มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

อนุทิน 2294


มัทนา
เขียนเมื่อ

copy/paste เมลที่เขียนหาน้องๆ | พยายามอธิบาย (ความเห็นส่วนตัวทั้งสิ้น) | เหตุเพราะ CAR ย่อมาจาก Classroom Action Research ก็ได้ Collaborative Action Research ก็ได้

-----------------------------------------------------------------

เท่าที่อ่านมา classroom action research นั้นครูคนสอน ทำวิจัยเองกับชั้นเรียนตัวเองเป็น cycle (loopๆ) เหมือนในรูป progressive problem solving with action research

เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยหลักการทำงานวิจัย เพราะครูที่เป็น practitioner ไม่ค่อยทำวิจัยว่างัั้น - ทำวิจัยคนเดียวกับชั้นเรียนตัวเอง

collaborative action researchก็คือการที่เอาครูที่สอนชั้นเรียนหลายๆคนมาจัดกลุ่ม(โดยมี educator สอน)ให้พวกเค้าทำ classroom action researchอีกทีคือเป็นการทำวิจัยชั้นเรียนตัวเองโดยร่วมมือกับครูคนอื่น (collab ตรงนี้) แล้วพวกน้องๆก็เป็น educator และ evaluator เพียงแต่ว่าตัว primary outcome คือ professional development วัดจากความเปลี่ยนแปลงในตัวครู เช่น "became more sensitive to individual differences within her own classroom"
ส่วนผลของการเรียนรู้ของเด็กคือ secondary outcome เป็นสิ่งที่ครู (classroom teachers) ต้องวัดเองเป็นด้วย ไม่ใช่ PI (พวกน้องๆ) วัดให้ ไม่งั้นพวกน้องๆไปแล้วเค้าจะทำไม่เป็น
(นี่เอาตามที่อ่านใน abstract นี้นะ)
This study of collaborative action research projects, conducted by one teacher educator and several classroom teachers, focuses on how action research improves the practitioner-researcher's own understanding of (her/his) educational practices. The goal was to help the novice teacher examine problems associated with her own practice and initiate strategies and techniques to attempt solutions to these problems, primarily problems of classroom management and discipline.
(แต่งานนี้เค้าเอาครูรร.เดียวกันมา collab ให้ครูใหญ่2คน collab กับครูใหม่ เพราะ goal คือ prof. development ของครูใหม่)


พี่(คนนอกวงการ edu) คิดว่างานของทุกคนคือ
Qualitative evaluation research ที่ treatment/intervention/program มี 2 สิ่งคือ 1) action research และ 2) การ collab กันของครู ตอนนี้พี่เข้าใจจาก website ของ http://cadres.pepperdine.edu/ccar/define.html
ว่า ไอ้ Evaluative Research ที่ treatment/intervention/program คือ action research และการ collab กันของครูเนี่ยะมันเรียกว่า Collaborative Action Research นั่นเองแหละ

เพียงแต่ว่ามันก็มีงาน Collab AR ที่ strong กับที่ weak
งานที่ weak ที่สุด คือ การตั้งคำถามวิจัยที่เหมือนอยากจะ prove something เค้าบอกว่าถ้าจะประเมินแบบนี้ ให้ออบแบบเป็น evaluative research แบบ controlled experiment ดีกว่า
อย่ามาทำหรือเรียกว่าคือ CAR เช่น ถามว่า Will นวัตกรรมหนึ่งๆ increase อะไรซักอย่าง?   ซึ่งน้องๆคงไม่มีปัญหานี้ ทุกคนคงขึ้นคำถามว่า "How"


พี่ถามนะ ในคนที่ทำ collab AR แบบที่มี นวัตกรรมไป introduce classroom teacher เนี่ยะ ถ้าพอ cycle ที่ 2 หรือ 3 ครูบอกว่า ไม่ work กับ context เค้า เปลี่ยนแค่แผนการสอนในระดับ strategies ก็ไม่ได้ อยากรื้อใหม่หมดเลยว่ามีนวัตกรรมไหนเหมาะกับเค้า ครูไปได้ยินมาว่ามีนวัตกรรมที่เรียกว่า PBL CBL ABL ZBL (อะไรก็ว่าไป) อยากลองมาใช้ใน loop ต่อไป พวกน้องๆจะยอมให้เค้าลองมั้ย? ถ้าเค้าบอกว่า integrate ไม่ได้เพราะการเมือง ไม่ work จะเปลี่ยนไปทำแบบอื่นจะให้เค้าเปลี่ยนมั้ย หรือ inquiry-based ไม่ได้ เด็กนักเรียนเงียบมาก ขอถอยหลังไปlectureแล้วเด็กก็เรียนรู้ได้ดี หรือนวัตกรรมพวกนี้มันต้องอาศัย infrastructure อื่นๆ ครูบอกว่าเห็นด้วยนะแต่ที่นี่ยังไม่พร้อม หรือครูเพิ่งมารู้ตัวว่าตัวเองไม่ได้มีมุมมองโลกแบบ constructivist สอนให้มองยังไงก็มองไม่ออก เพราะค้นพบว่าตนเชื่อใน positivist's lens และไม่คิดว่ามองแบบนี้เป็นปัญหา เป็นต้น

point คือ ถ้าน้องๆยอมให้ครูเหล่านี้ คิด (reflect) เองลองผิดลองถูกใน loop ถัดๆไป นี่แหละเป็น collab AR ของจริงที่ strong ถ้ายังยืนยันให้ใช้นวัตกรรมที่ไป introduce ก็จะเป็น collab AR ที่ weak ลงมาหน่อยเท่านั้นเอง แต่ก็เห็นเค้าทำกับทั่วบ้านทั่ว้เมือง ทำได้และง่ายกว่าแต่มักสรุปว่า 
Although participants in this study agreed that collaborative action research was a good way to improve classroom discipline and to support one another's professional development, there was also some consideration of the potential problems and limitations of classroom management action research.


เขียนมายาว จะตอบว่าพี่เข้าใจว่าถ้าจะให้หายงงคือต้องมองว่า
point คือคำว่า collab ใน Collab AR =  classroom teachers collab กันเอง
โดยมีนักวิจัย (PI) เป็นนักประเมินผลว่าที่ครูมา collab กันและที่ครูทำ AR เป็นอย่างไร
PI อาจเป็น educator สอนให้ครูทำ AR หรือไปจ้างใครมาจัดกลุ่มก็ได้
พี่เห็นเค้าใช้คำว่า workshop ไม่มีปัญหาในกรณี CAR แบบนี้ เพราะ role ของ educator มันชัดเจน
เน้น collab กันเองมากว่า collab กับ PI

แต่คำว่า Participatory ใน PAR = classroom teachers collab (participate) กับ นักวิจัย (PI) คือ PI ต้องให้ participant ร่วมมือในการคิดทำวิจัยนี้ทุกขั้นตอน เพราะมันเป็นปัญหาของ participants ทำได้มากก็เป็น PAR ที่แกร่ง ได้น้อยก็ไม่เลว ก็แค่อ่อนมาเท่านั้นเอง แต่ก็ยังเป็น PAR อยู่

Collab AR ก็คือ PAR แบบนึงนั่นเอง แต่จะแข็งจะอ่อน (ไม่ต้องคิดลึก) ก็ว่ากันไป ก็เป็น spectrum อย่างที่เราเข้าใจกันตอนแรกหน่ะถูกแล้ว
เมลนี้แค่มา define ศัพท์ให้หายงงมากกว่า
-----------------------------------------------------------------



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท