อนุทิน 9079


wwibul
เขียนเมื่อ

@9041 หากเอาความเคยชินของการนับนิ้วมาใช้ มองไปที่เลขเยอะ ๆ กลายเป็นอสงไขยไปหมด แต่คนที่เขา "เล่นของหนัก" เห็นความแตกต่างใหญ่หลวงในหมู่อสงไขยอันเป็นเอนก

Cantor พิสูจน์ว่า เหนือ "อนันต์ (infinity)" ยังมี transfinity (ศัพท์ทางการ บอกว่า เชิงอนันต์ ผมเองอยากแปลว่า เอนกอนันต์ หรือไม่ก็ อภิอนันต์) แต่แนวคิดนี้ เป็นนามธรรมล้วน 

ตัวเลขที่เกือบจะเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้หน่อยที่ฝรั่งมองอสงไขย คือ Graham number ซึ่งต้องเขียนเป็นเลขยกกำลังต่อตัวกันขึ้นไปเป็นหอคอย เพื่อเป็นผลเฉลยเกี่ยวกับทฤษฎีกราฟข้อหนึ่ง ซึ่งเวลาเขียนบรรยาย ต้องบรรยายแบบ เอ๋อ ๆ หน่อย เพื่อบรรยายการต่อตัวที่ว่า คือ 3 ยกกำลัง 3 แล้วยกกำลังแบบต่อตัวกันขึ้นไป 64 ชั้น

แต่ตัวเลขที่เป็นรูปธรรมจริง ๆ จัง ๆ ที่มนุษย์ทั่วไปพอจะเขียนได้ ที่มีที่ใช้งาน คาดว่า คงเป็น Skewes number นักคณิตศาสตร์เชื้อสายอัฟริกัน ที่ทำนายว่า ตัวเลขที่ทำให้สูตรของ Guass ที่ทำนายจำนวนเลข prime ทำนายได้แม่นยำเป็นครั้งแรก  ซึ่งเขาเคยทำนายโดยใช้เลขยกกำลังแบบต่อตัวหลายชั้น ซึ่ง Demichel (2005) พิสูจน์ว่า จริง ๆ แล้ว น่าจะอยู่ที่ 1.397162914×10316 เสียมากกว่า

ตัวเลข "แถว ๆ นั้น" อีกรายการ คือ Thomas Hardy (นักคณิตศาสตร์ผู้คนพบรามานุจัน) เคยชี้ว่า  เกมส์หมากรุกที่เป็นไปได้ทั้งหมด น่าจะอยู่แถว ๆ 10^(10^50) ซึ่งก็ถือได้ว่า ใหญ่ขึ้นมาอีก "หน่อยนึง"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท