อนุทิน 24614


กวิน
เขียนเมื่อ

เมื่อมี พระเสื้อเมือง แล้วมี พระกางเกงเมือง ด้วยหรือไม่? @  218470

สำหรับสิ่งที่ เทพรักษ์ (เจว็ด) ถืออยู่นั้น ก็จะเห็นได้ว่า มีทั้งถือคันไถ บ้างก็ถือ พระขรรค์และแส้ บ้างก็ถือ พระขรรค์และสมุด/หนังสือ บ้างก็ถือ พระขรรค์และถุงเงิน แต่การตีความทางประติมานวิทยา ที่ว่า

"ในหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือถุงเงิน เชื่อว่าท่านจะคอยประทานเงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ เดิมหัตถ์ซ้ายของเทวดาจะถือสมุด (หนังสือ) ซึ่งคนในสมัยก่อนน่าจะตระหนักว่าความรู้สำคัญกว่าเงินทองเพราะหนังสือก่อให้เกิดความรู้สติปัญญา เพื่อใช้เลี้ยงชีพต่อไปภายภาคหน้า" (12)

นั้นคือทรรศนะเก่า สำหรับทรรศนะใหม่ตาม สมมติฐานของผู้เขียนนั้นมีอยู่ว่า  "หาก เจว็ด ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ดังนั้นสิ่งที่ เจว็ดถือก็จะต้องแฝงนัยยะทางการเมือง" สมมติฐานนี้สอดคล้องกับ ทรรศนะของ จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือ อำนาจอยู่หนใด ชีวประวัติเหมือนนวนิยายของนักปกครอง 7 ท่าน หน้า 161 ความว่า

 "มาถึงบัดนี้ท่านผู้อ่านคงจะแยกแยะความแตกต่างระหว่าง อำนาจและบารมีได้ เป็นเวลาร่วม 2000 ปีแล้วที่สัญลักษณ์ แส้ และถุงเงิน ของโรมัน หมายถึงอำนาจอยู่ตลอดมา ในทุกวันนี้อาจแปลงโฉมเป็น ปืนและเงิน พูดให้นิ่มนวลหน่อยก็คือ พระเดช พระคุณ หรือ ให้โทษได้ ให้คุณได้ นั่นเอง สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพ้นจากภาวะ เจว็ด ก็เพราะจับจุดทั้งสองนี้ได้ การตั้งกองทหารมหาดเล็ก โดยใช้ปืนแบบยุโรปกับการเข้าคุมการคลังแผ่นดิน โดยให้มีงบประมาณแผ่นดิน นี่คือ แส้และถุงเงิน ทรงทำได้สำเร็จและมีอำนาจ" (13)


จะเห็นได้ว่า เทพารักษ์ (เจว็ด) พัฒนามาจาก ผีเสื้อเมือง (ผีบรรพบุรุษ) และถูกทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ ของ  ระบอบราชาสิทธิราชไปในที่สุด สิ่งที่ เทพารักษ์ (เจว็ด) ถือ ก็คือ พระเดช และพระคุณ แห่ง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช นั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท