อนุทิน 29494


กวิน
เขียนเมื่อ

ห้องเรียนกวี 1 กลอนล้อบทครู @ 230617 โดย ครูกานท์ 

มาชมกลอนคุณ  เนปาลี ครับที่ว่า เสียงดอกไม้ดอกน้อยดอกหนึ่ง กระซิบบอกผึ้งน้อยไปว่า "มาจูบฉันสิ..ถ้าอยากมา หากไม่เห็นคุณค่า..ก็จงไป  ปกติการใช้คำซ้ำ กวีไม่นิยมใช้ แต่คุณเนปาลี ใช้คำว่า ดอก ซ้ำ 3 ครั้ง แต่กลับทำให้กลอนลงตัวได้อย่างไม่น่าเชื่อนะครับ ส่วนเนื้อหาก็ เป็นเชิงตัดพ้อ (เข้ากับสัญลักษณ์ ที่ใช้ เพราะ ผึ้ง+ภมร นิยมเป็นสัญลักษณ์แทนผู้ชาย ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์แทนผู้หญิง)

อีกท่านหนึ่งคือกลอนของ ท่านอาจารย์ ศรีกมล ที่ว่า เสียงดอกไม้ริมทางดอกน้อยน้อย กระซิบบอกหิ้งห้อยออกไปว่า "ชีวิตวันใหม่กำลังจะมา ชีวิตเก่าของข้าฯ กำลังจะไป ถ้าจะเทียบกันในเรื่องการใช้สัญลักษณ์ ของกวินเอง และคุณ เนปาลี ก็จะใช้ ผึ้ง และ ดอกไม้ในเชิง เพศชายเพศหญิง (ที่มีความเกี่ยวพันธ์ในฐานะมิตรสหาย) แต่ สำหรับท่านอาจารย์ ศรีกมล ใช้สัญลักษณ์ให้ลึก เข้าไปอีก คือ นำ ดอกไม้+หิ่งห้อย เป็นสัญลักษณ์ของ ความมีอายุสั้น (เกิดแล้วก็ ดับไป สะท้อนให้เห็นหลักไตรลักษณ์) เพราะดอกไม้เมื่อเทียบอายุกับ ต้นไม้ ดอกไม้ย่อมมีอายุสั้นกว่าต้นไม้ และหิ่งห้อย (ผู้มีแสงสว่างในตัวเอง) เมื่อเทียบอายุกับ ดวงอาทิตย์ (ผู้มีแสงสว่างในตัวเอง) หิ่งห้อยย่อมมีอายุที่สั้นกว่าดวงอาทิตย์ และ อาจารย์ ศรีกมล เลือกใช้คำว่า กระซิบ ในท่อนที่ว่า กระซิบบอกหิ้งห้อยออกไปว่า "ชีวิตวันใหม่กำลังจะมา ชีวิตเก่าของข้าฯ กำลังจะไป ทำให้เกิด ได้อารมณ์มากกว่าปกติ เพราะคนที่ ท้อถอยกับชีวิต หรือมีชีวิตที่รอ ความตาย เช่นดอกไม้ที่กำลังจะเหี่ยวเฉา ย่อมที่จะกระซิบด้วยน้ำเสียงที่แผ่วเบา ปนหดหู่ (ซึ่งหากกลอนท่อนนี้ใช้คำว่า) ตะโกน บอกหิ้งห้อยออกไปว่า "ชีวิตวันใหม่กำลังจะมา ชีวิตเก่าของข้าฯ กำลังจะไป (ก็อาจจะได้อีกอารมณ์หนึ่ง แต่เมื่อใช้คำว่า กระซิบ ทำให้อารมณ์กลอนดูยิ่งเศร้าสะเทือนใจเข้าไปอีก) ครับ

ปล. กวินขอทำหน้าที่ ที่ปรึกษา (ตามที่ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์) และช่วยอาจารย์วิพากษ์กลอนตามกำลังของ มโนมยจักษุ  (ถือว่าเป็นการบ้านส่งการบ้านให้อาจารย์ด้วยนะครับ) มีอีกหลายๆ ท่านที่แต่งได้ดี อย่างไรก็ร่วมกันแสดงความคิดเห็นไว้ก็จะดีมากๆ เลยครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท