อนุทิน 30946


กวิน
เขียนเมื่อ
  • ศัพท์สันนิษฐานว่าด้วยคำว่า วัว/งัว/โค 

    ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ  : สวัสดีครับ กวิน แวะมาอ่านกลอนวัวครับ เคยอ่านเจอในหนังสือของคุณจิตร ภูมิศักดิ์ว่า โค = cow รากศัพท์เดียวกัน (Proto-Indo-European) ส่วน วัว = .... (ภาษาอะไร?)


    สมมุติฐาน : คร่าวๆ

    คำว่า วัว มาจาก   โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว เทียบกับ
  • โค้ง » โง้ง (1)
  • ไค้ »  ไง้
  • เคอะ »เงอะ
  • คว่ำ/ขว้ำ » ง้ำ
  • ค้อม » ง้อม
  • แคะ » แงะ
        
    โค(ว)  » โง(ว)
    *แต่น่าจะเป็นไปตามหลัก การเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (Internal change) ซึ่งรวมถึงเสียงพยัญชนะด้วย

    -โง(ว) (ออกเสียงเร็วๆ) จะกลายเป็น » งัว และ งัว เพี้ยน ไปอีกเป็น วัว ในที่สุด
    *น่าจะเป็นไปตาม กฎการกลายเสียงของกริมส์ (Grimm Law) หรือไม่ก็กฎของ กลัดมัน กราสส์มันน์ (Grassmann's Law)

    เชิงอรรถ
    (1) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม 2552 ดูรายการ คนชอบกล ทางช่อง 3 เวลาประมาณ 00.15 แม่ของ คริส แองเจิล (criss angel) พูดว่า "ฉันทนดูไม่ได้ที่จะ เห็น วัวเขาโง้ง ขวิดลูกชาย" ก็จึงมาคิดว่า โง้ง แปลว่าอะไร ถ้า โง้ง แปลว่า โค้ง เป็นไปได้หรือไม่ที่ ค จะเพี้ยนเป็น ง (เสียงนาสิก) ได้ ฉะนั้นถ้า โค ก็ต้อง เพี้ยนเป็น โง เนื่องจาก เสียง โอ เสมือนมี ว สะกด (โอว) โค จึง ต้องเขียนว่า  โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว (เมื่อสระ โอ =อู+อา ฉะนั้น โงว/งูว»งัว)

หนังสือ/เอกสาร ที่น่าจะอธิบายได้ :
1. ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ » บาลี สันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
2. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตสิกขดิต » ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น
3. พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) » บาลีสยามอภิธาน
4. มานิต มานิตเจริญ » พจนานุกรมไทย ฉบับมานิต มานิตเจริญ
5.ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 » เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัว ไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า (วัว เขียน ตามอักขรวิธี สมัยนั้นว่า ววว) คำว่า วัว นี้มีใช้มาตั้งแต่สมัย สุโขไทย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท