วิธีการที่ภาษาไทยก่อให้เกิดการแบ่งชั้นและดำรงไว้ซึ่งการแบ่งแยกทางสังคม ตอนที่ 3
ยิ่งเธอมีสถานภาพสูงขึ้นเท่าใด คำที่สุภาพและน่านับถือจะถูกใช้กับคุณมากขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ยิ่งคุณมีสถานภาพน้อยลงเท่าใด คำที่ใช้กับคุณก็ยิ่งไม่สุภาพมากขึ้นเท่านั้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมคำสรรพนามในภาษาไทยจึงแตกต่างเพียงนิด, เปิดกว้าง, และสลับซับซ้อน
“คำสรรพนามในภาษาไทยจึงมีความแตกต่างกัน เมื่อเธอเจอใครบางคน เธอจะต้องถอยห่างกันทางสังคม เธอต้องคิดอยู่เสมอว่า ฉันมีสถานภาพที่แก่กว่า อ่อนกว่า สูงกว่า หรือต่ำกว่า?
การรู้ภาษาเป็นอย่างดียังไม่เพียงพอ ผู้พูดภาษาไทยต้องวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ และพิจารณาว่าจะพูดอะไร พูดเมื่อไร พูดอย่างไร และคนที่พูดด้วยคือใคร จะมีเส้นแบ่งในการแยกแยะว่าสิ่งนี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมคำสรรพนามของช่วงชั้นและความไม่เสมอภาค
คนสามารถเรียนรู้ได้มากมายถึงความไม่เสมอภาคทางสังคม โดยดูจากการใช้คำสรรพนาม
คำสรรพนามในภาษาไทยมีการเน้นการยกระดับบุคคลและทำให้กลุ่มอื่นๆเป็นคนชายขอบ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม คำสรรพนามสามารถยกตัวคุณ หรือทำให้คุณต่ำต้อย และนั่นขึ้นอยู่กับว่าคุณตกในช่วงชั้นแบบไหนในหลายๆกรณี คำสรรพนามยังขึ้นกับเพศอีกด้วย
คำว่า “ผม” มี 2 ความหมายที่แตกต่างกัน อันแรกคือคำที่ใช้แทนชายไทยทุกคน และเป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่อยู่บนหัว
Dockum กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ผมเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่บนหัว เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย”ในทางตรงกันข้าม หญิงไทยมักจะแทนตนเองว่า ดิฉัน, ฉัน, เรา, หนู ในฐานะแทนตนเองลองมาดูคำว่าดิฉันเป็นตัวอย่าง คำนี้เป็นคำสรรพนามใช้แทนตนเอง แต่ผู้หญิงส่วนไทยและคนไทยยังไม่รู้คำๆนี้มาจากคำใด
แปลและเรียบเรียงจาก
Pear Maneechote. How Thai language reinforces hierarchy and perpetuates social divides.
ไม่มีความเห็น