อนุทิน 37185


กวิน (User2)
เขียนเมื่อ

@37176 รากเหง้าแห่งจิตวิญญาณ ==> อันเป็นตัวผลักให้คนหนึ่งคนคิด พูด และกระทำ... คือการสะท้อน...พื้นฐานทางจิตใจของบุคคลนั้นๆ ว่ามีรากเหง้าแห่งจิตใจเช่นไร...

พี่ลองอ่าน บทกวีซีไรต์ ของ มนตรี ศรียงค์ (คนสงขลา) เรื่อง “โลกในดวงตาข้าพเจ้า” แล้วช่วยวิเคราะห์หน่อยว่าเขา มีรากเหง้าแห่งจิตอย่างไร?

มนต์รักการก ; โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์ เรากะเทอร์เจอกันในวันหนึ่ง ชีวิตในอินเตอร์เนตนี้ก็จึง หวานน้ำผึ้งสุขสมสีชมพู โย่ว โย่ว เทอร์อยู่ที่หนาย อ่า? ทำงานแร้วรึว่ายังเรียนอยู่? รูปเทอร์สวยอ่า เหมือนหมาจู งุงิงุงิน่าเอ็นดู น่าดูแคม โชว์วิวเปิดแคมแพลมแพลมสิ อะคริอะคริ มะก้าแหงม เสื้อสีสวยแสบมันแว้บแวม ชั้นในแพรมลับล่อ ยี่ห้อไร? เนินนมขาวจังคงทั้งเต้า กำเดาเลือดลิ่มจะปริ่มไหล แคมเทอร์สวยออกทั้งนอกใน แคมใหญ่เต็มปลั่งกะลังดี หน้าบ้านเรารถถัง กะลังวิ่ง ปฏิวัติกันจิง จิงหรือนี่? บ้านเทอร์มีปะ – รึมะมี? อี๋อี๋บ้านน้อก บ้านนอกจัง 55555555 เรารักเทอร์น้า เด็กโง่งั่ง เด๋วส่ง Mp3 ปะห้ายฟัง แร้ววันหลัง ส่งคลิปปะห้ายดู คลิปเราเองแหละ เอิ๊กเอิ๊กเอิ๊ก ถ่ายก่อนเลิกกะแฟน โรงแรมหรู ADSL เราใช้ TRUE อัพโหลดคู่ สองคลิปได้ฉะบาย เรารักเทอร์น้าเด็กโง่ (คลิกอีโมฯ รูปหัวเราะ งอหงาย) หนึ่งปริ๊ดแระอิอิขอบจาย จุ๊บจุ๊บบะบายชัทดาวน์แร้วววววววววว ปล.รถถังมาทามมาย? เด๋วไปถ่ายรูปก่อง – บลาบลาบลา (14 ตุลาคม 2549) คำว่า แคม =camera  อีโมฯ=emotion ฯลฯ หนังสือเล่มนี้แบ่งบทกวีออกเป็นสี่ภาค คือ  “ที่เห็นไม่เร้นหาย”  “ยังเวียนว่ายให้รู้สึก”  “ไม่เคยฝันไม่ทันนึก”  “ว่าจะเป็นกันเช่นนี้” (1)

ทางกลอนของ มนตรี ศรียงค์ ห่วยมาก (คิดว่าจงใจให้ห่วยมากกว่าเพราะเคยอ่านงานกวีนิพนธ์แนวฉันทลักษณ์ของ มนตรี ศีรียงค์ มาก่อน กวินคิดว่าเขาคงจงใช้ทางกลอนห่วยๆ แบบนี้ เพื่อให้เข้ากับบริบทในเรื่อง) ทว่าทางกลอนที่ห่วยนี้ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึง ปัญหาการใช้ ภาษาวิบัติ ของวัยรุ่น ทั้งยังสะท้อนปัญหา ความเหลื่อมล้ำทางศีลธรรม (moral divide) เอาไว้ด้วย อนึ่ง ถึงแม้นว่าเราได้ อ่านกลอนห่วยๆ ข้างบนของ มนตรี ศรียงค์ แล้วก็ใช่ว่าเราจะสามารถสรุปได้ว่า มนตรี ศรียงค์  มีพื้นฐานทางจิตใจในแบบที่เขาเขียน? 

กระจกที่ส่องสะท้อนภาพ หมาเน่า ก็ใช่ว่า กระจกจะเน่าเหมือนหมาเน่า หรือ น้ำเน่าที่สะท้อนเงาจันทร์ ก็ใช่ว่า น้ำเน่านั้นจะสวยสกาวพราวพรายนะครับ พูดไปพูดมาคง วกเข้าสู่เรื่อง การรู้เท่าทันรูปที่ตาเห็น และการรู้เท่าทันสื่อ ไปโดยปริยาย ว่าแต่ว่าเรามี กวีนิพนธ์ ซีไรต์ ซึ่งสะท้อนภาพของสังคมในแนวนี้ บรรดาคุณครูภาษาไทย จะกล้าสอนนักเรียน มั้ยหนอ? น่าเป็นห่วงคุณครู และเด็กนักเรียนจังเลยว่ามั้ยครับ และคงจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ เนาะๆๆๆ (นี่ล่ะครับคือ อภิสิทธิ์ของคนที่เป็นกวี พอเขียนอะไรสองแง่สองง่ามแบบนี้ ก็อ้างว่าเป็น กวีตานุมัติ/กวียานุโลม (Poetic License)

อ้างอิง


(1) ying-chama (นามแฝง) อ้างใน สุธาทิพ โมราราย .โลกในดวงตาข้าพเจ้า ของกวีซีไรต์ ;มนตรี ศรียงค์ พิมพ์ครั้งแรก มติชนสุดสัปดาห์ เดือนกันยายน พ.ศ.2550 [cited 2009 May 2]. Available from: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=393042



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท