อนุทิน 31066


กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @30946 

ถ้าคำว่า โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว (เมื่อสระ โอ =อู+อา ฉะนั้น โงว/งูว»งัว)

ก็แล้ว งู(ว) ก็ต้องมาจาก โค(ว) ด้วย???

คนโบราณเรียกงูว่าอะไร? เรียกว่า เงี้ยว/เงือก ในลิลิต โองการแช่งน้ำ (สมัยอุยธยา) @ 169894 ใช้คำว่าเงือกในความหมายของงู ความว่า
 
" โอมพระ บรเมศวราย :โอมพระอิศวร
ผาย ผาหลวง อะคร้าว : ผู้ผึ่งผายอยู่ ณ เขา ไกรลาศ (ผาหลวง) อันงดงาม
ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก :ขี่วัวเผือกเป็นพาหนะ วัวเผือกนี้ชื่อ อศุภราช
เอาเงือกเกี้ยวข้าง :เอางู ทำเป็นสร้อยสังวาล เกี่ยวกระหวัดที่สีข้าง

ง (เสียงนาสิก) เช่นคำว่า เงิน โบราณ ออกเสียง ว่า เงือน เง็น ฯลฯ

เงือก  เงี้ยว  งู? (กลุ่มคำ)
เงิน เง็น เงือน? (จารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1)

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 » เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัว ไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า (วัว เขียน ตามอักขรวิธี สมัยนั้นว่า ววว) คำว่า วัว นี้มีใช้มาตั้งแต่สมัย สุโขไทย

ต้องนำมาวิเคราะห์ด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท