อนุทิน 19341


กวิน
เขียนเมื่อ

โคลงโลกนิติ สำนวนเก่า : ทำ วัยวัยวัยวัย? (ทำวัยๆๆ) วัยๆๆ ที่ควรทำ @ 204001

โคลงโลกนิติ สำนวนเก่า : โคลงดั้นมหาสินธุมาลี ซึ่งมีลักษณะเป็นโคลงจัตวาทัณฑี 
 
วัยหนึ่งไป่เรียนรู้     วิทยา
วัยสองไป่หาทรัพย์ สิ่งแก้ว
วัยสามไป่รักษา     ศีลสืบ บุญนา
วัยสี่เกินแก่แล้ว      ก่อสร้างสิ่งใด

โคลงโลกนิติสำนวนเก่านี้ วิเคราะห์แล้ว ถือเป็นโคลงประเภท โคลงดั้นมหาสินธุมาลี เพราะไม่เคร่งครัดในข้อบังคับ เอกโท ให้ท่านผู้อ่านสังเกตที่ ตัวอักษรสีน้ำเงิน ในโคลง ซึ่งก็คือคำที่ ตามฉันทลักษณ์โคลงบังคับให้ใช้คำ เสียงเอก แต่กวีผู้ประพันธ์ ใช้คำว่าเรียน (เสียงสามัญ) และคำว่า สอง (เสียงจัตวา) ในที่ๆ ต้องใช้เสียงเอก  โคลงที่ไม่เน้นเรื่องเอกโท ในลักษณะนี้ ร.6 ท่านทรงเรียกว่า โคลง มหาสินธุมาลี (ระเบียบสายน้ำใหญ่) โคลงที่มีลีลา เหมือนการไหลที่เป็นระเบียบของแม่น้ำสายใหญ่ อนึ่ง นอกจากนี้แล้วโคลงบทนี้ยัง มีลักษณะเป็นโคลง จัตวาทัณฑี อีกด้วย เพราะในบรรทัดที่สอง (บาท สอง) ของวรรคแรก ใช้คำพยางค์ที่ 4 (หา) รับสัมผัสกับ คำในพยางค์ที่ 2 วรรคที่ 2 ของบรรทัดที่ 1 (บาทที่ 1) (ยา) นั่นเอง

เนื้อหาของโคลง :

ผู้เขียนตีความได้ว่า ผู้ประพันธ์แบ่งช่วงชีวิตคนไว้เป็น 4 ช่วง อันได้แก่ วัยหนึ่ง วัยสอง วัยสาม วัยสี่ ถ้าอายุคนเราโดยเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ 80 ปี เมื่อหารด้วย 4 เราก็จะสามารถแบ่งช่วงชีวิตคน ได้ตรงตามโคลงโลกนิติ สำนวนเก่า ได้ดังนี้

อายุ   1-20 ปี (วัยหนึ่ง:หาความรู้)
อายุ 21-40 ปี (วัยสอง:หาเงิน หาคู่/หาสิ่งแก้วไว้กับตน)
อายุ 41-60 ปี (วัยสาม:หาศีลธรรมบุญกุศล)
อายุ 61-80 ปี (วัยสี่:หายนะ และรอวันตาย)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท