อนุทิน 32423


กวิน
เขียนเมื่อ

วารสารทางอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร โดย ผศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ วิเคราะห์ สมุทรโฆษคำฉันท์ เปรียบเทียบกัน 2 บทเอาไว้ว่า

บทแรก
พระแลคณานก และตระดกมนมรรษ์
ใจจงพธูสรร-    คและท้าววังเวงใจ

บทที่สอง
คิดควรบ่ปรุลุ    แก่อำนาจจำนงยง
บีฑารันทด อง-  ค มม่อย มมรรใจ

มฤษฺ
= ทนทรมาน (คำโบราณ) ในปัจจุบันเขียน มรรษ (ส.ก) แปลว่า อดทน เป็นคำเดียวกับ มรฺษ (กริยา) ซึ่งหากแผลง รอเรผะ เป็น รอหัน แล้วแผลง มรรษ์ เป็น มมรร(ษ์) แล้วจึงแผลงเป็น มม่อยมมรร(ษ์) จบบทวิเคราะห์ของ อาจารย์ มณีปิ่น


แปลบทแรก
พระสมุทรโฆษแลเห็นนกบิน (พุ่งมาจากต้นไม้ในป่า) พระองค์ทรงตกใจ (ทรมานใจ/อดทนที่จะไม่ตกใจ) พระองค์มีความ จง(รัก) ในนางอันเป็นที่รัก และรู้สึกวังเวงใจ ณ กลางป่า (ภาพที่นกบินออกมา แล้วทำให้คน ตกใจมีให้เห็นบ่อยๆ ในฉากหนังสยองขวัญ กวีโบราณ ก็บรรยายภาพให้เราเห็นได้เช่นนั้น) จะเห็นได้ว่า คำว่า ตระดก=ตระหนก (เสียง ห เพี้ยน เป็น ด หรือกลับกัน)

แปลบทที่สอง
คิดว่าควร ที่จะไม่ควร บรรลุ/ปรุ  ถึง ความทุกข์ (อำนาจจำนงยง) เมื่อถูกความทุกข์ บีฑา ก็ควร อดทน  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท