ความรู้และชีวิต


“ความรู้” ที่บุคคลนั้นมีสามารถนำมาใช้ได้จริง... ไม่ได้ตั้งไว้เป็นเพียงตัว “ความรู้”... นักวิจัยเก่งกาจแค่ไหนหาก “ตนเอง” ไม่สามารถนำมาใช้ได้เองอย่างถ่องแท้... ความเป็นวิชาการนั้นก็ย่อมจะก่อเกิดประโยชน์ที่แท้จริงได้น้อย

ช่วงนี้ดิฉัน ดิฉันอยู่ร่วมในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิ่ง ปี 2550 หรือ TCU : National e-Learning Conference 2007 ซึ่งจัดขึ้นสอง ณ  ศูนย์ประชุมนานาชาติ อิมแพค เมืองทอง ... สิ่งหนึ่งที่รู้สึกชื่นชมงานครั้งนี้ คือ ความตั้งใจของผู้จัด ที่จัดและดำเนินการ รวมทั้งการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการจัดสัมมนาที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน และเป็นที่น่าเสียดายว่า ... ผู้ที่เข้าร่วม conference นั้นบางตา (ในความรู้สึกของตนเอง) และหายไปในช่วงบ่ายค่อนข้างมาก 

สิ่งที่ได้และอยากเล่า...

คือ การยืนยันในความเชื่อส่วนของตนที่ไปสอดคล้องกับแนวคิดทางวิชาการ คือ การเรียนรู้ที่ก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคคลนั้นคือ การเรียนรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน...  

แม้ว่าบางครั้งการเรียนรู้จะมาจากการผ่านเครื่องมือ (Tools) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำรา คอมพิวเตอร์ สื่อบุคคล แต่นั่นเราจะได้เพียงแค่ ตัวความรู้ที่เป็นข้อมูล (Knowledge) แต่สิ่งที่จะเกิดหรือเกิดน้อย ที่เรารู้กันในนามชื่อว่า ปัญญา (Wisdom) นั้น เมื่อไรก็ตามที่คนเราได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้ว..เมื่อนั้นกระบวนการทางปัญญาของบุคคลนั้นก็จะเกิดขึ้น

 

และสิ่งสำคัญการเรียนรู้ของบุคคลนั้นไม่ต้องการแยกส่วน หากแต่ควรจะเป็นการเรียนรู้เชื่อมโยงและสอดคล้องตามความเป็นจริงและสามารถนำมาใช้ได้จริง หากแต่เมื่อย้อนกลับมาดูในบ้านเรา สังคมเรา การเรียนรู้เรายังคงเป็นแบบแยกส่วน วิชาการ กับ ชีวิต... ขาดการเชื่อมโยงกัน

 และนี่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อเส้นทาง... การเรียนรู้ของบุคคลที่ดิฉันมองว่า สักวันหนึ่งเราจะก้าวไปถึงแก่นแห่งปรัชญาการเรียนรู้ ที่ก่อเกิดการเรียนรู้จริงๆ...และทุกอย่างหลอมรวมเป็นหนึ่ง ไม่แยกส่วนหากแต่เป็นทั้ง ตัวความรู้และชีวิต หลอมรวมเป็นหนึ่ง...  เฉกเช่น ดอกเตอร์ทางเกษตรก็สามารถทำนาได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ หรือนักวิชาการทางการสาธารณสุขเป็นผู้มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ หรือผู้ทำงานทางด้านสุขภาพจิตเป็นผู้ที่เข้าใจในชีวิตและมีจิตใจที่เบิกบานผ่องใส ต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นสิ่งสะท้อนออกมาให้เห็นได้ว่า ความรู้ ที่บุคคลนั้นมีสามารถนำมาใช้ได้จริง... ไม่ได้ตั้งไว้เป็นเพียงตัว ความรู้... นักวิจัยเก่งกาจแค่ไหนหาก ตนเอง ไม่สามารถนำมาใช้ได้เองอย่างถ่องแท้... ความเป็นวิชาการนั้นก็ย่อมจะก่อเกิดประโยชน์ที่แท้จริงได้น้อย  

หมายเลขบันทึก: 118485เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดียามเช้าครับ
  • ชอบบันทึกนี้มากครับ 
  • โดยทั่วไป เรายังเห็นแยกส่วนกันอยู่นะครับ แต่ก็มีบ้างนะครับที่ไม่ได้แยกจากกัน
  •  ตัวความรู้และชีวิต หลอมรวมเป็นหนึ่ง...เยี่ยมมากเลยครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
สวัสดีครับ
PKa-Poom

มาขออนุญาตินำข้อความบางตอนไปรวมครับ ขอบคุณมากครับ  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/117622#

 และนี่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อเส้นทาง... การเรียนรู้ของบุคคลที่ดิฉันมองว่า สักวันหนึ่งเราจะก้าวไปถึงแก่นแห่งปรัชญาการเรียนรู้ ที่ก่อเกิดการเรียนรู้จริงๆ...และทุกอย่างหลอมรวมเป็นหนึ่ง ไม่แยกส่วนหากแต่เป็นทั้ง ตัวความรู้และชีวิต หลอมรวมเป็นหนึ่ง...  .....สิ่งสะท้อนออกมาให้เห็นได้ว่า ความรู้ ที่บุคคลนั้นมีสามารถนำมาใช้ได้จริง... ไม่ได้ตั้งไว้เป็นเพียงตัว ความรู้... นักวิจัยเก่งกาจแค่ไหนหาก ตนเอง ไม่สามารถนำมาใช้ได้เองอย่างถ่องแท้... ความเป็นวิชาการนั้นก็ย่อมจะก่อเกิดประโยชน์ที่แท้จริงได้น้อย  

ผมเห็นด้วยกับความคิดของอาจารย์ (ผมขออนุญาตเรียกอาจารย์ก็แล้วกันครับ เรียนมาเยอะจัง )  ผมมีเครื่องมือชุดหนึ่ง เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ให้ นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

อาจารย์เข้าไปอ่านที่  http://gotoknow.org/blog/expert 

หากอาจารย์ประสงค์ที่จะถ่ายทอดความรู้จริงๆ  เพื่อนำไปใช้เกิดประโยชน์โดยส่วนรวม  เรื่องทุนไม่น่าจะมีปัญหาครับ  เครื่องมือที่ผมได้ทำมา เพื่อการนี้โดยเฉพาะครับ   การนำความรู้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด....  

เรื่องเกี่ยวกับทุน  เราค่อยมาปรึกษากันครับ   ทำอย่างไรให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้คงอยู่แก่อนุชนรุ่นหลัง....

ขอบคุณนะคะ คุณMR.BHUDIT EKATHAT

แวะเข้าไปดู...ที่ลิงค์แล้วค่ะ...

(^______^)

กะปุ๋ม

สวัสดีค่ะอาจารย์

P

เห็นด้วยกับอาจารย์มากค่ะที่บอกว่า.....บางครั้งการเรียนรู้จะมาจากการผ่านเครื่องมือ (Tools) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำรา คอมพิวเตอร์ สื่อบุคคล

แต่นั่นเราจะได้เพียงแค่ ตัวความรู้ที่เป็นข้อมูล (Knowledge) แต่สิ่งที่จะเกิดหรือเกิดน้อย ที่เรารู้กันในนามชื่อว่า ปัญญา (Wisdom) นั้น เมื่อไรก็ตามที่คนเราได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้ว..เมื่อนั้นกระบวนการทางปัญญาของบุคคลนั้นก็จะเกิดขึ้น

อ่านแล้วนึกถึง  BILL GATES  แห่ง  MICROSOFT เคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาเคยคิดว่า การใช้คอมพิวเตอร์คือทุกสิ่งทุกอย่างจะแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาสังคม

จนกระทั่งเขาไปเที่ยวประเทศเอธิโอเปีย จึงรู้ว่าตนเองเข้าใจผิด โลกมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่เข้าท่ากว่าอีกหลายวิธี และมีประสิทธิภาพมากกว่า

สมัยไม่นานมานี้  รัฐบาลเรา  ให้ทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ไว้สอนเด็ก แต่ปรากฏว่า   หลายโรงเรียนไม่มีไฟฟ้าใช้หรือไฟฟ้าดับบ่อยมาก หลายโรงเรียนใช้ไม่เป็น

และถึงใช้เป็นบ้างก็ไม่รู้จะสอนเด็กอย่างไรเพราะไม่มีคู่มือและเนื้อหาของการสอน

แถมบางที เมื่อเสียแล้วก็ไม่รู้จะซ่อมอย่างไร ปัจจุบันคงเป็นเครื่องเล่นเกมส์ของครูและเด็กเป็นส่วนใหญ่นะคะ

สวัสดีครับพี่กระปุ๋ม ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆครับ ผมคิดถึงพี่จัง

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทความนี้ครับ
  • แต่บางครั้งมีคนแย้งเหมือนกันว่า ในโลกปัจจุบันที่ขาดการเชื่อมต่อระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็คือ "เทคโนโลยี" นี่แหละ เช่น
  • โทรศัพท์ ก่อให้เกิดความห่างเหิน การสัมผัส
  • Computer ทำให้ห่างการจากพูดคุย
  • ฯลฯ
  • แต่สิ่งที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีเหล่านี้ กลับเป็นการพยายามเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว
  • อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหา หรือส่งเสริมการเรียนรู้กับชีวิต คงต้องอาศัยการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งต้องไม่มุ่งเพียงแต่ให้คนเก่ง แต่เพียงอย่างเดียวโดยลืมที่จะสอนการเรียนรู้ชีวิต การเรียนรู้สังคม จนขาดทักษะการใช้ชีวิต และบูรณาการกับการดำเนินชีวิต

ด้วยรัก

สวัสดีครับพี่

มาทักทายและเก็บเกี่ยวความรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท