อนุทิน 21926


Sasinand
เขียนเมื่อ

กรุงเทพฯ--24 มี.ค.2551--สภาอุตสาหกรรมฯ
ตามที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551

ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดินกุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา จะมีผลบังคับใช้ ก.พ.2552

พรบ.อาหารให้คำจำกัดความคำว่า อาหารไว้อย่างกว้าง กล่าวโดยสรุปคือ วัตถุใดๆ ก็ตามคนกินได้ ดื่มได้ อมหรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ
นอกจากที่เป็นยาวัตถุมีพิษ ยาเสพติดให้โทษ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุนั้นเพียงโดดๆ หรือมีวัตถุอื่นๆ ผสมเข้าไปหรือเจือปนด้วยวัตถุอื่น ปรุงแต่งด้วยวัตถุอื่นที่กินได้ วัตถุที่เป็นส่วนผสมหรือเจือปน หรือใช้ปรุงแต่งกันเป็นอาหารด้วย
ทั้งนี้เพื่อที่จะใช้มาตรการเพื่อการควบคุมคุณภาพอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมได้ทั่วถึง

โดยกฎหมายฉบับแรก มีสาระสำคัญให้ผู้ประกอบการมีความไม่ปลอดภัย โดยนำหลักความรับผิดแบบเคร่งครัด (Strict Liabillity) ส่วนกฎหมายฉบับที่สอง มีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดให้คดีผู้บริโภค (คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในการซื้อสินค้าหรือบริการ คดี Product Liabillity และคดีอื่นใดที่เกี่ยวข้อง)
สามารถดำเนินกระบวนการได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดี กำหนดบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการมากขึ้น

 ในปี 2552 บรรดา ซูเปอร์มาร์เก็ต จะเข้มงวดมาตรฐานสินค้ามากขึ้น ผู้บิโภค ควรจะศึกษากฏหมายฉบับนี้ไว้ก่อนน่าจะดี จะได้ทราบว่า เรามี สิทธิ์ที่จะทำอะไรได้บ้าง เพื่อป้องกัน การเอาเปรียบ
ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการ ที่ผลิตและขายสินค้าคุณภาพ ก็จะสบายขึ้น ไม่ต้องถูกขายตัดราคา มากนัก
คุณภาพคือสิ่งที่จะอยู่ได้ในระยะยาว
แต่ที่สำคัญ ถ้าเราไม่อยากเสียเงิน ไปซื้ออาหารคุณภาพมากนัก ก็ต้องปลูกผักที่กินบ่อยๆ ไว้กินเอง ทั้งประหยัด ทั้งปลอดภัย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท