อนุทิน 93269


สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

เทคโนโลยีสารสนเทสมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้อย่างไร



ความเห็น (9)

เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้โดยเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการ จัดการความรู้ในองค์การให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้กับการจัดการความรู้ เช่น

- ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(Document and Content Management Systems)

- ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร(Search Engines)

- ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

- ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO Conference)

- การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย(e-Broadcasting)

- การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย(Web Board หรือ e-Discussion)

- ซอฟแวร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม(Groupware)

- บล็อก(Blog หรือ Weblog) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์ ผ่านพื้นที่เสมือน(Cyber Space)

1. Collaborative Computing Tools: เครืองมือสนับสนุนการทำงานร่วมกัน หรือกรุ๊ปแวร์(Groupware) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดความรู้โดยนัย(Tacit Knowledge) ภายในองค์การ เช่น Lotus Notes/Domino, PlaceWare เป็นต้น

2. Knowledge Service: ประกอบด้วยซอฟแวร์หลักสำหรับการจัดการความรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บความรู้และการเข้าถึงความรู้ สารสนเทศ และข้อมูลต่างๆ

3. Enterprise Knowledge Portals (EKP): เป็นประตูสู่ระบบจัดการความรู้ขององค์การ ซึ่งเว็บศูนย์รวมของการจัดการความรู้(Knowledge Portals)ส่วนใหญ่จะบูรณาการความรู้ กลไกการรายงาน และการทำงานร่วมกัน ในขณะที่การจัดการเอกสารและความรู้จะได้รับการดำเนินการด้วยเซิร์ฟเวอร์

4. Electronic Document Management Systems (EDM): เป็นระบบที่มุ่งการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เน้นการทำงานร่วมกัน สนับสนุนการเข้าถึงเอกสารต่างๆ ผ่านทางเว็บเบราเซอร์ทางเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์การ ระบบ EDM ช่วยให้การจัดการเอกสารและกระแสงาน(Wordflow) สามารถทำได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังสนับสนุนการสร้างและการแก้ไขปรับปรุงเอกสารร่วมกัน

5. Knowledge Harvesting Tools: เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการจับความรู้โดยนัย เนื่องจากยอมให้ผู้ที่ให้ความรู้(Knowledge Contributor) มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย (หรือไม่มีเลย) ในการพยายามเก็บเกี่ยวความรู้นั้น

6. Search Engines: ทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ เช่น การค้นหาและดึงเอกสารที่ต้องการมาจากแหล่งเก็บเอกสารขนาดใหญ่ขององค์การ

7. Knowledge Management Suites (KMS): เป็นโซลูชั่นการจัดการความรู้แบบครบชุดที่รวมเทคโนโลยีการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการจัดเก็บ(Storage)ในชุดเดียวกัน(A Single Convenient Package) ซึ่งสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลภายในและแหล่งความรู้จากภายนอกได้

ICT เป็นเครื่องมือที่ช่วยเอื้อต่อการจัดการความรุู้ เป็นทั้งแหล่งเก็บรวบรวมความรู้ และสามารถค้นค้น มีพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความรู้กันได้ตลอดเวลา  ลดอุปสรรคในเรื่องของเวลาเราไม่จำเป็นต้องมานั่งคุยกันตลอดก็ได้  แต่สามารถใช้พื้นที่ในระบบ ICT เข้ามาแทน ทุกคนรู้ข่าวที่ใหม่ๆเหมือนกัน  สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้จาก web http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/  มีเรื่องของการทำ cop ในแต่ละแผนกเห็นนวตกรรมเยอะแยะเลยค่ะ

Dropbox คืออะไร?Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถ เรียกใช้ ไฟล์งานต่างๆ ของคุณ ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่แห่งไหน ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook, PC หรือ มือถือ คุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานของคุณได้อย่างง่ายดาย และตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลด แก้ไข ไฟล์ใดๆ ใน Folder ของ Dropbox

Dropbox ดีอย่างไร?Dropbox มีข้อดีต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานของคุณสะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้

ทำให้ตรงกัน (Synchronize)

Dropbox จะทำไฟล์ใน Folder Dropbox ให้ ‘ตรงกันเสมอ’ (Synchronize) โดยมีพื้นที่ฟรีให้มากถึง 2GB และใช้ได้ทั้งบน Windows, Mac, Linux, มือถือ และ Web-based. ไม่ว่าไฟล์ๆ นั้น จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด Dropbox จะรู้และ Update ให้กับเครื่องอื่นๆ อัตโนมัติทันที

แบ่งปันไฟล์ (File Sharing)

แชร์โฟลเดอร์ต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ เพื่อให้ ‘ทำงานร่วมกันได้’ (Collaboration) นอกจากนี้ ยังสร้าง Public Link ให้ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย

สำรองข้อมูล (Online Backup)

Dropbox ทำให้คุณหมดห่วงเรื่อง สำรองข้อมูล เพราะ Dropbox ทำให้คุณอย่างอัตโนมัติโดยคุณไม่ต้องกังวลใดๆ เลย

เข้าผ่านเว็บไซต์ (Web Access)

ไฟล์อีกชุดนึง จะเก็บไว้บน Internet เพื่อให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ ที่ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ และมีความปลอดภัยสูง

http://www.mapleday.com/dropbox-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/

มีVDO ให้ดูด้วยค่ะ

Google Docs Realtime Collaboration!

By admin On April 5, 2011 · Leave a Comment ....ความสามารถที่แทบจะเป็น Killer Feature ของ Google Apps อยู่ที่ Feature Realtime Collaboration ใน Application ที่มีชื่อว่า Google Docs ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้แต่ละคน สามารถทำงานร่วมกันได้แบบพร้อมๆ กัน… หากคุณนึกไม่ออก ลองชมตัวอย่าง VDO ข้างล่างนี้ได้เลยครับ

นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง collaboration ที่น่าสนใจค่ะ ลองตามดูค่ะ

http://www.mapleday.com/google-docs-realtime-collaboration/

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จองค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วย

• เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต

• เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology)

ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรค์ในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

• เทคโนโลยีในการจัดเก็บ(Storage technology)

ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือ Enterprise knowledge portal

ตอบ นะค่ะ (เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ดังนี้)

หากไม่มีเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วข้อมูลต่างๆ จะจัดเก็บกันในรูปแบบไหน และความยากง่ายในการค้นหาและดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้จะเป็นอย่างไร องค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่นห้างสรรพสินค้านำข้อมูลการขายมาวิเคราะห์และสร้างเป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับลูกค้าและรายการสินค้าทำให้รู้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าประเภทไหน ปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ สินค้าแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ห้างสรรพสินค้านั้นก็สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ในปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และการดำเนินการเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้การนำเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศยังสามารถช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) เทคโนโลยีช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าเทคโนโลยีจึงเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้

อย่างไรก็ตามการเน้นเฉพาะที่เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตโดยปราศจากความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรแล้ว การดำเนินการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงานไม่เข้าใจและสนใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้แล้วก็อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Support Systems) หรือเรียกโดยย่อว่า (IT Support Systems) หมายถึง ระบบที่นำมาใช้ในการสนับสนุนสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด[1]

เนื้อหา [ซ่อน]

1 ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

2 แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1 ระบบสารสนเทศ (Information System) (IS)

2.2 ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System)

2.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS)

2.4 ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)

2.5 ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา (Legacy System)

2.6 ระบบวิสาหกิจ (Enterprise System)

3 ส่วนประกอบอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.1 Service-oriented architecture (SOA)

3.2 โปรแกรมประยุกต์ใช้งานตามภารกิจเฉพาะ (software-as-a-service : SaaS)

3.3 วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง (Virtualization)

3.4 กลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร (Knowledge Workers)

4 กิจกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

5 ลักษณะเด่นของระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

6 ดูเพิ่ม

7 อ้างอิง

ICT in KM

การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลสารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้หรือนวัตกรรมและจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูล ที่สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่ก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

โดยสรุปแล้วการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงเป็นวิธีการหรือกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและองค์กร โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้จำแนกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวของและมีบทบาทในการจัดการความรูออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ ตหรืออินเทอร์เน็ต

2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีที่นํามาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นไอซีทีจึงมีบทบาทสําคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทําให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Transfer) ทําได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งไอซีทียังช่วยให้การนําเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ ทําได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไอซีทียังช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าไอซีทีเป็น เครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้

สภาพปัจจุบันกับการนำICTมาใช้ในการจัดการความรู้

•1 . ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน

•2 . การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

•3 . การประชุมทางไกลระบบจอภาพ

•4 . ระบบฐานข้อมูลการศึกษา

•5 . ระบบสารสนเทศเอกสาร

สรุปเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ มีบทบาทในการจัดการความรูออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสรเทศสามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการความรู้ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียนการสอน การจัดการกับองค์กร ซึ่งใช้ได้ทั้งกับหน่วยงานเอกชน และรัฐบาล และในปัจจุบัน ไอซีที ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถพบเจอกับเทคโนโลยีต่างๆได้

อ้างอิง

สมชาย นําประเสริฐชัย. (2549) เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.kmi.or.th/document/Tech_KM.pdf

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547) การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. กรุงเทพฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท