อนุทิน 17626


กวิน
เขียนเมื่อ

อาหาเรปฏิกูลสัญญา @ 175756 (แม้แต่อาหารการกินก็ยังสามารถนำมากำหนดเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน ได้)

อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นหนึ่งใน กรรมฐาน 40 วิธี แบ่งออกเป็น กสิณ  10 อสุภะ 10 อนุสสติ 10 พรหมวิหาร 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 1 อรูป 1

อาหาเรปฏิกูลสัญญา แปลว่า การพิจารณาอาหารว่าเป็นสิ่งปฏิกูล โดยหมั่นพิจารณาว่า ร่างกายของเรานั้นต้องการอาหารเพื่อดำรงอัตภาพ เราจึงควรเว้นจากอาหารที่เป็นโทษทางร่างกายทุกชนิด อาหารจานละหนึ่งบาท หรืออาหารจานละหนึ่งแสนบาท กินแล้วก็กลับมาหิวใหม่เหมือนกัน

การพิจารณาในอาหารให้เห็นความเป็นปฏิกูล เป็นของไม่สวยงาม ไม่สะอาด เป็นของโสโครก เพื่อลดละตัณหา,ความติดเพลินหรือความหลงไหลในรสชาดอาหาร ให้เป็นเพียงสิ่งเพื่อยังอัตภาพ ไม่เป็นไปเพื่อความมัวเมาในรสชาด พึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เมื่ออาหารเข้าไปอยู่ในท้องแล้วก็ผสมปนเป เป็นปฏิกูลด้วยบดเคี้ยวคลุกเคล้าด้วยน้ำย่อยน้ำดี เป็นดังดั่งสุสานใหญ่ที่ย่อมมีการฝังเติมเต็มไปด้วยซากพืช ซากอสุภะของสัตว์นานา ที่ย่อมเริ่มเน่าเปื่อยผุพัง เมื่อสำรอกออกมาย่อมยืนยันว่าทั้งไม่น่าดู ไม่น่าดม แล้วก็ยังเก็บหมักหมมไว้ในกาย ซึ่งหมักหมมเน่าเหม็นยิ่งๆ ขึ้นไป รอการขับถ่าย อาหารที่ว่าสวยที่ว่าอร่อย อันเป็นมายาเกิดแต่ฆนะหรือมวลรวมของเหตุที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น เมื่อทานเข้าไปแล้วก็ย่อมแปรปรวน,ดับไป แปรสภาพหรือคืนสู่สภาวะเดิม ไม่สวยไม่หอมอีกต่อไป ประกอบด้วยความใกล้เคียงสภาวะเดิมแท้ ที่มีแต่ความเป็นปฏิกูล ไม่งาม เน่าเหม็นเป็นธรรมดา อันย่อมเห็นและผัสสะได้จากสิ่งที่ขับถ่ายออกมา (1)

อ้างอิง

(1) nkgen, "อาหาเรปฏิกูลสัญญา" [http://www.nkgen.com/210.htm]. 8 June 2008.

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท