บริหารให้นักการเมืองให้อยู่ในกรอบ


...ถามว่า การชักชวนชาวต่างชาติมาลงทุนในทรัพยากรในเมืองไทย ถือได้ว่าเป็นการบริหารประเทศภายใต้ระบบเศรษกิจพอเพียงหรือไม่...

วันนี้ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ โพสต์ Today ฉบับวันที่ 5 กค. 2550 ได้อ่านคอลัมน์หนึ่ง 'ทันโลกเศรษฐกิจ' ว่า  เวียดนามกู้เงินพัฒนาระบบขนส่งจาก ธนาคารโลก เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ   ...อ่านไปผมรู้สึกอย่างไร?กับ ประเทศของเรา  แม้นว่าเราจะมีระบบขนส่งสาธารณะ และทันสมัยกว่าเวียดนาม   แต่ผมยังรู้สึกว่าการพัฒนาของเวียดนามมีการพัฒนาที่เจริญรุดหน้า อย่างต่อเนื่อง  ผิดกับระบบขนส่งของบ้านเรา  ที่มีความคิดและพยายามผลักดันแปรรูปไปเป็นสถานะภาพการบริหารในรูปแบบของเอกชน  และมีความพยายามทำลายรูปแบบระบบขนส่งหรือระบบ logistic ของรัฐ เพื่อให้ความอยู่รอดแก่ภาคเอกชนหรือพวกพ้องเดียวกัน

ความคิดและพยายามผลักดันแปรรูปไปเป็นสถานะภาพการบริหารในรูปแบบของเอกชน  โดยอ้างว่าเพื่อการบริหารที่โปร่งใส และได้คุณภาพที่ดีกว่า  

ข้ออ้างดังกล่าว เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาปลายเหตุ หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า กลุ่มทุนหรือพวกทุนนิยมต่างๆ ( ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตกเสียส่วนใหญ่ ) มักจะเห็นด้วยตามแนวความคิดทางตะวันตก เพราะเห็นว่า การแปรรูป เป็นเรื่องดีไปหมด  และคิดว่ากลไกตลาดจะทำงานตามหน้าที่ของมัน   .....  พวกนี้กำลังคิดผิดครับ เพราะกลุ่มทุนนิยมมักจะมอง ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเป็นสำคัญ  ว่าตนเองจะได้ผลประโยชน์อะไรกลับคืนมาหลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว   แม้นว่ากลุ่มทุนจะลงทุนไปมากกว่า 20 % หรืออาจถึง 49 % ซึ่งไม่เกินครึ่ง ก็ตาม  แต่ยังเป็นกลุ่มทุนที่ยังมีอิทธิพลต่อระบบการบริหารด้วย ถ้าระบบหมุนเวียนเงินทุนโดยการถูกกว้านซื้อหุ้นมีจำนวนเงินมากเป็นหลักหมื่นๆ ล้านบาท   ถ้าสมมุติว่าผม(หรือกองทุนต่างประเทศ)ต้องการถอนหุ้นคืนภายในวันนี้ (หลังจากซื้อได้ 2-3ปี ) เพราะไม่พอใจระบบปันผลขององค์การมหาชน.... คุณคิดว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง?   ถ้าหากคุณผู้อ่านเป็นผู้บริหารองค์การมหาชนที่ได้ถูกแปรรูปไป  คุณคิดจะทำอย่างไร? กับข้อต่อรองแบบนี้.... (จริงอยู่โดยหลักปฏิบัติจะไม่เกิดขึ้น แต่ในเชิงการต่อรองเพื่อกดดันเพื่อสร้างผลประโยชน์ที่มากขึ้นกว่าเดิม - สามารถทำได้ง่ายมาก )  จะเห็นว่า แม้นว่าจะมีเงินทุนต่างประเทศมาลงทุนในหุ้นเพียง 20 % ก็มีความสำคัญกับระบบการเงินในประเทศอย่างมาก  ยังไม่รวมประเด็นหุ้นที่ซื้อโดยนอมินีต่างๆ... นะครับ...

...หากต้องการความโปร่งใส  ...ทำไมไม่สร้างระบบให้โปร่งใส

...หากต้องการระบบการบริหารการเงินที่คล่องตัวมากขึ้น  ...ทำไมไม่เปลี่ยนแปลงระบบให้สอดคล้อง ( เริ่มกันที่ พรบ.   ทำไมไม่ทบทวนกัน พรบ. ไม่เหมาะสมกับการบริหารยุคโลกาภิวัฒน์  ....จำเป็นต้องเปลี่ยน ก็ต้องเปลี่ยน  ....  )

 ...หากต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น ...ทำไมไม่เปลี่ยนแปลงตนเองก่อน

...ดีแล้วหรือ...สำหรับ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน?...

....เราต้องการเงินทุนเข้ามาในประเทศมาก นักหรือ?  จึงจำเป็นต้องระดมเงินทุนจากต่างชาติ 

...หรือว่า เพื่อสนองตอบนายทุนในประเทศ?....จึงต้องแปรรูป

 ...ถ้าหากต้องการพัฒนาประเทศมากนัก...ทำไมไม่กู้เงินจากธนาคารโลกหรือกู้จากประชาชนแล้วบริหารจัดการให้เกิดกำไร?

 ...ส่วนใหญ่นักคิดนักพัฒนามักจะเป็นผู้ที่มีการศึกษาจบจาก การเงินและเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่  และธรรมชาติของบรรดานักคิดจำพวกนี้ชอบคิดใช้เงินผู้อื่น มาบริหารมากกว่า   ดีกว่าการใช้เงินตัวเอง (ชอบเก็บเงินให้อยู่ในองค์การให้นานที่สุด)

...ถามว่า การชักชวนชาวต่างชาติมาลงทุนในทรัพยากรในเมืองไทย ถือได้ว่าเป็นการบริหารประเทศภายใต้ระบบเศรษกิจพอเพียงหรือไม่...

..ถามว่า การตัดสินใจแต่ละแง่มุม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองเป็นอันดับแรกก่อนหรือไม่ ...ถ้าไม่   สามารถจะสรุปได้เลยว่า ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแน่นอน....  

เป็นคำถามที่น่าชวนได้คิดกัน....สาเหตุที่แท้คืออะไร? กันแน่...

 

เราไม่ได้มีค่านิยมไทยในการยึดถือและปฏิบัติ  ...ปล่อยสังคมให้ล่องลอยไปตามกระแสนิยมตะวันตก      บ้านเมืองเราขาดการบริหารค่านิยมหลัก ( พูดกันตรงๆ..เอากันง่าย ....ไม่มีค่านิยมอะไร จะให้ยึดถือ )แล้ว )  ดังนั้นไม่ว่ากระแสนิยมตะวันตกเปลี่ยนแปลง อย่างไร?  หรือความคิดตะวันตกเปลี่ยน   ตัวเราเองก็จะพยายามเปลี่ยนแปลงตามเขาทำให้เหมือนเขามากที่สุด หรือ ต้องการเปลี่ยนให้ล้ำหน้าเขาโดยไม่มีการพิจารณาไตร่ตรอง ความเป็นตัวตนของเราว่าเหมาะสมหรือไม่ประการใด...ผลกระทบไม่พึงประสงค์ย่อมเกิดขึ้นในสังคม 

การที่จะบริหารให้นักการเมืองให้อยู่ในกรอบ ( เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่มัก จะอ้างเสียงประชาชน อยู่แล้ว จะจริงหรือเท็จ... ก็ไม่สามารถทัดทานกระแสที่เกิดจากประชาชนได้...)  จะต้องสร้าง ค่านิยม ใผ่ดี   ผู้บริหารประเทศจะต้องรู้จักการบริหารค่านิยม ลงในภาคประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม  จนกระทั่งเป็นกระแสนิยมหลักที่นักการเมืองไม่สามารถปฏิเสธได้ ...

 

 ปัญหาคือใครจะเป็น ผู้นำในการสร้างกระแส  อย่างได้ผล ....

 

ผมเล่ามาพอสมควร  ..... ตั้งแต่ นโยบายการเปลี่ยนแปลงการบริหาร แนวความคิดที่ถูกนำมาใช้  ผลกระทบที่ถูกระบบทุนนิยมครอบงำ  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงถึงความอ่อนแอ ทางความคิดของคนไทย    มีมากจนกระทั่งเราจะสูญเสียความพอเพียง สูญเสียความเป็นตัวตนไป

 

ดังนั้น นโยบายหนึ่ง ที่นักการเมืองและพรรคการเมือง เลือดใหม่ควรจะตระหนักคือ การบริหารค่านิยมหลักของคนไทย

หมายเหตุ  การบริหารค่านิยมหลัก เป็นแนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาโดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องสร้างกฎระเบียบขึ้นมาบังคับใช้   เพราะกฎบังคับใช้ไม่สามารถเข้าไปถึงจิตใจที่ดีของทุกคนได้ พยายามสร้างให้เกิดกระแสขึ้นมาก่อน แล้วสิ่งที่ดีงามต่างๆ จะสามารถบรรเทาเบาบางลงโดยที่ไม่ต้องใช้เงินตรา   แล้วความพอเพียงก็จะเกิดขึ้นในประเทศ   .....ตัวอย่าง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นหนึ่งของการบริหารค่านิยมหลัก ที่สามารถสร้างกระแสในสังคมปัจจุบัน    แต่ยังมีค่านิยมอื่น ๆ ที่จะสามารถเสริมสร้างได้อีก   .....  ทำไมไม่สานเจตนา..เดินตามรอยพระราชดำริ?  

 

สงสารประเทศไทย...  หรือว่าเราจะนั่งมอง เพื่อนบ้านเราเจริญรุดหน้า ในขณะที่เรากำลังนั่งอยู่เฉยๆ     ......เอาเพียงแค่เริ่มต้นการบริหารค่านิยม เราก็สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้   .... และมีความสุขถ้วนหน้าได้...

 

 ...การสร้างค่านิยมที่ดี  จะทำให้คนไทยทั้งประเทศ สามารถเกิดความคิดที่จะพึ่งพาตนเองมากกว่าพึ่งผู้อื่น   คุณว่าทำได้หรือไม่?

 

 ....จากการแปรรูป...อยู่ดีๆ ทำไมจึงกลายมาเป็นค่านิยมไปได้  ....เพราะมันเชื่อมโยงกันครับ    เพราะปัญหามักจะเกิดจากความคิดที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม   แก้ไขไม่ตรงกับสาเหตุ    การแก้ไขปัญหาหนึ่งจึงทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา และมากเกินจนกระทั่ง สติปัญญาเดิมที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สามารถคิดค้นขึ้นมาได้   คนไทยส่วนใหญ่จึงมองหาวิถีการคิดแบบตะวันตกแทน...  แต่ว่าปัจจุบันแนวความคิดการบริหารของตะวันตกได้ลอกเลียนแบบแนวความคิดของตะวันออกเดิม นั้นคือ การบริหารค่านิยม  เพราะนักคิดตะวันตกเห็นว่า เป็นการบริหารในระดับสูงสุดสำหรับองค์การที่ปรารถนาความมั่นคงที่เสถียรภาพ โดยสร้างวัฒนธรรมการบริหารให้เกิดขึ้น ภายในองค์การ    และปัจจุบันเรากำลังจะลอกเลียนแบบเขาอีก...ฮ่า ๆ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 108886เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท