อนุทิน 173094


sr
เขียนเมื่อ

–กก.สอบจริยธรรมฯ ส.ว. ทำงานอืด–เผยเลขาฯวุฒิสภา ยืนยัน ‘ส.ต.ท.หญิง’ บินต่างประเทศพร้อม ส.ว.ฉาว 27 กันยายน 2565 https://www.thaipost.net/x-cite-news/230583/ ..มีเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการฯติดต่อมายังตนตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วว่าจะส่งเอกสารการให้ถ้อยคำมาให้ เพื่อจะได้เซ็นรับรอง แต่ปรากฏว่าจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ส่งเอกสารมา จึงสงสัยว่าเหตุใดเงียบหายไปเป็นเรื่องที่ผิดสังเกต..



ความเห็น (1)

ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2560 : 10) ผลการสำรวจสาเหตุเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์พบว่า เด็กไทยขาดทักษะทั้งการใช้ ความคิดรวบยอดและทักษะการแก้ปัญหา โดยปัญหาหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน คือปัญหานักเรียนไม่ชอบคิดและขาดทักษะการแก้ปัญหา ไม่สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้ (สมวงษ์ แปลงประสพโชค และคณะ, 2556: 6)วัตถุประสงค์ของการศึกษา1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802. เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ขอบเขตของการศึกษา1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่2. ตัวแปรที่ศึกษา2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.2.1 ผลการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาเนื้อหาตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องบวก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 แผน4. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา1. แบบทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด 3. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกกรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ ก่อนเรียน (Pretest) ด้วยแบบทดสอบทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ 2. ดำเนินการทดลองสอนโดยใช้ชุดกิจกกรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่วางแผนไว้3. เมื่อสิ้นสุดการเรียนด้วยชุดกิจกกรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ทั้ง 5 ชุดแล้ว ทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ หลังเรียน (Posttest) ด้วยแบบทดสอบทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์หลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 4. หลังจากทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ หลังเรียน ผู้ศึกษาให้นักเรียนตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกกรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 5. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้1. วิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดกิจกกรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้ E1 และ E22. เปรียบเทียบผลการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13. วิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกกรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )

สรุปและอภิปรายผลสรุปผลที่ได้รับ1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (E1/E2) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.03/80.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/802. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ก่อนเรียน3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 แสดงว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท