนุนให้องค์ของเราอยู่ได้เป็นการมองข้างในของคน·       Brand   เป็นสิ่งที่บอกให้คนข้างนอกรู้ว่าเราเป็นอย่างไรแบบไหน·       Objectives จะต้องAlignment กับแบบทั้งหมด·       กลยุทธ์(strategies)          วิธีการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ กลยุทธ์ขององค์จะต้องกำหนดก่อนแล้วจึงค่อยกำหนดกลยุทธ์ของฝ่ายของแผนกThomas-Kilmannได้อธิบายลักษณะของคนในองค์กรมีดังนี้1.      Confronting เป็นคนที่ต้องต่อสู้ สิ่งที่ต้องการคือผลลัพธ์หรือผลที่แสดงออกมา2.      Auioding เป็นคนที่ไม่เผชิญหน้า หนีปัญหา3.      Accommodating เป็นคนเอื้ออาทร ช่วยเหลือเพื่อนทุกอย่างที่เพื่อนต้องการ4.      Collaborative  ต้องแชร์ข้อมูลแล้วช่วยกันคิด คุยกันไม่หวงข้อมูลกัน เอื้ออาทรกันต้องการผลลัพธ์ด้วย5.      Compromising เป็นคนที่เสียบ้างได้บ้างแบ่งกันและจะต้องมีความยุติธรรมฉะนั้นในการ Alignment  จะต้องนำทุกส่วนเช่น Role Goals Culture ฯลฯ มาต่อเข้ากันแบบจิกซอร์ให้ได้สำเร็จเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จตาม วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ตั้งไว้และเราก็จะต้องมาปรับทุกคนในองค์กรให้มีทิศทางเป็นในทางเดียวกัน บุคคลที่เหลือก็จะปรับไปในทิศเดียวกัน เวลาที่เราสื่อสารกับคนต้องคิดว่าเราจะอธิบายภาพกว้างก่อนแล้วอธิบายเป็นข้อๆ หรืออาจจะสลับกันก็ได้ซึ่งจะทำให้คนมองเห็นภาพWorkforce Alignment Model for Successful Strategy Execution          Workforce Alignment Model ที่ทำให้กลยุทธ์ของการดำเนินการประสบผลสำเร็จจะต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้1.      จะต้องมีแนวทางที่ไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้2.      ธุรกิจจะต้องมี ความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ3.      ระบบสามารถวัดได้หรือให้เหตุผลได้4.      ต้องสัมพันธ์กับรางวัล5.      ต้องให้มีความเป็นเจ้าของ                  
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์      (Homework 12)

          จากการศึกษา เรื่อง Workforce Alignment in an Organization กับ ท่านอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด President Human Capital Club (Thailand) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550 สรุปได้ดังนี้

          The Unfocused Organization ในองค์กรโดนทั่วไป พนักงานโดยทั่วไปจะมีทิศทาง (เป้าหมาย)ไปคนละทิศละทาง และไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์กรซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้า หรือผู้บริหารที่จะต้องเปลี่ยนความรู้สึก ทัศนคติ และทิศทางความคิดของพนักงานให้เปลี่ยนเป็นมีทิศทาง(เป้าหมาย) อย่างเดียวกันกับทิศทางขององค์กร The Aligned Organization

  • การบริหารจัดการต้องมีกรอบ และระยะเวลา
  • บ่อยครั้งที่ CEO มักมักจะนึกเอาเองว่าลูกน้องคงจะทำได้,เข้าใจ,เรียนรู้ได้เองโดยไม่มีการชี้แจง/อธิบายรายละเอียดต่างๆ ซึ่งบางครั้งเป็นการเข้าใจที่ผิด
  • ผู้บริหารมักจะถูกมองว่า เป็นผู้ที่ไม่ได้ทำอะไร แต่ในความเป็นจริงงแล้วผู้บริหารจะเป็นผู้วางนโยบาย,คอยแก้ไขปัญหา,และบริหารจัดการในทุกเรื่องบององค์กร
  • องค์กรใดที่มีพนักงานที่มีประสบการณ์ จากองค์กรอื่นมาปฏิบัติงานจะได้เปรียบ องค์กรที่มีพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ แต่สิ่งที่พึงตระหนักนั่นคือถ้าองค์กรใดมีพนักงานที่มีประสบการณ์ที่ต่างกัน/มาจากหลากหลายที่ มักจะมาทะเลาะกันสร้างปัญหาให้กับองค์กรก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการ
  • Audit Committee ต้องเป็นองค์กรอิสระ
  • สิ่งที่เป็นสัจธรรม(ในเชิงบวก)นั่นคือไม่มีใครอยากทำในสิ่งที่ไม่มี แต่บางครั้งปัญหาปากท้อง และความอยู่รอดของตนเอง/ครอบครัว/กลุ่ม/พรรคพวก อาจจะทำให้สิ่งที่เป็นสัจธรรมในโลกเปลี่ยนไปได้เช่นกัน
  • หลายคนในหลายองค์กร มักจะมองข้ามระบบ(System) ทำให้เกิดปัญหาในองค์กร, สังคม, ประเทศ และอาจจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ระดับโลก เนื่องจากการมองข้ามระบบก็เป็นได้ ดังนั้น Performant Management System จึงต้องทำให้เป็นทั้งระบบ,ทั่วประเทศ
  • Leader อาจทำงานได้ผลเฉพาะยุค, บางโอกาส, บางเวลาเท่านั้น
  • Leadership ต้อง

            1. Goods Culture

            2. Motivate ให้ลูกน้อง

  • องค์กรใหม่ โดยทั่วไปแล้ว จะมีการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ในทางตรงกันข้ามองค์กรเก่า จะปรับเปลี่ยนสิ่งที่เคยทำอยู่ค่อนข้างยาก นั่นคือไม่ค่อยตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 จะให้ความสำคัญในเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ป็นอย่างมาก

Enterprise Governance ประกอบด้วย

    1. Conformance Process

  - Chairman/CEO   - Non Executive Directors

  - Audit Committee- Risk Managemant

  - Internal Audit 

    2. Performance Process

    - Strategic Planning and Alignment

    - Strategic Decision Making

    - Strategic Risk Management

    - Scorecards

    - Strategic Enterprise Systems

    - Continuous Improvement

          Alignment จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการปรับให้ Vision ของคนในองค์กร กับ Vision ขององค์กรเป็นทิศทางเดียวกันก่อน เพื่อให้

      Practices > Roles > Goals เป็นอย่างเดียวกัน

Direction Statement ประกอบด้วย

    - Vision            - Mission             - Values

    - Goals             - Objectives        - Brand

    > Vision / Mission เป็นการบอกคนในองค์กร

    > Brand เป็นการบอกคนนอกองค์กร

    > ผู้ที่จะทราบปัญหาขององค์กรมากที่สุด และรู้ก่อนผู้อื่นคือผู้ที่อยู่หน้างาน/ผู้ที่เจอเหตุการณ์จริง ณ ปัจจุบัน

    > Values ค่านิยมเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และปลูกฝังให้เกิดเป็น Trust

    > Objectives ต้อง Align กับ Vision และ Mission

    > การทำงานต้องจริงจัง จริงใจ เอาจริงเอาจังกับสิ่งที่ทำ

    > Strategy กลยุทธ์ สามารถทำได้โดย 1.สร้าง 2.ซื้อ

          - ปรับเปลี่ยนได้เมื่อมีความต้องการ

          - ทุกกลยุทธ์ต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ของ องค์กร

          - โดยทั่วไปจะเปลี่ยนทุก 3 ปี

    > Roles & Responsibilities(R&R)

          - คนที่ทำ R&R จะต้องได้ผลตอบแทนจากองค์กร

          - การกำหนด R&R เพื่อไปให้บทบาทของคนในองค์กร นิ่ง

    > ในองค์กรแต่ละองค์กร จะประกอบด้วยจิ๊กซอร์หลายๆ ส่วนดังนี้

                - Structure              - Mission/Purpose

                - People                 - Culture

                - Practices             - Processes

                - Relationships      - Customers

                - Roles                   - Goals

                - Strategy

          Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution

  1. Alignment Goals = เป้าหมายชัดเจน
  2. Business Acuman/Skills = ความฉลาดทันคน
  3. Measured Accountabilities = โปร่งใสตรวงสอบได้
  4. Linked Rewards = จัดสรรรางวัล
  5. Ownership Thinking = จิตสำนึกในความเป็นเจ้าของ

          ท้ายที่สุด "ผู้บริหารองค์กรทุกองค์กร  ควรให้ความสำคัญกับ คนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทหน้าที่หรือตำแหน่งใด  เพราะทุกคนเปรียบเสมือน ฟันเฟือง ขององค์กรทั้งสิ้น ถ้าองค์กรขาดคนใดคนหนึ่งไป นั่นคืองานส่วนหนึ่งขององค์กรจะมีผลกระทบไม่มากก็น้อย เฉกเช่นเดียวกับ "การต่อจิ๊กซอร์" ถ้าจิ๊กซอร์ขาดไปเพียงตัวเดียว ภาพก็จะออกมาไม่สมบรูณ์ในที่สุด   ดังนั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับบุคลากรในทุกระดับขององค์กรและใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม ในการบริหารบุคคล          จงให้ความสำคัญกับ "คน" ในทุกระดับ แล้วจะได้ชื่อว่าเป็นนักบริหาร "ทุนมนุษย์" Human Capital ที่แท้จริง

 

                                                      - ขอบคุณครับ -

                                                 สิทธิชัย   ธรรมเสน่ห์

               

 

นายปลื้มใจ สินอากร

วันที่ 15  กันยายน  2550

 

Workforce Alignment in an Organization 

บรรยายโดย  


อาจารย์  พจนารถ ชีบังเกิด,
President, Human Capital club 

นำเสนอ  นายปลื้มใจ  สินอากร 

The focused Organization

 

            องค์กรจะต้องมีเป้าหมายในการทำงาน

  
องค์กรที่เกิดขึ้นมาถ้าเป็นอะไรก็ต้องกระจายกับกับสังคม Enterprise Governance 
 

¯

¯
ต้องทำให้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย
Corporate Governance Conformance Business Governance
is Performance
  ¯ ¯
ต้องมีการตรวจสอบและมีผู้รับผิดชอบ Accountability  Assurance  Value Creation
Resource Utilization
  การแต่งตั้ง  Board of Direction
ต้องมีการ
Selection Committee
Add Value สู่สังคม 
  
Alignment

Shared Purpose

 
Individual
Vision
 
«Mission  Organization Vision 
  Goals

«

 
  Roles

«

 
  Practices«  
  

Direction of Organization

 

            -  Vision

 

            -  Mission

 

            -  Value

 

            -  Goals

 

            -  Objectives

 

            -  Brand

 

How to Set Direction

 

            -  Mission

 

                        What is our core purpose?

 

                        Who is our customer?

 

                        What value do we bring them?

 

            -  Vision

 

                        What do we dream of becoming?

 

            -  Value

 

                        What Principles and Behaviors?

 

                        Do We cherish and up hold?

 Strategy in Organization Corporate Strategy 
             
SBU/Division
Strategy
     
             
Departmental
Strategy
           
   

Work force Alignment Model for Successful Strategy Execution

 

1.      Aligned goals

 

2.      Business Acumen/Skills

 

3.      Measured Accountabilities

 

4.      Linked Reward

 

5.      Ownership Thinking

  

สรุปการบรรยายครั้งที่ 13 (เสาร์ที่ 15 กันยายน 2550) โดย อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ในหัวข้อ WORKFORCE ALIGNMENT IN ORGANIZATION

อาจารย์ได้นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการแบ่งกลุ่ม แจก jigsaw ให้ช่วยกันต่อพร้อมกับตั้งคำถามและอธิบายถึงการทำงานในองค์กรว่าจะประสบผลสำเร็จได้คนในองค์กรจะต้องมีเป้าหมายที่มีทิศทางเดียวกันกับองค์กร คือต้อง เป็น The Aligned Organization ไม่ใช่ The Unfocused Organization และองค์กรจะเป็น The Aligned Organization ที่จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ อีกอันได้แก่

  1. องค์กรมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ทีสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  2. องค์กรมีค่านิยมที่เน้นผลการปฏิบัติงาน การเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และการบริการลูกค้า
  3. องค์กรมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง 
  4. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำมีวิสัยทัศน์และสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี
  5. พนักงานมีทักษะสูง มีแรงจูงใจที่จะทำงาน สามารถทำงานเป็นทีมได้และไม่ขัดแย้ง

หลักการของ ENTERPRIGE GOVERNANCE ประกอบด้วย

1. CONFORMANCE PROCESS 1.1   ผู้นำต้องตอบรับการเปลี่ยนแปลง 1.2   ผู้นำต้องมีแนวทางของตนเอง 1.3   ผู้นำต้องมีคณะกรรมการ 1.4   ระบบการจัดการต้องไม่เสี่ยง 1.5   มีการตรวจสอบการปฏิบัติงาน

2. PERFORMANCE PROCESS 2.1   มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2.2   มีการวางแผนด้านการตลาด 2.3   การจัดการเชิงกลยุทธ์ต้องไม่เสี่ยง 2.4  ระบบการวางแผนกลยุทธ์ ต้องกล้าได้กล้าเสีย 2.5   ต้องเป็นกระบวนการที่ต้องทำติดต่อกัน

Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution

  1. Alignment Goals = เป้าหมายชัดเจน
  2. Business Acumen/Skills = ความฉลาด
  3. Measured Accountabilities = โปร่งใสตรวงสอบได้
  4. Linked Rewards = จัดสรรรางวัล
  5. Ownership Thinking = จิตสำนึกในความเป็นเจ้าของ

    ขอบคุณครับ

จากการบรรยายและการสอนของอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ในหัวข้อ Workforce Alignment In an Organization  เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550  ที่ผ่านมา            ท่านอาจารย์ได้ใช้วิธีการสอนโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อต่อจิกซอร์เพื่อเป็นการนำเข้าสู่การเรียนการสอนในหัวข้อเรื่อง Workforce Alignment In an Organization  ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ทำให้นักศึกษาสามารถมองเห็นวิธีการและแนวคิดได้อย่างเป็นรูปธรรม  อีกทั้งยังสามารถเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์บรรยายได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้             1. ในองค์กรทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน  เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สิ่งสำคัญองค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์และทิศทางขององค์กรที่ชัดเจน  เพื่อให้บุคลากรในองค์กรนั้นทำงานได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน           2.  การทำงานเป็นทีมจำเป็นต้องอาศัยภาวะผู้นำเพื่อนำพาองค์กรบรรลุเป้าหมาย  การทำงานเป็นทีมนั้นผู้ร่วมงานทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำ  รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  และให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  การทำงานก็จะสามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ซึ่งลักษณะของผู้นำที่ดีควรมีความสามารถในการบังคับบัญชา  มีความสามารถกระตุ้นให้ลูกน้องเกิดแรงจูงใจในการทำงาน  สามารถสร้างเอกภาพในการทำงานเป็นทีมได้  มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล           3. การทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องกำหนดกรอบและระยะเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีทิศทางเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์           กล่าวโดยสรุปแล้ว  workforce alignment in an organization เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในองค์กรจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้  ซึ่งองค์ประกอบของ workforce alignment in an organization มีดังนี้ 1. Aligned Goal   คือ  การมีการกำหนดเป้าหมาย/แนวทางที่ชัดเจน 2. Business Acumen/skillsหรือ Competency หรือ KUSA (K=Knowledge, U=Understanding, S=Skills and A=Attitude)   คือ  มีความรู้ความเข้าใจ  มีทักษะ/ความเฉียบคมทางธุรกิจ 3. Measured Accountability  คือ  มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ 4. Linked Rewards   คือ  มีการให้รางวัลที่เหมาะสม

5. Ownership Thinking   คือ การให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

ขอบคุณครับสรณิต  พุ่มพฤกษ์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท