เส้นทาง….ข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์


ารประชาสัมพันธ์ และภารกิจของนักประชาสัมพันธ์ คือการเผยแพร่ข่าวสารให้สาธารณชนได้รับทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เอกสาร วารสาร ข่าวแจก หรือทางเว็บไซต์ และอีกหลายรูปแบบที่จะสามารถเป็นสื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย                เส้นทาง...ข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์  กว่าจะเป็นข่าวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่การที่จะได้ข่าวมานั้นยากกว่า  สิ่งที่นักประชาสัมพันธ์ทำได้คือการเข้าแทรกอยู่ทุกงาน เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว แต่ใช่ว่านักประชาสัมพันธ์จะเข้าไปได้ทุกหนทุกแห่ง  เราจึงเกิดเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์อยู่ตามสถานศึกษา คือครูที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และกลุ่มต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ธุรการ                  การประชาสัมพันธ์ มีทั้งการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เชิงรับ  เชิงรุกเป็นการทำข่าวรายงานเกิดเหตุการณ์ข้างหน้า   เชิงรับ คือการทำข่าว รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผลเป็นอย่างไร  ทั้งนี้ เชิงรุก เชิงรับ สิ่งที่เหมือนกันคือ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบกิจกรรม นั่นเอง                  สื่อที่นักประชาสัมพันธ์นำมาเป็นเครื่องมือเพื่อการประชาสัมพันธ์มีหลายอย่าง แต่ขอยกตัวอย่างสื่อที่เข้าไปถึงตัวบุคคลได้ง่ายและไม่มีวันหาย นอกจากทำลาย  คือสื่อสิ่งพิมพ์ ในส่วนนี้ขอนำเรื่อง “ข่าวแจก” มาเล่าสู่กันฟัง                งานสิ่งพิมพ์ หรือ ข่าวแจก มีหลากหลายรูปแบบที่สามารถสรรหามาทำได้ ไม่ว่า เป็นข่าวรายวัน ข่าวประจำสัปดาห์  เมื่อก่อนเราจะทำแต่เชิงรับ สาธารณจะรับทราบเมื่องานเกิดขึ้นแล้ว  จึงคิดว่าสิ่งที่เราควรทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก คือการรายงานข่าวก่อนงานเกิดขึ้น จึงได้ทำข่าวโดยชื่อว่า สัปดาห์นี้มีอะไร...ที่ไหน รูปร่างหน้าตาของเอกสารก็คือ เอกสาร ขนาด A๔ จำนวน ๑-๒  แผ่น มีชื่อสำนักงานฯ ฉบับที่...ประจำวันที่.....เดือน....พ.ศ......                  ครั้งแรกที่ทำต้องยอมรับว่าเหนื่อยมาก วิ่งหาแหล่งข้อมูลจากหน้าห้องผู้อำนวยการ หน้าห้องรองผู้อำนวยการ
จากกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งการได้ข้อมูลมาไม่ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมของสถานศึกษา ทำออกมาได้ข่าวแค่ ๑-๒ หน้า
หรือ บางครั้ง ครึ่งหน้า  ดู ๆ แล้ว ถ้าจะไปไม่รอด ทำอย่างไรดี จึงมาคิดวิเคราะห์ว่าเรายังขาดข้อมูลของโรงเรียน
ซึ่งถ้าเราไม่ทำหนังสือราชการแจ้งไปคงไม่ได้มาแน่นอน จึงลงมือดำเนินการ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ มีตอบกลับมาแค่ ๒-๓ โรงเรียน และพอนาน ๆ ๒-๓ โรงเรียนก็หาย นับว่าไม่ประสบความสำเร็จ  เรากลับมาวิเคราะห์อีกข่าวที่แจกไปนั้น ไม่ได้ทำหนังสือราชการ ทำเสร็จเป็นรูปแบบเอกสารข่าวใส่ตามช่องชื่อของโรงเรียนๆ ละ ๑ ชุด(ไม่รู้ว่าจะไปอยู่ส่วนไหนของโรงเรียน) บางโรงเรียนได้ไปก็ติดป้ายประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนไม่ได้รับทราบว่าสื่อของสพท.กทม.๒ ทำได้สักประมาณ ๒-๓ เดือน ประเมินแล้วว่าถ้าเป็นอย่างนี้การประสัมพันธุ์เชิงรุก คงต้องหยุดแน่นอน จึงมาคิดวิเคราะห์และวางแผนว่าทำอย่างไรให้ผู้บริหารโรงเรียนได้เห็น ได้รับทราบและใช้ประโยชน์ในส่วนนี้ โดยไม่ต้องทำหนังสือราชการ(ต้องการให้เกิดความรวดเร็ว) จึงได้คิดว่าจากเอกสารที่ให้โรงเรียน ๑ ชุด ทำเพิ่มอีก ๑ ชุด เพื่อนำเรียน ผอ.โรงเรียนโดยตรงคงจะดี  เริ่มลงมือดำเนินการแรก ๆ  เริ่มเห็นผลโรงเรียนส่งข่าวมาทางโทรสารโดยทำหนังสือราชการมา บางทีข่าวที่ได้เกือบจะช้าหรือช้าไปแล้ว จึงได้คิดว่าทำอย่างไรดีให้รวดเร็วกว่านี้ จึงได้เปิด
E-mail ส่วนตัวขึ้น เพื่อจะได้ประสานกับโรงเรียนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ได้โดยตรงและรวดเร็ว สามารถดำเนินการโดยตลอด ๒๔ ชั่วโมง

สิ่งที่พึงพอใจในการดำเนินการ คือ การได้รับข่าวจากทั้งภายในและภายนอกมากมายจนเราต้องขยายหน้าข่าวจาก ๑-๒ แผ่นเป็น ๖-๗ แผ่นต่อสัปดาห์ นับว่าประสบความสำเร็จในส่วนหนึ่ง และสิ่งที่เป็นผลพลอยได้คือการเรียกร้องของผู้บริหารโรงเรียนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา คือ การขอเพิ่มข่าวประชาสัมพันธ์ในเชิงรับเป็นรายสัปดาห์ด้วย แม้ว่าทีมงานประชาสัมพันธ์จะมีน้อยแค่ ๒ คน เครื่องมือในการทำงานจะไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร แต่เราจะสู้เพื่องานนั้นให้ไปสู่....การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

                                สิ่งที่จะลืมไม่ได้คือการขอขอบคุณกับความมีน้ำใจของผู้บริหารโรงเรียนและเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์ ที่ได้เห็นความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
หมายเลขบันทึก: 111220เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท