ออกเดินทางจากอุบล วันที่ 25 มิถุนายน 2550 เวลาประมาณ 9.00.น. โดยเดินทางไปพร้อมกัน 3 คน และระหว่างทาง ได้แวะติดตามผลการปฏิบัติการติดตั้ง Firewall ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมหาสารคาม (ตามที่ได้กล่าวรายละเอียดมาแล้ว) หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยัง ศนจ.ชัยภูมิโดยเดินทางไปถึงเมื่อเวลาประมาณ 16.30 น.
เข้าพบผู้อำนวยการ ศนจ. นายโกศัลย์ ตั้งใจ เพื่อเล่าถึงกิจกรรมที่จะมาดำเนินการพัฒนาบุคลากรที่ ศนจ. ชัยภูมิ
ห้องที่ติดตั้ง Server ตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการ
สภาพพื้นฐานของ ศนจ. ชัยภูมิ ก่อนดำเนินการอบรม
เครื่อง Server ตั้งรวมกันอยู่ในห้องทำงาน โดยตั้งชื่อห้องนี้ว่า ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลและสารสเนทศ กศน.ชัยภูมิ โดยตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และโต๊ะทำงานอื่นๆ ภายในห้องนี้ พร้อมทั้งมีโต๊ะประชุมอยู่กลางห้อง
ดังนั้น ภายในห้องนี้จึงเป็นทั้งห้องทำงาน และห้องเก็บ Server ดังนั้น ถ้าจะเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ตลอด 24 ชั่วโมง จะมีปัญหา การปฏิบัติที่ทำคือ หลังเลิกงาน จะปิดเครื่องปรับอากาศ
อุปกรณ์เครือข่าย และสาย LAN ที่ยังไม่เป็นระเบียบ
อุปกรณ์เครือข่ายอยู่ที่มุมหนึ่งของห้อง ประกอบด้วย ตู้ RAC ขนาดเล็กภายในตู้มี NTU และ Router ส่วนอุปกรณ์อืนๆ เช่น Switch วางอยู่หลังตู้ เครื่อง Server ที่ทำหน้าที่บริการ Internet วางอยู่หน้าตู้ โดยติดตั้งโปรแกรม LINUX เป็นระบบปฏิบัติการการวางอุปกรณ์ต่างๆ ค่อข้างไม่เป็นระเบียบ
การวางเครื่อง Server เหมือนเครื่องใช้งานปกติ ทำให้มีการนำเอาเครื่อง server ไปทำงาน Office
เครื่อง server อีก 3 เครื่องวางเรียงอยู่ที่ผนังห้องโดยมีโต๊ะคอมพิวเตอร์ โต๊ะละ 1 ชุด โดยในจำนวนนี้ ทำเป็นเครื่อง web server จำนวน 1 เครื่อง เป็นเครื่อง FTP Serverจำนวน 1 เครื่อง แต่ไม่ได้เปิดใช้งาน ส่วนอีก 1 เครื่อง ติดตั้ง Windows XP เพื่อนำมาใช้งานเหมือนเครื่อง PC ทั่วไป เช่น ใช้พิมพ์งาน
เครื่อง web server และ FTP Server
การบริการ Internet ภายในหน่วยงาน นอกจากจะบริการภายในอาคารอำนวยการแล้ว ยังมีห้องเรียนคอมพวิเตอร์อีก 1 ห้อง ที่ให้บริการ Internet โดยเชื่อมโยงไปจากเครื่อง Server ที่อาคารอำนวยการ
การเชื่อมโยง Network เดิม จะแยกเครือข่าย ออกเป็น 2 ส่วนคือการต่อเชื่อมกับ Router โดยตรง และ การเชื่อมโยงผ่านเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการเครือข่าย
ส่วนที่ต่อผ่าน Router โดยตรง มีทั้งเครื่อง Server และ เครื่อง PC โดยมีเครื่อง PC จำนวนหนึ่งที่ใช้ IP จริง ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอกโดยตรง และอีกส่วนหนึ่ง ต่อเชื่อมกับเครื่อง Server จำนวน 4 เครื่อง ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน ดังนี้
เครื่องที่ 1 Server เพื่อบริการ Internet เป็นเครื่อง Powel ติดตั้งระบบปฏิบัติการ LINUX เพื่อทำ DHCP และ Sqiud ให้บริการ Internet สำหรับห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และ อาคารอำนวยการ
เครื่องที่ 2 Server เพื่อเผยแพร่ Website ของ ศนจ.ชัยภูมิ โดยติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 2003 และใช้ Apache เป็น web server และติดตั้ง PHPNuke เป็นระบบจัดการ website (web สำเร็จรูป)
เครื่องที่ 3 Server เพื่อติดตั้ง Data base Server ไม่ได้ใช้งาน
เครื่องที่ 4 Server ใช้งาน Office
ส่วนที่ต่อผ่านเครื่อง Server จะเชื่อมต่อสาย LAN (ใช้สายภายนอกอาคาร) เชื่อมต่อไปยังห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยมีคอมพิเตอร์ในห้องเรียนประมาณ 20 เครื่อง
อุปกรณ์ประกอบการฝึกปฏิบัติ
อาจารย์นิกรได้เตรียมอุปกรณ์การอบรมที่จำเป็น เพื่อให้การอบรมครั้งนี้มีอุปกรณ์ใช้อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย Notebook จำนวน 6 เครื่อง PC เพื่อติดตั้ง Firewall จำนวน 1 เครื่อง Switch จำนวน 10 ตัว และอุปกรณ์การเข้าหัว RJ45
การอบรมครั้งนี้ จึงมีอุปกรณ์ครบ เพื่อเป็นการแก้ปัญหารที่ได้พบจากการอบรมครั้งที่แล้ว ที่จังหวัดบบุรีรัมย์ และอุปกรณ์ที่เสริมขึ้นมาคือ เครื่อง LCD Projector ที่เตรียมมาจาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค และอีกประการหนึ่งคือ กล้องบันทึกภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ที่จะช่วยบันทึกขั้นตอนต่างๆ ของการติดตั้ง
ลงทะเบียน เขียนรายงานการเดินทาง
ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านลงชื่อ ลงทะเบียน และเขียนรายงานการเดินทาง
รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม
นายจักรพงษ์ จุลสราญพงษ์
หน่วยงาน ศนจ.หนองคาย
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
หน้าที่ ดูแลเว็บไซต์ ดูแลระบบ
โทรศัพท์ 081592066
อีเมล์ Nknk48@hotmail.com
ชื่อ – นามสกุล นายสำราญ รุ่งเรือง
หน่วยงาน ศนจ.หนองคาย
ตำแหน่ง ครู
หน้าที่ ดูแลระบบ
โทรศัพท์ 0879498395
อีเมล์ sr2507@hotmail.com
ชื่อ – นามสกุล นางสาวิภาณี จันทรังษี
หน่วยงาน ศนจ.อุดรธานี
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
หน้าที่ ดูแลระบบ เว็บไซต์ นักศึกษาปวช.
โทรศัพท์ 0862414205
อีเมล์ Rakoe-7@hotmail.com
ชื่อ – นามสกุล นายณรงค์ชัย รักษาขันธ์
หน่วยงาน ศนจ.สกลนคร
ตำแหน่ง ครูอาสาสมัคร
หน้าที่ งานแผน และงานสารสนเทศ
โทรศัพท์ 0862209399
อีเมล์ aja_2515@hotmail.com
ชื่อ – นามสกุล นายพิพัฒน์พงศ์ บุญแสนแผน
หน่วยงาน ศนจ.หนองบัวลำภู
ตำแหน่ง ครูอาสาสมัคร
หน้าที่ ดูแลระบบ และงานเด็กด้อยโอกาส
โทรศัพท์ 0873032496
อีเมล์ Pipatpong_009@hotmail.com
ชื่อ – นามสกุล นายสมาน มงคลนำ
หน่วยงาน ศนจ.หนองบัวลำภู
ตำแหน่ง ครู
หน้าที่ งานแผน งานพัสดุ ระบบสารสนเทศ
โทรศัพท์ 042378543
อีเมล์ Nblp_nfr74@hotmail.com
ชื่อ – นามสกุล นายบุญรอด แสงสว่าง
หน่วยงาน ศนจ.ชัยภูมิ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์ 5
หน้าที่ งานข้อมูลสารสนเทศ ดูแลระบบ
โทรศัพท์ 0848308711
อีเมล์ boonlod_chai@hotmail.com
นายศรีเชาวน์ วิหคโต
ครู คศ 3
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
srichao@hotmail.com Tel 0868660705
นายนิกร เกษโกมล
ครู คศ 3
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครราชสีมา
ni_g@hotmail.com Tel 0812662554
นายอดิศักดิ์ คำเสียง
ครูปวช.
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ
adisuk.kh@hotmail.com Tel 0898224348
นายวิทยา วิจิตร
จนท. ดูแลระบบสารสนเทศ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์
indochinahub@hotmail.com Tel 0868681713
นายสิทธา นาแพง
จนท. ดูแลระบบสารสนเทศ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Skyline_arrtist@hotmail.com Tel 0896247728
นางแสงจันทร์ เขจรสาสตร์
ครู คศ.2
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Leksk007@hotmail.com Tel 0897180359
ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการอบรม
นายศรีเชาวน์ วิหคโต ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ พร้อมทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมา ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชัยภูมิ นายโกศัลย์ ตั้งใจ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม ซึ่งนายศรีเชาวน์ วิหคโต ได้กล่าวสรุปถึงวัตถุประสงค์ และกระบวนการอบรมที่จะดำเนินการในช่วง 3 วัน ซึ่งผู้อำนวยการ ศนจ.ชัยภูมิ กล่าวต้อนรับ และให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา ICT สำหรับหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนและ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด โดยเน้นถึงสิ่งที่ควรพัฒนา 2 ประการ คือ การพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการวางแผนการพัฒนางาน กศน. และ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงระดับพื้นที่
IPCop คืออะไร
เริ่มต้นเนื้อหาเรื่อง IPCop โดย อาจารย์นิกร เกษโกมล อธิบาย Concept เกี่ยวกับ IPCop ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง โดยเน้นให้เห็นว่า ทำไมจึงต้องติดตั้ง IPCop และ IPCop มีประโยชน์อย่างไร
ออกแบบระบบเครือข่าย
การอบรมครั้งนี้ เพิ่มกิจกรรมการออกแบบเครือข่ายให้มากขึ้น โดยทุกกลุ่มจะต้องออกแบบและเขียนลงกระดาษปรู๊ฟ ติดไว้ที่ผนังเพื่อเอาไว้ดูขณะที่ฝึกปฏิบัติ และขณะเดียวกันก็ต้องคิดถึงระบบจริง ที่หน่วยงานของตนเองด้วย เครือข่ายเดิมเป็นอย่างไร และ เครือข่ายใหม่ที่จะนำไปปรับปรุง จะเป็นอย่างไร
Network เดิม ของ ศนจ. หนองคาย Network ที่ออกแบบใหม่
การฝึกปฏิบัติครั้งนี้ สามารถออกแบบและฝึกปฏิบัติได้ง่าย เพราะมีหมายเลข IP จริงจำนวน 16 หมายเลขให้ฝึกปฏิบัติ ดังนั้น จึงกำหนดหมายเลข IP สำหรับ Red zone และ orange zone ให้แต่ละกลุ่มไปใช้ฝึกปฏิบัติได้ครบ (ต่างกับการฝึกปฏิบัติที่ ศนจ. บุรีรัมย์ที่สามารถใช้ได้เพียง 3 หมายเลข)
เริ่มต้นจาก Layer 7
จากปัญหาของการอบรมกลุ่มที่ 1 ประการหนึ่งคือ ความบกพร่องของการเชื่อมต่อ Network คือ สาย LAN มีปัญหาทำให้เสียเวลากับการตรวจสอบเป็นอย่างมาก ดังนั้นครั้งนี้ จึงเน้นให้ทำความเข้าใจ และฝึกการเข้าหัว RJ45 เพื่อการเชื่อมต่อ ซึ่งถือว่า เป็น Layer ที่ 7 หรือ physical Layer ซึ่งการอบรมครั้งนี้ ได้เตรียมอุปกรณ์คือคีมเข้าหัว RJ45 และ เครื่องตรวจวัดสัญญาณ ซึ่งมีให้ครบทุกกลุ่ม ทุกคนจึงได้ฝึกปฏิบัติอย่างเต็มที่
เรียนรู้การเข้าหัว RJ45 เรื่องง่ายๆ แต่สร้างปัญหาอย่างมาก
กระบวนการอบรมในครั้งนี้ จึงเริ่มต้นจากการจากการให้ความสำคัญกับการสร้างสาย LAN โดยการเข้าหัว RJ45 ให้สามารถใช้การได้ดี เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการทดสอบ LAN Card และพบว่า การฝึกปฏิบัติการเข้าหัว RJ45 มีสายที่ใช้ไม่ได้มาก แต่ก็ช่วยให้กระบวนการขั้นต่อไปไม่ปัญหา และใช้เวลาน้อยลง
ติดตั้ง LAN Card
เครื่องที่ค่อนข้างจะมีปัญหาคือเครื่อง server ของ Powel ที่ติดตั้งค่อนข้างยากสักนิด
กระบวนการคือ จะต้องถอดเอา VGA Card ที่มีในเครื่องออกก่อน เพราะ มี Slot PCI เพียงช่องเดียวที่เสียบ VGA Card เอาไว้ ดังนั้นจะไม่สามารถเสียบ LAN Card ใบที่ 4 ได้ ดังนั้น จะต้องให้มาใช้ VGA On board
ส่วนเครื่อง PC อีก 2 เครื่องที่ใช้ฝึกปฏิบัติ ติดตั้ง LAN Card เรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีฝึกติดตั้ง เพียงแต่แนะนำให้ดูจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้แล้ว
ปัญหาประการต่อมา คือ การ Boot จาก Flopy Disk ค่อนข้างจะมีปัญหา เพราะเครื่องอ่าน ไม่สามาถอ่านได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานมานาน
ติดตั้งโปรแกรม IPCop
เริ่มการติดตั้ง จากการทำแผ่น Boot โดยให้ Boot จาก Floppy disk
ดังนั้น จึงต้องฝึกปฏิบัติการทำแผ่น Boot โดยต้องไปทำจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยมี File ที่ใช้ทำแผ่น Boot อยู่ใน Floppy disk อยู่ในแผ่น CD ที่มีโปรแกรม IPCop
ก่อนการ Boot จากแผ่น Floppy Disk จะต้องเข้าไป set bios ว่ากำหนดระดับในการ Boot โดยเริ่มต้นจาก Floppy disk หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ต้องปรับให้เริ่ม boot จาก Floppy disk เสียก่อน
เริ่มการติดตั้งโปรแกรม IPCop ตามขั้นตอนในเอกสาร
ข้อสังเกต การฝึกปฏิบัติครั้งนี้ ใช้เวลาเร็วขึ้นด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
1 ไม่เสียเวลาในการแก้ปัญหาการตรวจสอบ LAN Card แต่ละใบ และการตรวจสอบการใช้งาน Internet เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสาย LAN
2 วิทยากรมีประสบการณ์มากขึ้น สามารถทราบว่าจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง จึงเตรียมการแก้ไขไว้ก่อน หรือเมื่อเกิดปัญหาก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
ตรวจสอบ LAN Card
วันที่ 2 ของการอบรม 27 มิถุนายน 2550
ครึ่งวันแรก ฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง จนกระทั่งจบกระบวนการติดตั้ง IPCop
ครึ่งวันหลัง สร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Admin กศน.อีสาน
เนื่องจากสภาพปัญหาประการหนึ่งที่พบตลอดเวลาคือ เมื่ออบรมกลับไปแล้วลืม หรือมีเนื้อหาเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ดังนั้น ถ้ามีวิธีการติดต่อสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็จะช่วยได้อย่างมาก
เรียนรู้วิธีการสมัคร แต่ละคนสมัครสมาชิก และเขียนบันทึก
เวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ควรนำมาใช้คือ blog ของ website Gotoknow.org ซึ่งเป็น Website เพื่อจัดการความรู้ ที่ควรนำมาเป็นช่องทางการสื่อสารดังนั้น จึงได้ตั้งชุมชนขึ้นมาชื่อ “Admin กศน. อีสาน” แล้วให้ผู้เข้าอบรมทุกคน สมัครเป็นสมาชิกของ website Gotoknow.org แล้วบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ IPCop หรืออื่นๆ เสร็จแล้ว นำเข้ามารวมกันไว้ใน ชุมชน Admin กศน. อีสาน ซึ่งทุกคน สมัคร และบันทึกเรื่องราวเข้าไปอย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีบางท่านสมัครไว้แล้ว และบางท่านบันทึกได้ 3-4 เรื่อง
การใช้งาน IPCop
หลังจากการติดตั้ง IPCop แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ รู้จักวิธีการ Monitor หรือการใช้งานโปรแกรม IPCop โดยแยกการใช้งานออกเป็น 3 เรื่องคือ
1 การติดตามดูการใช้งาน
2 การกำกับการใช้งาน
3 การรายงานการใช้งาน
วันที่ 3 ของการอบรม วันที่ 28 มิถุนายน 2550
ทบทวนการใช้งาน Blog ของ gotoknow.org
การติดตั้ง Web Template สำหรับ website ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
การติดตั้งระบบ e-Learning
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชัยภูมิ ขอขอบคุณคณะวิทยากรจากศูนย์ฯภาคทุกท่าน ปัญหา/ข้อเสนอแนะที่ท่านแนะนำ ศนจ.จะนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อไปและเชื่อแน่ว่าถ้าเรามีบุคลากรที่ปฏิบัติงานเฉพาะด้านคงจะพัฒนางานสารสนเทศของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ