อนุทิน 19089


สมใจ มานพ
เขียนเมื่อ

1.   ความเป็นมาของตาราง  9  ช่อง   พัฒนาสมองกับการเรียนรู้

 

 

 

       7

 

 

        8

 

 

       9

 

 

 

 

       6

 

 

        5

 

 

       4

 

 

 

 

       1

 

 

        2

 

 

       3

 

 

 

                การเคลื่อนไหวร่างกายตามตาราง  9  ช่อง   เป็นพื้นฐานให้เด็กเกิดความจำ      มีความคล่องแคล่วว่องไว  ซึ่งทำให้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น    ร่างกาย   จิตใจ    ระบบประสาท    และสามารถช่วยพัฒนาทักษะรอบด้าน  ตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กปฐมวัย       ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของสมอง  ที่ถูกถ่ายโยงไปสู่ความรู้สึกนึกคิดและบ่งบอกถึงระดับความเข้าใจ  โดยแปลความหมายออกมาเป็นพฤติกรรมหรืออากับกิริยาการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกาย  ดังนั้นการพยายามกระตุ้นให้ร่างกายได้มีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง    หรือหลากหลายรูปแบบอย่างเป็นระบบตามลำดับขั้นตอน  จะช่วยนำไปสู่การปรับตัวและการพัฒนาการเรียนรู้   รับรู้ของระบบกลไกการเคลื่อนไหวซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของสมอง

                การทำงานของสมองสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย  นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  มักมีปัญหาเรื่องการทำงานประสานกันของร่างกาย  การแก้ไขปัญหาสมองถูกทำลาย   ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขการสกัดกั้นและเสริมสร้างทางเดินเส้นประสาทที่ใช้ในการคิด  เมื่อร่างกายทั้งสองซีกทำงานประสานกันได้ดี  การสื่อสารระหว่างสมองทั้งสองซีกก็จะดีตามไปด้วย  การเพิ่มความสมดุลของร่างกายและสมอง  และการทำงานที่สัมพันธ์กันเป็นปัจจัยที่สำคัญของการจัดชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ยิ่งนักเรียนสร้างสมดุลของร่างกายและสมองได้มากเท่าไร  ก็จะมีสมาธิในการทำงาน   ตลอดจนการคิด  การตัดสินใจ  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  รูปแบบของการฝึกจะเน้นการกระตุ้นการทำงานของสมองหรือระบบประสาทที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ข้อมูล (Sensory  Neuron)  เพื่อส่งไปยังสมองส่วนกลาง (Central  Nervous  System)  ซึ่งสมองส่วนนี้จะทำหน้าที่วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลก่อนจะส่งไปยังเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมการเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามข้อมูลที่ส่งมา    (Motor   Neuron)    การทำงานของระบบประสาทดังกล่าวนี้จะใช้เวลาเพียงสั้นๆ  โดยเน้นความถูกต้องแม่นยำและความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ  ตาราง  9  ช่อง   จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกพัฒนาปฏิกิริยาความเร็วในการเคลื่อนไหวของมือและเท้า    รวมทั้งพัฒนาทักษะความสัมพันธ์  ตลอดจนการทรงตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

2.    กระบวนการได้มาซึ่ง  ตาราง  9  ช่อง

 

คณะครูศึกษาดูงานการนำตาราง  9  ช่อง  มาใช้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

 

ตาราง  9  ช่อง  คืออะไร  ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรม  ซึ่งนำโดยนายนเรศ  แสนมูล

และคณะครูในโรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรม  ได้ร่วมกันศึกษาเพื่อที่จะนำไปพัฒนาเด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและแก้ไขปัญหาเด็กที่เรียนรู้ช้า  จึงได้ไปศึกษาดูงานการจัดกิจกรรมตาราง  9  ช่อง  ของโรงเรียนต้นแบบ  1  อำเภอ  1  โรงเรียนในฝัน  โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร  เขต  1  ซึ่งได้ใช้ตาราง  9  ช่อง  เป็นสื่อในการฝึกทักษะให้กับนักเรียนในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยช่วยในการพัฒนาเซลล์สมองและสติปัญญาของนักเรียน  ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี     ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้น    ตื่นตัว     และสนุกกับการเรียน  รู้เนื้อหาสาระที่เรียน  นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะการใช้มือปฏิบัติกิจกรรมและเขียนหนังสือได้สวยงามเป็นระเบียบ อีกด้วย

โรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรมจึงนำตาราง  9  ช่อง  สู่แผนปฏิบัติงานของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

 และเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาสมองของนักเรียนเกี่ยวกับสมองกับการเรียนรู้กับนักเรียนทุกชั้นเรียนและใช้บูรณาการกับกลุ่มสาระทั้ง  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยให้คณะครูนำตาราง  9  ช่องมาเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนการสอนให้กับเด็ก

การนำตาราง  9  ช่องทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2

ด้วยการเริ่มเรียนรู้ที่มือ

โดยเริ่มการฝึกใช้กับเด็กปฐมวัยปีที่  2      และมีการสังเกตพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง  4  ด้าน  คือ  ด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  ซึ่งจากการสังเกตเห็นได้ว่าการพัฒนาการรับรู้ของสมองเกี่ยวกับมิติ  ระดับ   ทิศทาง  การประสานสัมพันธ์โดยการสั่งการของสมองของนักเรียนยังไม่พัฒนาครบทุกด้าน  จึงได้จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวในชั้นเรียน  เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่เอื้ออาทรต่อสมอง  และช่วยให้เด็กมีสมาธิในการปฏิบัติกิจกรม  ซึ่งใช้ดนตรีเป็นสื่อในการตอบสนองความต้องการด้านร่างกายอารมณ์  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ  และยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆและทักษะที่จำเป็นแก่เด็กได้ หลังจากปฏิบัติกิจกรรมแล้วจะผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำสมาธิ  

1.             เพื่อสลายสารความเครียดที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้

2.             ปลดปล่อยความเครียดของร่างกายเพื่อสร้างความพร้อมของสมอง

3.             ใช้ท่าเคลื่อนไหวร่างกายที่ประสานสัมพันธ์กันทำให้ร่างกายผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายประกอบดนตรี

4.             เชื่อมโยงข้อมูลด้วยการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความจำที่แม่นยำ

5.             ใช้ดนตรีบรรเลงที่มีจังหวะเพื่อปรับสภาวะร่างกาย  จิตใจ  ให้ผ่อนคลาย

6.             ทำสมาธิในการผ่อนคลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

7.             ให้เด็กคิดท่าทางประกอบเสียงดนตรีและบทเพลงตามจินตนาการเพื่อพัฒนา

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และกระตุ้นให้สมองกระปรี้กระเปร่า

 

เมื่อมีความชัดเจนถูกต้องแล้วมาเรียนรู้การใช้ตาราง  9  ช่อง

ด้วยการเดินเท้าตามตารางและใช้การพูดเพื่อประสานสัมพันธ์ของตาและเท้า

การฝึกตาราง  9  ช่อง  ตามจังหวะดนตรีและการจินตนาการท่าทางตามเพลง

 

                โดยกำหนดวัตถุประสงค์  และเป้าหมายในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อศึกษาการใช้ตาราง  9  ช่อง   ในการพัฒนาเซลล์สมองซีกซ้าย ขวา  ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของเด็กปฐมวัยปีที่  2 โรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรม(ตำหนักธรรมวิทยาคาร) 

ในการปฏิบัติกิจกรรม   ได้ใช้เครื่องมือโดยใช้แบบสังเกตการเคลื่อนไหวตามจังหวะของเด็ก   แล้วจดบันทึกระดับคุณภาพและนำมาจัดกลุ่มเพื่อพัฒนาและหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป

3.   การออกแบบตาราง  9  ช่องพัฒนาสมองกับการเรียนรู้

ความสำคัญของสมองกับการเรียนรู้ (Brain – Based  Learning)   เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ

วิธีการเรียนรู้หรือการทำงานของสมองทางธรรมชาติ  เพื่อให้นักเรียนมีระดับสติปัญญาและวุฒิภาวะทางอารมณ์สูงขึ้น  สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ    กิจกรรมตาราง  9  ช่อง  จึงเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในการส่งเสริมการออกกำลังกายและเพิ่มสมรรถภาพทางกาย  ในการกระตุ้นสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาให้ทำงานไปพร้อมๆกัน  จะทำให้การเชื่อมโยงความคิดของสมองดีขึ้น   ดังนั้น  เราจึงสามารถใช้จินตนาการ  ดนตรี   ศิลปะ  และมิติสัมพันธ์  มาส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการใช้  การจำ  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์  เหตุผล  ภาษา  จากเพลงพัฒนา  IQ      การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ปรับตัวเข้ากับสังคม  มองโลกในแง่ดี  มีอารมณ์ที่สุนทรีย์   พัฒนา  EQ    มีสมาธิและมีจิตใจสงบเยือกเย็น   มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความฉลาดด้านจริยธรรมและคุณธรรม  พัฒนา  MQ   

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย  ครูเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการตามขีดศักยภาพของแต่ละบุคคล  เพราะฉะนั้นครูผู้สอนระดับปฐมวัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการและต้องยึดพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก  โดยคำนึงถึงวัย  ความสามารถ  และความแตกต่างระหว่างบุคคล  ตามเป้าหมายที่พึงประสงค์ของพัฒนาการของเด็กทุกด้านก่อนที่จะจัดสภาพแวดล้อม    ประสบการณ์และกิจกรรมต่างๆ 

4.     การนำตาราง  9  ช่อง  สู่การปฏิบัติ

ในการปฏิบัติกิจกรรมมีการออกแบบกิจกรรมและขั้นตอนการปฏิบัติ    โรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรมได้เริ่มนำมาทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาล แล้วนำมาปรับปรุงเพิ่มเติมแบบฝึกให้เด็กได้จินตนาการท่าทาง  ความคิดสร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์จังหวะท่าทางตามแบบฝึกร่วมกันในแต่ละชั้นเรียนตามขั้นตอนทั้งหมด  9  แบบฝึก ประกอบเพลงทั้งในจังหวะช้าและจังหวะเร็ว  เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงอารมณ์  ปลดปล่อยความรู้สึกต่างๆออกมา  จะช่วยให้เด็กใจเย็น    สงบ  ไม่โมโหง่าย หลังจากการฝึกแล้วจะมีการปฏิบัติกิจกรรมสมาธิเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจ  พร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมในช่วงต่อไป 

รูปแบบการฝึกตาราง  9  ช่อง

                แบบฝึกที่  1  การทำความคุ้นเคยกับตาราง  9  ช่อง

                แบบฝึกที่  2  การก้าวขึ้น ลง   ในตาราง  ช่องที่  1 , 2, 4  และ  5

                แบบฝึกที่  3  การก้าวในรูปตัว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท