บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้


วัฒนธรรมของมลายู

การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้

               วันนี้จะพามารู้จักการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ครับ  ถึงแม้เหตุการณ์ทางสามจังหวัดชายแดนใต้ยังไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร ผู้เขียนก็ขอส่งกำลังใจไปให้พี่น้องทางใต้นะครับ ตลอดจนข้าราชการ ตำรวจและทหารที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ จะขอเป็นกำใจให้นะครับ

 

              ผู้เขียนเคยได้ไปเยือนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2533 -2538 และล่าสุดก็ปี2549 นี้เองครับ ภาคใต้เป็นภาคหนึ่งที่ผู้เขียนประทับใจ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากร สถานที่ท่องเที่ยว ในหลายจังหวัดมีทั้งภูเขาและทะเล  โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุงและภูเก็ต ฯลฯ ที่สำคัญอาหารทางใต้อร่อยมากๆครับภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกภาพบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง ซอ 

 

เพลงพื้นเมืองภาคใต้ เช่น เพลงร้องเรือ(เพลงกล่อมเด็ก) เพลงบอก เพลงกำพรัด(หรือคำพลัด)
           การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ประเภท คือ
. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด
. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่นโนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ซัมเป็ง ซีละ ระบำทักษิณลีลาโยเก็ตฮัส ระบำตารีบุหงารำไป ระบำตารีกีปัส ระบำกปัสปายง ระบำตารีบุรง ระบำโยเก็ตทักษิณ ระบำโยเก็ตรามัย ระบำนารีศรีนคร ระบำทักษิณาพัตราภรณ์  ระบำร่อนแร่ ระบำร่อนทอง ระบำกินนรร่อนรำ  ระบำจินตปาตี ระบำรีดนมแพะ ระบำสานจูด ระบำนกน้ำทะเลน้อย ระบำกรีดยาง ระบำปั้นหม้อ ระบำปาเต๊ะระบำสทิงกุมภนารี ระบำเฟื่องฟ้า ระบำอสันโยคะ ระบำสตูลเมืองขวัญ ระบำสะไบแพร ระบำคุป๊ะ ระบำนกเขา ระบำชนไก่ ระบำนกน้ำคูขุด ระบำตารีอีนา ฯลฯ มีอีกหลายชุดผู้เขียนต้องขออภัยไว้ด้วย ที่ไม่สามารถนำมายกตัวอย่างได้ทุกชุดการแสดง 

 

       ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง  วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช และที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ช่วยกันรังสรรค์การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ให้อยู่คู่กับการแสดงนาฏศิลป์ไทยต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 115901เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดียามดึก

แวะมาชม สมัยเรียนเคยเข้าชมรมของคนใต้ ด้วยความอยากรุ้อยากเห็น และ ได้เข้าร่วมกิจกรรมออกชนบท สร้างที่พัก ให้โรงเรียนในชนบท

ได้เห็นประเพณีทางภาคใต้ ดูแตกต่างกันไปกับทางภาคเหนือ ไม่ว่าท่วงทำนอง ลักษณะการร่ายรำ การละเล่นต่าง ดูเหมือนจะคล้ายไปทางพวกแขก เสียส่วนใหญ่

อีกอย่างสำเนียงก็แปร่ง แข็ง ไม่ค่อยหวานเท่าไร ผิวก็คล้ำ ๆ ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย แต่เดี๋ยวนี้ผู้หญิงใต้ผิวขาวขึ้นมาก

เป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยลืม และ หากมีโอกาสจะลงไปทางใต้อีกครั้ง เพื่อรำลึกถึงวันเก่าเก่า

อ้อ คนใต้ก็มีน้ำใจเหมือนกัน แต่ค่อนข้างไปทางนักเลงนิดนิด ห้าวดี

สุข สงบ เย็น

เดียวดายกลางสายฝน

  • ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้งครับ
  • คนใต้และประเพณีวัฒนธรรมก็จะแปลกไปจากภาคเหนือและอีสานเป็นอีกแบบหนึ่งครับ
  • คงเป็นเพราะได้รับวัฒนธรรมบางส่วนจากมาลายู
  • คนใต้จริงใจและรักเพื่อนพ้องมากครับ

อ่า~แค่มาบอกว่าเราอยู่ภาคใต้อ่าน่า อ่ะๆจ.ปัตตานีน่ะคงรู้จักรน่า

แค่นี้แหละ ปายและ~~~~~~~

อยากได้เพลง ระบำจินตปาตีมากเลยค่ะ

ขอๆๆรบกวนช่วยหามาให้หน่อยนะคะ

ขอบคุณไว้ล่วงหน้าค่ะ

มีใครรู้จักปาตงอินาบ้าง

บอกหน่อยนะอยากรู้มันแบบไหน

รบกวนช่วยหามาให้หน่อยนะคะ

อยากได้เพลงระบำชนไก่ของภาคใต้ค่ะ โหลดได้ที่ไหนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท