วิวัฒน์
ทันตแพทย์ วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน

ไร้กรอบ ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ


การทำ LO & KM วัดผล โดยดูที่พฤติกรรมไม่ได้ดูที่ผลลัพธ์
ไร้กรอบ ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ  
เคยได้ยินชื่อ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ไหมเขาเคยเป็นวิศวกรขององค์การนาซา ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเกือบ 20 ปี ก่อนเคยได้รับรางวัลงานวิจัยที่ดีที่สุดระดับโลกเกี่ยวกับเครื่องยนต์ไอพ่นตัดสินใจกลับเมืองไทยเพราะ
1. อยากดูแลพ่อแม่
2. ไม่อยากเป็นพลเมืองชั้นสองในบ้านพักคนชรา
3. อยากเที่ยว
และ 4. ชอบกินอาหารอร่อย
เคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง บทสัมภาษณ์ของ ดร.วรภัทรใน “ เสาร์สวัสดี ” ของ “ กรุงเทพธุรกิจ ” เมื่อประมาณ 1 – 2 เดือนก่อนมาก คนอะไรก็ไม่รู้ชีวิตมันส์เป็นบ้า ความคิดก็กวนเหลือหลายตอนที่เขาเป็นอาจารย์วิธีการสอนหนังสือของเขาแปลกกว่าคนอื่น “ ผมออกนอกรอบตลอดเวลา ” เขาบอกเขาเคยพาเด็กวิศวะไปที่ริมสระว่ายน้ำ เรียนไปและดูนิสิตสาวๆ ว่ายน้ำไปด้วยคาดว่าคงไปเรียนเรื่อง “ คลื่น” ระหว่างท่าฟรีสไตล์กับท่าผีเสื้อคลื่นที่เกิดของท่าไหนถี่กว่ากันระหว่างชุดทูพีชกับวันพีช แรงเสียดทานกับน้ำชุดไหนมากกว่ากัน แนวการศึกษาน่าจะออกไปทำนองนี้แต่ที่ชอบที่สุดคืดตอนที่ออกข้อสอบข้อสอบของเขาสั้นและระชับมาก “ จงออกข้อสอบเองพร้อมเฉลย ” โหย....เด็กวิดวะอึ้งกันทั้งห้อง คำตอบส่วนใหญ่เป็นการตั้งโจทย์แบบง่ายๆ เช่น ปั้นจั่นมีกี่ชนิด ผลปรากฏว่าได้ศูนย์กันทั้งห้อง เพราะเป็นคำตอบที่ไม่ได้แสดงความคิดที่ลึกซึ้งสมกับที่เรียนมาทั้งเทอม
เหตุผลที่ ดร.วรภัทร ออกข้อสอบด้วยการให้นิสิตออกข้อสอบเองเป็นเหตุผลที่ตรงกับใจผมมาก “ ชีวิตคนเราจะรอให้อาจารย์ตั้งโจทย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องหาโจทย์มาเอง คิดแล้วทำ ถ้าผิดแล้วอาจารย์จะปรับให้ ” เขามองว่าเด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยเด็กกวดวิชา รอคนคาบทุกอย่างมาป้อนให้ไม่รู้จักคิดเอง “ ถ้ารอและตั้งรับ คุณก็เป็นพวกอีแร้ง แต่พวกคุณแย่กว่าเพราะเป็นแค่ลูกอีแร้ง คือ รออาหารที่คนอื่นป้อนให้ ” โหย....เจ็บ ผมเชื่อมานานแล้วว่าชีวิตของคนเราเป็นข้อสอบอัตนัย ที่ต้องตั้งโจทย์เองและตอบเอง ไม่ใช่ข้อสอบปรนัยที่มีคนตั้งโจทย์ และมีคำตอบเป็นทางเลือก ก-ข-ค-ง ถ้าใครที่คุ้นกับ “ ชีวิตปรนัย ” ที่มีคนตั้งโจทย์ให้และเสนอทางเลือก 1-2-3-4
คนคนนั้นชีวิตจะไม่ก้าวหน้า เพราะต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลาติดกับ “ กรอบ ” ที่คนอื่นสร้างให้ไม่เหมือนกับคนที่รู้จักคิดและตั้งคำถามเอง เรื่องการตั้งคำถามกับชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่าลืมว่าเพราะมี “ คำถาม ” จึงมี “ คำตอบ ” เมื่อมี “ คำตอบ ” เราจึงเลือกเดินพูดถึงการตั้งคำถาม ผมนึกถึง “ โสเครติส ” เขาเป็นนักปรัชญาเอกของโลก ที่สอนลูกศิษย์ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ สร้างองค์ความรู้จาก “ คำถาม ” กลยุทธ์ของ “ โสเครติส ” ในการสอนคือ ไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน และทำลายความมั่นใจของนักเรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้ “ โสเครติส ” เชื่อว่าเมื่อเด็กตระหนักใน “ ความไม่รู้ ” ของตนเองเขาจะเริ่มแสวงหา “ ความรู้ ” เขาก็จะไม่แสวงหา “ ความรู้ ” การตั้งคำถามของโสเครติสจึงมีเป้าหมายโจมตีและทำลายความเชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนักเรียน เป็นกลยุทธ์เท “น้ำ” ให้หมดจากแก้ว เมื่อแก้วไม่มีน้ำแล้วจึงเริ่มให้เขาเท “ น้ำ” ใหม่ใส่แก้วด้วยมือของเขาเอง น้ำ ” ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเองมาจาก “คำตอบ” ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง “ คำตอบ ” จาก “คำถาม” ของ”โสเครติส”
“โสเครติส”นิยามศัพท์ว่า “คนฉลาด” และ”คนโง่” ได้อย่างน่าสนใจ “คนฉลาด” ในมุมมองของ“โสเครติส” นั้นไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง แต่ “คนฉลาด” คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ส่วน “คนโง่” คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้แต่ทำราวกับเป็นผู้รู้ พออ่านถึงบรรทัดนี้ ทำไมเริ่มรู้สึกตัวเองไม่รู้อะไรเลย

บริหารแบบพุทธสร้างองค์อมตะ!
“วรภัทร ภู่เจริญ” นักวิทยาศาสตร์นาซ่า นำหลักการบริหารแบบพุทธะ หาสติควบคุมความคิด จิต พาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ปูนซีเมนต์ไทยและการบินไทย ประสบความสำเร็จมาแล้ว
พูดถึงหลักการบริหารองค์กร ทุกคนคงจะมองแต่ภาพตำราต่างประเทศและการเรียนที่เป็นตำราวิชาการ แต่หารู้ไม่ว่าที่จริงแล้วหลักการบริหารเหล่านั้น ต่างมีพื้นฐานสำคัญและมีหัวใจที่สำคัญที่สุดมากจากจิตใจที่อยูภายในพนักงานทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารลงมาสู่พนักงานระดับล่าง
ดร.วรภัทร ภู่เจริญ มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้หลักธรรมะเข้ามาผสมผสานในการบริหารจัดการองค์กรได้ดี เยี่ยม เขาเคยทำงานที่องค์การนาซ่าอีกได้รับรางวัลผลงานที่ดีที่สุดในการประชุมวิชาการด้านเครื่องไอพ่นนานาชาติ ปี พ.ศ.2528 แต่วันนี้เป็นผู้สอนหลักการบริหารองค์กรแนวพุทธให้บริษัทชั้นนำหลายบริษัทไม่ว่าจะเป็น บริษัทเครือซีเมนต์ไทย จำกัด ( มหาชน ) บริษัทการบินไทย จำกัด ( มหาชน ) บริษัททิพยประกันภัย บริษัทสหพัฒน์ จากพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในตัว ทำให้ ดร.วรภัทร ต้องการพิสูจน์ความจริงในพระพุทธศาสนาและการพิสูจน์นั้นก็นำมาสู่ความเข้าใจแห่งจิต ความคิด และสติ ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม อีกทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับนำหลักธรรมทางศาสนาพุทธมาประยุกต์กับการสอนหลักการบริหารอีกด้วย
ดร.วรภัทร ได้อธิบายถึงหลักการบริหารองค์กรแบบพุทธว่า หลักการก็เหมือนกับที่พระไตรปิฎกได้สอนไว้พระพุทธเจ้าน่าจะเป็นบิดาแห่ง HR และ Management เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารองค์กรสำหรับทั้งผู้บริหารและลูกน้องคือ ต้องรู้จักสติ ซึ่งเป็นการฝึกพื้นฐาน
ฝึกสติสร้างระบบความคิด
เทคนิคการสอนของ ดร.วรภัทรจะให้ผู้เข้าฝึกว่าอะไรคือสติ อะไรคือความคิด และอะไรคือจิต เพราะเมื่อเห็นระบบการทำงานของทั้ง 3 สิ่ง นี้แล้ว ต่อไปสิ่งที่ผู้เข้าฝึกก็ต้องคอยระวังก็คืออย่าให้ความคิดทำร้ายจิต หรือพอจิตเกิดความคิด ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดีก็ต้องระวัง ต้องหัดตัวเองให้ต้องเอาสติไปทำงานแทนจิต
ดร.วรภัทรมองว่าจิตเปรียบเหมือนลูกตุ้ม ถ้าลูกตุ้มจะแกว่งเป็นบวกหรือลบ สิ่งที่ทำให้ลูกตุ้มเบนไปทางซ้ายหรือขวาก็คือตัวความคิดของเรา ซึ่งความคิดเหล่านั้นก็มาจากสัญญาเก่า จะเข้ามาสะกิดให้เกิดความรู้สึกเป็นบวกลบ พอเกิดความรู้สึกนั้นคือ “จิตเกิดแล้ว” นั้นเอง
“เคยชอปปิ้งไหม ง่ายๆ เลย ถ้าไปชอปปิ้งกับแฟนที่ฝรั่งเศส พอหมดเวลาแฟนบอกให้ขึ้นรถยังติดใจอยาก ช็อปอยู่ต่อ แต่ต้องขึ้นรถไปลียอง ขณะอยู่บนรถก็คิดถึงแต่กระเป๋า นั้นแหละจิตเกิดแล้วเป็นความยาก ซึ่งเกิดความคิดเป็นผลผลิตจากจิต ตอนนั้นจะแยกไม่ออกว่าจิตกับความคิดทำงานร่วมกัน แต่ถ้าเป็นผู้ที่ฝึกสติมาดีแล้วเป็นพอบอกว่าไปก็ไปก็จะไม่มีความคิดปรุงแต่งรู้ตัวอยู่เสมอว่าตอนนี้ต้องง อยู่กับแฟนและนั่งรถไฟไปลียอง”
แทรกพุทธธรรมในทฤษฎี
หลังจากที่ค้นหาวิธีการคิดเป็นระบบได้แล้ว ดร.วรภัทร์ จะแทรกพุทธธรรมเข้ามาในทฤษฎีหลักการบริหารต่างๆ เพราะ ดร.วรภัทร์เชื่อว่าหัวใจสำคัญจริงๆ ของหลักการบริหารสำคัญอยู่จิตใจเป็นอย่างแรก ตัวอย่าง เช่น บริษัททิพยประกันภัย ที่ดร.วรภัทร์เป็นที่ปรึกษานั้น ดร.ก็สอนธรรมะควบคู่ไปด้วยกับสอนการวางแผนยุทธศาสตร์
เริ่มแรกจะให้ผู้เข้าฝึกที่เป็นทั้งผู้บริหารและลูกน้องหายใจลึกๆ ทำจิตให้ว่าง คิดไปถึงว่าอีก 4 –5 ปี ทิพยประกันภัยจะเป็นยังไงให้ตัดความกังวล ตัดความกลัว ความลำเอียงออกมาจากจิตให้ได้ นั้นคือตัดความคิดอันฟุ้งซ่านที่จะไปให้ก่อให้เกิดจิต หลังจากนั้นหาจุด Dead lock จุด หา success factor ให้เจอ หาตัวแปรที่ทำให้องค์กรล่ม อย่าใช้อารมณ์โมโห ใช้เวิร์กช็อปอย่าประชดกันในที่ประชุมใช้ความเป็นจริงอย่าเอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
“เช่นเวลาที่ประชุมกันเมื่อใครก็ตามที่เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นก็จงบอกว่า ช่วงนี้ผมจิตเกิดนะของดออกความคิดเห็น ก็จะทำให้ไม่ทะเลาะกัน พอไม่ทะเลาะกันจิตก็ว่าง คิดงานได้สะดวกราบรื่นอย่างของเครือปูนซีเมนต์ไทย เขาใช้แบบพุทธวิธีที่ผมสอน ตอนนี้เขาผลผลิตเพิ่ม ของเสียลดลง ประชุมกันก็ทะเลาะกันน้อยลง”
ตั้งสติรับภาวะเศรษฐกิจขาลง
หรือแม้กระทั่งการตั้งรับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลงในอนาคตอันใกล้นี้ ดร.วรภัทร์ก็ต้องให้ผู้บริหารตั้งสติ ตัดความกังวลออกไป เพราะท้ายที่สุดทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลังจากที่จิตใจปลอกโปร่งแล้ว ดร.วรภัทร์ก็จะให้ผู้บริหารทำ SWAT Analvsis ให้ชัดเจนโดยเฉพาะการหา Opportunity และหายุทธศาสตร์ที่ตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานในบิรษั?ในอนาคต
“ตอนเศรษฐกิจล้มผมก็ใช้หลักจิตวิทยามากๆ ในการให้กำลังใจเขา อีกทั้งต้องใช้อิทธิบาท4 ให้ฉันทะกับเขาก่อนจากนั้นก็พูดให้กำลังใจเป็น empowerment ซึ่งจะก่อให้เกิดวิริยะเกิดเป็น positive thinking ต่อไปเมื่อเขาไปได้เราก็ออกไปเป็น Coaching มองเขาอยู่ห่างๆ”
นี่แหละคือธรรมะกับการบริหารยุคใหม่ที่สามารถผสมผสานกันอย่างลงตัว !
QCC vs LO & KM
QCC แบบไทยล้มเหลวเพราะขาดวัฒนธรรมการเรียนรู้ คัดลอกบทความที่ผมเขียนลงในการสัมมนาครั้งที่21 ของสมาคมคุณภาพแห่งประเทศไทย
QCC vs LO & KM
ตอนนี้เรี่อง KM หรือ Knowledge management กำลังฮิต หลายๆ องค์กรทั่วโลกตื่นตัวและนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร ทำให้คนหลายคนที่เคยทำ QCC อยู่เริ่มงงและสับสนว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน คนละเรื่องเดียวกัน มันมาทำลาย QCC ของเราหรือมาเสริมหรือไม่ เกี่ยวกับ QCC เลย
ผมให้ข้อสังเกตเป็นประเด็นง่ายๆ ดังนี้
1) KM เป็นแค่เครื่องมือหนึ่ง ในการนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแบบ LO ( Learning Organization ) หรือเป็นองค์กรเรียนรู้จะเรียกว่าเป็นองค์กรมีชีวิต องค์กรอมตะ องค์กรยั่งยืนและพอเพียงก็ได้ เพราะเป้าหมายหลักคือ องค์กร LO คือ พนักงานทุกคนมีความสุข ทั้งกายและใจ ทีนี้เราลองมาถามตัวเราเองว่า เราทำ TQM/ISO/TPM/QCC ทำแล้วเรามีความสุขไหม
2) LO & KM เป็นการบริหาร “วัฒนธรรม” ครับ ดังนั้นจึงจำเป็นคนละมิติกับการบริหารระบบ เช่น ISO/TQm เป็นต้น คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับการบริหารวัฒนธรรม ก็มักจะเอาสันดานนักคิด นักประเมิน นักหวังผล บ้าตัวเลข มาใช้กับ LO & KM ผลก็คือทำให้ LO & KM ในองค์กรของตนเองล้มสลาย หรือแข็งกระด้าง เป็นลักษณะ “รูปแบบ” ( Format ) ไม่เป็นธรรมชาติ
3) LO & KM เป็นวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่น คนฝรั่ง มีมานานมากแล้ว เช่น การล้อมวงคุยกันเป็นวง ที่เรียกกันว่า circles ( QCC มีคำว่า circles อยู่ แต่เราคนไทยไม่ซึ่งในคำๆ นี้ ) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีสุนทรียสนทนา ( dialogue ) มีทักษะการฟังเชิงลึก ( Deep listening ) การสำนึกผิด ( Hansei ) เป็นต้น ทำ ให้เมื่อเอาเครื่องมือทางสถิติมาใส่ในวงสนทนา จึงเท่ากับติดปีกให้เขาคิดได้คิดออก แต่ของเราไม่มีวัฒนธรรมการสนทนาแบบ LO & KM เราคุยกันไม่เป็น เราไม่เปิดใจ เราไม่มีปิยวาจา ครั้นโยนเครื่องมือสถิติลงไป ผล คือ อุปมา “คนป่าได้ปืน” ยิงโดนเป้าก็โชคดีไป ยิงโดนกันเองก็ซวยไป ทำให้เกิด การทำ QCC แบบย้อนหลังจัดฉาก และซังกะตายทำ
4) LO & KM เป็นวัฒนธรรมพื้นฐานที่เข้ามาช่วยให้การทำ QCC ดีขึ้น สนุกขึ้น พนักงานเต็มใจ เปิดใจ ที่จะทำมากขึ้น โดยใช้หลักการทาง LO & KM เช่น Story telling / Show & share / Dialogue เป็นต้น การสนทนาในกลุ่มจะอยู่ในระดับคลื่นสมอง alpha ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง เป็นแบบ “สติมาปัญญาเกิด”
5) การทำ LO & KM วัดผล โดยดูที่พฤติกรรมไม่ได้ดูที่ผลลัพธ์ ดังนั้นผู้บริหารที่อ่อนแอในหลักการบริหารคน จะไม่เข้าใจตรงนี้ ผู้บริหารที่ชอบตรวจสอบตรวจเลข จับผิด แจก CAR ฯลฯ จึงยากที่จะเข้าใจการบริหาร LO & KM เพราะจะติดกับดักทางปัญญาเดิมๆ ของตนเอง คือ “เอาแต่งานไม่เอาใจ” ทำให้ขาด “บารมี” ในการปกครองไป เป็นทำนองที่ว่า “ได้งานไม่ได้ใจ” ดังนั้นสมัยนี้ผู้บริหารควรหัดมาดูด้าน soft management คือ จิตใจของพนักงานได้แล้ว เพราะเมื่อจิตสดใจเขาจะเทใจให้องค์กร ไม่หมกเม็ด ไม่ซ่อนข่าวร้าย ฯลฯ
ลองศึกษาเรื่อง LO & KM บ้างนะครับ อย่าไปมีอคติ อย่าไปเห็นเป็นศัตรูต่อการทำ QCC เลย หลายองค์กรประยุกต์เข้าด้วยกัน และพัฒนาการสนทนากลุ่มจนได้ผลงานดีๆ อย่างเต็มใจ ส่วนจะใช้เครื่องมือทางสถิติหรือไม่ พวกเขาไม่ค่อยสนใจมากแล้ว แต่คงไม่ได้หมายความว่าจะทอดทิ้งนะครับ
ผู้บริหารที่มาแนวญี่ปุ่นคนต้องเสริมเขี้ยวเล็บการบริหารแบบ LO & KM ได้แล้วนะครับ ก่อนที่ชาติอื่นๆ เริ่มแซงญี่ปุ่นแล้ว การบริหารแบบโหดๆ อย่างญี่ปุ่น ทำให้หลายองค์กรอยู่ในช่วง “ขาลง” แล้ว
วงจร KIDs ความรู้ข้อมูล ลงมือทำ และสติ
s จะหมายถึง ยั่งยืน ( sustainable ) สติ ( Sati ) แบ่งปัน ( Show & share ) และ Storytelling ก็ได้
วงจร KID คือ Knowledge → Information → Do→ Knowledge → Information → Do→ วนไปเรื่อยๆ ถ้าจะให้ดีจะได้ S ( Sati / sustainable / show&share / story telling )
K มีสองแบบ K แบบภายนอกก็จะได้โลกียปัญญา K แบบภายในก็จะได้โลกุตรปัญญา เจอแต่ Information management ที่คิดว่าตนเองเป็น KM
I 2 I หรือ I 2 K กันแน่
I = Information ต่างจาก K = Knowledge เยอะเลยนะครับ
ข้อสังเกต
• I เดินทางผ่านออกทางปาก ทางหนังสือจากคนสู่คน แต่ K ผ่านไม่ได้ เพราะคนรับ I ต้องลงมือทำจึงจะพบ K
• ที่นั่งล้อมวงทำ AAR กัน สิ่งที่ได้คือ K ภายในใจ คือ กำลังใจรู้นิสัยตนเอง ได้ I เพื่อเอาไปทำ ฯลฯ อย่าเอาจุด I ( ที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็น K )
• คนทำจะเจอ K แต่พอคนทำพูด K ออกมา K → I ทันที
• K ภายใน คือ การปรับสันดานให้เป็นคนดี คนทำงาน คนมีประโยชน์ และรวมไม่ถึง K ที่ดีที่สุด คือ การพ้นทุกข์อย่างถาวร แต่ K ภายนอก คือ ความรู้ที่เป็นโลกียปัญญา ไม่ทำให้ดับทุกข์ได้สนิทอาจจะทำให้โลกร้อน ( Global warming ) อาจจะทำให้โลภ โกธร หลง ฯลฯ
• สถานศึกษาเป็นแบบ I เยอะมากๆ
• เกลียวความรู้ ถ้าทำผิดธรรมชาติจะได้ I
• เกลียวความรู้ ถ้าทำถูกต้องคนในวงสนทนาจะรู้ “กาย เวทนา จิต ธรรม” ของตน แล้วเปลี่ยน Paradigm ของตนได้ไปค้นพบตนเองทิ้งสันดานชั่วๆ ออกไป ฯลฯ ขณะร่วมสนทนาหรือหลังจากสนทนาไปแล้วก็ได้
• KM ถ้าทำแล้วไม่มีความสุขทำแล้วไม่ทำให้คนในองค์กรสันดานดีขึ้น ทำแล้วผู้บริหารและผู้ประเมินยังมีสันดานชั่วอยู่ ไม่มีความสุข ฯลฯ แสดงว่า เป็น IM ไม่ใช่ KM .......เป็น “ของปลอม” ไม่ใช่ “ของจริง”
ประเมิน KM ก่อนและหลังกิจกรรม
DAR = During action review เน้นที่พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
ก่อนทำ KM และหลังทำ KM ( ที่ไม่มีวันเสร็จ เพราะ KM อุปมาคือ อากาศที่หายใจต้องทำให้มีไว้เสมอขาดไม่ได้ และKM ก็ไม่ใช่อะไรที่จะวัดแบบ KPI ปกติได้ ) น่าที่จะประเมินในมุมมอง ดังนี้
• ประเมินตนเอง ( ครูสมพร สอนลิงว่า ประเมินตนเองนั่นแหละคือการประเมินที่แท้จริง เราเป็นครูเราต้องประเมินตัวเราก่อนแล้วค่อยไปประเมินลิง ) ลองสังเกตพฤติกรรมของตนเองว่า ก่อนทำ หลังทำ “สันดาน” เปลี่ยนไปไหม Paradigm เปลี่ยนไปไหม ในทางที่ดีนะครับ เช่น จากคนที่เอาแต่ใจตนเอง ขี้บ่น กลัว ระแวง ปากจัด ใจแคบ ลูกน้องเกลียด บ้าอำนาจ ด่ารอบวง เห็นคนอื่นโง่ ฯลฯ กลายมาเป็นใจเย็น สุขุม เข้าใจคน มีความสุข เข้าใจตนเอง ฯลฯ ทำ KM แล้วสันดานยังชั่วร้ายอยู่เหมือนเดิมแสดงว่าทำ KM แบบหลงทางครับ เป็น KM แบบ Newtonian ( แบบอุตสาหกรรม แบบผลิตเหมาโหล แบบผิดธรรมชาติ แบบคนบ้าอำนาจ แบบโดนบังคับ ฯลฯ )
• ประเมินสันดานตนเองแล้วจ่งค่อยประเมินสันดานคนอื่นๆ
• ประเมินกำลังสติ Sati capital ทั้งของเราและทุกคนที่เกี่ยวข้องว่ามีมากขึ้น มีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไหม มีกึ๋น ( sensing ) มากขึ้นไหม เช่น ตัดสินใจได้ดี แม้นว่าเวลาจะจำกัดตัดสินใจในขณะที่จิตปกติ ( ความคิดวิ่งอยู่ที่รอบของ Alpha หรือต่ำกว่า ) ฯลฯ
• ประเมินจากความร่วมมือ Collaboration capital ที่ผู้คนมอบให้เรารักงานที่ทำต่อมีคนที่เต็มใจจะทำมากขึ้น ฯลฯ
• ประเมิน Network capital : จำนวน ภาคี เพื่อน พันธมิตร ผู้รู้ ฯลฯ ที่ได้รู้จักมากขึ้น
• ประเมินอื่นๆ เช่น ได้เครื่องมือ( Tools ) / ได้ information ( ความรู้ของคนอื่นที่เขาบอกเรา )
KM แบบธรรมชาติ
KM แบบธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ จะแปรผันตรงหรือสะท้อนให้เห็นสันดานของผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ ว่าเป็นคนอย่างไรด้วย
หลักการ KM ธรรมชาติเน้นที่ทำไปแล้วได้ทุน ( Capital ) ต่างๆ ดังนี้
• ทุนทางใจ ( Collaboration capital )
• ทุนทางสังคม ( Network capital )
• ทุนทางปัญญา ( Intellectual capital )
• ทุนมนุษย์ ( Human capital )
ทั้ง 4 ทุนนี้ ทำไปเรื่อยๆ จะได้ทุนทางสินทรัพย์ ( Financial capital ) เอง ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ ยิ่งงก ยิ่งเห็นแก่ตัว ก็จะไม่ได้
แต่ทุนที่ฝรั่งและนักวิชาการ KM ยังไม่ค่อยจะรู้ คือ “อริยทรัพย์” อันเป็นทรัพย์ใหญ่ ทรัพย์สำคัญใครจะขโมยไปก็ไม่ได้อาจจะเรียกเป็นทุนทางธรรม ( Dhamma capital ) หรือจะเรียกว่าทุนทางสติ ( Sati capital ) ก็ได้
KM แบบไม่ธรรมชาติจะเป็นแบบที่ไม่ยั่งยืน ทำตามแฟชั่นทำตามหน่วยเหนือสั่งให้สั่ง แข็งกระด้าง ก้าวร้าว ทำลายจิตใจ ฯลฯ ยิ่งทำ ทุนต่างๆ ยิ่งหดหาย KM ในองค์กรต่างๆ จะออกมาอย่างไร เท่าที่ผมดูคราวๆ ณ ตอนนี้ คือ “ KM ธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ จะแปรผันตรงหรือสะท้อนให้เห็นถึงสันดานของผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ ว่าเป็นคนอย่างไรด้วย”
คนแบบใดไม่น่าเอามาทำ Km แบบธรรมชาติ
คนแบบใดไม่น่าเอามาทำ Km แบบธรรมชาติ คือ ผู้บริหารและบริวารที่ยังยึดติด “พฤติกรรม” เดิมๆ คิดแบบเดิมๆ เป็นพวก ยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุดญี่ปุ่นคลั่งงาน บ้าอำนาจ หลงตนเอง ดื้อเงียบ เช่น
• อย่างเก่าดีแล้ว
• ข้า ฯ รู้ดีที่สุด
• ข้า ฯ คือ The boss
• One size fit all ทุกอย่างต้องเหมือนกัน
• สามัคคี คือ ทำตามข้า ฯ
• คิดไม่ตรงกันกับข้า ฯ ถือว่าแสดงตนเป็นศัตรูกับข้า ฯ
• ข้า ฯ ชอบคนที่มีเหตุผล ( ตรงกับข้า ฯ เท่านั้น )
• ผลิตเยอะๆ ขายมากๆ ขยายกิจการ
• คนน้อยกว่างาน คนจะได้ขยันไม่อู้งาน
• งานมาก่อน ใจมาทีหลัง
• คนเราเกิดมาเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ
• ใครดี ใครขยัน มาเอาเงินไป
• เชื่อฟังเจ้านายจะรุ่ง
• อย่าคุยกันในที่ทำงาน จงทำงานให้มากๆๆๆ
• อาหารใดที่ข้า ฯ คิดว่าอร่อย เมื่อข้า ฯ
หมายเลขบันทึก: 109023เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณครับสำหรับความรู้และความคิดในช่วงสายๆวันนี้ครับ

    สวัสดีค่ะ

    ดิฉันไม่แน่ใจว่า  คุณวิวัฒน์  ได้เคยอ่านบล็อกของ ดร.วรภัทร รึยังนะคะ  แต่ก็เอา link บล็อก คนไร้กรอบ ของท่าน มาแปะไว้ให้ก่อนคะ เผื่อจะได้เข้าไปอ่านบล็อกท่านเพิ่มเติมคะ

 เข้ามาบอกว่า......

ผมขออนุญาต ..... คุณวิวัฒน์ นำเข้าแพลนเน็ต ครับ

น่าสนใจมาก ทีเดียว ครับ 

ขอบคุณคุณมะปรางเปรี้ยว  คุณ nanana และ คุณ นมินทร์ มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท