อนุทิน 171348


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วิธีการที่ภาษาไทยก่อให้เกิดการแบ่งชั้นและดำรงไว้ซึ่งการแบ่งแยกทางสังคม ตอนจบ

Kaewmala เสนอว่า “ภาษาเป็นสิ่งสร้างทางวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือ มันไม่ใช่หน้าที่ของฉันในการบอกกับคนอื่นๆว่าควรปฏิบัติตนเองอย่างไร —มันอยู่กับเราในการเลือกคำในการใช้ ที่เรามองว่าเหมาะสมในการใช้ ฉันรู้ว่าเธอมีอำนาจในการเลือกว่าเธอจะใช้มันได้อย่างไร เช่นในเรื่องใดและระดับใด และขึ้นอยู่กับว่าเธอต้องการใช้มันส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร”

ภาษาไทย ก็เหมือนกับวัฒนธรรม คือเป็นบางสิ่งที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามขณะในกาลเวลา บางทีอาจเปลี่ยนไปตอนเราพูดอยู่นี้ก็ได้

Dockum กล่าวว่า “เราสอนภาษาไทยเหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งจริง แต่จริงๆแล้วมันเป็นโครงสร้าง ภาษาเป็นสังคม มันเป็นผลร่วมกันว่าผู้คนจะใช้มันอย่างไร”

การเปลี่ยนแปลงในสังคมไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่แน่นอนการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้น

Kaewmala อธิบายว่า “เมื่อเธอโตขึ้น เธอจะเข้าใจความซับซ้อนของสิ่งต่างๆ และตระหนักว่ามีหลายสิ่งอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นคนขี้แพ้และไม่บ่นอะไรเลย”

“ภาษาสามารถสร้างความสับสน เมื่อเธอเข้าใจมันได้ระดับหนึ่ง เธอจะต่อสู้, ประพฤติในวิถีทางที่ถูกต้อง, นำเสนอความคิด, และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง”

แปลและเรียบเรียงจาก

Pear Maneechote. How Thai language reinforces hierarchy and perpetuates social divides.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท