อนุทิน 171303


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วิธีการที่ภาษาไทยก่อให้เกิดการแบ่งชั้นและดำรงไว้ซึ่งการแบ่งแยกทางสังคม ตอนที่ 2

สถานการณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่คนไทยรู้เรื่องมานานแล้ว มันถูกจารึกไปทุกๆที่ ตั้งแต่โต๊ะทานอาหารในบ้าน, หอประชุมโรงเรียน, ร้านค้า, และภัตตาคาร, สิ่งที่เราเห็นและได้ยินทางสื่อ, เรื่องเล่าที่ทรงอำนาจที่ปรากฏในประเทศทุกวันนี้, คำสรรพนามที่เราใช้เรียกพวกเราเอง, และทุกๆสิ่งที่คนไทยเรียนรู้ และเป็นแผนการในดำเนินชีวิต ไม่ว่าพวกเขาจะชอบหรือไม่ก็ตาม

ระบบครอบครัวที่สลับซับซ้อน ในสังคมที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

Rikker Dockum ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย/ไต และเป็นศาสตราจารย์เชื้อเชิญในวิทยาลัย Swarthmore กล่าวว่า “สิ่งนี้ต้องอ้างอิงระบบเครือญาติ สมาชิกในครอบครัวสำหรับคนไทยแล้วคือเครือญาติ ระบบเครือญาติเป็นประเพณีที่เก่าแก่มาก ไม่ว่าจะเป็นทางประวัติศาสตร์ หรือทางธรรมชาติ และเหมือนกับวัฒนธรรมอื่นๆ ยิ่งสังคมที่มีโครงสร้างผ่านร้อนผ่านหนาวมามากเท่าใด ก็ยิ่งมีระบบสังคมที่ซับซ้อนและแบ่งชั้นมากขึ้นเท่านั้น”

พลเมืองไทยจะถูกแบ่งประเภท และถูกรวมไปตามกลุ่มทางสังคม และชั้นที่แบ่งชั้นเป็นลำดับ โดยดูจากอายุ, เพศ, ลำดับชั้นในครอบครัว, ชั้นทางสังคม หรือสถานภาพ, และลำดับที่ทางการงาน ในกฎทางวัฒนธรรม, สังคม, การแบ่งชั้นนี้ จะมีการแบ่งประเภทของบทบาทในพฤติกรรมทางสังคม, พลวัตความสัมพันธ์, และการมีปฏิสัมพันธ์ทางการพูดTuptim Malakul Lane ที่เป็นนักเขียยไทย และนักวิพากษ์ทางสังคม กล่าวว่า “เมื่อเธอเกิดในครอบครัวไทย เธอจะต้องรับบทบาทของสมาชิกที่เล็กที่สุด เธอจะได้รับการบอกจากพวกพี่ๆนี่คือลุง นี่คือป้า และคุณต้องเรียกเขาอย่างว่าด้วย”

แปลและเรียบเรียงจาก

Pear Maneechote. How Thai language reinforces hierarchy and perpetuates social divides.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท