อนุทิน 26726


กวิน
เขียนเมื่อ

เพียงความเคลื่อนไหว : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ @ 222821

สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ คนตัดไม้ ตัดเฉพาะต้นจามจุรี หรือเปล่าครับ :) แซวเล่น นะครับ ที่พี่อาจารย์คนตัดไม้ กล่าวว่า ทำให้ได้ฉุกใจว่า ข้อแรก เรามักมองไม่เห็น อัตตา/ตัวตน ของเราเอง ข้อสอง เรามักมองไม่เห็นความดีความงาม คุณค่าของสิ่งใกล้ตัว แม้บางครั้งก็ยังละเลยคุณค่าตัวเองอีกด้วย ฯลฯ

กวินขอเสริมพี่อาจารย์คนตัดไม้ นิดหน่อยนะครับ กลอนบทนี้ ลุงเนาว์ นำมาจาก ธรรมะที่ท่านพุทธทาสท่านสอนไว้เกี่ยวกับเรื่อง กิเลสตัณหา โดยการใช้โวหารภาพพจน์ (figure of speech) มาอธิบาย
ที่พี่อาจารย์คนตัดไม้ วิเคราะห์ไว้ ดีมากๆ เลยนะครับที่ว่า "เรามักมองไม่เห็นความดีความงาม คุณค่าของสิ่งใกล้ตัว แม้บางครั้งก็ยังละเลยคุณค่าตัวเองอีกด้วย "

จะเห็นได้ว่าในกลอนนั้นกล่าวถึง แผ่นฟ้า แผ่นน้ำ แผ่นดิน คือสิ่งที่สัตว์จำพวก นก ปลา และไส้เดือน ย่อมคุ้นชินกับสิ่งเหล่านี้จนอาจที่จะมองไม่เห็นค่าว่าเป็น สิ่งสวยงาม เฉกเช่นเดียวกันกับ มนุษย์บางคน บางจำพวก ที่มี ความดีความงามความจริง อยู่กับตนแต่กลับมองไม่เห็น ความดีความงามความจริง ในตนเอง แต่ ไพร่ ไพล่ไป เห็นว่า งานการที่ตนทำนั้นเป็นของธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น ตนเองเป็น หมอ/พยาบาล มีหน้าที่รักษา คนป่วย คนเจ็บ และคนใกล้ตาย แต่กลับมองไม่เห็น ความดีความงามความจริงในตนเอง จึงละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่เพื่อออกเดินทางไป ทำค่ายจิตอาสา เพื่อช่วยเหลือมวลผู้ชนผู้ทุกข์ยากในถิ่นที่เขามี หมอมีพยาบาล ประจำอยู่แล้ว (พยายามวิ่งไล่ไขว่คว้าความดีจากภายนอก มาประดับตน) บุคคลประเภทนี้ จัดอยู่ใน บุคคลจำพวก นก ปลา และไส้เดือน ที่มองไม่เห็น  แผ่นฟ้า แผ่นน้ำ แผ่นดิน

นอกจากนี้ในกลอนยังกล่าวถึง อาจม (ขี้) คือสิ่งที่สัตว์จำพวก หนอน ย่อมมองไม่เห็นว่าเป็น สิ่งไม่สวยงาม/สกปก ด้วยเช่นกัน (เหมือน กับนกปลา และ ไส้เดือน ที่มองไม่เห็น แผ่นฟ้า แผ่นน้ำ และแผ่นดิน ว่าเป็นสิ่งสวยงาม)

เปรียบเทียบได้กับ คนบางจำพวก ที่เห็น กิเลสตัณหาและอุปาทาน ว่า หอมหวน เหมือนกับหนอนที่ชอบเกลือกกลั้วอยู่ในอาจม ย่อมไม่รังเกียจอาจม


อนึ่งคนย่อมมองเห็น แผ่นฟ้า แผ่นน้ำ แผ่นดิน และอาจม แตกต่างไปจากสัตว์ดิรัจฉานแต่ทว่า การมองเห็นของคนก็ทำให้เกิด กิเลสตัณหาและอุปาทาน ชนิดที่สัตว์อื่นมองไม่เห็น ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สิ่งที่คนหรือสัตว์ดิรัจฉาน มองเห็น ล้วนคือมายาคติ/มายาภาพ แต่ทว่า สภาพแห่งพุทธะ ย่อมอาจจะ ถือกำเนิดมาจากสิ่งที่เป็นมายาภาพ โดยใช้ มายาภาพ นั้นๆ มากำหนดพิจารณา ให้เห็น สัจจภาพ/สัจจภาวะ เหมือนดั่งดอกบัวที่งอกขึ้นโดยอาศัย เปือกตมอันเน่าเหม็นนั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท