อนุทิน 27043


ดอยปนางฐิติยา
เขียนเมื่อ

อำเภอปายเป็นอำเภอที่มีประเพณีวัฒนธรรมเก่า

มาอย่างยาวนาน ในเดือน  ๑๒ เป็นเดือนที่หมดสิ้นฝน

แล้ว ซึ่งกำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาวในเดือนอ้าย ด้วยความสำนึกต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า

พระบรมธาตุซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจะหนาว

ไปตามฤดูที่กำลังมาเยือน ซึ่งในเดือน  ๑๒

มีประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญของชาวไตในเมืองปาย

 คือ ประเพณีตานผ้าเหลือง หรือ ปอยส่างกาน

 ( หลู่ส่างกาน )  ซึ่งมีพระพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์

รับพระไตรจีวรได้เพียงปีละครั้ง และกำหนด

ให้รับได้เพียงใน เดือน  ๑๒ เท่านั้น

            สำหรับพุทธศาสนิกชนก็จะถวายผ้าเหลืองสำหรับพระพุทธรูป และพระบรมธาตุ

ก็จะใช้ผ้าเหลืองห่มปก เช่นกัน

สำหรับผ้าเหลืองก็จะใช้ผ้าทอสีเหลืองสอดดิ้นเงินดิ้นทอง หรือกระดาษเงินกระดาษทอง ทำเป็นลายรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าและในใจกลางสี่เหลี่ยมก็จะทำรูปลายดอกคล้ายดอกพิกุล สำหรับองค์พระบรมธาตุไม่สามารถถักทอเป็นผ้าผืนใหญ่ขนาดที่สามารถห่มพระบรมธาตุได้ จึงมักนิยมถักทอขนาด 60-100 เซนติเมตร ส่วนความยาวนั้นไม่มีกำหนดแน่นอน แต่ให้สามารถนำไปเวียนรอบพระบรมธาตุได้ ด้วยการที่ไม่สามารถกำหนดความยาวได้นั้น จึงต้องจัดทำไม้สำหรับใช้เสียบผืนผ้าตามความกว้างไม้ที่ใช้คือไม่ไผ่ เรานำผ้าส่างกานใส่ไม้ชูให้สูงขึ้นเหนือศีรษะเพื่อเป็นการเทิดทูนเคารพบูชา  ระยะห่างของไม้ที่นำมาตรึงผ้าเหลืองนั้นประมาณ 2-3 เมตร ใส่ไปตามความยาวของผ้าจนหมด ส่วนในยอดไม้ไผ่มีตอกสานทำเป็นวง เรียกว่า ทีแมง  

            ส่วนการแห่นั้นคนไตเมืองปายนิยมแห่

ผ้าส่างกานโดยการนำผ้าส่างกานตรึงไว้กับไม้แล้วแห่ไปตามถนน หรือแห่จากบ้านศรัทรา แล้วนำไปถวายที่วัดที่ตนเองศรัทรา ประเพณีนี้ภาษาไทยใหญ่ เรียกว่า ประเพณีส่างกานเครือ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท