อนุทิน 32185


กวิน
เขียนเมื่อ

เพิ่มคำไขอธิบายกลอน ใน บันทึก กลอน วนแขว-แววขน @  173015

สังคมไทยมีความเชื่อในเรื่อง ความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาษิตและสำนวนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่าให้เป็นคน คมในฝัก (ไม่ให้อวดตนในที่สาธารณะ) เช่น

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
(จากเพลงยาวถวายโอวาท ของสุนทรภู่) 


หรือสอนเป็นโคลง (โคลงโลกนิติ) โดยเปรียบเทียบว่าให้ทำตัวเยี่ยงพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชมาก แต่ก็เลื้อยไปอย่างแช่มช้าไม่อวดอ้างอิทธิฤทธิ์ ผิดกับแมลงป่องผู้มีพิษน้อยแต่ชอบชูหางอวดพิษอันนิดน้อยนั้น ดังเช่นในโคลงโลกนิติบทที่ว่า

นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส   แมลงป่อง
ชูแต่หางเอง อ้า     อวดอ้างฤทธี



นอกจากนี้ยังมีสำนวนที่ว่า (ลูก)นอกคอก (ใช้ด่าว่า เด็กที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ โดยเปรียบเทียบเด็กกับ วัว กับ ควาย ที่จะต้องอยู่ในคอก หรือโอวาทของบิดามารดา)  

ทว่าในข้อดี ย่อมมีข้อเสีย เมื่อเด็กไทยถูก กล่อมเกลาทางสังคม (socialization) เช่นนี้ เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่กล้าแสดงออก ส่งผลให้ภูมิปัญญาต่างๆ ต้องสูญหาย อันเกิดจากการ อมภูมิ หรือคมในฝัก รวมทั้งการหวง(แหน) ในภูมิปัญญา(ประจำตระกูล) นั้นๆ ท้ายที่สุด ภูมิปัญญาไทย ก็ตายอยู่ในปาก (เพราะโดนอมเอาไว้)   

ผู้ใหญ่สมัยโบราณ มองว่าเด็กๆ เหมือน เรือ ที่จะต้องคอย ถือหางเสือ เพื่อควบคุมทิศทาง

แต่กวินอยากจะสอนเสียใหม่ว่าให้เด็กๆ มีความคิดเป็นของตัวเองด้วย นั่นคือให้เด็ก ทำตัวเปรียบเสมือน เสือ (ที่มีหาง) ใครก็ไม่กล้ามาถือหาง เพราะจะโดนเสือขบ หรือ กัดเอา นั่นคือเสือนั้น ยกหาง ตัวเองได้ โดยไม่ต้องการ ผู้ที่จะมาคอย ถือหาง เจ๋งมั้ยความคิดนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท