อนุทิน 91133


สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

สาขาการจัดการความรู้ รุ่นที่ 4 รหัส 54  ได้เข้าร่วมการจัดการความรู้ ในเว็บ go to Know.org เพื่อแบ่งปันความรู้เรื่องการจัดการความรู้ โดยเน้นเนื้อหา การเรียนการสอนและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้



ความเห็น (13)

อยากให้อธิบายถึงการจัดการความรู้นะคะ

การจัดการความรู้: การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด [วิจารณ์ พานิช]

การจัดการความรู้: การบริหารจัดการองค์กรโดยเน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของคนทำงาน รวมทั้งสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่องค์กรให้แข่งขันได้ในอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อการดำรวอยู่ขององค์กรและชีวิตและครอบครัวของพนักงานร่วมกัน [ณพศิษฎ์จักพิทักษ์]

KM is interdisciplinary business model that has knowledge within the framework of an organization and its focus. [Awad, M. E. &Ghaziri, M. H.]

KM is the process of capturing a company’s collective expertise wherever it reside-in data bases, on paper, or in people’s head – and distributing it to wherever it can help produce the biggest payoff. [Hibbard]

KM is getting the right knowledge to the right people at the right time so they can make the best decision. [Petrash]

ทำไมเราถึงต้องมีการจัดการความรู้ แล้วเราจะเริ่มต้นในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้อย่างไร

ทำไมต้องจัดการความรู้..

ความรู้ในองค์กร หรือความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากรขององค์กร หากไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ความรู้นั้นก็จะไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพนักงานผู้เชี่ยวชาญงาน มีความรู้เรื่องระบบการทำงานของแผนกเป็นอย่างดีลาออกหรือปลดเกษียณไปองค์กรจะทำอย่างไรจึงจะสามารถ

นำความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นออกมาถ่ายทอดให้แก่พนักงานใหม่ที่มารับหน้าที่แทนให้สามารถสานต่องาน

ในตำแหน่งนั้นได้อย่างราบรื่น หรือเมื่อองค์กรส่งพนักงานไปเข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมการสัมมนาต่าง ๆ ความรู้ที่พนักงานได้รับมานั้นสามารถนำมาถ่ายทอดสู่ผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากองค์กรไม่มีกระบวนการจัดการความรู้ที่ดี องค์กรจะไม่สามารถนำความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจาย หรืออยู่ที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การทำงานสะดุดติดขัดในขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้ หรือการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ

ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากไม่มีการแบ่งปัน หรือการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

ในทางตรงกันข้ามหากความรู้จำเป็นสำหรับการทำงานถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เมื่อพนักงานลาออกไป พนักงานใหม่เข้ามาแทนจะได้รับการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและสามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว

หรือความรู้ที่พนักงานได้จากการเข้ารับการอบรม หรือสัมมนา ก็มีการนำมาถ่ายทอดให้ผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมเกิดความรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกับผู้เข้ารับการอบรม โดยกระบวนการในการจัดการความรู้

แต่การจัดการความรู้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้ที่ถูกถ่ายทอดนำความรู้จากผู้ถ่ายทอดนั้นมาปฏิบัติจริง

ผู้ที่ไปอบรม-----ถ่ายทอดให้----> ผู้ไม่ได้ไป -----เอาความรู้มาประยุกษ์ใช้กับงาน----->เกิดองค์ความรู้ใหม่

ถึงเรียกว่าKMโดยสมบูรณ์ (KMแท้) เกิดประโยชน์

การจัดการความรู้คืออะไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

1. บรรลุเป้าหมายของงาน

2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่

(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้

(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ

(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม

(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ

(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ

(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา

งาน พัฒนางาน

คน พัฒนาคน

องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้

ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย

สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว

การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ

การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง

การจัดการระบบการจัดการความรู้

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป

http://www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&biw=1259&bih=552&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87&rlz=1W1MOOI_en&oq=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87&aq=f&aqi=g2&aql=&gs_sm=e&gs_upl=2642797l2653390l0l2653937l24l20l0l7l7l0l328l3281l0.3.9.1l13

ในองค์กรทำการจัดการความรู้เนื่องจาก คนในองค์กรมีองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่ทำงานมา ไม่ต่ำกว่า 10 ปีเป็นส่วนใหญ่และประมาณ 5ปีข้างหน้าจะมีการเกษียรอายุราชการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดการความรู้คนในองค์กรเพื่อให้ความรู้จากคนที่มีประสบการณ์ยังคงอยู่ในองค์กร

ทำไมต้องมีการจัดการความรู้:เพื่อให้องค์กรทำงานอย่างมีระบบและให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นและองค์กรมีการวางแผน จัดระเบียบ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลต่อองค์กรมากที่สุด

ทำไมเราถึงต้องมีการจัดการความรู้ แล้วเราจะเริ่มต้นในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้อย่างไร

ตอบนะค่ะ ^^

สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548) ได้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า KM (Knowledge Management) ว่าเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช (2548) ได้เสริมว่าการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในขณะที่ปณิตา พ้นภัย (2544) ให้ความหมายของการจัดการความรู้ ว่าหมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลสารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้หรือนวัตกรรมและจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูล ที่สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่ก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

โดยสรุปแล้วการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงเป็นวิธีการหรือกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและองค์กร โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้แนวคิดเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงถูกนำมาใช้ในหน่วยงานราชการแทบทุกแห่งเพื่อให้สามารถพัฒนา แข่งขันและดำรงองค์กรให้อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน (สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต, 2546) แผนงานที่หลากหลายด้านการจัดการความรู้ถูกกำหนดขึ้นในหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งการฝึกอบรมแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการจัดการความรู้ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้เกิดการจัดเก็บความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร ซึ่งหลายหน่วยงานก็ประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่ตั้งไว้ สามารถพัฒนาตนเองสู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ดำเนินการไปตามแบบแฟชั่น ไม่ใช่การจัดการความรู้ในรูปแบบที่จะก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดำเนินการจัดการความรู้แบบหลอกๆ ไม่จริงจัง หรือทำจริงจังแต่หลงทาง (วิจารณ์ พานิช, 2548) ทำให้การจัดการความรู้ในหน่วยงานล้มเหลว

จากการรวบรวมและศึกษาขั้นตอนของการจัดการความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้กำหนดไว้ สามารถสรุปออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1) การกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ (Knowledge Identification)

คือ การกำหนดนิยามของสิ่งที่องค์กรต้องการให้บุคลากรเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ นโยบาย ภารกิจ ค่านิยมและเป้าหมายต่างๆ ขององค์กร เช่น การระบุขอบข่ายงาน การนิยามขีดความสามารถและคุณลักษณะของแต่ละตำแหน่งงาน เป็นต้น

2) การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)

คือ การนำเอาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่มีอยู่ภายในและภายนอกองค์กร มากลั่นกรองและนำมาสร้างคุณค่า เช่น การสอนงาน การฝึกอบรม การสัมมนา การประชุม การแสดงผลงาน ระบบพี่เลี้ยง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและการลงมือปฏิบัติ การดำเนินการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ขององค์กร

3) การสร้างความรู้ (Knowledge Creation)

คือ การสร้างสรรค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล โดยผ่านการผลักดัน การหยั่งรู้และเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ซึ่งทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่ๆ เช่น การคิดค้นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ โดยแบ่งความรู้เป็น 3 ประการ ดังนี้

3.1) ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge)

คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานและอยู่ในตัวคน เป็นความรู้ที่จับต้องไม่ได้หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เช่น ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร ความรู้ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กร ความสัมพันธ์ของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งความรู้โดยนัยนี้เป็นความรู้ที่สำคัญที่สุดที่ควรดำเนินการให้เกิดการแพร่กระจายในองค์กร เพื่อสร้างความรู้ใหม่อันจะเพิ่มมูลค่าและคุณค่าแก่ประเทศได้

3.2) ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

คือ ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงจากความรู้โดยนัยและความรู้ที่อยู่โดยรอบมาเป็น สื่อ ตำรา หรือเอกสารอื่นๆ ที่สามารถจับต้องได้

3.3) ความรู้ที่ฝังตัวอยู่ในองค์กร (Embedded Knowledge)

คือ ความรู้ที่อยู่ในองค์กร เป็นความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจนในกระบวนการผลิตและ/หรือการบริการ ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรด้วย

4) การจัดเก็บและสืบค้นความรู้ (Knowledge Storage & Retrieval)

คือ การจัดเก็บความรู้ไว้เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเข้ามาสืบค้นได้ตามความต้องการ โดยต้องคำนึงถึงวิธีการเก็บรักษา ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องเก็บรักษาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ไว้อย่างดีที่สุด ในการจัดเก็บนั้นสามารถบันทึกเป็นฐานข้อมูลหรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนได้

5) การถ่ายโอนความรู้และใช้ประโยชน์ (Knowledge Transfer & Utilization) คือ การกระจายความรู้และถ่ายทอดไปอย่างรวดเร็วและเหมาะสมทั่วทั้งองค์กร เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

แหล่งอ้างอิง : ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.

ประสบการณ์การจัดการความรู้ในภาคราชการ :กรณีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *

ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ * *

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เคยกล่าวชมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ไว้ว่า ได้มีการจัดการความรู้ (knowledge management, KM) ที่ทำกันเองตามธรรมชาติมานานแล้ว อาจเรียกได้ว่าการจัดการความรู้ในระยะดังกล่าว อยู่ใน phase ศูนย์ แต่คณะแพทยศาสตร์ได้มาเริ่มดำเนินการเรื่อง KM อย่างเป็นระบบเมื่อ พ.ศ.2545 นี่เอง โดยการจัดการความรู้ใน phase ที่หนึ่ง (2545 – พฤษภาคม 2547) นั้น อาศัยกลไกของ “คณะกรรมการบริหารพัฒนาบุคลากรและจัดการความรู้” เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน โดยใน phase แรกนี้ได้เริ่มต้นจากการทำความกระจ่างในเรื่อง KM เพื่อให้คนในคณะได้เข้าใจ KM ตรงกันเสียก่อน ซึ่งได้ใช้ทั้งวิธี outside-in และ inside-out ในช่วงต้นคณะกรรมการใช้การสื่อสารผ่าน website ของคณะเป็นหลัก ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการสื่อสารหลายช่องทางคือ ใช้ทั้งการพูดคุย (ในการประชุม, ในการบริหารโดยการเดินเยี่ยมหน่วยงาน) ผ่านทางกระดาษ (สาร Knowledge sharing – Getting better practice) และทาง website พร้อมกับจัดให้มีกิจกรรม “วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง” หรือ “Knowledge Sharing Day” ขึ้น และกิจกรรม “โครงการขอความรู้จากผู้ลาจาก ฝากไว้ให้คณะ” เพื่อให้บุคลากรของคณะที่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของรัฐบาลได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานไว้ให้กับหน่วยงานของคณะก่อนเกษียณ

ใน phase ที่สองของการจัดการความรู้ (เริ่มจากมิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน) คณะแพทยศาสตร์ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่เรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้” โดยมีคณบดีเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้มีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน และได้สรุปว่าในช่วง 2 ปี (2547-2549) นี้ จะใช้ “DISCO” model เป็นแนวทางในการจัดการความรู้ คือ มี day of sharing knowledge (จะจัดให้มีกิจกรรม “วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง” ปีละ 3 ครั้ง และมีการสื่อสารผ่านทาง KM News ทุก ๆ 3 เดือน), individual learning of knowledge (จัดให้มี e-learning ที่บุคลากรของคณะสามารถเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ในเรื่องที่คณะกำหนดไว้), switching tacit to explicit knowledge (จัดให้มีการเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในบุคลากรออกมาเป็นความรู้แจ้งชัด โดยผ่านกลไกของชุมชนนักปฏิบัติหรือ Community of Practice ซึ่งใน 2 ปีนี้ คณะกำหนดไว้ว่าจะให้มี CoP ขึ้น 5 กลุ่ม), continuity management of knowledge (เป็นกิจกรรมที่สืบต่อมาจากโครงการขอความรู้จากผู้ลาจากฝากไว้ให้คณะ แต่จะดำเนินการเป็นระยะ ๆ โดยไม่ต้องรอให้บุคลากรคนนั้นเกษียณหรือลาออก) และ organise knowledge (เป็นการจัดความรู้ขององค์กรให้เป็นระบบและเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการสืบค้น รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านของบุคลากรในคณะ) ทั้งนี้ คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้กำหนด key performance indicators (KPIs) ของคณะกรรมการชุดนี้เอาไว้แล้ว ซึ่งคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคณะกรรมการชุดนี้เป็นอย่างยิ่งที่จะบริหารจัดการเรื่อง KM ของคณะแพทยศาสตร์ มอ. ให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

แหล่งอ้างอิง : ประสบการณ์การจัดการความรู้ในภาคราชการ :กรณีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์

ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้

การจัดการความรู้เป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มองคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์อันมีค่าเนื่องจากกระแสยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนในองค์กรมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ ต้องสามารถทำงานได้เองอย่างรอบด้าน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความมุ่งมั่นต่อองค์กร ทำงานอย่างมีเป้าหมายซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูง เพื่อที่จะสามารถผลักดันให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก รวดเร็ว นั่นคือองค์กรต้องมีความสามารถในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และการจัดการความรู้ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ให้กลายเป็นความสามารถในแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป

เนื่องจากการทำงานในองค์กรที่ผ่านมาได้ประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้องค์กรจำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้นี้

1. ข้อมูล หรือสารสนเทศต่างๆ ที่มีการให้บริการ ซึ่งจะต้องมีลักษณะถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้ ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสามารถบริการได้ทันท่วงที (Real Time) ได้

2. ความรู้ หรือทักษะบางอย่างในการทำงานจะเป็นความรู้ที่เป็นของบุคคลเฉพาะคนเท่านั้นบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันไม่สามารถที่จะทำงานบางอย่างได้ ถ้าหากว่าไม่มีบุคคล คนนั้น

3. ไม่สามารถนำความรู้จากตัวบุคคล มาจัดเก็บไว้ให้เป็นระบบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับองค์กรได้

4. ไม่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถ่ายทอดความรู้ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในหน่วยงาน

การจัดการความรู้มีวัตถุประสงค์หลักๆ ดังนี้

1. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่องาน ต่อปัญหา และสามารถร่วมแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี ได้อย่างมีหลักการ และแนวคิดที่เหมาะสม

2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มในการสร้างสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำสู่การบรรลุเป้าหมาย

3. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็น และสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการทำงาน เห็นความสำคัญและคุณค่าของตัวบุคคล

5. เพื่อให้มีเกิดการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคคลในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

6. เพื่อสร้างความรู้ใหม่ หรือนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น

7. เพื่อรวบรวมความรู้ภายในองค์กร และนำเข้าความรู้จากภายนอกที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และทุกคนสามารถเข้าถึงได้

8. เพื่อเป็นการเสาะหา รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ กัน

9. เพื่อให้ข้อมูลตอบสนองตรงตามเป้าหมายของผู้รับบริการ และตรงตามเป้าหมายขององค์กรให้มากที่สุด

10. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในองค์กร ที่ทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

11. เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันของบุคคลในองค์กรที่มุ่งเน้นความรู้ และการเรียนรู้ร่วมกัน

12. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์กร

13. เพื่อให้องค์กรมีความเข้มแข็ง และมีจุดเด่นในการที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่น

อ้างอิง:http://portal.in.th/inno-sayan/pages/1135/)

Why Knowledge Management?

Before we start to explore and understand the details of what knowledge management is, and how to implement knowledge management projects and initiatives, we need to first ask ourselves why we want to consider knowledge management in the first place?

What are the real benefits that can be gained from effective knowledge management for the individual, the team, the entire organization, the community, the nation, or even the entire planet Earth?

Knowledge management is far reaching. Maybe you are considering developing your own personal knowledge management competencies, to become a more effective player in the global knowledge economy, or becoming a more competitive knowledge leader and knowledge driven organization.

Maybe you wish to develop and apply knowledge management strategies to government, military operations, global poverty eradication, international disaster management and even, now, knowledge management for global climate change.

The list is endless. Knowledge management is applied today across the world, in all industry sectors, public and private organizations and humanitarian institutions and international charities.

Most importantly, effective knowledge management is now recognised to be 'the key driver of new knowledge and new ideas' to the innovation process, to new innovative products, services and solutions.

http://www.knowledge-management-online.com/the-importance-of-knowledge-management.html

บทบาทของการจัดการความรู้โรงไฟฟ้าแม่เมาะกับการพัฒนาองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ

กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่ได้ปรับปรุงใหม่

โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้นำเอาเครื่องมือและแนวคิดหลัก ๆ เพียง 2-3 อย่าง มาจัดทำเป็นกระบวนการง่าย ๆ ให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหน้างาน โดยไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานหน้างานรู้สึกเป็นภาระ

หลักการพื้นฐานสำคัญที่นำมาใช้ประกอบกับทุกเครื่องมือคือ “การฟังอย่างลึก” (Deep Listening) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สร้างทักษะในการเปิดใจรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ให้ครบถ้วนโดยไม่ด่วนสรุป ไม่จับผิดผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของ ทุก ๆ คน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการอบรมพื้นฐานแนวคิดด้านการจัดความรู้ และทราบถึงหลักการฟังอย่างลึก และจะได้รับการย้ำเตือนให้พยายามฝึกทักษะการฟังอย่างลึกในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทักษะนี้จะเป็นพื้นฐานที่นำไปใช้ในการทบทวนหลังการปฏิบัติงานและเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในตลาดนัดความรู้

การใช้การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review) ในการทำงาน

กระบวนการจัดการความรู้ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะเริ่มต้นที่ทุกหน่วยงาน โดยเมื่อปฏิบติงานแล้วเสร็จ ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องมือการทบทวนหลังการปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่า AAR (After Action Review) ทบทวนการทำงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ลดความผิดพลาดที่เกิดซ้ำ เกิดเป็นความรู้ใหม่ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้จากการทำงาน ของทีมงาน สร้างคุณสมบัติความเป็นคนมั่นใจตนเอง เคารพตนเอง และในขณะเดียวกัน ก็เคารพผู้อื่นด้วย

เครื่องมือ AAR ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ group reflective learning จากประสบการณ์ตรงของแต่ละคน ด้วยการพบปะพูดคุยกันของผู้ร่วมปฏิบัติงานหลังทำงานเสร็จ โดยมาร่วมกันสรุปบทเรียนว่า แต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ส่วนใดที่ทำได้ดีเพราะเหตุใด และส่วนใดที่น่าจะทำได้ดีกว่า จุดที่ควรปรับปรุง เพราะเหตุใด เพื่อที่จะนำจุดดีไปขยายผลดำเนินการในงานอย่างเดียวกันสำหรับครั้งต่อไป หรือในงานที่คล้ายคลึงกัน ส่วนจุดที่เป็นข้อบกพร่องก็จะนำไปหาวิธีแก้ไขปรับปรุงโดยที่ไม่ต้องการหาคนผิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท