CP วาง 4 ยุทธศาสตร์กิบรวบในเอเชียเล็งปั้นพืชสายพันธ์ใหม่ให้“3ประเทศ”ทำ R&D


CP วาง 4 ยุทธศาสตร์กิบรวบในเอเชียเล็งปั้นพืชสายพันธ์ใหม่ให้“3ประเทศ”ทำ R&D
     ซีพีเชื่อปีนี้พืชพลังงานยังมาแรงเร่งศึกษาวิจัยให้มากขึ้น เล็งลงทุนทำ R&D ในประเทศ “เวียดนาม-จีน-อินเดีย”ให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้น ขณะที่ “เจียไต๋” คาดปีนี้ส่งออกยังขยายตัวได้ดี 10-15 % แต่เผชิญปัญหาในประเทศถูกขโมยสายพันธุ์สูญเงินลงทุนปรับปรุงสายพันธ์กว่าปีละ 100 ล้านพร้อมวาง 4 ยุทธศาสตร์กินรวบในทวีปเอเชีย
       
       เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่รู้จักในนาม “ซีพี” ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการเกษตรในประเทศไทย ขณะที่ตัวขับเคลื่อนธุรกิจเมล็ดพันธุ์อย่าง “เจียไต๋ ”ยังเน้นไปที่การส่งออกกว่า 65 % เหมือนเดิมเพื่อคงความเป็นพี่เบิ้มในเวทีไทยและเวทีโลก
       
       เอี่ยม งามดำรงค์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ประธานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร กล่าวว่า นโยบายของกลุ่มพืชในเครือซีพีปีนี้สำหรับงานวิจัยทั้งหมดตั้งงบประมาณไว้กว่า 100 ล้านบาทจะมุ่งไปที่การพัฒนาและวิจัยกลุ่มพืชพลังงานมากขึ้นเช่น ข้าว อ้อย ปาล์ม มันสำปะหลัง และ ข้าวโพด ฯลฯ เห็นได้ชัดเจนว่าปีนี้จะยังมีความต้องการด้านพลังงานจะยังเพิ่มขึ้นทางบริษัทจึงมีนโยบายขยายพื้นที่การเพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้านก่อนอาทิ ในลาว เพราะประเทศลาวมีความพร้อมในพื้นที่และแรงงานขาดแต่เพียงเทคโนโลยีซึ่งทางซีพีจะเข้าไปสนับสนุนให้ดำเนินการได้ต่อไป
       
       โดยบริษัทฯยังได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพดในลักษณะคอนแทรคฟาร์มมิ่งที่บริษัทจะรับประกันซื้อคืนในราคากิโลกรัมละ 5.50 บาทเพื่อป้อนโรงงานอาหารสัตว์ของซีพีในลาว และอีกส่วนจะส่งกลับมาป้อนโรงงานอาหารสัตว์ในไทยได้ด้วย
       
       “บริษัทฯมีแผนงานที่จะลงทุนผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ประเทศจีน เวียดนาม และ อินเดีย โดยมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ดีเพื่อให้มีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการส่งเสริมการเพาะปลูกมาใช้”เอี่ยม ระบุ
       
       ด้านมนัส เจียรวนนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจเมล็ดพันธ์ของบริษัทฯถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเพราะขณะนี้ทั่วโลกให้การยอมรับเมล็ดพันธ์ของบริษัทฯโดยมีสัดส่วนมาร์เกตแชร์ในตลาดรวมในประเทศไทยประมาณ 35 % ประมาณ 1,000 ล้านบาทขณะที่อีก 65 % จะส่งออกไปใน 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ อินโดนีเชีย เวียดนาม พม่า ที่เป็นเพื่อนบ้านมียอดขายที่ดีแต่ตัวเลขรายได้ไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับประเทศกำลังมาแรงมีกำลังซื้อสูงคือประเทศที่อยู่ใน South Asia อย่างประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ประเทศเหล่านี้มีกำลังซื้อสูงมากและถือว่าเป็นตลาดในอนาคตของบริษัท แต่ยังมีคู่แข่งที่น่ากลัว เช่น บริษัท มอนซานโต้ของสหรัฐอเมริกา และบริษัทของประเทศญี่ปุ่น
       
       “ปีนี้การส่งออกน่าจะขยายตัวอยู่ 10-15 % ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจเมล็ดพันธ์ไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมากนัก” มนัส ระบุ
       
       สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจนั้นได้วางไว้ 4 ยุทธศาสตร์ด้วยกันคือ1. ความกว้างของสายพันธ์ 2. ใช้เทคโลยี Bio Technology คือเทคโนโลยีชีภาพในการปรับปรุงพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการต้านทานต่อโรค การเจริญเติบโต การควบคุมรักษาคุณภาพของสายพันธ์ 3. ทำให้เมล็ดพันธ์ที่ออกจากโรงงานไปมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และ ประการสุดท้าย 4 .มุ่งให้เกิดการยอมรับของลูกค้ากว่า 30 ประเทศและขยายลูกค้ามากขึ้น
       
       อย่างไรก็ตามบริษัทเจียยังมีปัญหาที่ต้องตามแก้ไขคือการขโมยสายพันธ์ ซึ่ง “มนัส ”อธิบายว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมากกว่า 100 ล้านบาทที่บริษัทลงทุนการในปรับปรุงสายพันธ์ ของพืชชนิดต่างๆ แล้วเกิดจากการขโมยสายพันธ์ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีพ.ร.บ.หรือออกกฏหมายที่ควบคุมโดยเฉพาะ โดยผู้ที่ขโมยสายพันธ์เหล่านี้กลับมาเป็นคู่แข่งบริษัทฯอีกซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก
       
       “ ที่หลายคนมองว่าบริษัทเจียไต๋คือกลุ่มทุนรายใหญ่ที่ผูกขาดธุรกิจเมล็ดพันธ์นั้นคงไม่ใช่เรื่องจริงยืนยันได้ 100% เพราะในบ้านเราก็มีบริษัทเมล็ดพันธ์เข้ามามากมายไม่ว่าจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป และที่กำลังจเข้ามาอีก จึงเป็นไปไม่ได้ว่าเจียไต๋จะผูกขาดธุรกิจประเภทนี้ได้ ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เจียไต๋ ระบุ

หมายเลขบันทึก: 108307เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท