อนุทิน 95640


กนก
เขียนเมื่อ

มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้นก็คือ ทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็ดูเหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน คือ ตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง

ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ
ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ
ได้มาแล้วก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริงๆ
เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจ ว่ามันจะสูญเสียไป
กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ
บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก
นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริงแต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย
แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู
ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้

และนี้ก็เป็นหนึ่งบทความที่อย่าให้คิดและพิจารณากันดูนะคะ



ความเห็น (1)

อย่าเพิ่งปลงนะจ๊ะ อยู่กับโลกภายนอกก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท