คำตอบของหนึ่งบวกหนึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากับสอง


เราจำเป็นที่จะต้องเปิดใจยอมรับคำตอบอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับที่เราเชื่อหรือเราคิดบ้าง เพราะหนึ่งบวกหนึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากับสอง

             หลาย ๆ คนมักจะมีคำตอบที่ตายตัวกับบางคำถามในหลาย ๆ เรื่องของชีวิต ผลลัพธ์ของเหตุการณ์นี้จะต้องเป็นอย่างนี้ คำตอบของสถานการณ์นั้นต้องเป็นอย่างนั้น...

             ซึ่งเป็นการยึดติดกับผลลัพธ์หรือคำตอบเพื่อให้เป็นไปตามที่เราต้องการ หรือให้ตรงกับคำตอบที่เราเชื่อว่าถูกต้องและตรงกับที่ใจเราคิด แต่พอมันไม่เป็นอย่างนั้นเราก็ไม่ยอมรับและรู้สึกไม่พอใจ...

              แต่ในความเป็นจริงมันมีเงื่อนไขและปัจจัยต่าง  ๆ มากมาย ที่เราไม่สามารถควบคุมหรือจำกัดให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น...

              ในเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องเจอกับคำถามหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้ เราจำเป็นที่จะต้องเปิดใจยอมรับคำตอบอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับที่เราเชื่อหรือเราคิดบ้าง...

       ...เพราะคำตอบของหนึ่งบวกหนึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากับสอง...

                   ...หนึ่งบวกหนึ่งยังเท่ากับห้าลบสาม...

                    ...หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับแปดหารสี่...

    ...และในระบบเลขฐานสองหนึ่งบวกหนึ่งยังเท่ากับศูนย์ (ทดหนึ่ง)...

               คำตอบของหลาย ๆ คำถามในชีวิตของเราก็เหมือนกันครับ มันไม่ได้มีคำตอบเพียงแค่คำตอบเดียว การยอมรับคำตอบอื่น ๆ บ้าง มันย่อมทำให้การดำเนินชีวิตของเราง่ายขึ้น และที่สำคัญมันทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้นด้วยครับ....

คำสำคัญ (Tags): #ชีวิต
หมายเลขบันทึก: 109436เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ

คำตอบของหลาย ๆ คำถามในชีวิตของเราก็เหมือนกันครับ มันไม่ได้มีคำตอบเพียงแค่คำตอบเดียว การยอมรับคำตอบอื่น ๆ บ้าง มันย่อมทำให้การดำเนินชีวิตของเราง่ายขึ้น

ค่ะ ดิฉันก็มีประสบการณ์เรื่องนี้อยู่ค่ะ

ไม่มีเหตุการณ์ใดจะเหมือนเหตุการณ์ใด 100%ดังนั้น คำตอบ ก็ต้องแตกต่างกันไป ตามรายละเอียดและสิ่แวดล้อมที่ต่างกันค่ะ

ครับ...คุณ sasinanda P...

ไม่มีคำตอบที่ตายตัวไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม...

ขอบคุณมากครับ...

  • สวัสดีครับ
  • ผมเพิ่งมีเวลาได้มาเยี่ยมเยียน
  • สัปดาห์ที่แล้ว   มีงานเร่งรัดและรัดตัวมาก  จนขยับไม่ได้
  • ทำได้แต่จัดการกับบันทึกตนเองเท่านั้น -
  • ....
  • ทุกปัญหา มีทางออก,  ทุกทางออก ใช่มีปัญหา
  • ทุกคำถาม  ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบเสมอไป
  • หรือทุกคำถามก็ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบเดียวเสมอไปเช่นกัน
  • ....
  • ผมเองก็เชื่อในแนวคิดนี้และยึดปฏิบัติอยู่อย่างเนืองนิจ
  • โดยเฉพาะกับน้องนิสิตแล้ว  คำตอบของเรา อาจจะไม่ใช่คำตอบของเขา ... แต่เราต้องทำหน้าที่ในการตั้งคำถามให้มากเท่าที่จะทำได้  เพื่อให้เขาคิดรอบด้าน
  • และเราต้องไม่ลืมที่จะให้โอกาส ซึ่งหมายถึง "คำตอบ"  ของเขาได้มีเวทีในการคลี่คลายคำถามนั้นด้วยเช่นกัน
  • ....
  • ผมมีประกายความฝันเสมอที่ได้อ่านบันทึกของกัลยาณมิตรอย่างท่าน -

ครับ...คุณแผ่นดิน P....

การทำงานกับน้อง ๆ นิสิต ซึ่งเป็นพลังของคนรุ่นใหม่ที่มีความเชื่อมั่น และจะเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมของเราต่อไป จำเป็นอย่างมากครับที่ต้องเปิดใจให้กว้าง...

เพราะคำตอบของพวกเขาย่อมเต็มไปด้วยพลังของการสร้างสรรค์ นิสิตร้อยคนก็คงมีคำตอบร้อยคำตอบที่แตกต่างกัน...

ถึงงานจะหนักอาจจะเหนื่อยบ้างแต่ขอให้มีความสุขกับการทำงานในทุก ๆ วันครับ...

ขอบคุณมากครับ...

 ซึ่งเป็นการยึดติดกับผลลัพธ์หรือคำตอบเพื่อให้เป็นไปตาม

ที่เราต้องการหรือให้ตรงกับคำตอบที่เราเชื่อว่าถูกต้องและตรง

กับที่ใจเราคิดแต่พอมันไม่เป็นอย่างนั้นเราก็ไม่ยอมรับและรู้สึก

ไม่พอใจ...

 ครับ คนส่วนใหญ่ที่คิดอย่างนั้น ว่าทุกอย่างมีกฏตามตัว คำตอบของปัญหาใด ๆ ต้องเป็นอย่างนั้น เสมอ การคิดยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ อย่างนี้เป็นเพราะเราเดินตาม ชาติตะวันตกครับ ......เป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก.......

ใครเคยศึกษา ปรัชญาทางพุทธศาสนา มาบ้าง จะพบคำตอบที่ชัดเจน ..... 

ไม่ทราบว่า คุณดิเรก ..... เคยบวชหรือยัง ครับ???

ผมว่า พระพุทธศาสนามีคำตอบ ให้กับทุกคน ครับ.... 

 

 

 

ครับ...คุณ nanana...

ผมเป็นคนที่ชอบศึกษาธรรมะครับ เพราะธรรมมะเป็นเรื่องของเหตุและผล ผมเห็นด้วยครับว่าธรรมะช่วยตอบคำถามหรือข้อสงสัยในชีวิตของเราได้เยอะครับ...

คุณ nanana ครับ...ผมบวชไม่ได้เพราะผมไม่ได้นับถือศาสนาพุทธครับ...

ขอบคุณมากครับ...

  • สวัสดีค่ะ ..

คำตอบมันลื่นไหลไปได้ตามแต่ปัจจัยและสถานการณ์โดยรอบนะคะ 

ครับ...คุณเนปาลี P...

คำตอบอาจจะลื่นไหลไปตามปัจจัยและสถานการณ์แวดล้อม แต่ต้องมีเหตุมีผลด้วยนะครับ เพราะบางคนชอบไหลไปเรื่อยแบบน้ำขุ่น ๆ ครับ...

ขอบคุณมากครับ...

โทษครับ...ไม่ทราบ มาก่อนเลย

 เพราะ ดูจากความคิดแล้ว คุณดิเรกมีความเป็นพุทธมากทีเดียว....คือ  เป็นคนมีเหตุผล ไม่งมงาย  น่ะครับ ผมเลยนึกว่าเป็นชาวพุทธ  .....

แต่ก็ดีใจที่คุณ ดิเรก ชอบศึกษาธรรมะ เพราะว่า ธรรมะ  คือ ความเป็นเหตุเป็นผล  เป็นของสากล  ครับ  ...........

ครับ...คุณ nanana P...

ครับ...ผมเห็นด้วยครับว่าธรรมะเป็นของสากล และการศึกษาธรรมะแล้วนำมาปรับใช้ในชีวิต ช่วยเพิ่มคุณค่าและความหมายของการมีชีวิตครับ...

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีครับ ท่าน เรก ที่น่ารักครับ

P

นี่เป็นคำตอบที่เป็นสัจจธรรมครับ  ก็แสดงความนับถือครับ  เลยถือโอกาสนำข้อความส่วนหนึ่งไปครับ ขอบคุณมากครับ  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/107076

ยินดีและขอบคุณมาก ๆ ครับ...ท่านพี่แพนด้า P...

สังคมของเรายังมีคนที่เชื่อแบบฝังหัวอยู่ไม่น้อยครับ ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ มักมีแนวคิดว่า

  • ถ้าอย่างนั้น แล้วต้องอย่างนี้

 

 

ครับ...คุณข้ามสีทันดร P...

เห็นด้วยครับ...

แล้วความเชื่อแบบฝังหัวนี่แก้ยากมาก ๆ ครับ...

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีค่ะคุณดิเรก

มายิ้มกว้างกับคำคม " หนึ่งบวกหนึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากับสอง "...

เห็นด้วยอย่างแรงเลยค่ะ เพราะมีอาการบวกผิดบ่อยมาก อิ อิ อิ..บางทีผลลัพธ์เป็นลบก็มี แล้วแต่ว่า " ส่วนใหญ่ " เห็นไปในทางใดน่ะค่ะ ( อย่างงนะคะ เพราะบอกแล้วว่า " บวกผิด " อิ อิ )

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกที่ทำให้ยิ้มมมมม และคำคมที่ชวนคิดเหลือเกิน

ครับ...คุณเบิร์ด P...

นอกเหนือจากคำตอบที่ถูกต้องที่เป็นไปได้เยอะแล้ว เราก็คงจะต้องเผื่อใจกับคำตอบที่ผิดด้วย เพราะคำตอบของทุก ๆ คำถามก็ต้องมีคำตอบที่ผิดอยู่ด้วยเช่นกัน...

ขอบคุณมาก ๆ ครับ...

จากชื่อบันทึกนี้ นอกเหนือจากเรื่องความคิดฝังหัวของคนแล้ว ผมนึกได้อีกเรื่องนึงครับ

การเสริมแรงในการทำงาน บางครั้ง 1 + 1 อาจได้ผลงานมากกว่า 2 ซึ่งนอกจากเป็นผลของการทำงานเป็นทีมแล้ว การเสริมแรงจากภายนอก คือ ปิยะวาจาของหัวหน้างานก็สามารถทำให้งานออกมาดีเช่นกัน

ขอบคุณมากครับ

ครับ...คุณข้ามสีทันดร P...

น่าสนใจครับ...

การเสริมแรงช่วยเพิ่มผลลัพธ์ได้เป็นอย่างดี องค์การไหนไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้น่าเสียดายมากครับ...

ขอบคุณมากครับ...

  • สวัสดีครับคุณ P  Mr.Direct
  • นานเชียวนะครับที่ไม่ได้แวะมาทักทายคุณMr.Direct
  • แปลกนะครับที่เกือบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเที่ยวถามเขาไปทั่วว่า 1+1 เท่ากับเท่าไหร่ ทำไมจึงเท่ากับเท่านั้น ถามลูกๆ คนเล็กที่เรียนอนุบาล 3 ผมก็ถาม ภรรยาก็ถามครับ และน้องๆที่ทำงานก็ถาม จนน้องๆพูดทำนองว่า สงสัยหัวหน้าจะทำงานหนัก เกิดการลัดวงจรบางอย่างในสมอง
  • ก็อย่างที่ลูกคนกลางตอบนะครับว่า หนูมีเงินอยู่ 1 บาท อาเยาะ(พ่อ) ให้อีก 1 บาท ก็เท่ากับ 2 บาท
  • การบวก คือการเพิ่มเข้าไป โดยหลักแล้ว ไม่ว่าเพิ่มเข้าไปเท่าใด ผลลัพธ์ (ที่คาดหวัง) ที่ได้คือ จะมากกว่าเดิม
  • แต่ผมถามลูกน้องที่แต่ก่อนนี้บ่นครับว่า งานล้นมือ ทำไม่ทัน ขอเพิ่มอีกคนหนึ่ง แต่เมื่อได้เป็น 2 แรง กาลกลับเป็นว่า เหมือนเดิม งานไม่คืบ เพราะพอมี 2 คน ต่างคนต่างก็เกี่ยงงานกัน ไม่ทำเต็มที่เต็มจำนวน 1 แต่กลับลดค่าภายในเหลือ 0.5 มองเชิงปริมาณอัตรากำลัง คือ สอง คน แต่เมื่อมองเชิงคุณภาพผลงาน 0.5+0.5 ก็เท่ากับ 1
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆครับ และที่ดีกว่านั้นผมมีเพื่อนที่ก็คิดแบบนี้เหมือนกัน ขอบคุณอีกครั้งครับ

สวัสดีค่ะ

ไม่ค่อยเข้ามาเขียนเท่าไร ตอนนี้ คงมาบ่อยขึ้นนะคะ

เห็นด้วยกับบันทึกนี้อย่างมากค่ะ

เพราะคิดแบบนี้ เป้นประจะเลย คำตอบมีหลายคำตอบ บางทีแล้วแต่สถาณการณ์นะคะ

ซึ่งเป็นการยึดติดกับผลลัพธ์หรือคำตอบเพื่อให้เป็นไปตามที่เราต้องการ หรือให้ตรงกับคำตอบที่เราเชื่อว่าถูกต้องและตรงกับที่ใจเราคิด แต่พอมันไม่เป็นอย่างนั้นเราก็ไม่ยอมรับและรู้สึกไม่พอใจ...

              แต่ในความเป็นจริงมันมีเงื่อนไขและปัจจัยต่าง  ๆ มากมาย ที่เราไม่สามารถควบคุมหรือจำกัดให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น...

              ในเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องเจอกับคำถามหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้ เราจำเป็นที่จะต้องเปิดใจยอมรับคำตอบอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับที่เราเชื่อหรือเราคิดบ้าง...

        เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ แต่ปัญหาคือเรามักไม่ค่อยรู้ตัวว่าเราเป็นอย่างนี้ ดิฉันคิดว่าเป็นเพราะเราถูกหล่อหลอมมาอย่างนี้มาตลอดทั้งชีวิตจากการอบรมสั่งสอนทั้งในระบบและค่านิยมในสังคม

         ดิฉันเองก็เพิ่งประจักษ์กับตนเองมาเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง จากประสบการณ์ที่ลงไปสัมผัสและเรียนรู้สภาพความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์และความเป็นไปในสังคม 

         พอเราเปิดใจยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้นเยอะเลยค่ะ เราเริ่มเข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนอื่น เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เข้าใจแต่ปากนะคะ และผลจากความเข้าใจ   ดิฉันพบว่ามันทำให้เรารู้ว่าเราควรทำอะไรกับใครอย่างไร เราเริ่มคิดหาทางแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นมากขึ้น ก่อนหว่านล้อม เคี่ยวเข็ญให้คนอื่นทำตามที่เราต้องการ ต้องดูก่อนว่า   ณ เวลานั้น สถานการณ์นั้นมีเงื่อนไข ปัจจัยใดบ้างที่กำหนดให้เป็นอย่างนั้น เงือนไข ปัจจัยเหล่านั้นพอจะช่วยกันปรับเปลี่ยนได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ต้องยอมรับ แต่การยอมรับนั้นเป็นการยอมรับที่เรารู้สึกอึดอัด คับข้องใจน้อยลง

ครับ...อ.อาลัม P

บางสิ่งบางอย่างในชีวิต เราไม่จำเป็นจะต้องทำให้มันตายตัวไปซะหมด เราลองหันมายืดหยุ่น หรือหาคำตอบใหม่ ๆ ที่แตกต่างให้กับชีวิตเราบ้างชีวิตเราจะได้ไม่ซ้ำซาก จำเจ ครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...พี่ Sasinanda P...

เข้ามาเขียนบ่อยขึ้นแน่นอนครับ...

การมีทางเลือกที่หลากหลายให้กับชีวิต ทำให้เราดำเนินชีวิตของเราได้ง่ายขึ้นครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...ครูนก P...

การหล่อหลอมจากสังคมมีอิทธิพลต่อตัวเรามาก ๆ ครับ...

และเห็นด้วยครับว่าการที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเรา ทำให้เราเข้าใจและยอมรับมันจากใจจริง ๆ ของเราครับ...

ขอบคุณมากครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท