AISP ปัญหาใหญ่ Contract Farmingเอกชนแนะรีบชิงพื้นที่ ‘พืชพลังงาน’ แนวชายแดน


AISP ปัญหาใหญ่ Contract Farmingเอกชนแนะรีบชิงพื้นที่ ‘พืชพลังงาน’ แนวชายแดน
     เอกชนเชื่อ Contract Farming หนุนผู้ประกอบการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเหตุลดภาษีนำเข้า 0% แต่ AISP คือปัญหาใหญ่การค้าชายแดนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ขณะเป้าหมายปลูก”พืชพลังงาน”ต้องรีบลงมือ“จีน-เมเลย์”ลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้วหวั่นเสียพื้นที่เพาะปลูกชายแดนไทย
       
       ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ประจำปี 2549-2551 ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ( Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS)โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังออกประกาศกระทรวงลดภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 สำหรับสินค้าเกษตรภายใต้โครงการ และย้อนหลังไปถึงเดือนสิงหาคม 2549 และครอบคลุมไปถึงเดือนเมษายน 2551 เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นแหล่งวัตถุดิบ ทั้งสินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ยูคาลิปตัส และเร่งดำเนินการปลูกพืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทน คือ ปาล์มน้ำมัน โดยภายในปี 2550 มีกำหนดนำเข้าพืชเป้าหมาย 108,351 ตัน ภายในปี 2551 กำหนดนำเข้า 427,719 ตัน เพื่อให้เกิดการจ้างงานในประเทศเพื่อนบ้านอีกทางหนึ่ง
       
       AISP ปัญหาใหญ่ Contract Farming
       
       ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ประธานสภาธุรกิจ ACMECS กล่าวถึงมติครม.ผ่านมาว่า ภาคเอกชนรู้สึกเป็นห่วงโครงการ Contract Farming เพราะที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เพราะระดับนโยบายยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร หน่วยงานภาครัฐยังไม่ประสานงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกันขณะที่ภาคเอกชนก็ยังมีมุมมองที่แตกต่างออกไปคือการค้าและการลงทุนไปด้วยกันไม่ได้ควรแยกการค้าออกจากการลงทุนเนื่องจากทำพร้อมกันไม่ได้เพราะการค้าจะทำได้เร็วกว่า
       
       “ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องมีมติครม.ให้ลดภาษีนำเข้าให้เหลือ 0% อีกเพราะเป็นที่รับรู้กันในที่ประชุม ACMECS แล้วว่าต้องเหลือ 0% อยู่แล้วแต่ครม.ก็ออกมารับรองอีกครั้งก็ไม่รู้ทำไมต้องออกมารับรองอีก ขณะที่ปัญหาใหญ่อย่างเรื่อง AISP ที่เป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องการค้าชายแดนที่ต้องใช้ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศมีขั้นตอนที่ยุ่งยากโดยต้องมาขอใบรับรองอนุญาตที่เมืองหลวงของประเทศนั้นอีกยังไม่ได้รับการแก้ไข”
       
       ผู้นำเข้าไม่ต้องมี C/O
       
       ขณะที่นิยม ไวยรัชพาณิช ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านมองว่า มองว่าที่ครม.มีมติให้ย้อนหลังคลังลดภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 ถึงเดือนสิงหาคม 2549 และครอบคลุมไปถึงเดือนเมษายน 2551 นั้นจะช่วยผู้ประกอบการรายเล็กและขายสินค้านอกโควต้าจากปีที่แล้วที่ต้องเสียภาษีขาเข้ามา นอกจากแล้วยังให้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าเฉพาะกับสินค้าเกษตรภายใต้โครงการลงทุน Contract Farming โดยไม่จำเป็นต้องมีใบ C/O ทั้งนี้ ทางจังหวัดของไทยจะเป็นผู้ออกเอกสารที่จัดทำขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อประกอบการขอยกเว้นภาษีนำเข้าของไทย โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือรับรองการนำเข้าสินค้า อีกด้วยก็อำนวยความสะดวก
       
       ขณะด้านพืชพลังงานนั้นรัฐบาลจะส่งเสริมให้เพาะปลูก“ปาล์มน้ำมัน”ในประเทศเพื่อบ้านนั้นนั้นก็ต้องทำอย่างมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน มองไปข้างหน้าในระยะยาวเพราะขณะนี้ประเทศจีนและมาเลเซียได้มาลงทุนปลูกพืชดังกล่าวตั้งนานแล้ว ซึ่งหากไทยไม่เร่งตอนนี้ก็จะทันประเทศเหล่านั้น ขณะที่หากส่งเสริมได้จริงก็จะมารับรองการใช้ไบโอดีเซลของไทยได้อนาคตเพราะตอนนี้มีสัดส่วนขยายตัวของผู้ใช้น้ำมันไบโอดีเซลจำนวนมาก
       
       ลดแรงงานอพยพเข้าไทย
       
       “โครงการ Contract Farmingหากบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริงแรงงานตามแนวชายแดนของประเทศไทยจะลดลงอย่างมากเพราะจะถูกผลักดันกลับไปทำงานในประเทศของเขาเองและยังป้องการแรงงานอพยพเข้ามาในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง”นิยม ระบุ
       
       สำหรับพืชเป้าหมาย 10 รายการที่ลดภาษีนำเข้า 0 % คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน ละหุ่ง ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และงา โดยถั่วเหลืองและละหุ่ง เป็นพืชที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ที่ไทยขาดแคลนค่อนข้างมาก ตลอดจนพื้นที่เพาะปลูกในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ถั่วลิสงและลูกเดือยเป็นพืชที่ไทยขาดแคลนเช่นเดียวกันและมีศักยภาพเป็นวัตถุดิบป้อนการผลิตเพื่อส่งออกของไทย ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียว ไทยผลิตได้ค่อนข้างเพียงพอ แต่มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนในอนาคตเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดลง
หมายเลขบันทึก: 108309เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท