อนุทิน 19619


กวิน
เขียนเมื่อ

แก้ไขเพิ่มเติมบทความ ชาวพุทธอุทลุม : อะไรคือ อุทลุม ? @  168641

ใน อิติ.อ.ปรมตฺถทีปนี สงฺฆาฏิกณฺณสุตฺตวณฺณนา หน้า 334 พระบาลี มีอยู่ว่า

โส อารกาว มยฺหํ, อหญฺจ ตสฺสาติ โส ภิกฺขุ มยา วุตฺตปฏิปทํ อปูเรนฺโต มม ทูเรเยว, อหญฺจ ตสฺสทูเรเยว. เอเตน มํสจกฺขุนา ตถาคตทสฺสนํ รูปกายสโมธานญฺจ อการณํ, ญาณจกฺขุนาวทสฺสนํ ธมฺมกายสโมธานเมว จ ปมาณนฺติ ทสฺเสติ เตเนวห “ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ, ธมฺมํ อปสฺสนฺโตมํ นปสฺสตี”ติ. ตตฺถ ธมฺโม นาม นววิโธ โลกุตฺตรธมฺโม, โส จ อภิชฺฌาทีหิ ทุสสิตจิตุเตน น สกุกา ปสฺสิตํ,ตสุมา ธมฺมสฺส อทสฺสหโต ธมฺมกายํ จ น ปสฺสตี”ติ ตถา หิ วตฺตํ:-

“กินฺเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน, โย โข วกฺกสิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ. โย มํ
ปสฺสติ,โส ธมฺมํ ปสฺสตี”ติ.

“ธมฺมภูโต พฺรหฺมภูโต”ติ จ
“ธมุมกาโย อิติปิ, พฺรหฺมกาโย อิติปี”ติ จ อาทิ


บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคต กล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคต ก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน ด้วยคำนี้ พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น และการรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้). ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต ในคำว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า:-

ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกายอันเน่าเปื่อยนี้ที่เธอได้เห็นแล้ว

ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้น ก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้น ก็เห็นธรรม ดังนี้ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็น พรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น

และก่อนที่ พุทธองค์ จะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสแก่พระอานนท์ ไว้ความว่า โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา (ที. มหา. 10/141/178 )  แปลว่า "อานนท์ ! ธรรมและวินัยใดที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา ธรรมและวินัยนั้น ย่อมเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"


ในสมัยพุทธกาลไม่มีพุทธบัญญัติให้กราบไหว้ รูปบูชา มีแต่เพียงบัญญัติให้สังเวชนียสถานเป็นสถานที่ อันสาธุชนที่ควรเยือน เพื่อธรรมสังเวช เพื่อเจริญธรรม การสร้างรูปบูชาเป็นเพียงรูปแบบ ประเพณีปฏิบัติอันดีงาม เป็นอามิสบูชา ที่สาธุชนไม่ควร หยุดยึดติดอยู่ที่เปลือก หรือทำให้เป็นอุปสรรคที่จะเข้าถึงธรรม ในสมัยพุทธกาล สงฆ์ทั้งหลายก็มิได้กราบไหว้รูปบูชาของพระพุทธเจ้ามุ่งปฏิบัติบูชา หาของดีที่ีมีอยู่ในเนื้อธรรม

อมรวัชร กอหรั่งกูล แสดงทรรศนะ ไว้ในบทความ นาคแปลงพุทธรูป ไว้อย่างมีนัยสำคัญความว่า
เมื่อเร็วๆ นี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกแคมเปญท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัดในกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นสิริมงคลและขอพรให้สมปรารถนา โดยกำหนดเลือกวัดที่มีชื่อเป็นสิริมงคลยกตัวอย่างเช่น วัดชนะสงคราม เมื่อได้กราบไหว้แล้วก็จะรอดพ้นภัยพาลทั้งมวลไหว้พระวัดระฆัง จะได้มีชื่อเสียงโด่งดังกังวานไกลเหมือนเสียงระฆัง เป็นต้น
ทุกวันนี้พระพุทธรูปมีประโยชน์ใช้สอยที่เด่นชัดประการเดียวคือแสดงเดชฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ที่มากราบไหว้ขอพรทั้งที่แนวทางปฏิบัติของชาวพุทธที่แท้นั้นสอนให้พึ่ง ตนเองไม่ใช่วอนขอ
สอนให้ปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสของตนไม่ใช่ไปเชื่อมงคลตื่นข่าวซึ่งเป็นของภายนอกตนจนเป็น เหตุให้กิเลสพอกพูนมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์นี้บ่งบอกชัดเจนถึงการพลิกผันแปรเปลี่ยนไป ในทางไสยศาสตร์แทนที่การกราบไหว้องค์พุทธรูปจะเป็นเครื่องเตือนใจชาวพุทธให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยจึงเกิดคำถามตามมาว่าเหตุใดกิจกรรมของชาวพุทธจึงหลุดตัวออกจากแนวทางพุทธที่แท้จริง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท