อนุทิน 93270


konchaiyaphum
เขียนเมื่อ

กำลังศึกษาหาความรู้ในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ



ความเห็น (3)

วันนี้ได้นำข้อมูลจาก gotoknow มาโพสต์ให้ตัวเองอ่านเพื่อจะได้รู้กับการเขียนบล็อก โดยเฉพาะผู้ที่ชอบใช้ของฟรี พอเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงข้อมูล ดังนี้

หลักการเขียนบล็อก

เมื่อมีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นในบล็อก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันทึก ข้อมูลเจ้าของบล็อก หรือ ลิงค์ต่างๆ ก็ตาม เจ้าของบล็อกควรแก้ไขและแจ้งให้ผู้อ่านทราบโดยทันที เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในบันทึก ควรจะรักษาข้อความเดิมไว้ แต่จะทำการขีดฆ่าข้อความนั้นเสีย (โดยกดปุ่ม ABC ที่มีขีดกลางทับ ที่แผงเครื่องมือการเขียนบันทึก) แล้วแสดงข้อความใหม่ตามข้อความเดิมนั้นๆห้ามลบทิ้งบันทึกที่เขียนไว้แล้วเด็ดขาด เพราะลิงค์ที่อยู่ของบันทึกจะถูกลบออกไปด้วย และหากมีผู้อื่นอ้างอิงงานเขียนชิ้นนี้อยู่บ้างแล้ว ก็จะไม่สามารถคลิ๊กมายังลิงค์นั้นๆได้ แต่หากเจ้าของบล็อกมีบันทึกที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการใช้งาน ก็ควรทำการลบบันทึกประเภทนี้ออก ไม่ควรลบข้อคิดเห็นของผู้อ่าน ยกเว้นเป็นข้อคิดเห็นที่ไม่สุภาพสร้างความปั่นป่วนหรือเป็น spam ไม่ควรเขียนอ้างอิงถึงข้อพิพาทความไม่ลงรอยใดๆ กับผู้อื่น เจ้าของบล็อกที่เขียนเกี่ยวเนื่องกับองค์กรที่ทำงาน ไม่ควรเขียนบันทึกใดๆ ที่เป็นการละเมิดสัญญาจ้างงาน เจ้าของบล็อกควรนำเสนอและแยกแยะประเด็นระหว่าง ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อความโฆษณา ให้ผู้อ่านได้เข้าใจอย่างถูกต้อง

ห้ามนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ หากไม่เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นที่ผู้อ่านเสนอมาในบล็อก เจ้าของบล็อกก็ควรแสดงข้อคิดเห็นตอบกลับโดยความเคารพในข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยไม่นำมาเป็นเรื่องส่วนตัว เมื่อมีการใช้ข้อความบางส่วน ภาพ เสียง และสื่อมัตติมีเดียจากแหล่งข้อมูลอื่น ควรอ้างอิงแหล่งที่มาและลิงค์ที่อยู่อย่างชัดเจน และไม่ควรใช้ข้อความทั้งหมดทั้งหมดจากแหล่งอื่นมาใส่ในบันทึก ควรเน้นคุณภาพงานเขียนของทุกบันทึก เช่น ตรวจสอบการสะกดคำก่อนตีพิมพ์บันทึกนั้นๆ ลงในบล็อก ควรเขียนบันทึกอย่างรอบคอบและถูกต้อง ควรตอบอีเมลและข้อคิดเห็นที่ได้รับจากผู้อ่านอย่างเหมาะสมและโดยทันที ควรเขียนบล็อกเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง

พจนานุกรมพระพุทธธรรม บาลี - ไทย - อังกฤษ

THE PALI - THAI - ENGLISH DICTIONARY OF BUDDHIST TERMS

พระขีณาสพ น. มาจากคำคุณศัพท์ว่า ขีณาสวะ แปลว่า ผู้สิ้นกิเลสอาสวะ ไทยใช้เป็นนาม พระอรหันต์; พระผู้สิ้นอาสวะ ผู้สิ้นอาสวะ คือสิ้นกิเลสที่ดองสันดาน ;

n. Arahat ; passionless one; one whose intoxicants of passion have been

exhausted; One whose mind is free from mental obsessions.

ขีระ น. น้ำนม ; นม. n. milk.

ขุททกนิกาย น. หมวดเบ็ดเตร็จ ชื่อของหมวดที่ 5 แห่งพระสุตตันตปิฏก.

n. miscellaneous section, name of the fifth section of Suttantapitaka; smaller collection

ขุททกปาฐ น. หมวดเบ็ดเตล็ด. n. shorter texts.

ขุททกะ ว. เล็กน้อย ; เบ็ดเตล็ด. a. small ; miscellaneous.

ขุททกาปิติ น. ความตื่นเต้นเล็กน้อย. n. hoof of an animal.

ขุปปิปาสา น. ความหิวความกระหาย. n. hunger and thirst.

ขุรธารา น. ใบมีดโกน. n. blade of a razor.

ขุระ น. มีดโกน; ของแข็ง . n. razor.

เขต น. นา; ผืนดิน ; ที่อันสมควร ; แคว้น. n. field ; suitable place.

เขทะ น. ความยากลำบาก ; ความเดือดร้อน ; ความคับแค้น. n. distress.

เขมจิต น. อ่าน เขมะจิต จัดเป็นมงคลข้อหนึ่ง ในมงคลสูตร จิตที่ปลอดโปร่งจากกิเลสมาร; ไม่มีกิเลส. n. though clear of defilements or impurities.

เขมะ ว. เกษม ; ; ปลอดภัย ; สงบ ; สบายใจ. a. safe ; clear ; peaceful.

เขฬมัลลกะ น. กะโถน ; ที่ทิ้งน้ำมูกน้ำลาย. n. spittoon ; cuspidor.

เขฬะ น. น้ำลาย. n. saliva.

โขมพัสตร์ น. ผ้าเปลือกไม้ . n. linen cloth.

คงคา แม่น้ำ ; คงคา อินเดีย ; ท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น. n. river ; Ganges.

คณนา น. การนับ ; การคำนวณ . n. counting.

คณปูรกะ ว. ผู้ทำให้เต็มคณะ ทำให้ครบองค์ประชุม.

a. one who completes the quorum.

คณะ น. ประชุม ; หมู่ ; กลุ่ม ทางวินัย คณะ หมายถึงพระภิกษุ 2 หรือ 3 รูป ถ้าถึง 4 รูป หรือมากกว่านั้น ก็เป็นสงฆ์ แต่โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มคน จำนวนมากได้ บางทีหมายถึง หมู่.

n. denomination ; group; crowd ; company; according to the code of discipline the word “gana” means “a chapter of two or three monks,” while the word “sangha” means “a chapter of four or more than four monks.” เรียกว่า คณณะ ก็ได้

คณะสงฆ์ n. the monastic order.

คณะสังฆมนตรี น. หมู่สงฆ์ที่อยู่ในการปกครอง. n. Ecal. cabinet.

คณาจารย์ (พระ) อาจารย์แห่งหมู่ . n. Crowd’s Teacher.

คณาจารย์ตรี n. Crowd’s Teacher, third grade.

คณาจารย์โท n. Crowd’s Teacher, second grade.

คณาจารย์เอก n. Crowd’s Teacher, first grade.

คณาธิการ น. ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการบริหารคณะสงฆ์ มี 2 ประเภท กล่าวคือ พระคณาธิการส่วนกลาง ; พระคณาธิการส่วนภูมิภาค ; ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองสงฆ์หมู่มาก. n. ecclesiastical officials.

คณาธิการส่วนกลาง น. สังฆมนตรีและเลขานุการ สังฆมนตรี.

n. there are two ranks of Central Ecclesiastical Officials, namely, Ecclesiastical Minister and Secretary to the Ecclesiastical Minister.

คณาธิการส่วนภูมิภาค น. มีอยู่ 8 ตำแหน่ง กล่าวคือ (1) เจ้าคณะตรวจการ (2) เลขานุการเจ้าคณะตรวจการ (3) เลขานุการสงฆ์จังหวัด (4) เลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัด (5) กรรมการสงฆ์อำเภอ (6) เลขานุการคณะกรรมการสงฆ์อำเภอ (7) เจ้าคณะตำบล (8) เจ้าอาวาส, รองเจ้าอาวาส, ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ; ผู้ช่วยเหลือเจ้าอาวาส.

n. there are altogether eight ranks of the Local Ecclesiastical Officials ; namely, (1) Ecclesiastical Inspecting Official, (2) Secretary to the Ecclesiastical Inspecting Official, (3) Province Ecclesiastical Official, (4) Secretary to the Board of Province Ecclesiastical Officials, (5) District Ecclesiastical Official (6) Secretary to the Board of District Ecclesiastical Officials, (7) Ecclesiastical chief of village, (8) the Abbot, the Deputy Abbot and the Assistant Abbot.

คดีธรรม น. เรื่องเกี่ยวกับธรรมะ เมื่อเทียบกับคดีโลก ; ทางธรรม.

n. spiritual matter ; spiritual side.

คดีโลก น. เรื่องที่เกี่ยวกับทางโลก เมื่อเทียบคดีธรรม ; ทางโลก.

n. worldly matter ; worldly side.

คติ น. การไป ; ทางไป ; หลัก ; คำสอนใจ. n. going ; principle.

คติมันตุ ว. มีคติ มีหลักในการจำ อันเป็นคุณสมบัติพิเศษของพระอานนท์

คนธรรพ์,คันธัพพะ น. สัตว์ที่จะเกิด ; นักดนตรี ; เทพบุตรนักดนตรี ; บริวารท้าวธตรฐ ชำนาญการร้องและดนตรี.

n. being ready to take a new existence ; a heavenly musician.

ครองจีวร ก. นุ่งห่มผ้าสำหรับพระภิกษุสามเณร ; เอาจีวรห่มคลุมร่าง.

v. wear the yellow or orche robes.

ครองไตร ก. นุ่มห่มผ้า 3 ผืน เป็นชุดสำหรับพระภิกษุ ; นุ่งห่มไตรจีวร.

v. wear the three yellow robes.

ครองผ้า ก. นุ่งห่มผ้า กริยานุ่งห่มผ้าของพระ v. wear the yellow , robes.

ครุ น. ครู ; อาจารย์ n. teacher. ว. หนัก ; ควรเคารพ ; ผู้สั่งสอน.

a. heavy ; honourable.

คฤหบดี,คหบดี น. พ่อเจ้าเรือน ; ผู้ครองเรือน ; ผู้มีฐานะดี.

n. master of the house .

คฤหัสถ์ น. ผู้ครองเรือน : ผู้อยู่ในเรือน ; ผู้ไม่ใช่นักบวช.

n. householder ; one who leads the life of a layman, layman.

ความโกรธ น. ขุ่นเคือง ตรงกับภาษาบาลีว่า โกธะ ใช้เป็นไวพจน์กับ โทสะ

n. hatred.

ความชั่ว น. บาป ; อกุศล ; ความเลว. n. demerit ; bad action.

ความดี น. กุศล : กัลยาณตา ; สาธุตา ; ความงาม. n. merit ; good action.

ความทุกข์ น. ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ; ความเศร้า.

n. suffering ; pain.

ความปรารถนา น. อิจฉา ; ความต้องการ ; อยากได้.

อิจฉา ในภาษาบาลีได้หมายความว่า ริษยา

n. wish ; will ; longing. ความพอใจ น. ฉันทะ. n. impulse.

ความมักน้อย น. ต้องการเพียงเล็กน้อย ; อัปปิจฉตา คู่กับ มหิจฉตา หรือมักมาก

n. desiring little.

ความมักมาก น. ความละโมบ ; มหิจฉตา คู่กับอัปปิจฉตา หรือ มักน้อย

n. greediness ; avarice.

ความยินดี น. โสมนัส ; รติ ; ความปรีดา. n. pleasure.

ความยินร้าย น. ไม่พอใจ ; เสียใจ ; โทมนัส; ความไม่ชอบ. n. sorrow ; melancholy; grief.

ความริษยา น. อิสสา ; ความหึง ; ความทนอยู่ไม่ได้เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตัว.

n. jealousy.

ความลังเลสงสัย น. วิจิกิจฉา ; กังขา ; ความลังเล. n. doubt.

ความโลภ น. ความอยากได้ ภาษาบาลีใช้ โลภะ n. greed.

ความสันโดษ น. ความยินดีด้วยของของตน ; ความยินดีที่จะพึงได้โดยชอบธรรม ; ความพอใจเท่าที่มีและฐานะแห่งตน. n. contentment.

ความสุข ความสบายกายสบายใจ ; ผาสุก ; ความสุขสดชื่น n. happiness.

ความหลง น. เข้าใจผิด ; หลงผิด. ภาษาบาลีใช้ โมหะ n. delusion ความอดทน น. ขันติ n. patience ; forbearance.

คันถธุระ น. ธุรการศึกษาตำรา ธุรการศึกษาพระปริยัติธรรม คู่กับวิปัสสนาธุระ หรือ ธุระในวิปัสสนา กล่าวคือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง.

n. burden of studying Scriptures (cf. vipassanadhura – the burden of practice for spiritual insight or the obligation of introspection), the burden of the books.

คันถะ น. เครื่องผูกมัด ; ตำรา ; ตำรับตำรา. n. bond ; text.

คันธะ น. กลิ่น ; สิ่งที่มีกลิ่น. n. odour ; smell; odourous smell.

คัพภะ,ครรภ์ น. ห้อง ; ท้อง. n. inner chamber ; womb.

คัมภีระ ว. ลึกซึ้ง, ตำรับตำรา. a. deep ; profound.

น. ไทยมักใช้ว่า ตำรา n. scripture ; canon, text.

คาถา น. คำฉันท์ ; คำฉันท์ที่ครบ 4 บาท เรียกว่า 1 คาถา ; คำเสกเป่า.

n. verse ; stanza.

คาม น. หมู่บ้าน ; บ้าน. n. village ; a hamlet.

คามวาสี ว. (ภิกษุ) ผู้อยู่ใกล้บ้าน แสดงประเภทของภิกษุที่คู่กับอรัญญวาสี ผู้อยู่ป่า ; คณะสงฆ์ฝ่ายธุระ. a. villager ; monk who dwells near a village

( the forest dweller); town monk .

คามิ น. บทสวดมนต์ในชินโต n. kami.

คารวะ น. ความเคารพ ; ความนอบน้อม. n. respect ; reverence ; esteem ; attention.

คิริ น. ภูเขา ; เขา n. mountain.

คิลานปัจจัย น. ปัจจัยสำหรับผู้เป็นไข้ ; ยารักษาโรค ; ยา.

n. requiste for the sick ; medicine.

คิลานภัต น. อาหารสำหรับคนไข้ ; อาหารคนไข้. n. food for the sick.

คิลานเภสัช น. ยา n. medicine.

คิลานุปัฏฐาก ว. ผู้พยาบาลคนไข้. a. one who attends the sick ; nurse.

คิลานุปัฏฐานะ น. พยาบาลคนไข้. n. tending or nursing the sick.

คิหิ น. ผู้ครองเรือน ; คฤหัสถ์. n. householder.

คิหิปฏิบัติ น. ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ครองเรือน ; ข้อปฏิบัติของชาวบ้าน.

n. conduct or practice for layman.

คีตะ น. ร้องเพลง ; การร้องเพลง ; เพลงขับ. n. song ; singing.

คีติ น. ขับร้อง ; สวด โดยใช้คำฉันท์ n. reciting.

คุกเข่า น. นั่งลงด้วยส้นเท้า. n. sit in one’s heels.

คุณ น. ลักษณะ ; ส่วนที่ดีงาม ; ความดี. n. quality.

คุณพิเศษหรือวิเศษ น. มีความดีโดยเฉพาะ. n. specific attainment.

คุถะ,คูถ น. อุจจาระ ; ขี้ ; มูล n. dung ; excrement.

คุรุ น. ครู ; ผู้สอน. n. teacher. ว. หนัก ; ควรแก่การเคารพ.

a. heavy ; venerable.

คุหา น. ถ้ำ ; n. cave ; cavern.

คูถภาณี ว. ผู้พูดเหม็น ; พูดไม่ดี ; พูดไม่เพราะ. a. of foul speech.

คู่สวด น. ภิกษุ 2 รูป ผู้สวดประกาศพร้อมกัน ในสังฆกรรม มีกรรมวาจาจารณ์และพระสาวนาจารย์ n. two reciters.

เคยยะ น. คำสอนที่ร้อยกรอง คือบทกวี เป็นคำสอน 9 ลักษณะ ในทางพุทธศาสนา.

n. poetic style of Buddhist teaching.

เคสัญญะ น. ความเป็นไข้ ; ความป่วยไข้ ; ความป่วย. n. sickness ; illness.

เคหสิตะ ว. อาศัยเรือน ; อันเนื่องด้วยชีวิตในครอบครัว.

a. connected with a house or family.

เคหะ น. เรือน ; ที่อยู่อาศัย ; เคหา. n. dwelling place.

โคจร น. ที่ที่รับรู้ ; ที่สัมผัสทางใจ. n. sense – object.

โคจรคาม น. หมู่บ้านสถานที่เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ; หมู่บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ.n. place of resort for alms.

โคจรรูป น. รูปที่เป็นอารมณ์ วิสัยของตา หู, จมูก, ลิ้น หรือ กาย ; รูป 5 อย่าง ที่เห็นได้ด้วยตา, ฟังได้ด้วยหู, ดมได้ด้วยจมูก, ลิ้นได้ด้วยลิ้น, และถูกต้องได้ด้วยกาย ; ดินแดนรับรู้ของอินทรีย์.

n. sense – object form ; odorous; testable and tangible ; sense – fields.

โคชีพ น. ผู้ยังชีพด้วยวัว n. One who lives on meat.

โคตร น. สกุล ; เหล่ากอ, เหง้า หรือโคตรเหง้า,

n. clan ; ancestry ; family.

โคตรภู ว. บุคคลผู้อยู่กึ่งกลางระหว่างปถุชนกับพระอริยเจ้า ; อยู่ในญาณซึ่งลำดับอริยมรรค.a. one who is between the state of the worldly one and that of the noble one.

โคตรภูญาณ น. ความรู้ที่กำลังพ้นเขตของปุถุชน กำลังย่างขึ้นสู่เขตของพระอริยเจ้า, เป็นปัญญาในลำดับอริยมรรค.

n. (the) semi – becoming insight.

โคตรภูสงฆ์ น. สงฆ์ในลักษณะพันทางเป็นสงฆ์ก็ไม่สมบูรณ์ จะเป็นคฤหัสถ์ ยังมีเครื่องหมายของความเป็นสงฆ์อยู่บ้าง สงฆ์ที่มีความประพฤติไม่สมควรแก่สมณสารูป, สงฆ์ที่ไม่เคร่งหรือห่างธรรมวินัย. n. semi – monk.

โคบาล น. คนเลี้ยงโค ; ผู้รักษาแผ่นดิน. n. cowherd.

โคมต น. ผู้ฆ่าวัว, คนฆ่าวัว n. (a) butcher.

โคมัย น. มูลของโค n. cow – dung.

ฆนสัญญา น. กำหนดหมายว่าเป็นก้อน หรือเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มองแบบแยกให้เห็นเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ทำให้มีความยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน ยากที่จะเห็นเป็นของมิใช่ตัวตนได้, ความเข้าใจว่าเป็นก้อน. n. idea of massiveness.

ฆระ น. เรือน ; บ้าน ; เท่ากับคฤห. n. house, dwelling place.

ฆราวาส น. ครองเรือน ; ชีวิตการครองเรือน ; ผู้ไม่ใช่นักบวช.

n. (the) household life.

ฆานทวาร น. ประตูคือจมูก. n. (the) nose – door.

ฆานวิญญาณ น. ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก การที่ได้กลิ่น.

n. nose – consciousness.

ฆานะ น. จมูก, มักพูดว่าฆานประสาท n. nose.

ฆานินทรีย์ น. อินทรีย์ คือ จมูก ; สิ่งที่เป็นใหญ่ในการดมกลิ่นหรือจมูก.

n. (the) nose – faculty.

ฆาสัจฉาทนะ น. อาหารและเครื่องนุ่มห่ม. n. food and clothing ; necessaries.

โฆรวิสะ ว. มีพิษร้าย ; งูพิษ a. having terrible poison ; awful.

โฆษณา,โฆสนา น. ประกาศ ; ป่าวร้อง ; การแจ้งให้ทราบ ; การแจ้งความให้ทราบ. n. announcement ; information.

โฆสะ น. เสียง ; ตะโกน ; เปล่งถ้อยคำ ; การประกาศ ; เสียงสนั่น.

n. sound ; shout; utterance ; proclamation.

โฆสัปปมาณิกา ว. ผู้ถือชื่อเสียงเป็นประมาณ ; ผู้ติดในความมีชื่อเสียง.

a. attatching to reputation ; those attatched to reputation.

จงกรม ก. เดินกลับไปกลับมา มีสติเป็นตัวกำหนดอารมณ์ให้จิตสงบ ; เดินไปมาเพื่อสงบ v. walk up and down ; walking to and fro.

จตุราบาย น. อบาย 4 ; แหล่งที่ตกต่ำ 4 โดยมีนรกและกำเนิดดิรัจฉาน.

n. four states of loss and woe.

จตุราริยสัจจ์ น. อริยสัจจ์ 4 ประการ. n. Four Noble Truths.

จมูก n. nose. จรณะ น. เดิน ; ; เท้า ; ความประพฤติ ; ทางที่ประพฤติ.

n. walking about the foot ; behaviour.

จริต น. ความประพฤติ ; ประวัติ เช่น พุทธจริต หรือพุทธประวัติ ; พื้นเพของจิต.

n. behaviour ; conduct ; life ; intrinsic nature.

จริยา น. ความประพฤติ ; จรรยา. n. behaviour ; conduct.

จริยาปิฏก น. คัมภีร์ เกี่ยวกับอดีตประวัติของพระพุทธเจ้า.

n. scripture regarding previous lives of the Buddha.

จริยาพระคณาธิการ น. คุณธรรมของพระคณาธิการ

n. discipline of ecclesiastical officials.

จลจิต,จลจิตต์ ว. มีจิตหวั่นไหว ; มีจิตไม่มั่นคง ; มีจิตกลับกลอก.

a. having a fickle thought or mind.

จลศรัทธา น. ศรัทธา ; ความเชื่อที่ยังหวั่นไหว อาจเปลี่ยนแปลงได้,

ยังไม่มั่น. n. unsteady belief.

จักขุ, จักษุ น. ตา n. eye.

จักขุทวาร น. ประตู คือ ตา ; ช่องตา. n. (the) eye – door.

จักขุธาตุ น. ธาตุ คือ ตา. n. element of vision ; (the) eye – element.

จักขุนทรีย์ น. อินทรีย์ คือ ตา ; สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเห็น คือ ตาหรือ

ดวงตา. n. faculty of vision eye – faculty.

จักขุปถะ น. คลองแห่งจักษุ ; ขอบเขตแห่งการเห็นก็ได้ n. range of vision.จักขุวิญญาณ น. รู้แจ้ง(อารมณ์)ทางตา. n. consciousness through eye ;

visual consciousness.

จักรพรรดิ น. มาจากคำว่า จกฺกวตฺติ ในภาษาบาลี ส่วนจกฺรวรฺตินฺ ในภาษาสันสกฤต พระเจ้าจักรพรรดิ ; ผู้ทำล้อรถศึกให้หมุน

พระแห่งโลก-ผู้ครองโลก. n. universal monarch.

จักรรัตน์ น. มาจากบาลี จกฺกรตน, จากสันสกฤต จกฺรตฺน

n. jewel wheel .

จักรวาล น. มาจากบาลี จกฺกวาฬ, จากสันสกฤต จกฺรวาล หรือ

จกฺรวาฑ วงกลมแห่งโลก ; ระบบสุริยะ ; ดวงดาวทั้งมวล.

n. solar system.

จัณฑาล คนจัณฑาล ; คนนอกวรรณะ ; คนชาติต่ำ ; คนพันทาง. An outcaste.จันทน์ น. ไม้จันทร์ n. sandal – wood tree.

จันทร์ น. มาจากบาลี จนฺท, จากสันสกฤต จนฺทฺร ดวงจันทร์ ; . n. moon.

จันทิมา น.ดวงจันทร์ ; จันทร์. n. (the) moon.

จาค,จาคะ น. สละ ; ให้ทาน ; เสียสละ.

n. abandoning charity ; sacrifice ; generosity.

จาตุททสี น. ดิถีที่ 14 ค่ำ แห่งปักษ์หนึ่งๆ n. (the) 14 th day of a fortnight.

จาตุทิศ ว. มาจากทิศทั้ง 4 ; เนื่องด้วยทิศทั้ง 4.

a. belonging to four directions.

จาตุมหาราช น. ท้าวมหาราชทั้ง 4; เทพที่รักษาทิศทั้ง 4.

n. four guardian gods ; (the) four guardian deitles.

จาตุรงคสันนิบาต น. ประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 เป็นคำขยายวันมาฆบูชา, ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม ถ้าเดือนแปดมีสองหนเป็นเดือน 4.

n. union of four factors.

จาตุรังคิกะ ว. ประกอบด้วยองค์ 4. a. consisting of four component parts.จาริก น. ผู้เดินไป ; จารึกก็ว่า n.wayfarer.

จารีต น. มาจากบาลี จาริตฺต, จากสันสกฤต จาริตฺร ประเพณี ; ความประพฤติสืบต่อกันมา ; บางทีเขียนว่า จารีตร. n. traditional conduct.

จารึก น. สลักตัวอักษร. n. inscribe, engrave.

จารุ ว. งาม ; น่าชอบใจ ; ทองคำ. a. beautiful ; charming ; pleasant ; golden.

จำนำพรรษา . ชื่อของผ้าที่ถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ประจำในวัดตลอด 3 เดือนฤดูฝน.

n. name of the cloth to be offered to the monks who dwell permanently in the wat throughout the three months of rainy season.

จำพรรษา ก. อยู่ประจำในวัดตลอด 3 เดือน ฤดูฝน เมื่ออยู่เรียก

เข้าพรรษา เลิกอยู่เรียกว่า ออกพรรษา. v. stay permanently in the wat throughout the three months of rainy season.

จำเลย น. ภิกษุผู้ถูกฟ้องในคณะวินัยธร เพียงแต่ถูกกล่าวโทษ ยังมิได้ฟ้องยังคณะวินัยธร เรียก ผู้ต้องหา หมายถึงผู้ถูกฟ้อง. n. defendant.

จำวัด ก. นอน ใช้เฉพาะเป็นกิริยาของพระภิกษุสามเณร ;

นอนหลับ. v. sleep (used only for Buddhist monks or novices).

จิต,จิตต์ น. สภาพที่คิดนึก ; ธรรมชาติที่คู่กับกาย, ความรู้สึกนึกคิด.

n. thought ; mind.

จิตตกัมมัญญตา น. ความที่จิตควรแก่การงาน.

n. workableness of thought.

จิตตนิยาม น. ความรับรู้ทางจิต. n. psychic order.

จิตตปาคุญญตา

น. ความคล่องแคล่วแห่งจิต ; ความสามารถทางจิต.

n. adroitness of thought. จิตตมุทุตา

น. ความอ่อนสลวยแห่งจิต ; ตรงกันข้ามกับคำริษยา. n. solfness of thought.

จิตตลหุตา น. ความเบาแห่งจิต ; ความเบาบางทางจิต n. buoyancy of thought.

จิตตวิสุทธิ

น. ความหมดจดแห่งจิต ,จิตบริสุทธิ์. n. purity of mind.

จิตตสังขาร น. สังขารของจิต. n. mental function.

จิตตุชุกตา น. ความซื่อตรงแห่งจิต ; จิตที่ซื่อตรง. n. rectitude of thought.

จิรกาล น. กาลนาม ; ครั้งกระโน้น. n. (a) long time.

จีวร น. ผ้าสำหรับพระภิกษุสามเณร ; เครื่องนุ่มห่มของพระและสามเณร.

n. yellow robe of a Buddhist monk or novice ; (the) saffron robe.

จีวรกรรม น. ทำจีวร. n. robe – making.

จีวรการ ว. ผู้ทำจีวร. a. robe – maker.

จีวรกาล น. สมัย หรือ กาล เพื่อทำจีวร; ฤดูถวายจีวร.

n. time for robe – making.

จีวรทาน น. ถวายจีวร. n. donation of robes.

จุณณ์,จุรณ น. มาจากบาลี จุณฺณ, มาจากสันสกฤต จูรฺณ ผงแป้ง ; ผงดิน

ทาตัวแล้วขัดสีเหมือนสบู่ก่อนอาบน้ำ ; ของที่ป่น. n. soap – powder.

จุติปฏิสนธิ น. เคลื่อนและถือกำเนิด ; ตายและเกิด. n. death and birth.จุตูปปาตญาณ น. ญาณ คือ ความรู้ ถึงการจุติ กล่าวคือ เคลื่อนจากฐานะหรือความตาย และความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ทิพยจักษุญาณ ; ญาณหยั่งรู้.

n. clairvoyance.

จูไก น. เป็นศัพท์จีน – ญี่ปุ่น รับศีล หรือให้ศีล. n. jukai.

เจตนา น. ความจงใจ ; ความตั้งใจ ; ความมุ่งหมาย.

n. intention ; volition.

เจตสิก ว. ธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุอันเดียวกับจิต ; อาการของจิต ; ที่เนื่องด้วยจิต ; อารมณ์ทางใจ.

a. mental activities; deliverance.

เจตสิกทุกข์ น. ทุกข์ทางใจ , โทมนัส. n. mental suffering or pain.

เจโตปริยญาณ

น. ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น n. mind – reading insight or wisdom ; telepathy.

เจโตวิมุติ น หลุดพ้นด้วยกำลังสมาธิ ; หลุดพ้นด้วยอำนาจทางใจ.n. emancipation through power of concentration; liberation by concentration.

คำอธิบายในอังคุตตรนิกาย ชื่อว่าเจโตวิมุติ ละราคะ ปัญญา

วิมุติ ละอวิชชา ; คู่กับปัญญาวิมุติ.

เจโตวิวัฏฏะ น. หยุดหมุนเวียนเนื่องมาแต่สมาธิ อรหัตตผลที่บุคคลบรรลุมีสมาธิเป็นกำลังสำคัญ ดังเรียกเจโตวิมุติ.

n. “devolution through mind”

เจริญพระพุทธมนต์ น. เพลงสวด n. holy stanzas.

เจ้ากู ส. สรรพนาม เรียกพระ ใช้ต่อหน้าและลับหลัง ด้วยความเคารพ สมัยโบราณจึงคล้ายกับคำว่า “ท่าน” พระคุณเจ้า วรรณคดีไทยบางเรื่อง เช่น ลิลิตพระลอ มีคำว่า “เจ้ากู” หมายถึง กษัตริย์ หรือ”พระบาทเจ้ากูมา” และ “ธิราชเจ้ากูเสวย” ใช้พูดกับเจ้านาย.

pron. You or he in speaking respectfully to sovereign or of the monk.

เจ้าคณะ น. ภิกษุมีอำนาจหน้าที่ปกครอง ตั้งแต่ชั้นเจ้าคณะอำเภอขึ้นไป จนถึงเจ้าคณะตรวจการ ; เจ้าคณะของพระใหญ่เท่านายอำเภอ ส่วนเจ้าคณะจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการ (ในแง่เปรียบเทียบ)

n. Ecclesiastical Provincial Governor.

เจ้าคณะจังหวัด น. ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้บริหารการคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครองในจังหวัด เทียบกับผู้ว่าราชการจังหวัด.

n. Ecclesiastical Province Governor.

เจ้าคณะตรวจการ น. ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปกครองในเขตภาค เทียบด้วยผู้ว่าราชการภาค n. Ecclesiastical Inspecting Official.

เจ้าคณะตรวจการภาคที่1 n. Ecclesiastical Inspecting Official for First Region.

เจ้าคณะตรวจการภาคที่2 n. Ecclesiastical Inspecting Official for Second Region.

เจ้าคณะตำบล น. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าในตำบล เทียบกับกำนัน.

n. Ecclesiastical Chief of Village.

เจ้าคณะอำเภอ น. ภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์ในเขตอำเภอ เทียบกับนายอำเภอก็ได้. n. Ecclesiastical District officer.

เจ้าคุณ น. คำเรียกภิกษุผู้ได้รับสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะ เป็นคำเรียกที่ไม่เป็นทางการ ทางราชการใช้ พระ นำหน้าราชทินนามอีกต่อหนึ่ง

n. title used in speaking to or of monk of high rank unofficially ; the right venerable.

เจ้าภาพ น. ผู้จัดการการให้ทาน. n. chief donor.

เจ้าอธิการ น. เจ้าอาวาส ผู้ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลด้วย เขียนชื่อใช้คำว่า “เจ้าอธิการ” นำหน้าชื่อ เป็นเจ้าอาวาสธรรมดา ใช้คำว่า “พระอธิการ” นำหน้าชื่อ เป็นเจ้าวัดก็เป็นเจ้าคณะภาค

n. abbot , who is also Ecclesiastical Chief of Village.

เจ้าอาวาส น. ภิกษุได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ในวัด ปกครองดูแลภิกษุสามเณร และศาสนสมบัติของวัดนั้น ; สมภาร.

n. abbot.

ในกรณีภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส มิดำรงตำแหน่งอื่นที่สูง มิได้รับสมณศักดิ์ใด ๆ ใช้คำว่า พระอธิการ นำหน้าชื่อ อาทิ เช่น พระอธิการมีบุญ หากเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบล ยังไม่มีสมณศักดิ์อื่น ใช้คำ เจ้าอธิการ นำหน้าชื่อ ดังเช่น เจ้าอธิการมีบุญ เพื่อให้แตกต่างว่าการใช้ชื่อของภิกษุธรรมดาทั่วไป ที่ใช้ว่า พระภิกษุในการนำหน้าชื่อ เจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอขึ้นไป ได้รับสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูขึ้นไป เมื่อลงนามจึงไม่ใช้คำว่า เจ้าอธิการ ใช้นามสมณศักดิ์ด้วย.

เจิม น. เสริม, เพิ่ม.

n. anoint. แจกัน น. ที่บรรจุดอกไม้. n. vase.

แจง น. ชื่อของสังคายนา ครั้งที่ 1 มักใช้กับคำต่อท้าย เช่น เทศน์แจง เทศน์เรื่องการสังคายนาครั้งที่ 1 สวดแจง สวดข้อความภาษาบาลีเป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม อันเป็นผลของการเรียบเรียงคราวสังคายนาครั้งที่ 1 เรียกกันว่า เทศน์แจง.

n. name of rehearsal or chanting especially in the First Council of Buddhism.

โจทก์ น. ผู้ฟ้อง ; ผู้ท้วง ; ผู้ตำหนิ ใช้คู่กับคำว่าจำเลย.

n. a plaintiff ; one who complains.

โจทนา น. กล่าวหา. n. accuse.

โจบุทสุ น. ศัพท์ญี่ปุ่น แปลว่า กลายเป็นพระพุทธเจ้า. n. jobutsu.

โจร น. ผู้ร้าย ; ผู้ขโมย, ผู้ปล้น. n. thief ; robber ; bandit.

โจรฆาตกะ ว. ผู้ที่ฆ่าโจร. a. executioner of robbers.

โจริกิ น. อำนาจในการนั่งสมาธิ เป็นศัพท์จีนและญี่ปุ่น. n. joriki.

ใจ น. หัวใจ,จิตใจ,ใจ, จิต. n. mind, heart.

ฉกษัตริย์ น. กษัตริย์ 6 พระองค์ ; ชื่อของกัณฑ์ หรือข้อความตอนสำคัญตอนหนึ่ง ในเวสสันดรชาดก , ตอนสำคัญของเวสสันดร.

n. name of a chapter in Vessantara Jataka.

ฉกามเพจรสวรรค์ น. ความยินดีหกชั้น n. six heavens of sensual pleasures.

ฉชั้น,ฉ้อชั้น น. หกชั้น ; มีด้วยกันหกชั้น. n. six stories ; six stages.

มักใช้ในบทกวี ดังเช่น ลิลิตตะเพงพ่าย เป็นต้น.

ฉทวาร น. ประตูทั้ง 6 คือ ตา,หู, จมูก,ลิ้น, กาย,ใจ; เปรียบดังประตู ทั้ง 6.

n. six doors ; six outlets of the senses : eye, ear, nose, tongue, body and mind.

ฉทานศาลา หรือฉ้อทานศาลา น. ศาลาสำหรับให้ทาน 6 แห่ง ; โรงทาน 6 แห่ง.

n. six alms – halls.

หนังสือจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี เรื่อง ปฏิสังขรณ์และฉลองวัดพระเชตุพน ใช้ “โรงฉ้อทาน” เช่นกัน

ฉมา น. แผ่นดิน . n. earth ; ground.

ฉลอง ก. สมโภชน์ v. celebrate.

ฉวะ น. ทรากศพ ไทยแปลง ฉ เป็น ศ, แปลง ว เป็น พ, ฉว กลายเป็นศพ ; ซากศพ. n. corpse ; dead body .

ฉฬภิญญา , ฉฬภิญญ น. อภิญญา ความรู้ยิ่ง 6 ประการ มีการแสดงฤทธิ์ได้ ทำอาสวะให้สิ้น คือ กิเลสที่ดองสันดานให้หมดเป็นข้องสุดท้าย ผู้ได้อภิญญาหก.n. six kinds of higher knowledge, the knowledge to perform magic power is

the first and the knowledge to do away with all intoxicants of passion is the last ; one who possesses the six fold knowledge.

ฉัตร น. ร่มทั่วไป ร่มสำหรับกษัตริย์กันแดดและฝน ; กลด.

n. umbrella ; parasol ; royal canopy.

ฉัน ส.ข้าพเจ้า ; ผม pron. I.

ฉันท์ น. คำฉันท์ ; ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง ; วิธีวางครุลหุในแบบต่างๆ

n. verse ; stanza ; poem, metrics.

ฉันทลักษณ์,ฉันทลักษณะ น. ตำราใช้แต่งฉันท์ ; ลักษณะแห่งฉันท์. n. prosody ; science of versification.

ฉันทสัมปทา น. ถึงพร้อมแห่งฉันท์. n. possession of will.

ฉันทะ น. ความพึงใจ. n. preference ; impulse.

ฉันทาคติ น. ความลำเอียงเพราะชอบ; ความลำเอียง

n. prejudice because of preference or love.

ฉัพพัณณรังสี น. รัศมี 6 สี. n. ray of six colours.

ฉายา น. เงา. n. shadow.

เฉวียง ก. ทแยง ; ตะแคง ; เฉียง.

v. arrange the upper robe over one shoulder.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท