ผศ.ดร.วศิน เหลี่ยมปรีชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วศิน เหลี่ยมปรีชา

อนุทิน 5727


ผศ.ดร.วศิน เหลี่ยมปรีชา
เขียนเมื่อ

After Group Solutions Meeting at CQU

จากการเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงาน Group Solutions ทำให้ได้ทราบปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา ใครเป็นคนรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ ดูแล้วเหมือนต่างคนต่างทำ แต่แท้จริงเป็นการทำงานที่เป็นทีมมาก มีการสอดรับระหว่างการประชุม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยมีเหตุและผลประกอบการอธิบาย ทำให้เข้าใจการทำงานของคนที่นี่มากขึ้น บ้านเราเป็นอย่างนี้ไหมหนอ หลังประชุมแล้วก็มานั่งคิด นั่งคุยกันว่าทำไมไม่ทำแบบนี้ ดีกว่านะ แต่ตอนประชุมไม่เห็นพูดเลย เงียบกันหมด (บ่นอีกแล้ว)

วันนี้ (16 May 2008:9.00 AM) มาเปิดอีเมล์ ได้รับเมล์สรุปผลการประชุมจากเมื่อวานนี้ โอ้โห รวดเร็วมาก ถูกใจ  อาจเป็นเพราะ คนที่ทำหน้าที่เลขา ไม่จำเป็นต้องจดบันทึกทุกคำ แต่สามารถไปเขียนสรุปได้จากการบันทึกข้อมูลจากระบบ Zing Thing ที่ใช้ในการประชุม นี่ล่ะครับ ของจริง

ตอนท้ายของเมล์ยังแจ้งให้ทราบว่าประชุมคราวหน้าจะมีเรื่องอะไรบ้าง (ถือเป็นการทำการบ้านที่ดี) อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้ (อีกแล้ว) ดูเอกสารไปแล้วก็ต้องตกใจนิด ๆ  เพราะมีรายชือของเราอยู่ใน ลำดับที่สอง ที่จะต้องเป็น leader สำหรับช่วงครึ่งชั่วโมงแรก ของ regular group sessions ใน วันที่ 29 May:9.00AM  โดยในที่ประชุมตกลงให้พูดคุยเกี่ยวกับงานวิจัยที่ตัวเราเองทำอยู่ โดยแบ่งเป็น 15 นาทีแรก นำเสนอความคืบหน้า และอีก 15 นาทีต่อมาให้ไว้สำหรับคำถาม และการตอบคำถาม ก็ต้องทำการบ้านหนักอีกแล้ว สู้ตายครับ

ที่น่าสนใจไปอีกก็คือ สมาชิกในที่ประชุม เห็นควรให้มี debrief sessions เมื่อสมาชิกท่านใดได้เข้าร่วมงานอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงานประจำ เมื่อกลับมาแล้วควรมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นความรู้ของสมาชิกต่อไป ในที่นี่ของใช้คำว่า Communities of Practice (CoP) หรือชุมชนนักปฏิบัติ ตามชื่อที่นักการจัดการความรู้เมืองไทย นำมาใช้

นับว่าเป็นการประชุมที่มีสาระมาก ๆ

Thank God It's Friday



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท