อนุทิน 92340


สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ??



ความเห็น (5)

เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ดังนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สมชาย นําประเสริฐชัย (2549) ได้จำแนกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ ตหรืออินเทอร์เน็ต

2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technology)

ช่วยให้สามารถประสานการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology)

ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นํามาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นไอซีทีจึงมีบทบาทสําคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทําให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Transfer) ทําได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งไอซีทียังช่วยให้การนําเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ ทําได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไอซีทียังช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าไอซีทีเป็น เครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้

แหล่งอ้างอิง : ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การจัดการความรู้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ในองค์การให้เป็นความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ในเวลาและ

รูปแบบที่บุคคลนั้นต้องการ เรียกว่าระบบบริหารความรู้ องค์ประกอบของระบบบริหารความรู้ ได้แก่

1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บสารสนเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง

ๆ รวมถึงการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ External knowledge,

Structured/Information internal knowledge 2) แพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน การมีระบบ

และฐานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันได้ สนับสนุนการทำงานร่วมกัน 3)ระบบเครือข่าย

โครงสร้างพื้นฐานเช่นระบบเครือข่ายช่วยสนับสนุนการสื่อสารและการสนทนา 4)วัฒนธรรม เช่นวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกันซอฟแวร์ที่ใช้ในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่สามารถนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในรูปต่าง ๆ มาจัดระบบระเบียบ

และสามารถใช้ได้เมื่อต้องการเน้นที่การนำซอฟแวร์มาช่วยในการดำเนินการ เช่น โปรแกรม

Microsoft office 2000 ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยผ่านรูปแบบ XML (Extensible Markup

Language) เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน บริษัท Lotus เสนอโปรแกรม Lotus Notes เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกันใน

องค์กร และระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) โดยทุกบริษัทต้องการพัฒนาระบบข้อมูล

ขององค์กร (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547, หน้า 78-79) ดังนี้

1. Personal Knowledge Management เป็นการบริหารความรู้เพื่อใช้ในงานตามความสนใจ

ของแต่ละบุคคล เช่น โปรแกรม Knowledge Work ของ Microsoft

2. Enterprise Knowledge Management เป็นการบริหารความรู้เพื่อการใช้งานขององค์กร

โดยรวม เช่น โปรแกรม Workdraw

นอกจากนี้ซอฟแวร์หรือโปรแกรมการจัดการความรู้ที่เป็นผลิตภัณฑ์โปรแกรมการจัดการ

ความรู้มีมากกว่า 70 แห่งในท้องตลาด ได้แก่ Dataware Knowledge Management, Knowledge

Insight, KnowledgeMail, WebProject, Livelink, Message, TeamTool เป็นต้น

อ้างอิง:www.google.co.th

บทความทางวิชาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

*บงกช ลิมปะพันธุ์

ในยุคที่สารสนเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องราวต่างๆ ได้ขององค์กรได้ เนื่องจากสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปลี่ยนรูปจากสารสนเทศให้มาอยู่ในรูปแบบของความรู้แทน ในเมื่อความรู้และสารสนเทศมีความแตกต่างกันดังนั้น การจัดการความรู้ (Knowledge management หรือ KM) จึงแตกต่างจากการจัดการสารสนเทศ (Information Management) และมีความซับซ้อนกว่ามาก อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ก็ยังจำเป็นที่ต้องนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินการและเป็นเครื่องมือสำคัญในการในระบบจัดการความรู้

การจัดการความรู้เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยอาจนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยการดำเนินการนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มก็ได้ บทความนี้ ขอนำเสนอแนวความคิดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ในองค์กรต่างๆ เพื่อเป็นแนวคิดให้กับองค์กรที่กำลังพัฒนาศักยภาพของตนเองในการแข่งขันด้วยการนำระบบการจัดการความรู้มาใช้

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องที่ไกลตัว หลายองค์กรอาจเคยประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาบ้างแล้วเช่นเมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือพนักงานที่ใช้ความรู้และทักษะพิเศษในการทำงานลาออกหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ องค์กรก็จะประสบปัญหาในการทำงานทันทีและไม่สามารถหาพนักงานคนอื่นหรือสิ่งใดมาทำงานทดแทนได้เมื่อความรู้ขององค์กรแต่ละองค์กรนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นนิยามของคำว่าการจัดการความรู้ของแต่ละบุคคลและองค์กรจึงแตกต่างกันด้วย เช่น การจัดการความรู้หมายถึงการจัดการสารสนเทศและความรู้ที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญหรือทรัพย์สินที่เป็นนามธรรม (Intangible asset) ที่องค์กรต้องการใช้เป็นส่วนสำคัญสำหรับสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งผ่านกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการจัดการความรู้ในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ที่ผ่านมานั้นการจัดการความรู้ไม่ได้มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการและการจัดการความรู้ส่วนใหญ่มาจากการเรียนรู้จากประสบการณ์

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นมีการจำแนกที่แตกต่างกันเช่น Demarest ได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็น การสร้างความรู้ (Knowledge construction) การเก็บรวบรวมความรู้ (knowledge embodiment) การกระจายความรู้ไปใช้ (knowledge dissemination) และการนำความรู้ไปใช้ (use) ในขณะที่ Turban และคณะนำเสนอ กระบวนการจัดการความรู้เป็นลำดับวงกลม ประกอบด้วยการสร้าง (create) การจับและเก็บ (Capture and store) การเลือกหรือกรอง (Refine) การกระจาย (Distribute) การใช้ (Use) และการติดตาม/ตรวจสอบ (Monitor) ดังรูปที่ 2 ส่วนProbst และคณะได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็นการกำหนดความรู้ที่ต้องการ (knowledge identification) การจัดหาความรู้ที่ต้องการ (knowledge acquisition) การสร้างพัฒนาความรู้ใหม่ (knowledge development) การถ่ายทอดความรู้ (knowledge transfer) การจัดเก็บความรู้ (knowledge storing) การนำความรู้มาใช้ (knowledge utilization)และกำหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Mesh ที่แต่ละกระบวนการมีความสัมพันธ์กัน หากสรุปแล้วกระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้ การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอดและการนำความรู้ไปใช้งานอย่างไรก็ตามกระบวนการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินการและองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายประการเช่นลักษณะและงานขององค์กร โครงสร้างองค์กร และ เทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้นองค์กรแต่ละองค์จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างของกระบวนการจัดการความรู้เฉพาะขององค์กรเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)

- เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต

- เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

- เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือEnterprise knowledge portal

ปัญหาการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากแหล่งข้อมูลหรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับผู้อื่น ดังนั้นปัญหาเทคโนโลยีในเรื่องของการเรียนรู้ไม่ใช่เกิดจากปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปันความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ทำให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งทำให้ความรู้นั้นเพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เช่นความกังวลว่าตัวเองจะลดบทบาทและความสำคัญลงหลังจากที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น องค์กรจำเป็นต้องมีมาตรการและนโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การกระจายความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งของบุคลากรและองค์กรเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยใน การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ดังที่ Walsham [2001] กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คำตอบที่แก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์และความเชื่อใจของบุคลากรได้ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการคามรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งจะนำไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั่นเอง

แหล่งอ้างอิง : บทความทางวิชาการ

นางสาวบงกช ลิมปะพันธุ์

ลองมาดูกรณีตัวอย่างกันบ้างนะค่ะ กรณีศึกษาบทที่13 : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กับการจัดการความรู้ 1. เป้าหมายในการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไรจงอธิบาย? เป้าหมายคือให้การบริการที่ดีเลิศแก่ลูกค้า โดยสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและต้องการพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์การ ยุทธศาสตร์ของบริษัทคือการเป็นผู้นำทางด้านการให้บริการที่เป็นเลิศ แต่ถ้าบุคลาการในบริษัทขาดความรู้ในด้านที่ตนเองรับผิดชอบส่งผลให้บริษัทขาดศักยภาพในการดำเนินงาน เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงทางด้านต่างๆ ที่รับผิดชอบโดยการสร้างแหล่งความรู้ที่ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้มีความสามารถที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์การ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก (Blog หรือ Web log) จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร? เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทต่อการจัดการความรู้ คือ KM web E-card E-book E-Learning E-mail ในส่วนของบล็อก (Blog หรือ Web log) เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบกราณ์ ผ่านพื้นที่เสมือน (Cyber Space) โดยผู้ที่สนใจจะเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ตลอดจนประสบกราณ์จะสามารถเผยแพร่เนื้อหาและข้อความผ่านทางบล็อกได้ ขณะเดียวกันนั้นผู้ที่เข้าไปอ่านเนื้อหาและข้อความภายในบล็อกนั้นก็สามารถออกความคิดเห็นต่างๆ ได้เช่นกัน จึงทำให้หลายๆ คนนั้นสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้สึกนึกคิด รวมไปถึงความรู้ต่างๆ ผ่านทางบล็อกก็ได้

การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท