อนุทิน 25911


กวิน
เขียนเมื่อ

wwibul @25904 ถ้าเชื่อตาม ศ.ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ (ราชบัณฑิต) ที่ว่า คำว่า พรุ่งนี้ เพี้ยน มาจาก คำว่า พรุ่กนี้ ซึ่งท่านก็ไม่ได้อธิบายต่อว่า พรุ่ก แปลว่าอะไร?

กวินสันนิษฐานว่า คำว่า ต่อโพล่ก/ต่อโพร่ก ก็น่าจะคือคำว่า ต่อพรุ่ก/ต่อพลุ่ก (สระอุ แผลงเป็น สระโอได้ เช่น บุราณ แผลงเป็น โบราณ ฉะนั้นคำว่าพรุ่ก ก็ควรแผลงเป็น โพร่ก ได้ด้วยเช่นกัน)  เนื่องจากคำว่า พรุ่ก/พลุ่ก/โพล่ก/โพร่ก เป็นคำพ้นสมัย คนสมัยเราไม่เข้าใจ คำว่า ต่อโพร่ก จึงเลี่ยงเป็น ใช่คำว่า ต่อโพร่ง/ต่อโพล่ง (ก็อย่างที่อาจารย์กล่าวว่า ("ต่อเมื่อสว่างโพล่ง")   ซึ่งย่อมเข้าใจได้มากกว่าที่จะพูดว่า  ต่อพรุ่ก

จากการที่ลองค้น หาความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (ออนไลน์) (1) พบความสัมพันธ์ของกลุ่มคำดังต่อไปนี้

พลุก 1 [พฺลุก] น. งาช้าง. (ข. ภฺลุก). 
พลุก 2 [พฺลุก] ว. พลุ่ง.

พลุ่ก [พฺลุ่ก] ว. พลุ่งขึ้นมา.

พลุ่ง [พฺลุ่ง] ก. อาการที่ไอน้ำหรือควันดันตัวพุ่งออกมาโดยแรง เช่น น้ำ  เดือดไอน้ำพลุ่งขึ้นมา ไฟไหม้ควันพลุ่งขึ้นมา, โดยปริยายหมายถึง  อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โทสะพลุ่งขึ้นมา อารมณ์เดือดพลุ่ง.

พุ่ง ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป;
 (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป. 

พรุ่ง, พรุ่งนี้ น. วันถัดจากวันนี้ไปวันหนึ่ง. 

โพลง [โพฺลง] ว. สว่างแจ้ง, ลุกสว่าง, เช่น ไฟลุกโพลง สว่างโพลง; ใช้  ประกอบกับคํา ขาว เป็น ขาวโพลง หมายความว่า ขาวมาก,
 ขาวทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลงไปทั้งหัว,
 โพลน ก็ว่า; ลักษณะที่เบิกกว้าง เช่น ตาลุกโพลง ลืมตาโพลง.

โพล่ง [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า  พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
 
สรุป 

1. คำว่า พลุ่ก/ภฺลุก แปลว่า (การงอกของ)งาช้าง(อย่างช้าๆ) ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า พุ่ง (ซัดไปออก/ปล่อยออกไปโดยเร็ว) , พลุ่ง (ดันออกมาโดยแรง)

พลุ่ก/ภฺลุก/พุ่ง/พลุ่ง=กริยาการงออกออก ซัดออก ปล่อยออก เพิ่มออก ขยายออก

2. คำว่า พลุ่ก/พลุก เขียนปน กับ พรุ่ก/พรุก (ใช้ ร และ ล ปะปนกัน)

3. วันพลุ่ก/พลุก/วันภฺลุก/วันพรุ่ก/วันพรุก  แปลว่า วันที่งอกออกมาเรื่อยๆ ขยายออกมาเรื่อยๆ เพิ่มออกมาเรื่อยๆ (เหมือนงาช้างที่งอก/ขยาย/เพิ่ม ออกมาเรื่อยๆ) วันพรุ่กนี้ คือวันที่งอกออกมาใหม่จากวันนี้

4. ต่อมาคำว่า วันพลุ่ก/พลุก/วันภฺลุก/วันพรุ่ก/วันพรุก เกิด การกลมกลืนเสียงตามตัวหลัง (Regressive assimilation) กลายเป็น วันพรุ่ง/วันพลุ่ง/วันพุ่ง  

5. สันนิษฐาน ว่าไทยรับเอาคำว่า  ภฺลุก (คำนาม แปลว่างาช้าง คำกริยาควรแปลว่าการงอกออก) นี้มาจากเขมร (ในช่วงที่ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของเขมรเมื่อ พ.ศ.....?) ถ้าจะให้ทราบแน่ชัด ก็ต้องตรวจกับ ศิลาจารึก ต่างๆ ว่าไทยมีการใช้คำว่า วันภฺลุก ตั้งแต่สมัยใด? เพี้ยนเสียงไปเมื่อใด? ครับ แต่ในสมัยปัจจุบันการพูดว่า ต่อ(วัน)โพล่ง ย่อมทำให้เกิดการสื่อสารที่รู้เรื่อง มากกว่าการพูดว่า ต่อ(วัน)พรุ่ก อย่างแน่นอน :)

อ้างอิง

(1) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ฉบับออนไลน์ [cited 2008 November 5].  Available from: URL; http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท