อนุทิน 7995


กวิน
เขียนเมื่อ

เมื่อ พูดถึงคำว่า กลอยสวาท ทำให้ผู้เขียนนึกถึง บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2467 เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2424 - 2468) พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี พ่อแม่หลายคนซึ่งประทับใจกับ วรรณคดีเรื่อง มัทนพาธาคำฉันท์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ก็จะมักนำคำว่า มัทนา มาตั้งเป็นชื่อลูกๆ (มัทนพาธา แปลว่า ความเจ็บปวด ความเดือนร้อนเพราะความรัก  มัทนพาธา เป็นตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ)


มัทนะ 1 แปลว่า การยํ่ายี, การบด, การทําลาย. 

ตามทรรศนะของผู้เขียนเชื่อว่า ต่อมาคำว่า มัทนะ   มีความหมายกว้างขึ้น โดยถูกนำไปใช้เรียกกริยาของช้างตกมันที่มักจะทำลายสิ่งที่ขวางหน้า โดย เทียบกับศัพท์  มทะ ที่แปลว่า  ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. 

มัทนะ 2 แปลว่า กามเทพ.

ตามทรรศนะของผู้เขียนเชื่อว่า มัทนะ ที่แปลว่า ความรัก  ก็เพราะกามเทพ เป็นผู้มี ศร ซึ่งมีอานุภาพ ทำให้เกิดความมัวเมาลุ่มหลง นั่นเอง

พาธ, พาธา แปลว่า ความเบียดเบียน, ความทุกข์.
มัทนะ/มัทนา แปลว่า ความรัก --> คนมีความรักมักจะมีความมัวเมาลุ่มหลง --> ต่อมาคำว่ามัทนะ ถูกใช้เรียกอาการของช้างที่มีความรัก (ช้างตกมันที่ชอบทำลายสิ่งต่างๆที่ ขวางหน้า) ซึ่งคำว่า มัทนะ/มัทนา  เป็นคำเดียวกับคำว่า เมท, เมโท   ที่แปลว่า มันข้น.    รวมความได้ว่า คำว่า  มัทนะ/มัทนา แปลว่า ความรัก/ความลุ่มหลวงมัวเมา  เพราะลูก คือ สิ่งอันเป็นที่รักของพ่อแม่ ทำให้พ่อแม่มัวเมาลุ่มหลง พ่อแม่รักลูกยอมทำเพื่อลูกทุกสิ่งอย่างก็ด้วยความมัวเมาลุ่มหลง ด้วยเหตนี้ ลูกจึงได้ชื่อว่า มัทนา นั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท