อนุทิน 95175


วิรัตน์ คำศรีจันทร์
เขียนเมื่อ

๑๔๗. โอกาสการใช้คำแสดง 'กตเวทิตาจิต' และ 'มุทิตาจิต'

ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้สิ้นเดือนกันยายน หน่วยงานต่างๆจะมีคนทำงานมานานจนถึงวัยเกษียณ ซึ่งก็เป็นโอกาสที่คนที่อยู่ข้างหลังและหน่วยงาน จะจัดงานให้ เมื่อจัดงาน โดยมากแล้วก็มักจะใช้ชื่องานว่า 'งานแสดงมุทิตาจิต' จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำสืบต่อกันไปเรื่อยๆ อันที่จริงนั้น 'มุทิตาจิต' หมายถึง การน้อมตนแสดงความยืนดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี หากนำมาใช้กับงานเกษียณ และต้องการสื่อความหมายในภาษาธรรม ก็นับว่าถูกต้อง ในธรรมเนียมของงานแซยิดของชาวไทยจีนก็เช่นกัน เป็นการแสดงมุทิตาจิตได้เพราะเป็นงานเฉลิมฉลองวัยที่สามารถมีลูกหลาน เหลน  แต่งานเกษียณแบบธรรมเนียมไทยๆนั้น โดยมากแล้วมักทำเพื่อเป็นโอกาสที่คนรุ่นหลังจะได้แสดงความอาลัยและขอบคุณผู้ทำงานที่ได้อุทิศตนให้กับองค์กร ความอาลัยนั้นตรงกันข้ามกับความยินดีที่จะต้องอำลากัน ดังนั้น จึงควรใช้คำว่างาน 'กตเวทิตาจิต' จะตรงกับเจตนารมณ์ของงานมากกว่า ซึ่งมีความหมายว่าเป็นการขอบคุณ ความเคารพ และขอแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อคุณงามความดีของผู้เกษียณ  



ความเห็น (2)

ความอาลัยนั้นตรงกันข้ามกับความยินดีที่จะต้องอำลากัน ดังนั้น จึงควรใช้คำว่างาน 'กตเวทิตาจิต' จะตรงกับเจตนารมณ์ของงานมากกว่า

ขอบคุณคะ อาจารย์ การพิจารณาอย่างละเอียดถึงรู้ว่ามีสิ่งที่ดีกว่า :-)

ความหมายนี้ต้องเอาไปขยายและขายต่อค่ะ อาจารย์ ขออนุญาตไว้ล่วงหน้าเลยนะคะ อาจารย์ เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ เคยคิดถึงคำนี้ในกรณีนี้มาแล้วเหมือนกันค่ะ แต่คิดไปไม่ถึงคำว่า "กตเวทิตาจิต" ชอบคำนี้มากๆเลยค่ะ เพราะที่คณะแพทย์ฯของเรา จะมีงานสำหรับผู้เกษ๊ยณอายุทุกท่าน ตั้งแต่อาจารย์แพทย์ไปจนถึงคนงาน เห็นว่าแต่ละท่านเราจะให้ความรู้สึกกับท่าน คนละแบบกัน คือมีทั้งที่เราอยากแสดง "มุทิตาจิต" เพียงอย่างเดียว หรือ "กตเวทิตาจิต" เพียงอย่างเดียว หรือบางท่านก็มีความรู้สึกทั้งสองกรณีรวมกัน แบบนี้เราควรจะใช้คำอะไรดีจึงจะเหมาะคะ จะเอามาสมาสกันได้อีกไหมคะอาจารย์ (ชักรู้สึกสงสัยขึ้นมาด้วย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท