การจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ


ความล้มเหลวประการหนึ่งของการจัดการศึกษาของไทย คือ การสอนแบบแยกส่วน โดยใช้วิชาเป็นตัวตั้ง

                     ความล้มเหลวประการหนึ่งของการจัดการศึกษาของไทย คือ การสอนแบบแยกส่วน  โดยใช้วิชาเป็นตัวตั้ง   ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงของแต่ละกลุ่มสาระวิชา  และไม่เชื่อมโยงสาระวิชาต่าง ๆ กับการดำรงชีวิตประจำวัน   นอกจากนั้นยังสอนโดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการและกระบวนการคิด   และที่สำคัญการสอนโดยแยกส่วนระหว่างวิชาการต่าง  ๆ กับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม    การสอนดังกล่าวจึงทำให้นักเรียนซึ่งเป็นผลิตผลจากการศึกษาออกมาแบบผิดรูป   ผิดร่าง   เช่น  นักเรียนมีความรู้  เป็นคนเก่งแต่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม   นักเรียนเป็นคนดีแต่ไม่เก่ง  นักเรียนมีความรู้แต่คิดไม่เป็นหรือไม่มีวิธีคิด    นักเรียนไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง   และไม่ภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย   นักเรียนมีความรู้แต่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้     มีความรู้แต่ไม่มีความสุข   เหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็นผลมาจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิชาเป็นตัวตั้ง   ไม่ใช้เด็กเป็นตัวตั้ง      ดังนั้นการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการจึงเป็นทางออกหนึ่งสำหรับปัญหานี้    ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนซึ่งเป็นครูสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งได้เห็นปัญหาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลายแห่งซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้งหลาย   นั่นคือ  นักเรียนคนเดียวกันต้องเรียน  2   หลักสูตร   คือ  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.  2544 (หลักสูตรภาคสามัญ)  กับหลักสูตรอิสลามศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546 (หลักสูตรภาคศาสนา) ซึ่งต่างกับนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนสามัญของรัฐและเอกชนอื่น ๆ  ที่เรียนเพียงหลักสูตรเดียว คือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.  2544 (หลักสูตรภาคสามัญ)  ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนประมาณ 1000 1200 ช.ม./ปี  ในขณะที่นักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามต้องใช้เวลาเรียนประมาณ 1600 1800 ช.ม./ปี   ซึงทำให้นักเรียนเหล่านี้ต้องรับภาระในการเรียนมากกว่านักเรียนอื่น ๆ  ปัญหาประการต่อมา  คือ  นักเรียนต้องแบ่งอารมณ์ออกเป็น  2  อารมณ์    คือ   ภาคเช้าเมื่อเรียนภาคศาสนานักเรียนต้องทำตัวให้สุขุม   สงบเสงี่ยม   เคร่งครัดในศาสนา    แต่เมื่อภาคบ่ายซึ่งนักเรียนต้องเรียนภาคสามัญนักเรียนมีบุคลิคภาพหรืออารมณ์ที่สนุกสนาน   กรี๊ด  กร๊าด   เฮฮา  และเมื่อกลับบ้านนักเรียนก็ไม่สามารถนำทั้งความรู้ทั้งภาคศาสนาและสามัญไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองได้   ทำให้เกิดความสับสนในตัวเอง   จึงไม่รู้ว่าจะจัดการตัวเองอย่างไรดี   จึงปล่อยให้เป็นไปตามที่อารมณ์  หรือความคิดที่ขาดความรับผิดชอบมาครอบงำ   แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นโรงเรียนประเภทนี้กลับได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ปกครองมุสลิมเป็นจำนวนมากซึ่งเห็นได้จากการขยายตัวของโรงเรียนประเภทนี้มีมากขึ้น    ดังนั้นผู้เขียนจึงพยายามหาทางออกให้กับปัญหานี้ด้วยการเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมาเพราะเห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการคือทางออกหนึ่งของปัญหานี้   แต่เนื่องจากผู้เขียนเองยังมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่น้อยมาก   จึงตัดสินใจเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อ1.      เพื่อศึกษา   ค้นคว้า  เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ2.      เพื่อให้ผู้รู้ที่ได้พบเห็นบทความชิ้นนี้แล้วได้แนะนำ  สอนสั่ง  เพิ่มเติมให้แก่ผู้เขียน3.      เพื่อให้บุคคลที่ร่วมชะตากรรมเดียวกันทั้งหลายได้ร่วมกันศึกษา เรียนรู้ร่วมกัน   แชร์ความรู้ระหว่างกันและกัน 

การบูรณาการ               

               บูรณาการ (Intergration) ความหมายตามคำศัพท์หมายถึง  การทำให้เต็มหรือสมบูรณ์  ซึ่งพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายแบบขยายความว่า การทำให้หน่วยย่อยย่อย ๆ  ทั้งหลายที่สัมพันธ์อิงอาศัยซึ่งกันและกัน  เข้ามาร่วมทำหน้าที่ประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัว                นอกจากคำว่าบูรณาการแล้วยังมีคำที่มีความหมายไกล้เคียงกัน คือ คำว่า องค์รวม (Wholistic)  และ สมดุลย์ (balance)                                     

 การจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ 

              สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนแบบบูรณาการว่า  เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้  ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป  เพื่อแก้ปัญหา  หรือแสวงหาความรู้  ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด  ประสบการณ์  ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน  ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับสภาพชีวิตจริง   การเรียนการสอนแบบบูรณาการ  มีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้ในการพิจารณา 

                         ทิศนา    แขมมณี  กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการบูรณาการ  หมายถึง  การนำเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกัน  และจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม  และสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  

                         พระเทพเวที   ได้กล่าวถึงความหมายของการบูรณาการว่า สำหรับความหมายของการบูรณาการนั้น   อาจพิจารณาได้เป็นสองนัย  คือ ความหมายโดยทั่วไปของคำว่าบูรณาการประการหนึ่ง   และความหมายเฉพาะในทางศึกษาศาสตร์  ของคำว่าบูรณาการ  อีกประการหนึ่ง  โดยนัยแรกบูรณาการหมายถึง  การทำให้สมบูรณ์  ซึ่งอาจจะขยายความเพิ่มเติมได้อีกว่าหมายถึงการทำให้หน่วยย่อย ๆ  ที่สัมพันธ์อาศัยกันอยู่เข้ามาร่วมทำหน้าที่ประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว  ที่มีความครบถ้วนสมบูรณในตัวเอง   ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่ง  ซึ่งกล่าวเฉพาะเจาะจงลงไปถึงความรู้ในสาขาวิชาทางศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์  บูรณาการ  หมายถึง การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน

                      ชูเมกเกอร์  ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า การศึกษาแบบบูรณาการว่า การศึกษาที่ตัดผ่านเส้นแบ่งแยกวิชา  นำเอาส่วนต่าง ๆ  ของหลักสูตรมารวมกันให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างมีความหมาย  เพื่อให้เกิดจุดรวมเป็นหัวข้อที่ต้องการศึกษากว้าง ๆ  การศึกษาแบบบูรณาการสะท้อนให้เห็นโลกที่เป็นจริง  ซึ่งตองพึ่งพาอาศัยกันเกี่ยวพันกับผู้เรียนทั้งทางกาย  ความคิด  ความรู้สึก  ผัสสะ  และการหยั่งรู้ ทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนที่รวมความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้นกว่าการเรียนจากส่วนย่อย ๆ ที่แยกจากกัน

                    ซูซาน  โควาลิก  และคาเรน  ออลเซนา  กล่าวว่า  การศึกษาแบบบูรณาการ  มีพื้นฐานการปฏิบัติเน้นที่ผู้เรียนและธรรมชาติของความจริงที่เป็นอิสระ  แทนที่จะแบ่งโลกออกเป็น วิชา ซึ่งเป็นสิ่งเทียม  และใช้วิธีการเรียนแบบยึดตำราและให้ทำงานที่โต๊ะ  การศึกษาแบบบูรณาการจะช่วยให้นักเรียนซึมซับเข้าไปในสิ่งแวดล้อมทำให้เห็นความสลับซับซ้อนของชีวิต  วิธีการเช่นนี้ทำให้การเรียนรู้มีลักษณะเป็นองค์รวมช่วยเพิ่มพูนความสามารถที่จะสร้าง  และจดจำความเชื่อมต่อต่าง  ๆ และสามารถแก้ปัญหาได้   

                    ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า   การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  หมายถึง   การจัดการเรียนรู้โดยการนำเนื้อหาสาระหรือความรู้  ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไปที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกันโดยที่เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป    เพื่อแก้ปัญหา  หรือแสวงหาความรู้  ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด  ประสบการณ์  ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน  ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับสภาพชีวิตจริงและผู้เรียนสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้    

 แนวคิดและความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ

                   แนวคิดจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของ ดร.ชัยอนันต์   สมุทวาณิช  ได้ให้แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับการสอนแบบบูรณาการ  โดยได้ให้หลักการสำคัญและเหตุผลไว้  ดังนี้

                        1.       การประยุกต์ใช้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญกว่า  เก็บงำ  และการสะสมความรู้

                       2.       การทำงานของสมองกับกระบวนการเรียนรู้มีลักษณะผสมผสานไม่แยกส่วน  การจัดการเรียนรู้จึงไม่ควรจัดแบบแยกส่วน

                       3.       ความรู้ไม่คงที่ตายตัวไม่ใช่สัจธรรมแต่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ  ความรู้เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้น

                      4.       ปัญหาของมนุษย์เราจะแก้ไขโดยการแยกส่วนความรู้ไม่ได้

   5.       กระแสการปฏิรูปยุคนี้เป็นเรื่องการเรียนรู้ที่เป็นองค์รวม

                     สาเหตุที่ต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน สุวิทย์   มูลคำ , อรทัย    มูลคำ ได้สรุปสาเหตุที่ต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน   ดังนี้

                      1.       วิถีชีวิตจริงของคนเรามีเรื่องราวต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ 

                       2.       ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริงโดยเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างไกลตัวออกไป            

                     3.       การขยายตัวของความรู้ในปัจจุบัน  ขยายไปอย่างรวดเร็วมากมีเรื่องใหม่ ๆ  เกิดขึ้นมากมาย  จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกสาระที่สำคัญและจำเป็นให้ผู้เรียนในเวลาที่มีเท่าเดิม

                    4.       ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป  และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้

                    5.       เนื้อหาวิชาที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกัน   ควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย  ลดความซ้ำซ้อนเนื้อหาเชิงวิชา ลดเวลา  แบ่งเบาภาระของครูผู้สอน

                   6.       เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้  ความคิด  ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย 

ระดับของการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ 

                 ถ้าพิจารณาเนื้อหาวิชาที่บูรณาการ แบ่งได้เป็นบูรณาการเป็นวิชา กับบูรณาการระหว่างวิชา  ถ้าพิจารณาสำหรับการบูรณาการระหว่างวิชานั้นแบ่งได้  4 ลักษณะ  คือ  การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก  แบบคู่ขนาน  แบบรายวิชา  และแบบข้ามวิชา    (สุวิทย์   มูลคำ , อรทัย    มูลคำ. 2544 : 156 – 157)กล่าวว่า เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (Intergrated   Curriculum) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ  มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป  เกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของหลักสูตรโดยรวม  เช่นเดียวกัน   การจัดการเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราก็เรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Intergrated  Instruction) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู  อย่างไรก็ดีไม่มีหลักประกันว่า   หลักสูตรที่บูรณาการแล้วจะถูกนำไปจัดเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยเสมอไป  ปรากฏอยู่เสมอว่าหลักสูตรแบบบูรณาการก็จริงแต่การจัดการเรียนการสอนยังคงเป็นแบบรายวิชาอยู่เช่นเดิม  ด้วยเหตุนี้เราจึงอาจจะจำแนกผลแห่งความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยใช้การบูรณาการเป็นตัวแปรได้เป็น  4  กรณี  ดังตารางต่อไปนี้  

หลักสูตร
การเรียนการสอน
ผล
บูรณาการ
บูรณาการ
ดีที่สุด
ไม่บูรณาการ
บูรณาการ
ดี
บูรณาการ
ไม่บูรณาการ
พอใช้
ไม่บูรณาการ
ไม่บูรณาการ
ต้องปรับปรุง

                      จากตารางที่นำเสนอจะเห็นว่า  ในกรณีที่มีการบูรณาการทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอน    ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสิ่งที่พึงปราถนาที่สุด  ในขณะที่ถ้าการบูรณาการไม่เกิดขึ้นในเรื่องใดเลย   ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่ย่อมเป็นที่พึงปราถนาและต้องมีการปรับปรุงสำหรับกรณีที่การบูรณาการเกิดขึ้นเพียงเรื่องเดียว   โดยหลักการแล้วเราย่อมพอใจให้การบูรณาการเกิดขึ้นกับการเรียนการสอนมากกว่าหลักสูตร  เพราะอย่างน้อยที่สุดการเรียนการสอนก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้สอนและผู้เรียนโดยตรงมากกว่าหลักสูตร      

ประเภทของการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการ

                แอนน์  โรส  และคาเรน  ออลเซน  ได้อธิบายรูปแบบการดำเนินงาน  5  รูปแบบ  สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย   ซึ่งรูปแบบหนึ่งจะเป็นพื้นฐานของอีกรูปแบบหนึ่ง  ดังนี้            

                 รูปแบบที่ 1  การบูรณาการแบบวิชาเดียว (Single  subject  intergration) ซึ่งนำเสนอเนื้อหาของวิชา ๆ เดียวตามที่ปรากฏจริงในชีวิตจริง   และต้องการให้นักเรียนได้ใช้ทักษะในบริบทที่มีความหมาย               

                รูปแบบที่ 2  รูปแบบการประสานงาน (Co – ordinated  model) โดยครู  2  คนหรือมากกว่า  สอนวิชาเดียวกันแก่นักเรียนคนเดียวกันแบบต่างคนต่างสอน  แต่ทำงานร่วมมือกันเพื่อให้ได้ทักษะและเนื้อหาที่พึงปรารถนา                                   

               รูปแบบที่ 3  รูปแบบหลักสูตรแกนแบบบูรณาการ (Intergrated  core  model) ซึ่งครูคนหนึ่งจะอยู่กับเด็กเป็นระยะเวลาสองหรือสามคาบ  ตัวอย่าง  ครูคนหนึ่งสอนวิชาภาษาร่วมไปกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษา  ในฐานะที่เป็นวิชาแกนโดยมีกิจกรรมสัมพันธ์กับวิชาแกนนี้ตลอดทั้งวัน               

                รูปแบบที่4   รูปแบบหลักสูตรแกนคู่แบบบูรณาการ (Intergrated  doubble core  model)  ครู  2  คนสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน  โดยมีวิชาแกน  2  วิชา  ตัวอย่าง  ครูคนเดียวอาจจะสอนทักษะคณิตศาสตร์  ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์  อีกคนหนึ่งสอนทักษะภาษาในวิชาสังคมศึกษา             

                รูปแบบที่5   รูปแบบหลักสูตรแกนแบบสมบูรณ์ในตัว (Self – contain  edcore  model ) ตามรูปแบบนี้ครูคนหนึ่ง   ซึ่งมีคุณวุฒิสอนได้หลายวิชา  จะอยู่กับเด็กกลุ่มหนึ่งทั้งวัน  โดยทำการสอนทักษะและเนื้อหาทุกอย่าง  ภายในหัวเรื่องที่มีความหมายหนึ่งหรือสองหัวเรื่อง               

                     สำนักงานโครงการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการได้จำแนกรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ              

                    1. การบูรณาการภายในวิชา  เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันเข้าด้วยกัน  ซึ่งโดยปกติครูผู้สอนในวิชาต่าง ๆ  จะปฏิบัติอยู่แล้ว               

                    2.   การบูรณาการระหว่างวิชา  จะมี  4  รูปแบบ  คือ              

                            2.1   การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก  (Infusion) เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชาอื่น ๆ  ในการสอนของตน

                          2.2         การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  (Parallel  Instruction) เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่ <span style="font-siz

หมายเลขบันทึก: 115379เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
 คุณครูครับ(อยากเรียกครูมากกว่าอาจารย์)ในการศึกษาแบบบูรณาการมันจะทำให้การรู้เฉพาะทางละลายไปหรือเปล่าครับ แล้วในการศึกษาแบบบรูณาการจะต้องทำอย่างเข้มงวดมากในช่วงเวลาที่ผู้ศึกษายังเด็กใช่มั๊ยครับถึงจะให้ผลได้ดีที่สุด

ขอบคุณมากครับที่ให้เกียรติเรียกว่าครูซึ่งเป็นคำที่ผมพยามเป็น   คำว่าครูเรียกง่ายมากครับ   แต่การเป็นครูที่แท้จริงเป็นยากมากครับ  ผมมีอาชีพเป็นครู  แต่ความเป็นครูมืออาชีพมีน้อยมากครับ  ผมก็แค่คนที่พยายามจะเป็นครูมืออาชีพนะครับ

       สำหรับคำถาม 2 ข้อ ขอตอบดังนี้นะครับ

        1. ผมคิดว่าการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่ทำให้ความรู้เฉพาะทางละลายไปหรอกครับ   แต่การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (ที่แท้จริง) จะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ  ให้เป็นองค์เดียวกัน   ไม่ใช่แยกส่วนออกจากกัน  และจะทำให้ผู้เรียนรู้จักชีวิตมากขึ้น   สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและสังคมได้ดีกว่า

        2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะต้องเข้มงวดในขั้นตอนต่าง ๆ  ครับ   และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เต็มรูปสามารถทำได้ในวัยเด็ก (ระดับอนุบาล ประถมศึกษา) ได้ดีกว่าผู้ใหญ่ครับ  เพราะว่าธรรมชาติวิชาของเด็กใหญ่ (โดยเฉพาะมัธยมปลาย) เริ่มที่จะมีความเป็นเฉพาะทางมากขึ้น  จึงทำได้ยากกว่าระดับประถมศึกษาครับ

                            ขอบคุณมากครับ

 ครูครับผมขออนุญาติสำเนาบทความครูไว้อ่านได้มั๊ยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท